Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

[Lenovo Review] ThinkPad P70 ไปให้สุดของ Mobile Workstation กับชิป Xeon + Quadro

Lenovo ThinkPad P70 มาพร้อมหน้าจอแสดงผล 17.3 นิ้ว ให้ความละเอียดระดับ Ultra HD 4K โดยใช้ชิปประมวลผล Intel Xeon สถาปัตยกรรม Skylake มาใช้บนโน๊ตบุ๊ค ที่มากับการรองรับแรมได้สูงถึง 32GB

อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คนกับโน๊ตบุ๊คที่มาในรูปแบบของ Mobile Workstation ซึ่งจัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ เรียกว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะสำหรับมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ 3 มิติ งานตัดต่อวีดีโอ งานโปรเซสภาพ หรืองานอื่นๆ อย่างการสร้างเกมหรือเขียนโปรแกรมขั้นสูง โดยที่ผ่านมา Lenovo ThinkPad ก็นำเสนอในส่วนของ Mobile Workstation  มาโดยตลอด

Lenovo ThinkPad P70 มาพร้อมหน้าจอแสดงผล 17.3 นิ้ว ให้ความละเอียดระดับ Ultra HD 4K โดยใช้ชิปประมวลผล Intel Xeon สถาปัตยกรรม Skylake มาใช้บนโน๊ตบุ๊ค ที่มากับการรองรับแรมได้สูงถึง 32GB และพื้นที่จัดเก็บ 512GB ในแบบ SSD พร้อมด้วยการเชื่อมต่อผ่าน PCI-e เพื่อประสิทธิภาพในการอ่านและเขียนข้อมูลทำงาน ในด้านการประมวลผล 3 มิติ ที่ใช้สำหรับเรนเดอร์ไฟล์กราฟฟิกในงาน 3D แบบจริงจัง มีตัวเลือกสำหรับการทำงานของ NVIDIA Quadro M5000M ขนาดแรมภายใน 8GB โดยทั้งหมดระบายความร้อนด้วยพัดลมแบบคู่ เพื่อป้องกันไม่ให้ภายในระบบร้อนจนเกินไป จากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

Advertisement

Specification

Lenovo ThinkPad P70 เป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ขนาดมาตรฐาน เมื่อเทียบกับ Mobile Workstation ทั่วไป จัโดยมีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Xeon E3-1505M หน่วยประมวลผลใน Generation 6 หรือ Skylake นั่นเอง มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล 4 คอร์ 8 เธร์ด มีความเร็วอยู่ที่ 2.8 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 3.7 GHz มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 64GB (16GB x 4) ในรูปแบบของ DDR4L บัส 2133 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 512 GB

สำหรับการ์ดจอนั้นทาง Lenovo ThinkPad P70 เลือกที่จะใช้การ์ดจอ NVIDIA Quadro M5000M ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถรองรับการทำงานได้ในระดับที่ดี จอแสดงผลขนาด 17.3 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนล IPS ที่เพิ่มความแม่นยำและความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด ตัวจอมีความละเอียดแบบ Full HD 1920 x 1080 พิกเซล พร้อมด้วย HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร

นอกจากนี้Lenovo ThinkPad P70 ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง Dolby Home Theater และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0, LAN, SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์, DisplayPort, D-Sub, Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) และ Smart card reader สนนราคาก็รุ่นที่ได้รับมาจะอยู่ที่แสนบาทกลางๆ

Hardware / Design

Lenovo ThinkPad P70 Review-1

ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo ThinkPad P70 จะมีการต่อยอดการผลิตจากไลน์ของ ThinkPad แบบเดิมๆ ด้วยที่เป็นซีรี่ส์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกันกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ แต่มีอีกหลายจุดที่ตัว Lenovo ThinkPad P70 ได้ปรับปรุงให้รุ่นใหม่นี้มีความแตกต่างไปจากเดิมพอสมควร จะว่าเหมือนกับรุ่นก่อนหน้าเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะด้วยความที่ไม่ใช่โน๊ตบุ๊คปกติทั่วไป แต่เป็นในส่วนของ Mobile Workstation ระดับสูงนั่นเอง

วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงและแมกนีเซียมอัลลอยด์ ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวซอฟท์ทัชให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค Mobile Workstation สไตล์ ThinkPad ทำให้นับได้ว่า Lenovo ThinkPad P70 เป็นโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการทำงานโปรเซสหนักๆ อย่างแท้จริง

ส่วนของตัวเครื่องความบางและน้ำหนักนั้น เรียกได้ว่าไม่อยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เหมาะในการพกพาไปไหนมาไหนบ่อยๆ เลย เพราะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก และสำหรับการออกแบบบานพับขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับกลับ 360 องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน ตามประการณ์ตรงที่ Lenovo ทำได้ดีมาโดยตลอด

Lenovo ThinkPad P70 Review-31

โดยบานพับขาจอนั้นเป็นวัสดุโลหะแมกนีเซียมเหมือนกับที่ใช้ในโครงสร้างของตัว Lenovo ThinkPad Series ด้วย โดยออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อน ต้องกล่าวว่าเป็นบานพับขารองรับจอที่แข็งแรงมากที่สุดอีกรุ่น และการพับจอกลับไปมาได้หลากหลาย ส่วนด้านใต้ของตัวเครื่องจากการที่เป็นวัสดุซอฟท์ทัช ออกแบบมาให้สามารถจับถือได้สะดวกไม่หลุดมือง่ายๆ ตามมาตรฐานของ Lenovo ThinkPad Series เรียกได้ว่าน่าประทับใจจริงๆ

 

Keyboard / Touchpad

Lenovo ThinkPad P70 Review-5

ส่วนคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad P70 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี

โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น ในด้านการใช้งานปกติทั่วไปก็พบว่าตัวคีย์บอร์ดแบบ AccuType ตอบสนองกับการพิมพ์ แบบงานเอกสารได้ดีพอสมควร

นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad P70 ก็ไม่ลืมที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับ TrackPad ขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 6 ปุ่มได้เป็นอย่างดี ในส่วนของ TrackPad ที่มีขนาดใหญ่โต ก็ สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi Gesture บน Windows 10 ได้ดี ยิ่งถ้าใช้งาน TrackPoint และ TrackPad ควบคู่กันไปด้วยจะยิ่งใช้งานได้ไวมากขึ้น

Screen / Speaker

Lenovo ThinkPad P70 Review-4

ด้านหน้าจอแสดงผล Lenovo ThinkPad P70 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดใหญ่ถึง 17.3 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด Full HD ที่ 1920 x 1080 พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ

ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดีด้วยพาเนลจอแบบ IPS ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพาเนลเกรดที่สูงที่เหมาะสมกับงานมืออาชีพ เพราะให้สีสันตรงสุดๆ ระดับที่ใกล้เคียงกับ sRGB มาพร้อมกับมุมมองที่ 180 องศา แบบว่ามองมุมไหนสีสันก็ไม่เพี้ยนเลย

ที่สำคัญโดดเด่นและแตกต่างด้วยเซ็นเซอร์คาลิเบรทหน้าจออย่าง Pantone ติดตั้งมาในตัวด้วย เพื่อที่จะคอยคาลิเบรทสีสันให้ตรงกับการใช้งานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าเจ๋งจริงๆ เพราะไม่ต้องไปอาศัยตัวคาลิเบรทภายนอกเลย ส่วนการใช้งานก็ง่ายมากๆ เพียงเปิดโปรแกรมคาลิเบรทและพับฝาจอลงมาเท่านั้น รอซักครู่เครื่องก็จะคาลิเบรทให้เราเรียบร้อย

บริเวณที่ตัวของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนๆ ญาติๆ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้างาน

โดยลำโพงมาพร้อมกับมีกำลังขับที่ดังกังวาล ส่วนเสียงเบสหรือเสียงต่ำก็อยู่ถือในระดับทั่วๆ ไป โดยตำแหน่งของลำโพงนั้นจะอยู่บริเวณเหนื่อแป้นพิมพ์ของตัวเครื่อง ที่ออกแบบมาได้เรียบง่ายแต่เข้ากับตัวเครื่องได้เป็นอย่างดี โดยให้เสียงที่พอใช้ได้เหมาะกับการฟังเพลงสบายๆ ในแบบเพลง Jazz หรือ Easy Listening เพราะให้เสียงกลาง และสูงได้ค่อนข้างเด่น แต่มีเสียงทุ้มที่หายไปบ้าง สรุปแล้วถือว่าดีกว่ารุ่นก่อนแบบรู้สึกได้

Connector / Thin And Weight

Lenovo ThinkPad P70 Review-35

ถึงแม้ Lenovo ThinkPad P70 มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่พอร์ตเชื่อมต่อมีมาให้ครบครันมากมายระดับนึง โดยช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์แบบหัว 4 เหลี่ยม (มาตรฐาน โน๊ตบุ๊ค Lenovo สมัยนี้) ที่มีความคล้ายคลึงกับพอร์ต USB มากต้องดูดีๆ นะครับถ้าดันทุรังไปเสียบอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้, พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.0 จำนวน 4 พอร์ต ที่มาพร้อมกับการสนันสนุนในเรื่องของการจ่ายไฟที่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถชาร์จสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้พลังงานเต็มที่อย่างรวดเร็ว

และช่องเชื่อมต่อเสียงภายนอกขนาดมาตรฐานที่ 3.5 มิลลิเมตร ซึ่งรองรับการใช้งานไมค์และหูฟังในช่องๆ เดียว ตามสมัยนิยม รวมไปถึงมีพอร์ตเชื่อมต่อ HDMI และ Mini DisplayPort ไว้เชื่อมต่อหน้าจอภายนอก โดยสามารถเชื่อมต่อได้พร้อมๆ กัน ที่สำคัญยังมีในส่วนของ Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) จำนวน 2 พอร์ต และ Smart card reader อีกด้วย (ไดร์ฟ DVD-RW ก็ติดตั้งมาให้อยู่)

นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเชื่อมต่อกับ Docking ได้เหมือนกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ ส่วนการพอร์ตอื่นๆ ยังมี Card Reader ตามมาตรฐาน ส่วนบริเวณด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดนั้นก็จะพบกับ Finger Print Reader สำหหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยลายนิ้วมือ ที่ต้องบอกว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่ที่เจ๋งมากๆ เพราะทำงานได้รวดเร็วพอๆ กับ Touch ID ของ iPhone 6s เลยล่ะ

Performance / Software

ชิปประมวลผล Lenovo ThinkPad P70 เลือกใช้เป็น Intel Xeon E3-1505M ตัวแรงบนเครื่องโน๊ตบุ๊ค สถาปัตยกรรม Skylake ที่มีความเร็วในการประมวลผล 2.8 GHz ที่สามารถเร่งความเร็วด้วย Turbo Boost ได้สูงสุด 3.7 GHz มีหน่วยความจำ L3 Cache 4MB โดยเป็นแบบ 4 Core 8 Threads พร้อมทั้งมีค่าอัตราการกินไฟสูงสุดแค่ 45W ส่วนระดับสถาปัตยกรรมก็อยู่ที่ 14nm ส่วนหน่วยความจำแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 64GB DDR4 Bus 2133MHz แบบ Dual Channel ที่เรียกว่าจัดเต็มทีเดียว (รองรับสูงสุด 64GB)

cpuz

ด้านของหน่วยประมวลผลกราฟิกก็จะเป็น NVIDIA Quadro M5000M ที่มีหน่วยความจำแรมภายในตัวขนาด 8GB แบบ DDR5 (จัดว่าเป็นกราฟิกการ์ดตัวหนึ่งในระดับบนสูง) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนความละเอียดหน้าจอระดับ 1920 x 1080 พิกเซล บนLenovo ThinkPad P70 ที่จากการตรวจสอบ รวมไปถึงยังทำงานร่วมกับการ์ดจอออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 530 ตามแต่ลักษณะการใช้หรือการปรับแต่งของเรา

gpuz

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

cin

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB แบบ NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าระดับเก็บ 2,000MB/s

ssd

สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้มากกว่าโน๊ตบุ๊คยุคก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน โดยได้คะแนนอยู่ที่ 34145 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 394.05FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank A ทีเดียว ซึ่งสำหรับเกมที่ไม่ได้กินทรัพยากรมากมายอะไร ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ Lenovo ThinkPad P70 เครื่องนี้ก็พร้อมตอบสนองความสุขของทุกคนได้เป็นอย่างดี

StreetFighterIV_Benchmark 2016-05-09 12-52-39-48

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Resident Evil 6 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับที่ High  ภาพก็สวยจนน่าประทับใจสุดๆ อยู่ในระดับ Rank S นับว่าใช้ได้ทีเดียว ซึ่งดูจากเฟรมเรทแล้วรองรับสูงสุดที่  60FPS ได้อย่างสบายๆ อย่างไรก็ตามอาจจะไม่ถึงขั้นดีมากกับเกมที่กินสเปกหนักๆ แต่ก็พอจะตอบสนองความต้องการได้บางส่วน ยังไงอย่าลืมว่า Lenovo ThinkPad P70 ไม่ได้ถูกออกแบบให้เล่นเกมอยู่แล้ว

RE6 2016-05-09 12-47-19-83

อีกเกมหนึ่งที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ Full HD พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทอยู่ที่ประมาณ 60+ แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ  ซึ่งในการทดลองเล่นเกม DOTA 2 ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง

dota2 2016-03-31 14-04-51-38

อีกหนึ่งจุดเด่นสำหรับ Lenovo ThinkPad P70 นั่นก็คือตัวซอฟแวร์ต่างๆ ที่บันเดิลมาให้กับเครื่องที่มีมามากมาย และพิเศษกว่าใครทั้ง Lenovo Solution Center, Lenovo Setting, Lenovo QuickControl (ไว้ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน) และอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับซอฟแวร์ตัวแรกอย่าง Lenovo Solution Center นั้นจะเป็นซอฟแวร์ที่ไว้คอยจัดการระบบโดยรวมๆ ของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad T450 ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การตรวจความปลอดภัยโดยรวมของตัวเครื่องว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่, มีแพซต์ใหม่ๆให้อัพเดทหรือเปล่า รวมไปถึงการเช็คสถานะอุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือเปล่าฮาร์ดดิสก์เต็มไหม หรือแม้แต่แบคอัพข้อมูล-คื่นค่าระบบก็ย่อมได้

Screenshot (5)

ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Setting ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง และ Fingerprint ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย

ตัวอย่างการทำงานที่โดยส่วนตัวใช้เป็นประจำก็คือการโปรเซสภาพถ่ายด้วยโปรแกรม Lightroom ที่เมื่อทำงานบน Lenovo ThinkPad P70 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ทำออกมารองรับการแสดงภาพแบบ Full HD ได้เต็มรูปแบบ ไม่ว่าเป็นตัวอักษร หรือภาพถ่ายก็มีความคมชัด ซึ่งกรณีที่ขยายภาพก็ยังมีความคมชัดอยู่

Lr copy

แน่นอนว่าด้านการประมวลผลตัวโปรแกรมเองก็ได้ดึงประสิทธิภาพการทำงานของตัวเครื่องอย่างเต็มที่เช่นกัน ที่ดูจากภาพจะเห็นถึงการใช้งานแรมไปจนเกือบหมด จากที่ตัวเครื่องมีอยู่ 64GB ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงระบบการทำงานของโปรแกรมและระปฏิบัติการว่าสามารถดึงความสามารถจากสเปกที่มีมาให้อย่างเต็มที่ เพื่อการทำงานให้รวดเร็วสุงสุด ทั้งการโปรเซสและ Export




Battery / Heat / Noise

batt

โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ Lenovo ThinkPad P70 นั้น จะเป็นแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้เกือบ 9 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ แล้วทางผู้เขียนพบว่า สามารถใช้งานได้จริงๆ ก็ราวๆ 5 – 7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของการประมวลผล ซึ่งก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีของ Mobile Workstation แต่ถ้าใครกลัวว่าแบตเตอรี่ไม่พอใช้งาน ก็สามารถหาซื้อ Docking เพิ่มแบตเตอรี่มาใช้ก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอาจจะถือว่าทำได้ดีทีเดียว สำหรับ Mobile Workstation หน้าจอ 17.3 นิ้ว

temp

อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 35 – 85 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 85 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo ThinkPad P70 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร นับว่า Mobile Workstation เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก HP ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง

Conclusion / Award

Lenovo ThinkPad P70 Review-50

Lenovo ThinkPad P70 โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพสไตล์ Mobile Workstation ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ Lenovo เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Xeon “Skylake” ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน เทียบเท่าระดับพีซี มีแรม DDR4 บัส 2133 ที่ใส่มาให้ถึง 64GB (16GB x 4) พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูงเทคโนโลยี NVMe ความจุ 512GB

รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro M5000M ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง Lenovo ThinkPad P70 ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 17.3 นิ้ว ความละเอียด Full HD ใช้พาเนลจอแบบ IPS ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Lenovo ThinkPad P70 Review-3

และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ Lenovo ThinkPad P70 ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมไปถึงมี Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือ 10 ลิขสิทธิ์ เราสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการและโปรแกรมของเราที่รองรับ

เรียกได้ว่า HP นั้นมองขาดจริงๆ ผู้เขียนจึงถือว่า Lenovo ThinkPad P70 เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย Lenovo ThinkPad P70 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค ในขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้ว สนนราคาระดับหนึ่งแสนบาทขึ้นไป มาพร้อมการรับประกันแบบ 3 ปี On-site Service

ซึ่งเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ อาจจะดูว่าราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่สามารถทำให้สร้างรายได้แน่นอน สำหรับคนที่ต้องการจะซื้อมาใช้งาน เหมาะมากๆ กับคนที่ต้องการใช้งาน Mobile Workstation ที่ยังเต็มประสิทธิภาพ เต็มประสบการณ์ แต่ใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสบายๆ

Lenovo ThinkPad P70 นั้นยังคงความเป็น ThinkPad ให้เห็นอยู่คือดูแล้วเหมาะกับการใช้งานสำหรับวิศวกร สถาปัตย์ นักตัดต่อวีดีโอ หรือผู้ใช้ระดับมืออาชีพครับ ด้วยความที่ว่าสเปกนั้นแรงมากๆ ประกอบกับราคาก็ไม่ใช่ถูก แน่นอนว่าคงไม่มีใครซื้อมาเล่น Facebook อย่างแน่นอน แต่จะเป็นเรื่องของการสร้างงานสร้างรายได้ ดีไม่ดีโปรเจคนึงอาจจะได้ค่าเครื่องคืนแล้วด้วยซ้ำ

จุดเด่น

  • ตัวเครื่องแข็งแรงทนทานตามสไตล์ของ Lenovo ThinkPad
  • ขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้ว ความละเอียด Full HD พาเนล IPS สวยงามเป็นธรรมชาติ
  • ประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมากๆ ด้วย Intel Xeon และ NVIDIA Quadro M5000M
  • ระบบระบายความร้อนทำได้ดี จากการออกแบบและพัดลมคู่
  • มาพร้อม Finger Print Reader รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว
  • เซ็นเซอร์คาลิเบรทหน้าจออย่าง Pantone ติดตั้งมาในตัว
  • พอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C), Smart Card Reader และ DisplayPort
  • ราคาต่อประสิทธิภาพสามารถปรับได้ตามต้องการ
  • รองรับการใช้งานทั้ง Windows 7 และ Windows 10

ข้อสังเกต

  • ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง และโน๊ตบุ๊ค Workstation ขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad P70 ก็ได้รางวัลดังนี้

 

Best Technology

เซ็นเซอร์คาลิเบรทหน้าจออย่าง Pantone ติดตั้งมาในตัว ทำให้สะดวกสบายมากๆ ในการคาลิเบรท ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง คมชัดในทุกมุมมอง แถมยังมาพร้อม Finger Print Reader รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว ที่ต้องบอกว่ามีความไวพอๆ กับสมาร์ทโฟนรุ่นบนๆ ที่มีฟีเจอร์สแกนลายนิ้วมือเลย รวมไปถึงมีพอร์ตความเร็วสูงแห่งอนาคตอย่าง Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C)

award use 2 create 16

Best Performance

ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core Xeon ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 32GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยม NVIDIA Quadro M5000Mรวมไปถึง SSD คาวมเร็วสูงด้วย NVMe ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกระดับพีซีเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย

award use 2 create 05

 

Ultrabook, Celeron, Celeron Inside, Core Inside, Intel, Intel Logo, Intel Atom, Intel Atom Inside, Intel Core, Intel Inside, Intel Inside Logo, Intel vPro, Itanium, Itanium Inside, Pentium, Pentium Inside, vPro Inside, Xeon, Xeon Phi, and Xeon Inside are trademarks of Intel Corporation in the U.S. and/or other countries.

Specification

Lenovo ThinkPad P70 เป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ขนาดมาตรฐาน เมื่อเทียบกับ Mobile Workstation ทั่วไป จัโดยมีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Xeon E3-1505M หน่วยประมวลผลใน Generation 6 หรือ Skylake นั่นเอง มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล 4 คอร์ 8 เธร์ด มีความเร็วอยู่ที่ 2.8 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 3.7 GHz มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 64GB (16GB x 4) ในรูปแบบของ DDR4L บัส 2133 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 512 GB

สำหรับการ์ดจอนั้นทาง Lenovo ThinkPad P70 เลือกที่จะใช้การ์ดจอ NVIDIA Quadro M5000M ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถรองรับการทำงานได้ในระดับที่ดี จอแสดงผลขนาด 17.3 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนล IPS ที่เพิ่มความแม่นยำและความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด ตัวจอมีความละเอียดแบบ Full HD 1920 x 1080 พิกเซล พร้อมด้วย HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร

นอกจากนี้Lenovo ThinkPad P70 ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง Dolby Home Theater และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0, LAN, SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์, DisplayPort, D-Sub, Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) และ Smart card reader สนนราคาก็รุ่นที่ได้รับมาจะอยู่ที่แสนบาทกลางๆ

Hardware / Design

Lenovo ThinkPad P70 Review-1

ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo ThinkPad P70 จะมีการต่อยอดการผลิตจากไลน์ของ ThinkPad แบบเดิมๆ ด้วยที่เป็นซีรี่ส์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกันกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ แต่มีอีกหลายจุดที่ตัว Lenovo ThinkPad P70 ได้ปรับปรุงให้รุ่นใหม่นี้มีความแตกต่างไปจากเดิมพอสมควร จะว่าเหมือนกับรุ่นก่อนหน้าเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะด้วยความที่ไม่ใช่โน๊ตบุ๊คปกติทั่วไป แต่เป็นในส่วนของ Mobile Workstation ระดับสูงนั่นเอง

วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงและแมกนีเซียมอัลลอยด์ ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวซอฟท์ทัชให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค Mobile Workstation สไตล์ ThinkPad ทำให้นับได้ว่า Lenovo ThinkPad P70 เป็นโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการทำงานโปรเซสหนักๆ อย่างแท้จริง

ส่วนของตัวเครื่องความบางและน้ำหนักนั้น เรียกได้ว่าไม่อยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เหมาะในการพกพาไปไหนมาไหนบ่อยๆ เลย เพราะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก และสำหรับการออกแบบบานพับขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับกลับ 360 องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน ตามประการณ์ตรงที่ Lenovo ทำได้ดีมาโดยตลอด

Lenovo ThinkPad P70 Review-31

โดยบานพับขาจอนั้นเป็นวัสดุโลหะแมกนีเซียมเหมือนกับที่ใช้ในโครงสร้างของตัว Lenovo ThinkPad Series ด้วย โดยออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อน ต้องกล่าวว่าเป็นบานพับขารองรับจอที่แข็งแรงมากที่สุดอีกรุ่น และการพับจอกลับไปมาได้หลากหลาย ส่วนด้านใต้ของตัวเครื่องจากการที่เป็นวัสดุซอฟท์ทัช ออกแบบมาให้สามารถจับถือได้สะดวกไม่หลุดมือง่ายๆ ตามมาตรฐานของ Lenovo ThinkPad Series เรียกได้ว่าน่าประทับใจจริงๆ

 

Keyboard / Touchpad

Lenovo ThinkPad P70 Review-5

ส่วนคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad P70 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี

โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น ในด้านการใช้งานปกติทั่วไปก็พบว่าตัวคีย์บอร์ดแบบ AccuType ตอบสนองกับการพิมพ์ แบบงานเอกสารได้ดีพอสมควร

นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad P70 ก็ไม่ลืมที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับ TrackPad ขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 6 ปุ่มได้เป็นอย่างดี ในส่วนของ TrackPad ที่มีขนาดใหญ่โต ก็ สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi Gesture บน Windows 10 ได้ดี ยิ่งถ้าใช้งาน TrackPoint และ TrackPad ควบคู่กันไปด้วยจะยิ่งใช้งานได้ไวมากขึ้น

Screen / Speaker

Lenovo ThinkPad P70 Review-4

ด้านหน้าจอแสดงผล Lenovo ThinkPad P70 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดใหญ่ถึง 17.3 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด Full HD ที่ 1920 x 1080 พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ

ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดีด้วยพาเนลจอแบบ IPS ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพาเนลเกรดที่สูงที่เหมาะสมกับงานมืออาชีพ เพราะให้สีสันตรงสุดๆ ระดับที่ใกล้เคียงกับ sRGB มาพร้อมกับมุมมองที่ 180 องศา แบบว่ามองมุมไหนสีสันก็ไม่เพี้ยนเลย

ที่สำคัญโดดเด่นและแตกต่างด้วยเซ็นเซอร์คาลิเบรทหน้าจออย่าง Pantone ติดตั้งมาในตัวด้วย เพื่อที่จะคอยคาลิเบรทสีสันให้ตรงกับการใช้งานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าเจ๋งจริงๆ เพราะไม่ต้องไปอาศัยตัวคาลิเบรทภายนอกเลย ส่วนการใช้งานก็ง่ายมากๆ เพียงเปิดโปรแกรมคาลิเบรทและพับฝาจอลงมาเท่านั้น รอซักครู่เครื่องก็จะคาลิเบรทให้เราเรียบร้อย

บริเวณที่ตัวของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนๆ ญาติๆ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้างาน

โดยลำโพงมาพร้อมกับมีกำลังขับที่ดังกังวาล ส่วนเสียงเบสหรือเสียงต่ำก็อยู่ถือในระดับทั่วๆ ไป โดยตำแหน่งของลำโพงนั้นจะอยู่บริเวณเหนื่อแป้นพิมพ์ของตัวเครื่อง ที่ออกแบบมาได้เรียบง่ายแต่เข้ากับตัวเครื่องได้เป็นอย่างดี โดยให้เสียงที่พอใช้ได้เหมาะกับการฟังเพลงสบายๆ ในแบบเพลง Jazz หรือ Easy Listening เพราะให้เสียงกลาง และสูงได้ค่อนข้างเด่น แต่มีเสียงทุ้มที่หายไปบ้าง สรุปแล้วถือว่าดีกว่ารุ่นก่อนแบบรู้สึกได้

Connector / Thin And Weight

Lenovo ThinkPad P70 Review-35

ถึงแม้ Lenovo ThinkPad P70 มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่พอร์ตเชื่อมต่อมีมาให้ครบครันมากมายระดับนึง โดยช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์แบบหัว 4 เหลี่ยม (มาตรฐาน โน๊ตบุ๊ค Lenovo สมัยนี้) ที่มีความคล้ายคลึงกับพอร์ต USB มากต้องดูดีๆ นะครับถ้าดันทุรังไปเสียบอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้, พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.0 จำนวน 4 พอร์ต ที่มาพร้อมกับการสนันสนุนในเรื่องของการจ่ายไฟที่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถชาร์จสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้พลังงานเต็มที่อย่างรวดเร็ว

และช่องเชื่อมต่อเสียงภายนอกขนาดมาตรฐานที่ 3.5 มิลลิเมตร ซึ่งรองรับการใช้งานไมค์และหูฟังในช่องๆ เดียว ตามสมัยนิยม รวมไปถึงมีพอร์ตเชื่อมต่อ HDMI และ Mini DisplayPort ไว้เชื่อมต่อหน้าจอภายนอก โดยสามารถเชื่อมต่อได้พร้อมๆ กัน ที่สำคัญยังมีในส่วนของ Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) จำนวน 2 พอร์ต และ Smart card reader อีกด้วย (ไดร์ฟ DVD-RW ก็ติดตั้งมาให้อยู่)

นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเชื่อมต่อกับ Docking ได้เหมือนกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ ส่วนการพอร์ตอื่นๆ ยังมี Card Reader ตามมาตรฐาน ส่วนบริเวณด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดนั้นก็จะพบกับ Finger Print Reader สำหหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยลายนิ้วมือ ที่ต้องบอกว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่ที่เจ๋งมากๆ เพราะทำงานได้รวดเร็วพอๆ กับ Touch ID ของ iPhone 6s เลยล่ะ

Performance / Software

ชิปประมวลผล Lenovo ThinkPad P70 เลือกใช้เป็น Intel Xeon E3-1505M ตัวแรงบนเครื่องโน๊ตบุ๊ค สถาปัตยกรรม Skylake ที่มีความเร็วในการประมวลผล 2.8 GHz ที่สามารถเร่งความเร็วด้วย Turbo Boost ได้สูงสุด 3.7 GHz มีหน่วยความจำ L3 Cache 4MB โดยเป็นแบบ 4 Core 8 Threads พร้อมทั้งมีค่าอัตราการกินไฟสูงสุดแค่ 45W ส่วนระดับสถาปัตยกรรมก็อยู่ที่ 14nm ส่วนหน่วยความจำแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 64GB DDR4 Bus 2133MHz แบบ Dual Channel ที่เรียกว่าจัดเต็มทีเดียว (รองรับสูงสุด 64GB)

cpuz

ด้านของหน่วยประมวลผลกราฟิกก็จะเป็น NVIDIA Quadro M5000M ที่มีหน่วยความจำแรมภายในตัวขนาด 8GB แบบ DDR5 (จัดว่าเป็นกราฟิกการ์ดตัวหนึ่งในระดับบนสูง) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนความละเอียดหน้าจอระดับ 1920 x 1080 พิกเซล บนLenovo ThinkPad P70 ที่จากการตรวจสอบ รวมไปถึงยังทำงานร่วมกับการ์ดจอออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 530 ตามแต่ลักษณะการใช้หรือการปรับแต่งของเรา

gpuz

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

cin

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB แบบ NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าระดับเก็บ 2,000MB/s

ssd

สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้มากกว่าโน๊ตบุ๊คยุคก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน โดยได้คะแนนอยู่ที่ 34145 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 394.05FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank A ทีเดียว ซึ่งสำหรับเกมที่ไม่ได้กินทรัพยากรมากมายอะไร ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ Lenovo ThinkPad P70 เครื่องนี้ก็พร้อมตอบสนองความสุขของทุกคนได้เป็นอย่างดี

StreetFighterIV_Benchmark 2016-05-09 12-52-39-48

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Resident Evil 6 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับที่ High  ภาพก็สวยจนน่าประทับใจสุดๆ อยู่ในระดับ Rank S นับว่าใช้ได้ทีเดียว ซึ่งดูจากเฟรมเรทแล้วรองรับสูงสุดที่  60FPS ได้อย่างสบายๆ อย่างไรก็ตามอาจจะไม่ถึงขั้นดีมากกับเกมที่กินสเปกหนักๆ แต่ก็พอจะตอบสนองความต้องการได้บางส่วน ยังไงอย่าลืมว่า Lenovo ThinkPad P70 ไม่ได้ถูกออกแบบให้เล่นเกมอยู่แล้ว

RE6 2016-05-09 12-47-19-83

อีกเกมหนึ่งที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ Full HD พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทอยู่ที่ประมาณ 60+ แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ  ซึ่งในการทดลองเล่นเกม DOTA 2 ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง

dota2 2016-03-31 14-04-51-38

อีกหนึ่งจุดเด่นสำหรับ Lenovo ThinkPad P70 นั่นก็คือตัวซอฟแวร์ต่างๆ ที่บันเดิลมาให้กับเครื่องที่มีมามากมาย และพิเศษกว่าใครทั้ง Lenovo Solution Center, Lenovo Setting, Lenovo QuickControl (ไว้ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน) และอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับซอฟแวร์ตัวแรกอย่าง Lenovo Solution Center นั้นจะเป็นซอฟแวร์ที่ไว้คอยจัดการระบบโดยรวมๆ ของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad T450 ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การตรวจความปลอดภัยโดยรวมของตัวเครื่องว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่, มีแพซต์ใหม่ๆให้อัพเดทหรือเปล่า รวมไปถึงการเช็คสถานะอุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือเปล่าฮาร์ดดิสก์เต็มไหม หรือแม้แต่แบคอัพข้อมูล-คื่นค่าระบบก็ย่อมได้

Screenshot (5)

ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Setting ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง และ Fingerprint ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย

ตัวอย่างการทำงานที่โดยส่วนตัวใช้เป็นประจำก็คือการโปรเซสภาพถ่ายด้วยโปรแกรม Lightroom ที่เมื่อทำงานบน Lenovo ThinkPad P70 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ทำออกมารองรับการแสดงภาพแบบ Full HD ได้เต็มรูปแบบ ไม่ว่าเป็นตัวอักษร หรือภาพถ่ายก็มีความคมชัด ซึ่งกรณีที่ขยายภาพก็ยังมีความคมชัดอยู่

Lr copy

แน่นอนว่าด้านการประมวลผลตัวโปรแกรมเองก็ได้ดึงประสิทธิภาพการทำงานของตัวเครื่องอย่างเต็มที่เช่นกัน ที่ดูจากภาพจะเห็นถึงการใช้งานแรมไปจนเกือบหมด จากที่ตัวเครื่องมีอยู่ 64GB ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงระบบการทำงานของโปรแกรมและระปฏิบัติการว่าสามารถดึงความสามารถจากสเปกที่มีมาให้อย่างเต็มที่ เพื่อการทำงานให้รวดเร็วสุงสุด ทั้งการโปรเซสและ Export




Battery / Heat / Noise

batt

โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ Lenovo ThinkPad P70 นั้น จะเป็นแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้เกือบ 9 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ แล้วทางผู้เขียนพบว่า สามารถใช้งานได้จริงๆ ก็ราวๆ 5 – 7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของการประมวลผล ซึ่งก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีของ Mobile Workstation แต่ถ้าใครกลัวว่าแบตเตอรี่ไม่พอใช้งาน ก็สามารถหาซื้อ Docking เพิ่มแบตเตอรี่มาใช้ก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอาจจะถือว่าทำได้ดีทีเดียว สำหรับ Mobile Workstation หน้าจอ 17.3 นิ้ว

temp

อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 35 – 85 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 85 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo ThinkPad P70 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร นับว่า Mobile Workstation เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก HP ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง

Conclusion / Award

Lenovo ThinkPad P70 Review-50

Lenovo ThinkPad P70 โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพสไตล์ Mobile Workstation ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ Lenovo เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Xeon “Skylake” ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน เทียบเท่าระดับพีซี มีแรม DDR4 บัส 2133 ที่ใส่มาให้ถึง 64GB (16GB x 4) พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ความเร็วสูงเทคโนโลยี NVMe ความจุ 512GB

รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro M5000M ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง Lenovo ThinkPad P70 ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 17.3 นิ้ว ความละเอียด Full HD ใช้พาเนลจอแบบ IPS ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Lenovo ThinkPad P70 Review-3

และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ Lenovo ThinkPad P70 ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt V3 (USB 3.1 Type-C) พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมไปถึงมี Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือ 10 ลิขสิทธิ์ เราสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการและโปรแกรมของเราที่รองรับ

เรียกได้ว่า HP นั้นมองขาดจริงๆ ผู้เขียนจึงถือว่า Lenovo ThinkPad P70 เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย Lenovo ThinkPad P70 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค ในขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้ว สนนราคาระดับหนึ่งแสนบาทขึ้นไป มาพร้อมการรับประกันแบบ 3 ปี On-site Service

ซึ่งเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ อาจจะดูว่าราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่สามารถทำให้สร้างรายได้แน่นอน สำหรับคนที่ต้องการจะซื้อมาใช้งาน เหมาะมากๆ กับคนที่ต้องการใช้งาน Mobile Workstation ที่ยังเต็มประสิทธิภาพ เต็มประสบการณ์ แต่ใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสบายๆ

Lenovo ThinkPad P70 นั้นยังคงความเป็น ThinkPad ให้เห็นอยู่คือดูแล้วเหมาะกับการใช้งานสำหรับวิศวกร สถาปัตย์ นักตัดต่อวีดีโอ หรือผู้ใช้ระดับมืออาชีพครับ ด้วยความที่ว่าสเปกนั้นแรงมากๆ ประกอบกับราคาก็ไม่ใช่ถูก แน่นอนว่าคงไม่มีใครซื้อมาเล่น Facebook อย่างแน่นอน แต่จะเป็นเรื่องของการสร้างงานสร้างรายได้ ดีไม่ดีโปรเจคนึงอาจจะได้ค่าเครื่องคืนแล้วด้วยซ้ำ

จุดเด่น

  • ตัวเครื่องแข็งแรงทนทานตามสไตล์ของ Lenovo ThinkPad
  • ขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้ว ความละเอียด Full HD พาเนล IPS สวยงามเป็นธรรมชาติ
  • ประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมากๆ ด้วย Intel Xeon และ NVIDIA Quadro M5000M
  • ระบบระบายความร้อนทำได้ดี จากการออกแบบและพัดลมคู่
  • มาพร้อม Finger Print Reader รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว
  • เซ็นเซอร์คาลิเบรทหน้าจออย่าง Pantone ติดตั้งมาในตัว
  • พอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C), Smart Card Reader และ DisplayPort
  • ราคาต่อประสิทธิภาพสามารถปรับได้ตามต้องการ
  • รองรับการใช้งานทั้ง Windows 7 และ Windows 10

ข้อสังเกต

  • ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง และโน๊ตบุ๊ค Workstation ขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad P70 ก็ได้รางวัลดังนี้

 

Best Technology

เซ็นเซอร์คาลิเบรทหน้าจออย่าง Pantone ติดตั้งมาในตัว ทำให้สะดวกสบายมากๆ ในการคาลิเบรท ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง คมชัดในทุกมุมมอง แถมยังมาพร้อม Finger Print Reader รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว ที่ต้องบอกว่ามีความไวพอๆ กับสมาร์ทโฟนรุ่นบนๆ ที่มีฟีเจอร์สแกนลายนิ้วมือเลย รวมไปถึงมีพอร์ตความเร็วสูงแห่งอนาคตอย่าง Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C)

award use 2 create 16

Best Performance

ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core Xeon ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 32GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยม NVIDIA Quadro M5000Mรวมไปถึง SSD คาวมเร็วสูงด้วย NVMe ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกระดับพีซีเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย

award use 2 create 05

 

Ultrabook, Celeron, Celeron Inside, Core Inside, Intel, Intel Logo, Intel Atom, Intel Atom Inside, Intel Core, Intel Inside, Intel Inside Logo, Intel vPro, Itanium, Itanium Inside, Pentium, Pentium Inside, vPro Inside, Xeon, Xeon Phi, and Xeon Inside are trademarks of Intel Corporation in the U.S. and/or other countries.

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

AMD

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ติดตั้งชิปเซ็ต AMD Ryzen AI NPU ก็เริ่มหาซื้อได้ง่ายขึ้น มีตัวเลือกมากมายแถมซอฟท์แวร์หรือส่วนเสริม AI จากบริษัทชั้นนำก็มีให้ใช้งานมากขึ้นรวมทั้ง Microsoft ก็รับลูก จับมือกับผู้พัฒนาซีพียูปรับแต่ง Windows 11 ให้ใช้งานกับซีพียูรุ่นใหม่มี NPU ได้ดีขึ้นและมีฟังก์ชั่นตรวจจับการทำงานเพิ่มเข้ามาใน Task Manager เป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้ดูได้ว่าชิปเซ็ตใหม่นี้ทำงานตอนไหนบ้าง อย่างไรก็ตามชิปนี้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเฉพาะอย่าง ปกติมักไมเ่ห็นคอร์นี้ทำงานบ่อยนักจนบางคนเกิดกังขาว่าชิปเซ็ตตัวนี้มันสมคำโฆษณาหรือเปล่า?...

รีวิว Lenovo

Lenovo IdeaPad Slim 5 โน๊ตบุ๊คหน้าตาเรียบหรู พลัง Ryzen 8000 Series กับการใช้งานออฟฟิศทั้งวันจะน่าใช้ขนาดไหนนะ? ภาพจำของ Lenovo IdeaPad ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คทำงานราคาประหยัดในอดีตนั้น ถูกอัปเกรดเป็น Lenovo IdeaPad Slim 5 เติมฟีเจอร์น่าใช้งานมาให้อีกหลากหลายอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ยังรักซีรี่ส์นี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย สังเกตว่าชื่อของรุ่นนี้ถูกเพิ่มคำว่า Slim เข้ามาเพื่อนำเสนอความบาง 17.2...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก