Connect with us

Hi, what are you looking for?

CONTENT

วิธีตั้งค่า Nvidia Control Panel เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นเกม

Nvidia Control Panel เป็นส่วนหนึ่งของ Driver กราฟิกการ์ด NVIDIA ที่หลายๆ คนไม่รู้ว่าสามารถที่จะทำการปรับแต่งประสิทธิภาพในการแสดงผลได้ มาดูกันดีกว่าว่าเราควรปรับแต่งอะไรกันบ้างเพื่อรีดประสิทธิภาพกราฟิกการ์ดออกมาให้ได้มากที่สุด

Nvidia Control Panel
Nvidia Control Panel

ถ้าคุณเป็นเจ้าของกราฟิกการ์ดของทาง NVIDIA แล้วล่ะก็ คุณสามารถปรับแต่งประสิทธิภาพในการทำงานของกราฟิกการ์ดของคุณได้ผ่านทาง Nvidia Control Panel ซึ่งเป็นหน้าต่างรวบรวมการกำหนดค่าทั้งหมดที่ทาง NVIDIA ได้รวมเอาไว้ในแผงหน้าจอควบคุมอันเดียว ด้วยการเสียเวลาแค่เพียงเล็กน้อยนั้นคุณสามารถที่จะทำให้คุณภาพของภาพที่แสดงผลดีขึ้น รวมทั้งยังมีสีสันที่สวยงามมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมทั้งระหว่างการเล่นเกมและการใช้งานหน้าจอ Desktop ในบทความนี้นั้นเราจะอธิบายวิธีเพิ่มประสิทธิภาพ GPU ของทาง NVIDIA ผ่านทาง Nvidia Control Panel ซึ่งสามารถที่จะใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์พีซีแบบตั้งโต๊ะและแบบโน๊ตบุ๊ค มีการตั้งค่าใดที่ควรจะต้องทำการปรับแต่งบ้างนั้นไปลองติดตามกันได้เลย



ติดตั้งไดรเวอร์ล่าสุดของ NVIDIA

1cf9295a139b0ae408aabad0b07c3f21

ก่อนที่เราจะเริ่มแก้ไขการตั้งค่า Nvidia Control Panel เราต้องแน่ใจว่าไดรเวอร์ GPU ของคุณเป็นเวอร์ชันล่าสุด การอัปเดตใหม่จาก NVIDIA มาพร้อมกับการแก้ไขและปรับปรุงประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็จะมีการเพิ่มการตั้งค่าใหม่หรือสองอย่างในแผงควบคุม Nvidia ในบางครั้ง

Advertisement

การอัปเดตไดร์เวอร์ใหม่นั้นสามารถทำได้โดยเข้าไปโหลดตัวติดตั้งไดร์เวอร์จากทาง NVIDIA โดยตรงที่ GeForce Driver โดยให้ทำการเลือกรุ่นและระบบปฎิบัติการให้ตรงกับที่คุณใช้งานอยู่ จากนั้นให้ทำการติดตั้งตามขั้นตอน

Accessing Nvidia Control Panel

เมื่อทำการติดตั้งไดร์เวอร์เรียบร้อยแล้วให้ทำการเข้า Nvidia Control Panel โดยทำการคลิ๊กขวาที่หน้าจอ Desktop แล้วทำการเลือกตัวเลือก Nvidia Control Panel จากนั้นเราจะทำการตั้งค่ากัน


ปรับความละเอียดและอัตราการรีเฟรชให้เหมาะสม

Change Resolution 1536x963 1

ก่อนอื่นเลยนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการตั้งค่าความละเอียดหน้าจอและอัตราการรีเฟรชให้ตรงกับจอที่คุณทำการใช้งานอยู่ จริงๆ แล้วการตั้งค่าในส่วนนี้นั้นจะไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าไรมากนักเพราะโดยทั่วไปแล้วระบบปฎิบัติการ Windows จะทำการตั้งค่าดังกล่าวนี้ให้อยู่ในจุดที่สูงที่สุดตามที่หน้าจอสามารถรองรับได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นในหน้าจอ Nvidia Control Panel นั้นจะมีตัวเลือกในการปรับแต่งความละเอียดและอัตราการรีเฟรชที่มากกว่า วิธีการเข้าไปตั้งค่านี้ให้เลือกไปที่ตัวเลือก display settings ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของหน้าจอ Nvidia Control Panel 

โดยปกติแล้วนั้นคุณควรตั้งค่าความละเอียดหน้าจอให้ตรงกับที่หน้าจอของคุณสามารถรองรับได้ซึ่งจะมีการระบุเอาไว้ในตัวเลือกความละเอียดหน้าจอว่าเป็น native resolution อย่างไรก็ดีหากคุณใช้กราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GeForce RTX 3000 ซีรีย์ขึ้นไป คุณสามารถที่จะทำการเลือกตัวเลือกความละเอียดหน้าจอแบบอัปสเกลซึ่งจะมีการระบุเอาอยู่ตรงส่วนของ Dynamic Super Resolution (DL) แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ปรับใช้กับหน้าจอโหมด Desktop แบบปกติมากนักเพราะว่าจะทำให้การแสดงผลในส่วนของตัวอักษรบนหน้าต่าง Windows ต่างๆ มีการแสดงผลที่ผิดเพี้ยนผิดส่วน

ส่วนต่อมาที่ควรปรับแต่งก็คือ NVIDIA color settings ที่คุณควรเลือกทุกตัวเลือกไม่ว่าจะเป็น Desktop color depth, Output color depth, Output color color format และ Output dynamic range ให้เป็นตัวเลือกที่สูงมากที่สุดเพื่อให้การแสดงผลที่ดีที่สุด 

หมายเหตุ – การปรับแต่งนี้นั้นไม่ส่งผลต่อความเร็วในการใช้งานใดๆ ทว่าเป็นการปรับให้การแสดงผลทั้งในส่วนของความละเอียดหน้าจอและอัตรารีเฟรชตรงกับที่หน้าจอที่คุณใช้งานมากที่สุด


ปรับการตั้งค่าสี

nvidiacontrol color

มาต่อกันที่ตัวเลือก Adjust desktop color settings ซึ่งส่วนนี้ให้คุณลองเล่นกับการตั้งค่าสีบนจอแสดงผลของคุณให้เป็นไปตามความชอบส่วนตัวของคุณมากที่สุด คุณสามารถปรับความสว่าง, คอนทราสต์และแกมม่าได้ในแถวแรก อย่าลังเลที่จะเลื่อนแล้วกดทำการทดสอบเพื่อดูผลลัพธ์ว่าเป็นไปตามความชอบของคุณหรือไม่ หากคุณไม่ชอบก็สามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับได้ดังเดิมอย่างง่ายดาย

ตัวเลือกการตั้งค่าที่น่าสนใจก็คือ Digital Vibrance ซึ่งการตั้งค่านี้จะเพิ่มความอิ่มตัวของสีและทำให้เฉดสีสว่างขึ้น สำหรับค่าที่แนะนำนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 70% ถึง 80% จะออกมาได้ดูดีมากที่สุด(แต่ก็ขึ้นอยู่กับเกมที่คุณทำการเล่นด้วย)


ตั้งค่าการแสดงผลด้าน 3D

Image Settings with Preview

เมื่อคุณเปิด Nvidia Control Panel การตั้งค่า 3D จะเป็นการตั้งค่าแรกสุดที่คุณเห็นและสามารถทำการปรับค่าได้ ซึ่งในการปรับตั้งค่านั้นจะส่งผลโดยตรงกับการเล่นเกมหากเลือกที่ตัวเลือก Use the advanced 3D image settings แล้วนั้นคุณจะต้องเข้าไปตั้งค่าในส่วนของตัวเลือกต่างๆ ทางด้านการแสดงผล 3 มิติในหน้าจอ Manage 3D Settings แต่ถ้าคุณไม่อยากตั้งค่าอะไรให้วุ่นวายแล้วล่ะก็สามารถเลือกที่ตัวเลือก Use my preference emphasizing แล้วเลือกแถบเลือกไปทางด้าน Performance หรือ Quality ซึ่งทางฝั่ง Performance นั้นจะเน้นไปทางด้านการขับความแรงให้กับเฟรมเรทให้ได้มากที่สุด ส่วนการปรับไปทางด้าน Quality นั้นจะเป็นการขับที่เน้นไปทางด้านคุณภาพของภาพที่ได้รับซึ่งเฟรมเรทอาจจะลดลง


ปรับแต่งคุณภาพการแสดงผลทางด้าน 3 มิติ

Manage 3D settings

จากที่ได้บอกไว้ในตอนต้นว่าหากคุณเลือกตัวเลือก Use the advanced 3D image settings แล้วนั้น คุณสามารถที่จะเข้ามาทำการเลือกปรับค่าทางด้าน 3 มิติในแต่ละตัวเลือกได้เองในแท็บตัวเลือก Manage 3D Settings ซึ่งคุณควรทำการปรับแต่งตัวเลือกต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • Image Sharpening: Off — สำหรับตัวเลือกนี้นั้นจะเป็นการตั้งค่าความคมชัดของการแสดงผลภาพ 3 มิติ โดยทั่วไปแล้วตัวเกมจะมีความคมชัดอยู่แล้วตามความละเอียดของหน้าจอที่ใช้งาน ดังนั้นแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเปิดใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวนี้แต่อย่างใด
  • Anisotropic Filtering: Off — เช่นเดียวกันกับตัวเลือกแรก การกรองแบบแอนไอโซทรอปิกคือตัวเลือกที่กำหนดในการตั้งค่าในเกมได้ ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเปิดใช้งานนี้ใน Nvidia Control Panel
  • FXAA – Antialiasing: Off — การลบรอยหยักโดยประมาณอย่างรวดเร็วหรือ FXAA เป็นโหมดการลบรอยหยักที่ยอดเยี่ยมซึ่งช่วยให้คุณปรับปรุงพื้นผิวในเกมด้วยต้นทุนที่ต่ำลง แต่ตัวเลือกดังกล่าวนี้นั้นสามารถที่จะทำการเลือกได้ในแต่ละเกมเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งค่าในส่วนดังกล่าวนี้แต่อย่างใด
  • Gamma Correction – Antialiasing: Off — การปิดการแก้ไขแกมมา ช่วยให้คุณปรับปรุงคุณภาพของภาพ 3 มิติที่ได้ออกมาดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในโปรแกรม OpenGL ทว่าเรื่องดังกล่าวนี้นั้นก็ไม่มีความจำเป็นอะไรเท่าไรนัก
  • Mode – Antialiasing: Off — เช่นเดียวกับ FXAA โหมดนี้เป็นการตั้งค่ลดรอยหยักซึ่งเกมส่วนใหญ่ที่ใช้งานเอฟเฟคนี้ได้นั้นจะมีให้เลือกอยู่แล้ว ดังนั้นในจุดนี้คุณสามารถที่จะทำการปิดไปได้
  • Background Max Frame Rate: 20 — หากคุณเป็นคนที่ชอบกด Alt+Tab เพื่อออกจากเกมบ่อยๆ มาที่โปรแกรมอื่นแล้วล่ะก็ คุณสามารถที่จะทำการประหยัดพลังงาน GPU บางส่วนที่ใช้ในการประมวลผลเกมได้โดยให้เปลี่ยน Background Max Frames เป็น 20 จะช่วยให้คุณจำกัดทรัพยากรให้กับเกมได้เป็นอย่างดีเหลือพอที่จะเอาไปใช้ในการประมวลผลในส่วนอื่นๆ
  • CUDA – GPUS: ALL — สำหรับตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกเปิดการใช้งาน CUDA Cores ซึ่งควรจะทำการเลือกตัวเลือก All อยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะให้ CUDA Cores ทั้งหมดประมวลผล
  • Low Latency Mode: Ultra — โหมดความหน่วงต่ำเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่น่าทึ่งที่สุดที่ Nvidia มอบให้กับเจ้าของ GPU ช่วยลดเวลาแฝงในการปรับเปลี่ยนเฟรมในแต่ละเฟรมเวลาเล่นเกมได้ ฟีเจอร์ดังกล่าวนี้นั้นไม่ส่งผลเสียต่อเฟรมเรทของเกมแต่จะช่วยให้เฟรมเรทของเกมแสดงผลออกมาได้ดีขึ้น
