โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
การคำนวณค่า PI ใช้เวลาไป 16.255 วินาที ทำได้ไม่เลวสำหรับ CPU ตัวนี้
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวณเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวณได้พร้อมกัน
พอลองให้ทดสอบการทำงานพร้อมกันหลาย? Thread ก็มีความล่าช้าเกิดขึ้นให้เห็นเหมือนกับ CPU ที่มี Hyper Threading ตัวอื่น ที่ความเร็วจะลดลงไปเยอะมาก เกือบครึ่งเลยทีเดียว
โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวณทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
ลองทดสอบประสิทธิภาพเครื่องรวม ๆ ด้วย PCMark05 ก็สามารถทำคะแนนออกมาได้ทั้งหมด จุดที่ด้อยก็ยังเป็นการ์ดจอนั้นเอง ดูเหมือนว่าโปรแกรมจะไม่ยอมสลับไปใช้การ์ด GeForce ซะด้วย เป็นข้อเสียของระบบอัตโนมัติ
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
ทดสอบที่ความละเอียด 1280 x 768
ลองทดสอบการทำงานด้วย 3DMark06 ก็พบปัญหาเดียวกัน คือ โปรแกรมไม่ยอมสลับไปใช้การ์ด GeForce ทำให้ผลการทดสอบออกมาค่อนข้างน้อยกว่าที่ควรจะทำได้
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
คะแนนทดสอบของ Cinebench ก็นับว่าพอใช้ทีเดียว เป็นเพราะโปรแกรมสามารถเรียกใช้การ์ดจอแยกได้ ความเร็วก็เลยเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย แต่เครื่องนี้ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้กับการทำงานหนัก ๆ อย่างสามมิติแบบนี้