Connect with us

Hi, what are you looking for?

REVIEW

Review – Lenovo YOGA Slim 7 โน้ตบุ๊กสายทำงานสุดครบเครื่อง Ryzen 7 เล่นเกมก็ไหวในราคา 29,900

Review Lenovo YOGA Slim 7

Lenovo YOGA Slim 7 เป็นโน้ตบุ๊กในซีรีส์ YOGA ที่อาจจะแตกต่างจากที่เคยซักเล็กน้อย เนื่องจากเป็นรุ่นที่ออกแบบมาในสไตล์ฝาพับปกติ ไม่สามารถพลิกจอได้ถึงระดับ 360 องศา แต่ยังคงความครบครันทั้งในแง่ของความบางเบา พกพาสะดวก พร้อมกับประสิทธิภาพที่ลงตัวจากชิปประมวลผล AMD Ryzen 7 รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรม Renoir ที่โดดเด่นทั้งความสามารถ และการใช้พลังงานที่ดี

โดยในรุ่นที่เรารีวิวนี้ เลือกใช้ AMD Ryzen 7 4700U ผสานกับพลังกราฟิก AMD Radeon RX Vega 7 ที่แรงจนสามารถใช้เล่นเกมยอดฮิตในปัจจุบันได้โดยไม่ต้องพึ่งพลังจากการ์ดจอแยก แรมก็จัดเต็มมาให้ถึง 16 GB SSD 512 GB ความเร็วสูง หน้าจอ FHD ขนาด 14″ ที่ให้ค่าสีแม่นยำระดับ 100% sRGB จึงทำให้ YOGA Slim 7 เครื่องนี้เหมาะกับทั้งการใช้งานทั่วไป งานเอกสาร ไปจนถึงงานกราฟิกที่ต้องการความแม่นยำของสีในสเกล sRGB ได้สบาย ๆ

Advertisement

NBS Verdict

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 26

แม้ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊กรูปทรงปกติซึ่งสามารถกางหน้าจอออกได้ราว 180 องศาเท่านั้น แต่ Lenovo YOGA Slim 7 ก็ยังให้ความยืดหยุ่นในการใช้งานที่ดีด้วยความบางเบาของตัวเครื่อง ในขณะที่ได้หน้าจอที่ใหญ่ถึง 14″ ประสิทธิภาพก็ยอดเยี่ยม แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานระดับ 10 ชั่วโมง ทำให้ไม่ว่าจะงานประเภทใดก็สามารถจัดการได้อย่างราบรื่นด้วยพลังของชิป 8 คอร์ 8 เธรด หรือจะเล่นเกมโปรดก็ทำได้สบายจากพลังของกราฟิกในตัวอย่าง AMD RX Vega 7 ที่รองรับเกมยอดฮิตอย่างพวก PUBG, DOTA 2 ไปจนถึง Battlefield V ได้ด้วย 

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 31

การเชื่อมต่อของ YOGA Slim 7 ก็ถือว่าครบครันมากสำหรับโน้ตบุ๊กที่เน้นความบางเบา เพราะมีให้มาทั้ง USB-A, USB-C, HDMI, ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็มี WiFi 802.11AX (WiFi 6) มาให้ด้วย ส่วนการชาร์จก็ทำได้ผ่านพอร์ต USB-C ที่รองรับฟังก์ชันการชาร์จแบบ USB-PD ด้วย เรียกว่าเป็นโน้ตบุ๊กที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับไลฟ์สไตล์ในยุคนี้ได้ดีมาก ตอบโจทย์ทั้งความสะดวกในการพก การใช้งานอุปกรณ์เสริมร่วมกับเครื่องอื่น รวมถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูล/เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เรียกว่าซื้อรอบนี้ ใช้งานได้อีกยาว ๆ แน่นอน

จุดเด่น

  • หน้าจอสวย ภาพคมชัดเต็มตา สีสันระดับ 100% sRGB ใช้ทำงานกราฟิกได้สบาย
  • ให้แรมมา 16 GB เหลือเฟือสำหรับการใช้งานในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าได้เลย
  • แบตเตอรี่ใช้งานจริงได้ราว 8-10 ชั่วโมง สูงสุดตามสเปคคือ 14 ชั่วโมง
  • มีพอร์ต USB-C ให้มา 2 พอร์ต สามารถชาร์จไฟที่พอร์ตไหนก็ได้ และยังมี USB-A ขนาดเต็มให้อีก 2 พอร์ตด้วย
  • น้ำหนักเบา จับถือสะดวก
  • ประสิทธิภาพสูง เล่นเกมได้ แต่เครื่องไม่ร้อนมากนัก
  • มี Windows 10 Home มาให้ พร้อมฟังก์ชัน Windows Hello สำหรับปลดล็อกจอด้วยการสแกนใบหน้า

ข้อสังเกต

  • แม่เหล็กตรงฝาพับหน้าจอดูดแรงไปนิด ทำให้ต้องออกแรงในการเปิดจอขึ้นมาพอสมควร (ไม่สามารถใช้มือเดียวเปิดได้)
  • รุ่นที่ใช้ชิป AMD (YOGA Slim 7) จะไม่มีจอสัมผัส

Specification

Screen Shot 2020 11 30 at 10.31.54 AM

ส่วนของสเปคนั้น Lenovo YOGA Slim 7 รุ่นที่รีวิวมาพร้อมกับชิปประมวลผล AMD Ryzen 7 4700U ที่มี 8 คอร์ 8 เธรด ความเร็วพื้นฐาน 2.0 GHz สามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 4.1 GHz โดยจุดเด่นคือสถาปัตยกรรม Renoir ที่ได้รับการพัฒนาจากรุ่นก่อนหน้าพอสมควร ทั้งในด้านของประสิทธิภาพ และการจัดการพลังงานที่ทำได้ดี จนสามารถเปรียบเทียบกับชิปของอีกฝั่งได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ

แรมเป็น DDR4 แบบฝังบอร์ดให้มาถึง 16 GB ซึ่งเป็นความจุแรมที่แนะนำสำหรับโน้ตบุ๊กใช้งานระดับจริงจังในยุคนี้ มาพร้อมกับ SSD 512 GB PCIe ซึ่งถือว่าพอใช้งานได้แบบไม่อึดอัด ทั้งยังให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ค่อนข้างสูง รองรับงานจำพวกการตัดต่อวิดีโอ หรืองานที่ต้องเข้าถึงข้อมูลปริมาณมากได้สบาย หน้าจอขนาด 14″ ในตัวเครื่องขนาด 13″ เท่านั้น ทำให้ได้ภาพที่เต็มตา ความละเอียดระดับ Full HD ซึ่งจัดว่าสมดุลกับทั้งด้านความสวยงามและการใช้พลังงานที่ไม่สูงเกินไป ที่น่าสนใจคือสามารถแสดงสีได้ระดับ 100% sRGB ด้วย เหมาะกับสายงานกราฟิกสื่อออนไลน์มาก ๆ จะติดก็แค่ในรุ่น AMD จะเป็นจอธรรมดา ต่างจากรุ่น Intel ที่บางโมเดลจะเป็นจอสัมผัสด้วย ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานบางอย่างได้

Lenovo YOGA Slim 7 รองรับการเชื่อมต่อไร้สาย WiFi 802.11ax (WiFi 6) ซึ่งเป็นมาตรฐาน WiFi ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยจุดเด่นในด้านความเร็ว ความเสถียรในการใช้งาน และแบนด์วิธที่สูงกว่ามาตรฐาน ac ซึ่งถ้าคุณต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงไว้ใช้งานได้นาน ๆ การเลือกเครื่องที่รองรับ WiFi 6 ด้วยก็ถือเป็นข้อที่ควรนำมาพิจารณาเหมือนกัน

ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อก็มีมาทั้ง USB-C 2 ช่องที่ใช้ช่องไหนในการชาร์จก็ได้ นอกจากนี้ก็มี USB-A อีก 2 ช่อง รวมถึง HDMI ช่องเสียบแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มม. และก็มีช่อง MicroSD มาให้ด้วย

สำหรับรุ่นที่วางจำหน่ายในตอนนี้ Lenovo YOGA Slim 7 จะมีให้เลือกด้วยกันสองกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มชิป AMD (YOGA Slim 7) และกลุ่ม Intel (YOGA Slim 7i) ดังนี้

โดยรุ่นที่รีวิวในบทความนี้จะเป็นรุ่นที่สอง ที่ใช้ชิป Ryzen 7 4700U ครับ ซึ่งจัดเป็นรุ่นที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคนที่กำลังมองหาโน้ตบุ๊กใช้ทำงานในชีวิตประจำวัน ที่อาจต้องเจอกับงานที่ใช้พลังประมวลผลซักนิดนึง


Hardware / Design

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 05

Lenovo YOGA Slim 7 เป็นโน้ตบุ๊กขนาด 13″ รูปทรงปกติ วัสดุหลักของตัวเครื่องภายนอกจะเป็นอลูมิเนียมที่มีจุดเด่นในด้านน้ำหนักที่เบา แต่ยังคงความแข็งแกร่งไว้ได้อยู่ โดยเครื่องรีวิวนี้จะเป็นสีม่วงแบบไวน์องุ่น

ส่วนหน้าจอจะเป็นจอกระจก ซึ่งมีข้อจำกัดนิดนึงเมื่อใช้งานในที่ที่มีแสงเข้าจากด้านหลังตัวผู้ใช้งาน เพราะจะเกิดแสงสะท้อนอยู่บ้าง แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่มากจนเกินไป สีสันและความสว่างนั้นทำได้ดีมาก มุมมองก็กว้างตามแบบฉบับของพาเนล IPS ที่มีคุณภาพ รวม ๆ แล้วเป็นจอที่ใช้งานกราฟิกได้สบายมาก จะแต่งรูป ตัดต่อวิดีโอ หรือใช้ดูหนังก็ไม่มีปัญหา

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 06

ตรงบริเวณกึ่งกลางขอบจอด้านบน จะมีส่วนที่หนาขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งภายในก็จะมีทั้งกล้องหน้า กล้องอินฟราเรด และก็เซ็นเซอร์จับระยะห่าง เพื่อวัดตำแหน่งของตัวผู้ใช้งาน เพื่อนำไปเสริมการทำงานให้กับระบบ Windows Hello อีกที

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 18

ซึ่งการที่มีกล้องอินฟราเรดติดตั้งมาให้ด้วย ก็ทำให้ผู้ใช้สามารถปลดล็อกหน้าจอด้วยใบหน้าได้สะดวก ไม่ว่าจะกลางแจ้ง ในที่ทำงาน หรือจะในบริเวณที่มีแสงน้อยก็ตาม ทำให้ไม่ต้องคอยนั่งกรอกรหัสทุกครั้งให้วุ่นวาย โดยเฉพาะตอนที่มืออาจจะเปียกอยู่ หรือไม่สะดวกใช้คีย์บอร์ดก็ตาม

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 11

บริเวณที่รองมือ ฝั่งซ้ายจะมีสติกเกอร์ต่าง ๆ ติดอยู่ ทั้ง AMD Ryzen 7 4000 series, AMD Radeon Graphics รวมถึงสติกเกอร์รวมฟีเจอร์เด่นของ YOGA Slim 7 ส่วนใกล้ ๆ กันนั้นก็มีโลโก้ระบบเสียง Dolby Atmos มาให้ด้วย การันตีว่าเสียงที่ได้จะมีมิติที่ค่อนข้างสมจริง

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 12

ซึ่งลำโพงจะวางอยู่ขนาบสองข้างของคีย์บอร์ดเลย ให้เสียงแบบสเตอริโอที่ค่อนข้างมีมิติครบถ้วน ความดังของเสียงก็อยู่ในเกณฑ์โน้ตบุ๊กบางเบาทั่วไป เน้นเสียงโทนกลางเป็นปกติ พอใช้ฟังเพลงได้ประมาณหนึ่ง

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 23

บริเวณขอบจอด้านบน จุดที่หนาขึ้นเล็กน้อย จะมีสลักคำว่า YOGA 7 SERIES เอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ในการเปิดฝาจอขึ้นมา แต่ตรงนี้ต้องบอกเลยว่าแม่เหล็กที่ดูดฝาจอไว้นั้นค่อนข้างแรง ทำให้ไม่สามารถเปิดจอด้วยมือข้างเดียวได้ ต้องอาศัยมืออีกข้างในการจับตัวเครื่องส่วนล่างเอาไว้ด้วย

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 01

ฝาหลัง Lenovo YOGA Slim 7 ใช้เป็นแบบเรียบ ๆ มีโลโก้ YOGA อยู่ตรงมุมซ้ายบน ไม่มีไฟใด ๆ ให้ความเรียบหรูประมาณหนึ่ง

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 15

ส่วนด้านล่างก็จะเป็นฝาแบบชิ้นเดียว มีช่องดึงลมเข้าเป็นแนวยาว ส่วนยางรองเครื่อง มีด้วยกัน 3 ชิ้น แบ่งเป็น 2 ชิ้นสั้นและ 1 ชิ้นยาวด้านบน

ในการออกแบบลักษณะนี้ ถ้าต้องการหาแท่นรองโน้ตบุ๊กมาช่วยระบายความร้อน ก็แนะนำว่าควรหารุ่นที่มีพัดลมบริเวณกลาง ๆ เพื่อให้ใบพัดสามารถกวาดลมเข้าไปทางช่องดึงลมเข้าได้พอดี จะใช้พัดลมเล็กสองตัว หรือใช้พัดลมใหญ่ตัวเดียวก็ได้

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 27

การแกะฝาล่างก็ไม่ยากเลยครับ แค่ขันน็อตออก 7 ตัว ก็สามารถดึงฝาออกได้ทันที ภายในก็จะพบกับพัดลมระบายความร้อนสองตัว ช่วยกันแชร์ความร้อนออกจากท่อฮีตไปป์กลางออกไป ทำให้สามารถคุมความร้อนได้ดี ส่วน SSD เป็นแบบ M.2 ที่มีแผ่นสีเทาหุ้มไว้อยู่ สามารถถอดเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ทั้งนี้ ไม่สามารถเพิ่มแรมได้นะครับ เพราะเป็นแบบชิปฝังบอร์ดมาแล้ว ส่วนแบตก็ให้มาเกือบ 4000 mAh (~60 Whr)


Connector / Thin And Weight

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 21

Lenovo YOGA Slim 7 ให้พอร์ตมาครอบคลุมการใช้งานทั่วไปได้ดี เริ่มที่ฝั่งซ้ายมีช่อง USB-C ที่รองรับมาตรฐาน USB 3.1 ทั้งสองช่อง สามารถใช้ชาร์จไฟได้ทั้งคู่ผ่านเทคโนโลยี Power Delivery และยังใช้ต่อจอนอกแบบ DisplayPort ได้ด้วย ใกล้ ๆ กันนั้นก็จะมีไฟ LED แสดงสถานะการชาร์จ มีพอร์ต HDMI ขนาดเต็ม และก็ช่องเสียบแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มม.

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 20

ฝั่งขวามีปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง ไฟแสดงสถานะการทำงาน ถัดมาเป็นช่อง USB-A 3.1 Gen 2 มาให้ข้างกัน 2 ช่อง และก็ช่องใส่ MicroSD ทำให้ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไหน ก็สามารถใช้งานร่วมกับ YOGA Slim 7 เครื่องนี้ได้แทบทั้งหมดเลย จะไปต่อพวก USB Hub อีกก็สบาย

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 07

ด้วยความที่ตัวเครื่องมีความบาง ทำให้ช่องระบายอากาศออกจะอยู่บริเวณขอบเครื่องที่อยู่ใต้จอ


Keyboard / Touchpad

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 32

คีย์บอร์ดเป็นแบบยอดนิยมบนโน้ตบุ๊ก คือใช้ปุ่ม F1-F12 เป็นปุ่มปรับฟังก์ชันต่าง ๆ ในเครื่องไปด้วยในตัว ส่วนขนาดของปุ่ม และสัมผัสในการกดนั้น Lenovo ทำได้ดีอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะนิ้วเล็กหรือใหญ่ขนาดไหนก็สามารถกดได้สะดวก ใช้แรงกดแบบพอดี ๆ พิมพ์งานได้สนุกเลย สามารถวางข้อมือบนแท่นวางได้โดยไม่พบอาการไฟดูด

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 08

ไฟ LED ใต้ปุ่มสามารถปรับได้ 3 ระดับคือ ปิด/สว่างระดับกลาง/สว่างมาก วิธีปรับก็ทำได้โดยการกดปุ่ม Fn ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม spacebar เพื่อปรับระดับความสว่าง ซึ่งถ้าเป็นการใช้งานทั่ว ๆ ไป ปรับแค่ระดับกลางไว้ก็มองเห็นปุ่มได้สบายแล้ว แต่ในระหว่างใช้งาน อาจจะเจอแสงลอดจากใต้ปุ่มแถวบนอยู่เหมือนกันนะครับ ขึ้นอยู่กับมุมของการตั้งเครื่องและระดับสายตา

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 10

ทัชแพดมีขนาดมาตรฐาน สามารถลากเคอร์เซอร์ได้ทั่วจอ รองรับการสั่งงานแบบหลายนิ้วพร้อมกัน สามารถลาก gesture ได้ตามปกติ


Performance / Software

win10

Lenovo YOGA Slim 7 มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home รวมถึงยังให้ Microsoft Office Home & Student 2019 ติดมากับเครื่อง สามารถใช้งานได้ฟรี เรียกได้ว่าเปิดเครื่องมา ก็พร้อมทำงานต่อได้เลย

1 2

โปรแกรม CPU-Z ก็สามารถแสดงรายละเอียดของชิป AMD Ryzen 7 4700U ได้ค่อนข้างครบครับ ระบุเลยว่าเป็นชิป 8 คอร์ 8 เธรด โดยมี GPU อย่าง Radeon RX Vega 7 ที่มี 7 คอร์ติดมาด้วย แรมเป็นแบบ DDR4 16 GB รองรับการใช้งานได้แบบไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะงานเอกสาร งานกราฟิก 2D/3D และน่าจะเป็นความจุแรมมาตรฐานไปได้อีกหลายปีเลย ถ้าวางแผนว่ากะจะซื้อโน้ตบุ๊กบางเบามาใช้ซัก 2-3 ปี แนะนำว่าเลือกรุ่นที่ให้แรมมา 16 GB ไปเลยจะดีกว่า (ถ้ามีงบ) เพราะข้อจำกัดในเรื่องที่ไม่สามารถเพิ่มแรมในภายหลังได้

gpuz 1

ส่วน GPU ก็จะระบุมาเพียงแค่ AMD Radeon Graphics แต่ถ้าแยกตามรุ่นย่อยจริง ๆ จะเป็น RX Vega 7 นะครับ ซึ่งได้รับการยอมรับเรื่องประสิทธิภาพพอสมควรเลยว่าแรงกว่ากราฟิกประเภท iGPU หลายรุ่น แถมยังไปแตะ ๆ ระดับกราฟิกชิปแยกในโน้ตบุ๊กได้เลย ทำให้สามารถใช้งานกราฟิกหนัก ๆ เช่น การเล่นเกมได้ แถมเวลาที่ไม่ได้ทำงานหนัก ๆ ก็ยังประหยัดพลังงานอีกต่างหาก

cine

ทดสอบประสิทธิภาพของ CPU ด้วย Cinebench R23 พบว่าตัว AMD Ryzen 7 4700U สามารถทำคะแนนทั้งส่วนของ Single core และ Multi core ได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับชิปในโน้ตบุ๊กด้วยกัน แถมในขณะที่ทดสอบ เครื่องก็ยังไม่ค่อยร้อนเท่าไหร่ด้วย แม้จะลองทดสอบแบบวนลูปก็ตาม

ssd 9

SSD PCIe 512 GB ที่ติดมาในเครื่องก็จัดว่าอยู่ในระดับที่ใช้งานทั่วไปได้สบายมาก บูท Windows 10 ไว เปิดแอป เปิดไฟล์รวดเร็ว เท่าที่ผมลองใช้แต่งรูปจาก Lightroom ก็สามารถโหลดภาพจากคลังได้ทันใจดี ตอนเปิดเกมก็โหลดไวมาก

pcmark 1

ผลทดสอบจาก PCMark 10 จัดอยู่ในระดับโน้ตบุ๊กใช้งานทั่วไป จะใช้ด้านเว็บ ด้านเอกสาร หรือจะด้านกราฟิกก็ตอบโจทย์ได้หมด

3dmark2

ส่วนการทดสอบด้านกราฟิกจาก 3DMark ก็ถือว่าทำได้ดีมากเมื่อเทียบกับกลุ่ม Office Laptop ด้วยกัน เนื่องจากการใช้กราฟิก RX Vega 7 ที่ทำคะแนนได้ค่อนข้างดีกว่า iGPU รุ่นอื่น ๆ

ทดลองเล่นเกมบน Lenovo YOGA Slim 7

TslGame 2020 11 25 11 40 28 77

TslGame 2020 11 25 11 40 11 18

เปิดด้วยเกม PUBG ตัวเต็ม โดยเท่าที่ผมลอง พบว่าถ้าปรับความละเอียด 1080p ปรับ render scale ซัก 70 และปรับกราฟิกโดยรวมอยู่ที่ระดับ Medium เฟรมเรตของภาพที่ได้จะอยู่ในช่วง 50-55 fps ซึ่งถือว่าโอเคเลยครับ สำหรับโน้ตบุ๊กบางเบาสายทำงาน ส่วนถ้าลองปรับกราฟิกเป็น Very low ก็จะได้เฟรมเพิ่มมาอีกนิดหน่อย แต่ถ้าปรับ render scale เต็ม 100 อันนี้เฟรมจะหายไปพอสมควรเลย

bfv auto low

ลอง Battlefield V กันบ้าง อย่างในภาพด้านบนเป็นการปรับกราฟิกระดับ Very low ที่ 1080p ครับ เฟรมเรตได้อยู่ในช่วง 26-30 fps เท่านั้น ซึ่งเอาจริง ๆ ก็พอเล่นได้อยู่ ภาพสวยพอสมควร แต่อาจจะไม่เวิร์คเท่าไหร่ถ้าเล่นในโหมด multiplayer อาจจะต้องลดความละเอียดภาพลง

Overwatch 2020 11 25 12 46 03 36

ส่วน Overwatch ปรับระดับ Medium นี่สบายเลยครับ เฟรมเรตทะลุ 60 fps เกือบตลอดเวลา

GenshinImpact 2020 11 25 11 33 30 83

GenshinImpact 2020 11 25 11 32 32 40

ปิดท้ายด้วยเกมกระแสแรงแห่งปีอย่าง Genshin Impact โดยค่าเริ่มต้นเกมจะปรับมาให้เต็ม 1080p กราฟิกโดยรวมอยู่ที่ระดับ Medium ซึ่งลองแล้วก็ได้เฟรมเรตอยู่ในระดับ 30 fps นิด ๆ

vt1 1

แน่นอนว่าโน้ตบุ๊กจาก Lenovo ย่อมมาพร้อมโปรแกรม Lenovo Vantage ที่เป็นเหมือนผู้ช่วยดูแลทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้กับตัวเครื่อง รวมถึงยังมีตัวปรับตั้งค่าการทำงานของฟังก์ชันต่าง ๆ มาให้ด้วย

vt3 1

สำหรับหน้า My Device จะเป็นศูนย์กลางแสดงสถานะของตัวเครื่อง เช่น เลขซีเรียลนัมเบอร์ ชิปประมวลผล แรม ความจุ SSD รวมถึงเรื่องการตรวจสอบอัพเดตตัว Windows และไดรเวอร์ด้วย

vt4 1

vt5

vt6 1

เข้ามาที่ My Device Settings หัวข้อ Power จะพบตัวตั้งค่าต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น

  • Lenovo Vantage Toolbar ที่เป็นแถบลัดสำหรับปรับค่า เช่น การเปิด/ปิดไมค์ ได้จากแถบ Taskbar ของ Windows 10 เลย
  • Intelligent Cooling ใช้สำหรับปรับการทำงานของพัดลมว่าจะให้เป่าเต็มที่ เป่าเบาแบบประหยัดแบต หรือจะเป็นแบบให้ระบบจัดการให้อัตโนมัติ
  • Rapid Charge ฟังก์ชันชาร์จเร็ว
  • Conservation Mode ระบบจะชาร์จแบตเพียง 55-60% เพื่อถนอมอายุการใช้งานแบต เหมาะสำหรับคนที่เสียบสายอะแดปเตอร์ตลอดเวลา
  • Flip to boot ตั้งค่าให้เครื่องเปิดทันทีเมื่อเปิดฝาพับจอขึ้นมา
  • Always on USB ตั้งค่าเปิดหรือปิดการชาร์จไฟของพอร์ต USB ให้กับอุปกรณ์อื่น แม้จะปิดคอมไปแล้ว

vt7

ส่วนการตั้งค่าเสียง ก็จะมีการปรับรูปแบบเสียงของ Dolby Audio ว่าจะให้เน้นเสียงโทนใด เช่น สำหรับดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม หรือเน้นเสียงสนทนา ส่วนด้านล่างก็จะมีตัวปรับไมโครโฟนด้วยเช่นกัน

vt9

webcamblur

ในหัวข้อ Display & Camera จะมีตัวปรับค่าเกี่ยวกับจอ เช่น โหมดถนอมสายตา เป็นต้น ส่วนที่เกี่ยวกับกล้องจะค่อนข้างน่าสนใจตรงที่มีฟังก์ชันปรับพื้นหลังเบลอมาให้ด้วย เหมาะกับคนที่ต้องใช้ในการประชุมออนไลน์จากที่บ้าน หรือนอกสถานที่ โดยระบบจะตรวจจับคนในภาพ แล้วตัดภาพพื้นหลังให้อัตโนมัติ ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้เบลอพื้นหลัง หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น ๆ เช่น เปลี่ยนเป็นภาพการ์ตูน หรือเปลี่ยนเป็นภาพวาด

ซึ่งจากที่ผมลอง ถ้าอยู่ในที่มีแสงน้อย การตัดพื้นหลังจะแม่นยำอยู่ราว ๆ 80% ครับ ความเร็วในการตรวจจับก็จะลดลงจากที่ใช้ในที่มีแสงเพียงพออยู่เหมือนกัน

vt10 1

ด้านของหัวข้อ Input & Accessories จะมีเพียงแค่การปรับหน้าที่ของปุ่มแถวบน ว่าจะให้เป็นแถบปุ่มฟังก์ชัน หรือเป็นปุ่มตั้งค่าต่าง ๆ และก็มีตัวเปิด/ปิดไฟคีย์บอร์ดมาให้ด้วย


Battery / Heat / Noise

แบตเตอรี่ของ Lenovo YOGA Slim 7 ตามที่ระบุในหน้าสเปคพบว่าสามารถทดสอบได้นานราว 14 ชั่วโมง ส่วนที่ผมลองใช้งานด้วยตัวเองกับรูปแบบการทำงานพื้นฐาน เช่น เปิด Google Chrome อยู่เกือบ 10 แท็บ เปิด Line มีดู Youtube บ้างเป็นระยะ ๆ เปิดความสว่างหน้าจอระดับกลาง ๆ และเปิดไฟคีย์บอร์ดด้วย

batmon

ซึ่งระบบจะแจ้งว่าสามารถใช้ได้ราว 8-10 ชั่วโมง จัดว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานของผมในแต่ละวันครับ ส่วนการชาร์จ ก็สามารถชาร์จเข้าได้เร็วทันใจ (เปิดฟังก์ชัน Rapid Charge ไว้)

temp 5

ทดสอบความร้อนด้วยการเร่งให้ CPU และ GPU ทำงานแบบเต็มกำลังพร้อม ๆ กัน อันนี้ต้องบอกว่า YOGA Slim 7 และ Ryzen 7 4700U นั้นทำออกมาได้ดีมาก สามารถคุมความร้อนได้ดี อย่างในภาพด้านบนเป็นการทดสอบในห้องพัดลมที่มีอากาศปกติ ผลคือความร้อนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 76 องศาเท่านั้น

temp aircon

แต่ถ้าลองทดสอบในห้องแอร์ประมาณ 26 องศา อันนี้ยิ่งเย็นลงไปอีกครับ เพราะอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 69 องศาเท่านั้นเอง แถมชิปยังทำงานแบบ 100% เต็มตลอดเวลา และพัดลมก็ไม่ดังเท่าไหร่ด้วย

ส่วนในการใช้งานทั่วไป อุณหภูมิของ CPU จะอยู่ที่ประมาณ 40 องศากว่า ๆ ต้องยกความดีให้กับทั้งตัวชิป AMD Ryzen 7 4700U ที่ทั้งแรงและเย็น และก็พัดลมระบายความร้อนภายในที่มีมาให้ถึง 2 ตัว


Conclusion / Award

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 19

Lenovo YOGA Slim 7 คือโน้ตบุ๊กบางเบาสำหรับสายทำงานที่ครบเครื่องมากที่สุดรุ่นหนึ่ง ด้วยตัวเครื่องที่ทำออกมาได้กำลังพอดี ไม่ว่าจะเรื่องน้ำหนักราว 1.4 กิโลกรัม ความบางที่ช่วยให้สามารถพกได้สะดวก หน้าจอขนาด 14″ ที่ใหญ่เต็มตา ในขณะที่ฮาร์ดแวร์ภายในก็ให้มาเร็วแรงเหมาะกับการใช้งาน ด้วยพลังของ AMD Ryzen 7 4700U สถาปัตยกรรม Renoir ที่เด่นทั้งในเรื่องความแรงและการใช้พลังงานที่เหมาะสม ร่วมกับกราฟิกจาก AMD Radeon RX Vega 7 ที่เทียบชั้นกราฟิกแยกบางรุ่นได้สบาย พร้อมกับแรม DDR4 16 GB ที่เหลือเฟือสำหรับการใช้งานทุกรูปแบบในปัจจุบัน

ส่วนในการใช้งานจริง YOGA Slim 7 ก็เป็นโน้ตบุ๊กที่ตอบสนองการทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม เปิดเครื่อง เปิดโปรแกรมรวดเร็ว จอสวยใช้ทำงานสายกราฟิกได้สบาย แม้จะโหลดงานหนัก เครื่องก็ยังไม่ร้อนและทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแทบจะตลอดเวลา แบตเตอรี่ก็สามารถใช้งานได้ยาวนาน และรองรับการเชื่อมต่อได้หลากหลายมาก ๆ ทั้งแบบมีสายและไร้สาย เรียกว่าถ้าต้องการโน้ตบุ๊กสำหรับใช้ทำงานซักเครื่องในงบ 30,000 บาท Lenovo YOGA Slim 7 สเปค Ryzen 7 4700U เครื่องนี้ลงตัวมาก ๆ ครับ

Review Lenovo YOGA Slim 7 NotebookSPEC 25

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คบางเบาด้วยกัน ซึ่ง Lenovo YOGA Slim 7 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Design

แม้ดีไซน์ภายนอกของ Lenovo YOGA Slim 7 จะดูเหมือนโน้ตบุ๊กทั่วไป แต่ที่จริงแล้วจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอที่ขอบบาง ทำให้สามารถใส่จอขนาด 14″ ลงมาในตัวเครื่องขนาดกะทัดรัดได้ การจัดวางพอร์ตต่าง ๆ ก็ทำได้ลงตัว เหมาะและสะดวกกับทุกการใช้งาน รวมถึงภายในที่ออกแบบมาให้มีพัดลมระบายอากาศ 2 จุด ช่วยให้การถ่ายเทความร้อนเป็นไปได้เต็มที่ ส่งผลถึงการทำงานของตัวชิปที่สามารถเร่งได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น

NBS award 7 Design

Best Mobility

Lenovo YOGA Slim 7 เหมาะกับการเป็นโน้ตบุ๊กบางเบาประสิทธิภาพสูงที่สามารถพกไปใช้งานได้ในทุก ๆ ที่ ด้วยน้ำหนักราว 1.4 กิโลกรัม แต่ได้จอ 14″ ในตัวเครื่องที่ค่อนข้างกะทัดรัด และสามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้เกือบ 10 ชั่วโมงอีก เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้จริง ต้องบอกว่า YOGA Slim 7 เครื่องนี้สมกับการเป็นโน้ตบุ๊กสำหรับคนทำงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงในทุกที่ทุกเวลาจริง ๆ

NBS award 4 Mobility

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

Special Story

หากจะพูดถึงซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดปี 2024 สำหรับโน้ตบุ๊กของ AMD ก็จะต้องเป็น AMD Ryzen AI 300 series ที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านพลังประมวลผล พลังกราฟิก และที่เด่นชัดสุดคือความสามารถในการทำงานด้าน AI โดยที่ผ่านมาก็จะมีรุ่นที่ออกมาทำตลาดคือ AMD Ryzen AI 9 HX 370 ที่เป็นชิปรุ่นกลาง แต่ล่าสุดเราเริ่มเห็นโน้ตบุ๊กที่ใช้ AMD...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

AMD

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ติดตั้งชิปเซ็ต AMD Ryzen AI NPU ก็เริ่มหาซื้อได้ง่ายขึ้น มีตัวเลือกมากมายแถมซอฟท์แวร์หรือส่วนเสริม AI จากบริษัทชั้นนำก็มีให้ใช้งานมากขึ้นรวมทั้ง Microsoft ก็รับลูก จับมือกับผู้พัฒนาซีพียูปรับแต่ง Windows 11 ให้ใช้งานกับซีพียูรุ่นใหม่มี NPU ได้ดีขึ้นและมีฟังก์ชั่นตรวจจับการทำงานเพิ่มเข้ามาใน Task Manager เป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้ดูได้ว่าชิปเซ็ตใหม่นี้ทำงานตอนไหนบ้าง อย่างไรก็ตามชิปนี้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเฉพาะอย่าง ปกติมักไมเ่ห็นคอร์นี้ทำงานบ่อยนักจนบางคนเกิดกังขาว่าชิปเซ็ตตัวนี้มันสมคำโฆษณาหรือเปล่า?...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก