ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วและข้อจำกัดในการทำงานของ SSD
ก็แนะนำตัวกันไปพอหอมปากหอมคอ เลียหน้าเลียตากันไปเรียบร้อยแล้ว ทีนี้มาพูดถึงความเร็วในการทำงานของ SSD กันบ้าง ว่ามีข้อจำกัดในส่วนใดที่ต้องตระหนัก
งานนี้พี่น้องเจ้าเหนื่อยแน่…
1. Controller เนื่องจาก SSD เป็นเสมือนแผงหน่วยความจำ Flash ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติ Flash Memory มีความเร็วในการอ่านเขียนต่อ Cell ต่ำ?ทำให้ Controller หรืออีกนัยหนึ่ง Processor มีความสำคัญในการควบคุมการทำงานของ SSD แต่ละรุ่น ยกตัวอย่างเช่น SF2281, Indilinx Everest
2. NAND หน่วยความจำที่ SSD ใช้ รุ่นที่มีความเร็วสูง แผงวงจรและงานออกแบบจะซับซ้อน ทำให้มีต้นทุนและราคาจำหน่ายสูงตามไปด้วย
3. Cache หรือหน่วยความจำพักข้อมูล ลักษณะเหมือน RAM ของคอมพิวเตอร์นั่นเอง
4. SATA Interface?เป็นส่วนสำคัญที่สามารถระบุได้ถึงขีดจำกัดในการส่งข้อมูลและ Generation ของ SSD โดยส่วนใหญ่ว่าใหม่หรือเก่า
ซึ่งข้อมูลพวกนี้เราจะเจาะลึกกันใน Part II สำหรับ SSD แต่ละรุ่นต่อไปครับ ไกด์คร่าวๆ ก่อนเผื่อใครขี้เกียจอ่านแล้ววิ่งไปซื้อหลังอ่านแนะนำตัว SSD เสร็จ ฮ่าๆ
ไม่เจ้าก็ข้าต้องม้วยมิด แค่ลงวินโดวส์ก็แทบหมดไปสามชีวิตแล้ว แอ่ก….
ทีนี้เรื่องการทดสอบไดรฟ์ เราจะมีมาตรฐานในการทดสอบตามนี้ครับ
มาตรฐานในการทดสอบ
OS – Microsoft Windows 7 Professional x64 Service Pack 1 (MSDN Technet 5/12/2011) Untouched
Application – ไม่ลง Utility อื่นๆ นอกจาก Rapidboot และ Rapiddrive โดยใช้ไดรเวอร์ Reference ที่มีให้โหลดจากเว็บ Support ของ Lenovo ทั้งหมด
ตรงนี้จะมีผลกับการทดสอบที่ปัจจุบันผู้ผลิตแต่ละชิ้นส่วนอาจจะออกไดรเวอร์รุ่นใหม่ๆ ที่ทำงานได้ดีขึ้นมาแล้ว แต่สำหรับ End-User นั้น ความง่ายมีความสำคัญมาก?ผมก็จะทำเหมือนเป็น User ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ซื้อ SSD มายัดใส่เครื่องใหม่ๆ โหลดไดรเวอร์จากผู้ผลิต ลงวินโดวส์ลงไดรเวอร์เสร็จแล้วเทสต์เลย อารมณ์ประมาณนี้แหละครับ
ผมไม่ได้เป็น Geek นะ ขอใช้ไดรเวอร์พื้นๆ โหลดง่ายๆ ทำกันแบบบ้านๆ เทสต์ละเมี้ยว!
Benchmark Program?
มีโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบซึ่งแบ่งประเภทเป็นตามนี้ครับ
1. I/O Bandwidth Limitation ได้แก่โปรแกรมที่อ่านค่าความเร็วสูงสุดในการทำงานของ SSD แต่ละตัว โดยไม่ได้คำนึงถึงค่าทั่วไปในการใช้งานจริง ได้แก่
- 1.1 HDTunePro 5.00
ซึ่งทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล, การใช้ CPU, การเข้าถึงข้อมูล และการอ่านเขียนไฟล์ตามขนาดที่โปรแกรมกำหนด ตั้งแต่ขนาด 0.5-8 MB - 1.2 ATTO Disk Benchmark
ลักษณะในการทดสอบจะเหมือนกับการอ่านเขียนไฟล์ของ HDTune ซึ่งผู้ผลิตหลายรายใช้โปรแกรมนี้ในการโฆษณาประสิทธิภาพของ SSD เสียอย่างนั้น?
2. Sequential/Queued Data Read/Write and IOPS test ได้แก่โปรแกรมที่ทดสอบการอ่านและเขียนข้อมูล ซึ่งจะใกล้เคียงกับการทำงานจริงของ SSD ได้แก่
- 2.1 AS-SSD ?1.6.4237.30508
ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ยอมรับกันในการทดสอบการอ่านเขียนไฟล์แบบต่อเนื่อง รวมไปถึงทดสอบประสิทธิภาพไดรฟ์และแสดงผลการ Alignment, การทำงานของ AHCI - 2.2 CrystalDiskMark 3.0.1 x64
ที่เป็น Sequential/Random Read/Write Test ที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานของไดรฟ์ และแสดงประสิทธิภาพเมื่อทดสอบ ณ ความจุต่างๆ
3. Boottimer ซึ่งเป็นโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพคร่าวๆ ในการอ่าน Sequential Prefetched Data ในการเปิด/ปิดวินโดวส์ที่มีการเซ็ตอัพลักษณะเดียวกัน
ซึ่งผลการทดสอบแต่ละโปรแกรมของ SSD แต่ละตัวก็เป็นดังนี้ครับ มาดูกันในหน้าต่อไปได้เลย