มหาวิทยาลัย University of Illinois พบว่าหากดาวฤกษ์เกิดการระเบิด (Supernovas) จะเกิดการแผ่รังสีไอออไนซ์และรังสีคอสมิกที่เป็นอันตรายต่อดาวเคราะห์ที่มีชั้นบรรยากาศใกล้เคียงกับโลก!
เหตุการณ์ซูเปอร์โนวาเกิดได้หลายสาเหตุ แต่ที่เป็นอันตรายและใหญ่ที่สุดจะเรียกว่าซุปเปอร์โนวาชนิดที่ 2 (Supernova Type II) เกิดจากการที่ดาวฤกษ์ไม่สามารถต้านทานแรงโน้มถ่วงในตัวเองได้เนื่องจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ภายในตัวเองหมดลง จึงเกิดแรงกดดันมหาศาลสุดท้ายจึงเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงและอันตราย พร้อมกับปล่อยรังสีไอออไนซ์ที่อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในบริเวณใกล้เคียงระบบสุริยะ และรังสีคอสมิกจำนวนมากที่ใช้เวลาหลายพันปีกว่าจะเข้าใกล้โลก แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้น นักวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Illinois พบว่าจะมีรังสีที่ปล่อยออกมาทำให้เกิดการทำลายชั้นบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับโลก
กลุ่มนักวิจัยดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลนี้จากการสังเกตการณ์ซูเปอร์โนวา 31 แห่งโดยใช้เครื่องมือเอ็กซ์เรย์ อย่างเช่น Chandra, Swift-XRT, และ XMM-Newton เพื่อทำความเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากที่ดาวฤกษ์ระเบิด และค้นพบว่ารังสีที่เกิดขึ้นส่งผลต่อดาวเคราะห์ที่ห่างออกไปไกลถึง 160 ปีแสง ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบนดาวนั้นต้องสูญพันธ์ุและล้มตายลงไม่ว่าจะอยู่บนบกหรือในน้ำก็ตาม
แต่โลกนั้นยังนับว่าโชคดีที่อยู่ห่างจากเหตุการณ์ซูเปอร์โนวานี้ ดาวที่ใกล้ที่สุดคือ Betelgeuse ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 530 ปีแสง แต่นี่เป็นการวิเคราะห์เหตุการณ์จากปัจจุบัน เราไม่รู้หรอกว่าก่อนเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้ามาถึงขนาดนี้จะมีการระเบิดเกิดขึ้นมาแล้วหรือยังแล้วเกิดมานานเท่าใด ทางนักวิทยาศาสตร์จึงออกมาเตือนให้เฝ้าระวังและทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ที่มา: Extremetech