จากครั้งก่อนหน้านี้คงได้ชม รีวิว Lenovo IdeaPad Y500?ซึ่งเป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกราฟิกการ์ดแบบแยก 2 ตัวในเครื่องกันไปแล้ว ตอนนี้ถึงคราวของ Lenovo IdeaPad?Y400 ที่เป็นอีกรุ่นที่คล้ายกับ Lenovo IdeaPad?Y500 มากทีเดียว แต่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 14 นิ้ว ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบดีไซน์โดยรวมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ดุดัน รวมไปถึงเทคโนโลยี Ultrabay ที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งแน่นอนว่าสามารถใช้งานกราฟิกการ์ดแบบคู่เทคโนโลยี NVDIA SLI ได้เช่นกัน (โดยต้องซื้อ VGA Bay แยกเอง)
โดย?Lenovo IdeaPad?Y400 นี้เป็นรุ่นที่พัฒนามาจากต่อยอดมาจาก?Lenovo IdeaPad?Y480 นะครับ สนนราคาก็อยู่ที่ 31,900 บาทเท่านั้นเอง ซึ่งจากที่ทราบมาราคาขายจริงยังสามารถต่อรองได้อีก เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจออีก 1 รุ่นที่คุ้มค่าและน่าสนใจจริงๆ
VDO Product Tour
แต่ก่อนจะเข้าสู่บทความรีวิวของ Lenovo IdeaPad Y400?นั้น เราลองมาชมวีดีโอแนะนำที่ทำได้น่าสนใจจากทาง Lenovo?กันดีกว่าครับ เรียกได้ว่าสื่อได้เห็นภาพทีเดียวว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้มันมีความสามารถและฟีเจอร์อะไรบ้าง
Specification
สเปกของ Lenovo IdeaPad?Y400 เครื่องนี้นับว่าเป็นสเปกระดับสูงใช้ได้ โดยเริ่มต้นที่ซีพียูเป็น Intel Core i7-3630QM เป็นซีพียูแบบ 4 Cores 8 Threads สถาปัตยกรรม Ivy Bridge ความเร็วปกติอยู่ที่ 2.40 GHz และสามารถเร่งความเร็วไปได้สูงสุดที่ 3.40 GHz เมื่อต้องใช้งานโปรแกรมที่พึ่งพาการทำงานซีพียูหนักๆ ติดตั้งแรม 8 GB แบบ DDR3 มาจากโรงงานพร้อมกับกราฟิกการ์ดจาก Nvidia GeForce GT650M มีแรมกราฟิกการ์ดอยู่ที่ 2GB แบบ GDDR5 รองรับการทำงานกราฟิกระดับสูงๆ หรือจะเล่นเกมที่ใช้งานกราฟิกการ์ดมากๆ ก็ทำได้หายห่วง อีกทั้งมีฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ทำงาน 5400 RPM ติดตั้งมาให้ด้วย ด้านจอของ Lenovo Y400 มีขนาด 14 นิ้ว เป็นจอแบบ LED ความละเอียดที่ 1366×768 พิกเซล ความละเอียดระดับ HD เติมเต็มอรรถรสในการใช้งานได้เต็มที่ รวมทั้งติดตั้ง HD Webcam เอาไว้ที่เหนือจอ
ในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อที่ติดตั้งมาให้กับตัวเครื่องนั้น Y400 จะมี USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง USB 3.0 จำนวน 1 ช่อง พร้อมกับ Optical Drive นั้น ถ้าในประเทศไทยจะรองรับ DVD-RW แต่สำหรับสเปกต่างประเทศจะรองรับ Blu-ray ด้วย ?รวมทั้งมีช่องสำหรับเชื่อมต่อ D-Sub/VGA, HDMI, 6-in-1 Card Reader, Bluetooth, LAN, Wifi ติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานของตัวเครื่อง ทว่าไม่ติดตั้งระบบปฏิบัติการมาให้ แต่ขอแนะนำให้ติดตั้ง Windows 8 64-bit ให้ Y400 เครื่องนี้จะดีที่สุด เพราะสามารถรีดประสิทธิภาพได้สูงพร้อมกับมีไดรฟ์เวอร์รองรับแล้ว ส่วนน้ำหนักของตัวเครื่องอยู่ที่ 2.40 กิโลกรัม
Hardware / Design
การออกแบบตัวเครื่องนั้น Lenovo IdeaPad?Y400 ได้รับอิทธิพลจากพี่ Lenovo IdeaPad?Y500 มาเต็มๆ แต่เพียงแค่ย่อขนาดลงมาให้เหลือ 14 นิ้วเท่านั้น วัสดุที่ใช้ประกอบตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมสีดำที่ตัวฐานเครื่องและล้อมกรอบด้วยพลาสติกชั้นดี ด้านหลังและด้านใต้ของตัวเครื่องเป็นพลาสติกแบบพิเศษแต่งลายคาร์บอนเคฟล่าร์พร้อมติดชื่อแบรนด์ผู้ผลิตทำจากอะลูมิเนียมสีเงินเอาไว้ที่มุมบนซ้ายมือให้ความแข็งแรงดูสปอร์ตดุดันเหมือนกับสเปกของตัวเครื่องที่ให้มาเต็มที่ และเมื่อพลิกด้านใต้ของตัวเครื่องขึ้นมา จะเห็นว่าช่องลมเข้าของเครื่องนี้จะมีขนาดใหญ่มาก กินพื้นที่ไปเกือบครึ่งหนึ่งของด้านใต้ตัวเครื่อง
และมีปุ่มสำหรับดึงถอดไดรฟ์ของ Ultrabay ติดตั้งเอาไว้ตรงกลางพอดี สำหรับน็อตยึดเพื่อเปิดตัวเครื่องจะมีเพียง 8 จุดเท่านั้น และในส่วนของฐานขารองรับจอจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักทว่าเป็นวัสดุโลหะให้ความแข็งแรงสูง เพื่อรองรับจอขนาด 14 นิ้วที่ติดตั้งมาให้ และหากสังเกตที่ส่วนเหนือฐานขาจอบริเวณฝาหลังของเครื่องจะสังเกตเห็นว่าการออกแบบจะทำให้มีมุมลาดเอียงเล็กน้อย ให้มิติตัวเครื่องดูดุดันมากกว่าสวยงามคล้ายกับรถซุปเปอร์คาร์สุดหรูราคาแพงที่หลายๆ คนใฝ่ฝันจะเป็นเจ้าของสักคัน และด้านข้างจองตัวเครื่องจะเห็นว่าด้านหน้าบริเวณทัชแพดจะเตี้ยกว่าด้านบนคีย์บอร์ด เพื่อให้ตัวเครื่องโน้มเข้าหาผู้ใช้ได้มากกว่าเดิม
Screen / Speaker
หน้าจอของ Lenovo IdeaPad?Y400 เป็นจอ LED ขนาด 14 นิ้ว ให้ความละเอียดที่ 1366×768 พิกเซล เพื่อให้อรรถรสตอนเล่นเกมหรือดูภาพยนตร์ความละเอียดสูงได้เต็มที่ รวมทั้งการใช้ทำงานในชีวิตประจำวันอีกด้วย หน้าจอให้สีที่ค่อนข้างสดใส แต่อาจจะไม่จัดจ้านเท่ากับจอพาเนล IPS ซึ่งบางคนที่ใช้งานจอที่เป็นพาเนล IPS มาก่อนแล้วได้โอกาสใช้เครื่องนี้แล้ว ก็ออกปากชมว่าสามารถทำได้อย่างน่าพอใจแม้จะเป็นเพียงพาเนล TN แต่ถ้าเทียบกับจอ LED ปกติด้วยกันแล้ว นับว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับดี ส่วนด้านบนของจอจะติดตั้ง HD Webcam เอาไว้ตรงกลาง รวมทั้งมีไฟแสดงสถานะติดตั้งเอาไว้ข้างๆ พร้อมกับไมค์อีกสองช่อง?
สำหรับลำโพงของเครื่องนี้ติดตั้งเป็นลำโพงของ JBL สองตัวซ้ายขวา และติดตั้ง Subwoofer เอาไว้ด้านใต้ตัวเครื่องอีกหนึ่งตัว ออกแบบให้รูปลักษณ์โดดเด่นเป็นพิเศษ สำหรับคุณภาพเสียงนั้นตามมาตรฐานทั่วไปของโน๊ตบุ๊คที่วางตลาดในตอนนี้ แต่เสียงของเครื่องจะดังกว่าเครื่องอื่นๆ ที่วางตลาดมาก และปุ่มเปิดเครื่องจะติดตั้งเอาไว้ที่ลำโพงด้านซ้ายมือ โดยปุ่มจะออกแบบให้เตี้ยกว่าระดับความสูงของแท่นเหนือคีย์บอร์ดเล็กน้อยเพื่อป้องกันเวลาทำความสะอาดแล้วมือพลัดไปถูกแล้วเครื่องเปิดติดขึ้นมา
Keyboard / Touchpad
Lenovo IdeaPad?Y400 เครื่องนี้ติดตั้งคีย์บอร์ดแบบ AccuType Keyboard พร้อมกับระบบ Backlit มาให้ ซึ่งได้รับอานิสงค์เรื่องคีย์บอร์ดจาก ThinkPad มาด้วย เพราะว่า AccuType Keyboard เป็นคีย์บอร์ดที่ติดตั้งอยู่ใน ThinkPad Series เป็นหลัก ด้านความโดดเด่นของคีย์บอร์ดแบบนี้คือคีย์บอร์ดแบบ Rubber Dome ที่ให้ความรู้สึกในการใช้งานเหมือนกับ Mechanical Keyboard ซึ่งจุดเด่นคือตัวปุ่มมีจะโค้งตรงกลาง ให้ความมั่นคงเวลากด ส่วนระยะกดอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร ด้านใต้ของปุ่มจะออกแบบให้เป็นทรงปากยิ้มเพื่อลดการกดผิดไปถูกปุ่มอื่น ความรู้สึกสัมผัสนั้น สำหรับผู้เขียนแล้วเป็นคีย์บอร์ดที่ดีที่สุดเท่าที่เขียนรีวิวมา
สำหรับระบบ Backlit ของ Lenovo IdeaPad?Y400 นั้น กรอบรอบตัวปุ่มคีย์บอร์ดเป็นสีแดงและไฟก็เป็นสีแดง โดยสามารถสั่งเปิดปิดได้ และปรับระดับความสว่างได้สองระดับ เมื่อต้องการกดจะต้องกดปุ่ม Fn ควบคู่กับปุ่ม Spacebar เพื่อปรับแสง โดยแบ่งการกดเป็นสามครั้ง เริ่มต้นที่ปิดการทำงานของไฟ Backlit เมื่อกดครั้งแรกจะเป็นแสงสีแดงเรืองๆ ใต้คีย์บอร์ดและเมื่อกดอีกครั้งจะเปิดแสง Backlit สีแดงให้สว่างเต็มที่ ส่งผลให้ความสะดวกในการทำงานในที่แสงน้อยทำได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนของทัชแพดจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก ออกแบบซ่อนปุ่มกดคลิกซ้ายขวาเอาไว้ด้านใต้แท่นทัชแพดเพื่อความสวยงามและมีเส้นสีแดงขีดแบ่งฝั่งซ้ายขวาเอาไว้ วางตัวจะอยู่ด้านใต้แป้น Spacebar พอดี ทว่าเมื่อใช้งานจริงแล้ว ถ้าไม่ปิดการทำงานของทัชแพดเอาไว้อุ้งมืออาจโดนทำให้เกิดความผิดพลาดเวลาทำงานได้ สำหรับความเร็วในการทำงานของทัชแพดนั้น ต้องแจ้งว่าเครื่องที่ได้รับมาใช้เพื่อเขียนรีวิวนั้น ไดรฟ์เวอร์อาจยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ความเร็วการเลื่อนเคอร์เซอร์ช้า ต้องลากนิ้วมากหน่อย จึงขอแนะนำให้หาเมาส์เพิ่มไว้ใช้งานอีกตัวดีกว่า
Connector / Thin And Weight
เกิดมาเป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสิทธิภาพสูงแล้ว ต้องแลกกับความหนาที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน มิติของตัวเครื่องจึงอยู่ที่?350 x 245 x 15 – 33 มิลลิเมตร (กว้าง x ลึก x หนา) ซึ่งพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อของเครื่องนี้ที่ฝั่งซ้ายมือจากซ้าย จะเป็นปุ่ม?OneKey? Recovery, ช่องสำหรับเชื่อมต่ออะแดปเตอร์, VGA Port, LAN, HDMI, USB 3.0 หนึ่งช่อง
ด้านหน้าของตัวเครื่องด้านซ้ายมือจะมีไฟแสดงสถานะของตัวเครื่องอยู่สี่ดวง จากซ้ายคือไฟแสดงสถานะเปิด/ปิด เครื่อง, ไฟแสดงการเชื่อมต่ออะแดปเตอร์, ไฟแสดงการปิดการทำงานของทัชแพด และไฟดวงสุดท้ายเป็นไฟแสดงสถานะของ Caps Lock และมี 6-in-1 Card Reader ที่รองรับการอ่าน?SD, SD-Pro, MMC, MS, MS-Pro, XD ด้วย
ด้านขวามือเริ่มจากซ้ายจะเป็นช่อง Audio Slot สองช่องสำหรับเชื่อมต่อหูฟังและไมค์ตามลำดับ USB 2.0 สองช่อง โดยช่องสีเหลืองซ้ายมือมีฟังก์ชั่น Sleep and Charge ติดตั้งมาให้ด้วย มี Optical Drive ที่สามารถอ่านแผ่น Blu-Ray ได้ และเขียนอ่านแผ่น DVD-RW ได้ด้วย พร้อมกับช่อง Kensington Lock อีกหนึ่งช่องที่ด้านขวาสุดของตัวเครื่อง
มิติของตัวเครื่องจะใหญ่กว่านิตยสารบ้าง แต่สังเกตว่าขนาดของอะแดปเตอร์นั้นจะใหญ่เป็นพิเศษ เพื่อส่งพลังงานหล่อเลี้ยงกราฟิกการ์ดที่ติดตั้งเอาไว้ในตัวเครื่อง ทำให้น้ำหนักของเครื่องพื้นฐานอยู่ที่ 2.4 กิโลกรัมถ้าหากไม่รวมกับอะแดปเตอร์ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะอยู่ที่ 2.9 กิโลกรัม แต่ว่าประสิทธิภาพให้เต็มที่กว่าหลายเท่าทีเดียว
Ultrabay
ฟีเจอร์โดดเด่นที่ Y400 และ Y500 มีเหมือนกันและเป็นฟีเจอร์โดดเด่นในรุ่นนั่นก็คือ Ultrabay ที่สามารถสลับไปมาระหว่างกราฟิกการ์ด, Optical Drive หรือจะเป็น External Harddisk Drive ก็ได้เช่นกัน แต่ว่า Y400 เครื่องนี้ติดตั้งมาให้เป็น Optical Drive เท่านั้น สำหรับ Nvidia GeForce GT650M ที่จะนำมา SLI กันนั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้เหมือนกับ Y500 ที่ตัด Optical Drive ออกไป ซึ่งวิธีการถอดนั้นทำได้เหมือนกันทั้งสองรุ่น
โดยเริ่มต้นกับการดับเครื่องและปลดล็อคเพื่อถอดแบตเตอรี่ออกมาก่อน เพราะด้านในจะมีสวิตช์ล็อกอีกหนึ่งตัวติดตั้งไม่ให้ Optical Drive หลุดออกมา
ซึ่งหน้าตาของสวิตช์ที่ว่าจะมีหน้าตาเหมือนกับด้านนอกแต่ขนาดเล็กกว่าและซ่อนอยู่ด้านใต้ตัวแผ่นปิดของแบตเตอรี่ ดังนั้นเมื่อจะถอดออกมาก็ต้องเลื่อนมันให้เป็นสีส้มเหมือนกับสวิตช์ด้านข้างเช่นกัน
และเมื่อปลดล็อคเรียบร้อยแล้ว ให้ดึงสวิตช์อีกตัวที่อยู่ตรงกลางช่องอากาศเข้าค้างเอาไว้ แล้วใช้นิ้วมือเกี่ยวที่ร่องบากของ Optical Drive แล้วดึงออก ตรงนี้ต้องใช้แรงสักเล็กน้อย เพื่อให้ไดรฟ์หลุดออกมา และตอนสุดท้ายก่อนที่ไดรฟ์จะออกมาจนสุดนั้น ถ้าดึงออกตรงๆ แรงๆ ครั้งเดียวจะทำให้เขี้ยวเกี่ยวอีกตัวหนึ่งที่ติดเอาไว้เสียหายได้ เวลาดึงออกต้องระวังตรงนี้แล้วค่อยๆ ขยับหาช่องมันสักนิดถึงจะดึงออก วิธีการง่ายๆ คือ ดึงตัวไดรฟ์เฉไปซ้ายขวาเล็กน้อยสองสามครั้ง
หน้าตาของไดรฟ์จะออกมาเป็นแบบนี้โดยการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ mSATA และพร้อมจะนำกราฟิกการ์ดเข้ามาเชื่อมต่อเพื่อใช้งานระบบ SLI ได้ไม่มีปัญหา แต่ทว่ากราฟิกการ์ด Nvidia GeForce GT650M จาก Y500 นั้น ไม่สามารถนำมาติดตั้งให้กับ Y400 ได้ เพราะการออกแบบนั้นแตกต่างกัน ต้องซื้อกราฟิกการ์ดแยกต่างหากอีกหนึ่งชิ้น สนนราคาอยู่ที่ 4,000 บาท โดยในแพคเกจจะมีกราฟิกการ์ด Nvidia GeForce GT650M กับอะแดปเตอร์จ่ายไฟอีกหนึ่งชุด แต่ว่าในตอนนี้ต้องรอสินค้าเข้าสู่ตลาดเสียก่อนนะ
Performance / Software
ซีพียูของ Y400 ติดตั้งมาให้เป็น Intel Core i7-3630QM ให้ความเร็ว 2.4 GHz เร่งความเร็วได้สูงสุด 3.40 GHz พร้อมกับ L3 cache 6 MB เป็นสถาปัตยกรรม Ivy Bridge และเป็นซีพียูแบบ 4 Cores 8 Threads ตามแบบฉบับของซีพียูแนวหน้าจาก Intel นั่นเอง ค่า TDP อยู่ที่ 45W?
ในส่วนของ cache ก็มีให้ 6 MB ดังที่กล่าวไป และทำงาน 12-way
ซึ่งแน่นอนว่าแรมที่ติดตั้งมาให้นั้น เป็นแบบ DDR3 ขนาด 8 GB ส่วนของ BUS อยู่ที่ 800 MHz รองรับการอัพเกรดในภายหลังได้สูงถึง 16 GB?
สำหรับกราฟิกการ์ดติดตั้งมาให้เป็น Nvidia GeForce GT650M อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว กราฟิกการ์ดแรมอยู่ที่ 2 GB แบบ GDDR5 รองรับ DirectX 11 พร้อมกับมีค่า Bus Width ที่ 128 Bit พร้อมรองรับการทำงานกราฟิกหนักๆ ได้สบายมาก
ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาให้มีความจุ 1 TB พร้อมกับความเร็วทำงานที่ 5400 RPM ให้ความเร็วเฉลี่ยที่ 80 MB/Sec
ซึ่งได้ผล Windows Experince Index ที่ระดับนี้ นับว่าซีพียู กราฟิกการ์ด แรม ทั้งหมดอยู่ในระดับสูงแล้ว ขาดแค่ฮาร์ดดิสก์ที่ยังอยู่ในระดับทั่วไปเท่านั้น
3DMark 06 กับคะแนน 15,843 คะแนน ถือว่าแรงเอาเรื่องทีเดียว ซึ่งในส่วนของค่าความแตกต่างของคะแนนผลทดสอบนั้น?อาจเกิดจากความสมบูรณ์ของไดรฟ์เวอร์ที่อยู่ในตัวระบบปฏิบัติการเอง ซึ่ง Y480 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 นั้นมีไดรฟ์เวอร์ที่สมบูรณ์กว่า Y400 ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 ในส่วนนี้ต้องรอการปรับปรุงแก้ไขจากทาง Lenovo ต่อไป เพื่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในภายหลัง
แม้ไดรฟ์เวอร์ของระบบปฏิบัติการจะยังไม่สมบูรณ์ แต่กลับได้คะแนนใกล้เคียงกับเครื่องที่มีระบบไดรฟ์เวอร์สมบูรณ์กว่าและเกิดความแตกต่างเพียงหลักร้อยนั้น นับว่าอนาคตสำหรับการปรับปรุงระบบไดรฟ์เวอร์นั้นยังมีความหวังอยู่อีกมากทีเดียว
?3DMark 07 ทำได้ถึง 3,111 คะแนน
3DMark 11 กับคะแนน 2,303 คะแนน?
3DMark Vantage ได้สูงถึง 10,010 คะแนน
ได้คะแนน CINEBENCH 11.5 64-bit มาสูงระดับนี้ โดยคะแนนต่อหัว 1.42 คะแนน รวมแล้วได้ 6.40 คะแนน ส่วน OpenGL ได้ที่ 41.84 Fps แรงสบายใจ งานกราฟิกพร้อมได้ทุกเมื่อ
สำหรับความร้อนที่เกิดกับกราฟิกการ์ดอยู่ที่ 73 องศาเซลเซียส เมื่อเทสด้วยโปรแกรม FurMark
ตามธรรมเนียมด้วย Street Fighter IV Benchmark กับคะแนนสูงลิบลิ่ว 19,244 คะแนน และค่า Fps 172.13 Fps แรงจนฉุดไม่อยู่เลยทีเดียว
สำหรับส่วนของ Resident Evil 5 Benchmark จะได้ถึง 113.6 Fps พร้อมไปลุยทุกสถานการณ์กันแล้ว
เกมใหม่ๆ อย่าง Sleeping Dog Benchmark ที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 126.6 Fps และเฉลี่ยที่ 83.5 Fps นับว่าเกมที่ออกมารุ่นใหม่ๆ ต้องการสเปกของเครื่องที่สูงพอสมควรเพื่อใช้งานนั้น Lenovo Y400 เครื่องนี้ก็สามารถเปิดเล่นได้อย่างไม่มีปัญหาแน่นอน?
Battery / Heat / Noise
ส่วนของแบตเตอรี่ของเครื่องจะเป็นแบตเตอรี่แบบ Li-ion ความจุ 6,080 mAh แบบ 6-cell อยู่ข้างใน ให้การทำงานต่อเนื่องได้ยาวนานสมตัว ซึ่งถ้าหากเล่นเกมก็ควรต่ออะแดปเตอร์ไว้ดีกว่า สำหรับส่วนระบายความร้อนของตัวเครื่องนั้นติดตั้งเอาไว้ด้านซ้ายมือ เป็น Heat Sink ขนาดใหญ่ชัดเจน แต่เมื่อใช้งานธรรมดากลับไม่ส่งเสียงรบกวนดังนัก แต่เมื่อเล่นเกมก็จะได้ยินเสียงชัดระดับหนึ่ง
ในแง่ของความยาวนานในการใช้งานเมื่อทดสอบใช้งานแบบปกติ ปรับค่าแสงสว่างที่หน้าจอเต็มที่และใช้ทำงาน ฟังเพลง เล่นเน็ตแล้วได้ผลดังกราฟของโปรแกรม BatteryMon ที่แสดงอยู่ตรงหน้า โดยถ้าสแตนด์บายเอาไว้อย่างเดียวจะได้ 4 ชั่วโมง 21 นาที และใช้งานดังกล่าวผ่านไปสามสิบนาที แบตเตอรี่ลดลงไป 19% และสามารถใช้งานต่อได้อีก 3 ชั่วโมง 24 นาที นับว่าระบบจัดการพลังงานของซีพียูทำออกมาได้ดี เพราะเครื่องนี้ไม่มีระบบ Nvidia Optimus เพื่อสลับการทำงานจากกราฟิกการ์ดแยกไปเป็นออนบอร์ดเพื่อประหยัดพลังงาน แต่ยังใช้งานต่อเนื่องได้ระดับนี้แล้ว ก็น่าปรบมือให้จริงๆ
อุณหภูมิทั่วไปของตัวเครื่องอยู่ที่ช่วง 33-36 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อรีดประสิทธิภาพแล้ววัดความร้อนดูแล้ว ส่วนที่ร้อนจะเป็นฝั่งซ้ายของตัวเครื่องและด้านใต้ของคีย์บอร์ดที่ติดตั้งเมนบอร์ดเอาไว้ที่มีความร้อนสูงกว่าที่อื่น โดยเฉพาะที่ฝั่งซ้ายส่วนของ Heat Sink จะร้อน 55.6 องศาเซลเซียส และเสียงเมื่อรีดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จะได้ยินเสียงพัดลมระบายความร้อนชัดเจนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับการทำงานเต็มประสิทธิภาพ แต่สำหรับความร้อนที่ได้นั้นกลับไม่สูงมาก ยังใช้งานต่อได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะพัดลมระบายอากาศและ Heat Sink ที่ติดตั้งไว้ทางด้านซ้ายนั่นเอง
Conclusion / Award
Lenovo IdeaPad Y400 สามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการใช้งานกราฟิกหรือเล่นเกมในขนาดตัวเครื่องที่พกพาได้ เพราะขนาดตัวเครื่อง 14 นิ้ว มาตรฐาน แต่ติดตั้งสเปกภายในมาให้เต็มที่ ไม่ว่าจะ Intel Core i7 กับกราฟิกการ์ดระดับสูงอย่าง Nvidia GeForce GT650M พร้อม VRAM 2 GB ที่เล่นเกมได้เต็มที่ ฮาร์ดดิสก์จุ 1 TB เพื่อให้เก็บไฟล์ ติดตั้งโปรแกรมและเกมได้อย่างเต็มที่ มีฟีเจอร์ Ultrabay ให้สลับการทำงานไปมาระหว่าง Optical Drive Bay เพื่อเรียกใช้งานแผ่น DVD ได้, Harddisk Bay เมื่อต้องการแยกเก็บไฟล์สำคัญออกไปได้โดยไม่ต้องนำฮาร์ดดิสก์ลูกดังกล่าวไปใส่กล่อง, VGA Bay ในวันที่ต้องการสวมวิญญาณนักเล่นเกมมือฉมังก็ทำได้
ดีไซน์ภายนอกดูแข็งแรงมีพลังรวมทั้งฟีเจอร์น่าใช้อย่าง AccuType Keyboard ที่รองรับการใช้งานแบบทั่วไปและเล่นเกมได้อีกด้วย แม้จะไม่ถึงขั้น steelseries ที่ติดตั้งมาให้ใน MSI ที่มีการปรับปรุงการวางตัวและขนาดของปุ่มบนคีย์บอร์ดรวมทั้งไฟที่จะแสดงว่าปุ่มไหนใช้งานหรือไม่ใช้งานเพื่อเกมเมอร์โดยเฉพาะขนาดนั้นแล้ว ต้องนับว่าคีย์บอร์ดนี้ให้สัมผัสในการใช้งานที่ดีมาก เน้นการใช้งานที่รอบด้านมากกว่าที่จะเน้นไปทางการเล่นเกมเป็นหลัก
ถ้าสงสัยว่าคนกลุ่มไหนที่เหมาะกับ Lenovo IdeaPad Y400 เครื่องนี้ ก็ตอบได้ง่ายๆ ว่า กลุ่มเกมเมอร์ที่ต้องการพกพา แต่ก็ต้องการเล่นเกมที่ต้องใช้งานกราฟิกการ์ดที่แรงระดับที่เล่นเกมที่ใช้ทรัพยากรมากขึ้นและมีเพื่อนเกมเมอร์ด้วยกันที่ชอบจัดปาร์ตี้เล่นเกมแล้วชวนเจ้าของเครื่องไปร่วมวงด้วยบ่อยๆ อาจจะเป็นนักวาดที่ต้องการโน๊ตบุ๊คทำงานกราฟิกแรงๆ และต้องไปทำงานนอกสถานที่ กระทั่งสถาปนิกกับวิศวกรที่ทำงานกับโปรแกรมสถาปนิกที่พึ่งพาสเปกเครื่องค่อนข้างมาก นับว่าเข้ากลุ่มทั้งนั้น แต่ถ้าท่านไหนอยากได้ก็ไม่ขัดศรัทธาเช่นกัน สนนราคาก็ที่ 31,900 บาท เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 14 นิ้วที่น่าสนใจมากๆ ทีเดียว
ข้อดี
- AccuType Keyboard ให้สัมผัสที่ดีมั่นคงแข็งแรงและให้ประสบการณ์ใช้งานน่าพอใจ ปรับระดับแสงได้สามระดับ
- การออกแบบตัวเครื่องล้ำสมัยให้ความเท่ห์ดุดันเต็มที่ ตกแต่งลายคาร์บอนเคฟล่าร์เอื้อให้เกมเมอร์เต็มที่
- กราฟิกการ์ด Nvidia GeForce GT650M ที่แรงสุดในกลุ่ม GT Series พร้อมรองรับการทำงานกราฟิกขั้นสูงหรือเกมที่ต้องการสเปกแรงๆ
- Ultrabay ที่ติดตั้งเข้ามาในโน๊ตบุ๊คระดับราคานี้ถือเป็นความแปลกใหม่ ยังรองรับการสลับเปลี่ยนไปใช้ระบบ SLI กับ?Nvidia GeForce GT650M อีกตัว หรือจะเป็น External Harddisk ก็ได้ และเชื่อมต่อแบบ mSATA
- ระบบระบายความร้อนจัดการได้ดี ทำให้อุณหภูมิของตัวเครื่องไม่ร้อนมากเกินไปแม้จะใช้งานเต็มประสิทธิภาพแล้วก็ตาม
- งานประกอบตัวเครื่องทำออกมาได้ดีเรียบร้อย วัสดุที่เลือกใช้ให้ความแข็งแรงสูงเช่นอะลูมิเนียมกับพลาสติกชั้นดี
- USB พร้อมติดตั้งฟังก์ชั่น Sleep And Charge มาให้พร้อมชาร์จพลังงานให้อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ ได้ทันที
ข้อสังเกต
- USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง ขณะที่ USB 3.0 ติดตั้งมาให้ 1 ช่องเท่านั้น ซึ่งควรจะเป็น USB 3.0 ทั้งหมดแล้ว
- เสียงลำโพงยังไม่ประทับใจเท่าที่ควร ยังอยู่ในระดับเครื่องมาตรฐานตลาดทั่วๆ ไป
- ไฟแสดงสถานะติดตั้งซ่อนเอาไว้ใต้ข้อมือซ้าย มองหายากเมื่อต้องการดูสถานะ และไม่ติดตั้งไฟแสดงสถานะการทำงานมาให้
- ช่องเชื่อมต่อต่างๆ อยู่ใกล้กับข้อมือมากเกินไป ต้องเพิ่มความระมัดระวังเมื่อใช้งาน
Award
สำหรับประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ติดตั้งซีพียู Intel Core i7 มาให้จับคู่กับ Nvidia GeForce GT650M แล้ว นับว่าเป็นการจับคู่ที่ให้ประสิทธิภาพสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงตามไปด้วยในตัว พื้นฐานตัวเครื่องมาดีแล้วและได้คะแนนประเมินประสิทธิภาพที่สูงตามไปด้วย พร้อมที่จะอัพเกรดต่อไปได้อีก อย่างนี้นับว่าเป็นเครื่องที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูง
รางวัลนี้ถ้าไม่ให้ก็คงจะแปลก เพราะเทคโนโลยี Ultrabay นั้นไม่ได้พบเจอกันได้บ่อยๆ ในโน๊ตบุ๊คที่วางขายทั่วไปในท้องตลาด และยังถอดเปลี่ยนได้สามแบบ ไม่ว่าจะเป็น Optical Drive Bay, Harddisk Bay, หรือจะเป็น VGA Bay เพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ได้อย่างเต็มที่ สลับไปใช้งานได้ตามใจชอบ
อีกรางวัลสำหรับการออกแบบที่ดุดันของเครื่องนี้ที่ให้ความรู้สึกแข็งแกร่งดุดันเข้ากับลุคของเกมเมอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเหลี่ยมมุมหรือจะเป็นลายตกแต่งคาร์บอนเคฟล่าร์ที่ด้านบนและด้านล่างของตัวเครื่อง รวมถึงลำโพงที่ดีไซน์รูปลักษณ์ออกมาได้ถูกใจเกมเมอร์หลายๆ คนที่ต้องการความเท่ห์มาเป็นอันดับแรก หากมองเผินๆ แล้วอาจจะเข้าใจว่าเป็นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คสำหรับเล่นเกมราคาเกินหกหมื่นแน่นอน
ขอขอบคุณเครื่องรีวิวจากทาง JIB ด้วยครับ
VDO Product Tour
แต่ก่อนจะเข้าสู่บทความรีวิวของ Lenovo IdeaPad Y400?นั้น เราลองมาชมวีดีโอแนะนำที่ทำได้น่าสนใจจากทาง Lenovo?กันดีกว่าครับ เรียกได้ว่าสื่อได้เห็นภาพทีเดียวว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้มันมีความสามารถและฟีเจอร์อะไรบ้าง
Specification
สเปกของ Lenovo IdeaPad?Y400 เครื่องนี้นับว่าเป็นสเปกระดับสูงใช้ได้ โดยเริ่มต้นที่ซีพียูเป็น Intel Core i7-3630QM เป็นซีพียูแบบ 4 Cores 8 Threads สถาปัตยกรรม Ivy Bridge ความเร็วปกติอยู่ที่ 2.40 GHz และสามารถเร่งความเร็วไปได้สูงสุดที่ 3.40 GHz เมื่อต้องใช้งานโปรแกรมที่พึ่งพาการทำงานซีพียูหนักๆ ติดตั้งแรม 8 GB แบบ DDR3 มาจากโรงงานพร้อมกับกราฟิกการ์ดจาก Nvidia GeForce GT650M มีแรมกราฟิกการ์ดอยู่ที่ 2GB แบบ GDDR5 รองรับการทำงานกราฟิกระดับสูงๆ หรือจะเล่นเกมที่ใช้งานกราฟิกการ์ดมากๆ ก็ทำได้หายห่วง อีกทั้งมีฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ทำงาน 5400 RPM ติดตั้งมาให้ด้วย ด้านจอของ Lenovo Y400 มีขนาด 14 นิ้ว เป็นจอแบบ LED ความละเอียดที่ 1366×768 พิกเซล ความละเอียดระดับ HD เติมเต็มอรรถรสในการใช้งานได้เต็มที่ รวมทั้งติดตั้ง HD Webcam เอาไว้ที่เหนือจอ
ในส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อที่ติดตั้งมาให้กับตัวเครื่องนั้น Y400 จะมี USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง USB 3.0 จำนวน 1 ช่อง พร้อมกับ Optical Drive นั้น ถ้าในประเทศไทยจะรองรับ DVD-RW แต่สำหรับสเปกต่างประเทศจะรองรับ Blu-ray ด้วย ?รวมทั้งมีช่องสำหรับเชื่อมต่อ D-Sub/VGA, HDMI, 6-in-1 Card Reader, Bluetooth, LAN, Wifi ติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานของตัวเครื่อง ทว่าไม่ติดตั้งระบบปฏิบัติการมาให้ แต่ขอแนะนำให้ติดตั้ง Windows 8 64-bit ให้ Y400 เครื่องนี้จะดีที่สุด เพราะสามารถรีดประสิทธิภาพได้สูงพร้อมกับมีไดรฟ์เวอร์รองรับแล้ว ส่วนน้ำหนักของตัวเครื่องอยู่ที่ 2.40 กิโลกรัม
Hardware / Design
การออกแบบตัวเครื่องนั้น Lenovo IdeaPad?Y400 ได้รับอิทธิพลจากพี่ Lenovo IdeaPad?Y500 มาเต็มๆ แต่เพียงแค่ย่อขนาดลงมาให้เหลือ 14 นิ้วเท่านั้น วัสดุที่ใช้ประกอบตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมสีดำที่ตัวฐานเครื่องและล้อมกรอบด้วยพลาสติกชั้นดี ด้านหลังและด้านใต้ของตัวเครื่องเป็นพลาสติกแบบพิเศษแต่งลายคาร์บอนเคฟล่าร์พร้อมติดชื่อแบรนด์ผู้ผลิตทำจากอะลูมิเนียมสีเงินเอาไว้ที่มุมบนซ้ายมือให้ความแข็งแรงดูสปอร์ตดุดันเหมือนกับสเปกของตัวเครื่องที่ให้มาเต็มที่ และเมื่อพลิกด้านใต้ของตัวเครื่องขึ้นมา จะเห็นว่าช่องลมเข้าของเครื่องนี้จะมีขนาดใหญ่มาก กินพื้นที่ไปเกือบครึ่งหนึ่งของด้านใต้ตัวเครื่อง
และมีปุ่มสำหรับดึงถอดไดรฟ์ของ Ultrabay ติดตั้งเอาไว้ตรงกลางพอดี สำหรับน็อตยึดเพื่อเปิดตัวเครื่องจะมีเพียง 8 จุดเท่านั้น และในส่วนของฐานขารองรับจอจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักทว่าเป็นวัสดุโลหะให้ความแข็งแรงสูง เพื่อรองรับจอขนาด 14 นิ้วที่ติดตั้งมาให้ และหากสังเกตที่ส่วนเหนือฐานขาจอบริเวณฝาหลังของเครื่องจะสังเกตเห็นว่าการออกแบบจะทำให้มีมุมลาดเอียงเล็กน้อย ให้มิติตัวเครื่องดูดุดันมากกว่าสวยงามคล้ายกับรถซุปเปอร์คาร์สุดหรูราคาแพงที่หลายๆ คนใฝ่ฝันจะเป็นเจ้าของสักคัน และด้านข้างจองตัวเครื่องจะเห็นว่าด้านหน้าบริเวณทัชแพดจะเตี้ยกว่าด้านบนคีย์บอร์ด เพื่อให้ตัวเครื่องโน้มเข้าหาผู้ใช้ได้มากกว่าเดิม
Screen / Speaker
หน้าจอของ Lenovo IdeaPad?Y400 เป็นจอ LED ขนาด 14 นิ้ว ให้ความละเอียดที่ 1366×768 พิกเซล เพื่อให้อรรถรสตอนเล่นเกมหรือดูภาพยนตร์ความละเอียดสูงได้เต็มที่ รวมทั้งการใช้ทำงานในชีวิตประจำวันอีกด้วย หน้าจอให้สีที่ค่อนข้างสดใส แต่อาจจะไม่จัดจ้านเท่ากับจอพาเนล IPS ซึ่งบางคนที่ใช้งานจอที่เป็นพาเนล IPS มาก่อนแล้วได้โอกาสใช้เครื่องนี้แล้ว ก็ออกปากชมว่าสามารถทำได้อย่างน่าพอใจแม้จะเป็นเพียงพาเนล TN แต่ถ้าเทียบกับจอ LED ปกติด้วยกันแล้ว นับว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับดี ส่วนด้านบนของจอจะติดตั้ง HD Webcam เอาไว้ตรงกลาง รวมทั้งมีไฟแสดงสถานะติดตั้งเอาไว้ข้างๆ พร้อมกับไมค์อีกสองช่อง?
สำหรับลำโพงของเครื่องนี้ติดตั้งเป็นลำโพงของ JBL สองตัวซ้ายขวา และติดตั้ง Subwoofer เอาไว้ด้านใต้ตัวเครื่องอีกหนึ่งตัว ออกแบบให้รูปลักษณ์โดดเด่นเป็นพิเศษ สำหรับคุณภาพเสียงนั้นตามมาตรฐานทั่วไปของโน๊ตบุ๊คที่วางตลาดในตอนนี้ แต่เสียงของเครื่องจะดังกว่าเครื่องอื่นๆ ที่วางตลาดมาก และปุ่มเปิดเครื่องจะติดตั้งเอาไว้ที่ลำโพงด้านซ้ายมือ โดยปุ่มจะออกแบบให้เตี้ยกว่าระดับความสูงของแท่นเหนือคีย์บอร์ดเล็กน้อยเพื่อป้องกันเวลาทำความสะอาดแล้วมือพลัดไปถูกแล้วเครื่องเปิดติดขึ้นมา
Keyboard / Touchpad
Lenovo IdeaPad?Y400 เครื่องนี้ติดตั้งคีย์บอร์ดแบบ AccuType Keyboard พร้อมกับระบบ Backlit มาให้ ซึ่งได้รับอานิสงค์เรื่องคีย์บอร์ดจาก ThinkPad มาด้วย เพราะว่า AccuType Keyboard เป็นคีย์บอร์ดที่ติดตั้งอยู่ใน ThinkPad Series เป็นหลัก ด้านความโดดเด่นของคีย์บอร์ดแบบนี้คือคีย์บอร์ดแบบ Rubber Dome ที่ให้ความรู้สึกในการใช้งานเหมือนกับ Mechanical Keyboard ซึ่งจุดเด่นคือตัวปุ่มมีจะโค้งตรงกลาง ให้ความมั่นคงเวลากด ส่วนระยะกดอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร ด้านใต้ของปุ่มจะออกแบบให้เป็นทรงปากยิ้มเพื่อลดการกดผิดไปถูกปุ่มอื่น ความรู้สึกสัมผัสนั้น สำหรับผู้เขียนแล้วเป็นคีย์บอร์ดที่ดีที่สุดเท่าที่เขียนรีวิวมา
สำหรับระบบ Backlit ของ Lenovo IdeaPad?Y400 นั้น กรอบรอบตัวปุ่มคีย์บอร์ดเป็นสีแดงและไฟก็เป็นสีแดง โดยสามารถสั่งเปิดปิดได้ และปรับระดับความสว่างได้สองระดับ เมื่อต้องการกดจะต้องกดปุ่ม Fn ควบคู่กับปุ่ม Spacebar เพื่อปรับแสง โดยแบ่งการกดเป็นสามครั้ง เริ่มต้นที่ปิดการทำงานของไฟ Backlit เมื่อกดครั้งแรกจะเป็นแสงสีแดงเรืองๆ ใต้คีย์บอร์ดและเมื่อกดอีกครั้งจะเปิดแสง Backlit สีแดงให้สว่างเต็มที่ ส่งผลให้ความสะดวกในการทำงานในที่แสงน้อยทำได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนของทัชแพดจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก ออกแบบซ่อนปุ่มกดคลิกซ้ายขวาเอาไว้ด้านใต้แท่นทัชแพดเพื่อความสวยงามและมีเส้นสีแดงขีดแบ่งฝั่งซ้ายขวาเอาไว้ วางตัวจะอยู่ด้านใต้แป้น Spacebar พอดี ทว่าเมื่อใช้งานจริงแล้ว ถ้าไม่ปิดการทำงานของทัชแพดเอาไว้อุ้งมืออาจโดนทำให้เกิดความผิดพลาดเวลาทำงานได้ สำหรับความเร็วในการทำงานของทัชแพดนั้น ต้องแจ้งว่าเครื่องที่ได้รับมาใช้เพื่อเขียนรีวิวนั้น ไดรฟ์เวอร์อาจยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ความเร็วการเลื่อนเคอร์เซอร์ช้า ต้องลากนิ้วมากหน่อย จึงขอแนะนำให้หาเมาส์เพิ่มไว้ใช้งานอีกตัวดีกว่า
Connector / Thin And Weight
เกิดมาเป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสิทธิภาพสูงแล้ว ต้องแลกกับความหนาที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน มิติของตัวเครื่องจึงอยู่ที่?350 x 245 x 15 – 33 มิลลิเมตร (กว้าง x ลึก x หนา) ซึ่งพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อของเครื่องนี้ที่ฝั่งซ้ายมือจากซ้าย จะเป็นปุ่ม?OneKey? Recovery, ช่องสำหรับเชื่อมต่ออะแดปเตอร์, VGA Port, LAN, HDMI, USB 3.0 หนึ่งช่อง
ด้านหน้าของตัวเครื่องด้านซ้ายมือจะมีไฟแสดงสถานะของตัวเครื่องอยู่สี่ดวง จากซ้ายคือไฟแสดงสถานะเปิด/ปิด เครื่อง, ไฟแสดงการเชื่อมต่ออะแดปเตอร์, ไฟแสดงการปิดการทำงานของทัชแพด และไฟดวงสุดท้ายเป็นไฟแสดงสถานะของ Caps Lock และมี 6-in-1 Card Reader ที่รองรับการอ่าน?SD, SD-Pro, MMC, MS, MS-Pro, XD ด้วย
ด้านขวามือเริ่มจากซ้ายจะเป็นช่อง Audio Slot สองช่องสำหรับเชื่อมต่อหูฟังและไมค์ตามลำดับ USB 2.0 สองช่อง โดยช่องสีเหลืองซ้ายมือมีฟังก์ชั่น Sleep and Charge ติดตั้งมาให้ด้วย มี Optical Drive ที่สามารถอ่านแผ่น Blu-Ray ได้ และเขียนอ่านแผ่น DVD-RW ได้ด้วย พร้อมกับช่อง Kensington Lock อีกหนึ่งช่องที่ด้านขวาสุดของตัวเครื่อง
มิติของตัวเครื่องจะใหญ่กว่านิตยสารบ้าง แต่สังเกตว่าขนาดของอะแดปเตอร์นั้นจะใหญ่เป็นพิเศษ เพื่อส่งพลังงานหล่อเลี้ยงกราฟิกการ์ดที่ติดตั้งเอาไว้ในตัวเครื่อง ทำให้น้ำหนักของเครื่องพื้นฐานอยู่ที่ 2.4 กิโลกรัมถ้าหากไม่รวมกับอะแดปเตอร์ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะอยู่ที่ 2.9 กิโลกรัม แต่ว่าประสิทธิภาพให้เต็มที่กว่าหลายเท่าทีเดียว
Ultrabay
ฟีเจอร์โดดเด่นที่ Y400 และ Y500 มีเหมือนกันและเป็นฟีเจอร์โดดเด่นในรุ่นนั่นก็คือ Ultrabay ที่สามารถสลับไปมาระหว่างกราฟิกการ์ด, Optical Drive หรือจะเป็น External Harddisk Drive ก็ได้เช่นกัน แต่ว่า Y400 เครื่องนี้ติดตั้งมาให้เป็น Optical Drive เท่านั้น สำหรับ Nvidia GeForce GT650M ที่จะนำมา SLI กันนั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้เหมือนกับ Y500 ที่ตัด Optical Drive ออกไป ซึ่งวิธีการถอดนั้นทำได้เหมือนกันทั้งสองรุ่น
โดยเริ่มต้นกับการดับเครื่องและปลดล็อคเพื่อถอดแบตเตอรี่ออกมาก่อน เพราะด้านในจะมีสวิตช์ล็อกอีกหนึ่งตัวติดตั้งไม่ให้ Optical Drive หลุดออกมา
ซึ่งหน้าตาของสวิตช์ที่ว่าจะมีหน้าตาเหมือนกับด้านนอกแต่ขนาดเล็กกว่าและซ่อนอยู่ด้านใต้ตัวแผ่นปิดของแบตเตอรี่ ดังนั้นเมื่อจะถอดออกมาก็ต้องเลื่อนมันให้เป็นสีส้มเหมือนกับสวิตช์ด้านข้างเช่นกัน
และเมื่อปลดล็อคเรียบร้อยแล้ว ให้ดึงสวิตช์อีกตัวที่อยู่ตรงกลางช่องอากาศเข้าค้างเอาไว้ แล้วใช้นิ้วมือเกี่ยวที่ร่องบากของ Optical Drive แล้วดึงออก ตรงนี้ต้องใช้แรงสักเล็กน้อย เพื่อให้ไดรฟ์หลุดออกมา และตอนสุดท้ายก่อนที่ไดรฟ์จะออกมาจนสุดนั้น ถ้าดึงออกตรงๆ แรงๆ ครั้งเดียวจะทำให้เขี้ยวเกี่ยวอีกตัวหนึ่งที่ติดเอาไว้เสียหายได้ เวลาดึงออกต้องระวังตรงนี้แล้วค่อยๆ ขยับหาช่องมันสักนิดถึงจะดึงออก วิธีการง่ายๆ คือ ดึงตัวไดรฟ์เฉไปซ้ายขวาเล็กน้อยสองสามครั้ง
หน้าตาของไดรฟ์จะออกมาเป็นแบบนี้โดยการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ mSATA และพร้อมจะนำกราฟิกการ์ดเข้ามาเชื่อมต่อเพื่อใช้งานระบบ SLI ได้ไม่มีปัญหา แต่ทว่ากราฟิกการ์ด Nvidia GeForce GT650M จาก Y500 นั้น ไม่สามารถนำมาติดตั้งให้กับ Y400 ได้ เพราะการออกแบบนั้นแตกต่างกัน ต้องซื้อกราฟิกการ์ดแยกต่างหากอีกหนึ่งชิ้น สนนราคาอยู่ที่ 4,000 บาท โดยในแพคเกจจะมีกราฟิกการ์ด Nvidia GeForce GT650M กับอะแดปเตอร์จ่ายไฟอีกหนึ่งชุด แต่ว่าในตอนนี้ต้องรอสินค้าเข้าสู่ตลาดเสียก่อนนะ
Performance / Software
ซีพียูของ Y400 ติดตั้งมาให้เป็น Intel Core i7-3630QM ให้ความเร็ว 2.4 GHz เร่งความเร็วได้สูงสุด 3.40 GHz พร้อมกับ L3 cache 6 MB เป็นสถาปัตยกรรม Ivy Bridge และเป็นซีพียูแบบ 4 Cores 8 Threads ตามแบบฉบับของซีพียูแนวหน้าจาก Intel นั่นเอง ค่า TDP อยู่ที่ 45W?
ในส่วนของ cache ก็มีให้ 6 MB ดังที่กล่าวไป และทำงาน 12-way
ซึ่งแน่นอนว่าแรมที่ติดตั้งมาให้นั้น เป็นแบบ DDR3 ขนาด 8 GB ส่วนของ BUS อยู่ที่ 800 MHz รองรับการอัพเกรดในภายหลังได้สูงถึง 16 GB?
สำหรับกราฟิกการ์ดติดตั้งมาให้เป็น Nvidia GeForce GT650M อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว กราฟิกการ์ดแรมอยู่ที่ 2 GB แบบ GDDR5 รองรับ DirectX 11 พร้อมกับมีค่า Bus Width ที่ 128 Bit พร้อมรองรับการทำงานกราฟิกหนักๆ ได้สบายมาก
ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาให้มีความจุ 1 TB พร้อมกับความเร็วทำงานที่ 5400 RPM ให้ความเร็วเฉลี่ยที่ 80 MB/Sec
ซึ่งได้ผล Windows Experince Index ที่ระดับนี้ นับว่าซีพียู กราฟิกการ์ด แรม ทั้งหมดอยู่ในระดับสูงแล้ว ขาดแค่ฮาร์ดดิสก์ที่ยังอยู่ในระดับทั่วไปเท่านั้น
3DMark 06 กับคะแนน 15,843 คะแนน ถือว่าแรงเอาเรื่องทีเดียว ซึ่งในส่วนของค่าความแตกต่างของคะแนนผลทดสอบนั้น?อาจเกิดจากความสมบูรณ์ของไดรฟ์เวอร์ที่อยู่ในตัวระบบปฏิบัติการเอง ซึ่ง Y480 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 นั้นมีไดรฟ์เวอร์ที่สมบูรณ์กว่า Y400 ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 ในส่วนนี้ต้องรอการปรับปรุงแก้ไขจากทาง Lenovo ต่อไป เพื่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในภายหลัง
แม้ไดรฟ์เวอร์ของระบบปฏิบัติการจะยังไม่สมบูรณ์ แต่กลับได้คะแนนใกล้เคียงกับเครื่องที่มีระบบไดรฟ์เวอร์สมบูรณ์กว่าและเกิดความแตกต่างเพียงหลักร้อยนั้น นับว่าอนาคตสำหรับการปรับปรุงระบบไดรฟ์เวอร์นั้นยังมีความหวังอยู่อีกมากทีเดียว
?3DMark 07 ทำได้ถึง 3,111 คะแนน
3DMark 11 กับคะแนน 2,303 คะแนน?
3DMark Vantage ได้สูงถึง 10,010 คะแนน
ได้คะแนน CINEBENCH 11.5 64-bit มาสูงระดับนี้ โดยคะแนนต่อหัว 1.42 คะแนน รวมแล้วได้ 6.40 คะแนน ส่วน OpenGL ได้ที่ 41.84 Fps แรงสบายใจ งานกราฟิกพร้อมได้ทุกเมื่อ
สำหรับความร้อนที่เกิดกับกราฟิกการ์ดอยู่ที่ 73 องศาเซลเซียส เมื่อเทสด้วยโปรแกรม FurMark
ตามธรรมเนียมด้วย Street Fighter IV Benchmark กับคะแนนสูงลิบลิ่ว 19,244 คะแนน และค่า Fps 172.13 Fps แรงจนฉุดไม่อยู่เลยทีเดียว
สำหรับส่วนของ Resident Evil 5 Benchmark จะได้ถึง 113.6 Fps พร้อมไปลุยทุกสถานการณ์กันแล้ว
เกมใหม่ๆ อย่าง Sleeping Dog Benchmark ที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 126.6 Fps และเฉลี่ยที่ 83.5 Fps นับว่าเกมที่ออกมารุ่นใหม่ๆ ต้องการสเปกของเครื่องที่สูงพอสมควรเพื่อใช้งานนั้น Lenovo Y400 เครื่องนี้ก็สามารถเปิดเล่นได้อย่างไม่มีปัญหาแน่นอน?
Battery / Heat / Noise
ส่วนของแบตเตอรี่ของเครื่องจะเป็นแบตเตอรี่แบบ Li-ion ความจุ 6,080 mAh แบบ 6-cell อยู่ข้างใน ให้การทำงานต่อเนื่องได้ยาวนานสมตัว ซึ่งถ้าหากเล่นเกมก็ควรต่ออะแดปเตอร์ไว้ดีกว่า สำหรับส่วนระบายความร้อนของตัวเครื่องนั้นติดตั้งเอาไว้ด้านซ้ายมือ เป็น Heat Sink ขนาดใหญ่ชัดเจน แต่เมื่อใช้งานธรรมดากลับไม่ส่งเสียงรบกวนดังนัก แต่เมื่อเล่นเกมก็จะได้ยินเสียงชัดระดับหนึ่ง
ในแง่ของความยาวนานในการใช้งานเมื่อทดสอบใช้งานแบบปกติ ปรับค่าแสงสว่างที่หน้าจอเต็มที่และใช้ทำงาน ฟังเพลง เล่นเน็ตแล้วได้ผลดังกราฟของโปรแกรม BatteryMon ที่แสดงอยู่ตรงหน้า โดยถ้าสแตนด์บายเอาไว้อย่างเดียวจะได้ 4 ชั่วโมง 21 นาที และใช้งานดังกล่าวผ่านไปสามสิบนาที แบตเตอรี่ลดลงไป 19% และสามารถใช้งานต่อได้อีก 3 ชั่วโมง 24 นาที นับว่าระบบจัดการพลังงานของซีพียูทำออกมาได้ดี เพราะเครื่องนี้ไม่มีระบบ Nvidia Optimus เพื่อสลับการทำงานจากกราฟิกการ์ดแยกไปเป็นออนบอร์ดเพื่อประหยัดพลังงาน แต่ยังใช้งานต่อเนื่องได้ระดับนี้แล้ว ก็น่าปรบมือให้จริงๆ
อุณหภูมิทั่วไปของตัวเครื่องอยู่ที่ช่วง 33-36 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อรีดประสิทธิภาพแล้ววัดความร้อนดูแล้ว ส่วนที่ร้อนจะเป็นฝั่งซ้ายของตัวเครื่องและด้านใต้ของคีย์บอร์ดที่ติดตั้งเมนบอร์ดเอาไว้ที่มีความร้อนสูงกว่าที่อื่น โดยเฉพาะที่ฝั่งซ้ายส่วนของ Heat Sink จะร้อน 55.6 องศาเซลเซียส และเสียงเมื่อรีดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จะได้ยินเสียงพัดลมระบายความร้อนชัดเจนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับการทำงานเต็มประสิทธิภาพ แต่สำหรับความร้อนที่ได้นั้นกลับไม่สูงมาก ยังใช้งานต่อได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะพัดลมระบายอากาศและ Heat Sink ที่ติดตั้งไว้ทางด้านซ้ายนั่นเอง
Conclusion / Award
Lenovo IdeaPad Y400 สามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการใช้งานกราฟิกหรือเล่นเกมในขนาดตัวเครื่องที่พกพาได้ เพราะขนาดตัวเครื่อง 14 นิ้ว มาตรฐาน แต่ติดตั้งสเปกภายในมาให้เต็มที่ ไม่ว่าจะ Intel Core i7 กับกราฟิกการ์ดระดับสูงอย่าง Nvidia GeForce GT650M พร้อม VRAM 2 GB ที่เล่นเกมได้เต็มที่ ฮาร์ดดิสก์จุ 1 TB เพื่อให้เก็บไฟล์ ติดตั้งโปรแกรมและเกมได้อย่างเต็มที่ มีฟีเจอร์ Ultrabay ให้สลับการทำงานไปมาระหว่าง Optical Drive Bay เพื่อเรียกใช้งานแผ่น DVD ได้, Harddisk Bay เมื่อต้องการแยกเก็บไฟล์สำคัญออกไปได้โดยไม่ต้องนำฮาร์ดดิสก์ลูกดังกล่าวไปใส่กล่อง, VGA Bay ในวันที่ต้องการสวมวิญญาณนักเล่นเกมมือฉมังก็ทำได้
ดีไซน์ภายนอกดูแข็งแรงมีพลังรวมทั้งฟีเจอร์น่าใช้อย่าง AccuType Keyboard ที่รองรับการใช้งานแบบทั่วไปและเล่นเกมได้อีกด้วย แม้จะไม่ถึงขั้น steelseries ที่ติดตั้งมาให้ใน MSI ที่มีการปรับปรุงการวางตัวและขนาดของปุ่มบนคีย์บอร์ดรวมทั้งไฟที่จะแสดงว่าปุ่มไหนใช้งานหรือไม่ใช้งานเพื่อเกมเมอร์โดยเฉพาะขนาดนั้นแล้ว ต้องนับว่าคีย์บอร์ดนี้ให้สัมผัสในการใช้งานที่ดีมาก เน้นการใช้งานที่รอบด้านมากกว่าที่จะเน้นไปทางการเล่นเกมเป็นหลัก
ถ้าสงสัยว่าคนกลุ่มไหนที่เหมาะกับ Lenovo IdeaPad Y400 เครื่องนี้ ก็ตอบได้ง่ายๆ ว่า กลุ่มเกมเมอร์ที่ต้องการพกพา แต่ก็ต้องการเล่นเกมที่ต้องใช้งานกราฟิกการ์ดที่แรงระดับที่เล่นเกมที่ใช้ทรัพยากรมากขึ้นและมีเพื่อนเกมเมอร์ด้วยกันที่ชอบจัดปาร์ตี้เล่นเกมแล้วชวนเจ้าของเครื่องไปร่วมวงด้วยบ่อยๆ อาจจะเป็นนักวาดที่ต้องการโน๊ตบุ๊คทำงานกราฟิกแรงๆ และต้องไปทำงานนอกสถานที่ กระทั่งสถาปนิกกับวิศวกรที่ทำงานกับโปรแกรมสถาปนิกที่พึ่งพาสเปกเครื่องค่อนข้างมาก นับว่าเข้ากลุ่มทั้งนั้น แต่ถ้าท่านไหนอยากได้ก็ไม่ขัดศรัทธาเช่นกัน สนนราคาก็ที่ 31,900 บาท เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 14 นิ้วที่น่าสนใจมากๆ ทีเดียว
ข้อดี
- AccuType Keyboard ให้สัมผัสที่ดีมั่นคงแข็งแรงและให้ประสบการณ์ใช้งานน่าพอใจ ปรับระดับแสงได้สามระดับ
- การออกแบบตัวเครื่องล้ำสมัยให้ความเท่ห์ดุดันเต็มที่ ตกแต่งลายคาร์บอนเคฟล่าร์เอื้อให้เกมเมอร์เต็มที่
- กราฟิกการ์ด Nvidia GeForce GT650M ที่แรงสุดในกลุ่ม GT Series พร้อมรองรับการทำงานกราฟิกขั้นสูงหรือเกมที่ต้องการสเปกแรงๆ
- Ultrabay ที่ติดตั้งเข้ามาในโน๊ตบุ๊คระดับราคานี้ถือเป็นความแปลกใหม่ ยังรองรับการสลับเปลี่ยนไปใช้ระบบ SLI กับ?Nvidia GeForce GT650M อีกตัว หรือจะเป็น External Harddisk ก็ได้ และเชื่อมต่อแบบ mSATA
- ระบบระบายความร้อนจัดการได้ดี ทำให้อุณหภูมิของตัวเครื่องไม่ร้อนมากเกินไปแม้จะใช้งานเต็มประสิทธิภาพแล้วก็ตาม
- งานประกอบตัวเครื่องทำออกมาได้ดีเรียบร้อย วัสดุที่เลือกใช้ให้ความแข็งแรงสูงเช่นอะลูมิเนียมกับพลาสติกชั้นดี
- USB พร้อมติดตั้งฟังก์ชั่น Sleep And Charge มาให้พร้อมชาร์จพลังงานให้อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ ได้ทันที
ข้อสังเกต
- USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง ขณะที่ USB 3.0 ติดตั้งมาให้ 1 ช่องเท่านั้น ซึ่งควรจะเป็น USB 3.0 ทั้งหมดแล้ว
- เสียงลำโพงยังไม่ประทับใจเท่าที่ควร ยังอยู่ในระดับเครื่องมาตรฐานตลาดทั่วๆ ไป
- ไฟแสดงสถานะติดตั้งซ่อนเอาไว้ใต้ข้อมือซ้าย มองหายากเมื่อต้องการดูสถานะ และไม่ติดตั้งไฟแสดงสถานะการทำงานมาให้
- ช่องเชื่อมต่อต่างๆ อยู่ใกล้กับข้อมือมากเกินไป ต้องเพิ่มความระมัดระวังเมื่อใช้งาน
Award
สำหรับประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ติดตั้งซีพียู Intel Core i7 มาให้จับคู่กับ Nvidia GeForce GT650M แล้ว นับว่าเป็นการจับคู่ที่ให้ประสิทธิภาพสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงตามไปด้วยในตัว พื้นฐานตัวเครื่องมาดีแล้วและได้คะแนนประเมินประสิทธิภาพที่สูงตามไปด้วย พร้อมที่จะอัพเกรดต่อไปได้อีก อย่างนี้นับว่าเป็นเครื่องที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูง
รางวัลนี้ถ้าไม่ให้ก็คงจะแปลก เพราะเทคโนโลยี Ultrabay นั้นไม่ได้พบเจอกันได้บ่อยๆ ในโน๊ตบุ๊คที่วางขายทั่วไปในท้องตลาด และยังถอดเปลี่ยนได้สามแบบ ไม่ว่าจะเป็น Optical Drive Bay, Harddisk Bay, หรือจะเป็น VGA Bay เพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ได้อย่างเต็มที่ สลับไปใช้งานได้ตามใจชอบ
อีกรางวัลสำหรับการออกแบบที่ดุดันของเครื่องนี้ที่ให้ความรู้สึกแข็งแกร่งดุดันเข้ากับลุคของเกมเมอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเหลี่ยมมุมหรือจะเป็นลายตกแต่งคาร์บอนเคฟล่าร์ที่ด้านบนและด้านล่างของตัวเครื่อง รวมถึงลำโพงที่ดีไซน์รูปลักษณ์ออกมาได้ถูกใจเกมเมอร์หลายๆ คนที่ต้องการความเท่ห์มาเป็นอันดับแรก หากมองเผินๆ แล้วอาจจะเข้าใจว่าเป็นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คสำหรับเล่นเกมราคาเกินหกหมื่นแน่นอน