หลังจากมีข่าวคราวออกมาได้สักพักแล้ว ก็ถึงเวลาที่ Intel จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเสียที
เหมือนจะกลายเป็นธรรมเนียมของ Intel ไปเสียแล้ว ที่เมื่อเข้าปีใหม่ก็จะมีซีพียูรุ่นใหม่ออกมา จำได้เลยว่าเมื่อต้นปี 2010 Intel ก็เพิ่งเปิดตัว Core i ออกมา พอเข้าปี 2011 แค่ไม่กี่วัน ก็เปิดตัวซีพียู Sandy Bridge ของ PC และในวันที่ 19 นี้ก็ได้เวลาแล้วที่จะเปิดตัว Sandy Bridge ของโน๊ตบุ๊ค ที่ Intel จะเปิดตัวพร้อมกันเลยตั้งแต่ Core i3, i5 และ i7 ไม่เหมือนตอนเปิดตัว Core i ที่เปิดตัว i7 ก่อน ทำให้เห็นภาพรวมของตลาดเลยนะครับว่า Core i ตัวเก่าคงจะต้องออกไปจากท้องตลาดอันใกล้นี้แน่นอน
ทีมงานอาจจะไม่ได้อธิบายเทคนิคจ๋าอะไรมากมายนะครับ เอาที่เป็นประโยชน์และเข้าใจง่ายมากกว่านะครับ
บทความนี้ทีมงานแปลมาจาก Notebookcheck.net จึงมีเครื่องเทสต์ออกมาด้วยเป็น
สเปก Clevo XMG P501
- Windows 7 Home Premium 64bit
- Intel ID0104 chipset
- Intel Core i7 Quadcore Sandy Bridge CPUs (i7-2920XM )
- Nvidia Geforce GTX 485M 2GB GDDR5 VRAM
- 15.6? Full-HD LED Display, Non-Glare!
- 16GB DDR3 RAM 1333MHz
- Seagate Momentus ST9750420AS HDD (750GB/7200rpm)
- Price: not yet fixed, depends on the configuration
หลาย ๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า Sandy Bridge คืออะไร
Sandy Bridge คือ ชื่อสายการผลิตที่ Intel พัฒนาใช้ในซีพียู ซึ่งใน Sandy Bridge จะเป็นซีพียูที่ Intel ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 32nm ซึ่งจะต่างจาก Nehalem ที่เป็นเทคโนโลยีใน Core i ตัวแรก ๆ (รุ่นที่ไม่มีการ์ดจอในซีพียูนะละ) และพัฒนามาจาก Westmere ซึ่งเป็น Core i ที่มาพร้อมการ์ดจอบนซีพียูนั่นเอง
แล้ว Sandy Bridge จะเข้ามาในตลาดไหนบ้างล่ะ
Sandy Bridge นั้นจะเป็นซีพียูที่ Intel วางแผนให้ครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มของตลาดโน๊ตบุ๊คเลย โดยจะส่งโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูในซีรีส์ของ Core i7 ลงสู่ท้องตลาดก่อนตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2011 และ โน๊ตบุ๊ค Core i5, i3 Sandy Bridge ทั้งกลุ่มประสิทธิภาพสูงและราคาประหยัดในช่วงเดือนที่ 2 ของไตรมาสแรก แต่จะยังมี Core i5 และ i3 ในบางรุ่นที่เพิ่งเปิดตัวไป ยังคงอยู่ในท้องตลาดจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ส่วนในตลาดล่างนั้น Pentium และ Celeron ในเทคโนโลยีเดิม จะยังคงอยู่ถึงไตรมาสที่ 2 และหลังจากนั้นก็จะเป็นเทคโลยีใหม่ที่พัฒนามาจาก Sandy Bridge
และอะไรอยู่ใน Sandy Bridge
ในตระกูลใหม่จะใช้เทคโนโลยีที่เล็กลงไปกว่าเดิมในการผลิต คือ 32 นาโนเมตร รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่มีการจับเอาหน่วยประมวลผล (processor), ตัวควบคุมหน่วยความจำ (memory controller) และการ์ดจอ (graphics) ลงมาอยู่ใน die เดียวกัน ซึ่งจะต่างจาก Westmere ที่แม้การ์ดจอจะอยู่บนซีพียู แต่ก็ไม่ได้อยู่ใน Die เดียวกัน ทำให้ทรัพยากรต่าง ๆ ต้องแยกกัน และไม่สามารถแชร์กันได้ ซึ่งเดี๋ยวทีมงานจะกล่าวต่อไปว่า การ์ดจอมาอยู่ใน Die เดียวกันนั้นมีประโยชน์อย่างไร
จากภาพจะเป็น Core i7 จึงมีจำนวน Core?ถึง 4 Core เทคโนโลยี Cache ก็ยังใช้ในรูปแบบ L3 และยังมาพร้อม Processor Graphics (ชิปการ์ดจอ) อยู่ติด ๆ กันเลย พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้ง Turbo Boost และ Hyper-threading ก็ยังมาอย่างครบครัน
เปรียบเทียบให้เห็นเลยว่าหน้าตาของ Westmere (ใน Core i รุ่นก่อน) แตกต่างจาก Sandy Bridge ที่การผนวกรวมชิปการ์ดจอเข้าไปใน Core (Die) ชิ้นเดียวกัน
จุดเด่นอื่น ๆ ที่น่าสนใจใน Sandy Bridge
- Turbo Boost ตัวใหม่
- Cache มีแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น
- การ์ดจอออนซีพียูรุ่นใหม่
- Display Port ที่ให้คุณภาพสัญญาณสูงกว่า HDMI
- รองรับการ์ดจอแยกที่ความเร็วสูงทั้ง
- เทคโนโลยี Intel AVX
- Memory Controller ที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 2 ช่องทาง
ว่าแล้วเรามารู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ พิเศษใน Sandy Bridge กันเลยดีกว่า
Intel Turbo Boost 2.0
เทคโนโลยีที่ Intel ภาคภูมิใจใน Core i ตัวแรกเลย กับเทคโนโลยีที่สามารถเร่งความเร็วซีพียูให้สูงขึ้นกว่าปกติ (คล้าย ๆ OC) โดยความเร็วจะขึ้นอยู่กับจำนวน Core ที่ใช้งาน, โปรแกรม และ TDP (ความร้อน, แรงดันไฟ) โดยใน Sandy Bridge ก็ยังมาพร้อมเทคโนโลยี Turbo Boost 2.0 ที่ Intel พัฒนาขึ้นดีกว่าเดิม โดยเพิ่มความเร็วได้ถึง 4 สเตป
ตั้งแต่สีฟ้าจะเป็นความเร็วตามสเปก สีส้มจะเป็นความเร็วที่ตัว Turbo Boost 1.0 เดิมทำได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ TDP (ความร้อน, แรงดันไฟ) และตัวใหม่คือสีน้ำตาลที่ Intel เรียกว่า ?Dynamic Range? ที่จะไม่ได้อิงจาก TDP แล้ว แต่จะสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นไปได้อีกเรื่อย ๆ มากกว่าสเปกที่ออกมาจากโรงงานเสียอีก แต่จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก เช่นถ้าเล่นในห้องแอร์ ก็จะเร่งความเร็วไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าอุณหภูมิซีพียูจะสูงเกินไป ขณะที่ถ้าใช้งานที่ร้อน ๆ ก็จะเร่งความเร็วเพิ่มไม่ได้มาก
Graphics Dynamic Frequency Scaling
การ์ดจอออนซีพียูก็เป็นอีกจุดที่แตกต่างจาก Core i รุ่นเก่า เพราะด้วยการผนวกรวมชิปการ์ดจอไว้ใน Dia เดียวกัน ทำให้สามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้ไม่ว่าจะเป็นพลังงานหรือทรัพยากรต่าง ๆ สามารถปรับความเร็วได้โดยอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และเมื่อต้องการใช้งานการ์ดจอหนัก ๆ ก็สามารถใช้ฟังก์ชัน Turbo Boost 2.0 เพื่อเร่งความเร็วของการ์ดจอเพิ่มให้มากขึ้นกว่าในสเปกปกติ โดยจะทำงานสัมพันธ์กับ Turbo Boost ของซีพียู เพราะว่าต้องแชร์ทรัพยากรกันนั่นเอง
New Intel Ring Bus
พูดกันตามภาษาพื้นบ้านเลยก็คือ สะพานที่ช่วยแชร์แคช L3 ให้ครอบคลุมทั้งหมดเห็นเหมือนเป็นหน่วยความจำชุดเดียวกัน รวมถึงการแชร์หน่วยความจำแคชให้การ์ดจอที่อยู่ในซีพียูด้วย ทำให้เมื่อต้องการใช้ทรัพยากรก็สามารถดึงแชร์กันได้ ไม่ได้ล็อกจำกัดแต่ Core ใด Core หนึ่ง
Intel HD 3000
การ์ดจอของ Sandy Bridge ที่อยู่ในซีพียูจะปรับปรุงจาก Intel HD GMA เดิม ได้มีการปรับปรุงให้รองรับเทคโนโนโลยีใหม่ ๆ ทั้ง Direct X 10.1, Open GL 3.0, SM4.1, ความสามารถในการปรับความเร็ว (Dynamic Frequency Scaling) พร้อมสเปกความเร็วของ Core การ์ดจอที่สูงขึ้นกว่ารุ่นเดิม
Intel 6 Series Chipset
ด้วยสเปกของชิปเซตที่รองรับ Sandy Bridge นั้นสามารถรองรับอุปกรณ์เพิ่มเติมได้มากขึ้นกว่าเดิมทั้ง (เวลาโชว์ใน CPU-Z จะโชว์เป็น Intel IDxxx)
- แรม Dual Channel DDR3
- PCI Express 2.0
- USB สูงสุด 14 พอร์ตแบบ 2.0 (ส่วน 3.0 นั้นต้องเพิ่มชิปเข้าไปอีก)
- Displayport 1.1
- SATAเป็นเวอร์ชัน 3 แล้ว ที่ความเร็วสูงถึง 6GB/s
เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- Intel Quick Sync Video ? เทคโนโลยีที่ช่วยให้เราสามารถถอดรหัส หรือเข้ารหัสไฟล์วิดีโอได้รวดเร็วกว่าเดิม Intel บอกไว้ว่าจะเร็วกว่าถึง 17 เท่าจากชิปการ์ดจอตัวเก่า
- Intel InTru 3D / Clear Video HD ? การเล่นหนังกับแผ่น Blu-ray ผ่านสาย HDMI เวอร์ชัน 1.4 ก็ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปใน Sandy Bridge ส่วนฟังก์ชัน 3D เป็นการเล่นผ่านสาย HDMI ไปออกทีวีเท่านั้นนะ ไม่ได้หมายรวมว่าจะสามารถทำได้บนเครื่องโน๊ตบุ๊คหรือ desktop
- WiDi 2.0 ? นี่เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ส่งสัญญาณภาพแบบไร้สายจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปออกที่ทีวีได้ แต่นั่นก็หมายความว่าต้องใช้คู่กับตัวรับสัญญาณที่รองรับด้วยนะ จริง ๆ ก็เคยเห็นกันมาแล้ว แต่ในคราวนี้มันจะรองรับสัญญาณภาพไปได้ถึง 1080p เลย
- Intel AVX เข้ามาช่วยเสริมชุดคำสั่งเดิมของ SSE ให้สามารถเพิ่มการคำนวณ Vectors จาก 128bit ให้กว้างขึ้นเป็น 256bit ช่วยให้ความสามารถคำนวณตัวเลขด้านวิศวกรรม, เกม Physx และการเข้ารหัสต่าง ๆ ที่ทำได้ดีขึ้น