Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

เน็ตบุ๊กและแท็บเล็ตนาทีนี้ควรซื้ออะไรมาใช้งานดี ?

กระแสของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในขนาดที่พกพาได้อย่างเช่นเน็ตบุ๊กหรือแท็บเล็ตซึ่งมีขนาดจอและขนาดของเครื่องที่พอเหมาะสำหรับ

กระแสของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในขนาดที่พกพาได้อย่างเช่นเน็ตบุ๊กหรือแท็บเล็ตซึ่งมีขนาดจอและขนาดของเครื่องที่พอเหมาะสำหรับการใช้งานและพกพา ทำให้หลายๆ คนเกิดความสับสนในใจว่าจะเลือกซื้ออะไรดี เนื่องด้วยราคาที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ดังนั้นในบทความนี้ NBS จะมาเป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจของทุกๆ ท่านครับ เอาเป็นว่ามาดูข้อสังเกตของทั้งสองอย่างกันเลยดีกว่าscreens

1. รูปร่างและน้ำหนักมีความแตกต่างกัน

Advertisement

รูปร่างของทั้งสองอุปกรณ์มีความแตกต่างกันในหลายๆ จุด ที่เห็นได้ชัดก็คือเน็ตบุ๊กมีจอพับลงได้แบบโน๊ตบุ๊คอย่างที่หลายๆ ท่านคงจะทราบกันดี ส่วนแท็บเล็ตนั้น หลักๆ ก็จะเป็นเหมือนแผ่นกระดาน นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่นๆ ที่แตกต่างกันอีก เช่น

  • ขนาดจอ: เน็ตบุ๊กโดยมากจะอยู่ที่ 10.1 นิ้ว ส่วนแท็บเล็ตจะมีตั้งแต่ 7 นิ้วเป็นต้นไป ไปจนถึงราวๆ 10 นิ้วกว่าๆ
  • น้ำหนัก: เน็ตบุ๊กมักจะมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 1 กิโลกรัมกว่าๆ ส่วนแท็บเล็ตโดยมากจะไม่ถึง 1 กิโลกรัม
  • วัสดุที่ใช้ :? วัสดุของเน็ตบุ๊กโดยมากจะเป็นพลาสติก ส่วนแท็บเล็ตนั้นมีทั้งพลาสติก อะลูมิเนียม กระจก ซึ่งตามปกติแล้วจะถูกออกแบบมาให้มีความคงทนค่อนข้างสูง

2. การรับข้อมูลเข้าไปประมวลผล

พูดง่ายๆ ก็คือการอินพุตข้อมูลเข้าเครื่องนั่นละครับ โดยเน็ตบุ๊กนั้นก็แน่นอนว่าจะเป็นคีย์บอร์ดและเม้าส์ (ทัชแพด) หรือแล้วแต่อุปกรณ์อื่นๆ ที่นำมาต่อพ่วงด้วย ส่วนแท็บเล็ตนั้นแน่นอนว่าเป็นจอสัมผัสกันทุกเครื่องอยู่แล้ว นอกเหนือไปจากในบางรุ่นที่มีคีย์บอร์ดแบบปุ่มกดเป็นอุปกรณ์เสริมมาให้ด้วย ซึ่งคีย์บอร์ดแบบมีปุ่มกดจริงนั้นจะเหมาะกับผู้ที่ต้องใช้เครื่องในการพิมพ์ข้อความบ่อยๆ มากกว่าจอแบบสัมผัสTouchScreen

3. การรองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์

ในเรื่องนี้ เน็ตบุ๊กเป็นฝ่ายที่ทำได้ดีกว่า เนื่องด้วยมีจำนวนของพอร์ตเชื่อมต่อที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น USB, VGA, HDMI, Card reader หรือจะรวมไปถึงการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วย เช่น WiFi, Bluetooth, 3G, WiMAX เป็นต้น ส่วนแท็บเล็ตนั้นตามปกติจะมีพอร์ตน้อยกว่า ตัวอย่างพอร์ตที่มักจะมีในแท็บเล็ตก็อย่างเช่น HDMI, Micro USB, Micro HDMI, WiFi, Bluetooth, 3G

4. สเปกของอุปกรณ์มีความแตกต่างกัน

เนื่องด้วยสถาปัตยกรรมของระบบทั้งสองมีความแตกต่างกัน ที่เห็นได้ชัดก็คือตัว CPU ที่มีความแตกต่างกันง่ายๆ ดังนี้

  • เน็ตบุ๊ก: ใช้ CPU ในสถาปัตยกรรม x86 นั่นคือทางฝั่ง Intel และ AMD
  • แท็บเล็ต : ใช้ CPU ในสถาปัตยกรรมของ ARM ที่มีรูปแบบการคำนวณต่างจาก x86 อย่างสิ้นเชิง อาจจะมีความเร็วน้อยกว่า แต่กินพลังงานน้อยกว่า x86 มาก

ในด้านของอุปกรณ์เก็บข้อมูลก็มีความแตกต่างกันไม่ใช่น้อยทีเดียว นั่นคือ

  • เน็ตบุ๊ก: โดยมากจะใช้ HDD ในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีข้อดีคือมีความจุค่อนข้างมาก อีกทั้งยังสามารถถอดเปลี่ยนได้ง่าย
  • แท็บเล็ต : ใช้หน่วยความจำแฟลชในการเก็บข้อมูล มีทั้งแบบที่เป็นหน่วยความจำฝังเป็นชิปมาในเครื่อง หรืออาจจะเป็น MicroSD ก็ได้ ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง สามารถเขียนอ่านข้อมูลได้เร็ว แต่ก็มีจุดที่อาจจะเป็นข้อด้อยคือความจุข้อมูลที่ค่อยข้างน้อย เช่น 16 GB, 32 GB และ 64 GB เป็นต้น

atomandchipset

5. ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมที่มีให้ใช้

คอมพิวเตอร์นั้นต้องมีระบบปฏิบัติการ (OS) ถึงจะทำงานได้ โดยสืบเนื่องมาจากข้อที่ 4 ในเรื่องของ CPU ที่ทั้งสองมีความแตกต่างกัน ดังนั้น OS ที่จะใช้ในแต่ละอุปกรณ์ก็จะแตกต่างกัน โดยตัวอย่างรายชื่อของ OS ก็เช่น

  • เน็ตบุ๊ก: Windows, Linux, DOS
  • แท็บเล็ต : iOS, Android

ซึ่ง OS ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้โปรแกรมเสริมต่างๆของแต่ละ OS มีความแตกต่างกันด้วย โดยข้อนี้เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยข้อใหญ่ที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้ใช้เลยก็ว่าได้ เพราะทั้งเน็ตบุ๊กและแท็บเล็ตต่างก็มีโปรแกรม/แอพพลิเคชันที่แตกต่างกัน รูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ใชต้องตัดสินใจโดยดูจากความต้องการของตนเองว่าต้องการใช้งานโปรแกรมประเภทใด

สรุปง่ายๆก็คือ ถ้าต้องการใช้โปรแกรมที่มีบน Windows เช่น Microsoft Word การซื้อเน็ตบุ๊กก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการซื้อแท็บเล็ตมาใช้งาน ถึงแม้แท็บเล็ตจะมีโปรแกรมที่สามารถทำงานได้ใกล้เคียง Microsoft Word ให้ใช้งานบนแท็บเล็ต แต่ก็ไม่สามารถทำงานได้ถูกต้องและครบถ้วนเหมือนกับโปรแกรม Microsoft Word แน่นอน

ส่วนแอพพลิเคชันที่มีบนแท็บเล็ต โดยมากก็จะเป็นแอพพลิเคชันจำพวก social network, เกมแบบเล่นสนุกๆ แนว casual ซะมากกว่า

6. ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่

ในเรื่องนี้ แท็บเล็ตจะสามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานกว่า ปัจจัยหลักก็คือสถาปัตยกรรมของ CPU ในแท็บเล็ตเป็นแบบที่กินพลังงานต่ำ ทำให้สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนาน โดยปกติในการชาร์จไฟจนเต็ม 1 ครั้ง จะสามารถใช้งานได้ราวๆ 8-10 ชั่วโมง ส่วนเน็ตบุ๊ก โดยมากจะใช้ได้ราวๆ 3-5 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ก็มีข้อดีอยู่ตรงที่แบตของเน็ตบุ๊กนั้นสามารถถอดออกมาได้ง่ายกว่าแท็บเล็ตที่ใช้การติดตั้งแบตเตอรี่เอาไว้ด้านในตัวเครื่องhitachibat-ed01

7. การอัพเกรดอุปกรณ์

จุดนี้ก็เป็นจุดแข็งของเน็ตบุ๊กเลยก็ว่าได้ เพราะสามารถถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในได้หลายชิ้น เช่น แรม, HDD, แบตเตอรี่ หรืออาจจะถอดเปลี่ยน CPU ได้ด้วยในบางรุ่น แต่แท็บเล็ตนั้นหาจุดที่สามารถถอดเปลี่ยนเพื่อทำการอัพเกรดแทบไม่ได้เลย เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะถูกล็อกสเปกมาตายตัวแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงกลบจุดอ่อนนี้ด้วยการซอยรุ่นของแท็บเล็ตเป็นหลายๆ รุ่น โดยมีความแตกต่างกัน เช่น ความจุหน่วยความจำภายในและความเร็ว CPU เป็นต้น

8. ราคา

ราคาเริ่มต้นของทั้งเน็ตบุ๊กและแท็บเล็ตจะอยู่ในช่วงหลักพันปลายๆ เกือบถึง 10,000 บาท แล้วไล่ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ ตามสเปก แต่ช่วงราคาของแท็บเล็ตจะมีความกว้างมากกว่า โดยราคาสูงสุดของแท็บเล็ตนั้นอยู่ในระดับ 20,000 กว่าบาทเลยทีเดียว ในขณะที่เน็ตบุ๊กระดับใช้งานทั่วไป มีราคาสูงสุดแค่ราวๆ 15,000 บาทเท่านั้น

rafe_needleman_cnet

สรุปบทความ

คราวนี้ก็อยู่ที่แต่ละท่านแล้วละครับ ว่าต้องการใช้อะไร โดยสำรวจความต้องการของตนเองดูก่อน เช่น ต้องการพกพาไปไหนมาไหนบ่อยๆ หรือไม่ ต้องใช้งานนอกสถานที่นานแค่ไหน ชนิดของโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน ซึ่งทั้งเน็ตบุ๊กและแท็บเล็ตต่างก็มีข้อดี/ข้อด้อยในตัวของมันเอง ทั้งนี้ก็แล้วแต่แต่ละท่านแล้วละครับ ว่าต้องการอะไร

แต่ถ้าในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าแท็บเล็ตเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากในตอนนี้ที่เดียว Open-mouthed smile

ถ้าอยากรู้ว่าเน็ตบุ๊กมีรุ่นไหนบ้าง สามารถเข้าไปดูจากหน้าค้นหาของเราในนี้ได้ครับ >>> หน้าค้นหาโน๊ตบุ๊ค <<<

หรือถ้าสนใจแท็บเล็ตก็เข้าไปดูในหน้านี้ได้เลย >>> หน้าค้นหาแท็บเล็ต <<<

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว Huawei

HUAWEI MatePad 11.5 S แท็บเล็ตสายทำงานพร้อม HUAWEI Smart Magnetic Keyboard กับ HUAWEI M-Pencil ให้จดก็ง่าย วาดภาพก็สะดวก! หาก HUAWEI MatePad 11.5 PaperMatte Edition เป็นแท็บเล็ตเพื่องานเอกสารและคนรักการอ่าน HUAWEI MatePad 11.5...

How to

ไอแพดชาร์จไม่เข้าไม่ต้องตกใจ มีวิธีแก้ไขง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเองไม่ต้องส่งช่างให้เปลืองเงินอีกด้วย!! ยุคนี้ไม่ว่าใครก็ยอมรับว่าไอแพดเป็นแท็บเล็ตที่ดี ใช้ทำงานได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้คอมพิวเตอร์แต่บางคนก็อาจเจอปัญหาว่าใช้ไปสักพักแล้วไอแพดชาร์จไม่เข้าเสียอย่างนั้นจนต้องพาเข้าศูนย์ Apple หรือถ้าหมดประกันก็ต้องพึ่งร้านตู้เจ้าต่างๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาได้ถูกจุดหรือก่อปัญหาอื่นเพิ่มแทนกันแน่? ซึ่งวิธีแก้ปัญหาไอแพดชาร์จไม่เข้านั้นง่ายกว่าที่คิดมากสามารถแก้เองก่อนได้ ถ้าเกินฝีมือแก้เองไม่ได้จะส่งช่างให้เช็คโดยละเอียดก็ไม่เสียดายภายหลังแน่นอน ปัญหาการชาร์จไม่เข้า หลักๆ คือพอร์ต USB-C หรือ Lightning อาจมาจากความสกปรกไม่ว่าจะหน้าคอนแท็คทองเหลืองเกิดคราบออกไซด์หรือมีฝุ่นจากกระเป๋าเข้าไปอุดตันเยอะจนดันหัวสายชาร์จไม่เข้า, สายชาร์จก็ไม่ได้มาตรฐานเลยชาร์จไม่ได้ ไปจนถึงเรื่องง่ายๆ อย่างการเสียบชาร์จเข้าพอร์ต USB ของพีซีหรือโน๊ตบุ๊คแล้วกระแสไฟไม่พอชาร์จก็อาจเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ในตัวอย่างก็แก้ได้ไม่ยาก...

รีวิว Huawei

บอกลาแสงจ้าด้วยหน้าจอ PaperMatte Display บน HUAWEI MatePad 11.5 PaperMatte Edition ได้รับ 3 การรับรองสถาบันชั้นนำจาก SGS Low Visual Fatigue Premium Performance Certification, TUV Rheinland Low Blue Light...

Buyer's Guide

แท็บเล็ตราคาไม่เกิน 3000 บาทอยากซื้อไว้ดูหนังหรืออ่านหนังสือก็ได้นะ! แม้แท็บเล็ตราคาไม่เกิน 3000 บาทจะดูราคาไม่แพงมากจนบางคนติดภาพว่าประสิทธิภาพของมันคงทำอะไรไม่ได้มาก แต่จริงๆ แล้วชิปเซ็ตยุคใหม่นี้ก็มีประสิทธิภาพดีขึ้นพอควร จะใช้ดูคลิปบน YouTube หรือใช้เป็น Ebook Reader ก็ยังได้ แถมส่วนใหญ่ติดตั้งพอร์ต USB-C มาให้โอนไฟล์และชาร์จแบตเตอรี่แล้ว และขนาดตัวเครื่องก็พกพาง่ายเพียง 8 นิ้วเท่านั้น จึงหยิบใส่กระเป๋าไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้นมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นแท็บเล็ตราคาประหยัดทำให้ผู้ผลิตไม่ค่อยอัปเดตเวอร์ชั่น Android ให้เป็นปัจจุบันนัก...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก