หาก ถามว่า ?Driver? คืออะไร ก็คงเปรียบได้ว่า Driver นั้นเปรียบเสมือนล่ามที่เข้ามาเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในโน๊ตบุ๊ค กับระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่เราใช้งาน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งการสั่งงาน การควบคุม ตามการออกแบบไดรเวอร์แต่ละตัว ซึ่งหากในโน๊ตบุ๊คไม่มีการติดตั้งไดรเวอร์แล้ว จะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นไม่สามารถทำงานได้ หรือหากทำงานได้ก็จะทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
จริงๆ แล้ว Driver จัดเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมอุปกรณ์นั้นๆ ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ และมักจะมีการออก Driver เวอร์ชันใหม่ๆ มาแทนตัวเดิม จุดประสงค์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ รวมถึงปรับปรุงเพิ่มเติมฟีเจอร์ หรือความสามารถใหม่ๆ มาอยู่เสมอ รวมถึงการอัพเดตไดรเวอร์เพื่อดึงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในโน๊ตบุ๊คให้ทำงาน ได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น ตอนนี้มารู้จักไดรเวอร์ต่างๆ ที่อยู่ในโน๊ตบุ๊คกันในหัวข้อถัดไปเลยครับ
Driver มีกี่ชนิด อะไรบ้าง ?
สำหรับ Driver ในโน๊ตบุ๊คนั้นโดยหลักๆ จะประกอบไปด้วย
1.Graphic Card Driver
- เป็นไดรเวอร์สำหรับกราฟิกการ์ดหรือการ์ดจอนั่นเอง ซึ่งจะทำงานในส่วนของการแสดงผลทั้งหมด ปกติแล้วไดรเวอร์ในส่วนของการ์ดจอนั้นมักจะมีเวอร์ชันใหม่ๆ ออกมาให้อัพเดตกันอย่างสม่ำเสมอครับ และจากการทดสอบเปรียบเทียบไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่ กับเวอร์ชันเก่า ด้วยการ Benchmark ผ่านซอฟต์แวร์ จะได้เห็นได้ว่าสามารถทำคะแนนจากโปรแกรมทดสอบได้มากขึ้นกว่าเวอร์ชั่นเก่า (ดูผลทดสอบได้จากท้ายบทความ)
2. Sound Card Driver
- เป็น Driver ของระบบเสียงทั้งส่วนของส่งสัญญาณเสียงออกไปยังลำโพงหรือการเชื่อมต่อหูฟัง และรับสัญญาณขาเข้าจากไมโครโฟนรวมไปถึงสัญญาณ Line In ต่างๆ
3. Chipset Driver
- เปรียบเสมือนหัวใจของโน๊ตบุ๊คเลยครับ เพราะเป็น Driver ที่ช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถทำงานร่วมกับชิปเซ็ตที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ของเมนบอร์ดทั้งระบบ ปกติจะต้องติดตั้ง และมักจะมีเวอร์ชันใหม่ๆ ออกมานานๆ ครั้ง
4.Wireless LAN Driver
- Driver ในส่วนของการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับการรับสัญญาณ และมักจะออกแบบหน้าตามอินเทอร์เฟสใหม่ๆ ออกมาเสมอ
5.Ethernet Controller / LAN Driver
- Driver ส่วนที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเครือข่ายแบบ LAN
6.Modem
- เป็น Driver ของ Modem ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ Internet แบบ Dial-Up หรือแบบ 56K
นอก จากจะมี Driver หลักๆ ที่ทุกเครื่องต้องติดตั้งแล้ว โน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอื่นๆ อีก ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้งไดรเวอร์เช่นกัน โดยมี Driver สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ ดังนี้
1. Fingerprint Driver
- Driver ของอุปกรณ์ตัวนี้ จะใช้สำหรับอุปกรณ์สำหรับการสแกนลายนิ้วมือ (Finger Print Scan)เพื่อเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ หรือเข้าใช้งานเครื่องโน๊ตบุ๊ค
2.Camera Driver (WEBCAM)
- เป็น Driver สำหรับกล้องที่ Built-in มากับเครื่องหรือที่บางท่านเรียกว่า Webcam นั่นเอง โดย Driver บางตัวจะมาพร้อมกับ software เพิ่มความสามารถต่างๆ ให้กับกล้อง เช่น การใส่เอฟเฟกต์ต่างๆ หรือการบันทึกภาพวิดีโอ และภาพนิ่ง รวมถึงการส่งไฟล์ภาพผ่านอีเมล์ เป็นต้น
3. Bluetooth Driver
- Driver ในส่วนนี้จะใช้สำหรับควบคุมการทำงานของ Bluetooth
4. Infrared Driver
- เป็น Driver ที่ดูแลในส่วนของการทำงานของ Infrared
5.Card Reader Driver
- Driver ส่วนนี้จะใช้ควบคุมการทำงานในส่วนของตัว Card Reader
6.Function Key Driver ต่างๆ
- เป็น Driver ที่ลงไว้เพื่อใช้สำหรับ ปุ่ม function ต่างที่มีมากับเครื่อง ให้สามารถทำงานได้ เช่น การกดปุ่ม fn แล้วตามด้วยปุ่มอื่น เช่น F1 เป็นต้น หรือ การใช้งานปุ่ม Quick launch ตามตัวเครื่อง
ทำไมจึงควรอัพเดท Driver ?
การอัพเดท Driver ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้อุปกรณ์ในโน๊ตบุ๊ค สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด เราจึงควรหมั่นตรวจสอบเวอร์ชั่นของ Driver ด้วยว่าเวอร์ชั่นที่เราได้ทำการติดตั้งเอาไว้นั้น เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดหรือเปล่า เพราะส่วนใหญ่แล้วเวอร์ชั่นที่ออกมาใหม่มักจะแก้ไขปัญหาบกพร่องที่พบจาก เวอร์ชั่นก่อน รวมไปถึงความพยายามในการรีดเร้นความสามารถให้สามารถแสดงออกมาได้มากกว่า เวอร์ชั่นก่อนด้วย จะเห็นได้ว่าการหมั่นตรวจสอบอัพเดทของ Driver อยู่เสมอๆ นั้น จะส่งผลดีต่อเครื่องของเรามากแค่ไหน
Driver อัพเดตกันอย่างไร?
วิธีการอัพเด ตไดรเวอร์นั้นให้เริ่มจากตรวจสอบเวอร์ชันของไดรเวอร์ที่เราใช้ในเครื่องก่อน เป็นอันดับแรก โดยเข้าไปในส่วนของ Device Manager คลิ้กเมาส์ขวาที่รายชื่ออุปกรณ์ เลือก Properties แล้วดูที่แถบ Driver จะมีรายละเอียดต่างๆ ของไดรเวอร์ขึ้นมา
จากนั้นให้เข้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คตรวจสอบเวอร์ชัน และวันที่ของไดรเวอร์ตามหน้าเว็บไซต์ หากเป็นเวอร์ชันที่ใหม่กว่า ก็จัดการดาวน์โหลดมาเลยครับ แล้วติดตั้งลงไป การติดตั้งนั้นโน๊ตบุ๊คบางยี่ห้อก็สามารถติดตั้งใส่เข้าไปได้เลย แต่บางยี่ห้อต้องทำการ Uninstall ไดรเวอร์ตัวเก่าออกก่อนถึงจะติดตั้งตัวใหม่ลงไปได้ ปกติจะมีหน้าจอแสดงเพื่อแจ้งเตือนขึ้นมาครับ
นอกจากนี้โน๊ตบุ๊คบางรุ่นยังได้ออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับการอัพเดตไดรเวอร์แบบ อัตโนมัติมาให้ด้วย เวลาอัพเดตไดรเวอร์ก็เพียงแค่เปิดซอฟต์แวร์สำหรับการอัพเดตไดรเวอร์ จากนั้นเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ตัวซอฟต์แวร์จะทำการตรวจสอบกับเว็บไซต์ของผู้ผลิต หากพบไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่กว่าที่มีอยู่ในเครื่องก็จะทำการดาวน์โหลดและติด ตั้งให้โดยอัตโนมัติ หรือถ้าไม่มีซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาจัดการ เรื่องไดเวอร์โดยเฉพาะก็ได้ครับ เช่น Driver Detective ที่จะตรวจสอบไดรเวอร์ในเครื่อง และหาไดรเวอร์ใหม่ๆ ให้ทันที
ตัวอย่างประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมาจากการอัพเดท Driver
ตอนนี้มาดูผล ทดสอบจากไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่และเวอร์ชันเก่ากันจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพใน การทำงานสูงขึ้นพอสมควรเลยครับ
แผนภาพแสดงประสิทธิภาพของ VGA ภายใต้การทำงานของ Driver รุ่นต่างๆ
จากแผนภาพจะ เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่าง Driver ในการแสดงผลทางกราฟิกระหว่างเวอร์ชั่นเก่า (169.04) กับเวอร์ชั่นใหม่ (169.09) จะเห็นได้ว่า Driver รุ่นที่ใหม่กว่านั้นสามารถทำอัตราเฟรมเรตได้สูงขึ้นกว่ารุ่นก่อน ซึ่งเจ้าเฟรมเรตนี้จะส่งผมถึงความนุ่มนวลในการแสดงผลของภาพเวลาใช้งานด้าน กราฟิก
จะไปอัพเดท Driver โน๊ตบุ๊คได้จากที่ไหน ?
ท่านสามารถ ตรวจสอบไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้จากเว็บของผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อ ใช้ซอฟต์แวร์ตรวจสอบ หรือจะเข้ามาตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ Notebookspec.com ก็ได้ครับ หากหาไดรเวอร์ไม่เจอ โดยเฉพาะไดรเวอร์สำหรับ Windows XP ในโน๊ตบุ๊คที่ติตตั้ง Windows Vista มาให้ก็สามารถไปโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดในห้อง NBS Program & Driver Support ทางทีมงานจะช่วยตรวจสอบและแจ้งข้อมูลให้ทันที