วันนี้เรามาเจอกับรีวิวตัวเต็ม ๆ กับ Acer Aspire 4253 และ AMD Fusion
Acer Aspire 4253 เป็น Notebook รุ่นล่างตัวล่าสุดที่ถูก Acer ขนออกมาหวังพิชิตตลาดล่างให้เด็ดขาด อีกทั้งยังนำซีพียูแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดจาก AMD อย่าง AMD Fusion ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของทาง AMD ที่รวมซีพียูและการ์ดจอให้อยู่ภายใน Die เดียวกัน หรือให้อยู่ในตัวเดียวกันนั่นเอง ข้อดีของเทคโนโลยี AMD Fusion นี้คือ ?ซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ใช้พลังงานต่ำลง? ต่อมาเรามาดูผลการทดสอบ AMD Fusion กับ Acer Aspire 4253 เครื่องนี้กันดีกว่าว่า AMD Fusion จะสามารถทำออกมาได้ดีขนาดไหน ?
Acer Aspire 4253 มาพร้อมกับซีพียู AMD E-350 มีความเร็วในการประมวลผลที่ 1.6 GHz ความจำแคช L2 ที่ 1MB ซึ่งจะมีการ์ดจอ AMD Radeon HD 6310 อยู่ภายในด้วย นอกจากซีพียูตัวใหม่ล่าสุดแล้ว ส่วนประกอบอื่น ๆ ก็ให้มาเยอะพอสมควรเลย กับแรมขนาด 2 GB DDR3 ฮาร์ดดิสก์ 500GB ความเร็วรอบ 5400 RPM จะแสดงผลบนหน้าจอขนาด 14 นิ้ว ความละเอียดระดับ HD พอร์ตต่าง ๆ ให้มาครบครัน ราคาขาย ณ ตอนนี้คือ 13,900 บาท
Acer Aspire 4253 มาพร้อมกับการออกแบบด้วยพลาสติกสีดำด้านทั้งด้านนอกและด้านใน มีแค่ส่วนของขอบจอเท่านั้นที่เป็นลักษณะเงา เมื่อสังเกตที่ฝาหลังจะมีการปั๊มลาย เวลาสัมผัสจะรู้สึกถึงปุ่มเล็ก ๆ เต็มไปหมดด้วยความที่บอดี้ทั้งเครื่องเป็น โดย 90% เป็นพลาสติกลักษณะด้าน ๆ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดรอยนิ้วมือ ส่วนเรื่องความแข็งแรงของตัวเครื่องนั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในระดับที่ดี เพราะราคาที่ค่อนข้างต่ำ ถ้าไม่ได้ใช้งานแบบลุย ๆ เข้าป่าขึ้นเขาก็คงไม่เป็นไร
เมื่อมองเข้ามาดูชัด ๆ กับฝาหลังที่เป็นลักษณะปุ่มเล็ก ๆ เต็มไปหมด มี Logo Acer โดดเด่นอยู่ตรงกลางเลย
ขอบจอเป็นส่วนเดียวของเครื่องที่มีลักษณะเป็นวัสดุเคลือบเงา
ต่อมาเรามาดูส่วนของแกนบานพับของเครื่องกันบ้างครับ จะเห็นได้ว่าแกนบานพับรุ่นหลัง ๆ ของ Acer ยิ่งทำยิ่งเล็ก แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาการใช้งานอะไร ถือว่าตัวเล็กแต่คุณภาพไม่เล็ก
Acer Aspire 4253 ใช้หน้าจอ LED ขนาด 14 นิ้วในการแสดงผล เป็นหน้าจอกระจก ความละเอียดระดับ HD ที่ 1366 x 768 ความคมชัดของ ภาพถือว่าสวยสดงดงามตามมาตรฐานจอของ Acer ทั่ว ๆ ไปครับ
จอถือว่ามีความหนาพอสมควรเลย
จอสามารถกางได้สุดราว ๆ 170 องศา
ความหนาของเครื่องเมื่อเทียบกับกล่อง DVD
น้ำหนักของเครื่องประมาณ 2.12 กิโลกรัมเท่านั้นเองครับ
เป็นด้านใต้ท้องเครื่องรวมถึงช่องระบายความร้อนใต้ท้องเครื่อง
ด้านล่างของเครื่องนั้นไม่สามารถเปิดได้ เราเลยอดอวดตัวเจ้าซีพียู AMD Fusion ตัวจิ๋วเลยครับ ถึงจะเปิดด้านล่างไม่ได้ แต่ Acer Aspire 4253 ก็ให้รูระบายอากาศมาเยอะเหมือนกัน
สติกเกอร์ Serial ของ Acer จะอยู่ด้านใต้ของเครื่อง ผมแนะนำว่าให้หาสติกเกอร์อะไรก็ได้มาแปะไว้ เพื่อกัน Serial ลอกครับ
โดยรูปแบบที่ใช้เป็นแบบ chiclet keyboard ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ระยะห่างระหว่างปุ่มประมาณ 3 mm ตัวปุ่มกดลงไปค่อนข้างยาก ตัวอักษรเป็นสีขาวสว่างชัดเจนดี ตัวแผงเมื่อกดลงไปก็ไม่มีอาการยุบยวบลงไปทั้งแผงแต่อย่างใด ถือว่า Acer ทำในจุดนี้มาได้ค่อนข้างดี
ด้านบนฝั่งซ้ายของคีย์บอร์ดจะมีปุ่มเปิดเครื่อง ข้าง ๆ กันจะมีเม็ดเล็ก ๆ ที่เห็น คือ ไฟแสดงสถานะเปล่งออกมาในเวลาเปิดเครื่อง
touch pad นั้นมีความเรียบและพื้นผิวเป็นแบบด้าน ส่วนเส้นทางด้านขวาก็เป็นแนวของการ scroll? ส่วนตัวปุ่มกดนั้นก็มีอยู่ 2 ปุ่มตามปกติครับ ซึ่งออกแบบมาให้กดได้ง่ายที่สุด เมื่อกดตรงปลายซ้ายสุดและขวาสุด อีกทั้งยังสามารถใช้งาน pinch-to-zoom นั่นคือ การใช้งาน 2 นิ้วในการซูมเหมือนใน iPhone เลย ถัดลงมาเป็นไฟแสดงสถานะการเปิดเครื่อง, แบตเตอรี่, ไฟ HDD และ Wi-Fi
สติกเกอร์ Vision ติดแสดงความเป็น AMD ได้อย่างชัดเจน
สเปกของ Acer Aspire 4253 จะอยู่ชัดเจนในด้านขวาใต้คีย์บอร์ดเช่นกัน
ด้านหน้า
จะมีช่อง Audio In และ Card Reader
ด้านหลัง
ด้านหลังไม่มีอะไร
ด้านซ้าย
ประกอบไปด้วยที่ชาร์จแบตเตอรี่, ที่ระบายความร้อน, VGA, LAN, HDMI และ USB 2.0
ด้านขวา
ประกอบไปด้วย USB 2.0 2 พอร์ตและ DVD Drive
กล้องของ Acer Aspire 4253 จะอยู่ด้านบน
คุณภาพของกล้อง WebCam ถือว่าทำออกมาได้ดี แต่สีที่ออกมานั้นดูเพี้ยนๆ ต้องใช้โปรแกรมเสริมช่วยภาพถึงจะดูดีขึ้นครับ
ส่วนของไมค์จะอยู่ด้านล่าง
ลำโพงของ Acer Aspire 4253 นั้นค่อนข้างธรรมดาไปหน่อย แต่เมื่อเทียบกับราคาแล้วคงไม่แปลกอะไร
ส่วนของ battery? นี้มีสเปก คือ 44,000 mAh 10.8V ? 48Wh
เครื่องของ Acer Aspire 4253 นั้นไม่มี Windows ติดตั้งมาให้ ทางทีมงานได้ลง Windows 7 Ultimate 64-bit เพื่อใช้ในการทดสอบครับ
คะแนนที่ได้จาก Windows ในส่วนของซีพียูนั้นถือว่าได้น้อยไปหน่อยครับ
อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า Acer Aspire 4253 เครื่องนี้มาพร้อม AMD Fusion ซึ่งเป็นลงมาในโซน CULV กับซีพียู AMD E-350
มีความเร็วในการประมวลผลที่ 1.6 GHz ความจำแคช L2 ที่ 1MB จาก CPU-Z นั้นจะเห็นรายละเอียดของซีพียูไม่ครบ ก็เป็นเพราะว่าซีพียูรุ่นนี้นั้นใหม่จริง ๆ โดย AMD ว่าง AMD Fusion เพื่อที่จะเอาใจลูกค้าที่อยากได้ซีพียูที่ประหยัดพลังงานเป็นเลิศ แต่ก็ต้องคงความแรงในการใช้งานด้วย ซึ่ง AMD E-350 จะแรงแค่ไหนนั้นเดี๋ยวเรามาดูกันในผลทดสอบแล้วกันครับ
แรมเครื่องให้มา 2GB DDR3 บัส 1333 MHz สามารถรองรับได้สูงสุด 8GB ครับ
การ์ดจอที่ติดมาคือการ์ดจอ AMD Radeon HD 6310 ซึ่งจะอยู่ภายในส่วนของซีพียู โดยรวมแล้วถือว่าเป็นการ์ดจอออนบอร์ดที่ไม่ธรรมดาเลย
การทดสอบในส่วนของ Resolution ว่ารองรับความละเอียดสูงสุดเท่าไร และในส่วนของ Page view ว่าสามารถแสดงผลหน้า web ได้ขนาดไหน
Resolution รองรับการแสดงผลที่ 1366×768 pixels
โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
เนื่องจากสัญญาณนาฬิกาของ AMD E-350 นั้นต่ำมาก ทำให้การประมวลผลต่อหัวเดียวนั้นสู้ฝั่งของ Intel ไม่ได้
เป็นโปรแกรมที่จะทดสอบการทำงานในด้าน Graphic Render
ถึงซีพียูของ AMD E-350 แต่การ์ดจอออนบอร์ดอย่าง AMD Radeon HD 6310 นั้นทำได้ดีกว่าฝั่ง Intel หลายขุม นอกจากนั้นแล้วยังทำคะแนนได้ใกล้เคียงกับการ์ดจอแยกจาก NVIDIA เลยทีเดียว เรียกว่าแรงมาก ๆ
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
ความเร็วในการอ่านเขียนถือว่าอยู่ในระดับทั่วๆไป
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
อย่างที่เห็นในกราฟว่า Acer Aspire 4253 นั้นโดดเด่นอย่างมากในเรื่องของการ์ดจอ แรงเทียบเท่ากับการ์ดจอแยกเลย
มาตอบย้ำกันอีกโปรแกรมสำหรับ Acer Aspire 4253 แสดงให้เห็นแล้วว่า การ์ดจอออนบอร์ดของฝั่ง AMD กับ AMD Fusion นั้นแรงกว่า Intel GMA HD เยอะ
Unigine Heaven 2.1
โปรแกรมใหม่ที่จะเข้ามาเสริมการทดสอบการ์ดจอ ซึ่งรองรับ DX11 โดยจะเริ่มทดสอบกันในซีรีส์ 5XXX นี้เป็นซีรีส์แรก
แรงอย่างเดียวไม่พอ อีกทั้งยังสามารถรองรับการทำงานของ DirectX 11 อีกด้วย รันผ่านฉลุยเลย
BONUS TEST
ทีมงานได้ทดสอบนำมาเล่นเกมออนไลน์อย่าง DOTA ในการตั้งค่าความละเอียดที่ 1024×768 ส่วนการตั้งค่าอื่น ๆ อยู่ในระดับกลาง ผลปรากฏว่าเฟรมเรทอยู่ที่ราว ๆ 50 ? 60 ซึ่งถือว่าลื่นมาก เวลาบวกกันหลาย ๆ ฮีโร่ ไม่มีอาการหน่วงแต่อย่างใด ต้องบอกว่า AMD Fusion นั้นทำออกมาได้ดีจริง
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 32-34 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิก่อน Burn-in
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เช่น เล่นอินเทอร์เน็ต พิมพ์งาน
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม CPU Burn-in 4 หน้าต่างโปรแกรม เพื่อรันซีพียูให้ทำงานที่ 100% และเปิดเกมเพื่อให้การ์ดจอทำงานเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
ส่วนเรื่องความร้อนที่ใครหลายคนกังวล ก็หมดกังวลกันได้ เพราะขนาดเปิดรันเต็มที่ความร้อนยังไม่เกิน 65 องศาเลย เย็นกว่าอีกค่ายอีกต่างหาก Intel เห็นอย่างนีแล้วจะอยู่เฉยอีกไหมครับนิ
ทดสอบเวลาในการใช้งานแบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
จากการทดสอบจริง 50% และคาดคะเนจากโปรแกรมสามารถอยู่ได้นาน 5 ชั่วโมงเลยทีเดียว
แบบที่ 2 ใช้งานหนัก ๆ
ทำงานเต็มที่เล่นเกม ได้ราวๆ 2 ชั่งโมงครึ่ง
ก็จบลงไปแล้วสำหรับรีวิว หลังจากที่ผมได้สัมผัส Acer Aspire 4253 ที่กึ่ง ๆ ทดสอบประสิทธิภาพของ AMD Fusion ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า Acer นั้นว่าง Acer Aspire 4253 มาอยู่ในระดับล่างบอดี้อาจจะธรรมดา ไม่แข็งแรงมาก เป็นพลาสติกมวลเบา น้ำหนักเบาจริง ๆ แต่ก็เปราะบาง ใช้งานต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ การออกแบบดีไซน์ถือว่ายังทำได้ไม่ดีสำหรับ Acer แต่กลับกันอย่างสิ้นเชิงกับผลทดสอบของประสิทธิภาพเครื่องที่ทำออกมาได้เกินราคาเสียจริง ซีพียูอาจจะงั้นๆแต่การ์ดจอแรงเกินคาด อีกทั้งยังสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องชาร์จนานถึง 5 ชั่วโมง โดยรวมสำหรับใครที่ต้องการหา Notebook ราคาประหยัดแต่อยาก ได้ประสิทธิภาพเกินคุ้ม ต้องตัวนี้เลย คอนเฟิร์มครับ
โดย Acer Aspire 4253G สามารถผ่านการทดสอบมาได้ตามระดับคะแนนเลยครับ
ซึ่งแต่ละหมวดมีคะแนนเต็ม 5 คะแนนตามประสิทธิภาพของแต่ละหมวด โดย Acer Aspire 4253 สามารถผ่านการทดสอบมาได้ตามระดับคะแนนเลยครับ
- 2/5 ?Design
- 5/5 ?ความคุ้มค่า (Value)
- 3/5 ?Performance
- 3/5 ?ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- 3/5 ?ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- 3/5 ?Gaming
รวม 19 คะแนน
notebookspec.com จึงขอมอบรางวัล Silver ให้แก่ Acer Aspire 4253