SiSoftware Sandra 2011 SP1x (17.47)
เราจะมาดูผลของการทดสอบ memory bandwidth กันนะครับ
6GB DDR3 1333 MHz CL9 – ของเก่า
8GB DDR3 1866 MHz CL11 – ของใหม่
เมื่อใช้ HyperX ก็พบว่า bandwidth เพิ่มขึ้นจากเดิมถึงราว ๆ 9 GB/s เลยทีเดียว
Windows 7
ต่อมาเราลองใช้ Windows 7 ในการทดสอบกันบ้างครับ ซึ่งจะใช้ Windows System Assessment Tool ในการทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของแรม ซึ่งวิธีก็ง่าย ๆ ครับ เพียงแค่เปิดหน้า command line ขึ้นมา (พิมพ์คำสั่ง cmd ลงในช่องค้นหาของ Windows ที่ช่อง search programs and files) เมื่อหน้าต่าง command line เปิดขึ้นมาแล้ว ก็พิมพ์คำสั่งลงไปว่า winsat mem แล้วก็รอผลครับ
6GB DDR3 1333 MHz CL9 – ของเก่า
8GB DDR3 1866 MHz CL11 – ของใหม่
ผลที่ได้คือ HyperX ช่วยเพิ่ม bandwidth ขึ้นได้จริง แต่ที่น่าแปลกใจคือ ผลการเทสต์ของ HyperX ที่ไม่ตรงกับผลจาก SiSoftware Sandra 2011 แต่ถึงอย่างไร มันก็ช่วยเพิ่ม bandwidth ได้จริง ๆ ถึง 17% ด้วยกัน
Windows 7 Experience Index
6GB DDR3 1333 MHz CL9 – ของเก่า
8GB DDR3 1866 MHz CL11 – ของใหม่
HyperX ก็ช่วยเพิ่มคะแนนส่วนของแรมได้ 0.2 คะแนนครับ นอกจากนี้ยังไปเพิ่มคะแนนให้กับส่วน Graphics อีก เนื่องจาก Intel HD Graphics 3000 นั้นจะใช้แรมของระบบเป็นหน่วยความจำของตนครับ เมื่อแรมปริมาณและความเร็วเพิ่ม ก็ทำให้คะแนนส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วย
Hyper PI 1M
เรามาดูผลของการทดสอบด้วย Hyper PI ขนาด 1M กันต่อเลยครับ
6GB DDR3 1333 MHz CL9 – ของเก่า
8GB DDR3 1866 MHz CL11 – ของใหม่
ประสิทธิภาพนั้นเพิ่มขึ้นชัดเจนครับ สังเกตง่าย ๆ จากเวลาที่ลดลงถึงเกือบ ๆ 3 วินาที เทียบได้ราว ๆ 13% ครับ
Cinebench R10 64-bit
การทดสอบนี้เราจะมาวัดกันว่าเมื่อเปลี่ยนไปใช้ HyperX แล้ว มันจะดีขึ้นกว่าแรมเดิมอย่างไร ด้วยโปรแกรม Cinebench R10 ที่วัดประสิทธิภาพการ render ของ CPU เราไปดูผลกันเลยครับ
6GB DDR3 1333 MHz CL9 – ของเก่า
ทำคะแนนได้ 10,022 คะแนน ใช้เวลา 88 วินาที
8GB DDR3 1866 MHz CL11 – ของใหม่
ทำคะแนนไปได้ 10,572 คะแนน ใช้เวลา 83 วินาที
ซึ่งผลที่ได้ก็ยังเป็นเช่นเดิมครับ นั่นคือเมื่อใช้ HyperX แล้ว ประสิทธิภาพในการทดสอบนั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 5.5 % ครับ
PCMark Vantage
ครั้งนี้เรามาวัดประสิทธิภาพของทั้งระบบกันเลย โดยจะทดสอบด้วยรูปแบบการทำงานต่าง ๆ เพื่อวัดระดับประสิทธิภาพออกมาครับ
6GB DDR3 1333 MHz CL9 – ของเก่า
8GB DDR3 1866 MHz CL11 – ของใหม่
เมื่อใช้ HyperX ก็พบว่า ประสิทธิภาพของระบบนั้นเพิ่มขึ้น สังเกตได้จากคะแนนจากการทดสอบต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น ส่วนคะแนนรวมนั้นก็เพิ่มขึ้นจากเดิมราว ๆ 5.7% นอกจากนี้จุดที่น่าสนใจคือในด้านเกม ที่เพิ่มขึ้นถึงราว ๆ 8.1% เลยทีเดียว จะจริงหรือไม่ ลองไปชมจากการทดสอบเกมเลยครับ
Resident Evil 5
การตั้งค่าเกมในการทดสอบก็อยู่ในระดับปกติครับ เรามาดูกันว่า HyperX นั้นจะช่วยให้ Intel HD Graphics 3000 ปั่นเฟรมเรตออกมาได้เท่าไหร่กัน
เมื่อดูจากการทดสอบในทั้ง 2 ความละเอียดแล้ว ก็พบว่า HyperX นั้นช่วยเพิ่มเฟรมเรตได้กว่า 13% ทีเดียว ซึ่งก็เนื่องมาจากความเร็วของแรมเป็นหลัก ส่วนความจุที่เพิ่มขึ้นก็มีผลอยู่บ้างเช่นกัน
H.A.W.X. 2 Benchmark
ในเกม H.A.W.X. 2 นี้ก็ให้ผลเช่นเดียวกันในการทดสอบด้วย DirectX 9 ซึ่งให้เฟรมเรตที่เพิ่มขึ้นถึง 75% ในความละเอียด 1336 x 768 ส่วนในความละเอียด 800 x 600 ก็ช่วยเพิ่มเฟรมเรตได้ 31%
ส่วนการทดสอบด้วย DirectX 10 ก็ยังเป็นเช่นเดิมอยู่ โดยที่ยอดเยี่ยม คือ ในการทดสอบ 1366 x 768 นั่น HyperX สามารถช่วยให้เฟรมเรตเพิ่มขึ้นถึง 86% เลยทีเดียวครับ
ปิดท้าย
จากหลาย ๆ การทดสอบที่ผ่านมา ก็ทำให้เราเห็นกันแล้วว่า Kingston HyperX 1866 MHz DDR3 นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้จริง โดยเฉพาะในด้านการเล่นเกม ที่ทำให้เฟรมเรตและประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างแท้จริง และดูเหมือนจะเข้ากันดีกับ CPU ในตระกูล Intel Core I รุ่นใหม่นี้เป็นอย่างดีอีกด้วย เอาเป็นว่าถ้าใครอยากจะอัปเกรดความแรงโน๊ตบุ๊คของตน แรม Kingston HyperX นี้ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่มาและเครดิตรูปภาพ : Legitreviews