Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook News

ราชบัณฑิตจะปรับแก้คำทับศัพท์ให้เขียนตามการออกเสียงไทย (อัพเดต: ยกเลิกแล้ว)

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวหนึ่งที่สร้างกระแสในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะสังคม Social Network ได้เป็นอย่างดี

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวหนึ่งที่สร้างกระแสในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะสังคม Social Network ได้เป็นอย่างดี นั่นคือข่าวเกี่ยวกับแนวคิดการปรับเปลี่ยนคำเขียนของคำทับศัพท์หลายๆ คำ ซึ่งรวมถึงคำในวงการไอทีหลายๆ คำด้วย ถ้านึกไม่ออกว่ามีคำไหนบ้าง ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ

  • คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนเป็น ค็อมพิ้วเต้อร์
  • เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร
  • แบตเตอรี่-แบ็ตเตอรี่
  • แบดมินตัน-แบ็ดมินตั้น
  • บาสเกตบอล-บ๊าสเก้ต บอล
  • คลินิก-คลิหนิก
  • กะรัต-กะหรัต
  • เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่
  • โซลา-โซล่า
  • ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ
  • คอร์ด-ขอร์ด

ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งจากทั้งหมด 176 คำที่มีการประกาศออกมา ส่วนคำที่เหลือสามารถตามได้จากต้นข่าวครับ?แน่นอนว่าเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากคำที่ปรากฏในรายการข้างต้น เป็นคำที่เราใช้กันมาตั้งแต่สมัยไหนๆ กันแล้ว แถมการเปลี่ยนก็ทำให้เขียนยากขึ้น (ที่สำคัญคือเรื่องหน้าตาของคำที่แปลกขึ้นมาก) โดยเสียงในสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ก็ออกไปในแนวทางไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้

Advertisement

158188

โดยเรื่องนี้ผู้ที่เป็นตัวละครหลักก็คือนางกาญจนา นาคสกุล หนึ่งในคณะราชบัณฑิดและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้แทนในการนำเสนอแนวคิดเข้าสู่สภาราชบัณฑิต เนื่องด้วยต้องการปรับแก้การเขียนคำภาษาต่างประเทศให้ตรงกับเสียงที่เราออกเสียงจริงๆ โดยเป็นการถอดสำเนียงมาจากภาษาต่างประเทศ แล้วใส่วรรณยุกต์หรืออักขระเพิ่มเติมเพื่อช่วยกำหนดแนวทางการออกเสียงให้เห็นคำแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะออกเสียงอย่างไร เพราะที่ผ่านมาเหล่าคำทับศัพท์จะใช้การเขียนแบบไม่มีวรรณยุกต์และไม้ไต่คู้ (หน้าตาแบบเลขแปดไทย) แทบทั้งหมด ทำให้บางครั้งไม่สามารถออกเสียงตามได้ถูกต้องนัก โดยมีประเด็นที่น่าสนใจและเราควรทราบดังนี้ครับ

  • ยังไม่มีการลงมติใดๆ ว่าจะเปลี่ยนคำทั้งหมดเป็นแบบใหม่
  • ในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดทำแบบสำรวจ 300 ชุด เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้อง (ไม่แน่ใจว่าจะมาถึงภาคประชาชนมากขนาดไหน)
  • ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจริงๆ ก็สามารถเขียนคำแบบเดิมได้ ส่วนคำใหม่จะถูกนำไปบรรจุลงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่กำลังปรับปรุงใหม่ในขณะนี้
  • ตามกำหนดผู้ที่ได้รับแบบประเมินจะต้องส่งแบบประเมินคืนที่กองศิลปกรรมภายในวันที่ 31 ตุลาคม

ดูแล้ว ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงคำจริงๆ เชื่อว่าเรื่องของการออกเสียงคงไม่มีปัญหาจากเดิม และเชื่อว่าน่าจะช่วยให้การอ่านออกเสียงทำได้ง่ายกว่าเดิมด้วย แต่ในแง่ของการเขียนคำ น่าจะเป็นข้อที่หลายคนสงสัยมากที่สุดว่าจะลำบากขึ้นเพียงใด เพราะส่วนใหญ่ก็คุ้นชินกับการใช้คำในขณะนี้อยู่แล้ว และอีกวงการที่น่าจะส่งผลเต็มๆ ก็คือส่วนของงานราชการและงานที่ต้องเป็นทางการ ว่าคำที่ใช้ในเอกสารเป็นทางการควรจะใช้งานเป็นแบบเก่าหรือแบบใหม่กันแน่ ถ้าใช้เป็นแบบเก่าก็จะง่ายต่อการพิมพ์ แต่ก็เท่ากับว่าการเปลี่ยนคำของราชบัณฑิตครั้งนี้ไม่มีผลใดๆ เลย แต่ถ้าใช้เป็นคำแบบใหม่ ก็อาจจะเกิดความสับสนว่าคำไหนที่ต้องเปลี่ยนบ้าง เปลี่ยนอย่างไร และเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดข้อสงสัยในใจหลายๆ คนว่า “คำนี้จะมีให้เลือกสองแบบไปทำไม ?”

384295 353198544771273 1563513335 n

แล้วผู้ที่ติดตามข่าวค็อมพิ้วเต้อร์และเท็คโนโลยี่อย่างชาว Notebookspec ล่ะครับ มีความเห็นอย่างไรกับแนวคิดการปรับเปลี่ยนคำในครั้งนี้ เชิญให้ความเห็นยาวเป็นเซ็นติเม้ตรแบบสุภาพกันได้เลย :D

ล่าสุดมีการประกาศจากทางราชบัณฑิตยสถานเองแล้วว่า จะไม่มีการแก้ไขและปรับเปลี่ยนคำแต่อย่างใด ดังนั้นก็สบายใจกันได้แล้วครับ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก