Connect with us

Hi, what are you looking for?

AMD

แนะนำการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊คเพื่อการอัพเดต

วันนี้จะแนะนำเรื่องของฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊ค สำหรับบางคนที่อยากซื้อมาเปลี่ยนของตัวเองไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอย่างเช่น อยากได้ฮาร์ดดิกส์ที่ใหญ่ขึ้นหรืออยากได้ฮาร์ดดิสก์ที่เร็วขึ้น วันนี้มาทำความรู้จักกับเรื่องของฮาร์ดดิสก์กับแบบง่ายๆ ครับ

03

Advertisement

1. ขนาด

ขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่พูดถึงนี้ไม่ใช่เรื่องของความจุครับ แต่เป็นขนาดสัดส่วนของฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปแล้วฮาร์ดดิสก์ที่หาซื้อได้ทั่วๆ ไปจะมีอยู่สองขนาดใหญ่ๆ คือ 3.5 นิ้ว และ 2.5 นิ้ว ที่จริงยังมี 1.8 นิ้ว ด้วย แต่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มักเอาไว้ใช้กับเครื่องที่มีขนาดเล็ก หรือเน้นน้ำหนักให้เบาที่สุด ย้อนกลับมาที่ขนาดที่ว่าไว้กันบ้าง ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว จะใช้กันในเครื่องพีซีตั้งโต๊ะ ส่วนขนาด 2.5 จะใช้ในโน๊ตบุ๊คนั้นเอง ดังนั้น ถ้าจะซื้อก็หาซื้อตัวที่มันเล็กๆ แบนๆ ซึ่งถ้าเรามองราคาเทียบกับความจุแล้วอาจจะคิดว่าราคาเท่ากัน แต่จริงๆ ไม่เท่าเพราะความเร็วของฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว นั้นจะช้ากว่านั้นเองครับ

2. ความเร็ว

สำหรับความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนทั่วไปนั้นจะอยู่ที่ 5400 RPM สำหรับขนาด 2.5 นิ้ว และ 7200 RPM สำหรับขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนคำว่า RPM ย่อมาจาก Round Per Minute หรือ รอบต่อนาที ยิ่งความเร็วสูงเท่าไร ฮาร์ดดิสก์ก็สามารถหมุนหาข้อมูลได้เร็วเท่านั้น เราสามารถคิดความเร็วของ RPM ออกมาเป็น เฮิรตซ์ (Hz) ได้นะครับ เพราะ Hz หมายถึง 1 ครั้งต่อวินาที 1 RPM จึงเท่ากับ 1/60 Hz นั้นเอง ดังนั้น พูดเป็นภาษาคนก็หมายความว่า ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คของคุณทำงานที่ความเร็ว 90 Hz เท่านั้น “ช้าโคตร” แต่การมีฮาร์ดดิสก์ที่ทำงานได้เร็วขึ้นก็หมายถึง ราคาที่สูงขึ้น ความจุที่น้อยลง และมันก็กินไฟมากขึ้นด้วย

3. ความจุ

ความจุของฮาร์ดดิสก์โน็ตบุ๊กทุกวันนี้ ค่อนข้างใหญ่มากแล้วนะครับ บางเครื่องติดตั้งขนาด 640 GB มาให้แล้ว บางเครื่องติดตั้งแบบ 7200 RPM มาให้ด้วย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนมากนัก แต่ถ้าเป็นเครื่องที่เก่าแล้ว หรือเครื่องแบบเน็ตบุ๊ก ที่ได้ฮาร์ดดิกส์มา 250 GB หรือ 320 GB ก็โอเคที่จะซื้อมาเปลี่ยน ความจุที่เห็นว่ามีขายในบ้านเราต้องนี้ก็มี 250 GB, 320 GB, 500 GB, 640 GB และ 1 TB

01

4. Solid State Drive

รายท่านคงทราบกันแล้วถึงฮาร์ดดิสก์ โน๊ตบุ๊คแบบใหม่ที่เราเรียกว่า SSD หรือ Solid State Drive ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงมาก ลักษณะคล้ายๆ Flash Drive ที่เราใช้ๆ กัน มีตัวควบคุมเป็นจุดสำคัญในการสั่งงานการไหลของข้อมูล ยี่ห้อที่มีขายในบ้านเราก็เช่น Intel, Kingtons, Corsair ราคาก็ขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพของตัวควบคุมด้วยครับ ณ ตอนนี้ 40 GB ของ Intel ก็ประมาณ 3,000 บาทแล้ว เหมาะจะเอาไว้เป็นไดรฟ์หลักที่ลงโปรแกรมโดยเฉพาะ เพื่อให้การโหลดข้อมูลทำได้เร็วมากขึ้น

05

ข้อจำกัดของการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ในโน็ตบุ๊ก

1. ฝาด้านล่างของโน๊ตบุ๊ค ถ้าคุณพลิกเครื่องไปดูข้างใต้ จะเห็นว่าบางเครื่องมีการทำช่องใหญ่ๆ ให้เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ได้ง่ายๆ บางเครื่องเปลี่ยนได้แต่แรม บางเครื่องออกแบบไม่ดี ซวยมากๆ เปลี่ยนอะไรไม่ได้เลย นอกจากจะรื้อเครื่องออกมาทั้งหมด เรื่องของเครื่องก็ต้องไปดูกันเอาเองนะครับ ว่าเครื่องไหนทำได้แค่ไหน

