Intel ถือเป็นเจ้าตลาดซีพียูที่ครองเบอร์ 1 ตลอดมา แม้ที่ผ่านมาคู่แข่งอย่าง AMD จะมีซีพียูออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถทำยอดขายได้ใกล้เคียงกับ Intel เลยแม้แต่น้อย ทำให้ AMD อยู่ได้แค่ตลาดล่างที่เน้นความคุ้มและยังไม่สามารถเจาะตลาดบนที่เน้นประสิทธิภาพได้เลย แต่ Intel ก็ยังเปลี่ยนซีพียูรุ่นใหม่กันปีต่อปี เทคโนโลยีใหม่บ้าง เอาของเก่ามาอัพสเปคบ้างกับแบบปีเว้นปี ก็ของมันขายดีไม่ต้องไปเร่งอะไรมาก แต่เมื่อการมาถึงของ AMD Ryzen ซีพียูที่พัฒนาขึ้นมาใหม่หมด เพิ่มคอร์ เพิ่มเทรดแบบไม่มีกั๊ก พร้อมเทคโนโลยีต่างๆที่อัดแน่นภายใน บวกกับราคาที่ไม่ได้แพงมากตามสไตล์ AMD ทำให้เป็นซีพียูที่ขายดีมากตั้งแต่เปิดตัวมาจนถึงทุกวันนี้ เบี่ยดส่วนแบ่งการตลาดที่ Intel ได้มากแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ Intel ต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว
เริ่มด้วย Intel ได้ทลายกำแพงเวลาการเปิดตัวซีพียูจากเดิมปีเว้นปี มาเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่อย่าง Core i Gen 8 เร็วขึ้นเป็นตุลาคม 2017 (ซึ่ง Core i Gen 7 ยังขายมาได้ไม่ถึงปี) พร้อมชื่อสถาปัตยกรรมใหม่ Coffee Lake แต่ยังเป็นเทคโนโลยีการผลิต 14 นาโนเมตร เหมือนเดิม แค่ให้ชื่อว่า 14 nm ++ และยังคงใช้ซ็อคเก็ต 1151 จาก Gen 7 โดยเปลี่ยนชิปเซ็ตใหม่ แต่ใส่ข้ามรุ่นกันไม่ได้นะครับ และด้วยสถาปัตยกรรมใหม่ก็ทำให้ Intel ทลายกำแพงอีกอย่างคือการเพิ่มคอร์เพิ่มเทรดให้มากขึ้นเที่ยบชั้นคู่แข่งจากรุ่นเดิมที่มีเพียง 2 – 4 คอร์ ก็เพิ่มเป็น 4 – 6 คอร์ พร้อมกับความเร็วซีพียูที่เพิ่มขึ้นมาถึง 5.0 GHz ในรุ่น 8086K ที่ถือเป็นซีพียูรุ่นสุดท้ายใน Gen 8 ก็ว่าได้
และเหมือนดั่งฟ้าสั่งสวรรค์แกล้ง ยังไม่ถึงปีก็มีข่าว Core i Gen 9 หลุดมาแล้ว สเปคราคาพร้อมสรรพ ทำให้ผู้ใช้ Core i Gen 8 ร้อนๆหนาวๆกันไป จนสุดท้าย Intel ก็ได้ประกาศเปิดตัว Core i Gen 9 อย่างเป็นทางการในช่วงเวลาที่ครบรอบ 1 ปีหลังจากเปิดตัว Core i Gen 8 พอดีเลยโดยล๊อตแรงมาพร้อมกัน 3 ศรีพี่น้อง
- Core i9-9900K: 8 cores / 16 threads, 3.6GHz to 5GHz, 16MB L3 cache, 95W TDP
- Core i7-9700K: 8 cores / 8 threads, 3,6GHz to 4.9GHz, 12MB L3 cache, 95W TDP
- Core i5-9600K: 6 cores / 6 threads, 3.7GHz to 4.6GHz, 9MB L3 cache, 95W TDP
ในส่วนของเมนบอร์ดนั้นก็ได้ประกาศเปิดตัวชิปเซ็ตใหม่อย่าง Intel Z390 ที่จะเข้ามาเป็นตัวท๊อปแทบ Intel Z370 โดย Intel Z390 จะสามารถใส่ซีพียู Core i Gen 8 ได้ด้วย ส่วนเมนบอร์ดรุ่นเก่าทั้ง Z370 B360 H370 H310 ก็สามารถใส่ซีพียู Core i Gen 9 เพียงแค่อัพเดทไบออสเท่านั้น
โดยวันนี้ผมขอโฟกัสที่ตัวท๊อปอย่าง Intel Core i9-9900K ที่ทีมงานได้มารีวิวในวันนี้ ซึ่งเป็นซีพียูที่เรียกได้ว่ามีสเปคสูงที่สุดของ Intel ที่ขายในกลุ่มตลาดผู้ใช้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น 8 คอร์ และเทรดถึง 16 พร้อมแคชอีก 16 MB และเพิ่มความเร็วบูธได้สูงสุดที่ 5 GHz บน 2 คอร์ การใช้พลังงาน 95 W รองรับแรม 64GB ส่วนเทคโนโลยีการผลิตยังเป็น 14 nm Coffee Lake เหมือนเดิมไม่ได้มีสถาปัตยกรรมที่ต่างจาก Gen 8 แต่อย่างใด
- CPU : Intel® Core™ i9-9900K Processor (16M Cache, up to 5.00 GHz)
- CPU : Intel® Core™ i7-8700K Processor (12M Cache, up to 4.70 GHz) (ทดสอบเทียบ)
- HEATSINK : COOLER MASTER Hyper 212 LED
- M/B : ASUS ROG MAXIMUS XI CODE
- RAM : CORSAIR VENGEANCE® RGB 16GB (2 x 8GB) DDR4 3000MHz
- VGA : ASUS Dual GeForce® RTX 2080 Ti OC edition 11GB GDDR6
- SSD : HyperX Predator PCIe SSD 480 GB
- PSU : Thermaltake Toughpower Grand RGB 1200W Platinum
CPU-Z
สเปคซีพียู Intel® Core™ i9-9900K ยังคงมาพร้อมเทคโนโลยีการผลิต 14nm (Coffee Lake) เหมือนเดิม มี 8 คอร์ 16 เทรด พร้อมหน่วยความจำแคช L3 ถึง 16M โดยมีความเร็วเริ่มต้น 3.6 GHz โดยสามารถบูธไปได้สูงสุดที่ 5.00 GHz แต่โดยเฉลี่ยจะวิ่งอยู่ที่ 4.6 GHz
เมนบอร์ดที่ใช้ทดสอบเป็น ASUS ROG MAXIMUS XI CODE ที่มาพร้อมชิปเซ็ต Intel Z390 ตัวใหม่ล่าสุด เมนบอร์ดตัวนี้สวยงาม ฟีเจอร์จัดเต็ม ส่วนแรมเป็น CORSAIR VENGEANCE® RGB 16GB (2 x 8GB) DDR4 3000MHz สีขาวตัวคุ้ม สวยดีไม่น้อย รองรับการใช้งานเมนบอร์ดและซีพียูใหม่ได้เต็มประสิทธิภาพ
CPU-Z Bench
มาถึงการทดสอบแรกของ i9-9900K บน CPU-Z เทียบกับตัวเคยท๊อปอย่าง i7-8700K ในส่วนของ Single Thread ต่างเพียงแค่ 3% เท่านั้น เรียกได้ว่าแทบไม่ต่างกันเลย เพราะฉะนั้นเกมส่วนใหญ่ที่ใช้เทรดไม่เยอะจึงแทบไม่มีผลเลย แต่ผลทดสอบ Multi Thread ต่างกันมากเลยทีเดียว ด้วยคอร์และเทรดที่มากกว่าทำให้เหมาะกับท่านที่ต้องการใช้งานร่วมกับโปรแกรมที่ใช้เทรดเป็นจำนวนมาก เช่นการแรนเดอร์วีดีโอหรือใช้งานกับเกมที่ใช้งานหลายเทรดถึงจะเห็นผลความต่างที่ชัดเจน
แต่เมื่อลองเทียบ Intel Core i9-9900K กับตัวแรงค่ายคู่แข่งอย่าง AMD Ryzen 7 2700X ซึ่งมี 8 คอร์ 16 เทรด เหมือนกันทำให้ผลการทดสอบในส่วนของ Multi Thread ไม่ต่างกันมากนัก แต่ i9-9900K ก็ยังทำคะแนนได้สูงกว่าพอสมควรส่วนหนึ่งน่าจะด้วยความเร็วซีพียูต่อคอร์ที่ลูงกว่า แน่นอนว่าแรนเดอร์วีดีโอหรือใช้งานโปรแกรมอื่นที่ใช้งานมัลติเทรด i9-9900K สามารถทำงานได้เร็วกว่า ส่วน Single Thread ต่างกันเพียงแค่ 16% ไม่เยอะมาก แต่ก็เห็นความต่างอยู่ด้วยความเร็วที่สูงสุดถึง 5.0 GHz สรุปว่า Intel Core i9-9900K แรงกว่าจริง แต่ราคาค่าตัวก็ต่างกันเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว
CINEBENCH R15
CINEBENCH R15 สามารถทำคะแนนได้สูงมากเหนือกว่าซีพียูตัวเก่าเกือบทั้งหมด แม้กระทั่ง Xeon X5650 ที่มีคอร์และเทรดมากกว่า ส่วนหนึ่งด้วยความเร็วซีพียู i9-9900K ที่สูงกว่ามาก
ความร้อน
ทีมงานทดสอบที่อุณหภูมิห้องราวๆ 30 องศาเซลเซียส ราวๆ 30 นาที โดยที่ไม่เปิดแอร์
มาถึงก็เปิดตัวการเบิร์นซีพียูหนักพร้อมกัน 16 เทรดทดสอบการทำงานเต็มประสิทธิภาพ ตามข่าวที่บอกว่ามีการบัดกรีในกระดองซีพียู อุณหภูมิที่ออกมาเรียกได้ว่าร้อนแรงมาก เพราะอุณหภูมิขึ้นไปแตะถึงระดับ 99-100 องศาเซลเซียส เลยทีเดียวแม้จะเป็นซิงค์ระบายความร้อนขนาดใหญ่อย่าง COOLER MASTER Hyper 212 LED แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้ปรกตินะครับแม้จะร้อนขนาดนี้ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้ซีพียูตัวนี้ต้องเป็นซิงค์ระบายความร้อนขนาดใหญ่ และใช้พัดลมคู่ หรือาจจะต้องตัดใจใช้ชุดระบายความร้อนด้วยน้ำไปเลย แต่อย่างน้อยต้องเป็นแบบหม้อน้ำ 2-3 ตอน ถึงจะเอาอยู่
ไหนๆก็ลองแล้วเลยลองเบิร์นที่ 2 คอร์ เพื่อให้ได้ความเร็วบูธสูงสุดที่ 5 GHz ซึ่งก็สามารถทำได้จริง และทำความร้อนได้อยู่ในระดับที่ดี เฉลี่ย 65-70 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นถ้าใช้งานเล่นเกม หรือโปรแกรมใช้งานทั่วไปที่ใช้งานแค่ไม่กี่เทรดถือว่าสบายๆไม่ร้อนมาก
สรุปภาพรวมทดสอบ Intel Core i9-9900K vs Intel Core i7-8700K
สรุปส่งท้าย
รีวิว Intel Core i9-9900K ต้องยอมรับว่าเป็นซีพียูสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่แรงมาก แรงที่สุดในตลาดตัวหนึ่งก็ว่าได้ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 5 GHz พร้อมอัพเกรทเป็น 8 คอร์ 16 เทรด สำหรับท่านที่ต้องการประสิทธิภาพที่ดีที่สุดไม่ว่าจะแรนเดอร์วีดีโอ เล่นเกม หรืองานที่ต้องการประมวลผลซีพียูหนักๆท่านได้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพแน่นอน แต่แน่นอนความแรงนี้มาพร้อมความร้อนที่สูงมากเช่นกันระดับ 100 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้งานซีพียูตัวนี้ก็ต้องหาชุดระบายความร้อนดีๆด้วย
ทดสอบเล่นเกมของตัว Intel Core i9-9900K ให้ประสิทธิภาพที่สูงสุดจริงๆ สมกับการเป็นซีพียูที่ออกแบบมาเพื่อการเล่นเกมจริงๆ และการใช้งานที่เน้นความเร็วซีพียูสูงๆ ให้เฟรมการเล่นเกมดีที่สุดจริงๆ เมื่อเทียบกับ i7-8700K ซีพียูตัวคุ้มสำหรับการเล่นเกม ก็ให้ประสิทธิภาพที่ต่างกันพอสมควรระดับ 10++ เฟรม โดยที่ต่างกันเพียงซีพียูเท่านั้น การ์ดจอ เมนบอร์ดอื่นๆเหมือนกันหมด สำหรับท่านที่ต้องการเล่นเกม Intel Core i9-9900K ก็ถือเป็นซีพียูที่จัดว่าช่วยให้เล่นเกมได้ดีที่สุดจริงๆ
แต่เมื่อพูดถึงความคุ้มค่าแล้วต้องบอกเลยว่า Intel Core i9-9900K ไม่ใช่ซีพียูที่คุ้มค่ามากนักถ้าเทียบกับราคาค่าตัวที่เปิดในบ้านเราถึง 21,500 บาท แพงกว่า i7-8700K ถึง 5,000 บาท และแพงกว่า AMD Ryzen 7 2700X เกือบเท่าตัว ในประสิทธิภาพที่ไม่ได้ต่างกันมากนักเมื่อเที่ยบกับราคา
Intel Core i9-9900K มาในราคาค่าตัวที่มีบางร้านปล่อยมาสูงถึง 21,500 บาท จึงอาจจะไม่ใช่ซีพียูสำหรับท่านที่ต้องการความคุ้มค่าเท่าไรนัก แต่ถ้าท่านต้องการซีพียูที่แรงที่สุดในท้องตลอดเพื่อการให้งานต่างๆไม่ว่าจะเป็นการแรนเดอร์วีดีโอ แปลงไฟล์ หรืองานระดับเวิร์คสเตชั่น ไปจนถึงการเล่นเกม Intel Core i9-9900K ก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดีไม่แพ้ซีพียูระดับเวิร์คสเตชั่นเลยทีเดียวสมกับเป็นซีพียูสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่แรงที่สุดในวันนี้
จุดเด่น
- ซีพียูมีความเร็วสูงมากถึง 5 GHz
- 8 คอร์ 16 เทรด ช่วยให้ทำงานมัลติเทรดได้ดี
- เหมาะกับสายตัดต่อและแรนเดอร์งานที่ต้องการความเร็วและเทรดเยอะๆ
- ซีพียูที่ดีที่สุดสำหรับการเล่นเกมตามที่ออกแบบมาจริงๆ
ข้อสังเกตุ
- มีราคาสูงมาก
- มีความร้อนสูง
- สเปคต่อราคายังไม่ค่อยคุ้มค่า