โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop มันเป็นอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ใช้เวลาในการคำนวณประมาณ? 1 นาที แต่ก็เร็วกว่า AMD C-50 ใน ASUS Eee PC 1015B อยู่ถึงเกือบ ๆ 15 วินาทีเลย
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวณเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวณได้พร้อมกัน
ใช้เวลาในการคำนวณ Hyper Pi ประมาณ 1 นาที 2 วินาทีครับ ก็แทบไม่ต่างจาก Super PI ที่ใช้คอร์เดียวสักเท่าไร
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
3DMark 06
คะแนน 3DMark 06 ที่ทำได้นั้นอยู่ที่ประมาณ 2,290 คะแนน ซึ่งไม่ค่อยเยอะเท่าไรครับ ดูแล้วคงไม่เหมาะกับการนำไปเล่นเกมแบบใหญ่ ๆ แรง ๆ มากนัก แต่ก็ยังมากกว่า AMD Radeon HD 6250 ที่อยู่ใน AMD C-50 อยู่พอสมควร
3DMark 11
คะแนนที่ออกมาก็ตามคาดครับ ได้ไม่มากเท่าไร อยู่ที่ 280 คะแนนเท่านั้น มากกว่า AMD Radeon HD 6250 ใน ASUS Eee PC 1015B อยู่ร่วม ๆ 100 คะแนน
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
เมื่อประเมินองค์รวมของระบบ ก็สามารถเก็บคะแนนจาก Passmark มาได้แค่ 352 คะแนนเท่านั้นครับ
โปรแกรม HD Tune ใช้ในการทดสอบความเร็วในการอ่านและการเข้าถึงข้อมููลของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวได้
HDD ที่ติดตั้งมาเป็นแบบ SATA II ความจุ 500 GB มีความเร็วรอบการหมุนที่ 5,400 รอบต่อนาที มีหน่วยความจำบัฟเฟอร์ขนาด 8 MB ด้วยกัน
เมื่อทำการทดสอบก็พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติของ HDD 5400 RPM ครับ ไม่มากไม่น้อยเกินไป
โปรแกรม Battery Mon ใช้เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแบตเตอรี่ที่กำลังใช้กับเครื่อง และวัดระดับการใช้พลังงานออกมาเป็นกราฟได้ด้วย
เมื่อทำการเทสต์ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ ก็พบว่าสามารถเปิดทิ้งไว้และทำงานนิดหน่อยได้ถึง 7 ชั่วโมงครึ่งเลยทีเดียว เนื่องจากความจุของแบตฯ ที่เยอะ ประกอบกับเครื่องที่ไม่กินสเปกด้วย เลยทำให้ใช้แบตฯ ได้ยาวนาน
ความนิ่งในการรับสัญญาณไวเลสดูจะไม่ค่อยดีสักเท่าไร สังเกตได้จากการแกว่งของเส้นกราฟครับ แต่ในการใช้งานจริงก็สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิก่อน Burn-in
ขณะทำการทดสอบ
อุณหภูมิหลัง Burn-in
อุณหภูมิของ APU นั้นเพิ่มขึ้นมา 17 องศาครับ แต่ก็สามารถใช้งานได้สบาย ๆ ตัวเครื่องนั้นเพียงแค่อุ่น ๆ ขึ้นมาเท่านั้น ไม่ถึงกับร้อนแรงมากมาย