MediaTek Filogic ชิปเชื่อมต่อไร้สายของทาง MediaTek ได้ถูกเปิดตัวออกมาใหม่พร้อมกันถึง 2 รุ่นกับ Filogic 380 และ Filogic 380 รองรับ Wi-Fi 7 พร้อมคำยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจะแทนที่การเชื่อมต่อแบบมีสายได้แน่นอน งานนี้เราอาจได้บอกลาสาย LAN แล้วในอนาคต
MediaTek ในช่วง 2 – 3 ปีหลังมานี้นั้นเรียกได้ว่ามาแรงแบบต่อเนื่องจริงๆ หลังจากที่ตีตลาดชิปเซ็ทในฝั่งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจากทาง Qualcomm ได้อย่างสวยสดงดงามแล้วนั้น ล่าสุดดูเหมือนกับ MediaTek จะไม่ยอมให้ทาง Qualcomm ได้มีโอกาสหายใจหายคอกันเลยทีเดียว โดยในง่าน Computex 2022 ที่กำลังจัดอยู่ในช่วงนี้นั้น ทาง MediaTek ได้ทำการเปิดตัวชิปสำหรับการเชื่อมต่อไร้สายในซีรีย์ Filogic รุ่นใหม่ออกมาถึง 2 รุ่นอย่าง Filogic 380 และ Filogix 880
ชิป Filogic 380 และ Filogix 880 นั้นเป็นชิปการเชื่อมต่อไร้สายรุ่นใหม่ที่รองรับกับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายในอนาคตอย่าง Wi-Fi 7 อย่างเต็มรูปแบบ โดยชิป Filogic 380 และ Filogix 880 ทั้ง 2 รุ่นนั้นจะเป็นชิปสำหรับใช้งานกับเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปโดยเฉพาะทำให้มันเป็นคู่แข่งโดยตรงกับชิปของทาง Qualcomm อย่าง FastConnect 7800 ที่ได้มีการเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ในงาน MWC2022
การใช้งานชิปเซ็ท Filogic 380 และ Filogic 880 นั้นมีการแบ่งรูปแบบการใช้งานตามลักษณะของผู้ใช้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้
MediaTek Filogic 380
สำหรับ MediaTek Filogic 380 นั้นเป็นชิปที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์ทั่วไปโดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, สมาร์ททีวี, โน๊ตบุ๊ค, กล่อง set-top boxes ไปจนถึงอุปกรณ์ IoT ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทาง MediaTek ได้โฆษณาเอาไว้ว่าเจ้า MediaTek Filogic 380 นั้นจะทำงานได้เป็นอย่างดีมากๆ เมื่อใช้งานร่วมกับชิปเซ็ทของทาง MediaTek โดยเฉพาะ(แต่ชิปเซ็ทอื่นๆ ก็สามารถที่จะใช้งานเจ้า MediaTek Filogic 380 ได้ด้วยเช่นเดียวกัน)
ตัวชิป MediaTek Filogic 380 นั้นจะถูกผลิตที่กระบวนการผลิตระดับ 6nm ทว่าตัวมันเองนั้นจะไม่มีชิปเซ็ทหลักสำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ มาด้วย หรือจะให้เข้าใจง่ายๆ เลยนั้นก็คือ MediaTek Filogic 380 นั้นจะเป็นชิปสำหรับการเชื่อมต่อโดยเฉพาะโดยในการทำงานนั้นจะต้องมีชิปเซ็ทหลักเพื่อที่จะทำการควบคุมมันอีกต่อหนึ่ง นอกเหนือไปจากจะรองรับการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi 7 แล้วนั้น MediaTek Filogic 380 ยังรองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.3 ในตัวอีกด้วย ฟีเจอร์สเปคที่สำคัญของชิป MediaTek Filogic 380 จะมีดังต่อไปนี้
- รองรับเทคโนโลยีหลักๆ ของการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi 7 ไม่ว่าจะเป็น 4096-QAM (quadrature amplitude modulation), 320 MHz channel, MRU (multi-user resource) และ MLO (multi-link operation)
- รองรับ MLO ซึ่งทำให้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุดตามทฤษฏีมากถึง 6.5 Gbps
- รองรับความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อแบบหนึ่งช่องการเชื่อมต่อถึง 5 Gbps
- รองรับการเชื่อมต่อที่คลื่นความถี่ทั้ว 2.4 GHz, 5GHz และ 6GHz
- รองรับ dual 2×2 radios สำหรับ dual-band simultaneous operation
- รองรับ Bluetooth 5.3 ตัวล่าสุดพร้อมทั้งยังรองรับเทคโนโลยี LE Audio อีกด้วย
MediaTek Filogic 880
มาถึงพี่ใหญ่อย่าง MediaTek Filogic 880 ที่แน่นอนว่าต้องเป็นชิปที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์สำหรับกระจายสัญญาณโดยเฉพาะ ด้วยความที่ต้องทำหน้าที่ในการกระจายสัญญาณในตัวด้วยนี้เองทำให้บน MediaTek Filogic 880 นั้นจะมีชิปประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM Cortex-A73 แบบ 4 แกนการประมวลผลความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1.8 GHz พร้อมกับ network processing unit (NPU) ติดตั้งมาด้วยภายในตัวชิป MediaTek Filogic 880 ตัวชิปเลย
สำหรับ MediaTek Filogic 880 นั้นทาง MediaTek ตั้งใจให้ถูกเอาไว้ใช้งานบนอุปกรณ์กระจายสัญญาณหลักไม่ว่าจะเป็น router, gateways ไปจนกระทั่วอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่ต้องการความมีเสถียรภาพสูงสำหับการใช้งานในระดับองค์กร ตัวชิป MediaTek Filogic 880 นั้นสามารถขยายช่องทางการเชื่อมต่อได้มากถึงแบบ penta-band 4×4 36 Gbps ซึ่งแน่นอนอีกเช่นกันว่าถ้าหากใช้ร่วมงานกับอุปกรณ์รับลสัญญาณที่ใช้ชิป MediaTek Filogic 380 ด้วยแล้วนั้นจะได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับฟีเจอร์สเปคของ MediaTek Filogic 880 นั้นจะมีดังต่อไปนี้
- ใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 6nm โดยจะมาพร้อมกับแกนการประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM Cortex-A73 จำนวน 4 แกนความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1.8GHZ พร้อมด้วย NPU ในตัว
- รองรับเทคโนโลยีหลักๆ ของการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi 7 ไม่ว่าจะเป็น 4096-QAM (quadrature amplitude modulation), 320 MHz channel, MRU (multi-user resource) และ MLO (multi-link operation)
- มาพร้อมความยืดหยุ่นในการปรับคลื่นความถี่แบบ 5 คลื่นความถี่ซึ่งทำให้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุดตามทฤษฏีมากถึง 36 Gbps
- รองรับความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อแบบหนึ่งช่องการเชื่อมต่อถึง 10 Gbps
- รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ OFDMA RU, MU-MIMO และ MBSSID
- สามารถที่จะรองรับการให้ความเร็วในการเชื่อมต่อทั้งแบบ Wi-Fi และ Ethernet สูงที่สุดไปพร้อมๆ กันได้ด้วยฮาร์ดแวร์เอนจิ้นที่อยู่บนตัวชิป
- มาพร้อมเทคโนโลยี networking crypto engine (EIP-197) ภายในตัวทำให้สามารถที่จะเร่งความเร็วในการเชื่อมต่อรูปแบบ IPSec, SSL/TLS, DTLS (CAPWAP), SRTP และ MACsec อย่างเต็มความสามารถ
- รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เฟซความเร็วสูงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 5 Gbps USB, 10 Gbps PCI-Express), UART, SD, SPI, PWM, GPIO และ OTP
แน่นอนว่าหากมองทางทฤษฏีแล้วนั้นเรียกได้ว่า Wi-Fi 7 นั้นน่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าจะสามารถเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่อแบบใช้สาย(หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า LAN) ได้อย่างแท้จริง ทว่ากว่าที่เราๆ ท่านๆ จะได้ใช้งานกันอย่างจริงๆ จังๆ นั้นก็น่าจะอีกสัก 5 ปีเป็นอย่างต่ำ เพราะต้องยอมรับกันว่าขนาดเทคโนโลยีอย่าง Wi-Fi 6 นั้นในปัจจุบันเองก็ยังคงมีการใช้งานกันยังไม่แพร่หลายเท่าไรนัก โดยจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี Wi-Fi 6 นั้นก็ยังคงถูกจำกัดอยู่กับอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง แถมปัญหาเรื่องความแรงของสัญญาณจะตกลงเมื่อมีการใช้งานผ่านกำแพงนั้นก็ยังคงไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมั่นคงเท่าไรนัก
ที่มา : notebookcheck