ASUSบริษัทไอทีชั้นนำ ร่วมกับ IDCผู้นำด้านงานวิจัยเทคโนโลยีระดับโลกจัดงานสัมมนาออนไลน์IDC x ASUS Webcast 2021ในหัวข้อDigital Transformation for the Next Normal in Asia/Pacificพร้อมเผยข้อมูลตัวเลขอัตราการขยายตัวของตลาดโน้ตบุ๊กในไทยซึ่งต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ร้อยละ53.5 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ68.3ส่งผลให้ภาคธุรกิจหันมาปรับกลยุทธ์ในการเปลี่ยนโน้ตบุ๊ก, ระบบปฎิบัติการใหม่ (OS), ฟีเจอร์ใหม่สำหรับผู้ใช้, การเปลี่ยนโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่แทนเครื่องที่ทำงานได้ช้า
ข้อมูลที่นำเสนอในงานยังรวมถึงข้อมูลกลยุทธ์เชิงลึกด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB)และผลกระทบของโรคโควิท 19 ที่เป็นปัจจัยหนึ่งของการตัดสินใจ
วิธีการทำแบบสำรวจ
งานค้นคว้าเรื่อง “แนวโน้มการใช้งานโน้ตบุ๊กและพื้นที่ทำงานของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2563” ได้จัดทำขึ้นช่วงกลางปี 2563 รวม 10ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งการสำรวจได้จัดทำขึ้นเพื่อค้นคว้าความท้าทายในการทำงานนอกสำนักงานและผลกระทบจากการทำงานของโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์อื่นๆในกลุ่มตัวอย่าง 2,018 คนทั่วเอเชียแปซิฟิก โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่มเท่าๆกัน ระหว่างหัวหน้างาน (ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที) และลูกจ้างที่ต้องใช้โน้ตบุ๊กในการทำงาน
กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB) ในเอเชียแฟซิฟิกส่วนมากไม่มีความพร้อมในจัดสรรการทำงานนอกสำนักงานในระยะยาว
โดยเฉลี่ย เจ้าของกิจการในเอเชียแปซิฟิก เพียงร้อยละ 28 วางแผนให้ลูกจ้างทำงานนอกสำนักงานต่อหลังการระบาดของโรคโควิด 19 และกว่าร้อยละ 40 คาดว่าจะมีการกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน ทั้งนี้ ความท้าทายในการทำงานนอกสำนักงานเน้นไปด้านปลอดภัย, การดำเนินการ, การสื่อสารทำงานร่วมกัน และปัญหาด้านประสิทธิภาพในการทำงาน กล่าวคือธุรกิจต่างๆ นั้นไม่ได้สนับสนุนอุปกรณ์ที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้างอย่างเต็มที่ ในการทำงานที่บ้าน (Work From Home: WFH)ในระยะยาวโดย IDC ย้ำว่าการปรับตัวระยะสั้นนี้จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะด้านอุปกรณ์ที่จะมีการจัดซื้อทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่จะส่งผลด้านลบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
สำหรับประเทศไทยกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB) มากกว่าร้อยละ 65% เชื่อว่าพวกเขามีความพร้อมในการทำงานที่บ้าน (WFH) จากผลกระทบของโควิท 19 และร้อยละ 39 คาดว่าพนักงานจะกลับเข้าทำงานเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
โดยส่วนของการเตรียมความพร้อมในด้านของอุปกรณ์ กว่าร้อยละ 75 ของผู้ประกอบการในประเทศไทย กล่าวว่าองค์กรของพวกเขานั้นเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ในด้านของเทคโนโลยี (ในส่วนของอุปกรณ์สำนักงานและซอฟแวร์)เพื่อสนับสนุนการทำงานทางไกล อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 54 ของลูกจ้างเท่านั้นที่รู้สึกเช่นเดียวกัน
ปัจจัยอื่นๆ ที่พบในประเทศไทย
ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวตลาดของโน้ตบุ๊กต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงเวลาก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 โดยอยู่ที่ร้อยละ 53.5เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ร้อยละ 68.3 ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆหันมาพัฒนาด้านกลยุทธ์การเปลี่ยนโน้ตบุ๊ก, ระบบปฏิบัติการใหม่ (operating systems: OS), ฟีเจอร์ใหม่สำหรับผู้ใช้และทดแทนโน้ตบุ๊กเครื่องเก่าที่ทำงานได้ช้า
ปัจจัยอื่นๆ ที่พบในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB) ในประเทศไทย ได้แก่:
- ร้อยละ 41 ของกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB) อนุญาตให้ลูกจ้างเลือกรุ่นและแบรนด์โน้ตบุ๊กที่ต้องการ– สูงสุดจากการสำรวจในตลาดเอเชียแปซิฟิก โดยให้ตัวเลือกแก่ลูกจ้างเพื่อเลือกเทคโนโลยีและอุปกรณ์ของตัวเอง ให้เหมาะสมกับความต้องการและการใช้งานโดยสิ่งสำคัญคือเพื่อดำเนินการและพัฒนาประสิทธภาพในการทำงาน
- ข้อมูลดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากการพบว่าพนักงาน67% ในประเทศไทยต้องการมีส่วนร่วมในการจัดหาอุปกรณ์
- จากความต้องการในการทำงาน WFH กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB) ร้อยละ44 วางแผนเพิ่มงบในการลงทุนอุปกรณ์โน้ตบุ๊กภายในปี2565
- ร้อยละ 86 ของกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB)ในประเทศไทยกำลังพิจารณาจัดหาโน้ตบุ๊ก / เครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปในรูปแบบการเช่าซื้อโดยอย่างไรก็ตามงบประมาณก็มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเช่นกัน
- หลังการแพร่ระบาดร้อยละ55 ของกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงระดับกลาง (SMB)ในประเทศไทยกล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปใช้เครื่องโน้ตบุ๊กทั้งหมดราวร้อยละ 75 หรือ โน้ตบุ๊กร่วมกับเดสก์ท็อปร้อยละ25เทียบกับร้อยละ32ก่อนการระบาดโรคโควิด 19
- ร้อยละ 77ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยใช้กล้องและไมโครโฟนในตัวของโน้ตบุ๊กสำหรับการประชุมออนไลน์
คำแนะนำจาก IDC
จากผลการสำรวจIDC แนะนำว่าการเตรียมอุปกรณ์รุ่นล่าสุดที่สามารถรองรับทั้งการทำงานนอกสำนักงานและแบบไฮบริด(ทั้งในและนอกสำนักงาน)ให้กับพนักงาน จะส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญไม่เพียงแต่ประสิทธิภาพของและประสบการณ์ในการทำงานของพนักงานเท่านั้นแต่ยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กรเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ ทั้งนี้ IDC ได้แนะนำการเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดอย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการให้เหมาะสมกับความต้องการในการทำงานนอกสำนักงานทั้งสามหัวข้อดังนี้:
- รวมโน้ตบุ๊กไว้ในข้อตกลงของการให้บริการ ให้พนักงานสามารถเลือกอุปกรณ์ต่างๆและกำจัดนโยบายที่ไม่ยืดหยุ่นโดยโมเดลการให้บริการจะช่วยให้เข้าถึงคุณลักษณะต่างๆที่ก่อนหน้านี้พบได้ในเฉพาะในอุปกรณ์ระดับองค์กรที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำงานโดยการทำกลยุทธ์ “ขนาดเดียวที่เหมาะกับทุกคน”และเลือกคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับแต่ละบุคคลมากขึ้น หรือตามความต้องการใช้งาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
- เปลี่ยนโน้ตบุ๊กถี่ขึ้นเพื่อประสบการณ์ใช้งานของพนักงานที่ดีขึ้นโดยลดระยะเวลาการเปลี่ยนโน้ตบุ๊กสั้นลงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานตลอดจนเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของพนักงาน
ลิงก์ไปยังแบบสอบถาม
- ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มของ IDC ได้ที่: