กลับมากับการรีวิวโน๊ตบุ๊คของ Notebookspec เราอีกเช่นเคย คราวนี้เรามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรีวิวไปเล็กน้อย เรียกว่าเปลี่ยนรับศักราชใหม่เลยก็ว่าได้ โดยจะเริ่มจากโน๊ตบุ๊คที่ชื่อสุดเท่อย่าง Samsung Series 7 Chronos หรือที่มีรหัสโมเดลว่า NP700Z4A จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้างเราไปดูกันเลย
รูปโฉมแรกเริ่มที่เห็น ต้องขอบอกว่าดูดีทีเดียว ไล่มาจากฝาหลัง เข้ามาบอดี้ภายใน รวมไปถึงด้านข้าง ด้านหน้า ด้านล่าง นับว่า Samsung เก็บงานมาได้ดีทีเดียวกับ Samsung Series 7 เครื่องนี้ โดยจุดเด่นที่เด่นที่สุดก็คือจอที่ให้มา เพราะมันเป็นจอด้านขนาด 15 นิ้ว ทั้งๆที่ตัวเครื่องมีขนาด 14 นิ้วเท่านั้น ดังจะสังเกตได้จากขอบจอที่เล็กกว่าตามเครื่องรุ่นอื่นๆทั่วไป ทำให้สามารถใส่จอที่ใหญ่ขึ้นได้ ส่วนบอดี้โดยรวมนั้น จัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มของโน๊ตบุ๊ค Premium ได้เลย เนื่องด้วยดูดีทั้งดีไซน์และประโยชน์ในการใช้งานที่ครบครัน พอร์ตเชื่อมต่อก็ให้มาพอดีใช้งาน อีกทั้งระบบภายในก็ช่วยอำนวยความสะดวกเต็มที่ อย่างเช่นระบบ Express Cache ที่เข้ามาช่วยให้การเปิดใช้งานโปรแกรมเร็วขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถใช้งานแบตได้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้ยังมี Battery Life Extender ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ให้อยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้นอีกต่างหาก เรียกได้ว่าครบถ้วนทีเดียวสำหรับ Samsung Series 7 เครื่องนี้
แต่เนื่องด้วยดีไซน์ที่อาจจะดูคลับคล้ายคลับคลาซักเล็กน้อย ก็ต้องบอกว่า Samsung น่าจะได้แรงบันดาลใจมาไม่มากก็น้อย ซึ่ง Samsung ก็นำเอาข้อดีของการดีไซน์เหล่านั้นมาปรับใช้กับ Samsung Series 7 ของตนได้ดี ทำให้มันกลายเป็นคู่ชกที่พอฟัดพอเหวี่ยงกับเจ้าของดีไซน์ได้เลย แต่ก็แน่นอนว่ามันย่อมมีจุดที่ต่างด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะได้เห็นจากในรีวิวนี้ละครับ เชิญติดตามต่อได้เลย
*** สเปกของเครื่องทดสอบไม่ตรงกับสเปกที่ขายจริงนะครับ ***
สเปกของ Samsung Series 7 นี้จัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คแรงเครื่องหนึ่งเลยทีเดียว เริ่มด้วย CPU ที่เป็น Intel Core i5-2430M (ในเครื่องทดสอบจะเป็น i5-2520M ซึ่งแรงกว่าเครื่องที่ขายนิดหน่อย) ซึ่งก็แรงเกินพอสำหรับใช้งานทั่วไป จะใช้เล่นเกมก็ยังได้ไม่มีปัญหา เรียกได้ว่าเป็น CPU ที่คุ้มค่าตัวหนึ่ง ถัดมาเป็นการ์ดจอที่ Samsung ใส่การ์ดจอระดับค่อนข้างสูงอย่าง AMD Radeon HD 6750M มาให้เลย ดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องเกม เจ้านี่รับมือได้อยู่แล้ว อาจจะปรับได้โดยรวมอยู่ในระดับกลางค่อนไปทางสูง แรมของเครื่องก็ให้มาเป็น DDR3 8 GB เกินพอสำหรับทำงานปกติไปเลย โดยตัวเครื่องจะมีช่องใส่แรมแค่สล็อตเดียว เพราะตัวบอร์ดจะมีแรมติดตั้งมาให้อยู่แล้ว 4 GB (ไม่แน่ชัดว่าแรมฝังมาบนบอร์ดหรือซ่อนอีกแผงหนึ่งไว้) แหล่งเก็บข้อมูลอย่าง HDD ก็ให้มาเป็น 750 GB 7200 RPM เลยทีเดียว? จุดเด่นที่สุดของสเปกก็คือจอที่ให้มาเป็น จอด้าน 15 นิ้ว ความละเอียด 1600 x 900 พร้อมความสว่างสูงสุดถึง 300 nit ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Samsung อยู่แล้ว เรียกว่าจัดเต็มจริงๆกับเรื่องจอ
นอกจากนี้ยังให้พอร์ต USB 3.0 มาถึง 2 พอร์ตเลย จากที่ในเครื่องปกติมักจะให้มาแค่พอร์ตเดียวเท่านั้น น้ำหนักของตัวเครื่องอยู่ที่ 2.15 Kg เรียกได้ว่าพอๆกับโน๊ตบุ๊คจอ 14 นิ้วทั่วไป สุดท้ายก็ปิดด้วยราคา 41,500 บาท ถ้าดูจากสเปกที่ได้แล้ว ก็จัดได้ว่าคุ้มใช่เล่นเลยทีเดียว สำหรับคนที่อยากใช้ Windows และต้องการเล่นเกม แต่ก็ต้องการเครื่องที่ดู Premium กว่าเครื่องทั่วไป
มาดูบอดี้กันบ้างว่า Samsung Series 7 เครื่องนี้จะเป็นอย่างไร
เริ่มกันจากฝาหลัง วัสดุที่ใช้เป็นอะลูมิเนียมขัดลายสีเทา ดูหรูหราสะดุดตา มีตรา Samsung ตอกติดมาทางด้านซ้ายของฝา ความแข็งแรงของฝานั้นดีเยี่ยมทีเดียว
ไล่ลงมาตั้งแต่จอ โดยขอบบนของจอจะมีแถบยางยาวไปตลอดแนว เพื่อช่วยซับแรงกระแทกเวลาที่ปิดฝาจออยู่ ถือว่าดีทีเดียวที่ใช้แถบยางยาวเป็นแนวเช่นนี้ ลงมานิดก็จะเป็นกล้องเว็บแคมความละเอียด 1.3 MP ความคมชัดก็อยู่ในระดับกลางๆของกล้องโน๊ตบุ๊ค ส่วนจอนั้นก็อย่างที่ได้กล่าวถึงไปแล้วคือมีขนาด 15 นิ้ว ความละเอียด 1600 x 900 ประกอบกับความที่เป็นจอด้าน ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างสบายตา เวลาทำงานก็สบายใจ เพราะพื้นที่ของจอที่เพิ่มมากขึ้น จะเปิด browser เปิดเอกสารพิมพ์งานไปพร้อมกันก็สะดวกเป็นอย่างยิ่ง ส่วนบอดี้ภายในนั้นจะเป็นพลาสติกแทบทั้งหมด จะมีก็แต่แผงที่ต่างระดับลงไปตรงบริเวณ keyboard เท่านั้นที่เป็นอะลูมิเนียม ทั้งนี้ก็เพื่อการระบายความร้อนที่ดีของภายในตัวเครื่อง
บานพับจอของ Samsung Series 7 นั้นทำออกมาได้ดี สามารถเปิดจอขึ้นมาโดยใช้มือเดียวได้อย่างไม่มีปัญหา
keyboard ของ Samsung Series 7 นั้นมาในแบบของ chiclet สามารถพิมพ์ได้ง่าย ขนาดของปุ่มกำลังพอดี จะมีก็แต่ปุ่มลูกศรทั้ง 4 เท่านั้นที่ดูจะเล็กไปซักหน่อย ส่วนตัวอักษรภาษาไทยนั้นในรุ่นขายจริงรับรองว่ามีมาด้วยอย่างแน่นอน และส่วนที่เด่นอีกจุดหนึ่งก็คือมันมีไฟ Backlit ที่แต่ละปุ่มให้ด้วย ซึ่งสามารถควบคุมว่าจะเปิดหรือปิด และปรับระดับความสว่างได้ด้วยปุ่ม fn+F9 เพื่อลดความสว่าง และ fn+F10 เพื่อเพิ่มความสว่าง นอกจากนี้ยังมีปุ่ม Fn Lock มาให้ด้วย หน้าที่ของมันก็คือปิดการทำงานของปุ่ม fn เหมาะสำหรับคนที่ต้องปรับการใช้งานพวกปรับความสว่างจอ, ความสว่างไฟ Backlit หรือปรับเสียงบ่อยๆ เพราะมันจะทำให้เราไม่ต้องกดปุ่ม fn ในขณะที่ต้องกดปุ่มบรรดา F1 ? F12 ทั้งหลายไปพร้อมๆกัน
ความรู้สึกที่ได้จากการใช้งาน : สัมผัสที่ได้จากการพิมพ์จัดได้ว่าน่าพอใจ ปุ่มกดง่าย มีเสียงขณะกดน้อยมาก ไฟสว่างดี ใช้งานในที่มืด ถ้าปรับความสว่างสูงสุดรับรองว่าแยงตาแน่นอน
เทียบแสงสว่างกันระหว่างปิดไฟ (ซ้าย) และเปิดไฟ (ขวา) สังเกตจากไฟใต้ปุ่มเอานะครับ
เหนือ keyboard ขึ้นไปนิดนึงจะมีช่องระบายความร้อนของเครื่องอยู่ตรงกลาง ส่วนที่ขนาบ 2 ข้างซ้ายขวานั้นเป็นช่องลำโพงครับ
ความรู้สึกที่ได้จากการใช้งาน : เสียงที่ได้จากลำโพงมีความขุ่นๆเล็กน้อย ไม่ใสเหมือนกับบางรุ่นในบางแบรนด์ที่ได้รับการการันตีมาทั้งหลาย โทนเสียงต่ำก็พอโอเคอยู่ การแยกชิ้นเครื่องดนตรียังทำได้ไม่เด็ดขาดนัก ความดังของเสียงก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สวิตช์เปิด/ปิดเครื่องจะเป็นแท่งอะลูมิเนียมโผล่ขึ้นมาจากบอดี้เครื่องซึ่งอยู่ทางมุมขวาบนของ keyboard ดูมีสไตล์ในแบบของ Samsung ใกล้ๆกันนั้นมีปุ่มดีดแผ่น DVD ออก ซึ่งใช้เป็นปุ่มเดียวกับปุ่ม Delete ซึ่งถ้าไม่ได้ใช้งาน Fn lock ผู้ใช้ก็จะต้องกดปุ่ม fn+Delete แผ่นถึงจะถูกดีดออกมา ส่วนมุมขวาล่างของ keyboard ก็เป็นตำแหน่งประจำของสติ๊กเกอร์ ซึ่งน่าแปลกใจว่าทำไมถึงใช้สติ๊กเกอร์ ATi มา ทั้งที่น่าจะเป็น AMD ได้แล้ว แต่การ์ดจอข้างในของแท้ไม่มีย้อมแมวแน่นอนจ้า
ทัชแพดที่ใช้เป็นแบบรองรับการใช้งานแบบมัลติทัช ลักษณะเป็นแผ่นเดียว โดยตัวแผ่นจะทำหน้าที่เป็นปุ่มคลิกซ้าย/ขวาในตำแหน่งเดียวกันกับทัชแพดปกติ ขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป
ความรู้สึกที่ได้จากการใช้งาน : ใช้งานลำบากไปนิดเพราะถ้าจะคลิกขวาต้องกดปุ่มลงไป ไม่สามารถใช้การแท็บด้วย 2 หรือ 3 นิ้วเพื่อคลิกขวาได้ ความแม่นยำอยู่ในระดับที่ดี
ด้านหน้าของตัวเครื่องมีจุดสำคัญคือช่อง Card reader ที่อยู่ทางฝั่งซ้าย ส่วนตรงกลางเครื่องจะมีการทำเป็นร่องไว้สำหรับใช้นิ้วดันจอขึ้นมา ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้ดีทีเดียว
ฝั่งขวาก็จะมีพอร์ต USB 2.0 และช่อง DVD Writer แบบ slot-loading
ฝั่งซ้ายจะมีช่อง Kensington Lock, ช่องเสียบสาย adapter, HDMI, LAN, USB 3.0 ที่จัดมาให้ 2 พอร์ตเต็มๆ, DisplayPort ก็มีแบบ mini มาให้ ปิดท้ายด้วยช่องเสียบหูฟังและไมค์ที่รวมมาเป็นช่องเดียวกัน
ส่วนด้านหลังไม่มีพอร์ตใดๆเลย แม้กระทั่งช่องระบายความร้อนก็ไม่เห็นเช่นกัน
พลิกมาดูที่ด้านล่างของเครื่อง จะเห็นว่าไม่มีฝาเปิดเพื่อเข้าไปดูภายในเลย มีก็แต่ฝาเปิดช่องใส่แรมเท่านั้น ทำให้เราสามารถอัพเกรดด้วยตนเองได้แค่แรม ส่วน HDD นั้นคงต้องส่งศูนย์ละครับถ้าจะทำการอัพเกรดเครื่อง ส่วนเรื่องของช่องระบายความร้อนนั้น จัดได้ว่าไม่เยอะมากนัก แต่แต่ละช่องก็ค่อนข้างยาวพอสมควร ดังนั้นน่าจะไม่มีปัญหาเรื่องความร้อนมากนัก
ที่ด้านล่างของตัวเครื่องใช่ว่าจะเรียบจนไม่มีอะไรนะครับ เพราะมันยังมีรายละเอียดซ่อนอยู่ อย่างในภาพซ้ายจะเห็นมีช่องเล็กๆอยู่ ช่องนี้มีไว้สำหรับตัดไฟจากสายชาร์จเข้ายังแบตแบบฉุกเฉิน ส่วนรูปมุมขวาล่าง ช่องตะแกรงที่เห็นนั้นเป็นช่องสำหรับ subwoofer ที่ซ่อนอยู่ในตัวเครื่อง ซึ่งถ้าให้ประเมินจากความหนาของเครื่องแล้ว คาดว่า subwoofer น่าจะมีขนาดได้ไม่ใหญ่มากนัก
adapter ของ Samsung Series 7 นี้มีขนาดที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับของหลายรุ่นๆใหญ่ที่เคยเห็นมา อีกทั้งยังเบา ทำให้พกพาได้ง่าย
ลองทดสอบจอความสว่างสูงสุดกลางแจ้งแบบแดดแรงสุดๆดู พบว่าพอสู้แสงได้บ้าง แต่ข้อดีที่เหนือกว่าจอกระจกอย่างชัดเจนคือมันไม่มีแสงสะท้อนจากจอออกมาแยงตาผู้ใช้เลย
พอขยับเข้ามาใช้งานในที่ร่มลงมานิดหนึ่ง แต่แสงยังค่อนข้างมากอยู่ จะเห็นได้ว่าสามารถมองภาพในจอได้ค่อนข้างชัดเจน ส่วนถ้าทำงานเอกสารที่หน้าจอเป็นสีขาวนี่ไม่ต้องห่วงเลยครับ ทำงานได้สบายๆ
หน้าต่อไปเชิญพบกับผลเทสของ Samsung Series 7 กันเลยครับ
หลักๆแล้ว Samsung Series 7 จะมีแถบ launcher ซึ่งเราสามารถเรียกขึ้นมาได้โดยกดปุ่ม fn+F1 ซึ่งในแถบนั้นจะมีไอคอนหลักๆอยู่ 6 ตัว และผู้ใช้ยังสามารถลากไอคอนอื่นๆลงไปในช่องเพื่อทำเป็นแถบ launcher คล้ายๆกับใน OS X ได้ด้วย
โปรแกรมของ Samsung เองนั้นก็มีให้ปรับได้หลายด้านทีเดียว เริ่มจากแถบ General ที่มีหลายส่วนที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเปิด/ปิดฟังก์ชัน USB Charging ที่สามารถชาร์จไฟให้มือถือได้แม้ขณะเครื่องปิด Battery Life Extender ถ้าเปิดฟังก์ชันนี้ เครื่องจะลิมิตไว้ว่าสามารถชาร์จไฟเข้าแบตได้แค่ 80% ทั้งนี้ก็เพื่อยืดระยะเวลาการครบรอบของ charge cycle ออกไป Fast Start นั้นใช้สำหรับเปิด/ปิดโหมด Hybrid Sleep ที่จะช่วยให้เวลาเปิดเครื่องมาจากการ Sleep ทำได้เร็วขึ้น จากการทดสอบพบว่าใช้เวลาแค่ 2-3 วินาทีเท่านั้นก็สามารถกลับมาใช้งานเครื่องได้แล้ว ส่วน Silent Mode นั้น ใช้สำหรับเปิด/ปิดการทำงานของพัดลมระบายอากาศในกรณีที่ต้องการความเงียบในการทำงาน ถ้าใช้งานปกติก็แนะนำว่าเปิดพัดลมให้ทำงานดีกว่าครับ เพราะเสียงก็ไม่ได้ดังมากนัก
ในส่วน Power Management จะมีให้ปรับรูปแบบการใช้พลังงานได้ และยังมีแสดงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องปล่อยออกมาให้เห็นกันด้วย ถือว่าค่อนข้างแปลกใหม่ทีเดียว
จะปรับการทำงานของ Wireless ก็สามารถมาปรับได้จากตรงนี้เลย รวมถึงเลือกเปิด/ปิดฟังก์ชัน Mobile Access Point ได้อีกด้วย (ตัวนี้จะไปควบคุม Intel My WiFi อีกที)
แม้แต่การเชื่อมต่อผ่าน LAN ก็มีมาให้ตั้งค่าเกี่ยวกับ IP Address ด้วย
ส่วนนี้ก็มีการตั้งค่าเหมือนกับใน Windows ครับ แต่เป็นการจับรวมมาเลย ทำให้เรียกใช้งานได้ง่าย
ในโปรแกรม Easy Settings ยังมีตัวช่วยปรับรูปแบบของเสียงเช่นเดียวกับ Equalizer มาให้ด้วย
ส่วนการ Support ก็มีหน้าโปรแกรมรวบรวมมาให้เป็นหน้าเดียวเลย ช่วยให้สามารถอัพเดต, จัดการ System Restore และมีคู่มือการใช้งานมาให้พร้อมสรรพ
วิดีโอแสดงความเร็วในการใช้งาน Samsung Series 7
เพื่อจะให้ได้เห็นความเร็วในการทำงานทั้งการบู๊ตเครื่อง การเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรม รวมไปถึงการเล่นเกมด้วย จะเป็นอย่างไรไปดูจากคลิปด้านล่างนี้เลยครับ
?
?
Windows ที่ติดตั้งมาในเครื่องทดสอบเป็น Windows 7 Professional SP1 64-bit ดังนั้นไม่ต้องห่วงเลยว่าจะใช้งานเครื่องได้ไม่เต็มที่
คะแนนของ Samsung Series 7 ที่ได้จาก Windows 7 อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี โดยเฉพาะ CPU และแรมที่คะแนนแตะหลัก 7
*** CPU ในเครื่องทดสอบจะไม่ตรงกับเครื่องที่ขายจริงนะครับ ***
CPU ที่ติดตั้งมาเป็น Intel Core i5-2520M ที่มาบนสถาปัตยกรรมระดับ 32nm ความเร็วในการทำงานพื้นฐานอยู่ที่ 2.50 GHz มาพร้อมคอร์ในการประมวลผล 2 คอร์ 4 เธรดการประมวลผล
แรมที่ติดตั้งมามีขนาดทั้งหมด 8 GB ด้วยกัน เกินพอสำหรับการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว
การ์ดจอที่ติดตั้งมาใน Samsung Series 7 ก็คือ AMD Radeon HD 6750M ด้วยแร