2. ความเร็วหรือความจุ ฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คต้องเข้าใจอยู่อย่างว่า มันต้องทำให้ประหยัดพลังงานด้วยในระดับหนึ่ง ดังนั้น ถ้าคุณอยากจะได้ฮาร์ดดิกส์ที่มีความเร็วสูงๆ ก็จะเหลือตัวเลือกให้ไม่มาก รวมทั้งขนาดสูงสุดก็อยู่ประมาณ 500 GB เท่านั้น จะให้ยอดเยี่ยมแบบฮาร์ดดิสก์พีซีที่ตัวใหญ่กว่าก็คงจะไม่ไหว ที่เห็นมีผูกขาดในบ้านเราก็ Western Digital รุ่น Scorpio Black ที่หาซื้อค่อนข้างง่าย ส่วนของเจ้าอื่นก็พอมีครับ แต่จะหายากหน่อย

3. พอร์ต ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ โน็ตบุ๊กจะเป็นพอร์ต SATA หมดแล้ว ถ้าเครื่องคุณเก่าจริงๆ จนเป็น IDE อาจจะหาของมาเปลี่ยนยาก ต้องเดินตามร้านขายคอมดูครับ

04

ทั้งหมดก็เป็นข้อแนะนำง่ายๆ เบื้องต้นสำหรับคนที่คิดจะซื้อฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยนนะครับ จริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ส่วนใหญ่ก็จะเปลี่ยนให้ใหญ่ขึ้นหรือเร็วขึ้น บางคนก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็น SSD เลย สำหรับฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ใช่ประโยชน์นะครับ เพราะเราสามารถซื้อกล่องมาต่อได้ กลายเป็นฮาร์ดดิสก์พกพาได้อีกตัว ราคามีตั้งแต่ 400 กว่าบาทจนเกือบพัน ขึ้นอยู่กับความสามารถของกล่องตัวนั้นๆ ครับ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Notebook Review

Gigabyte G6X 9KG ตัวแรงรุ่นใหม่เอาใจเกมเมอร์ขั้นสุด ดุดันทรงพลังไม่ถึงครึ่งแสน!! เกมเมอร์หลายคนอาจติดภาพ Gigabyte ว่าเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์คอมชั้นนำของโลก แต่ฝั่งเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คก็ถือว่าเด็ดดวงไม่แพ้กัน เช่น Gigabyte G6X 9KG ซึ่งเป็นภาคต่อของ Gigabyte G5 MD ซึ่งยืนพื้นราคาไว้ดีเท่าเดิมโดยจับคู่ซีพียู Intel รุ่นที่ 13 กับการ์ดจอ NVIDIA GeForce...

CONTENT

หากคุณต้องการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นไดรฟ์ SSD แต่ไม่ต้องการเริ่มการสำรองข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ต้น(หรือลง Windows ใหม่) ต่อไปนี้เป็นวิธีถ่ายโอนข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์เก่าของคุณ ปัจจุบันนี้ พีซีรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มาพร้อมกับการติดตั้งไดรฟ์ SSD หรือ M2.NVME ภายในที่มาพร้อมกับความเร็วมากขึ้นกว่า HDD เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามหากคุณยังคงใช้ฮาร์ดดิสก์แบบหมุนได้แบบเดิมๆ ถือว่าคุณพลาดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปแล้ว การสลับแหล่งเก็บข้อมูลหลักที่เป็นที่ตั้งของระบบปฏิบัติการ Windows จาก HDD เป็น SSD(หรือ M2.NVME) เป็นหนึ่งในการอัปเกรดที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ...

CONTENT

นับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ที่หลายคนต้องทำงานอยู่บ้าน เทรนด์การจัดโต๊ะคอม จัดพื้นที่ทำงานก็กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในกลุ่มของคนที่ต้องทำงานแบบ WFH และหนึ่งในแนวทางยอดฮิตก็คือการซื้อจอแยกมาต่อกับโน้ตบุ๊กที่มีอยู่ เพื่อใช้งานแบบหลายจอ (multiple monitors) พร้อมกัน ซึ่งมีข้อดีคือได้พื้นที่ทำงานบนจอเยอะขึ้น สามารถจัดกลุ่มหน้าต่างโปรแกรมได้สะดวก จะเปิดงานจอนึง อีกจอเปิด YouTube หรือเปิดหนังดูไปพร้อมกันก็สบาย และด้วยความสะดวก ทำให้การใช้งานจอเสริมคู่กับจอโน้ตบุ๊กยังกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นสำหรับใครที่อยากจะจัดโต๊ะคอมแบบมีหลายจออยู่ แต่ยังจับจุดไม่ถูกว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี วิ่งไปซื้อจอก่อนเลยดีมั้ย ในบทความนี้จะเป็น 5 สิ่งที่ต้องพิจารณาและเตรียมพร้อมก่อนไปซื้อจอมาเสริมครับ...

PR-News

ซัมซุงตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดเกมมิ่งมอนิเตอร์ โดย Samsung Odyssey Neo G7 คว้ารางวัล The Most Popular Game Device and Gadget สาขา Gaming Monitor กลุ่มรางวัลเกมประเภทอุปกรณ์และเกมมิ่งเกียร์ ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดียในปี 2023 ที่งาน Thailand Social AIS...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก