เดี๋ยวนี้หลายๆ ท่านที่ซื้อโน้ตบุีกเครื่องใหม่นอกจากดูเรื่องสเปกกับราคาแล้ว หลายๆท่านเองก็ดูไปถึงเรื่องความร้อนของตัวเครื่องด้วย
เพราะ ว่าบ้านเรานี่อากาศร้อนเป็นปรกติอยู่แล้ว เทียบไม่ได้กับในหลายๆ ประเทศที่เขาเป็นเมืองหนาว ซึ่งส่วนใหญ่ไอ้พวกที่อยู่เมืองหนาวนี่ละเป็นคนออกแบบโน๊ตบุ๊ค บางรุ่นออกแบบมาดีก็ช่วยระบายความร้อนได้ไม่มีปัญหา บางรุ่นก้ออกแบบได้ห่วยแตกมากมาย เน้นบางเบาเป็นหลัก แต่ระบายความร้อนไม่ได้เรื่องเลย ผมเลยอยากจะขอแนะนำการศึกษาระบบระบายความร้อนในคอมพิวเตอร์กันสักหน่อยนะ ครับ
หลักๆอุปกรณ์ที่ก่อนให้เกิดความร้อนในโน๊ตบุ๊คเราเรียกได้ว่าแทบ ทุกอุปกรณืเลยนะครับ แต่อุปกรณืหลักๆ ที่จะส่งผลให้ตัวเครื่องร้อนมากนั้นได้แก่
- ซีพียู : เป็นอุปกรณ์ที่แผ่ความร้อนมากที่สุด ยิ่งทำงานหนักก็ยิ่งร้อน จึงไม่แปลกใจที่หลายๆแบรนด์เน้นการระบายความร้อนของซีพียูเป็นหลัก ในหลายๆ รุ่นจะวางตำแหน่งซีพียูไว้ใต้คีย์บอร์ดใกล้ๆกับช่องระบายความร้อน ลองเปิดเครื่องแล้วลองจับลองพิมพ์ดู ถ้าไม่ร้อนมากพออุ่นๆ ถือว่าใช้ได้
- การ์ดจอ : ยิ่งถ้าเป็นการืดจอแยกนี่ยิ่งตัวร้อนเลยนะครับเพราะนอกจากตัว Core ของการ์ดจอแล้วยังรวมถึงแรมการ์ดจอที่แผ่ความร้อนด้วย โดยปกติจะอยู่ใกล้ๆกับซีพียูใต้คีย์บอร์ดเหมือนๆ กันครับ เพราะมักจะต้องใช้ท่อนำความร้อนเดียวกับซีพียูเพื่อช่วยระบายความร้อนไป ระบายออก
- ชิปเซ็ต : อีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญและแผ่ความร้อนออกมา แต่ก็ไม่ได้มากมายนะครับ โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ จึงไม่จำเป็นต้องมีฟิน (ครีบ) ระบายความร้อน ถ้าเปิดเครื่องมาแล้วเป็นชิปเปล่าๆ ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ
- ฮาร์ดดิสก์ : แน่นอนว่ายิ่งฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักก็ต้องยิ่งหมุนจานเก็บข้อมูล จนเกิดความร้อนสะสมที่มาก สังเกตุจากพวกฮาร์ดดิสก์พกพาเวลาเราโอถ่ายข้อมูลนานๆ จับแล้วมันจะอุ่นๆ ขึ้น มาเลยทีเดียว ฮาร์ดดิสค์ในเครื่องก็เช่นเดียวกันครับ ปรกติฮาร์ดดิสค์จะอยู่แถวๆที่พักมือ ลองจับๆ สัมผัสดูนะครับว่าร้อนขนาดไหน เพราะเป็นตำแหน่งที่เราต้องวางมืออยู่ตลอดเวลาด้วยนะครับ
- ช่องระบาย ความร้อน : เป็นทางออกสุดท้ายของความร้อนจากทั้งซีพียู การ์ดจอ etc จึงเป็นแหล่งสะสมความร้อนพอสมควร ซึ่งส่วนใหญ่จะวางตำแหน่งไว้ด้านหลัง หรือไม่ก็ด้ารข้างค่อนไปทางด้านหลัง แต่บางแบรนด์เอาไว้แถวๆ ที่พักมือหรือใต้คีย์บอรืดที่เราสัมผัสบ่อยๆ อันนี้ถือว่าออกแบบไม่ดีนะครับ
เมื่อเราทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ ต่างๆแล้ว เราก็จะสามารถเช็คอุณหภูมิตัวเครื่องเราได้ละเอียดขึ้น เพราะบางท่านเช็คหน้าร้านก็เพียงแต่ดูที่พักมือว่าร้อนไหม ซึ่งจริงๆเราควรเช็คหลายๆส่วนนะครับ เช่นใต้เครื่อง ช่องระบายความร้อน ตามตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ เพราะแม้ว่าเราจะไม่รู้สึกว่ามันร้อนการการสัมผัสระหว่างใช้งาน แต่นานๆ ไป อาจจะทำให้เครื่องเสียหายเร็วได้ เหมือนพวกพลาสติกที่ร้อนติดต่อกันตลอดเวลา นานๆ ไปก็จะกรอบหรือแตกหักได้ง่าย
อีกประโยชน์นึงถ้าเราทราบตำแหน่งเกิดความร้อนเราก็จะได้หา Cooling Pad ที่เหมาะสมกับตัวเครื่องของเราได้ เช่นตำแหน่งของพัดลมที่ตรงกับตำแหน่งของการ์ดจอซีพียู ก็จะเป็นอุปกรณ์อีกตัวที่ช่วยในการระบายความร้อนตัวเครื่องให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น