กิจกรรมแจกฟรีโน๊ตบุ๊ค ASUS K45DR-VX037D <<< คลิก
ASUS นั้น นอกจากกราฟิกการ์ดและเมนบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบในการประกอบพีซีที่ต้องการสเปกสูงและมีความแข็งแรงในระดับที่น่าพอใจไม่เสียหายง่าย ก็จะเลือกซื้อหากันโดยไม่หวั่นใจว่าจะต้องเตรียมเงินเอาไว้อีกก้อนรอเปลี่ยนของภายในเครื่อง โน๊ตบุ๊คของ ASUS ก็แข็งแรงสมกับจุดขายอันแข็งแรงของแบรนด์ด้วยเช่นกัน ซึ่ง K Series ที่เป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมของทาง ASUS เอง ก็เป็นโน๊ตบุ๊คที่มีฟีเจอร์น่าสนใจติดตั้งมาให้เต็มที่ตามสไตล์ของ ASUS เช่นกัน และยิ่งถ้าเป็นขา AMD แล้วล่ะก็เตรียมใจไว้ได้ เพราะว่า ASUS เครื่องนี้ติดตั้ง AMD A8-4500M ที่ CrossFireX กับ AMD Radeon HD7470M เอาไว้ให้แสดงผลกราฟิกได้อย่างดี
สำหรับ ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้ออกแบบมาให้เป็นโน๊ตบุ๊คเน้นความคุ้มค่ากับราคาที่จะต้องจ่ายไป เพราะว่าสเปกนั้นค่อนข้างดี โดดเด่นในเรื่องกราฟิกอย่างที่ได้กล่าวไป รวมทั้งราคาเองก็เพียงแค่ 15,400 บาทเท่านั้น อยู่ในระดับที่ใครก็เอื้อมถึงได้ง่ายๆ และไม่เป็นภาระต่อการใช้จ่ายมากนัก
Feature
ฟีเจอร์เด่นที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS K45DR-VX037D นั้น เริ่มต้นกับตัวเครื่องที่ใช้วัสดุเนื้อดี งานประกอบเรียบร้อย และติดตั้งซีพียูสถาปัตยกรรม Trinity มาให้
ส่วนของฟีเจอร์ SuperBatt นั้น เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้แบตเตอรี่ของ ASUS นั้น มีอายุการใช้งานที่สูงกว่า ติดตั้ง IceCool ที่ทำให้แท่นพักข้อมือเย็นอยู่ตลอด ไม่ให้ความร้อนจากตัวเครื่องมารบกวนการใช้งาน และเปิดเครื่องบูตเข้าวินโดวส์ได้รวดเร็วน่าพอใจด้วยฟีเจอร์ Resume in Second
อีกทั้งระบบเสียง SonicMaster Lite ที่ติดตั้งมาให้ ทำให้เสียงเพราะน่าฟังทีเดียว
Specification
สเปกของ ASUS K45DR-VX037D นั้น ติดตั้งซีพียูมาให้เป็น AMD APU A8-4500M ทำงานที่ความเร็ว 1.90 GHz และสามารถเร่งความเร็วไปได้สูงสุดที่ 2.80 GHz มี L2 Cache ที่ 4 MB ติดตั้งกราฟิกการ์ดมาให้เป็น AMD Radeon HD 7470M VRAM 1GB แบบ DDR3 เพื่อเสริมการทำงานเข้ารหัสไฟล์วิดีโอ รวมทั้งรองรับการทำ CrossFireX ติดตั้งแรมมาให้ 4GB แบบ DDR3 พร้อมทั้งติดตั้งฮาร์ดดิสก์ความจุ 500 GB มาให้
สำหรับช่องทางการเชื่อมต่อนั้น สามารถเชื่อมต่อ USB 3.0 ได้ 2 ช่อง USB 2.0 อีก 1 ช่อง ติดตั้ง VGA Port, HDMI, 5-in-1 Card Reader, Wifi, Bluetooth, LAN มี Optical Drive ติดตั้งมาให้พร้อมกับ Webcam ความละเอียด 0.3 ล้านพิกเซล และมีน้ำหนักอยู่ที่ 2.4 กิโลกรัม ติดตั้ง DOS มาให้กับประกันอีก 2 ปี ด้วย ส่วนราคาอยู่ที่ 15,400 บาทเท่านั้น
คลิกดูสเปกเต็มๆ ได้ที่นี่ >>> Click Here!!
Hardware / Design
ดีไซน์ของ ASUS K45DR-VX037D ดูเรียบง่ายและใช้วัสดุเป็นพลาสติกเป็นหลักในการประกอบตัวเครื่อง แท่นด้านหน้าของตัวเครื่องจะเป็นพลาสติกเนื้อเนียนด้านหน้าเครื่องจะเห็นกรอบฮาร์ดดิสก์แสดงให้เห็นชัดเจน มีไฟแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่องเรียงเอาไว้ห้าดวง ได้แก่ไฟเปิดเคครื่อง, ไฟชาร์จแบตเตอรี่, ไฟแสดงสถานะการทำงาน, ไฟแสดงการเชื่อมต่อไวร์เลส, และไฟ Caps Lock
ส่วนที่พักข้อมือจะเป็นพื้นผิวไม่เรียบให้ความสวยงามในการออกแบบ ส่วนของตรงกลางโซนคีย์บอร์ดจะเรียบไม่มีรอยตกแตก ต่างจากส่วนของด้านบนของเครื่องจะมีลวดลายตกแต่งของเครื่องเสียง ALTEC Lansing อยู่กับปุ่มเปิดปิดเครื่องทางด้านซ้าย
พลาสติกกรอบจอจะเป็นเนื้อไม่เรียบตีขอบเอาไว้ ส่วนด้านหลังจะเป็นพลาสติกมันวาว ให้ความสวยงามและดูดีเมื่อใช้งาน แต่เมื่อจับแล้วจะมีรอยนิ้วมือติดได้ค่อนข้างง่าย เวลาใช้งานขอแนะนำให้หาผ้าพร้อมน้ำยาทำความสะอาดเช็ดบ่อยๆ เพื่อความมันวาวสวยงามเสมอ และไม่ทิ้งร่องรอยคราบเอาไว้ ด้านใต้ตัวเครื่องจะเจาะช่องเอาไว้เพื่อระบายอากาศเหมือนกับโน๊ตบุ๊คในอดีตหลายๆ รุ่น มีน็อตอยู่ 4 ตัวที่เห็นภายนอก และซ่อนน็อตเอาไว้ด้านในกรอบแบตเตอรี่อีก 2 ตัว เวลาจะอัพเกรดเครื่อง เปลี่ยนเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SSD เพียงแค่ถอดน็อตที่โซนด้านล่างสองตัวก็สามารถเปลี่ยนได้โดยง่าย และเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก 7 นิ้ว รองรับแรม 2 ช่องเช่นเดียวกับเครื่องขนาดทั่วไป
Screen / Speaker
หน้าจอของ ASUS K45DR เครื่องนี้จะเป็นหน้าจอ LED ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล เป็นจอแบบ TN ทั่วไป แต่ให้สีสันเมื่อใช้งานได้สดใสใช้ได้ทีเดียว ด้านบนจอติดตั้ง Webcam หนึ่งตัวเอาไว้พร้อมกับไมค์ที่ทางซ้ายสุด ถัดมาด้วย Webcam ความละเอียด 0.3 ล้านพิกเซลเพื่อรองรับการใช้งานโปรแกรมประเภท Skype?
ลำโพงของ ALTEC Lansing ที่ติดตั้งเอาไว้ใต้ตัวเครื่องเพื่อให้เสียงสะท้อนขึ้นมาโดยค่อนไปโซนด้านบนใกล้กับแบตเตอรี่ของตัวเครื่อง ขนาดของลำโพงค่อนข้างเล็ก แต่สำหรับเสียงที่ทำได้นั้น ดีกว่าโน๊ตบุ๊คที่ติดตั้งลำโพงแบบปกติไม่มีการจูนเสียงมา และให้เสียงดังมากทีเดียวเมื่อเปิดเสียงดังสุด แต่จะพร่าเล็กน้อยถ้าตั้งใจฟัง เมื่อเทียบแล้วลำโพงค่อนข้างสมกับราคาแถมได้เสียงดังเป็นพิเศษเพิ่มให้ เวลาที่ผู้ใช้ต้องการฟังเสียงเพลงที่ดีกว่านี้ แนะนำให้ต่อลำโพงแยกไปอีกชุดเลยจะดีกว่า
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดกับทัชแพดของ ASUS K45DR เครื่องนี้จะเป็นคีย์บอร์ดแบบเก่าหกแถว ไม่ใช่?Chiclet?Keyboard เหมือนกับสมัยนิยมที่จะแยกปุ่มออกจากกันไม่ชิดกันแบบนี้ เพราะว่ารูปแบบคีย์บอร์ดแบบเก่าจะมีโอกาสพิมพ์ผิดได้ค่อนข้างง่าย และอาจมีมดแมลงหรือฝุ่นลอดเข้าช่องระหว่างคีย์บอร์ดได้ง่าย ทำให้คีย์บอร์ดเกิดความสกปรกด้วย ต้องอาศัยการดูแลมากกว่า Chiclet Keyboard แต่ถ้าใครใช้งานโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่ามาแล้วเปลี่ยนมาใช้รุ่นนี้ ก็จะชินกับเครื่องใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น?
ทัชแพดที่ติดตั้งเอาไว้ส่วนล่างที่แท่นพักข้อมือนั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร ดีไซน์ให้เรียบเป็นเนื้อเดียวกับแท่นพักข้อมือ รวมทั้งซ่อนปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ด้านใต้ทัชแพดให้ความสวยงามเป็นหลัก และมีเส้นขีดตรงกลางแบ่งปุ่มซ้ายขวาเอาไว้ รองรับการใช้งาน Gesture Control ใน Windows 8 ด้วย ตอบสนองการทำงานได้ไวน่าพอใจด้วย แต่การดีไซน์กลับค่อนมาทางซ้ายมือมากเกินไป ทำให้โคนนิ้วหัวแม่มือทับทัชแพดเมื่อใช้พิมพ์งาน ถ้าต้องเปิดใช้งานทัชแพดไปด้วย จำเป็นต้องปิดการทำงานทัชแพดเอาไว้ไม่ให้รบกวนการทำงานแล้วเปิดเมื่อต้องการใช้งาน หรือจะแขวนมือลอยเอาไว้ระหว่างพิมพ์งานก็อยู่ที่ผู้ใช้ แต่แนะนำให้หาเมาส์แยกไว้อีกหนึ่งตัวจะดีที่สุด
Connector / Thin And Weight
?สำหรับการเชื่อมต่อของ ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้ อะแดปเตอร์จะทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสแปลกตาไม่เหมือนอะแดปเตอร์ทั่วไปที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้นสายอะแดปเตอร์เข้าเครื่องจะพับนอนออกมาจากตัวเต้าเลย ทำให้ลดปัญหาสายเกิดการหักเมื่อนำออกนอกสถานที่ไปได้มาก สายของตัวอะแดปเตอร์เองจะยาวประมาณ 180 เซนติเมตรในขณะส่วนปลั๊กเชื่อมต่อไฟบ้านจะยาวราว 70 เซนติเมตร นับแล้วการออกแบบอะแดปเตอร์นี้ทำได้ดี พกพาสะดวกทีเดียว
ความหนาเป็นปกติของโน๊ตบุ๊คขนาดปกติอยู่แล้ว เพราะมิติตัวเครื่องอยู่ที่?345 x 240 x 287 มิลลิเมตร (ที่จุดบางสุด) 321 มิลลิเมตร (ที่จุดหนาสุด) สำหรับโน๊ตบุ๊คขนาดปกติหน้าจอ 14 นิ้วแล้ว มิติตัวเครื่องระดับนี้เป็นมิติตัวเครื่องแบบปกติแล้ว
มาดูส่วนของปลั๊กเชื่อมต่ออบ้าง โดยเริ่มจากซ้ายมือจากซ้ายจะเป็นช่องอะแดปเตอร์, LAN, VGA Port, HDMI, USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง ด้านหน้าของเครื่องจะมีช่องของ?2 -in-1 Card Reader รองรับการอ่านการ์ดแบบ SD/ SDHC/ SDXC/ MMC ด้วย
ด้านขวามือนับจากซ้ายจะเป็น Audio Jack, Mic Jack, USB 2.0 จำนวน 1 ช่อง, DVD-RW Optical Drive และ Kensington Lock อีกหนึ่งช่อง นับว่าครบเครื่องสำหรับการเชื่อมต่อ โดย USB 2.0 ที่ติดตั้งมาให้เพื่อใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วถ่ายโอนข้อมูลสูงมากนักอย่างเมาส์หรือคีย์บอร์ดเสริม
น้ำหนักของตัวเครื่องที่หน้าเว็บไซต์ของ ASUS นั้น แจ้งเอาไว้ที่ 2.2 กิโลกรัม แต่เมื่อทดลองชั่งจริงเฉพาะตัวเครื่องไม่รวมกับอะแดปเตอร์จะหนัก 2.19 กิโลกรัม ถือว่าใกล้เคียงกับที่แจ้งเอาไว้และถ้ารวมอะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว จะหนัก 2.62 กิโลกรัม ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับทั่วไปของโน๊ตบุ๊คในยุคปัจจุบัน
จุดสังเกตที่เจอเมื่อเชื่อมต่อพอร์ตต่างๆ นั้น คือ ช่องเชื่อมต่อ USB 3.0 ทางด้านซ้ายมือค่อนข้างชิดกัน ถึงเป็น USB ขนาดปกติสองตัวยังเชื่อมต่อพร้อมกันได้ยากทีเดียว และวางตัวเอาไว้ใกล้กับข้อมือที่อาจจะเลื่อนไปโดนให้แฟลชไดรฟ์เสียหายได้ และเพราะอยู่ระดับเดียวกับข้อมืออีกด้วย ทำให้เวลาใช้เมาส์แล้วเชื่อมต่อปลั๊ก Audio Jack และ Mic Jack เอาไว้ทั้งสองช่องจะรบกวนเวลาขยับเมาส์พอควรทีเดียว
Power4Gear Hybrid
ซอฟท์แวร์หนึ่งที่โดดเด่นสำหรับโน๊ตบุ๊ค ASUS นั้น คือฟีเจอร์?Power4Gear Hybrid ที่ติดตั้งเอาไว้เพื่อปรับตั้งค่าต่างๆ ในโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้น โดยเมื่อเปิดหน้าต่างโปรแกรมออกมาแล้วจะได้หน้าตาเหมือนในรูป และสามารถเลือกตั้งค่าต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น On Battery ที่เป็นการตั้งค่าเมื่อตัวเครื่องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก, Plugged In เมื่อเชื่อมต่อปลั๊กอะแดปเตอร์เอาไว้, Advanced Settings สำหรับปรับตั้งค่าระดับสูงต่างๆ รวมถึง Enable/Disable เพื่อสั่งเปิดปิดสิ่งต่างๆ ในตัวเครื่อง (คล้ายกับโปรแกรม Tweak UI)
ในหน้าแรกที่ On Battery นั้น จะปรับตั้งค่าต่างๆ เมื่ออใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้ โดยปรับตั้งให้เครื่องลดแสงหน้าจอ (Dim the display) ได้เมื่อผ่านไปตามกำหนดเวลา หรือจะดับหน้าจอจนถึงให้เครื่องเข้าสู่โหมด Sleep ก็ได้เช่นกัน และปรับความสว่างหน้าจอได้ที่นี่
โดยเมื่อเราเข้าหน้า Plugged In มาแล้วก็จะแสดงหน้าจอเหมือนกับแบบ On Battery เช่นกัน โดยสามารถปรับตั้งค่าต่างๆ ได้
ด้านของ Advanced Setting จะเป็นการเปิดหน้าต่าง Config ขึ้นมาให้ปรับเหมือนในรูปด้านบน
และส่วนของ Enable/Disable จะเป็นส่วนของการปรับโหมดว่าต้องการให้เข้าสู่โหมดนำเสนองาน (Presentation Mode) หรือไม่ และต้องการให้แสดงโปรแกรมที่หน้าจอหรือไม่ ที่ Hide Desktop Icons ถ้าสั่งให้เปิดเป็น On ขึ้นมา จะทำให้ไอคอนโปรแกรมที่หน้าจอถูกซ่อนไว้ทั้งหมด
Performance / Software
สำหรับ ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้ ติดตั้งซีพียูมาให้เป็น AMD APU A8-4500M สถาปัตยกรรม Trinity เป็นซีพียูแบบ Quad-Core มี 4 Cores 4 Threads และมี L2 cache 2 MB เป็น 2 โมดูล เป็น 4 MB แยกเป็น 1 MB ต่อ 1 Core มีความเร็วในการทำงาน 1.90 GHz และเร่งความเร็วได้สูงสุด 2.80 GHz เมื่อต้องใช้งานโปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการประมวลผลที่สูง ค่า TDP สูงสุดอยู่ที่ 35W เท่านั้น
ในส่วนของเมนบอร์ดจะเป็นเมนบอร์ดของ ASUS เอง เป็นชิพเซ็ต A55/A60M ส่วนแรมที่ติดตั้งมาให้ในตัวเครื่องมีความจุ 4 GB แบบ DDR3 มีบัสอยู่ที่ 1600 MHz รวมทั้งมีช่องสำหรับเชื่อมต่อบัสได้ถึง 2 ช่อง เพื่อดึงประสิทธิภาพได้สูงสุด สำหรับค่า NB Frequency เองขึ้นได้สูงสุดที่ 1600 MHz (ในภาพด้านบนแสดงเพียง 1313 MHz)
ส่วนของกราฟิกการ์ดที่เป็นออนบอร์ดนั้น จะเป็น AMD Radeon HD7640G และสามารถทำ CrossFireX กับ AMD Radeon HD7470M ที่เป็นกราฟิกการ์ดแยกได้
กราฟิกการ์ด AMD Radeon HD7470M ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้จะมี VRAM 1GB ติดตั้งมาให้แบบ DDR3 มีค่า Bandwidth ที่ 25.6 GB/s มี Bus Width ที่ 128-bit และ CrossFireX กับกราฟิกการ์ดของซีพียู AMD APU A8-4500M ด้วย ทำให้การแสดงค่าประมวลผลกราฟิกทำได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
Windows Experince Index เมื่อวัดค่าออกมาแล้ว เห็นได้ว่าค่าของกราฟิกการ์ดนั้นอยู่ที่ 4.9 คะแนน แต่เป็นส่วนของกราฟิกการ์ด AMD Radeon HD7470M เท่านั้น เพราะ?Windows Experince Index ไม่ได้คำนวนที่คะแนนหลังจากทำ CrossFireX กับ AMD Radeon HD7640G ที่เป็นกราฟิกการ์ดออนบอร์ดด้วย ซึ่งถ้าคำนวนแล้ว คาดว่าคะแนนจะมากกว่านี้
ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS เครื่องนี้เป็นฮาร์ดดิสก์ของ Hitachi ความจุ 500 GB มีความเร็วสูงสุดที่ 109.7 MB/s และต่ำสุดที่ 16.5 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยความเร็วอยู่ที่ 80 MB/s นับว่าความเร็วของฮาร์ดดิสก์ลูกนี้ไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควรนัก และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ 21.8 ms?
ความเร็วของฮาร์ดดิสก์เองอยู่ที่ 5400 RPM และเชื่อมต่อแบบ UDMA Mode 6 ซึ่งเป็นความเร็วในการเชื่อมต่อผ่านทาง ATA Controller ที่เกือบสูงสุดในปัจจุบัน (สูงสุดในตอนนี้อยู่ที่ UDMA 7) ค่าความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ UDMA Mode 6 รับได้นั้น อยู่ที่ 133 MB/s
สำหรับ LinX นั้น ทดสอบโดยรันแบบ All Mem แล้ว ใช้เวลา 28 นาที
ส่วนของ Hyper-Pi รันคำนวนจบภายใน 52 วินาที ถือว่าเร็วพอควร
ทดสอบความเร็วในการทำงานกับ Multi-Core Prime เสร็จภายใน 1 นาที 8 วินาทีเท่านั้น?
CINEBENCH 11.5 ทดสอบในส่วนของ CPU ได้คะแนน 1.76 pts และ OpenGL ที่ 17.92 fps ถือว่าการทำงานของกราฟิกการ์ดทำออกมาได้ค่อนข้างดี
สำหรับการทดสอบกับ Street Fighter IV Benchmark แล้ว ได้คะแนนที่ 9640 คะแนน มีค่า Fps ที่ 56 Fps จัดว่าความแรงนี้สามารถเล่นเกมได้ดีและน่าพอใจ
Resident Evil 5 Benchmark ได้ที่ 34.5 Fps ในค่าเฉลี่ย แต่ระหว่างทดสอบนั้น ค่า Fps ขึ้นไปสูงถึง 45-50 Fps ทีเดียว นับว่าความแรงของกราฟิกการ์ด AMD Radeon HD7640G+7470M CrossFireX กันแล้ว ให้ความเร็วในการทำงานที่ดีด้วย
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้มีความจุอยู่ที่ 4,700 mAh เป็นแบบ Li-ion ให้ระยะเวลาการทำงานที่ค่อนข้างยาวพอควร และขนาดไม่ใหญ่มากนัก และตัวเขี้ยวล็อคจะเป็นแบบมาตรฐาน มีเขี้ยวล็อคสปริงหนึ่งอัน และแบบเลื่อนอีกหนึ่งอัน เพื่อนป้องกันแบตเตอรี่หลุดออกจากตัวเครื่อง
?สำหรับการใช้งานนั้น เมื่อทดสอบใช้งานแบบปกติ ทำงานและเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป จะให้ระยะเวลาการทำงานอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 47 นาที หลังจากถอดสายชาร์จแบตเตอรี่แล้ว นับว่าระยะการทำงานของแบตเตอรี่นั้นให้ระยะเวลายาวพอตัวทีเดียว ไม่แพ้กับซีพียูหลายๆ รุ่นที่ทำได้ใกล้เคียงกัน?
ส่วนของความร้อนเมื่อทดลองเบิร์นเครื่องดูแล้ว ฟีเจอร์โดดเด่นอย่าง IceCool ก็ทำงานได้อย่างดีทีเดียว โดยระบายความร้อนไม่ให้แผ่ขึ้นมาถึงแป้นข้อมือเหมือนกับหลายๆ รุ่นที่อาจร้อนขึ้นมาแล้วเมื่อรีดประสิทธิภาพออกมา สำหรับความร้อนที่ได้นั้น จะอยู่ราว 31-33 องศาเซลเซียสเท่านั้น และในส่วนด้านซ้ายมือที่เป็นส่วนระบายความร้อนของเครื่องเองก็ร้อนสูงสุดราว 41 องศาเท่านั้น ถือว่าการระบายความร้อนของ ASUS K45DR เครื่องนี้ทำได้ดีมาก
Conclusion / Award
ไม่รู้ว่าจงใจหรือว่ามีเหตุผลอะไรหรือเปล่า ที่ทาง ASUS ยังคงใช้รูปลักษณ์สมัยเก่าใน K45DR-VX037D เครื่องนี้ สเปกภายในก็ทำได้ดีน่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็น AMD APU A8-4500M และ CrossFireX กับ AMD Radeon HD7470M ทำให้เล่นเกมได้หลายเกม และมีไฟแสดงสถานะครบดีติดตั้งเอาไว้ในที่ๆ มองเห็นได้ง่ายเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับโน๊ตบุ๊ค K45DR-VX037D เครื่องนี้ รวมทั้งติดตั้ง USB 3.0 มาถึง 2 ช่อง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูลที่ต้องการความเร็วมากขึ้นกับช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่และฟีเจอร์ IceCool ที่ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องร้อนมือเมื่อใช้งานและดึงประสิทธิภาพของโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ออกมาเต็มที่
ถึงจะมีข้อดีอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่ว่าข้อสังเกตที่น่าใส่ใจก็มีไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดที่ติดตั้งมาให้ ทั้งที่เลือกติดตั้งเป็น Chiclet Keyboard มาได้ตามสมัยนิยม เพื่อป้องกันฝุ่นผงและแมลงเข้าไปในคีย์บอร์ดกลับไม่ติดตั้งให้ ทัชแพดที่เลื่อนเข้ามารองอยู่ใต้มือพอเหมาะพอเจาะจนเหมือนจงใจจนต้องพิมพ์งานแบบลอยมือไว้หรือต่อคีย์บอร์ดแยกออกมาอีกตัวหนึ่ง
อีกส่วนที่ลืมกล่าวถึงไม่ได้ คือ ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้มีช่องฮาร์ดดิสก์แยกเห็นชัดจากด้านหน้าของตัวเครื่อง ไม่ต้องสงสัยว่าติดตั้งฮาร์ดดิสก์เอาไว้ตรงไหนของเครื่องแล้ว เพราะเห็นชัดอยู่ตรงหน้าเมื่อใช้งาน หลายๆ คนที่ต้องการความสวยงามเรียบร้อยอาจรู้สึกขัดตาพอควรเมื่อได้เห็นช่องฮาร์ดดิสก์ยื่นชัดเจนแบบนี้ แต่มองในแง่ดี คือเมื่อต้องการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SSD แล้ว ก็รู้ได้ว่าติดตั้งไว้ตรงนี้ ถอดแค่ตรงนี้พอแล้ว แต่ว่าต้อฝ่าด่านน็อตสองตัวของ ASUS ไปให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นก็หมดสิทธิ์เปลี่ยนเช่นกัน
แจ้งให้ทราบก่อนว่า ASUS มีรหัส K45DR-VX008D ที่เป็นฝาแฝดกับเครื่องนี้ เพียงเพิ่มความจุฮาร์ดดิสก์ไปที่ 750 GB โดยจ่ายเงินเพิ่มอีก 500 บาทเท่านั้น ซึ่ง K45DR-VX037D สนนราคา 15,400 บาท และ K45DR-VX008D สนนราคาที่ 15,900 บาท แทบจะไม่ต่างอะไรกัน แต่ความแตกต่างอยู่ที่ภายหลังที่ทุกท่านซื้อเครื่องไปแล้วมีโครงการจะเปลี่ยนเป็น SSD หรือไม่ หรือจะใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ต่อไปก็อยู่ที่ตัวเลือกของแต่ละคน
คู่แข่งของ ASUS เครื่องนี้จะมีอยู่สองเครื่อง คือ Toshiba Satellite L840D-1002 ซึ่งใช้ซีพียูเป็นรุ่น AMD APU A8-4500M เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่กราฟิกการ์ดกับความจุของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งถ้าเทียบโดยนำรุ่น K45DR-VX008D มาเทียบกันแล้ว จะไม่ต่างกัน ยกเว้นแต่กราฟิกการ์ดของ Toshiba จะเป็น AMD Radeon HD7610M มี VRAM 1GB แบบ DDR3 เหมือนกัน ส่วนของความเร็วด้านการประมวลผลกราฟิกยังไม่แน่ชัด เพราะยังไม่ได้ทดสอบอะไรมาก สำหรับราคานั้น Toshiba จะอยู่ที่ 16,990 บาท แพงกว่า ASUS อยู่ 1,090 บาท และ ASUS เองก็มีประกัน 2 ปีจาก ASUS มาเลย แต่ถ้าต้องการให้ประกันของ Toshiba เพิ่มเป็น 2 ปี ถ้าไม่ได้ซื้อแพคเกจประกันเพิ่ม ก็จะมีประกันเพียง 1 ปีเท่านั้น
ส่วนเมื่อเทียบกับ Lenovo IdeaPad S405 แล้ว จะแตกต่างที่ซีพียูพอควร เพราะว่า Lenovo IdeaPad S405 ติดตั้งเป็นชิปรุ่นประหยัดพลังงานรหัส AMD APU A8-4555M มาให้ จะทำงานได้ช้ากว่ารุ่นธรรมดาพอควร แต่อัตราการประหยัดพลังงานของชิปรุ่นประหยัดพลังงานนั้นเห็นผลค่อนข้างชัดเจนด้วยชั่วโมงการทำงานของ Lenovo IdeaPad S405 ที่มากกว่า ASUS K45DR-VX037D ราวหนึ่งชั่วโมง ได้เปรียบด้านวัสดุซอฟท์ทัชด้านนอกตัวเครื่องที่ให้ความมั่นคงติดมือกว่า แต่ความสวยงามยังแพ้พลาสติกมันวาวของ ASUS อยู่บ้าง
คีย์บอร์ดของ Lenovo IdeaPad S405 เองก็ได้ AccuType Keyboard ติดตั้งมาให้และเป็น Chiclet Keyboard มาด้วย ทำให้เมื่อพิมพ์งานนั้น ทำได้ดีกว่าคียบอร์ดแบบเก่าของ ASUS พอควร น้ำหนักที่แตกต่างกันก็ส่งผลชัดเจนหากว่าผู้ใช้เป็นคนที่พกพาสิ่งของติดตัวไปมาก น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัมและเนื้อตัวที่บางไม่กินพื้นที่ในกระเป๋ามากได้เปรียบ ASUS เครื่องนี้ที่หนัก 2.2 กิโลกรัมแน่นอน ในทางกลับกัน ถ้าสนใจประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่าโดยไม่คำนึงน้ำหนักแล้ว ASUS มีภาษีที่ดีกว่าเพราะว่าสามารถเพิ่มแรมได้เป็น Dual Channel และเป็นชิปรุ่นปกติที่ทำงานได้รวดเร็วกว่า ราคานั้น Lenovo IdeaPad S405 จะถูกกว่า ASUS อยู่เล็กน้อย (14,990 บาท)?
เชิญอ่านรีวิว Lenovo IdeaPad S405 ได้ที่นี่
ประสิทธิภาพในการทำงานของ ASUS เครื่องนี้นับว่าคุ้มค่าราคาที่ต้องจ่ายในกรอบราคาไม่เกิน 16,000 บาท แต่ได้สเปกที่ใกล้เคียงและเกือบเทียบเท่ากับโน๊ตบุ๊คที่ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกในระดับราคาสองหมื่นบาทต้นๆ เพื่อรองรับการประมวลผลกราฟิกการ์ด เพราะได้ระบบ CrossFireX มาช่วยในการทำงาน ทำให้เวลาเล่นเกมหรือประมวลผลที่พึ่งพากราฟิกสูงพอสมควรนั้น จะคุ้มค่ากว่าที่จะซื้อโน๊ตบุ๊คราคาสูงกว่านี้แน่นอน
เปรียบเทียบไปเรียบร้อยแล้ว เวลาเลือกใช้ก็ต้องถามตัวผู้ใช้ให้เรียบร้อยก่อน ว่าจริงๆ แล้วการใช้งานโน๊ตบุ๊คในชีวิตประจำวันนั้นเป็นแบบไหน ใส่ใจเรื่องประสิทธิภาพมากไหม ต้องการน้ำหนักเบาหรือไม่ คิดถึงระยะเวลาที่สามารถใช้ทำงานได้ต่อเนื่องหรือเปล่า คำถามเหล่านี้ผู้ใช้จำเป็นต้องตอบให้ได้ก่อน ถึงจะบอกได้ ว่า ASUS เครื่องนี้เหมาะกับคุณหรือไม่ ถ้าเพียงคุณตอบว่า “ไม่สนใจว่าระยะเวลาการทำงานว่าทำได้นานแค่ไหน เพราะฉันต่ออะแดปเตอร์เป็นปกติและเรี่ยวแรงฉันก็มีมาก ยกไปไหนมาไหนไม่ลำบากหรอก” ก็เบนเข็มไปหา ASUS ได้เลย เพราะมันเกิดมาเพื่อคุณแล้ว
ข้อดี
- งานประกอบเรียบร้อยแข็งแรง
- ฟีเจอร์ IceCool ป้องกันความร้อนที่จะแผ่ขึ้นมาถึงมือผู้ใช้ได้ดีมาก
- ระบบระบายความร้อนของเครื่องทำได้ดี ความร้อนไม่สูงนัก
- ติดตั้ง USB 3.0 มาให้สองช่องในระดับราคาเท่านี้
- กราฟิกการ์ดทำ CrossFireX มาแล้ว ให้ความแรงน่าพอใจใช้เล่นเกมได้หลายเกม
- เป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสิทธิภาพคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายไป
- แบ่งโซนของฮาร์ดดิสก์กับแรมเอาไว้ชัดเจน ง่ายต่อการอัพเกรดในภายหลัง
ข้อสังเกต
- พลาสติกมันวาวที่ด้านหลังฝาเครื่องเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย
- คีย์บอร์ดไม่ใช่ Chiclet Keyboard มีโอกาสที่ฝุ่นละอองเข้าไปด้านใต้ได้ง่าย
- ช่อง USB ค่อนข้างติดกัน เชื่อมต่อแฟลชไดรฟ์สองตัวพร้อมกันได้ลำบาก
?
Award
ในราคา 15,400 บาท และมองหาโน๊ตบุ๊คที่สามารถนำมาเล่นเกมได้ด้วย ทำงานก็ดี มีความแข็งแรงน่าเชื่อถือร่วมกันมาด้วยนั้น ASUS K45DR-VX037D เป็นอีกตัวเลือกที่ไม่น่ามองข้ามด้วยราคาระดับไม่เกิน 16,000 บาท แต่ว่าสามารถทำ CrossFireX ได้ด้วยนั้น หาได้ยากอยู่ที่จะได้ฟีเจอร์ดีๆ ที่มีราคาไม่เกินเท่านี้
Feature
ฟีเจอร์เด่นที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS K45DR-VX037D นั้น เริ่มต้นกับตัวเครื่องที่ใช้วัสดุเนื้อดี งานประกอบเรียบร้อย และติดตั้งซีพียูสถาปัตยกรรม Trinity มาให้
ส่วนของฟีเจอร์ SuperBatt นั้น เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้แบตเตอรี่ของ ASUS นั้น มีอายุการใช้งานที่สูงกว่า ติดตั้ง IceCool ที่ทำให้แท่นพักข้อมือเย็นอยู่ตลอด ไม่ให้ความร้อนจากตัวเครื่องมารบกวนการใช้งาน และเปิดเครื่องบูตเข้าวินโดวส์ได้รวดเร็วน่าพอใจด้วยฟีเจอร์ Resume in Second
อีกทั้งระบบเสียง SonicMaster Lite ที่ติดตั้งมาให้ ทำให้เสียงเพราะน่าฟังทีเดียว
Specification
สเปกของ ASUS K45DR-VX037D นั้น ติดตั้งซีพียูมาให้เป็น AMD APU A8-4500M ทำงานที่ความเร็ว 1.90 GHz และสามารถเร่งความเร็วไปได้สูงสุดที่ 2.80 GHz มี L2 Cache ที่ 4 MB ติดตั้งกราฟิกการ์ดมาให้เป็น AMD Radeon HD 7470M VRAM 1GB แบบ DDR3 เพื่อเสริมการทำงานเข้ารหัสไฟล์วิดีโอ รวมทั้งรองรับการทำ CrossFireX ติดตั้งแรมมาให้ 4GB แบบ DDR3 พร้อมทั้งติดตั้งฮาร์ดดิสก์ความจุ 500 GB มาให้
สำหรับช่องทางการเชื่อมต่อนั้น สามารถเชื่อมต่อ USB 3.0 ได้ 2 ช่อง USB 2.0 อีก 1 ช่อง ติดตั้ง VGA Port, HDMI, 5-in-1 Card Reader, Wifi, Bluetooth, LAN มี Optical Drive ติดตั้งมาให้พร้อมกับ Webcam ความละเอียด 0.3 ล้านพิกเซล และมีน้ำหนักอยู่ที่ 2.4 กิโลกรัม ติดตั้ง DOS มาให้กับประกันอีก 2 ปี ด้วย ส่วนราคาอยู่ที่ 15,400 บาทเท่านั้น
คลิกดูสเปกเต็มๆ ได้ที่นี่ >>> Click Here!!
Hardware / Design
ดีไซน์ของ ASUS K45DR-VX037D ดูเรียบง่ายและใช้วัสดุเป็นพลาสติกเป็นหลักในการประกอบตัวเครื่อง แท่นด้านหน้าของตัวเครื่องจะเป็นพลาสติกเนื้อเนียนด้านหน้าเครื่องจะเห็นกรอบฮาร์ดดิสก์แสดงให้เห็นชัดเจน มีไฟแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่องเรียงเอาไว้ห้าดวง ได้แก่ไฟเปิดเคครื่อง, ไฟชาร์จแบตเตอรี่, ไฟแสดงสถานะการทำงาน, ไฟแสดงการเชื่อมต่อไวร์เลส, และไฟ Caps Lock
ส่วนที่พักข้อมือจะเป็นพื้นผิวไม่เรียบให้ความสวยงามในการออกแบบ ส่วนของตรงกลางโซนคีย์บอร์ดจะเรียบไม่มีรอยตกแตก ต่างจากส่วนของด้านบนของเครื่องจะมีลวดลายตกแต่งของเครื่องเสียง ALTEC Lansing อยู่กับปุ่มเปิดปิดเครื่องทางด้านซ้าย
พลาสติกกรอบจอจะเป็นเนื้อไม่เรียบตีขอบเอาไว้ ส่วนด้านหลังจะเป็นพลาสติกมันวาว ให้ความสวยงามและดูดีเมื่อใช้งาน แต่เมื่อจับแล้วจะมีรอยนิ้วมือติดได้ค่อนข้างง่าย เวลาใช้งานขอแนะนำให้หาผ้าพร้อมน้ำยาทำความสะอาดเช็ดบ่อยๆ เพื่อความมันวาวสวยงามเสมอ และไม่ทิ้งร่องรอยคราบเอาไว้ ด้านใต้ตัวเครื่องจะเจาะช่องเอาไว้เพื่อระบายอากาศเหมือนกับโน๊ตบุ๊คในอดีตหลายๆ รุ่น มีน็อตอยู่ 4 ตัวที่เห็นภายนอก และซ่อนน็อตเอาไว้ด้านในกรอบแบตเตอรี่อีก 2 ตัว เวลาจะอัพเกรดเครื่อง เปลี่ยนเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SSD เพียงแค่ถอดน็อตที่โซนด้านล่างสองตัวก็สามารถเปลี่ยนได้โดยง่าย และเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก 7 นิ้ว รองรับแรม 2 ช่องเช่นเดียวกับเครื่องขนาดทั่วไป
Screen / Speaker
หน้าจอของ ASUS K45DR เครื่องนี้จะเป็นหน้าจอ LED ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล เป็นจอแบบ TN ทั่วไป แต่ให้สีสันเมื่อใช้งานได้สดใสใช้ได้ทีเดียว ด้านบนจอติดตั้ง Webcam หนึ่งตัวเอาไว้พร้อมกับไมค์ที่ทางซ้ายสุด ถัดมาด้วย Webcam ความละเอียด 0.3 ล้านพิกเซลเพื่อรองรับการใช้งานโปรแกรมประเภท Skype?
ลำโพงของ ALTEC Lansing ที่ติดตั้งเอาไว้ใต้ตัวเครื่องเพื่อให้เสียงสะท้อนขึ้นมาโดยค่อนไปโซนด้านบนใกล้กับแบตเตอรี่ของตัวเครื่อง ขนาดของลำโพงค่อนข้างเล็ก แต่สำหรับเสียงที่ทำได้นั้น ดีกว่าโน๊ตบุ๊คที่ติดตั้งลำโพงแบบปกติไม่มีการจูนเสียงมา และให้เสียงดังมากทีเดียวเมื่อเปิดเสียงดังสุด แต่จะพร่าเล็กน้อยถ้าตั้งใจฟัง เมื่อเทียบแล้วลำโพงค่อนข้างสมกับราคาแถมได้เสียงดังเป็นพิเศษเพิ่มให้ เวลาที่ผู้ใช้ต้องการฟังเสียงเพลงที่ดีกว่านี้ แนะนำให้ต่อลำโพงแยกไปอีกชุดเลยจะดีกว่า
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดกับทัชแพดของ ASUS K45DR เครื่องนี้จะเป็นคีย์บอร์ดแบบเก่าหกแถว ไม่ใช่?Chiclet?Keyboard เหมือนกับสมัยนิยมที่จะแยกปุ่มออกจากกันไม่ชิดกันแบบนี้ เพราะว่ารูปแบบคีย์บอร์ดแบบเก่าจะมีโอกาสพิมพ์ผิดได้ค่อนข้างง่าย และอาจมีมดแมลงหรือฝุ่นลอดเข้าช่องระหว่างคีย์บอร์ดได้ง่าย ทำให้คีย์บอร์ดเกิดความสกปรกด้วย ต้องอาศัยการดูแลมากกว่า Chiclet Keyboard แต่ถ้าใครใช้งานโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่ามาแล้วเปลี่ยนมาใช้รุ่นนี้ ก็จะชินกับเครื่องใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น?
ทัชแพดที่ติดตั้งเอาไว้ส่วนล่างที่แท่นพักข้อมือนั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร ดีไซน์ให้เรียบเป็นเนื้อเดียวกับแท่นพักข้อมือ รวมทั้งซ่อนปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ด้านใต้ทัชแพดให้ความสวยงามเป็นหลัก และมีเส้นขีดตรงกลางแบ่งปุ่มซ้ายขวาเอาไว้ รองรับการใช้งาน Gesture Control ใน Windows 8 ด้วย ตอบสนองการทำงานได้ไวน่าพอใจด้วย แต่การดีไซน์กลับค่อนมาทางซ้ายมือมากเกินไป ทำให้โคนนิ้วหัวแม่มือทับทัชแพดเมื่อใช้พิมพ์งาน ถ้าต้องเปิดใช้งานทัชแพดไปด้วย จำเป็นต้องปิดการทำงานทัชแพดเอาไว้ไม่ให้รบกวนการทำงานแล้วเปิดเมื่อต้องการใช้งาน หรือจะแขวนมือลอยเอาไว้ระหว่างพิมพ์งานก็อยู่ที่ผู้ใช้ แต่แนะนำให้หาเมาส์แยกไว้อีกหนึ่งตัวจะดีที่สุด
Connector / Thin And Weight
?สำหรับการเชื่อมต่อของ ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้ อะแดปเตอร์จะทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสแปลกตาไม่เหมือนอะแดปเตอร์ทั่วไปที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ต้นสายอะแดปเตอร์เข้าเครื่องจะพับนอนออกมาจากตัวเต้าเลย ทำให้ลดปัญหาสายเกิดการหักเมื่อนำออกนอกสถานที่ไปได้มาก สายของตัวอะแดปเตอร์เองจะยาวประมาณ 180 เซนติเมตรในขณะส่วนปลั๊กเชื่อมต่อไฟบ้านจะยาวราว 70 เซนติเมตร นับแล้วการออกแบบอะแดปเตอร์นี้ทำได้ดี พกพาสะดวกทีเดียว
ความหนาเป็นปกติของโน๊ตบุ๊คขนาดปกติอยู่แล้ว เพราะมิติตัวเครื่องอยู่ที่?345 x 240 x 287 มิลลิเมตร (ที่จุดบางสุด) 321 มิลลิเมตร (ที่จุดหนาสุด) สำหรับโน๊ตบุ๊คขนาดปกติหน้าจอ 14 นิ้วแล้ว มิติตัวเครื่องระดับนี้เป็นมิติตัวเครื่องแบบปกติแล้ว
มาดูส่วนของปลั๊กเชื่อมต่ออบ้าง โดยเริ่มจากซ้ายมือจากซ้ายจะเป็นช่องอะแดปเตอร์, LAN, VGA Port, HDMI, USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง ด้านหน้าของเครื่องจะมีช่องของ?2 -in-1 Card Reader รองรับการอ่านการ์ดแบบ SD/ SDHC/ SDXC/ MMC ด้วย
ด้านขวามือนับจากซ้ายจะเป็น Audio Jack, Mic Jack, USB 2.0 จำนวน 1 ช่อง, DVD-RW Optical Drive และ Kensington Lock อีกหนึ่งช่อง นับว่าครบเครื่องสำหรับการเชื่อมต่อ โดย USB 2.0 ที่ติดตั้งมาให้เพื่อใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วถ่ายโอนข้อมูลสูงมากนักอย่างเมาส์หรือคีย์บอร์ดเสริม
น้ำหนักของตัวเครื่องที่หน้าเว็บไซต์ของ ASUS นั้น แจ้งเอาไว้ที่ 2.2 กิโลกรัม แต่เมื่อทดลองชั่งจริงเฉพาะตัวเครื่องไม่รวมกับอะแดปเตอร์จะหนัก 2.19 กิโลกรัม ถือว่าใกล้เคียงกับที่แจ้งเอาไว้และถ้ารวมอะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว จะหนัก 2.62 กิโลกรัม ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับทั่วไปของโน๊ตบุ๊คในยุคปัจจุบัน
จุดสังเกตที่เจอเมื่อเชื่อมต่อพอร์ตต่างๆ นั้น คือ ช่องเชื่อมต่อ USB 3.0 ทางด้านซ้ายมือค่อนข้างชิดกัน ถึงเป็น USB ขนาดปกติสองตัวยังเชื่อมต่อพร้อมกันได้ยากทีเดียว และวางตัวเอาไว้ใกล้กับข้อมือที่อาจจะเลื่อนไปโดนให้แฟลชไดรฟ์เสียหายได้ และเพราะอยู่ระดับเดียวกับข้อมืออีกด้วย ทำให้เวลาใช้เมาส์แล้วเชื่อมต่อปลั๊ก Audio Jack และ Mic Jack เอาไว้ทั้งสองช่องจะรบกวนเวลาขยับเมาส์พอควรทีเดียว
Power4Gear Hybrid
ซอฟท์แวร์หนึ่งที่โดดเด่นสำหรับโน๊ตบุ๊ค ASUS นั้น คือฟีเจอร์?Power4Gear Hybrid ที่ติดตั้งเอาไว้เพื่อปรับตั้งค่าต่างๆ ในโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้น โดยเมื่อเปิดหน้าต่างโปรแกรมออกมาแล้วจะได้หน้าตาเหมือนในรูป และสามารถเลือกตั้งค่าต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น On Battery ที่เป็นการตั้งค่าเมื่อตัวเครื่องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก, Plugged In เมื่อเชื่อมต่อปลั๊กอะแดปเตอร์เอาไว้, Advanced Settings สำหรับปรับตั้งค่าระดับสูงต่างๆ รวมถึง Enable/Disable เพื่อสั่งเปิดปิดสิ่งต่างๆ ในตัวเครื่อง (คล้ายกับโปรแกรม Tweak UI)
ในหน้าแรกที่ On Battery นั้น จะปรับตั้งค่าต่างๆ เมื่ออใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้ โดยปรับตั้งให้เครื่องลดแสงหน้าจอ (Dim the display) ได้เมื่อผ่านไปตามกำหนดเวลา หรือจะดับหน้าจอจนถึงให้เครื่องเข้าสู่โหมด Sleep ก็ได้เช่นกัน และปรับความสว่างหน้าจอได้ที่นี่
โดยเมื่อเราเข้าหน้า Plugged In มาแล้วก็จะแสดงหน้าจอเหมือนกับแบบ On Battery เช่นกัน โดยสามารถปรับตั้งค่าต่างๆ ได้
ด้านของ Advanced Setting จะเป็นการเปิดหน้าต่าง Config ขึ้นมาให้ปรับเหมือนในรูปด้านบน
และส่วนของ Enable/Disable จะเป็นส่วนของการปรับโหมดว่าต้องการให้เข้าสู่โหมดนำเสนองาน (Presentation Mode) หรือไม่ และต้องการให้แสดงโปรแกรมที่หน้าจอหรือไม่ ที่ Hide Desktop Icons ถ้าสั่งให้เปิดเป็น On ขึ้นมา จะทำให้ไอคอนโปรแกรมที่หน้าจอถูกซ่อนไว้ทั้งหมด
Performance / Software
สำหรับ ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้ ติดตั้งซีพียูมาให้เป็น AMD APU A8-4500M สถาปัตยกรรม Trinity เป็นซีพียูแบบ Quad-Core มี 4 Cores 4 Threads และมี L2 cache 2 MB เป็น 2 โมดูล เป็น 4 MB แยกเป็น 1 MB ต่อ 1 Core มีความเร็วในการทำงาน 1.90 GHz และเร่งความเร็วได้สูงสุด 2.80 GHz เมื่อต้องใช้งานโปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการประมวลผลที่สูง ค่า TDP สูงสุดอยู่ที่ 35W เท่านั้น
ในส่วนของเมนบอร์ดจะเป็นเมนบอร์ดของ ASUS เอง เป็นชิพเซ็ต A55/A60M ส่วนแรมที่ติดตั้งมาให้ในตัวเครื่องมีความจุ 4 GB แบบ DDR3 มีบัสอยู่ที่ 1600 MHz รวมทั้งมีช่องสำหรับเชื่อมต่อบัสได้ถึง 2 ช่อง เพื่อดึงประสิทธิภาพได้สูงสุด สำหรับค่า NB Frequency เองขึ้นได้สูงสุดที่ 1600 MHz (ในภาพด้านบนแสดงเพียง 1313 MHz)
ส่วนของกราฟิกการ์ดที่เป็นออนบอร์ดนั้น จะเป็น AMD Radeon HD7640G และสามารถทำ CrossFireX กับ AMD Radeon HD7470M ที่เป็นกราฟิกการ์ดแยกได้
กราฟิกการ์ด AMD Radeon HD7470M ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้จะมี VRAM 1GB ติดตั้งมาให้แบบ DDR3 มีค่า Bandwidth ที่ 25.6 GB/s มี Bus Width ที่ 128-bit และ CrossFireX กับกราฟิกการ์ดของซีพียู AMD APU A8-4500M ด้วย ทำให้การแสดงค่าประมวลผลกราฟิกทำได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
Windows Experince Index เมื่อวัดค่าออกมาแล้ว เห็นได้ว่าค่าของกราฟิกการ์ดนั้นอยู่ที่ 4.9 คะแนน แต่เป็นส่วนของกราฟิกการ์ด AMD Radeon HD7470M เท่านั้น เพราะ?Windows Experince Index ไม่ได้คำนวนที่คะแนนหลังจากทำ CrossFireX กับ AMD Radeon HD7640G ที่เป็นกราฟิกการ์ดออนบอร์ดด้วย ซึ่งถ้าคำนวนแล้ว คาดว่าคะแนนจะมากกว่านี้
ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS เครื่องนี้เป็นฮาร์ดดิสก์ของ Hitachi ความจุ 500 GB มีความเร็วสูงสุดที่ 109.7 MB/s และต่ำสุดที่ 16.5 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยความเร็วอยู่ที่ 80 MB/s นับว่าความเร็วของฮาร์ดดิสก์ลูกนี้ไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควรนัก และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ 21.8 ms?
ความเร็วของฮาร์ดดิสก์เองอยู่ที่ 5400 RPM และเชื่อมต่อแบบ UDMA Mode 6 ซึ่งเป็นความเร็วในการเชื่อมต่อผ่านทาง ATA Controller ที่เกือบสูงสุดในปัจจุบัน (สูงสุดในตอนนี้อยู่ที่ UDMA 7) ค่าความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ UDMA Mode 6 รับได้นั้น อยู่ที่ 133 MB/s
สำหรับ LinX นั้น ทดสอบโดยรันแบบ All Mem แล้ว ใช้เวลา 28 นาที
ส่วนของ Hyper-Pi รันคำนวนจบภายใน 52 วินาที ถือว่าเร็วพอควร
ทดสอบความเร็วในการทำงานกับ Multi-Core Prime เสร็จภายใน 1 นาที 8 วินาทีเท่านั้น?
CINEBENCH 11.5 ทดสอบในส่วนของ CPU ได้คะแนน 1.76 pts และ OpenGL ที่ 17.92 fps ถือว่าการทำงานของกราฟิกการ์ดทำออกมาได้ค่อนข้างดี
สำหรับการทดสอบกับ Street Fighter IV Benchmark แล้ว ได้คะแนนที่ 9640 คะแนน มีค่า Fps ที่ 56 Fps จัดว่าความแรงนี้สามารถเล่นเกมได้ดีและน่าพอใจ
Resident Evil 5 Benchmark ได้ที่ 34.5 Fps ในค่าเฉลี่ย แต่ระหว่างทดสอบนั้น ค่า Fps ขึ้นไปสูงถึง 45-50 Fps ทีเดียว นับว่าความแรงของกราฟิกการ์ด AMD Radeon HD7640G+7470M CrossFireX กันแล้ว ให้ความเร็วในการทำงานที่ดีด้วย
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้มีความจุอยู่ที่ 4,700 mAh เป็นแบบ Li-ion ให้ระยะเวลาการทำงานที่ค่อนข้างยาวพอควร และขนาดไม่ใหญ่มากนัก และตัวเขี้ยวล็อคจะเป็นแบบมาตรฐาน มีเขี้ยวล็อคสปริงหนึ่งอัน และแบบเลื่อนอีกหนึ่งอัน เพื่อนป้องกันแบตเตอรี่หลุดออกจากตัวเครื่อง
?สำหรับการใช้งานนั้น เมื่อทดสอบใช้งานแบบปกติ ทำงานและเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป จะให้ระยะเวลาการทำงานอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 47 นาที หลังจากถอดสายชาร์จแบตเตอรี่แล้ว นับว่าระยะการทำงานของแบตเตอรี่นั้นให้ระยะเวลายาวพอตัวทีเดียว ไม่แพ้กับซีพียูหลายๆ รุ่นที่ทำได้ใกล้เคียงกัน?
ส่วนของความร้อนเมื่อทดลองเบิร์นเครื่องดูแล้ว ฟีเจอร์โดดเด่นอย่าง IceCool ก็ทำงานได้อย่างดีทีเดียว โดยระบายความร้อนไม่ให้แผ่ขึ้นมาถึงแป้นข้อมือเหมือนกับหลายๆ รุ่นที่อาจร้อนขึ้นมาแล้วเมื่อรีดประสิทธิภาพออกมา สำหรับความร้อนที่ได้นั้น จะอยู่ราว 31-33 องศาเซลเซียสเท่านั้น และในส่วนด้านซ้ายมือที่เป็นส่วนระบายความร้อนของเครื่องเองก็ร้อนสูงสุดราว 41 องศาเท่านั้น ถือว่าการระบายความร้อนของ ASUS K45DR เครื่องนี้ทำได้ดีมาก
Conclusion / Award
ไม่รู้ว่าจงใจหรือว่ามีเหตุผลอะไรหรือเปล่า ที่ทาง ASUS ยังคงใช้รูปลักษณ์สมัยเก่าใน K45DR-VX037D เครื่องนี้ สเปกภายในก็ทำได้ดีน่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็น AMD APU A8-4500M และ CrossFireX กับ AMD Radeon HD7470M ทำให้เล่นเกมได้หลายเกม และมีไฟแสดงสถานะครบดีติดตั้งเอาไว้ในที่ๆ มองเห็นได้ง่ายเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับโน๊ตบุ๊ค K45DR-VX037D เครื่องนี้ รวมทั้งติดตั้ง USB 3.0 มาถึง 2 ช่อง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูลที่ต้องการความเร็วมากขึ้นกับช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่และฟีเจอร์ IceCool ที่ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องร้อนมือเมื่อใช้งานและดึงประสิทธิภาพของโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ออกมาเต็มที่
ถึงจะมีข้อดีอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่ว่าข้อสังเกตที่น่าใส่ใจก็มีไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดที่ติดตั้งมาให้ ทั้งที่เลือกติดตั้งเป็น Chiclet Keyboard มาได้ตามสมัยนิยม เพื่อป้องกันฝุ่นผงและแมลงเข้าไปในคีย์บอร์ดกลับไม่ติดตั้งให้ ทัชแพดที่เลื่อนเข้ามารองอยู่ใต้มือพอเหมาะพอเจาะจนเหมือนจงใจจนต้องพิมพ์งานแบบลอยมือไว้หรือต่อคีย์บอร์ดแยกออกมาอีกตัวหนึ่ง
อีกส่วนที่ลืมกล่าวถึงไม่ได้ คือ ASUS K45DR-VX037D เครื่องนี้มีช่องฮาร์ดดิสก์แยกเห็นชัดจากด้านหน้าของตัวเครื่อง ไม่ต้องสงสัยว่าติดตั้งฮาร์ดดิสก์เอาไว้ตรงไหนของเครื่องแล้ว เพราะเห็นชัดอยู่ตรงหน้าเมื่อใช้งาน หลายๆ คนที่ต้องการความสวยงามเรียบร้อยอาจรู้สึกขัดตาพอควรเมื่อได้เห็นช่องฮาร์ดดิสก์ยื่นชัดเจนแบบนี้ แต่มองในแง่ดี คือเมื่อต้องการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SSD แล้ว ก็รู้ได้ว่าติดตั้งไว้ตรงนี้ ถอดแค่ตรงนี้พอแล้ว แต่ว่าต้อฝ่าด่านน็อตสองตัวของ ASUS ไปให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นก็หมดสิทธิ์เปลี่ยนเช่นกัน
แจ้งให้ทราบก่อนว่า ASUS มีรหัส K45DR-VX008D ที่เป็นฝาแฝดกับเครื่องนี้ เพียงเพิ่มความจุฮาร์ดดิสก์ไปที่ 750 GB โดยจ่ายเงินเพิ่มอีก 500 บาทเท่านั้น ซึ่ง K45DR-VX037D สนนราคา 15,400 บาท และ K45DR-VX008D สนนราคาที่ 15,900 บาท แทบจะไม่ต่างอะไรกัน แต่ความแตกต่างอยู่ที่ภายหลังที่ทุกท่านซื้อเครื่องไปแล้วมีโครงการจะเปลี่ยนเป็น SSD หรือไม่ หรือจะใช้เป็นฮาร์ดดิสก์ต่อไปก็อยู่ที่ตัวเลือกของแต่ละคน
คู่แข่งของ ASUS เครื่องนี้จะมีอยู่สองเครื่อง คือ Toshiba Satellite L840D-1002 ซึ่งใช้ซีพียูเป็นรุ่น AMD APU A8-4500M เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่กราฟิกการ์ดกับความจุของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งถ้าเทียบโดยนำรุ่น K45DR-VX008D มาเทียบกันแล้ว จะไม่ต่างกัน ยกเว้นแต่กราฟิกการ์ดของ Toshiba จะเป็น AMD Radeon HD7610M มี VRAM 1GB แบบ DDR3 เหมือนกัน ส่วนของความเร็วด้านการประมวลผลกราฟิกยังไม่แน่ชัด เพราะยังไม่ได้ทดสอบอะไรมาก สำหรับราคานั้น Toshiba จะอยู่ที่ 16,990 บาท แพงกว่า ASUS อยู่ 1,090 บาท และ ASUS เองก็มีประกัน 2 ปีจาก ASUS มาเลย แต่ถ้าต้องการให้ประกันของ Toshiba เพิ่มเป็น 2 ปี ถ้าไม่ได้ซื้อแพคเกจประกันเพิ่ม ก็จะมีประกันเพียง 1 ปีเท่านั้น
ส่วนเมื่อเทียบกับ Lenovo IdeaPad S405 แล้ว จะแตกต่างที่ซีพียูพอควร เพราะว่า Lenovo IdeaPad S405 ติดตั้งเป็นชิปรุ่นประหยัดพลังงานรหัส AMD APU A8-4555M มาให้ จะทำงานได้ช้ากว่ารุ่นธรรมดาพอควร แต่อัตราการประหยัดพลังงานของชิปรุ่นประหยัดพลังงานนั้นเห็นผลค่อนข้างชัดเจนด้วยชั่วโมงการทำงานของ Lenovo IdeaPad S405 ที่มากกว่า ASUS K45DR-VX037D ราวหนึ่งชั่วโมง ได้เปรียบด้านวัสดุซอฟท์ทัชด้านนอกตัวเครื่องที่ให้ความมั่นคงติดมือกว่า แต่ความสวยงามยังแพ้พลาสติกมันวาวของ ASUS อยู่บ้าง
คีย์บอร์ดของ Lenovo IdeaPad S405 เองก็ได้ AccuType Keyboard ติดตั้งมาให้และเป็น Chiclet Keyboard มาด้วย ทำให้เมื่อพิมพ์งานนั้น ทำได้ดีกว่าคียบอร์ดแบบเก่าของ ASUS พอควร น้ำหนักที่แตกต่างกันก็ส่งผลชัดเจนหากว่าผู้ใช้เป็นคนที่พกพาสิ่งของติดตัวไปมาก น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัมและเนื้อตัวที่บางไม่กินพื้นที่ในกระเป๋ามากได้เปรียบ ASUS เครื่องนี้ที่หนัก 2.2 กิโลกรัมแน่นอน ในทางกลับกัน ถ้าสนใจประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่าโดยไม่คำนึงน้ำหนักแล้ว ASUS มีภาษีที่ดีกว่าเพราะว่าสามารถเพิ่มแรมได้เป็น Dual Channel และเป็นชิปรุ่นปกติที่ทำงานได้รวดเร็วกว่า ราคานั้น Lenovo IdeaPad S405 จะถูกกว่า ASUS อยู่เล็กน้อย (14,990 บาท)?
เชิญอ่านรีวิว Lenovo IdeaPad S405 ได้ที่นี่
ประสิทธิภาพในการทำงานของ ASUS เครื่องนี้นับว่าคุ้มค่าราคาที่ต้องจ่ายในกรอบราคาไม่เกิน 16,000 บาท แต่ได้สเปกที่ใกล้เคียงและเกือบเทียบเท่ากับโน๊ตบุ๊คที่ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกในระดับราคาสองหมื่นบาทต้นๆ เพื่อรองรับการประมวลผลกราฟิกการ์ด เพราะได้ระบบ CrossFireX มาช่วยในการทำงาน ทำให้เวลาเล่นเกมหรือประมวลผลที่พึ่งพากราฟิกสูงพอสมควรนั้น จะคุ้มค่ากว่าที่จะซื้อโน๊ตบุ๊คราคาสูงกว่านี้แน่นอน
เปรียบเทียบไปเรียบร้อยแล้ว เวลาเลือกใช้ก็ต้องถามตัวผู้ใช้ให้เรียบร้อยก่อน ว่าจริงๆ แล้วการใช้งานโน๊ตบุ๊คในชีวิตประจำวันนั้นเป็นแบบไหน ใส่ใจเรื่องประสิทธิภาพมากไหม ต้องการน้ำหนักเบาหรือไม่ คิดถึงระยะเวลาที่สามารถใช้ทำงานได้ต่อเนื่องหรือเปล่า คำถามเหล่านี้ผู้ใช้จำเป็นต้องตอบให้ได้ก่อน ถึงจะบอกได้ ว่า ASUS เครื่องนี้เหมาะกับคุณหรือไม่ ถ้าเพียงคุณตอบว่า “ไม่สนใจว่าระยะเวลาการทำงานว่าทำได้นานแค่ไหน เพราะฉันต่ออะแดปเตอร์เป็นปกติและเรี่ยวแรงฉันก็มีมาก ยกไปไหนมาไหนไม่ลำบากหรอก” ก็เบนเข็มไปหา ASUS ได้เลย เพราะมันเกิดมาเพื่อคุณแล้ว
ข้อดี
- งานประกอบเรียบร้อยแข็งแรง
- ฟีเจอร์ IceCool ป้องกันความร้อนที่จะแผ่ขึ้นมาถึงมือผู้ใช้ได้ดีมาก
- ระบบระบายความร้อนของเครื่องทำได้ดี ความร้อนไม่สูงนัก
- ติดตั้ง USB 3.0 มาให้สองช่องในระดับราคาเท่านี้
- กราฟิกการ์ดทำ CrossFireX มาแล้ว ให้ความแรงน่าพอใจใช้เล่นเกมได้หลายเกม
- เป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสิทธิภาพคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายไป
- แบ่งโซนของฮาร์ดดิสก์กับแรมเอาไว้ชัดเจน ง่ายต่อการอัพเกรดในภายหลัง
ข้อสังเกต
- พลาสติกมันวาวที่ด้านหลังฝาเครื่องเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย
- คีย์บอร์ดไม่ใช่ Chiclet Keyboard มีโอกาสที่ฝุ่นละอองเข้าไปด้านใต้ได้ง่าย
- ช่อง USB ค่อนข้างติดกัน เชื่อมต่อแฟลชไดรฟ์สองตัวพร้อมกันได้ลำบาก
?
Award
ในราคา 15,400 บาท และมองหาโน๊ตบุ๊คที่สามารถนำมาเล่นเกมได้ด้วย ทำงานก็ดี มีความแข็งแรงน่าเชื่อถือร่วมกันมาด้วยนั้น ASUS K45DR-VX037D เป็นอีกตัวเลือกที่ไม่น่ามองข้ามด้วยราคาระดับไม่เกิน 16,000 บาท แต่ว่าสามารถทำ CrossFireX ได้ด้วยนั้น หาได้ยากอยู่ที่จะได้ฟีเจอร์ดีๆ ที่มีราคาไม่เกินเท่านี้