โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop มันเป็นอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
เมื่อทดสอบด้วย Super PI 1 M ก็พบว่าใช้เวลาไปถึง 1 นาที 15 วินาที ดูแล้วคงจะไม่เหมาะกับการประมวลผลหนัก ๆ จริง ๆ ด้วย
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวณเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวณได้พร้อมกัน
พอใหทำงานหลายๆคอร์ ก็พบว่าใช้เวลาเฉลี่ย 1 นาที 18 วินาทีครับ ถือว่านานอยู่เหมือนกัน
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
3DMark 06
คะแนนที่ได้อยู่ที่ 1,879 ก็ไม่น่าแปลกใจนักครับที่จะได้ไม่สูงมาก เพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานแนวนี้อยู่แล้ว
3DMark 11
คะแนนจาก 3DMark 11 ก็ได้ไปเพียงแค่ 186 คะแนนเท่านั้น
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
คะแนนของทั้ง CPU และการฺ์ดจอที่ได้จาก Cinebench R11.5 นั้นดูจะห่างไกลจากการนำเครื่องไปใช้ในงาน Render ทั้งหลายมากเลยทีเดียวครับ
โปรแกรม Performance Test เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพเครื่องได้ในหลาย? ๆ ส่วนทั้ง CPU, GPU, 2D, 3D, CD/DVD ด้วย
ส่วนคะแนน PassMark ก็ได้เพียงแค่ 253.7 คะแนนเท่านั้นเอง นับว่าน้อยมาก ๆ เลยทีเดียว
โปรแกรม HD Tune ใช้ในการทดสอบความเร็วในการอ่านและการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวได้
Harddisk ที่ใช้เป็นแบบ SATA II 5400 RPM ที่มีหน่วยความจำ Buffer จำนวน 8 MB
ส่วนของ Harddisk ก็สามารถทำความเร็วได้ในระดับของ SATA II 5400 RPM ตามปกติเลยครับ
โปรแกรม Battery Mon ใช้เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแบตเตอรี่ที่กำลังใช้กับเครื่อง และวัดระดับการใช้พลังงานออกมาเป็นกราฟได้ด้วย
Idle (เปิดเครื่องทิ้งไว้, ปิด WLAN เพื่อดูว่าสามารถเปิดเครื่องทิ้งไว้ได้นานเท่าไร)
ดูแล้วคาดว่าสามารถใช้ได้ราว ๆ 8 ชั่วโมงทีเดียวครับ เหมาะกับการนำไปใช้นอกสถานที่ดีเลยทีเดียว
ใช้งานทั่วไปเมื่อนำเครื่องมาใช้งานทั่วไป เช่น งานออฟฟิศ, เปิดเว็บเบราเซอร์ ก็พบว่าสามารถใช้ได้ราว ๆ 6 ชั่วโมง 50 นาทีครับ
สัญญาณเน็ตที่รับได้ก็ไม่ค่อยจะนิ่งนัก แต่ก็สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาครับ
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิก่อน Burn-in
อุณหภูมิเดิมของ APU อยู่ที่ราว ๆ 50 องศาเซลเซียสกว่า ๆ ได้ครับ แต่ตัวเครื่องนั้นไม่รู้สึกร้อนแต่อย่างใด สามารถใช้งานได้สบาย ๆ
อุณหภูมิหลัง Burn-in
หลังจาก burn-in แล้วอุณหภูมิก็เพิ่มขึ้นมาสูงสุดที่ 79 องศาเซลเซียสครับ พอแตะตัวเครื่องก็รู้สึกอุ่นเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีปัญหาในการใช้งานแต่อย่างใด