  • Max Frame Rate: Desired Value or Off — หากคุณรู้อยู่แล้วว่าหน้าจอของคุณมี Refresh Rate สูงสุดอยู่ที่เท่าไรและไม่ต้องการให้การแสดงผลเฟรมเรทของหน้าจอเปลี่ยนไปมาบ่อยๆ จนส่งผลให้การเล่นเกมถูกสังเกตได้ว่าเฟรมเรทเปลี่ยนแปลง ดังนั้นแล้วคุณสามารถที่จะเลือกปรับให้ Max Frame Rate อยู่ที่ระดับสูงที่สุดเท่าที่คุณต้องการ แต่ถ้าหากคุณใช้หน้าจอที่รองรับฟีเจอร์ G-Sync แล้วล่ะก็ ให้คุณทำการเลือกตัวเลือกนี้เป็น OFF เอาไว้เพื่อที่จะเปลี่ยนไปใช้ฟีเจอร์ G-Sync แทน
  • Open GL Rendering GPU: Select GPU here — สำหรับตัวเลือกนี้นั้นผู้ที่ใช้กราฟิกการ์ดเพียงแค่ตัวเดียวไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับอะไร แต่หากคุณใช้โน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับ GPU จำนวน 2 GPU แล้วล่ะก็ ให้คุณทำการปรับเลือกตัวเลือกนี้เป็นชิปกราฟิกที่ดีที่สุดของคุณ
  • Power Management Mode: Prefer Max Performance — หากคุณเป็นเจ้าของโน๊ตบุ๊ค ให้ปล่อยตัวเลือกนี้ไว้ตามปกติเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ GPU สูงสุดตลอดเวลาอันเป็นผลที่จะทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ลดลง แต่ถ้าคุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีหรือไม่ได้กังวลเรื่องแบตเตอรี่เท่าไรนักให้คุณทำการเลือกตัวเลือกนี้เป็น Prefer Max Performance ซึ่งจะทำให้ชิปกราฟิกทำงานสูงสุดอยู่ตลอดเวลา(เป็นการบังคับให้ GPU ทำงานสูงสุดตลอดเวลาและทำให้เฟรมเรทที่ได้สูงมากที่สุด
  • Shader Cache: Driver Default — ให้ทำการปล่อยตัวเลือกนี้ไว้ตามที่ได้มีการตั้งค่ามาเพราะการคอมไพล์และจัดเก็บข้อมูล Shader ของเกมบนพีซีนั้นต้องใช้ Shader Cache
  • Monitor Technology: Depends on Monitor — หากคุณมีจอภาพที่มีเทคโนโลยีอัตรารีเฟรชแบบผันแปรได้อย่าง AMD Free Sync หรือ G-Sync ให้เลือก G-sync ที่ตัวเลือกนี้ อย่างไรก็ตามหากคุณใช้โน๊ตบุ๊คแล้วไม่เห็นตัวเลือกนี้แล้วล่ะก็เป็นไปได้ว่า Intel Optimus กำลังบล็อกตัวเลือกนี้อยู่ ซึ่งไม่มีอะไรมากที่คุณสามารถทำได้เพื่อใช้ G-Sync ยกเว้นกรณีที่โน๊ตบุ๊คของคุณมีสวิตช์ MUX หรือ Advanced Optimus ซึ่งจะช่วยให้คุณเปิดใช้งาน G-sync ได้
  • Multi-Frame Sampled AA (MFAA): Off — MFAA เป็นเทคโนโลยีลบรอยหยักที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ NVIDIA ซึ่งไม่มีประโยชน์มากนักในเกมส่วนใหญ่(เพราะไม่ค่อยจะมีเกมทำออกมารองรับเท่าไรมากนัก) ดังนั้นแล้วสำหรับตัวเลือกนี้ให้คุณเลือกปิดเอาไว้(ถ้าเกมไหนรองรับ MFAA แล้วล่ะก็คุณสามารถที่จะทำการเลือกตัวเลือกนี้ได้ในเกมอยู่แล้ว)
  • Anisotropic Sample Optimization – Texture Filtering: On — Anisotropic Sample Optimation ช่วยปรับปรุงคุณภาพของภาพในเกมได้อย่างมากแถมไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานมากนัก ดังนั้นเพื่อให้ได้ภาพของเกมออกมาดีที่สุดคุณควรเปิดใช้งานเพื่อความคมชัดของภาพและเพิ่มประสิทธิภาพของเกมไปในตัวอีกทางหนึ่งอีกด้วย
  • Negative LOD Bias – Texture Filtering: Allow — สำหรับตัวเลือกดังกล่าวนี้ในบางกราฟิกการ์ดนั้นอาจจะไม่มีให้เลือก แต่ถ้าหากของคุณมีแล้วล่ะก็ให้ทำการตั้งค่า Negative LOD Bias – Texture Filtering เพื่อทำให้ความคมชัดของพื้นผิวในเกมมากขึ้นกว่าเดิม
  • Quality – Texture Filtering: High Performance — ตัวเลือกการตั้งค่าการกรองพื้นผิวนี้ควรเลือกไว้ที่ระดับ High Performance เพราะจะช่วยทำให้คุณภาพของภาพในเกมที่ได้ดีมากขึ้นทว่าก็มีสิ่งที่คุณต้องแลกมานั่นก็คือความคมชัดของเกมที่คุณจะได้รับนั้นจะลดลงเล็กน้อย แต่ถ้าหากคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีหรือโน๊ตบุ๊คที่มีสเปคแรงๆ แล้วล่ะก็คุณสามารถที่จะเลือกตัวเลือกนี้เป็น Quality ได้เลย
  • Trilinear Optimization – Texture Filtering: On — ตัวเลือกนี้เป็นการเปิดการกรองพื้นผิวเพื่อทำการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคนิค Trilinear ซึ่งจะทำให้พื้นผิวในเกมของคุณคมชัดมากขึ้น นอกจากการแสดงผลพื้นผิวในเกมจะดีขึ้นแล้วนั้นตัวเลือกนี้ยังช่วยส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการเล่นเกมของคุณอีกด้วยต่างหาก
  • Threaded Optimization: Auto — การตั้งค่าสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเธรดคืออัตโนมัติ ให้ทำการคงไว้อย่างนั้นเพื่อใช้ CPU หลายคอร์ช่วยในการประมวลผลของเกม
  • Triple Buffering: Off — หากคุณไม่ได้ทำการเปิดใช้ตัวเลือก V-Sync (ที่เป็นการบังคับเฟรมเรทให้เท่ากับเฟรมเรทสูงสุดของหน้าจออยู่เสมอแล้วล่ะก็) คุณก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดใช้งาน Triple Buffering ดังนั้นสำหรับตัวเลือกนี้ให้ทำการปิดเอาไว้ได้เลย
  • Vertical Sync: Off — ตัวเลือก V-Sync นี้นั้นจะเป็นการบังคับให้การแสดงผลเฟรมเรทของเกมทำได้สูงสุดเท่ากันกับเฟรมเรทสูงสุดที่หน้าจอของคุณรองรับ การเปิดตัวเลือกนี้นั้นจะช่วยทำให้การ์ดจอของคุณทำงานน้อยลง แต่ถ้าคุณมีหน้าจอที่รองรับเทคโนโลยีอย่าง AMD Free Sync และ G-Sync แล้วล่ะก็ คุณควรที่จะทำการปิดตัวเลือกนี้เอาไว้เนื่องจากว่าจะได้อัตราเฟรมเรทที่ดีและเหมาะสมมากกว่า
  • DSR – Factors และ DSR – Smothness — สำหรับตัวเลือกนี้จะมีให้เลือกปรับได้เฉพาะผู้ใช้งานกราฟิกการ์ดที่เป็นชิป GeForce RTX 2000 Series ขึ้นไปเท่านั้น โดยคุณสามารถที่จะปรับในส่วนของ DSR – Factors ให้เป็นตามที่คุณต้องการเพื่อให้ชิปกราฟิกทำการเพิ่มความละเอียดหน้าจอด้วยเทคโนโลยี DLSS ในส่วนของตัวเลือก DSR – Smothness นั้นให้คุณทำการเลือกไปที่ 100% ได้เลยเพราะจะเป็นการช่วยให้ภาพที่ได้จากการอัปสเกลด้วยเทคโนโลยี DLSS นั้นมีความละเอียดสวยงามมากขึ้น

กำหนดค่า PhysX

nvidiacontrol physx

ท้ายสุดแล้วกับตัวเลือกที่หากเป็นสมัยอดีตนั้นถือว่าเป็นอะไรที่ว๊าวเป็นอย่างมาก ทว่าในปัจจุบันนี้นั้นอาจจะไม่ค่อยมีความจำเป็นมากสักเท่าไรนักกับการกำหนดค่า PhysX หรือการประมวลผลทางด้านฟิสิกส์ในเกมซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยจะมีเกมอะไรที่ออกมารองรับเทคโนโลยีนี้เท่าไรแล้ว แต่ถ้าหากคุณยังเล่นเกมเก่าๆ ที่รองรับเทคโนโลยี PhysX อยู่ล่ะก็ แนะนำให้ทำการปรับค่าในส่วนของหน้าจอที่จะแสดงผลเอาไว้ ซึ่งการปรับนี้นั้นไม่มีผลอะไรกับการเล่นเกมหากเกมนั้นไม่ได้รองรับเทคโนโลยีนี้


สรุป

การใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการปรับแต่งการแสดงผลผ่านทาง Nvidia Control Panel จะช่วยทำให้คุณได้รับประสิทธิภาพในการเล่นเกมดีมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยได้รับมาก่อน นอกไปจากนั้นคุณยังสามารถที่จะทำการปรับแต่งการแสดงผลของสีให้เหมาะสมกับความต้องการของตัวคุณเองได้อีกด้วยต่างหาก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคำแนะนำในการปรับแต่งดังกล่าวนี้นั้นจะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับประสบการณ์ในการเล่นเกมที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : coolblue, exputer, digitaltrends

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

5 วิธี Update driver พีซีและโน๊ตบุ๊ค อัพเดตไดรเวอร์ใหม่ เพิ่มความเร็วคอมได้ในไม่กี่นาที Update Driver เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือทำให้การใช้งานพีซีและโน๊ตบุ๊คได้ราบลื่น เป็นวิธีการที่ง่าย ทำเองได้อีกด้วย โดยมีทางเลือกในการอัพเดตมากมาย เพื่อความสะดวกของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับความถนัด อย่างเช่น การอัพเดตจากระบบปฏิบัติการวินโดว์ การใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะ หรือการใช้แอพพลิเคชั่นช่วยในการอัพเดต แต่ะวิธีก็มีความโดดเด่นต่างกันออกไป ในวันนี้เรามาชมกันว่าคุณเหมาะกับแบบไหน และจะใช้อย่างไรได้บ้าง 5...

CONTENT

10 วิธีแก้คอมช้า เพิ่มความเร็วให้คอมเก่า Windows 10, 11 Speed up ทำเองได้ เล่นเกมลื่นขึ้น 10 วิธีแก้คอมช้า ที่นำไปลองทำเองได้ในช่วงปลายปี 2025 นี้ เพิ่มความเร็วคอมเครื่องเก่าได้ทั้ง Windows 10 และ Windows 11 เล่นลื่นกว่าเดิม ไม่ต้องโอเวอร์คล็อก ไม่ต้องปรับแต่งให้ยุ่งยาก...

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

รีวิว MSI

มีเงินสามหมื่นก็ซื้อ MSI Thin A15 B7V ได้! พกง่ายเบาแค่ 1.86 กก. แถมได้พอร์ต USB-C Full Function!! หากพูดถึงเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 30,000 บาทสักเครื่อง หลายคนย่อมคิดถึงซีรี่ส์ MSI Thin ซึ่งราคาดี น้ำหนักเบาและยังอัปเดตสเปคมาต่อเนื่องจนถึง MSI Thin A15...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก