Connect with us

Hi, what are you looking for?

AMD

AMD Ryzen 7 8700G ซีพียูใหม่ เล่นเกมได้ ไม่ง้อการ์ดจอแยก Radeon 780M เพิ่ม AI ในตัว

AMD Ryzen 7 8700G การ์ดจอในตัวมี AI เล่นเกมได้ Radeon 780M ไม่ง้อการ์ดจอแยก ตัวจบทำงาน ความบันเทิง

AMD Ryzen 7 8700G

AMD Ryzen 7 8700G หนึ่งในไลน์ซีพียูจากทาง AMD เปิดตัวมารุ่นใหม่ล่าสุด จัดเป็นซีพียูในกลุ่มที่เรียกว่า GPU Budget หรือซีพียูที่มีการ์ดจอตัวแรงในตัว เล่นเกมได้ดี ในราคาที่ประหยัด เปิดตัวไปในงาน CES 2024 ที่ผ่านมา เป็นซีพียูในสถาปัตยกรรม Zen 4 ล่าสุดแล้ว ในโค๊ตเนมที่เรียกว่า “Phoenix” ใช้ร่วมกับเมนบอร์ดที่เป็น AM5 รุ่นใหม่ มีการทำงานแบบ 8 core/ 16 thread ให้อัตราการบูสท์สูงสุดที่ 5.1GHz และมี Base clock 4.2GHz ซึ่งมีแคช L3 ขนาดใหญ่ 16MB ด้วยกัน อัตราการใช้พลังงาน 45-65W และเป็นแบบ 4nm FinFET อีกด้วย ตอบโจทย์สายโอเวอร์คล็อกด้วยเช่นกัน กับการเป็น Unlocked CPU ใช้ได้กับทุกชิปเซ็ต แต่ถ้าเน้นการปรับแต่ง แนะนำไป “X” series ดีที่สุด สนับสนุนแรมในแบบ DDR5 5200 จุดเด่นอยู่ที่การใส่กราฟิกมาในตัว (Integrate Graphic) AMD Radeon 780M คู่แข่งสำคัญอยู่ที่ซีพียู Intel Core Gen13 และ Gen14 ที่มีกราฟิกในตัว ซึ่งถ้าดูจาก Core/ Thread ก็จัดว่าท้าชนกับซีพียู Core i5, i7 รุ่นที่ไม่มี “F” ต่อท้ายได้ดีพอสมควร และที่สำคัญมี Ryzen AI มาในตัว เพราะฉะนั้นจึงเป็นตัวจบของคนที่อยากประกอบคอม แบบประหยัด ไม่เน้นการ์ดจอแยก ทำงานเป็นหลัก เล่นเกมสบายๆ ใช้งานด้าน AI ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ต่างจากซีพียู AMD Ryzen 7700X ที่ทีมงาน Notebookspec ได้ทำการทดสอบไปก่อนหน้านี้

AMD Ryzen 7 8700G

โดยซีพียูในกลุ่มซีพียู AMD Ryzen 8000G series นี้ เข้ามาเติมไลน์ผลิตภัณฑ์ Ryzen 7000 series ก่อนหน้านี้ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะถ้าดูตลาดคู่แข่งรุ่นใหม่ ก็พร้อมลุยตั้งแต่ซีพียู Core i3 แต่ก่อนหน้านี้ Ryzen 7000 จะเริ่มตั้งแต่ Ryzen 5 7600 เคาะราคาเกือบ 8 พันบาท แต่ตอนนี้มี Ryzen 3 กับกราฟิกตัวแรงในตัวด้วย ราคาก็น่าจะสบายกระเป๋ากว่าเดิม ซึ่งหากเทียบกับซีพียูที่เป็นแบบ APU ในลักษณะเดียวกันอย่าง Ryzen 5 5600G อยู่ที่ 4 พันกว่าบาทเท่านั้น ดังนั้นคุณสามารถประกอบคอม AMD Ryzen 5 รุ่นใหม่ ในราคาแค่ประมาณหมื่นบาทเท่านั้น หรือถ้างบจำกัดลงไปอีก ยังมี AMD Ryzen 3 8300G ให้เลือก 4 core/ 8 thread บูสท์ได้เกือบ 5GHz ก็น่าลงทุนไม่น้อย ได้เมนบอร์ด AMD A620 ตัวเริ่มต้นแค่ 3 พันบาท ก็ใช้งานได้แล้ว งบที่เหลือใส่แรม DDR5 และอื่นๆ ก็แรงแบบอยู่ในงบประมาณได้ไม่ยาก

Advertisement

เรื่องของกราฟิก ถ้าเทียบกับซีพียูในกลุ่มซีพียู AMD Ryzen 5000G รุ่นก่อนหน้านี้ นอกจากโครงสร้างของการประมวลผลหลักๆ แล้ว ยังเปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรม RDNA3 ของกราฟิกกับฟีเจอร์ใหม่ Hyper-RX และ Fluid Motion Frames พร้อมทั้งเพิ่มหน่วยประมวลผลมาเป็น 12 CUs และ 768 Shader unit รวมถึงดันสัญญาณนาฬิกาของกราฟิกให้สูงขึ้น แต่ควบคุมให้อยู่ในค่า TDP 65W เท่านั้น แม้ว่าจะยกระดับประสิทธิภาพขึ้นมาให้ดีขึ้น แต่ทาง AMD ก็ยังมองว่า กราฟิกที่ใส่มาด้วยนี้ เหมาะกับการเล่นเกมทั่วไปบนความละเอียด 1080p มากที่สุด และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเล่นเกมระดับ AAA หรือเกมไฮเอนด์ที่ใช้สเปคอันโหดหิน ผู้ใช้เองอาจจะต้องปรับจูน เพื่อให้เหมาะกับการเล่นเกมมากที่สุด

จุดต่างของซีพียูสำหรับคนที่ต้องการชุดประมวลผล AI ในการใช้งาน มีให้เลือก 2 โมเดลคือ Ryzen 5 8600G และ Ryzen 7 8700G รวมถึงถ้าจะมีการติดตั้ง SSD จำนวนมากทั้ง 2 รุ่นนี้ เป็นตัวเลือกที่เหมาะ เพราะมีช่องทาง PCIe 4.0 ไว้ถึง 20 Lanes ส่วนถ้ารุ่นรองจากนั้นจะมีเพียง 14 Lanes เท่านั้น การ์ดจอบางรุ่นใช้ไป x8 บางรุ่น x16 จะเหลือใช้งานไม่มากนัก


AMD Ryzen 7 8700G


Specification

Description
Product Line
AMD Ryzen™ 7 8000 G-Series Desktop Processors with Radeon™ Graphics
Former Codename“Phoenix”
Architecture“Zen 4”
of CPU Cores8
Multithreading (SMT)Yes
of Threads16
Max. Boost ClockUp to 5.1GHz
Base Clock4.2GHz
L2 Cache8MB
L3 Cache16MB
Default TDP65W
AMD Configurable TDP (cTDP)45-65W
CPU Compute Die (CCD) Size178mm²
Package Die Count1
-Unlocked for Overclocking
-AMD EXPO™ Memory Overclocking Technology
-Precision Boost Overdrive
-Curve Optimizer Voltage Offsets
AMD Ryzen™ Master Support
Yes
Yes
Yes
Yes
Yes
CPU SocketAM5
CPU Boost TechnologyPrecision Boost 2
Max. Operating Temperature (Tjmax)95°C
PCI Express® VersionPCIe® 4.0
Native PCIe® Lanes (Total/Usable)20 / 16
System Memory TypeDDR5
Memory Channels2
Max. Memory256GB
System Memory SubtypeUDIMM
Max Memory Speed
DDR5-5200
DDR5-5200
DDR5-3600
2x1R
2x2R
4X1R
4x2R
Graphics ModelAMD Radeon™ 780M
Graphics Core Count12
Graphics Frequency2900 MHz
Brand NameAMD Ryzen™ AI
PerformanceUp to 16 TOPS

ที่มา: AMD


Unbox

AMD Ryzen 7 8700G

หน้าตาของกล่อง AMD Ryzen 7 8700G ออกแบบมาคลุมโทนสีเดิม สีส้ม เทาและดำ คล้ายกับกล่องของ AMD Ryzen 7000 series ที่ออกมาก่อนหน้านี้

AMD Ryzen 7 8700G

ด้านหน้ากล่องของ AMD Ryzen 7 8700G รุ่นนี้จะมีโลโก้ของ AMD Ryzen AI เข้ามา รวมถึงด้านล่างจะระบุคำว่า Ryzen 8000 series Processor แล้ว ถ้าเทียบกับกล่องของ AMD Ryzen 7 7700 เรียกว่าแทบจะไม่แตกต่าง มีเพียงเส้นแถบสีส้มในกรอบสี่เหลี่ยมของ Ryzen 7 8700G จะดูบางกว่าเท่านั้น แต่มีเพิ่ม AMD Ryzen AI เข้ามาอย่างเด่นชัด

AMD Ryzen 7 8700G

พัดลมที่ให้มาในกล่อง สำหรับ AMD Ryzen 7 8700G รุ่นนี้เป็นแบบ AMD Wraith Spire ซึ่งเป็นแบบที่ใช้มาแต่ดั้งเดิม แถมยังให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่ดีพอสมควร ถ้รุ่นที่เราได้รับมานี้ เป็นรุ่นที่ไม่ได้มีแสงไฟ RGB มาด้วย

AMD Ryzen 7 8700G

โดยฮีตซิงก์รุ่นนี้ จะรองรับซีพียูในระดับ 100W ได้ พัดลมระบายความร้อนขนาด 92mm แต่จะไม่มีฮีตไปป์ โดยจะใช้ครีบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ช่วยในการดึงความร้อนจากหน้าสัมผัสมานั่นเอง

AMD Ryzen 7 8700G

หน้าสัมผัสอะลูมิเนียมเป็นชิ้นเดียวกับฮีตซิงก์และครึบระบายความร้อน ครอบคลุมหน้าสัมผัสของซีพียูได้อย่างเต็มที่ พร้อมซิลิโคนช่วยในการนำพาความร้อนมีมาให้แล้ว ยกเว้นแต่คุณมีแบบที่ดีกว่า ก็สามารถเช็ดออก แล้วนำซิลิโคนตัวโปรดที่ลดความร้อนได้ดียิ่งกว่า เพราะหลายคนเลือกแบบพรีเมียมมาใช้ ก็ทำได้เช่นกัน

AMD Ryzen 7 8700G

ตัวล็อกเป็นแบบยึดเข้ากับรูน็อต 4 จุดของเมนบอร์ด AM5 ได้พอดี ไม่ต้องใช้ชิ้นส่วนอื่นมาประกอบ แต่ผู้ใช้จะต้องถอดขาล็อคด้านบนเมนบอร์ดออกก่อนเท่านั้น


Processor

AMD Ryzen 7 8700G

หน้าตาของซีพียู AMD Ryzen 7 8700G มีความแตกต่างจาก Ryzen 7 7700X อยู่พอสมควร ถ้าสังเกตใกล้ๆ ก็จะเห็นความต่างอย่างชัดเจน

AMD Ryzen 7 8700G

บริเวณหน้าสัมผัส ระบุเป็น AMD Ryzen 7 8700G และรายละเอียดอื่นๆ ซึ่งสามารถตรวจเช็คกับเว็บไซต์ได้โดยตรง

AMD Ryzen 7 8700G

ด้านใต้ที่เป็นพินที่จะเชื่อมสัญญาณกันบนซ็อกเก็ต AM5 ของเมนบอร์ด เมื่อเทียบกับ AMD Ryzen 7 7700X

AMD Ryzen 7 8700G

ในแง่ของการติดตั้ง ค่อนข้างง่ายดายเช่นเดียวกับซีพียู AMD AM5 ในรุ่นก่อนหน้านี้ เพราะบนซ็อกเก็ตมีร่องบากกำหนดเอาไว้แล้ว ทำให้จัดวางซีพียูลงไปได้ง่าย เพียงแต่จะต้องใช้ความระมัดระวังอยู่บ้าง ไม่ให้หล่นกระแทกลงไปในซ็อกเก็ตนั่นเอง ส่วนการประกอบจะทำอย่างไรได้บ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ไปติดตามชมกันในส่วนของการ Install กันได้เลย


Install

AMD Ryzen 7 8700G

ก่อนจะติดตั้งซีพียูลงเมนบอร์ด มีไกด์ไลน์ในการเลือกเมนบอร์ดมาใช้กับร่วมกันกับซีพียู AMD Ryzen 8000 series นี้ นั่นคือ คุณสามารถเลือกชิปเซ็ตได้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น AMD A620, B650 และ X670 ที่เป็นซ็อกเก็ต AM5 ได้ทั้งหมด แต่ถ้าคุณมีความหลากหลาย ต้องการใช้งานร่วมกับจอภาพได้หลายแบบ ควรเลือกเมนบอร์ดที่มีพอร์ตสัญญาณขาออกที่เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็น HDMI หรือ DisplayPort เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ส่วนถ้าต้องการอัพเกรดแรมได้ในอนาคต เลือกเมนบอร์ด B650 series ขึ้นไป และถ้าต้องการอัพเกรดการ์ดจอตัวแรงในอนาคต รวมถึงมีสล็อตสำหรับใส่ SSD M.2 PCIe 4.0 x4 ได้มากกว่า 2 ช่อง ทางเลือกของ AMD X670 จะเหมาะสมมากกว่า

AMD Ryzen 7 8700G

ในการติดตั้งไม่ได้ซับซ้อน เตรียมเมนบอร์ด AMD AM5 ที่จะใช้เอาไว้ จากนั้นปลดกระเดื่อง ที่เป็นตัวล็อคซ็อกเก็ตขึ้นมา

AMD Ryzen 7 8700G

วางซีพียูลงไป โดยดูรอยบากของซีพียูให้ตรงกันทั้งบนและล่าง จับซีพียูให้มั่น แล้ววางลงไปตรงๆ อย่างเบามือ

AMD Ryzen 7 8700G

จากนั้นวางตัวครอบ และดันกระเดื่องให้เข้ากับล็อค ฝาปิดด้านบนจะหลุดออกมา ให้แกะออกแล้วเก็บเอาไว้ เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้น


CPU Fan

AMD Ryzen 7 8700G

การติดตั้งชุดระบายความร้อนให้กับ AMD Ryzen 7 8700G ด้วยฮีตซิงก์ที่มีมาในกล่อง AMD Wraith Spire ทำได้ง่ายมาก อุปกรณ์ไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มแล้ว และยังมีซิลิโคนมาในตัว พร้อมใช้งานได้ทันที

AMD Ryzen 7 8700G

ในเบื้องต้นให้ถอดน็อตสำหรับยึดขาล็อคด้านบนเมนบอร์ดออกก่อน จากนั้นวางฮีตซิงก์ลงไป ให้ตรงจุดล็อคทั้ง 4 มุม โดยหันโลโก้ AMD ทางด้านใดก็ได้ ที่ไม่ไปเบียดชุด Armor หรือ แรม แล้วไขน็อตไปทีละจุดให้พอตึงมือเท่านั้น

AMD Ryzen 7 8700G

เมื่อไขน็อตเสร็จแล้ว ให้ลองขยับเบาๆ ดูว่าขาล็อคแน่นหนาดีหรือไม่ โดยปกติถ้าจุดล็อคทั้งหมดยึดแน่นดีแล้ว ก็จะไม่มีการเคลื่อนหรือขยับแม้แต่น้อย

AMD Ryzen 7 8700G

หลังจากนั้นให้ต่อสาย CPU Fan จากฮีตซิงก์ไปยัง Connector Fan บนเมนบอร์ด แล้วลองเปิดเครื่อง หากพัดลมหมุน อุณหภูมิแสดงบน BIOS ทำงานได้ตามปกติ ถือว่าเสร็จสิ้น พร้อมใช้งาน


Performance

AMD Ryzen 7 8700G

ระบบที่ใช้ในการทดสอบ

AMD Ryzen 7 8700GAMD Ryzen 7 5700X
เมนบอร์ด Gigabyte Aorus X670 Elite AX
แรม TEAMGROUP DDR5 5600 32GB
SSD 1TB PCIe 4.0
กราฟิก AMD Radeon 780M (IGP)
เพาเวอร์ซัพพลาย 1000W 80 Plus Gold
เมนบอร์ด AMD X470
แรม HyperX FURY DDR4 3200 16GB
SSD 1TB PCIe 3.0
AMD Radeon RX7600
เพาเวอร์ซัพพลาย 850W 80 Plus Gold

ในการทดสอบครั้งนี้ เรานำระบบของซีพียู AMD Ryzen 7 5700X ที่ต้องถือว่าเป็นซีรีส์ที่แรงกว่า แต่อยู่ในแพลตฟอร์มของ AMD AM4 มาเปรียบเทียบให้ชมกัน เพียงแต่ระบบนี้จะมาพร้อมการ์ดจอแยก AMD Radeon RX7600 และแรม DDR4 3200 16GB นำเสนอเพื่อเอาไว้สำหรับคนที่ใช้ระบบที่ใกล้เคียงกันบน AM4 นี้ มีความเปลี่ยนแปลงเพียงใด เมื่อไปใช้แพลตฟอร์มใหม่ได้ชัดเจนมากขึ้น

AMD Ryzen 7 8700G

ระบบรายงานบน CPUz เป็น AMD Ryzen 7 8700G ถูกต้อง โดยไม่ต้องอัพเดต BIOS บนเมนบอร์ด AMD X670 ได้ทันที แจ้งสัญญาณนาฬิกา แคช รวมถึงเทคโนโลยีที่ใส่มาอย่างครบถ้วน กับการทดสอบที่แซงหน้าอดีตรุ่นพี่ตัวแรงอย่าง Ryzen 7 3700X ได้อย่างไม่ยาก

AMD Ryzen 7 8700G

ในการทดสอบแรก PCMark10 นี้ จะเป็นการทดสอบองค์รวมของทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม การ์ดจอ หรือ Storage ก็ตาม ดังนั้นเซ็ตของ Ryzen 7 5700X ที่มีการ์ดจอแยกด้วยจึงได้เปรียบในบางการทดสอบ แต่คะแนนก็ไม่ได้ทิ้งห่างจากระบบ Ryzen 7 8700G มากนัก เพราะได้แพลตฟอร์มชิปเซ็ตใหม่และแรม DDR5 รวมถึงแคชที่เหนือกว่า ซึ่งก็ทำให้ทำคะแนนแซงในหัวข้อ Productivity ไปได้อย่างสวยงาม

AMD Ryzen 7 8700G

การทดสอบ 3DMark ซึ่งจะโฟกัสความสามารถของกราฟิกการ์ดอย่างชัดเจน แต่กระนั้นในการทดสอบบนความละเอียด 1080p ของกราฟิก IGP บน AMD Ryzen 7 8700G ที่เป็น Radeon 780M ก็ทำคะแนนออกมาได้ดีพอสมควร แม้จะดูว่ายังห่างจากการ์ดจอแยก แต่ตัวเลขก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ

AMD Ryzen 7 8700G

มาที่การทดสอบด้านกราฟิก 3 มิติกันบ้าง ในการทดสอบด้วย CINEBench จะเห็นได้ว่า Ryzen 7 8700G ทำผลงานได้ดีกับคะแนนที่ทิ้งห่างจาก Ryzen 7 5700X ไปพอสมควร ด้วยความสามารถในหลายส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา รวมถึง Precision Boost 2 และแคชขนาดใหญ่ ทำให้ผู้ที่จะใช้พีซีในงานด้านหน้า ยังสามารถทำงานได้แบบพึ่งพาซีพียูเป็นหลัก

AMD Ryzen 7 8700G

AIDA64 ในการทดสอบ Cache & Memory ระบบที่มาพร้อมแพลตฟอร์มใหม่ ความเร็วที่มากกว่า รวมถึงแคชขนาดใหญ่ของ Ryzen 7 8700G ก็สามารถทำคะแนนแซงหน้า Ryzen 7 AM4 เดิมที่ใช้ DDR4 ได้ไม่ยาก ด้วยตัวเลขที่จัดว่าสร้างความแตกต่างได้พอสมควร

AMD Ryzen 7 8700G

Corona Bench เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมด้านกราฟิกที่ใช้พลังของซีพียูได้หนักไม่น้อย กับผลที่ออกมาในแบบ Rays/Sec ตัวเลขมากหมายถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า และเป็นอีกครั้งที่ AMD Ryzen 7 8700G รุ่นใหม่ ทำผลทดสอบแซงหน้าเกมมิ่งซีพียูตัวเก๋าได้อย่างชัดเจน

AMD Ryzen 7 8700G

ตัวแทนการทดสอบ 3D Render สำหรับการสร้างงานด้านภาพ ออกแบบ 3 มิติและโปรแกรมด้านงาน CAD รวมถึง 3ds Max หรือ CINEMA4D เป็นต้น และงานนี้ Ryzen 7 8700G ก็ยังคงแสดงศักยภาพให้เห็นอย่างชัดเจน ด้วยผล ksamples ที่ทำได้มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

AMD Ryzen 7 8700G

กับการทดสอบ Geekbench จะเป็นตัวทดสอบที่บ่งบอกความสามารถของระบบได้อย่างชัดเจนอีกอันหนึ่ง และจะรวมเอาองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน ในการทดสอบงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานด้านวีดีโอ กราฟิก ภาพ การทำเอกสาร หรือว่าด้านการเข้า-ถอดรหัส เพราะฉะนั้นจึงต้องพึ่งพาระบบบโดยรวม และซีพียู กราฟิกด้วยเช่นกัน ซึ่ง Ryzen 7 8700G ก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง กับผลคะแนนที่พุ่งทะยาน และยังชี้ให้เห็นความแตกต่างของแพลตฟอร์ม ที่เปลี่ยนไป DDR4 ไปเป็น DDR5 ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

AMD Ryzen 7 8700G

อีกโปรแกรมที่เป็นตัวแทนของงาน 3D Render ที่เป็นบททดสอบของกราฟิกการ์ด ซึ่งระบบที่ใช้การ์ดจอแยก ย่อมให้ผลที่ดีกว่า จึงทำให้ระบบของ AMD Ryzen 7 5700X ทำคะแนนแซงหน้าไปอย่างชัดเจน แต่กราฟิก Radeon 780M ก็ยังทำงานได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน

AMD Ryzen 7 8700G

สำหรับการทดสอบ Blender ที่เป็นงานสร้างโมเดล 3 มิติ ด้วยศักยภาพของซีพียู AMD Ryzen 7 8700G ก็ยังคงให้ประสิทธิภาพออกมาได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยผลคะแนนที่ออกมาเหนือกว่า Ryzen 7 5700X แม้ว่าส่วนต่างจะไม่ได้ห่างกันมากนักก็ตาม แต่ก็น่าทึ่งสำหรับซีพียูที่มีกราฟิกในตัวแบบนี้


Gaming

AMD Ryzen 7 8700G

ในการเล่นเกม เรียกว่าเป็นกราฟิกในตัวที่แรงไม่ธรรมดาเลยทีเดียว เพราะจากที่เราได้ทดสอบกับเกม Call of Duty Warfare II ด้วยการ Benchmark บนการตั้งค่า Basic settings ที่ Resolution 1080p ได้อัตราเฉลี่ยของเฟรมเรตระดับ 100fps. ซึ่งเป็นการเปิดใช้ FSR 1.0 ส่วนการตั้งค่าเป็น General ให้ผลไม่ต่างกันมาก เพราะได้เกือบ 100fps. ด้วยเช่นกัน ภาพที่ได้มีความลื่นไหล เล่นได้สบายตา ได้จอภาพระดับ 120Hz มาเล่น จัดว่าสนุกได้ทั้งวัน

AMD Ryzen 7 8700G

สำหรับเกม Hogwarts Legacy ตั้งค่าเป็น Medium บนความละเอียด 1080p เปิดใช้งาน FSR ผลที่ได้คือ ยังคงเล่นได้ไหลลื่น ด้วยเฟรมเรตระดับ 55fps. โดยเฉลี่น และในช่วงที่มีเอฟเฟกต์โจมตี ใช้เวทย์มนต์ก็จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ยังมากกว่า 40fps. เลยทีเดียว ใครที่เล่นเกมแนวนี้ ในโหมด Medium จะได้ภาพที่สวย และความต่อเนื่องของภาพที่ดีด้วยเช่นกัน ส่วนถ้าจะให้ได้มากกว่า 60fps. ให้ปรับเป็น Low ภาพจะเสียคุณภาพไปบ้าง แต่ก็ได้เรื่องของความลื่นมาแทน

AMD Ryzen 7 8700G

อีกเกมจัดเป็น PUBG ยอดฮิตของสาย Battle Royale กับซีพียูรุ่นนี้ ให้คุณเล่นได้อย่างเพลิดเพลิน กับการปรับความละเอียด 1080p ในโหมด Medium ภาพมาแบบลื่นๆ สวยงาม เฟรมเรตไปได้เกือบ 60fps. เกือบทั้งเกม แม้จะมีเอฟเฟกต์ระเบิดหรือการโจมตีที่มีการเคลื่อนไหวเยอะๆ ก็ตาม และเรายังเปิด Render Scale 100 อีกด้วย ทำให้ระยะการมองชัดเจน มีโอกาสได้เปรียบศัตรูเยอะขึ้นอีกด้วย แลกมากับอัตราการใช้ GPU ระดับ 99% นั่นเอง


Ryzen AI

นอกจากนี้ซีพียู AMD ยังหน่วยประมวลผล AI เข้ามาในซีพียูเดสก์ทอปที่เป็น Ryzen 7 8700G รุ่นนี้อีกด้วย สังเกตได้จากหน้ากล่องก็มีการระบุว่ามี AI มาให้ใช้งานด้วย และการทำงานของ Ryzen AI นี้ ยังให้รายละเอียด AMD Ryzen™ AI ที่ให้ประสิทธิภาพได้มากถึง 16 TOPS (Trillions or Tera Operations per Second) ด้วยกัน นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทาง AMD จัดหนักมาให้กับผู้ใช้พีซีทั่วไป เพื่อให้ได้สัมผัสกับการทำงานของ AI ในแขนงต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

AMD Ryzen 7 8700G

โดยการทำงานของ AI จะเข้าไปอยู่ในส่วนต่างๆ ของทั้งโปรแกรมและเกมในปัจจุบัน รวมถึงบรรดาแอพพลิเคชั่นของผู้พัฒนา AI อีกมากมาย อย่างเช่น ONNX เพื่อให้รองรับความต้องการของผู้ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น การประชุมออนไลน์ ตอบอีเมล์ วีดีโอสตรีมมิ่ง การจัดการกล้อง และการแคสสตรีม รวมถึงโปรแกรมที่ใกล้ตัวหลายๆ คน อย่าง Adobe, MS Office หรือ Canva เป็นต้น ชื่อเหล่านี้หลายคนก็น่าจะคุ้นเคยกันอยู่ไม่น้อย

AMD Ryzen 7 8700G

Conclusion

AMD Ryzen 7 8700G

สำหรับคนที่ใช้ซีพียูรุ่นก่อนหน้านี้ อย่างเช่นซีพียู AMD Ryzen 7 5700X จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หรือได้สิ่งใดเพิ่มเติมเข้ามา คุ้มค่าหรือไม่ ก็คงต้องว่ากันตั้งแต่ สถาปัตยกรรม โดยที่ Ryzen 8000 series ก้าวสู่การเป็น Zen 4 เต็มตัว ในขณะที่ Ryzen 5000 series ยังคงเป็น Zen 3 แต่ในเรื่องของแกนหลัก Core/ Thread มีเท่ากันคือ 8 core/ 16 thread โดยที่สัญญาณนาฬิกาสูงสุดของ Ryzen 7 8700G ไปได้ถึง 5.1GHz แต่ Ryzen 7 5700X จะอยู่ที่ 4.6GHz เท่านั้น ซึ่งในด้านของ L3-cache ของ Ryzen 7 5700X จะมีมากกว่าถึงสองเท่าเลยทีเดียว ส่วนค่า TDP ทั้งคู่อยู่ในระดับเดียวกันคือ 65W

นอกจากนี้ AMD Ryzen 7 8700G จะสนับสนุนการทำงานของ DDR5 เต็มรูปแบบ ภายใต้ซ็อกเก็ต AM5 ดังนั้นจึงมีศักยภาพในการทำงานที่สูงกว่า ด้วยแบนด์วิทธิ์ที่กว้าง สร้างความแตกต่างกับการทำงานของ DDR4 ไม่น้อยเลยทีเดียว เพียงแต่ Ryzen 7 5700X จะไม่มีกราฟิกมาในตัว แต่สำหรับ Ryzen 7 5700G จะเป็นรุ่นที่มีกราฟิก Vega 8 มาในตัว ซึ่งมี Compute Unit 8 ชุดเท่านั้น ถ้าเทียบกับ AMD Ryzen 7 8700G ที่เป็น Radeon 780M จะมีให้ถึง 12 ชุดด้วยกัน และสัญญาณนาฬิกาของกราฟิก พุ่งไปถึง 2800MHz อีกด้วย มากกว่าบน Vega 8 พอสมควร

AMD Ryzen 7 8700G

เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อ PCI-Express lanes นั้น ในซีพียู Ryzen 7 5700X จะมีให้มากกว่าเล็กน้อย ระดับ 24 lanes/ 20 lanes ซึ่งมีผลต่อการใช้งานบรรดาการ์ดต่อพ่วง และ Storage ความเร็วสูงบน SSD M.2 PCIe นั่นเอง แต่สิ่งสำคัญคือ การใส่ AMD Ryzen™ AI เข้ามาในตัว จึงเพิ่มศักยภาพของ Ryzen 7 8700G ในการทำงานด้าน AI ได้ดียิ่งขึ้น สิ่งนี้ไม่ได้มีอยู่บน Ryzen 5000 series รุ่นเก่า ดังนั้นแล้วการอัพเกรดซีพียู เป็นเหมือนการเปลี่ยนแพลตฟอร์มใหม่ทั้งหมด ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การทำงานที่คล่องตัวกว่า ใช้งานฮาร์ดแวร์ความเร็วสูงใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ และยังมี AI แต่ก็จะมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หากคุณใช้แพลตฟอร์มเดิมอย่าง AMD AM4 ก็ต้องเปลี่ยนยกชุด ซีพียู แรม เมนบอร์ด แต่ก็ได้ความสดใหม่ต่างๆ เหล่านี้มา ก็ต้องมาพิจารณากันว่า คุณชอบหรือสะดวกจะใช้แบบไหนอย่างไร

สุดท้ายนี้ถ้าจะให้เคาะกันว่าซีพียู AMD Ryzen 7 8700G นี้เหมาะกับใคร ถ้าดูจากความเป็นซีพียูที่มีกราฟิกแรงๆ มาในตัว ก็ดูจะเข้ากันได้ทั้งคนทำงาน ที่ต้องการซีพียูที่มีความแรง สำหรับงานในสำนักงาน หรือเป็นคอมเครื่องแรกที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการ์ดจอแยกมากนัก เรียกว่ามีการ์ดจอสำหรับใช้งาน และความบันเทิง รวมถึงการเล่นเกมระดับกลางๆ ความละเอียด 1080p ได้ หรือสาย Battle Royale ยังเล่นได้แบบลื่นๆ ด้วยฟีเจอร์ในการอัพสเกล FSR ก็ช่วยให้เฟรมเรตดูลื่นและสบายตาอีกด้วย ดังนั้นเกมเมอร์ที่งบน้อย ไม่ได้เล่นเกมแนว AAA หรือเกมที่กินสเปคหนักหน่วง ยังสามารถเล่นได้ดี รวมถึงกลุ่มคนทำงาน ไลฟ์สตรีม และการแต่งภาพ ตัดต่อวีดีโอในเบื้องต้น ก็สามารถประกอบคอมในงบประมาณที่ไม่สูงเกินไปอีกด้วย แต่ถ้าจะเดินสายการทำงานที่มี AI เป็นหลัก ก็แนะนำเป็น AMD Ryzen 5 8600G และ Ryzen 7 8700G ที่รองรับงานเหล่านี้โดยตรงเท่านั้น สำหรับราคาในปัจจุบัน (2/2/67)

  • AMD Ryzen 7 8700G ราคาประมาณ 12,900 บาท
  • AMD Ryzen 5 8600G ราคาประมาณ 8,990 บาท
  • AMD Ryzen 5 8500G ราคาประมาณ 6,990 บาท

FAQ คำถามพบบ่อย

1.AMD Ryzen 5 ต่อท้าย X และ G ต่างกันอย่างไร

Ans. ซีพียู AMD Ryzen ที่ต่อท้ายด้วย X series เป็นซีพียูในกลุ่ม Performance หรือเกมมิ่ง ที่มีสัญญาณนาฬิกาที่สูงกว่ารุ่นปกติ ที่ไม่มี X ต่อท้าย และเป็นแบบที่รองรับการโอเวอร์คล็อกได้ดี เหมาะกับผู้ที่ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานและการเล่นเกมที่หนักหน่วง แต่รุ่นที่เป็น G series ต่อท้าย จะเป็นรุ่นที่พื้นฐาน มีความพิเศษคือ มีกราฟิกมาในตัว ช่วยให้ประกอบคอมราคาประหยัด แต่ใช้งานทั่วไปได้เช่นกัน แต่ในปัจจุบันซีพียู X series ก็มีกราฟิกมาในตัวให้แล้ว รวมถึงมีประสิทธิภาพที่ดีด้วย เช่นเดียวกับ G series รุ่นใหม่ ที่ให้พลังในการเล่นเกมได้ดีมากขึ้น อย่างเช่น AMD Ryzen 5 8500G หรือ Ryzen 7 8700G เป็นต้น

2.ประกอบคอมด้วยซีพียูรุ่นใหม่ ใช้แรม DDR4 หรือ DDR5

Ans. ในปัจจุบันสามารถเลือกได้ทั้ง 2 แบบ ตามงบประมาณและความต้องการ หากเป็นซีพียู AMD จะแยกกันอย่างชัดเจน AM4 สำหรับใช้กับแรม DDR4 ส่วน AM5 จะเป็นแพลตฟอร์มของแรม DDR5 แต่ถ้าเป็น Intel ในส่วนของ Intel Gen 12 และ Gen 13 จะใช้ได้ทั้งแรม DDR4 และ DDR5 แม้จะเป็นชิปเซ็ตเดียวกัน แต่ก็เลือกได้ทั้ง 2 แบบ แต่ถ้าเป็น Intel Gen 14 แม้จะรองรับแรม DDR5 อย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็สามารถใช้ร่วมกับเมนบอร์ดบางรุ่น ที่มาพร้อมสล็อตแรม DDR4 ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีแพลตฟอร์มแรม DDR5 ให้แบนด์วิทธิ์และประสิทธิภาพได้ดีกว่าแรม DDR4 ในราคาที่สูงกว่าไม่มาก

3.เปลี่ยนซีพียูใหม่ ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดหรือไม่

Ans. ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่เสมอไป หากยังรองรับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ได้ เพราะเมนบอร์ดในช่วงหลัง หากเป็นซ็อกเก็ตแบบเดียวกัน ก็สามารถใช้ร่วมกันได้ บางครั้งเพียงแค่อัพเดตไบออสใหม่ ก็สามารถใช้กับซีพียูรุ่นใหม่ได้แล้ว แต่ก็ต้องเช็คให้แน่ใจก่อนว่าสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ด แล้วดูในหัวข้อ CPU Support ต้องใช้ BIOS เวอร์ชั่นใด และรองรับได้ถึงรุ่นไหน จากนั้นอัพเดต BIOS แล้วจึงติดตั้งซีพียูตัวใหม่ในภายหลัง

4.อัพเกรดซีพียูแล้วต้องลงวินโดว์ใหม่หรือไม่

Ans. ในอดีตอาจจะต้องลงวินโดว์ใหม่ เพื่อลดปัญหาจอฟ้าจากการไม่เข้ากันของไดรเวอร์ หรือฮาร์ดแวร์บางชิ้น แต่ในปัจจุบันแทบจะไม่จำเป็น เพราะระบบจะตรวจสอบและหาไดรเวอร์ที่เหมาะสมเอาไว้ให้ เพื่อให้งานได้ทันที แต่สิ่งที่ต้องทำคือ หากเปลี่ยนแค่ซีพียู ให้ลงไดรเวอร์ที่เหมาะสมของซีพียู กราฟิกบนซีพียูตัวใหม่ แต่ถ้าข้ามแพลตฟอร์ม อาจเลือก Remove driver เดิมออก แล้วลงไดรเวอร์ใหม่ลงไป เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Prestige A16 AI+ A3HMG ในบอดี้เรียบหรูมีพลังของ AMD Ryzen AI ซ่อนอยู่ แรงทรงพลังลุยได้ทุกงาน! ถ้าได้ใช้ของดีมีคุณภาพสักครั้ง ก็จะไม่อยากลดระดับลงไปใช้ของรองลงไปง่ายๆ เพราะได้รับรู้แล้วว่าสิ่งที่ดีเป็นอย่างไร อย่าง MSI Prestige A16 AI+ A3HMG ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีของคำพูดนี้และทางบริษัทก็ยังใส่ใจคุณภาพงานประกอบและรูปลักษณ์ภายนอกให้สวยงามไม่แพ้รุ่นก่อน ทั้งบอดี้อลูมิเนียมสีเงินและโลโก้อลูมิเนียมแสนเรียบง่ายแต่ดึงดูดสายตา แม้ไม่หวือหวาแต่ก็ดูได้ไม่เบื่อ ลงรายละเอียดในแต่ละส่วนเอาไว้ได้พอเหมาะพอดีและสอดลูกเล่นเก่าผสมใหม่มาได้พอเหมาะพอดี...

รีวิว MSI

MSI Modern 15 H AI C1MG โน๊ตบุ๊คจอใหญ่ รู้ใจคนทำงาน กาง 180 องศา Intel Core Ultra ราคาเบา เพื่อคนทำงานมีไลฟ์สไตล์ MSI Modern 15 H AI C1MG โน๊ตบุ๊คทำงานจอใหญ่ ที่มาพร้อมกับขุมพลัง...

CONTENT

ถ้าเรื่องน้ำหนักและดีไซน์เกมมิ่งไม่เป็นปัญหาและพร้อมลงทุนกับโน๊ตบุ๊คดีๆ สักเครื่อง ก็อยากแนะนำให้มาเลือกดูโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 เอาไว้ใช้เป็นคอมส่วนตัวสักเครื่อง เพราะนอกจากมันจะเล่นเกมได้ดีสมหน้าที่แล้ว ทางผู้ผลิตเองก็ติดตั้งซีพียู, จีพียูแยกพร้อมชุดระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงมาให้ ทำให้ทำงานได้ทุกแบบตั้งแต่งานออฟฟิศทั่วไปจนงานระดับครีเอเตอร์อย่างตัดต่อภาพกับวิดีโอได้ดีมาก ถ้าห่วงเรื่องดีไซน์ว่ามันจะดึงดูดสายตาคนอื่นเกินไป ก็มีตัวเลือกเป็นรุ่นพรีเมี่ยมหน้าตาเรียบหรูให้เลือกซื้อ นอกจากนี้ข้อดีของการซื้โน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 นอกจากของแถมและส่วนลดแล้ว การได้เลือกดูสินค้าไอทีจากหน้าร้าน ได้จับตัวจริงเช็คว่าสินค้าไม่มีปัญหาก่อนรับเครื่องได้ไม่พอ ยังหาซื้อหน่วยความจำมาอัปเกรดเพิ่มก่อนกลับบ้านและรับของสมนาคุณได้อีกหลายชิ้นอีกด้วย Advertisement จะซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 ต้องดูเรื่องอะไรบ้าง? ข้อดีของการซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมคอมมาร์ท 2024 นอกจากมีตัวเลือกเยอะแล้ว...

AMD

ชิปเซ็ตของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อดีตจะเป็นคอร์ประมวลผลอย่างเดียว จากนั้นจึงมีจีพียูเอาไว้ประมวลผลกราฟิคเพิ่มเข้ามา จนตอนนี้ AMD Ryzen AI ชิปเซ็ตยุคใหม่ได้เพิ่มคอร์ใหม่ที่เรียกว่า NPU หรือ Neural Processing Unit หรือคอร์ประมวลผล AI เสริมเข้ามาช่วยคอร์หลักประมวลผลให้ดีขึ้น สถาปัตยกรรมเป็น AMD XDNA ซึ่งตอนนี้เป็นเวอร์ชั่น 2 แล้ว มีกำลังประมวลผล AI สูงถึง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก