Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Review – ASUS VivoBook A571GT สเปก i7-9750H + GTX 1650 ตัดต่อวีดีโอ เล่นเกม คุ้มที่สุด

ASUS VivoBook A571GT เป็นโน๊ตบุ๊คมาแนวคุ้มค่าอย่างแท้จริง ที่จะเน้นเรื่องของประสิทธิภาพทั้งงานหนักๆ อย่างตัดต่อวีดีโอหรือเล่นเกม 3 มิติ ด้วยสเปก i7-9750H + GTX 1650

ASUS VivoBook A571GT เป็นโน๊ตบุ๊คมาแนวคุ้มค่าอย่างแท้จริง ที่จะเน้นเรื่องของประสิทธิภาพทั้งงานหนักๆ อย่างตัดต่อวีดีโอหรือเล่นเกม 3 มิติ ด้วยสเปก i7-9750H + GTX 1650 ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 27,990 – 32,990 บาท พร้อมดีไซน์ดูหรูหราแนวเรียบๆ โดยเป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่สายทำงานสเปคคุ้มๆโดยมาพร้อมขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ขอบหน้าจอบางพิเศษ NanoEdge ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล พาเนลคุณภาพสูงอย่าง IPS รองรับ Refresh Rate ที่ 120Hz เล่นเกมได้ลื่นไหลอีกด้วย

ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 16GB DDR4 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งานแน่นอน สำหรับหน่วยจำสำรองเป็น SSD M.2 NVMe ความจุ 512GB ที่สำคัญยังเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 (AX) ด้วย อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบาตัวเครื่องบาง นอกจากนี้ในส่วนของกล้องด้านหน้ารองรับการใช้งาน VDO Call รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้  ประกันเป็นมาตรฐาน 2 ปีแบบทั่วโลก เคลมผ่านร้าน 7-11 ได้ พร้อมปีแรกมีประกันอุบัติเหตุตามาตรฐาน ASUS ในโน๊ตบุ๊คทุกรุ่น

Advertisement

VDO Review

Specification

แอดมินโป้งได้รับ ASUS VivoBook A571GT จากทาง ASUS ประเทศไทย เป็นตัวขายจริง สเปกภายในใช้ชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i7-9750H ตัวแรงยอดนิยม เป็นสถาปัตยกรรม 14 nm ทำงานแบบ 6 คอร์ 12 เธร์ด การ์ดจอแยกเป็น NVIDIA GeForce GTX 1650 (4GB GDDR5) ประสิทธิภาพดีรองรับการเล่นเกม 3 มิติออนไลน์พอได้  แรมให้มาขนาด 8GB DDR4 แบบฝังบอร์ด และ 8GB ติดมาอีกแถว รวมเป็น 16GB (ติดตั้งได้สูงสุดที่ 16GB) สำหรับฮาร์ดดิสก์ให้มาเป็น SSD ของ Intel ความเร็วสูงแบบ NVMe M.2 ความจุ 512GB + Optane 32GB พร้อมเพิ่ม HDD 2.5″ ได้ภายหลัง ส่วนหน้าจอเป็นขนาด 15.6″ ที่ได้ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี ที่รองรับ Refresh Rate ที่ 120Hz

นอกจากนี้ ASUS VivoBook A571GT ยังมีลำโพงคุณภาพทำงานร่วมกับระบบเสียง Harman Kardon ส่วนพอร์ตที่ให้มาก็ครบครัน ได้แก่ USB 3.1 Type-C, USB 3.1 Type-A , USB 2.0 Type-A, HDMI, และ microSD card reader รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Dual-band Wi-Fi 6 (802.11ax) และ Bluetooth 5.0 ด้วย รองรับการทำงานทุกไลฟ์สไตล์ ในราคาเบาๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานได้ทันที พร้อมการรับประกัน 2 ปี ปีแรกได้ประกันอุบัติเหตุ

Hardware / Design

ASUS VivoBook A571 Review NBS 1

ASUS VivoBook A571GT ได้เรื่องของสีสันรวมถึงการออกแบบทำมาได้สวยมากอย่าง Star Black ตัวเครื่องฝาหลังและตัวเครื่องด้านในจะเป็นพลาสติกคุณภาพดีตลอดทั้งตัวเครื่องให้สัมผัสที่ดูดีเกินราคา พร้อมหน้าจอแบบขอบบางที่ 7.4 มิลลิเมตร ทำให้มิติตัวเครื่องใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14″ สมัยก่อน อีกทั้งตัวเครื่องยังมีความบางที่ 21.9 มิลลิเมตร แม้จะไม่บางมากแต่ก็ถือว่าพกพาได้สะดวกอยู่ ส่วนน้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัม รูปทรงของตัวเครื่องโดยรวมจะเป็นแบบขนมเปียกปูน ตามแนวทางการออกแบบของโน๊ตบุ๊ค ASUS ปี 2019 ในหลายๆ รุ่นนั่นเอง

ซึ่งอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาเสริมให้การทำงานเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็คือ บานพับ ErgoLift Hinge พร้อมกับเวลากางหน้าจอ ตัวเครื่องจะยกสูงขึ้น เพื่อให้เราสามารถวางข้อมือพิมพ์งานได้ถนัดรวมถึงช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนอีกด้วย พร้อมกางจอได้สูงสุดที่ 145 องศา จากการที่มีบานพับแบบพิเศษช่วยยกตัวเครื่องสูงขึ้จากพื้น โดยขอบตัวเครื่องด้านหลังจะมียางรองพร้อมทำหน้าที่เป็นฐานรองด้านหลัง ขอบจอตัวเครื่องก็บางมากๆ ดูแล้วลดขนาดตัวเครื่องลงไปได้เยอะเลยทีเดียว

ASUS VivoBook A571 Review NBS 33

ซึ่งการทำมุมองศาที่ว่านี้นั้นทาง ASUS ได้ทำการวิจัยออกมาเป็นอย่างดี ว่ามันจะช่วยให้เราใช้งานโน๊ตบุ๊คนั้นสามารถที่จะพิมพ์ได้อย่างสบาย แถมเวลาที่กางบานพับออกมานั้นมันจะทำให้ส่วนของฐานคีย์บอร์ดมีระยะห่างกับฐานตั้งมากกว่าโน้คบุ๊ตทั่วไปที่เป็นแนวระนาบปกติ ซึ่งทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในส่วนของตัวเครื่องนั้นมีการดูดลมเย็นเข้าไปช่วย พร้อมกันนั้นยังให้เสียงที่ดีขึ้นด้วย เรียกได้ว่าเป็นการยกฟีเจอร์เทพๆ มาจาก ASUS ZenBook S หรือ VivoBook S ที่เป็นรุ่นพี่มาก็ว่าได้

สำหรับช่องระบายความร้อนถูกซ่อนอยู่ใต้หน้าจอบริเวณบานพับ โดยเป็นการใช้งานพัดลมระบาย 2 ตัว ช่วยนำพาความร้อนชิปประมวลผลและการ์ดจอ ซึ่งการใช้งานโดยรวมถือว่าเอาอยู่ ที่มีช่องดูดลมเย็นด้านล่างตัวเครื่องทำหน้าที่ร่วมกันเป็นอย่างดี ทำให้สเปกแรงแบบนี้ก็ยังถ่ายเทความร้อนได้อย่างรวดเร็วน่าประทับใจ ทำให้ไม่รบกวนการทำงานของเราขณะใช้งานเลย พร้อมดีไซน์ที่ดูโฉบเฉียวเข้ากับตัวเครื่องเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามอาจจะมีข้อสังเกตเล็กน้อยที่ลมร้อนจะเป่าออกมาโดนหน้าจอ ซึ่งต้องดูกันในระยะยาวอีกที

ASUS VivoBook A571 Review NBS 35

อย่างไรก็ตามแม้ ASUS VivoBook A571GT จะอยู่บนพื้นฐานการออกแบบของตระกูล VivoBook ที่เน้นสายทำงานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นทั่วไปหรือตัดต่อวีดีโอหนักๆ แต่ใครจะเอาไปเล่นเกมก็ได้เลย เพราะสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งหมด ทั้งจากฟีเจอร์ ดีไซน์และสเปกแรงๆ ต่อยอดความสำเร็จจากรุ่นก่อนๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และราคาที่เหมาะสมที่สุด เมื่อเทียบกับคู่แข่งแบรนด์อื่นๆ ยิ่งเห็นได้ชัด

นับได้ว่า ASUS VivoBook A571GT เป็นโน๊ตบุ๊คที่มีสเปกที่ดี แรง คุ้ม ราคาไม่แพง แต่ ASUS ใส่ใจในการออกแบบทุกรายละเอียดจริงๆ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ด้วยขนาดตัวเครื่องที่กะทัดรัดกว่า น้ำหนักเบาตัวเครื่องที่บาง สามารถใส่ในกระเป๋า หรือกระเป๋าเป้สะพายหลังได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เดินทางอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตุเล็กน้อยที่วัสดุเป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อย แต่ก็เช็ดออกได้ไม่ยากเช่นกัน

Keyboard / Touchpad

ASUS VivoBook A571 Review NBS 15

ASUS VivoBook A571GT ติดตั้งคีย์บอร์ดเป็นปุ่มพลาสติกสีดำ มีการออกแบบมาให้ปุ่มมีขนาดใหญ่พอดีกับนิ้วมือ ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น ในส่วนการสัมผัสให้การสัมผัสที่นุ่มกำลังดี การตอบสนองทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วกันและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด พร้อมติดตั้งชุดแป้น Numpad ตามปกติของโน๊ตบุ๊คจอ 15.6 นิ้ว ในของวัสดุส่วนนี้ถือว่าทำออกมาได้ดีมาก แถมมีไฟ Backlit สีขาว สามารถปรับได้ 3 ระดับ ปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมบนขวากลืนไปกับคีย์บอร์ด ส่วนปุ่ม Fn ที่เป็นทางลัดต่างๆ ติดตั้งอยู่ชุดคีย์บอร์ดแถวบนเป็นมาตรฐาน ใช้งานได้สะดวก พร้อมแป้นตัวเลข Numpad ก็มีให้ใช้งานปกติ

ตัวทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ดีไซน์ออกมาแบบไม่มีปุ่มแยกเป็นชิ้นเดียวทั้งคลิกซ้ายคลิกขวา ซึ่งขอบรอบๆ ตัดขอบได้แบบสวยงาม พร้อมตัวทัชแพดเองจะมีสีจางกว่าตัวเครื่องเล็กน้อย การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ที่ให้มาสามารถควบคุมจัดการได้ดี ใช้งานแบบมัลติทัชร่วมกับ Windows 10 ได้ลื่นไหลพอสมควร

Screen / Speaker

ASUS VivoBook A571 Review NBS 57

ASUS VivoBook A571GT ได้ติดตั้งหน้าจอด้านขนาด 15.6″ มีขอบที่บางมากตามสไตล์ NanoEdge ที่ 7.4 มิลลิเมตร โดยให้พื้นที่หน้าจอถึง 80.2% ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี พร้อมการ Refresh Rate ที่ 120Hz แสดงผลได้อย่างลื่นไหล ให้ความเรียบเนียนตากว่ามาตรฐาน 1366 x 768 พิกเซล HD ที่ 60Hz แบบเดิมๆ ให้มุมมองที่ค่อนข้างกว้างกว่าพาเนล TN ทั่วไปอย่างชัดเจน

ถ้าบอกตรงๆ ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว แต่ถ้ามองมุมขึ้นลงหรือซ้ายขวาก็จะเห็นถึงความต่าง ให้ประสบการณ์การใช้งานที่น่าประทับใจมากเมื่อเทียบกับราคาที่จ่าย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คจอ 15.6″ ที่ให้สีจอที่ดีทีเดียว ที่แม้ขอบจอจะบางเฉียบแต่ก็ได้ติดตั้งกล้องเว็บแคมไว้ด้านบนเหมือนเดิม เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบ

s3

การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS VivoBook A571GT ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB 55% / AdobeRGB 41% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูงเกณฑ์กลางๆ ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 220 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว

ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอเลือกใช้ลำโพง Harman Kardon ให้เสียงที่ดีในระดับหนึ่ง มีทั้งเสียงเบสที่มีน้ำหนักบางๆ ไม่ใช่ใส่แต่เสียงกลาง เสียงแหลมออกมาอย่างเดียว โดยตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น ทำให้เสียงที่ค่อนข้างดังพอสมควร แยกรายละเอียดได้ซ้ายขวาได้ดี โดยรวมถือในส่วนของลำโพงถือว่าทำออกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป ทั้งในคุณภาพเสียงที่ได้และเสียงดังฟังชัดเพียงพอจะออกไปในนอกสถานที่ได้ ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

Connector / Thin And Weight

ASUS VivoBook A571 Review NBS 40

ASUS VivoBook A571GT ในเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อก็ถือว่ามีความครบครัน ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต USB 3.1 Type-A จำนวนหนึ่งพอร์ต (น่าจะให้มาสักสอง) ไว้สำหรับการเชื่อมต่อกับแฟลชไดร์ฟหรือฮาร์ดดิสก์ภายนอกไว้ถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว พอร์ต USB 2.0 Type-A อีกสองพอร์ตที่ไว้เชื่อมต่อกับเมาส์หรืออุปกรณ์อื่นๆ และมีพอร์ต USB 3.1 Type-C มาให้อีกหนึ่งพอร์ท ทางด้านพอร์ทการเชื่อมต่อหน้าจอก็จะมีพอร์ท HDMI มาให้ รูเชื่อมต่อหูฟังเป็นแบบ Combo ไมค์และหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร พร้อม SD Card Reader โดยมีการเชื่อมต่อไร้สายแบบ Wi-Fi 6 AX และ Bluetooth 5.0 รุ่นใหม่ล่าสุด

ขนาดของโน๊ตบุ๊คตัวนี้ถือว่ามีมิติที่ค่อนข้างเล็กและบางเบา น้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม และตัวอแดปเตอร์ที่ชาร์จเองก็มีขนาดเล็ก กะทัดรัดซึ่งเมื่อรวมเข้าไปด้วยกันแล้วน่าจะมีหนักราวๆ 2 กิโลกรัมนิดๆ ถือว่ามีน้ำหนักที่มีความเบามากๆ เลยทีเดียว เพราะปกติแล้วโน๊ตบุ๊ค 15.6″ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัมขึ้นไปแน่นอน ตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบนั่นเอง เอาไปใช้ตามร้านกาแฟออนไลน์ชิลๆ เลยล่ะ

Inside / Upgrade

ASUS VivoBook A571 Review NBS 67

ถ้าใครต้องการจะแกะทั้งฝาล่างทั้งหมดของ ASUS VivoBook A571GT เพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ไขน็อตทั้งหมด 4 + 2 ตัว พิเศษตรงที่ในส่วนของยางรองด้านหลังต้องทำการดึงออกมา แล้วไขน็อตอีก 2 ตัวด้วย อย่าลืมโดยเด็ดขาด หลังจากนั้นก็ค่อยๆ แงะแกะทีละส่วนขึ้นอย่างช้าๆ เพียงเท่านี้ก็จะแกะฝาล่างได้ไม่ยากเย็น ส่วนประกอบภายในอื่นๆ  ที่มีงานประกอบเรียบร้อยดี

เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นแรมขนาด 8GB DDR4 2666Mz ที่ 1 แถว (ติดตั้งฝังบอร์ดมาแล้ว 8GB 1 แถว) รองรับการอัพเกรดได้สูงสุด 32GB (Dual Channel) และ SSD ขนาด 512GB แบบ M.2 NVMe (รองรับการอัพเกรด SSD/HDD แบบ 2.5” SATA เพิ่มอีก) ให้การใช้งานเป็นไปอย่างลื่นไหลไร้คอขวด ที่ต้องบอกว่าสำหรับการใช้งานทั่วไปจนไปถึงเล่นเกมหนักๆ ก็ใช้งานได้แบบไม่จำเป็นต้องอัพเกรดแล้ว ระบบระบายความร้อนเป้นพัดลม 2 ตัว ฮีตไปป์ 2 เส้น พร้อมช่องระบายความร้อน 2 ช่อง ซึ่งการทดสอบบอกได้เลยว่าน่าประทับใจมากๆ แม้สเปกจะแรงมาก แต่ความร้อนนั้นถือว่าเย็นทีเดียว

Performance / Software

CPU Z 1 1   CPU Z 4 1

ASUS VivoBook A571GT มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home Single Language มาตั้งแต่แกะกล่อง ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงเรื่องลิขสิทธิ์ Windows เลยครับ ส่วนถ้าต้องการเคลียร์เครื่อง ก็สามารถใช้งานฟังก์ชัน Reset this PC ที่อยู่ใน Settings ของ Windows 10 ได้เลยโดยไม่ต้องฟอร์แมต SSD เพื่อลง Windows ใหม่

เมื่อตรวจสอบข้อมูลของชิปประมวลผลด้วยโปรแกรม CPU-Z ก็พบว่าข้อมูลขึ้นมาครบถ้วนเลย  แรงสุดๆ ด้วยโปรเซเสเซอร์ Intel Core i7 9750H รุ่นล่าสุดที่มีแกนประมวลผลแบบ 6 คอร์ 12 เธรด ให้ความเร็วสูงสุดถึง 4.5GHz และมี L3 cache ขนาดใหญ่ถึง 12MB รองรับการทำงานที่หลากหลายพร้อมๆกันได้อย่างดีเยี่ยมยิ่งขึ้น

GPU Z 1  GPU Z 2

กราฟิกการ์ดตัวแรกเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการใช้งานจอความละเอียดสูงมากกว่าการเล่นเกม

อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกตัวแรงที่เน้นความคุ้มค่าอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1650 ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซีแบบสบายๆ และแรงกว่า GTX 1050 Ti แบบรู้สึกได้จากการที่สามารถขับเฟรมเรทได้ลื่นไหล โดยเป็นรอง GTX 1660 Ti และแม้ไม่มีฟีเจอร์อย่างที่ใน RTX Series มี แต่ก็ตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว

cine

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

ssd2

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB แบบ M.2 NVMe ระดับกลางๆ แน่นอนว่าเร็วกว่า SSD M.2 SATA 3 แบบทั่วไป ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 1426 MB/s และเขียนที่ 971 MB/s ส่วนตัวถ้าใส่ NVMe ที่เร็วระดับ 2xxx – 3xxx MB/s มาจะดีมากๆ

PC10

การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 5348 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ และจากการที่เป็นโน๊ตบุ๊คเล่นเกมมีการ์ดจอแยกอย่าง GTX 1650 ทำให้มีคะแนนพุ่งกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปมากพอสมควร ระดับเทียบเท่า Desktop สบายๆ

game asus a571gt

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า 60 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-9750H ทำงานร่วมกับการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1650 ทำให้ประสิทธิภาพออกมาได้ดีเยี่ยม เทียบเท่า Gaming Notebook ตัวแรงแบบสบายๆ ทีเดียว

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Battlefield V/ FarCry 5 / GTA V ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ตามภาพด้านบน ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว โดย Battlefield V เปิด DX12 ทำให้ภาพสวยงาม แต่ก็กินทรัพยากรเครื่องพอตัวอยู่

เกมออนไลน์กินสเปกเบาๆ หน่อยอย่าง DOTA 2 / Overwatch รวมไปถึง PUBG ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 100 ขึ้นไปตลอด ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ก็ถือว่าเล่นได้สบายๆ แบบไร้กังวล

ที่สำคัญด้วยหน้าจอ พาเนล IPS แบบ 120Hz ทำให้เกมมีความลื่นไหลกับฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แบบสุดๆ หมดปัญหาภาพฉีก หรือภาพกระตุกไปเลย แต่นั่นก็ต้องอยู่กับตัวเกมด้วยว่าขับเฟรมเรทได้แค่ไหน ถ้าเกมกินสเปกหนักๆ 120Hz อาจไม่เห็นผลมากนักกับความลื่นไหล หรือเอาจริงๆ สำหรับเกมสไตล์ MOBA แค่ 60 FPS นิ่งๆ ก็เอาอยู่ หรือถ้าอยากให้วิ่ง 120Hz ก็จะปรับกราฟิกของเกมลงมากลางๆ หน่อย

a1

นอกจากนี้ทาง ASUS VivoBook A571GT เองก็ยังมีในส่วนของซอต์ฟแวร์ที่จะเป็นตัวช่วยในการใช้งานของเราอีกด้วยอย่าง MyASUS (เปิดเครื่องมาเจอเลย) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสเปกภายใน หรือเช็คสถานะการทำงานส่วนต่างๆ ของเครื่อง รวมไปถึงยังสามารถ ตรวจเช็คสถานะเครื่องกับข้อมูลแคชต่างๆ ก็ทำการลบทิ้งได้ตรงนี้เลย หรือเช็คอัพเดทซอฟ์ตแวร์และไดร์เวอร์ต่างๆ ของเครื่องก็สามารถทำผ่านตรงนี้ได้เช่นกัน ที่สำคัญยังเลือกปรับโหมดพัดลม การชาร์จ หน้าจอ และ Hotkey ได้อีกด้วย

Battery / Heat / Noise

batt2

แบตเตอรี่ของ ASUS VivoBook A571GT เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ตัวแบตเตอรี่มีความจุ mAh สามารถทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ประมาณ 4 ชั่วโมง ในการใช้งานแบบทั่วไป เช่น ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต หรืองานเอกสาร ผ่านการปรับเป็นโหมด Power Saver นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ตามมาตรฐานอยู่ ส่วนช่องระบายของโน๊ตบุ๊คตัวนี้จะอยู่ด้านบนบริเวณแกนพับหน้าจอ โดยออกแบบให้ซ่อนตัวเอาไว้ด้านหลังเวลาพับจอก็ไม่เห็นช่องระบายความร้อนเลย

temp

ทางด้านอุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 40 – 50 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่ด้วยการเล่นเกมยาวๆ หรือประมวลผลหนักๆจะเห็นว่า CPU จะร้อนที่สุดที่ 98 องศาเซลเซียส และ GPU อยู่ที่ 79 องศาเซลเซียส นับว่าเรื่องระบบระบายความร้อนของ ASUS VivoBook A571GT เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีประมาณนึง ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก ASUS ที่ออกแบบมาค่อนข้างดีพอตัว แม้ไม่ใช่ Gaming Notebook ก็ตาม อีกทั้งตัวเครื่องที่ยกตัวขึ้นก็ช่วยระบายความร้อน รวมไปตัวเครื่องเองก็ควบคุมความร้อนได้ดี ที่อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ทำให้การใช้งานจริงยาวนานต่อเนื่องแทบไม่ได้สัมผัสถึงความร้อนเลย

Conclusion / Award

ASUS VivoBook A571 Review NBS 31

มีความน่าสนใจจริงๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งรุ่นที่ทุกๆ คนให้ความสนใจอย่าง ASUS VivoBook A571GT ที่ต่อยอดความสำเร็จตระกูล ViviBook Series รุ่นก่อนๆ ได้เป็นอย่างดีมาพร้อมความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ภาพลักษณ์ วัสดุ งานประกอบ รวมไปถึงสเปคประสิทธิภาพและประสบการณ์ใช้งาน สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คราคาคุ้มค่าไม่แพงของทาง ASUS ซึ่งมาพร้อมกับสเปก Gaming แต่ดีไซน์ดูเรียบๆ ใครจะซื้อไปทำงานตัดต่อวีดีโอหรือเล่นเกมหนักๆ ทั้งออนไลน์หรือออฟฟไลน์ก็สบายมาก

ทางด้านราคา ASUS VivoBook A571GT เทียบกับสเปกที่ได้แล้วถือว่าไม่แพง ทำให้จับต้องจับจองได้ง่ายๆ สนนราคาที่ 27,990 – 32,990 บาท ซึ่งเหนือกว่าในเรื่องดีไซน์การออกแบบ ErgoLift ยกตัวเอียงให้สูงขึ้น และด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กขอบจอบางเทียบและมีหน้าจอขนาด 14 นิ้ว แต่มีขนาดมิติโดยรวมมีความเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 1.8 กิโลกรัมและบางเพียง 21.9 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่งผลให้พกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก แม้แบตเตอรี่จะใช้งานได้ 4 ชั่วโมง ก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้

ASUS VivoBook A571 Review NBS 2

นอกจากนี้ยังได้ชิปประมวลผล Core i7-9750H และการ์ดจอ GTX 1650 แรมที่ขนาด 16GB ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD M.2 NVMe หน้าจอมีความละเอียด Full HD พาเนล IPS แบบ 120Hz ที่มากกว่าคู่แข่งอื่นๆ ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมดีเยี่ยมนั่นเอง พร้อม Windows 10 แท้ใช้งานได้ทันที เหมาะกับคนต้องการโน๊ตบุ๊คใช้งานพื้นฐานทั่วไป รวมไปถึงเล่นเกม 3 มิติออนไลน์บ้าง พอที่จะใช้เป็นเครื่องหลัก แบบใช้เครื่องนี้เครื่องเดียวได้อยู่ แม้ประสิทธิภาพไม่แรงเท่าพวก Gaming Notebook แต่ถ้างานเอกสาร เล่นเน็ต ดูหนังฟังเพลง สบายๆ ลื่นไหลอยู่

ส่วนข้อสังเกตุก็มับ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความร้อนที่สุดที่เกิดขึ้นในส่วนของชิปประมวลผลที่ 98 องศาเซลเซียส ที่แม้จะดูว่าสูงหน่อยแต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับบที่รับได้และไม่มีผลใดๆ ต่อการใช้งาน รวมไปถึงพอร์ตการเชื่อมต่อ ยังคงให้มาตรฐานที่ USB 2.0 Type-A ที่ 2 ช่อง ทั้งๆ ที่ถ้าเป็นได้ให้มาเป็น USB 3.1 Type-A มาให้หมดไปเลยจะดูลงตัวกว่า ส่วนอื่นๆ ก็คงเป็นเรื่องของผิววัสดุตัวเครื่องที่เป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อย ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ก็พอที่จะเช็ดออกได้ไม่ยากอยู่ ซึ่งบางคนอาจจะไม่ซีเรียสเท่าไรก็ได้นะ

ASUS VivoBook A571 Review NBS 58

สรุปแล้วสำหรับ ASUS VivoBook A571GT ใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊คที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งในราคาที่คุ้มค่า เริ่มต้นไม่เกิน 30,000 บาท เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงเหมาะกับการทำงานทั่วไป หรือหนักๆ อย่างตัดต่อวีดีโอ ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก หรือถ้าจะเล่นเกมบ้างก็สามารถทำได้ดีลื่นไหล ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง สมราคาค่าตัว เหมาะกับคนที่งบถึงเงินถึงและต้องการประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าโน๊ตบุ๊คสเปกทั่วไป หรือกรณีที่อยากได้สเปกแรงแต่ไม่อยากได้ดีไซน์แบบ Gaming Notebook

การรับประกันก็ตามมาตรฐานของ ASUS ที่แม้ว่าจะไม่ออนไลน์อย่างหลายๆ แบรนด์ แต่ก็สามารถเคลมผ่านทาง 7-11 ได้สะดวกไม่แพ้กัน รวมไปถึงในปีแรกแค่เราลงทะเบียนก็จะได้ประกันอุบัติเหตุในปีแรก อย่าง Perfect Warranty แล้ว ถือว่าได้อยู่เพราะก็มีจุดเด่นต่างกันออกไป ให้เราได้ตัดสินใจเลือกอีกที

จุดเด่น

  • เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6 นิ้ว แต่มีขนาดตัวเครื่องเล็กเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 14 นิ้ว
  • ดีไซน์พิเศษบานพับ ErgoLift Hinge ช่วยให้ใช้งานดีขึ้น
  • หน้าจอมีความละเอียด Full HD พาเนล IPS แบบ 120Hz
  • ขอบจอบางเฉียบด้วย เทคโนโลยี Nano Edge บางพิเศษกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
  • ใช้งานจริงลื่นไหลแบบสุดๆ ด้วย i7-9750H + GTX 1650 + RAM 16GB + SSD 512GB
  • ประสิทธิภาพดีเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล จากผลการทดสอบน่าประทับใจ
  • คีย์บอร์ดใช้งานได้ดี มีไฟส่องสว่างใช้งานได้จริง
  • ลำโพง Harman Kardon เสียงคุณภาพดีกว่าทั่วไปแบบรู้สึกได้
  • อัพเกรด HDD 2.5″ ได้ภายหลัง
  • มีการเชื่อมต่อไร้สายแบบ Wi-Fi 6 AX ใหม่ล่าสุด
  • มี Windows 10 แท้มาให้พร้อมใช้งานทันที
  • ประกัน 2 ปีเคลมผ่าน 7-11 ได้ พร้อมประกันอุบัติเหตุ 1 ปีแรก

ข้อสังเกต

  • อุณหภูมิร้อนสุด สูงไปหน่อยในส่วนของ CPU
  • แบตเตอรี่น่าจะใช้งานยาวนานที่ 4 ชั่วโมง
  • ยังให้พอร์ต USB 2.0 Type-A ให้มา 2 ช่อง
  • วัสดุตัวเครื่องเป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อย

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS VivoBook A571GT ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Performance

ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-9750H ตัวแรงระดับ Gaming ประสิทธิภาพไว้ใจได้ พร้อมกราฟฟิการ์ดเล่นเกมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1650 (4GB GDDR5) ที่ทั้ง 2 อย่างนี้แรงเหลือเฟือในการใช้งานทั่วไป มีที่เก็บข้อมูลรองรับการติดตั้ง SSD 512GB ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 16GB แบบ DDR4 แน่นอนทั้งตัวเครื่องนั้นแทบไม่ต้องอัพเกรดอะไร ลื่นไหลที่สุดอย่างไร้กังวล รองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ กันได้หลายๆ งาน รวมถึงเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล

award new performance

Best Mobility

ส่วนของความสามารถในการพกพาของ ASUS VivoBook A571GT อยู่ในระดับที่ดีกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่ขนาดหน้าจอ 15.6″ ชัดเจน ทั้งในความบางและน้ำหนักเบาเพียง 1.8 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมอแดปเตอร์ก็เบาและเล็กกว่าปกติมากๆ ถือว่ามีการพัฒนาไปในทุกส่วน รวมแล้วหนักแค่ 2 กิโลกรัมเท่านั้น โดยสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที พกพาสะดวก เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ

NBS award 4 Mobility

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ VivoBook มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS VivoBook A571GT ยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโดดเด่น ให้มิติที่เล็กกระชับลงกว่าเดิม ขอบจอบางเฉียบ แต่มีการออกแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ออกแนวพรีเมียมและเรียบหรูมากยิ่งขึ้น ในราคาเบาๆ เน้นคุ้มค่า ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาเชื่อได้ว่าหลายๆ คนส่วนมากต้องชื่นชอบอย่างแน่นอน

NBS award 7 Design

 

 

VDO Review

Specification

แอดมินโป้งได้รับ ASUS VivoBook A571GT จากทาง ASUS ประเทศไทย เป็นตัวขายจริง สเปกภายในใช้ชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i7-9750H ตัวแรงยอดนิยม เป็นสถาปัตยกรรม 14 nm ทำงานแบบ 6 คอร์ 12 เธร์ด การ์ดจอแยกเป็น NVIDIA GeForce GTX 1650 (4GB GDDR5) ประสิทธิภาพดีรองรับการเล่นเกม 3 มิติออนไลน์พอได้  แรมให้มาขนาด 8GB DDR4 แบบฝังบอร์ด และ 8GB ติดมาอีกแถว รวมเป็น 16GB (ติดตั้งได้สูงสุดที่ 16GB) สำหรับฮาร์ดดิสก์ให้มาเป็น SSD ของ Intel ความเร็วสูงแบบ NVMe M.2 ความจุ 512GB + Optane 32GB พร้อมเพิ่ม HDD 2.5″ ได้ภายหลัง ส่วนหน้าจอเป็นขนาด 15.6″ ที่ได้ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี ที่รองรับ Refresh Rate ที่ 120Hz

นอกจากนี้ ASUS VivoBook A571GT ยังมีลำโพงคุณภาพทำงานร่วมกับระบบเสียง Harman Kardon ส่วนพอร์ตที่ให้มาก็ครบครัน ได้แก่ USB 3.1 Type-C, USB 3.1 Type-A , USB 2.0 Type-A, HDMI, และ microSD card reader รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Dual-band Wi-Fi 6 (802.11ax) และ Bluetooth 5.0 ด้วย รองรับการทำงานทุกไลฟ์สไตล์ ในราคาเบาๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานได้ทันที พร้อมการรับประกัน 2 ปี ปีแรกได้ประกันอุบัติเหตุ

Hardware / Design

ASUS VivoBook A571 Review NBS 1

ASUS VivoBook A571GT ได้เรื่องของสีสันรวมถึงการออกแบบทำมาได้สวยมากอย่าง Star Black ตัวเครื่องฝาหลังและตัวเครื่องด้านในจะเป็นพลาสติกคุณภาพดีตลอดทั้งตัวเครื่องให้สัมผัสที่ดูดีเกินราคา พร้อมหน้าจอแบบขอบบางที่ 7.4 มิลลิเมตร ทำให้มิติตัวเครื่องใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14″ สมัยก่อน อีกทั้งตัวเครื่องยังมีความบางที่ 21.9 มิลลิเมตร แม้จะไม่บางมากแต่ก็ถือว่าพกพาได้สะดวกอยู่ ส่วนน้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัม รูปทรงของตัวเครื่องโดยรวมจะเป็นแบบขนมเปียกปูน ตามแนวทางการออกแบบของโน๊ตบุ๊ค ASUS ปี 2019 ในหลายๆ รุ่นนั่นเอง

ซึ่งอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาเสริมให้การทำงานเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็คือ บานพับ ErgoLift Hinge พร้อมกับเวลากางหน้าจอ ตัวเครื่องจะยกสูงขึ้น เพื่อให้เราสามารถวางข้อมือพิมพ์งานได้ถนัดรวมถึงช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนอีกด้วย พร้อมกางจอได้สูงสุดที่ 145 องศา จากการที่มีบานพับแบบพิเศษช่วยยกตัวเครื่องสูงขึ้จากพื้น โดยขอบตัวเครื่องด้านหลังจะมียางรองพร้อมทำหน้าที่เป็นฐานรองด้านหลัง ขอบจอตัวเครื่องก็บางมากๆ ดูแล้วลดขนาดตัวเครื่องลงไปได้เยอะเลยทีเดียว

ASUS VivoBook A571 Review NBS 33

ซึ่งการทำมุมองศาที่ว่านี้นั้นทาง ASUS ได้ทำการวิจัยออกมาเป็นอย่างดี ว่ามันจะช่วยให้เราใช้งานโน๊ตบุ๊คนั้นสามารถที่จะพิมพ์ได้อย่างสบาย แถมเวลาที่กางบานพับออกมานั้นมันจะทำให้ส่วนของฐานคีย์บอร์ดมีระยะห่างกับฐานตั้งมากกว่าโน้คบุ๊ตทั่วไปที่เป็นแนวระนาบปกติ ซึ่งทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในส่วนของตัวเครื่องนั้นมีการดูดลมเย็นเข้าไปช่วย พร้อมกันนั้นยังให้เสียงที่ดีขึ้นด้วย เรียกได้ว่าเป็นการยกฟีเจอร์เทพๆ มาจาก ASUS ZenBook S หรือ VivoBook S ที่เป็นรุ่นพี่มาก็ว่าได้

สำหรับช่องระบายความร้อนถูกซ่อนอยู่ใต้หน้าจอบริเวณบานพับ โดยเป็นการใช้งานพัดลมระบาย 2 ตัว ช่วยนำพาความร้อนชิปประมวลผลและการ์ดจอ ซึ่งการใช้งานโดยรวมถือว่าเอาอยู่ ที่มีช่องดูดลมเย็นด้านล่างตัวเครื่องทำหน้าที่ร่วมกันเป็นอย่างดี ทำให้สเปกแรงแบบนี้ก็ยังถ่ายเทความร้อนได้อย่างรวดเร็วน่าประทับใจ ทำให้ไม่รบกวนการทำงานของเราขณะใช้งานเลย พร้อมดีไซน์ที่ดูโฉบเฉียวเข้ากับตัวเครื่องเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามอาจจะมีข้อสังเกตเล็กน้อยที่ลมร้อนจะเป่าออกมาโดนหน้าจอ ซึ่งต้องดูกันในระยะยาวอีกที

ASUS VivoBook A571 Review NBS 35

อย่างไรก็ตามแม้ ASUS VivoBook A571GT จะอยู่บนพื้นฐานการออกแบบของตระกูล VivoBook ที่เน้นสายทำงานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นทั่วไปหรือตัดต่อวีดีโอหนักๆ แต่ใครจะเอาไปเล่นเกมก็ได้เลย เพราะสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งหมด ทั้งจากฟีเจอร์ ดีไซน์และสเปกแรงๆ ต่อยอดความสำเร็จจากรุ่นก่อนๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และราคาที่เหมาะสมที่สุด เมื่อเทียบกับคู่แข่งแบรนด์อื่นๆ ยิ่งเห็นได้ชัด

นับได้ว่า ASUS VivoBook A571GT เป็นโน๊ตบุ๊คที่มีสเปกที่ดี แรง คุ้ม ราคาไม่แพง แต่ ASUS ใส่ใจในการออกแบบทุกรายละเอียดจริงๆ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ด้วยขนาดตัวเครื่องที่กะทัดรัดกว่า น้ำหนักเบาตัวเครื่องที่บาง สามารถใส่ในกระเป๋า หรือกระเป๋าเป้สะพายหลังได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เดินทางอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตุเล็กน้อยที่วัสดุเป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อย แต่ก็เช็ดออกได้ไม่ยากเช่นกัน

Keyboard / Touchpad

ASUS VivoBook A571 Review NBS 15

ASUS VivoBook A571GT ติดตั้งคีย์บอร์ดเป็นปุ่มพลาสติกสีดำ มีการออกแบบมาให้ปุ่มมีขนาดใหญ่พอดีกับนิ้วมือ ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น ในส่วนการสัมผัสให้การสัมผัสที่นุ่มกำลังดี การตอบสนองทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วกันและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด พร้อมติดตั้งชุดแป้น Numpad ตามปกติของโน๊ตบุ๊คจอ 15.6 นิ้ว ในของวัสดุส่วนนี้ถือว่าทำออกมาได้ดีมาก แถมมีไฟ Backlit สีขาว สามารถปรับได้ 3 ระดับ ปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมบนขวากลืนไปกับคีย์บอร์ด ส่วนปุ่ม Fn ที่เป็นทางลัดต่างๆ ติดตั้งอยู่ชุดคีย์บอร์ดแถวบนเป็นมาตรฐาน ใช้งานได้สะดวก พร้อมแป้นตัวเลข Numpad ก็มีให้ใช้งานปกติ

ตัวทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ดีไซน์ออกมาแบบไม่มีปุ่มแยกเป็นชิ้นเดียวทั้งคลิกซ้ายคลิกขวา ซึ่งขอบรอบๆ ตัดขอบได้แบบสวยงาม พร้อมตัวทัชแพดเองจะมีสีจางกว่าตัวเครื่องเล็กน้อย การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ที่ให้มาสามารถควบคุมจัดการได้ดี ใช้งานแบบมัลติทัชร่วมกับ Windows 10 ได้ลื่นไหลพอสมควร

Screen / Speaker

ASUS VivoBook A571 Review NBS 57

ASUS VivoBook A571GT ได้ติดตั้งหน้าจอด้านขนาด 15.6″ มีขอบที่บางมากตามสไตล์ NanoEdge ที่ 7.4 มิลลิเมตร โดยให้พื้นที่หน้าจอถึง 80.2% ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี พร้อมการ Refresh Rate ที่ 120Hz แสดงผลได้อย่างลื่นไหล ให้ความเรียบเนียนตากว่ามาตรฐาน 1366 x 768 พิกเซล HD ที่ 60Hz แบบเดิมๆ ให้มุมมองที่ค่อนข้างกว้างกว่าพาเนล TN ทั่วไปอย่างชัดเจน

ถ้าบอกตรงๆ ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว แต่ถ้ามองมุมขึ้นลงหรือซ้ายขวาก็จะเห็นถึงความต่าง ให้ประสบการณ์การใช้งานที่น่าประทับใจมากเมื่อเทียบกับราคาที่จ่าย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คจอ 15.6″ ที่ให้สีจอที่ดีทีเดียว ที่แม้ขอบจอจะบางเฉียบแต่ก็ได้ติดตั้งกล้องเว็บแคมไว้ด้านบนเหมือนเดิม เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบ

s3

การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS VivoBook A571GT ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB 55% / AdobeRGB 41% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูงเกณฑ์กลางๆ ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 220 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว

ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอเลือกใช้ลำโพง Harman Kardon ให้เสียงที่ดีในระดับหนึ่ง มีทั้งเสียงเบสที่มีน้ำหนักบางๆ ไม่ใช่ใส่แต่เสียงกลาง เสียงแหลมออกมาอย่างเดียว โดยตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น ทำให้เสียงที่ค่อนข้างดังพอสมควร แยกรายละเอียดได้ซ้ายขวาได้ดี โดยรวมถือในส่วนของลำโพงถือว่าทำออกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป ทั้งในคุณภาพเสียงที่ได้และเสียงดังฟังชัดเพียงพอจะออกไปในนอกสถานที่ได้ ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

Connector / Thin And Weight

ASUS VivoBook A571 Review NBS 40

ASUS VivoBook A571GT ในเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อก็ถือว่ามีความครบครัน ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต USB 3.1 Type-A จำนวนหนึ่งพอร์ต (น่าจะให้มาสักสอง) ไว้สำหรับการเชื่อมต่อกับแฟลชไดร์ฟหรือฮาร์ดดิสก์ภายนอกไว้ถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว พอร์ต USB 2.0 Type-A อีกสองพอร์ตที่ไว้เชื่อมต่อกับเมาส์หรืออุปกรณ์อื่นๆ และมีพอร์ต USB 3.1 Type-C มาให้อีกหนึ่งพอร์ท ทางด้านพอร์ทการเชื่อมต่อหน้าจอก็จะมีพอร์ท HDMI มาให้ รูเชื่อมต่อหูฟังเป็นแบบ Combo ไมค์และหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร พร้อม SD Card Reader โดยมีการเชื่อมต่อไร้สายแบบ Wi-Fi 6 AX และ Bluetooth 5.0 รุ่นใหม่ล่าสุด

ขนาดของโน๊ตบุ๊คตัวนี้ถือว่ามีมิติที่ค่อนข้างเล็กและบางเบา น้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม และตัวอแดปเตอร์ที่ชาร์จเองก็มีขนาดเล็ก กะทัดรัดซึ่งเมื่อรวมเข้าไปด้วยกันแล้วน่าจะมีหนักราวๆ 2 กิโลกรัมนิดๆ ถือว่ามีน้ำหนักที่มีความเบามากๆ เลยทีเดียว เพราะปกติแล้วโน๊ตบุ๊ค 15.6″ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัมขึ้นไปแน่นอน ตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบนั่นเอง เอาไปใช้ตามร้านกาแฟออนไลน์ชิลๆ เลยล่ะ

Inside / Upgrade

ASUS VivoBook A571 Review NBS 67

ถ้าใครต้องการจะแกะทั้งฝาล่างทั้งหมดของ ASUS VivoBook A571GT เพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ไขน็อตทั้งหมด 4 + 2 ตัว พิเศษตรงที่ในส่วนของยางรองด้านหลังต้องทำการดึงออกมา แล้วไขน็อตอีก 2 ตัวด้วย อย่าลืมโดยเด็ดขาด หลังจากนั้นก็ค่อยๆ แงะแกะทีละส่วนขึ้นอย่างช้าๆ เพียงเท่านี้ก็จะแกะฝาล่างได้ไม่ยากเย็น ส่วนประกอบภายในอื่นๆ  ที่มีงานประกอบเรียบร้อยดี

เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นแรมขนาด 8GB DDR4 2666Mz ที่ 1 แถว (ติดตั้งฝังบอร์ดมาแล้ว 8GB 1 แถว) รองรับการอัพเกรดได้สูงสุด 32GB (Dual Channel) และ SSD ขนาด 512GB แบบ M.2 NVMe (รองรับการอัพเกรด SSD/HDD แบบ 2.5” SATA เพิ่มอีก) ให้การใช้งานเป็นไปอย่างลื่นไหลไร้คอขวด ที่ต้องบอกว่าสำหรับการใช้งานทั่วไปจนไปถึงเล่นเกมหนักๆ ก็ใช้งานได้แบบไม่จำเป็นต้องอัพเกรดแล้ว ระบบระบายความร้อนเป้นพัดลม 2 ตัว ฮีตไปป์ 2 เส้น พร้อมช่องระบายความร้อน 2 ช่อง ซึ่งการทดสอบบอกได้เลยว่าน่าประทับใจมากๆ แม้สเปกจะแรงมาก แต่ความร้อนนั้นถือว่าเย็นทีเดียว

Performance / Software

CPU Z 1 1   CPU Z 4 1

ASUS VivoBook A571GT มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home Single Language มาตั้งแต่แกะกล่อง ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงเรื่องลิขสิทธิ์ Windows เลยครับ ส่วนถ้าต้องการเคลียร์เครื่อง ก็สามารถใช้งานฟังก์ชัน Reset this PC ที่อยู่ใน Settings ของ Windows 10 ได้เลยโดยไม่ต้องฟอร์แมต SSD เพื่อลง Windows ใหม่

เมื่อตรวจสอบข้อมูลของชิปประมวลผลด้วยโปรแกรม CPU-Z ก็พบว่าข้อมูลขึ้นมาครบถ้วนเลย  แรงสุดๆ ด้วยโปรเซเสเซอร์ Intel Core i7 9750H รุ่นล่าสุดที่มีแกนประมวลผลแบบ 6 คอร์ 12 เธรด ให้ความเร็วสูงสุดถึง 4.5GHz และมี L3 cache ขนาดใหญ่ถึง 12MB รองรับการทำงานที่หลากหลายพร้อมๆกันได้อย่างดีเยี่ยมยิ่งขึ้น

GPU Z 1  GPU Z 2

กราฟิกการ์ดตัวแรกเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการใช้งานจอความละเอียดสูงมากกว่าการเล่นเกม

อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกตัวแรงที่เน้นความคุ้มค่าอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1650 ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซีแบบสบายๆ และแรงกว่า GTX 1050 Ti แบบรู้สึกได้จากการที่สามารถขับเฟรมเรทได้ลื่นไหล โดยเป็นรอง GTX 1660 Ti และแม้ไม่มีฟีเจอร์อย่างที่ใน RTX Series มี แต่ก็ตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว

cine

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

ssd2

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB แบบ M.2 NVMe ระดับกลางๆ แน่นอนว่าเร็วกว่า SSD M.2 SATA 3 แบบทั่วไป ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 1426 MB/s และเขียนที่ 971 MB/s ส่วนตัวถ้าใส่ NVMe ที่เร็วระดับ 2xxx – 3xxx MB/s มาจะดีมากๆ

PC10

การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 5348 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ และจากการที่เป็นโน๊ตบุ๊คเล่นเกมมีการ์ดจอแยกอย่าง GTX 1650 ทำให้มีคะแนนพุ่งกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปมากพอสมควร ระดับเทียบเท่า Desktop สบายๆ

game asus a571gt

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า 60 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-9750H ทำงานร่วมกับการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1650 ทำให้ประสิทธิภาพออกมาได้ดีเยี่ยม เทียบเท่า Gaming Notebook ตัวแรงแบบสบายๆ ทีเดียว

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Battlefield V/ FarCry 5 / GTA V ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ตามภาพด้านบน ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว โดย Battlefield V เปิด DX12 ทำให้ภาพสวยงาม แต่ก็กินทรัพยากรเครื่องพอตัวอยู่

เกมออนไลน์กินสเปกเบาๆ หน่อยอย่าง DOTA 2 / Overwatch รวมไปถึง PUBG ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 100 ขึ้นไปตลอด ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ก็ถือว่าเล่นได้สบายๆ แบบไร้กังวล

ที่สำคัญด้วยหน้าจอ พาเนล IPS แบบ 120Hz ทำให้เกมมีความลื่นไหลกับฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แบบสุดๆ หมดปัญหาภาพฉีก หรือภาพกระตุกไปเลย แต่นั่นก็ต้องอยู่กับตัวเกมด้วยว่าขับเฟรมเรทได้แค่ไหน ถ้าเกมกินสเปกหนักๆ 120Hz อาจไม่เห็นผลมากนักกับความลื่นไหล หรือเอาจริงๆ สำหรับเกมสไตล์ MOBA แค่ 60 FPS นิ่งๆ ก็เอาอยู่ หรือถ้าอยากให้วิ่ง 120Hz ก็จะปรับกราฟิกของเกมลงมากลางๆ หน่อย

a1

นอกจากนี้ทาง ASUS VivoBook A571GT เองก็ยังมีในส่วนของซอต์ฟแวร์ที่จะเป็นตัวช่วยในการใช้งานของเราอีกด้วยอย่าง MyASUS (เปิดเครื่องมาเจอเลย) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสเปกภายใน หรือเช็คสถานะการทำงานส่วนต่างๆ ของเครื่อง รวมไปถึงยังสามารถ ตรวจเช็คสถานะเครื่องกับข้อมูลแคชต่างๆ ก็ทำการลบทิ้งได้ตรงนี้เลย หรือเช็คอัพเดทซอฟ์ตแวร์และไดร์เวอร์ต่างๆ ของเครื่องก็สามารถทำผ่านตรงนี้ได้เช่นกัน ที่สำคัญยังเลือกปรับโหมดพัดลม การชาร์จ หน้าจอ และ Hotkey ได้อีกด้วย

Battery / Heat / Noise

batt2

แบตเตอรี่ของ ASUS VivoBook A571GT เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ตัวแบตเตอรี่มีความจุ mAh สามารถทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ประมาณ 4 ชั่วโมง ในการใช้งานแบบทั่วไป เช่น ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต หรืองานเอกสาร ผ่านการปรับเป็นโหมด Power Saver นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ตามมาตรฐานอยู่ ส่วนช่องระบายของโน๊ตบุ๊คตัวนี้จะอยู่ด้านบนบริเวณแกนพับหน้าจอ โดยออกแบบให้ซ่อนตัวเอาไว้ด้านหลังเวลาพับจอก็ไม่เห็นช่องระบายความร้อนเลย

temp

ทางด้านอุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 40 – 50 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่ด้วยการเล่นเกมยาวๆ หรือประมวลผลหนักๆจะเห็นว่า CPU จะร้อนที่สุดที่ 98 องศาเซลเซียส และ GPU อยู่ที่ 79 องศาเซลเซียส นับว่าเรื่องระบบระบายความร้อนของ ASUS VivoBook A571GT เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีประมาณนึง ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก ASUS ที่ออกแบบมาค่อนข้างดีพอตัว แม้ไม่ใช่ Gaming Notebook ก็ตาม อีกทั้งตัวเครื่องที่ยกตัวขึ้นก็ช่วยระบายความร้อน รวมไปตัวเครื่องเองก็ควบคุมความร้อนได้ดี ที่อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ทำให้การใช้งานจริงยาวนานต่อเนื่องแทบไม่ได้สัมผัสถึงความร้อนเลย

Conclusion / Award

ASUS VivoBook A571 Review NBS 31

มีความน่าสนใจจริงๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งรุ่นที่ทุกๆ คนให้ความสนใจอย่าง ASUS VivoBook A571GT ที่ต่อยอดความสำเร็จตระกูล ViviBook Series รุ่นก่อนๆ ได้เป็นอย่างดีมาพร้อมความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ภาพลักษณ์ วัสดุ งานประกอบ รวมไปถึงสเปคประสิทธิภาพและประสบการณ์ใช้งาน สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คราคาคุ้มค่าไม่แพงของทาง ASUS ซึ่งมาพร้อมกับสเปก Gaming แต่ดีไซน์ดูเรียบๆ ใครจะซื้อไปทำงานตัดต่อวีดีโอหรือเล่นเกมหนักๆ ทั้งออนไลน์หรือออฟฟไลน์ก็สบายมาก

ทางด้านราคา ASUS VivoBook A571GT เทียบกับสเปกที่ได้แล้วถือว่าไม่แพง ทำให้จับต้องจับจองได้ง่ายๆ สนนราคาที่ 27,990 – 32,990 บาท ซึ่งเหนือกว่าในเรื่องดีไซน์การออกแบบ ErgoLift ยกตัวเอียงให้สูงขึ้น และด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กขอบจอบางเทียบและมีหน้าจอขนาด 14 นิ้ว แต่มีขนาดมิติโดยรวมมีความเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 1.8 กิโลกรัมและบางเพียง 21.9 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่งผลให้พกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก แม้แบตเตอรี่จะใช้งานได้ 4 ชั่วโมง ก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้

ASUS VivoBook A571 Review NBS 2

นอกจากนี้ยังได้ชิปประมวลผล Core i7-9750H และการ์ดจอ GTX 1650 แรมที่ขนาด 16GB ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD M.2 NVMe หน้าจอมีความละเอียด Full HD พาเนล IPS แบบ 120Hz ที่มากกว่าคู่แข่งอื่นๆ ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมดีเยี่ยมนั่นเอง พร้อม Windows 10 แท้ใช้งานได้ทันที เหมาะกับคนต้องการโน๊ตบุ๊คใช้งานพื้นฐานทั่วไป รวมไปถึงเล่นเกม 3 มิติออนไลน์บ้าง พอที่จะใช้เป็นเครื่องหลัก แบบใช้เครื่องนี้เครื่องเดียวได้อยู่ แม้ประสิทธิภาพไม่แรงเท่าพวก Gaming Notebook แต่ถ้างานเอกสาร เล่นเน็ต ดูหนังฟังเพลง สบายๆ ลื่นไหลอยู่

ส่วนข้อสังเกตุก็มับ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความร้อนที่สุดที่เกิดขึ้นในส่วนของชิปประมวลผลที่ 98 องศาเซลเซียส ที่แม้จะดูว่าสูงหน่อยแต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับบที่รับได้และไม่มีผลใดๆ ต่อการใช้งาน รวมไปถึงพอร์ตการเชื่อมต่อ ยังคงให้มาตรฐานที่ USB 2.0 Type-A ที่ 2 ช่อง ทั้งๆ ที่ถ้าเป็นได้ให้มาเป็น USB 3.1 Type-A มาให้หมดไปเลยจะดูลงตัวกว่า ส่วนอื่นๆ ก็คงเป็นเรื่องของผิววัสดุตัวเครื่องที่เป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อย ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ก็พอที่จะเช็ดออกได้ไม่ยากอยู่ ซึ่งบางคนอาจจะไม่ซีเรียสเท่าไรก็ได้นะ

ASUS VivoBook A571 Review NBS 58

สรุปแล้วสำหรับ ASUS VivoBook A571GT ใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊คที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งในราคาที่คุ้มค่า เริ่มต้นไม่เกิน 30,000 บาท เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงเหมาะกับการทำงานทั่วไป หรือหนักๆ อย่างตัดต่อวีดีโอ ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก หรือถ้าจะเล่นเกมบ้างก็สามารถทำได้ดีลื่นไหล ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง สมราคาค่าตัว เหมาะกับคนที่งบถึงเงินถึงและต้องการประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าโน๊ตบุ๊คสเปกทั่วไป หรือกรณีที่อยากได้สเปกแรงแต่ไม่อยากได้ดีไซน์แบบ Gaming Notebook

การรับประกันก็ตามมาตรฐานของ ASUS ที่แม้ว่าจะไม่ออนไลน์อย่างหลายๆ แบรนด์ แต่ก็สามารถเคลมผ่านทาง 7-11 ได้สะดวกไม่แพ้กัน รวมไปถึงในปีแรกแค่เราลงทะเบียนก็จะได้ประกันอุบัติเหตุในปีแรก อย่าง Perfect Warranty แล้ว ถือว่าได้อยู่เพราะก็มีจุดเด่นต่างกันออกไป ให้เราได้ตัดสินใจเลือกอีกที

จุดเด่น

  • เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6 นิ้ว แต่มีขนาดตัวเครื่องเล็กเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 14 นิ้ว
  • ดีไซน์พิเศษบานพับ ErgoLift Hinge ช่วยให้ใช้งานดีขึ้น
  • หน้าจอมีความละเอียด Full HD พาเนล IPS แบบ 120Hz
  • ขอบจอบางเฉียบด้วย เทคโนโลยี Nano Edge บางพิเศษกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
  • ใช้งานจริงลื่นไหลแบบสุดๆ ด้วย i7-9750H + GTX 1650 + RAM 16GB + SSD 512GB
  • ประสิทธิภาพดีเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล จากผลการทดสอบน่าประทับใจ
  • คีย์บอร์ดใช้งานได้ดี มีไฟส่องสว่างใช้งานได้จริง
  • ลำโพง Harman Kardon เสียงคุณภาพดีกว่าทั่วไปแบบรู้สึกได้
  • อัพเกรด HDD 2.5″ ได้ภายหลัง
  • มีการเชื่อมต่อไร้สายแบบ Wi-Fi 6 AX ใหม่ล่าสุด
  • มี Windows 10 แท้มาให้พร้อมใช้งานทันที
  • ประกัน 2 ปีเคลมผ่าน 7-11 ได้ พร้อมประกันอุบัติเหตุ 1 ปีแรก

ข้อสังเกต

  • อุณหภูมิร้อนสุด สูงไปหน่อยในส่วนของ CPU
  • แบตเตอรี่น่าจะใช้งานยาวนานที่ 4 ชั่วโมง
  • ยังให้พอร์ต USB 2.0 Type-A ให้มา 2 ช่อง
  • วัสดุตัวเครื่องเป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อย

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS VivoBook A571GT ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Performance

ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-9750H ตัวแรงระดับ Gaming ประสิทธิภาพไว้ใจได้ พร้อมกราฟฟิการ์ดเล่นเกมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1650 (4GB GDDR5) ที่ทั้ง 2 อย่างนี้แรงเหลือเฟือในการใช้งานทั่วไป มีที่เก็บข้อมูลรองรับการติดตั้ง SSD 512GB ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 16GB แบบ DDR4 แน่นอนทั้งตัวเครื่องนั้นแทบไม่ต้องอัพเกรดอะไร ลื่นไหลที่สุดอย่างไร้กังวล รองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ กันได้หลายๆ งาน รวมถึงเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล

award new performance

Best Mobility

ส่วนของความสามารถในการพกพาของ ASUS VivoBook A571GT อยู่ในระดับที่ดีกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่ขนาดหน้าจอ 15.6″ ชัดเจน ทั้งในความบางและน้ำหนักเบาเพียง 1.8 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมอแดปเตอร์ก็เบาและเล็กกว่าปกติมากๆ ถือว่ามีการพัฒนาไปในทุกส่วน รวมแล้วหนักแค่ 2 กิโลกรัมเท่านั้น โดยสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที พกพาสะดวก เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ

NBS award 4 Mobility

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ VivoBook มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS VivoBook A571GT ยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโดดเด่น ให้มิติที่เล็กกระชับลงกว่าเดิม ขอบจอบางเฉียบ แต่มีการออกแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ออกแนวพรีเมียมและเรียบหรูมากยิ่งขึ้น ในราคาเบาๆ เน้นคุ้มค่า ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาเชื่อได้ว่าหลายๆ คนส่วนมากต้องชื่นชอบอย่างแน่นอน

NBS award 7 Design

 

 

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

ปัจจุบัน โน้ตบุ๊กกลุ่มที่เน้นดีไซน์บางเบามักจะมาพร้อมจุดเด่นคือแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากการเลือกใช้ชิปประมวลผลรุ่นประหยัดพลังงาน และอาจมีหน้าจอขนาดเล็กลงมาหน่อย เพื่อให้มีอัตราการกินไฟที่ลดลงเล็กน้อย แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่นชิป AMD Ryzen AI 9 HX 370 ที่เป็นชิปสมรรถนะสูง แต่ก็มีค่า TDP ที่ทำได้ต่ำกว่าชิปรุ่นก่อน ทำให้ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาลองว่าใน 1 วัน ผมจะสามารถใช้งาน ASUS...

CONTENT

ถ้าเรื่องน้ำหนักและดีไซน์เกมมิ่งไม่เป็นปัญหาและพร้อมลงทุนกับโน๊ตบุ๊คดีๆ สักเครื่อง ก็อยากแนะนำให้มาเลือกดูโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 เอาไว้ใช้เป็นคอมส่วนตัวสักเครื่อง เพราะนอกจากมันจะเล่นเกมได้ดีสมหน้าที่แล้ว ทางผู้ผลิตเองก็ติดตั้งซีพียู, จีพียูแยกพร้อมชุดระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงมาให้ ทำให้ทำงานได้ทุกแบบตั้งแต่งานออฟฟิศทั่วไปจนงานระดับครีเอเตอร์อย่างตัดต่อภาพกับวิดีโอได้ดีมาก ถ้าห่วงเรื่องดีไซน์ว่ามันจะดึงดูดสายตาคนอื่นเกินไป ก็มีตัวเลือกเป็นรุ่นพรีเมี่ยมหน้าตาเรียบหรูให้เลือกซื้อ นอกจากนี้ข้อดีของการซื้โน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 นอกจากของแถมและส่วนลดแล้ว การได้เลือกดูสินค้าไอทีจากหน้าร้าน ได้จับตัวจริงเช็คว่าสินค้าไม่มีปัญหาก่อนรับเครื่องได้ไม่พอ ยังหาซื้อหน่วยความจำมาอัปเกรดเพิ่มก่อนกลับบ้านและรับของสมนาคุณได้อีกหลายชิ้นอีกด้วยAdvertisement จะซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 ต้องดูเรื่องอะไรบ้าง? ข้อดีของการซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 นอกจากมีตัวเลือกเยอะแล้ว ยังสั่งอัปเกรด...

COMMART

ส่งท้ายปลายปี กับมหกรรมสินค้าไอทีสุดยิ่งใหญ่ของประเทศอย่าง Commart ครั้งนี้มาในชื่อ Commart Tech X Pro ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขปลายปี 2024 และ MSI หนึ่งในแบรนด์ที่อยู่คู่กับงานนี้มาโดยตลอด ครั้งนี้ได้ทำการขนกองทัพโน้ตบุ๊กตัวแรงสเปคสูงพร้อมโปรโมชั่นความคุ้มค่ากับดีล โปรเด็ด รุ่นโดน ลดสูงสุด 37% และของพรีเมี่ยมจัดเต็มรวมมูลค่าสูงสุดกว่า 10,800 บาท มารอให้แฟนๆ MSI ได้ขนกลับบ้านภายในงาน Commart tech X...

COMMART

รวมโปรคอมมาร์ท Commart TechXPro ครบเครื่องก่อนเข้างาน เช็คก่อนช็อปคุ้มกว่าเดิม!! ก่อนจะไปช็อปในงานขายสินค้าไอทีครั้งใหญ่สุดประจำปีอย่างงาน Commart TechXPro หลายคนก็มองหาหน้ารวมโปรคอมมาร์ทเก็บข้อมูลก่อนไปงานว่าสินค้าที่ต้องการขายอยู่บูธไหนซื้ออย่างไรถึงจะคุ้มก่อนไปงานเสมอ ซึ่งทางผู้จัดงานจะรวบรวมข้อมูลเอาไว้ให้บนหน้า Facebook กับเว็บไซต์ Commart เป็นประจำ ซึ่งปีนี้ก็ยังจัดงาน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เช่นเดิม สามารถเดินทางได้หลายวิธีไม่ว่าจะขับรถมา, นั่งรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ได้จึงมาร่วมงานได้สะดวกมาก รวมโปรคอมมาร์ทและข้อดีของการไปงาน Commart TechXPro...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก