ซื้อโน๊ตบุ๊คในงาน Commart อย่าลืมเช็คเครื่อง (ภาค Software)
หลายๆ ท่านอาจเคยซื้อเครื่องโน๊ตบุ๊คตามร้านหรือตามงานต่างๆ ใช่ไหมครับหลายๆ ร้านที่ดีๆ น่อยก็จะเตือนลูกค้าให้เช็คเครื่องก่อนซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เลย ก็โถ! ราคาเครื่องนึงตั้งหลายตังไม่เช็คได้ไงละครับ แต่ในบางครั้ง พนักงานจะลืมหรือไงก็ไม่ทราบไม่ได้เตือนเราให้เช็คเครื่องเลยทำให้เกิดปัญหา หลายๆอย่างตามมาเช่นเครื่องเป็นรอยจนไปถึงของแถมไม่ตรงกับที่โม้ๆ ไว้ ถ้าเป็นมือเก๋าหน่อย แบบว่าซื้อเครื่องมาหลายเครื่องแล้วคงไม่ประสบปัญหา เท่าไรแต่ถ้ามือใหม่ๆละเราจะมีวิธีเช็คยังไงว่าเครื่องที่ได้มามีความถูกต้องและสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด โดยในภาคแรกนี้ผมจะแนะนำในส่วนที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าๆ ก่อน และภาคที่ 2 จะเป็นในส่วนของการทดสอบด้วยโปรแกรม
1. กล่องหรือแพ็คเกจ
กล่องนั้นก็มีความสำคัญกับตัวเครื่องไม่น้อยเพราะว่ามันเป็นส่วนที่ปกป้องเครื่องของเราตังแต่โรงงานออกมาจนถึงขั้นตอนการขนส่งมาถึงมือเราถ้าหากเครื่องที่พนักงานหยิบมาให้เราบุบบิบบู้บี้เกินความพอดีเช่นมุมบุบ, กล่องขาดก็จะแสดงให้เห็นถึงว่าการขนส่งมีการกระแทกอย่างรุนแรกซึ่งอาจจะส่งผลถึงเครื่องที่อยู่ในกล่องมีปัญหาได้ถึงแม้เครื่องข้างในจะไม่มีปัญหาก็เถอะแต่แค่เพียงเราเห็นกล่องแล้วก็ไม่สบายใจแล้วใช่ไหมครับ ถ้าเลี่ยงได้ก็พยายามเลี่ยงกล่องที่มีรองรอยไม่พึงประสงค์เหล่านี้จะช่วยลดความเสียงที่เครื่องจะมีปัญหาไปได้
สภาพกล่องไม่ควรมีรอยหรือบุบสลายเลย หรือถ้ามีก็ไม่น่าจะมากเกินไป
2. ฉลากข้างกล่อง
ฉลากข้างกล่องที่บอกซีเรียลและสเปกของเครื่องนั้นก็เป็นอีกส่วนที่ควรสังเกตเป็นอย่างยิ่ง พยายามดูให้รุ่นและสเปกที่ติดอยู่ข้างกล่องเป็นรุ่นเดียวกับที่เราซื้อหรือสั่งจองไว้เพื่อความแน่นอนที่ว่าเราจะได้เครื่องในรุ่นที่เราสั่งจองไว้จริงๆ เพราะกล่องบางยี่ห้อเหมือนกันแทบทุกรุ่นเลย จะต่างก็เพียงฉลากที่ติดบอกสเปกและรุ่นเท่านั้นเอง และถาหากเป็นไปได้พยายามดูให้เลขซีเรียลหรือรหัสเครื่องที่ข้างกล่องตรงกับรหัสบนเครื่องด้วยก็จะดีมากเลยครับ แต่ถึงซีเรียลหรือรหัสจะไม่ตรงก็ไม่เป็นไรครับเอาซีเรียลหรือรหัสที่เครื่องเป็นสำคัญแล้วกันครับ
หลายๆ ยี่ห้อบอกสเปคชัดเจนดีมากๆเลยครับไม่ต้องกลัวผิดฝาผิดตัว
3. ฉลากที่ตัวเครื่อง
ฉลากที่ติดที่เครื่องก็ถือเป็นอีกส่วนที่สำคัญมากในการตรวจเช็คเพราะเดี๋ยวนี้เครื่องในหลายๆ ยี่ห้อนั้นใช้รูปทรงของตัว Body ตัวเดียวกันในเครื่องหลายๆ รุ่นจะมีก็เพียงฉลากหรือสติกเกอร์ที่บอกไว้ว่าเครื่องนี้รุ่นอะไรมีสเปกเป็นอย่างไร ให้ดูให้ตรงกับในใบสเปคเครื่องที่เราได้จองหรือซื้อไว้บางรุ่นอาจจะมีเพียงฉลากบอกเพียงแต่เลขรุ่นซึ่งเราก็ต้องเอาเลขรุ่นที่เครื่องนั้นไปเทียบกับในใบโบรชัวร์อีกทีว่ารุ่นเดียวกันใช่หรือไม่ ถึงแม้จะไม่ค่อยมีปัญหาในส่วนนี้ซักเท่าไรแต่เราตรวจสอบเพื่อความแน่ใจไว้ก่อนเพื่อความสบายใจดีกว่าครับ
ส่วนใหญ่สติกเกอร์ใต้เครื่องไม่ค่อยจะบอกรุ่นชัดเจนเท่าไร เพียงแต่บอกไว้เพียงว่า Body ตัวนี้เป็นของในกลุ่มของรุ่นอะไร เช่น ในภาพบอกเป็น 4720Z จึงอาจจะต้องเอามาเที่ยบกับโบรชัวเพื่อความแน่ใจอีกครั้งนึง
สติกเกอร์ในส่วนของที่วางมือเป็นสเปคที่บอกได้ละเอียดและชัดเจนที่สุด
โดยเราสามารถตรวจสอบสเปกเบื้องต้นได้จากตรงนี้เลยครับ
ในกรณีของเครื่อง HP และ Compaq นั้นสติกเกอร์บอกรุ่นได้ละเอียดพอสมควรรวมถึงเลขซีเรียลด้วยครับ
4. ริ้วรอยต่างๆ บนเครื่อง
ริ้วรอยต่างๆ บนเครื่องนั้นบ่งบอกถึงการใช้งานยิ่งรอยมากแสดงว่ายิ่งแก่ประสบการณ์ แต่ว่าเราต้องการเครื่องที่ยังไม่ได้ผ่านมือชายใดมาก่อน หรือเรียกง่ายๆว่าเปิดซิงที่เรานะละ เพราะฉะนั้นเครื่องที่ออกมาจากกล่องไม่ควรมีริ้วรอยใดๆ เลย หรือถ้ามีก็อาจจะนิดน่อยแบบแทบสังเกตไม่เห็นเลย ก่อนรับเครื่องมาก็ส่องซะน่อยนะครับว่ามีริ้วรอยหรือเปล่า รวมถึงว่าคราบต่างๆที่ก็ไม่ควรมีเลยก็จะดีมาก คงไม่มีใครอยากให้มีริ้วรอยใดๆเกิดขึ้นทั้งๆ ที่เราไม่ได้ทำใช่ไหมครับ โดยจะหมายรวมไปถึงความเสียหายอื่นๆเช่น Body เกิดความเสียหายเช่นแตกหรือหักด้วยนะครับ อย่าลืมเช็คให้ดีๆ นะครับ
เครื่องสวยๆที่ท่านซื้อมานั้นท่านคงไม่อยากให้มีริ้วรอยใช่ไหมครับ
5. วอย สติกเกอร์รับประกัน
หลายๆ ยี่ห้อมาการติดวอย หรือสติกเกอร์รับประกันด้วย เพื่อบอกระยะเวลารับประกันหรือติดตามน๊อตหรือที่ฝาปิดของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ดูว่าวันที่รับประกันถูกต้องหรือเปล่า และสติกเกอร์มีปิดมีความเสียหายหรือเปล่าเช่นขาดหรือเป็นรอย เพราะถ้าหากสติกเกอร์ขาดหรือได้รับความเสียหายอาจจะส่งผลถึงประกันด้วย ถ้าหากท่านเลือกได้ก็อาจจะให้ทางพนักงานเลือกติดในตำแหน่งที่ไม่มีส่วนสัมผัสกันอะไรเลยเพื่อป้องกันความเสียหายของสติกเกอร์รับประกัน แต่ในบางยี่ห้อก็อาจจะไม่ได้มีการติดสติกเกอร์รับประกันแต่จะใช้การเช็คเลขซีเรียลแทน ซึ่งดีที่ไม่ต้องระแวงเรื่องของสติกเกอร์รับประกันว่าจะได้รับความเสียหาย
ถ้าเป็น ACER ก็อาจจะมีสติกเกอร์เยอะน่อยนะครับตามฝาปิดของตัวอุปกรณ์เช่นแรม HDD ซึ่งสติกเกอร์เหล่านี้ควรจะมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดเมื่อมาถึงมือเรา
6. ของแถม
อย่าคิดว่าเป็นของแถมจะไม่ต้องเช็คนะครับ นอกจากจะเช็คว่าของแถมครบหรือเปล่าก็ต้องดูด้วยนะครับว่าของแถมที่ให้นั้นตรงตามที่โฆษณาไว้หรือเปล่าเช่นแฟลชไดรฟ์มีความจุตามที่บอกไว้ เมาส์ที่แถมมาเสียหรือเปล่า กระเป๋าขาดหรือเปล่า ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็ทำให้รู้สบายใจได้นะครับ
ของแถมมาตรฐานเช่น สาย Adapter คู่มือ แบตเตอรี่ ก็อย่าลืมดูว่าครบหรือเปล่า
ของแถมที่แต่ร้านร้านแถมก็จะให้ไม่เหมือนกันก็เช็คด้วยนะครับว่าถูกต้องสมบูรณ์ตามที่ตกลงไว้หรือเปล่า
7. เช็คเครื่องก่อนจ่ายเงิน
พยายามที่เช็คเครื่องก่อนจ่ายตังเพราะถ้าหากเครื่องมีปัญหาไม่ว่าจะจากเหตุใดๆก็ตามเราจะได้สามารถต่อรองกับพนักงานขายได้ เช่น เปลี่ยนเครื่องใหม่ หรือเปลี่ยนรุ่นได้ เงินไม่ใช่น้อยๆ นะครับจ่ายตังไปแล้วกลับได้เครื่องมีปัญหาหรือมีตำหนิมาคงไม่ดีแน่
อย่าลืมเช็คเครื่องก่อนจ่ายเงินนะครับ
8. ก่อนหิ้วกลับบ้าน
อย่าลืมขอใบเสร็จและนามบัตรนะครับเพื่อกรณีเครื่องมีปัญหาภายใน 7 วันเราจะได้ นำเครื่องมาให้ทางร้านจัดการได้ครับเพราะถ้าหากเราไม่มีใบเสร็จร้านก็อาจจะปัดความรับผิดชอบได้ซื้อจากร้านไหน
ก็อย่าลืมจำนะครับจะได้กลับมาถูกหรือถ้าหากซื้อตามงานต่านๆ เช่น Commart ก็ขอนามบัตรของร้านไว้หรือถ้าใบเสร็จมีที่อยู่ร้านด้านก็ใช้ได้ เหมือนกันครับ
อย่าลืมจำว่าเราซื้อจากร้านไหนนะครับ เวลามีปัญหาจะได้มาถูก
บทความนี้ผมว่าทุกๆท่านทั้งมือเก่าและมือใหม่จะได้ ประโยชน์ไม่มากก็น้อยเครื่องโน๊ตบุ๊คเครื่องนึงราคาก็ไม่ใช่ถูกๆถ้าหากเรา ตรวจเช็ดไม่ละเอียดเวลาเอากลับมาใช้งานแล้วมีปัญหาอาจจะทำให้ท่านไม่สบายใจแต่ถ้าหากเราตรวจเช็คละเอียดถี่ถ้วนแล้วก็ทำให้ช่วยลดปัญหาไปได้พอสมควรเลยนะครับเดียวรอชมภาค 2 ได้เร็วๆ นี้ครับ เพราะภาค2จะเป็นการทดสอบในส่วนของ Softward ครับสำหรับเครื่องที่ได้มีการลง windows ไว้แล้วก็รอชมได้เร็วๆ นี้ครับวันนี้ขอลาไปก่อนครับสวัสดีครับ