ในตอนนี้ ที่ต่างประเทศกำลังมีการตลาดที่ร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และแต่ละบริษัทเองก็พากันชูข้อดีของสินค้าไอทีตนเองและกล่าวย้ำมันกลับไปกลับมาว่าสินค้าของตัวเองนั้นมีข้อดีอย่างไร และอีกคำหนึ่งที่กล่าวซ้ำบ่อยๆ จนทางสื่อต่างประเทศเองก็เห็นว่ามันมากจนเกินไปก็คือ “No-compromise” หรือแปลว่า “ไม่แพ้ใคร” นั่นเอง
เนื่องด้วยในตอนนี้ การตลาดที่หลายๆ ค่ายกำลังกระทำอยู่นั้น คือการพูดถึงจุดเด่นของสินค้าชิ้นที่ดีที่สุดของตนเองที่กำลังทำตลาดอยู่ และชูข้อเด่นเปรียบเทียบกับสินค้าอื่นๆ จากผู้ผลิตรายอื่นๆ แทน ทำให้ตอนนี้ การตลาดจึงจับอยู่กับสินค้ารุ่นดีที่สุดและแพงที่สุด ส่วนสินค้ารุ่นรองลงมาหรือรุ่นตลาดราคาย่อมเยาว์ถูกหลงลืมไปและไม่มีโฆษณามากเท่าที่ควร ที่จริงแล้ว ไม่ควรจะเป็นแบบนี้นัก
ที่จริงแล้ว แทนที่จะนำข้อดีมาเปรียบเทียบกันนั้น ควรจะชูข้อเด่นของสินค้ารุ่นต่างๆ ว่าเมื่อคุณซื้อรุ่นดังกล่าวไปจะได้รับอะไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง เพราะสินค้ากลุ่มกลางลงไปจนถึงสินค้ารุ่นตลาดราคาย่อมเยาว์กลับถูกลืม หากว่าดึงจุดเด่นและนำเสนอแนวคิดการออกแบบสินค้ารุ่นนั้นๆ ออกมา จะเป็นเรื่องที่ดีกว่าที่จะนำสินค้ารุ่นเด่นมาเปรียบเทียบกันแบบนี้
ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ได้หมายความว่า จะต้องนำสินค้ารุ่นราคาย่อมเยาว์หรือสินค้าที่ไม่โดดเด่นมาขายอย่างเดียว จริงๆ แล้วควรจะหยิบยกมาพูดถึงข้อเด่นไม่เหมือนใครของสินค้าชิ้นนั้นๆ บ้าง ตัวอย่างเช่นในช่วงที่เปิดตัว iPad มาใหม่ๆ นั้น จะต้องพิมพ์ข้อความผ่าน Virtual Keyboard แทนที่จะเป็นคีย์บอร์ดแยกภายนอก (ซึ่งในภายหลังมีผู้ผลิตรายอื่นทำเพิ่มขึ้นมา) ทำให้ผู้ใช้หลายๆ กลุ่มเกิดปัญหาเมื่อใช้งานในช่วงแรกกับ iPad โดยไม่แน่ใจว่านี่จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ Steve Jobs เลือกที่จะไม่ติดตั้งระบบจอสัมผัสมาให้ใน MacBook Pro หรือไม่?
แม้แต่ Microsoft Surface ที่เน้นขาย Touch Keyboard โดยชูข้อเด่นในเรื่องการให้ประสบการณ์การพิมพ์ที่ดีกว่าใช้ Virtual Keyboard ที่แตะบนตัวจอแบบที่ iPad เป็น และไม่กินพื้นที่ครึ่งหนึ่งที่จะใช้แสดงผลเหมือนกับที่ iPad เป็นอีกด้วย ทำให้การแสดงผลทำได้เต็มจอภาพและไม่แย่งพื้นที่การแสดงภาพเหมือนกับใน iPad เป็น
ในแง่การพัฒนาเทคโนโลยีไปในอนาคตให้โดดเด่นยิ่งขึ้นกว่าเดิมนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ที่มีความจุมากยิ่งขึ้น หรือว่าซีพียูที่ให้การทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ทว่าต้องให้สมกับราคาที่จะคิดกับผู้บริโภคเพิ่มด้วยเช่นกัน เพราะการพัฒนาพื้นฐานวิศวกรรมของวิศวกรนั้นเป็นวิธีการที่ทำให้สิ่งของรอบตัวเราดีขึ้น และการทำการตลาดให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคและเข้าใจถึงข้อดีของสินค้านั้น ก็เป็นวิธีการของฝ่ายการตลาดเช่นกัน ดังนั้นผู้ผลิตหลายๆ ค่าย ควรจะศึกษาแนวทางการตลาดเพิ่มเติมให้ดีด้วยก่อนที่จะเริ่มต้นตั้งราคาว่ามันเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่ติดตั้งมาให้หรือไม่?
ที่มา :?engadget