Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Review – Lenovo ThinkPad X395 จอ 13.3″ sRGB 94% สเปก Ryzen 5 Pro 3500U ราคา 19,990 บาท ประกัน 3 ปี On-site

Lenovo ThinkPad X395 เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 13.3″ ที่เน้นความบางเบาเพื่อการพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ รวมถึงขอบหน้าจอที่บาง ซึ่งได้ต้นแบบมาจาก Lenovo ThinkPad X280 ที่เป็นรุ่นหน้าจอ 12.5″ รุ่นสุดท้าย ที่มีมิติตัวเครื่องใกล้เคียงกันแต่ได้ขนาดพื้นที่หน้าจอที่ใหญ่ขึ้น

Lenovo ThinkPad X395 เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 13.3″ ที่เน้นความบางเบาเพื่อการพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ รวมถึงขอบหน้าจอที่บาง ซึ่งได้ต้นแบบมาจาก Lenovo ThinkPad X280 ที่เป็นรุ่นหน้าจอ 12.5″ รุ่นสุดท้าย ที่มีมิติตัวเครื่องใกล้เคียงกันแต่ได้ขนาดพื้นที่หน้าจอที่ใหญ่ขึ้น โดยเป็นโน๊ตบุ๊คอีกรุ่นที่เป็นสายมืออาชีพที่แบตเตอรี่ก็ใช้งานได้ยาวนาน แต่แตกต่างในเรื่องของสเปกที่ Lenovo ThinkPad X390 รุ่นก่อนหน้าที่จะใช้ชิปประมวลผล Intel Core i แต่ว่า Lenovo ThinkPad X395 รุ่นล่าสุดนี้จะเลือกใช้เป็น AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่ลื่นไหลและออกมาฟีเจอร์มารองรับกับงานระดับองค์กรโดยเฉพาะ

โดยตัวเครื่องได้ความบางที่สุดที่ 16.9 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.28 กิโลกรัมเท่านั้น  โดดเด่นด้วยการเชื่อมต่อชาร์จไฟผ่านมาตรฐานพอร์ตอย่าง USB 3.1 Type-C จำนวน 2 พอร์ต อีกทั้งยังมี USB 3.1 Type-A อีก 2 พอร์ต และพอร์ตการเชื่อมต่ออื่นๆ อย่าง HDMI, Native Ethernet port,micro-SD Card Reader หรือจะใส่ตัวอ่าน Smart Card และรองรับใช้งาน 4G LTE ด้วยการเพิ่มโมดูล ก็สามารถเลือกเพิ่มเอาได้ ที่สำคัญระบบปฏิบัติก็เป็น Windows 10 พร้อมใช้งานทันที สนนราคาเริ่มต้นที่ 19,990 บาทเท่านั้น ได้ประกันแบบ 3 ปี Onsite Service ด้วย

Advertisement

NBS Verdict

Lenovo ThinkPad X395 Review 28

Lenovo ThinkPad X395 ถือว่าให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ยอดเยี่ยมจริงๆ สมกับเป็นซีรีส์โน๊ตบุ๊คที่มืออาชีพนิยมใช้งานกัน หรือผู้ใช้งานระดับทั่วไปก็สามารถใช้ได้ จากการที่เป็นซีรีส์ ThinkPad ที่ทุกคนมั่นใจ ซึ่งเลือกใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่นอกจากประสิทธิภาพดีเยี่ยม ยังได้เทคโนโลยี AMD GuardMI ด้วย โดยจริงๆ แล้ว Lenovo ThinkPad X395 เป็นการต่อยอดมาจาก Lenovo ThinkPad A285 และ Lenovo ThinkPad X390 นั่นเอง (ถ้าใช้ชิปประมวลผล Intel Core i จะใช้ชื่อ Lenovo ThinkPad X280 หรือล่าสุดเป็น X390) ส่งผลให้สามารถทำราคาให้จับต้องได้ง่ายขึ้น ด้วยค่าตัวเพียง 19,990 บาทเท่านั้น อีกทั้งยังได้ประกัน 3 ปี On-site Service ด้วย

ซึ่งสเปกภายในไม่ว่าจะเป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่ประสิทธิภาพดีประหยัดพลังงาน ได้แรมขนาด 8GB และ SSD M.2 NVMe ความจุ 256GB สนับสนุนการใช้งานพื้นฐานได้เป็นอย่างดีรวมถึง ผลทดสอบต่างๆ ออกมาได้อยู่ในระดับมาตรฐานเป็นที่น่าพอใจมากทีเดียว ทำให้ Lenovo ThinkPad X395 ทำงานได้อย่างลื่นไหล ทั้งในด้านการทำงานทั่วไป และงานที่เน้นการประมวลผลที่ไม่กินทรัพยากรเกินไป

ที่สำคัญคือได้หน้าจอขนาด 13.3″ Full HD พาเนล IPS คุณภาพสูงที่ sRGB 94% โดยมีพอร์ตชาร์จไฟและเชื่อมต่อเป็น USB 3.1 Type-C จำนวน 2 พอร์ตด้วย เรียกได้หาได้ยากในโน๊ตบุ๊คช่วงราคานี้แน่นอน นอกจากนี้ตัวเครื่องยังแข็งแกร่งทนทาน คีย์บอร์ดแม่นยำพิมพ์สนุก คีย์บอร์ดระบายน้ำได้ TrackPoint ใช้งานสะดวก ใช้งานต่อเนื่องได้ระดับ 10 ชั่วโมง

พอร์ตเชื่อมต่อครบครันระดับนึง มี Fingerprint รวมไปถึงมี Windows แท้ และซอฟต์แวร์ติดเครื่องคุณภาพใช้งานได้จริง ส่งผลให้เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาที่จัดได้ว่ามีความครบครันในการใช้งานหลายๆ ด้าน ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานทั่วๆ ไปหรือผู้ที่เน้นใช้งานจริงจัง รวมไปเน้นพกพา แบตเตอรี่ใช้งานจริงๆ ได้เกือบๆ 8 ชั่วโมง

เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่บางๆ เบาๆ ได้ความทนทานและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ThinkPad ยุคใหม่ โดยมาพร้อมสเปคคุ้มค่าราคาไม่แพงจนเกินไป ก็สามารถเลือกดูเป็น Lenovo ThinkPad X395 รับรองว่าด้านประสิทธิภาพและคุณบัติต่อราคานั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามสำหรับสเปกอาจจะไม่ได้ตัวใหม่อย่าง AMD Ryzen 4000 U แต่แลกกับฟีเจอร์หลายๆ อย่าง ก็ถือว่าทุกๆ อย่างเหมาะสมแล้วล่ะ ข้อดี

  • หน้าจอแสดงผล 13.3″ ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพสูง sRGB 94%
  • การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
  • ตัวเครื่องมีความทนทานระดับ Military Grade (MIL-STD-810H)
  • ตัวเครื่องมีความบางเบา เพียง 1.28 กิโลกรัม และบางสุดที่ 16.9 มิลลิเมตร
  • ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่แรงลื่นพอตัว มีเทคโนโลยี AMD GuardMI
  • มีฟีเจอร์ ThinkShutter  ม่านชัตเตอร์ปิดเลนส์กล้องเว็บแคม
  • AccuType Keyboard สัมผัสในการพิมพ์ดีเยี่ยม พร้อมติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
  • คีย์บอร์ดมีความทนทานด้วยฟีเจอร์ Spill resistant ระบายน้ำได้ หากน้ำหกใส่
  • มี TrackPoint ตามมาตรฐาน ThinkPad ใช้งานได้สะดวกสำหรับคนที่ชอบ
  • ระบบ Fingerprint มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน
  • อแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีขนาดเล็กพกพาง่าย และเป็น USB-C
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานเกือบ 8 ชั่วโมง
  • มีรุ่นที่รองรับการใช้งาน 4G LTE หรือ Smart Card
  • มี Windows แท้ และซอฟต์แวร์ติดเครื่องใช้งานได้จริง
  • ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมคุ้มค่าต่อราคา
  • ประกันเป็นแบบ 3 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้าน

ข้อสังเกต

  • แบตเตอรี่ใช้งานได้น้อยกว่าที่เคลมไว้
  • แรมเป็นแบบฝังบอร์ด ไม่สามารถอัพเกรดภายหลังได้

Specification

Lenovo ThinkPad X395 20NMS1LN00 Lenovo ThinkPad X395 ที่ได้รับมารีวิวนี้ไม่ใช่ตัวสเปกขายจริง เพราะได้ SSD เป็นความจุ 512GB (ขายจริงเป็น 256GB และอาจจะเป็นคนละรุ่นด้วย) สเปกภายในใช้ชิปประมวลผลรุ่นพิเศษอย่าง AMD Ryzen 5 Pro 3500U (2.10 – 3.70 GHz) เป็นสถาปัตยกรรม 12 nm Zen+ รุ่นใหม่ ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด การ์ดจอออนบอร์ด VEGA 8 ประสิทธิภาพดี รองรับการเล่นเกมออนไลน์พอได้  แรมให้มาขนาด  8GB แบบฝังบอร์ด สำหรับที่เก็บข้อมูลเป็นมาตรฐาน SSD M.2 NVMe PCIe ความจุ 256GB ที่แรงลื่นเพียงพอต่อการใช้งาน

ส่วนหน้าจอเป็นขนาด 14″ ที่ได้ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี สีสันสดใส มุมมองกว้างกว่าพาเนล TN พร้อมมีลำโพงคุณภาพดีทำงานร่วมกับระบบเสียง Dolby Audio ส่วนพอร์ตที่ให้มาก็ครบครัน ได้แก่ 1 x USB 3.1 Type-C, 2 x USB 3.1 Type-A, HDMI, และ SD card reader รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Wi-Fi 6AX และ Bluetooth 5.0 ด้วย รองรับการทำงานทุกไลฟ์สไตล์ ในราคาเบาๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานได้ทันที พร้อมการรับประกัน 2 ปี 

Hardware / Design

Lenovo ThinkPad X395 Review 4

ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo ThinkPad X395 จะมีการต่อยอดการผลิตจากไลน์ของ ThinkPad X Series รุ่นก่อนๆ ด้วยที่เป็นซีรี่ส์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกันกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ แต่มีอีกหลายจุดที่ตัว Lenovo ThinkPad X395 เหนือชั้นไปจากเดิมพอสมควร ซึ่งถ้าเทียบกับ Lenovo ThinkPad X280 ก็จะเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นรุ่นหน้าจอ 12.5″ รุ่นสุดท้าย จากการที่ได้ขอบหน้าจอที่บางเล็กในมิติตัวเครื่องใกล้เคียงเดิม พร้อมได้พื้นที่แสดงผลเป็น 13.3″ และได้ปรับชื่อเป็น Lenovo ThinkPad X395 เรียกได้ว่าเป็นการทิ้ง รหัสรุ่น X2xx ที่ใช้งานมาอย่างยาวนานเป็นสิบๆ ปี เพื่อเป็นการเปิดรับกับขนาดหน้าที่ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าเดิม แต่ก็ยังคงรูปแบบความแกร่งด้วยการใช้เป็นสีดำตลอดทั้งตัวเครื่อง

วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุโลหะแม็กนีเซียมประกอบกับพลาสติกคุณภาพสูง ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวที่เรียบง่ายแต่ยังให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คสไตล์ ThinkPad โดยเหมาะสำหรับกลุ่มนักธุรกิจหรือคนที่ต้องการฮาร์ดแวร์ที่สเถียรสูง เชื่อถือได้ และมีความคงทนแข็งแรง โดย Lenovo ThinkPad X395 นั้น ได้ปรับเปลี่ยนหลายๆ จุดให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ตามยุคตามสมัยในเรื่องของความเพียวบางและเบา แต่ก็ยังไม่ทิ้ง DNA ของ ThinkPad ที่มีประวัติชื่อชั้นมาอย่างยาวนานไปเสียทั้งหมด

Lenovo ThinkPad X395 Review 26

ทำให้นับได้ว่า Lenovo ThinkPad X395 เป็นโน๊ตบุ๊คที่แม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คแนวทึกทนแต่ก็มีความสดใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งก็ยังมาพร้อมกับความบางเบา ที่ความบางที่ 16.9 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.28 กิโลกรัมเท่านั้นเอง ถือว่าน้อยมากๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คขนาดจอ 13.3″เรียกได้ว่าความบางและน้ำหนักนั้น เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการพกพาไปไหนมาไหนบ่อยๆ เลย ที่มีสเปกประสิทธิภาพสูงเน้นความสเถียรภาพ

ด้วยสเปกชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานฟีเจอร์ในองค์กรโดยเฉพาะ สำหรับการออกแบบบานพับขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับหน้าจอ 180  องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน รวมถึงมีความทนทาน จากได้รับมาตรฐาน Military Grade (MIL-STD-810H) กำหนดทางทหารถึง 12 ระดับ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพมากกว่า 200 รายการ อาทิ ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถทำงานได้ตามประสบการณ์ตรงที่ Lenovo ทำได้ดีมาโดยตลอด

Lenovo ThinkPad X395 Review 34

ส่วนอื่นๆ ที่ยังเป็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของ ThinkPad ก็ยังคงมีอยู่ อย่างโลโก้ ThinkPad บริเวณมุมบนซ้ายฝาหลัง และมุมขวาล่างด้านในตัวเครื่อง โดยมีไฟ LED สีแดงคอยบอกสถาณะการทำงานอยู่ สำหรับปุ่ม Power จะถูกติดตั้งเอาไว้ที่มุมขวาของแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งตัวปุ่มจะเป็นสีเดียวกับตัวเครื่องแสดงสถานะการเปิดปิดเครื่องได้ ที่สำคัญที่สุดคือเราได้เห็นสติ๊กเกอร์ AMD Ryzen Pro ที่ต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกของ Lenovo ThinkPad เลยก็ว่าได้ ส่วนด้านใต้ตัวเครื่องก็จะเป็นช่องดูดลมเย็น พร้อมยางจำนวน 4 จุดที่ช่วยยกตัวให้สูงขึ้น

Keyboard / Touchpad

Lenovo ThinkPad X395 Review 16

แน่นอนว่าคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad X395 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก ได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น คีย์บอร์ดยังโดดเด่นด้วยฟีเจอร์ Spill resistant กันพวกฝุ่นละอองเข้าไป กันน้ำหกได้ ในระดับหนึ่ง รวมไปถึงบริเวณใต้ชุดคีย์บอร์ดด้านขวายังมีการติดตั้งตัวสแกนลายนิ้วมือ ที่ไว้ใช้งานร่วมกับ Windows Hello อีกด้วย

นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad X395 ก็ไม่ลืมที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับ TrackPad ขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 3 ปุ่มได้เป็นอย่างดี พร้อมซ้ายคลิกซ้ายขวาแบบปกติเอาไว้ ก็สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi-Gesture บน Windows 10 ได้ดี ยิ่งถ้าใช้งาน TrackPoint และ TrackPad ควบคู่กันไปด้วยจะยิ่งใช้งานได้ไวมากขึ้น

Screen / Speaker

Lenovo ThinkPad X395 Review 22

ด้านหน้าจอแสดงผล Lenovo ThinkPad X395 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดใหญ่ถึง 13.3″ มาพร้อมความละเอียด Full HD ที่ 1920 x 1080 พิกเซล แบบ 16:9 แบบด้านลดแสงสะท้อน ใช้พาเนลจอแบบ IPS ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพาเนลเกรดสูง ที่เหมาะสมกับงานมืออาชีพ เพราะให้สีสันตรงสุดๆ ระดับที่ใกล้เคียงกับ sRGB 100% มาพร้อมกับมุมมองที่เกือบ 180 องศา แบบว่ามองมุมไหนสีสันก็ไม่เพี้ยนเลย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่ง และการที่ใส่ยางขอบจอแบบติดเนียนตามตลอดแนวขอบจอเลย ทำให้ช่วยซับแรงกระแทกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่มักจะติดตั้งมาเป็นจุดๆ ในบางตำแหน่งเท่านั้น

แม้ขอบจอจะบางเฉียบแต่ก็ได้ติดตั้งกล้องเว็บแคมไว้ด้านบนเหมือนเดิม ที่สำคัญยังมาพร้อมฟีเจอร์ ThinkShutter  ม่านชัตเตอร์ปิดเลนส์กล้องที่ทำให้เรามั่นใจว่ากล้องจะเห็นในเวลาที่เราต้องการใช้งานเท่านั้น การใช้งานก็ง่ายมากๆ ด้วยการใช้นิ้วเลื่อนเปิดหรือปิดการใช้งานเท่านั้น เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบ เรียกได้ว่าได้ความปลอดภัยสมกับเป็น ThikPad Series ที่เป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานระดับมืออาชีพเลยก็ว่าได้ พร้อมไมโครโฟนแบบ Noise Cancelling อีกด้วย s3

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 94% และ AdobeRGB 70% เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูง ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 250 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว

ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องแถวกลางเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ 250 cd/m2 แต่สำหรับช่องแถวกลางซ้ายเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงแค่ระดับ 9% เท่านั้น ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนนรวม 3.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว

ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอ มาพร้อมระบบเสียง Dolby Audio Premium ให้ที่เสียงที่ดีมาก พร้อมซอฟต์แวร์ปรับแต่ง ทั้งในเรื่องของเสียงเบสที่มีน้ำหนัก เสียงกลางที่สมดุล และเสียงแหลมที่ออกมาใสๆ พร้อมทั้งความดังและกังวาลที่มากกว่า ซึ่งตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น 2 ตัว ทำให้เสียงที่ออกมามีเสียงดังฟังชัด รองรับการใช้งานได้หลากหลายแบบสบายๆ

Inside / Upgrade

Lenovo ThinkPad X395 Review 53

การแกะเครื่อง Lenovo ThinkPad X395 นั้นสามารถทำได้ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายเสียทีเดียว เพราะงานประกอบค่อนข้างแน่นหนาทีเดียวจากการที่ฝาหลังเป็นโลหะทำให้ค่อนข้างแข็ง แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เอาจริงๆ คือใครๆ ก็ทำได้ขอแค่มีไขควงสี่แฉก  ซึ่งหลังจากถอดน็อตทุกตัวเสร็จหมดแล้ว เราต้องใช้บัตรแข็งค่อยๆ รูดถอดออกที่ละส่วน จากหลังมาหน้า ควรทำอย่างใจเย็นระวังแตกหัก ซึ่งในส่วนของขอบเครื่องฝาด้านหน้าจะเป็นสลักยึดเอาไว้ตรงนี้ต้องใช้แรงดึไปด้านหลัง

โดยเมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ อย่างชัดเจนตามรูปเลย การวางรูปแบบของฮาร์ดแวร์เครื่องนี้ทำได้ดูดีสมกับเป็นโน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพ เรื่องระบายความร้อนตัวเครื่องมี Heat Pipe จำนวน 1 เส้น วางพาดชิปประมวลผล ส่วนพัดลมเครื่องนี้ก็มีมาให้ 1 ตัว โดยลมร้อนเป่าออกทางด้านข้างตัวเครื่อง นอกจากนั้นเราจะเห็นถึงแรม 8GB DDR4 ที่ฝังบอร์ดมา ทำให้ไม่สามารถอัพเกรดได้ภายหลังตามสไตล์ของ Ultrabook โดยจะเห็นถึง SSD M.2 NVMe PCIe ที่หากต้องอัพเกรดก็ต้องถอดของเดิมออกด้วย ซึ่งในส่วนที่สามารถทำการอัพเกรดได้อีกก็จะเป็นช่อง SSD M.2 SATA 3 นั่นเอง

Connector / Thin And Weight

Lenovo ThinkPad X395 Review 46

Lenovo ThinkPad X395 มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปขชัดเจน แต่ได้พอร์ตเชื่อมต่อมีมาให้ครบครันมากมายระดับนึง อาทิ พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.1 Gen 1 Type-A  จำนวน 2 พอร์ต ที่มาพร้อมกับการสนันสนุนในเรื่องของการจ่ายไฟที่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถชาร์จสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้พลังงานเต็มที่อย่างรวดเร็ว โดยช่องเชื่อมต่ออแดปเตอร์แบบพอร์ตอย่าง USB 3.1 Type-C จำนวน 1 พอร์ต ซึ่งเปลี่ยนจากช่องสี่เดิมเดิมๆ ที่ใช้งานมาอย่างยาวนาน

แน่นอนว่ารองรับ USB Power Delivey ตามสมัยนิยมด้วย นับว่าช่วยเรื่องความสะดวกสบายขึ้นเยอะทีเดียว และช่องเชื่อมต่อเสียงภายนอกขนาดมาตรฐานที่ 3.5 มิลลิเมตร ซึ่งรองรับการใช้งานไมค์และหูฟังในช่องๆ เดียว รวมไปถึงมีพอร์ตเชื่อมต่อ HDMI และ Smart card reader กรณีที่เป็นบัตรพนักงานเพื่อเข้าใช้งานในงานบางงานที่ต้องการความปลอดภัย รวมถึง Native Ethernet port โดยรองรับการใช้งาน USB 3.1 Type-C อีกจำนวน 1 พอร์ต

อีกทั้งยังรองรับการใช้งานร่วมกับ ThinkPad Basic/Pro/Ultra Dock ไว้ใส่ชุดเชื่อมต่อขยายตามสไตล์ ThinkPad นอกจากนี้ยังมี micro-SD Card Reader ที่ขอบตัวเครื่องด้านหลัง พร้อมเป็นช่องใส่ซิมการ์ดในตัวกรณีที่ติดตั้งโมดูล Global Mobile Broadband 4G LTE สำหรับน้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.28 กิโลกรัม ที่ถือว่าเบาทีเดียว กับการที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3″ ที่ครบเครื่องขนาดนี้ทั้งดีไซน์และความทนทาน

เมื่อพกพากับอแดปเตอร์ขนาด 65Watt ที่มีขนาดเล็ก ก็ถือว่า Lenovo ThinkPad X395 ตอบโจทย์การใช้งานนอกสถานที่อย่างที่สุดรุ่นหนึ่ง จากการที่รองรับการใช้งานไร้สายเป็น Intel 9260 Wireless-AC 2 x 2 AX และ Bluetooth 5.0 เรียกได้ว่าทั้งหมดนี้เหมาะสุดๆ กับการใช้งานในออฟฟิศหรือร้านกาแฟ หรือที่ไหนก็ได้ที่เราจะกางจอออกมาทำงาน

Performance / Software

c1   c2

Lenovo ThinkPad X395 เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก AMD Ryzen 5 Pro 3500U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.10 – 3.70 GHz ที่ทั้งแรงมีประสิทธิภาพที่ดี แถมประหยัดพลังงาน สถาปัตยกรรม 12 nm Zen+ รุ่นใหม่ เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads มีค่า TDP 15 – 25Watt มาพร้อมแรมออนบอร์ดขนาด 8GB DDR4 Bus 2400 MHz ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ รวมไปถึง AMD Ryzen 5 Pro 3500U ยังเหนือชั้นกว่าชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 3500U ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คทั่วไป

จากการที่ผสมผสานประสิทธิภาพที่ทรงพลังด้วยเทคโนโลยี AMD GuardMI เข้ากับฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือในเชิงพาณิชย์ไว้ด้วยกัน โดยมีหน้าที่ช่วยปกป้องในด้านความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งาน ฟีเจอร์ AMD Memory Guard จะช่วยป้องกันการเข้ารหัสในรูปแบบ Cold Boot Attack ด้วยการเข้ารหัสหน่วยความจำแบบเต็มรูปแบบ และเทคโนโลยีของ AMD จะเข้ามาสนับสนุน และส่งเสริมฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของ OEM และ Windows Security รวมไปถึง Lenovo ThinkShield

g1

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง AMD Radeon VEGA 8 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3  มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูง Full HD ได้แบบไม่มีปัญหา เว้นแต่เอาไปเล่นเกม 3 มิติให้ยุคปัจจุบัน อันนี้ไม่แนะนำเท่าไรนัก แต่เชื่อว่าคนที่ใช้งาน Lenovo ThinkPad X395 คงไม่ได้คาดหวังเรื่องเกมอยู่แล้วล่ะ

cine.  cine20

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH 15 / 20 ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจตามมาตรฐานของ AMD Ryzen 5 Pro 3500U เปรียบเทียบกับชิปประมวลผล Intel Core i5 / Core i7 ตระกูล U ก็ทำได้ดีกว่าด้วย ซึ่งถ้าเทียบกับรุ่นมาตรฐานอย่าง AMD Ryzen 5 3500U ก็จะเห็นว่ามีคะแนนมากกว่าเล็กน้อย ในส่วนของตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ในส่วนของงานทั่วไปเท่านั้น หรือเล่นเกมออนไลน์ 3 มิตินิดหน่อยก็พอได้ในบางกรณี

ssd

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้เป็น SSD ความเร็วสูงแบบ M.2 NVMe PCIe ที่ความจุ 512GB ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจมากๆ กับความเร็วสูงด้วยค่า Read: 3583 MB/s – Write: 2985 MB/s ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหล สมกับเป็น SSD M.2 NVMe PCIe ระดับสูง ที่ได้ติดตั้งใน Lenovo ThinkPad X395 สมกับโน๊ตบุ๊คสายทำงานมืออาชีพจริงๆ

pc

การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 3,634 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ ส่วนถ้าเอาไปใช้งานหนักๆ เช่นงานประมวลผล ตัดต่อวีดีโอ โปรเซสไฟล์ภาพความละเอียดสูง รวมไปถึงเล่นเกม 3 มิติ อันนี้ไม่แนะนำ เพราะสเปกไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานแบบนั้นแต่อย่างใด

le

ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Vantage ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นอัพเดทไดร์เวอร์ล่าสุด การเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย

Battery / Heat / Noise

batt แบตเตอรี่ของ Lenovo ThinkPad X395 เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ตัวแบตเตอรี่มีความจุ 3705 mAh สามารถทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ประมาณเกือบๆ 8 ชั่วโมงต่อเนื่องในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนาน ตามมาตรฐาน Ultrabook ราคาหลายหมื่นบาททีเดียว รวมไปถึงยังรองรับเทคโนโลยี Rapid Charge เพิ่มประสิทธิภาพการชาร์จไฟให้กลับมาถึง 80% ในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ส่วนช่องระบายของโน๊ตบุ๊คตัวนี้จะอยู่ด้านบนบริเวณด้านขวามือของตัวเครื่อง ซึ่งดีไซน์ก็นับว่ามีความเรียบเนียนเป็นอย่างดี temp ทางด้านอุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 30 – 40 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดที่ 80 องศาเซลเซียส สำหรับชิปประมวลผล นับว่าเรื่องระบบระบายความร้อนของ Lenovo ThinkPad X395 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีประมาณนึง ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก Lenovo ที่ออกแบบมาค่อนข้างดี อีกทั้งตัวเครื่องที่ยกตัวขึ้นก็ช่วยระบายความร้อน รวมไปถึงชิปประมวลผลจาก AMD อย่าง Ryzen 3000 Series ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ 12 นาโนเมตร ก็ควบคุมความร้อนได้ดี ทำให้การใช้งานจริงยาวนานต่อเนื่องแทบไม่ได้สัมผัสถึงความร้อนเลย ปิดท้ายด้วยซอฟต์แวร์ปรับแต่งอย่าง Performance Mode Setting ที่เราสามารถปรับเปลี่ยนไปมาได้ง่ายๆ ด้วยปุ่ม Fn + Q เท่านั้นเอง l1

Conclusion / Award

Lenovo ThinkPad X395 Review 59

ที่ผ่านมาอาจจะเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คนกับโน๊ตบุ๊คที่มาในรูปแบบของโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพดีเน้นความพกพาบางเบา เพื่อนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ เรียกว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะสำหรับมืออาชีพ อาทิงานโปรแกรมเอกสาร หรืองานที่ไม่กินทรัพยากรเครื่องมากนัก โดยที่ผ่านมา Lenovo ThinkPad ก็นำเสนอในส่วนของโน๊ตบุ๊คที่เน้นการทำงานมาโดยตลอด แต่มาในคราวนี้แตกต่าง Lenovo ThinkPad X395 แตกต่าง เพราะมาพร้อมชิปประมวลผล AMD จากที่ผ่านมาจะเป็น Intel ทั้งหมด ในราคา 19,990 บาทเท่านั้น แต่ได้ความเป็น ThinkPad X Series แบบเต็มเปี่ยม

Lenovo ThinkPad X395 สามารถตอบสนองการใช้งานระดับองค์กร ด้วยการที่ Lenovo เลือกใช้ชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงในการทำงานเทียบเท่าระดับพีซีที่เน้นรูปแบบโปรแกรมใช้งานพื้นฐาน พร้อมเหนือชั้นกว่าด้วยเทคโนโลยี AMD GuardMI มีหน้าที่ช่วยปกป้องในด้านความปลอดภัย และฟีเจอร์ AMD Memory Guard จะช่วยป้องกันการเข้ารหัสในรูปแบบ Cold Boot Attack ด้วยการเข้ารหัสหน่วยความจำแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งทำงานร่วมกับ Lenovo ThinkShield อีกด้วย โดยมีแรม 8GB DDR3 Bus 2400MHz พร้อมด้วย SSD ความเร็วสูง M.2 NVMe PCIe ความจุ 256GB ที่แรงลื่นและเพียงต่อการใช้งาน

แน่นอน Lenovo ThinkPad X395 Review 27

รวมไปถึงยังได้หน้าจอขนาด 13.3″ จากมิติตัวเครื่องที่เท่าเดิม ซึ่งรุ่นก่อนๆ อย่าง Lenovo ThinPad X280 จะได้เป็น 12.5″ เท่านั้น พร้อมได้ความละเอียดมาตรฐาน Full HD ใช้พาเนลจอแบบ IPS ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงระดับ sRGB 94% ที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งนับว่าตั้งแต่ทดสอบมาเป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมหน้าจอที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งในช่วงราคา 20,000 บาทเท่านั้น ส่วนจุดเด่นอื่นๆ ก็จะเป็นเรื่องของการรองรับการใส่ซิมการ์ดเพื่อใช้งาน 4G LTE เพื่อให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา สมกับสายพกพาอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังได้โมดูล Intel 9260 Wireless-AC 2 x 2 AX และ Bluetooth 5.0 อีกด้วย โดยรวมแล้ว Lenovo ThinkPad X395 สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงแบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย Lenovo ThinkPad X395 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค แต่รุ่นที่เรานำมารีวิวนั้นสเปกอาจจะไม่ตรงกับสเปกขายจริงในส่วนของความจุ SSD ที่ตัวขายจริงจะอยู่ที่ 256GB แต่ตัวรีวิวจะเป็น 512GB สนนราคาไม่แพงเลยถ้าเทียบกับ Lenovo ThinkPad X Series รุ่นก่อนๆ มาพร้อมการรับประกันแบบ 3 ปี On-site Service ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพอีกด้วย

Lenovo ThinkPad X395 Review 60

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูงขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad X395 ก็ได้รางวัลดังนี้ Best Value Lenovo ThinkPad X395 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13.3″ ความละเอียด Full HD พาเนล IPS สายทำงานบางเบาคุ้มค่ารุ่นใหม่ โดยมีราคา 17,490 บาท ได้สเปกใหม่ล่าสุด อย่างชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U รุ่นพิเศษ ที่ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยมและประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ยังได้หน่วยความจำแรมขนาด 8GB พร้อม SSD ความจุเยอะ 256GB มาในตัว และระบบปฏิบัติการ  Windows 10 พร้อมใช้งานทันที ที่สำคัญยังได้ประกันยอดเยี่ยมอย่าง 3 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้านด้วย

award new value

Best Mobility ความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน้ตบุ๊ตที่เน้นความบางเบา กับรุ่นขนาดหน้าจอ 13.3″ ทั้งในความบางเพียง 16.9 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.28 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วได้ประมาณ 1.5 กิโลกรัม เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ รวมไปถึงแบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนาน พร้อมที่ชาร์จเป็น USB-C รองรับ USB-PD

award new Design

Best Design ดีไซน์โดยรวมของ Lenovo ThinkPad X395 มีความโดดเด่นเรื่องสีสันโทนดำสนิททั้งตัวเครื่อง รวมถึงหน้าจอขอบบางแบบบางพิเศษ ที่ทำให้สามารถใช้งานจอขนาด 13.3 นิ้วภายในตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่ใช้จอขนาดเดียวกัน วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงสีดำ ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวที่เรียบง่ายแต่ยังให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คสไตล์ ThinkPad

NBS award 7 Design    

NBS Verdict

Lenovo ThinkPad X395 Review 28

Lenovo ThinkPad X395 ถือว่าให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ยอดเยี่ยมจริงๆ สมกับเป็นซีรีส์โน๊ตบุ๊คที่มืออาชีพนิยมใช้งานกัน หรือผู้ใช้งานระดับทั่วไปก็สามารถใช้ได้ จากการที่เป็นซีรีส์ ThinkPad ที่ทุกคนมั่นใจ ซึ่งเลือกใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่นอกจากประสิทธิภาพดีเยี่ยม ยังได้เทคโนโลยี AMD GuardMI ด้วย โดยจริงๆ แล้ว Lenovo ThinkPad X395 เป็นการต่อยอดมาจาก Lenovo ThinkPad A285 และ Lenovo ThinkPad X390 นั่นเอง (ถ้าใช้ชิปประมวลผล Intel Core i จะใช้ชื่อ Lenovo ThinkPad X280 หรือล่าสุดเป็น X390) ส่งผลให้สามารถทำราคาให้จับต้องได้ง่ายขึ้น ด้วยค่าตัวเพียง 19,990 บาทเท่านั้น อีกทั้งยังได้ประกัน 3 ปี On-site Service ด้วย

ซึ่งสเปกภายในไม่ว่าจะเป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่ประสิทธิภาพดีประหยัดพลังงาน ได้แรมขนาด 8GB และ SSD M.2 NVMe ความจุ 256GB สนับสนุนการใช้งานพื้นฐานได้เป็นอย่างดีรวมถึง ผลทดสอบต่างๆ ออกมาได้อยู่ในระดับมาตรฐานเป็นที่น่าพอใจมากทีเดียว ทำให้ Lenovo ThinkPad X395 ทำงานได้อย่างลื่นไหล ทั้งในด้านการทำงานทั่วไป และงานที่เน้นการประมวลผลที่ไม่กินทรัพยากรเกินไป

ที่สำคัญคือได้หน้าจอขนาด 13.3″ Full HD พาเนล IPS คุณภาพสูงที่ sRGB 94% โดยมีพอร์ตชาร์จไฟและเชื่อมต่อเป็น USB 3.1 Type-C จำนวน 2 พอร์ตด้วย เรียกได้หาได้ยากในโน๊ตบุ๊คช่วงราคานี้แน่นอน นอกจากนี้ตัวเครื่องยังแข็งแกร่งทนทาน คีย์บอร์ดแม่นยำพิมพ์สนุก คีย์บอร์ดระบายน้ำได้ TrackPoint ใช้งานสะดวก ใช้งานต่อเนื่องได้ระดับ 10 ชั่วโมง

พอร์ตเชื่อมต่อครบครันระดับนึง มี Fingerprint รวมไปถึงมี Windows แท้ และซอฟต์แวร์ติดเครื่องคุณภาพใช้งานได้จริง ส่งผลให้เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาที่จัดได้ว่ามีความครบครันในการใช้งานหลายๆ ด้าน ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานทั่วๆ ไปหรือผู้ที่เน้นใช้งานจริงจัง รวมไปเน้นพกพา แบตเตอรี่ใช้งานจริงๆ ได้เกือบๆ 8 ชั่วโมง

เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่บางๆ เบาๆ ได้ความทนทานและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ThinkPad ยุคใหม่ โดยมาพร้อมสเปคคุ้มค่าราคาไม่แพงจนเกินไป ก็สามารถเลือกดูเป็น Lenovo ThinkPad X395 รับรองว่าด้านประสิทธิภาพและคุณบัติต่อราคานั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามสำหรับสเปกอาจจะไม่ได้ตัวใหม่อย่าง AMD Ryzen 4000 U แต่แลกกับฟีเจอร์หลายๆ อย่าง ก็ถือว่าทุกๆ อย่างเหมาะสมแล้วล่ะ ข้อดี

  • หน้าจอแสดงผล 13.3″ ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพสูง sRGB 94%
  • การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
  • ตัวเครื่องมีความทนทานระดับ Military Grade (MIL-STD-810H)
  • ตัวเครื่องมีความบางเบา เพียง 1.28 กิโลกรัม และบางสุดที่ 16.9 มิลลิเมตร
  • ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่แรงลื่นพอตัว มีเทคโนโลยี AMD GuardMI
  • มีฟีเจอร์ ThinkShutter  ม่านชัตเตอร์ปิดเลนส์กล้องเว็บแคม
  • AccuType Keyboard สัมผัสในการพิมพ์ดีเยี่ยม พร้อมติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
  • คีย์บอร์ดมีความทนทานด้วยฟีเจอร์ Spill resistant ระบายน้ำได้ หากน้ำหกใส่
  • มี TrackPoint ตามมาตรฐาน ThinkPad ใช้งานได้สะดวกสำหรับคนที่ชอบ
  • ระบบ Fingerprint มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน
  • อแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีขนาดเล็กพกพาง่าย และเป็น USB-C
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานเกือบ 8 ชั่วโมง
  • มีรุ่นที่รองรับการใช้งาน 4G LTE หรือ Smart Card
  • มี Windows แท้ และซอฟต์แวร์ติดเครื่องใช้งานได้จริง
  • ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมคุ้มค่าต่อราคา
  • ประกันเป็นแบบ 3 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้าน

ข้อสังเกต

  • แบตเตอรี่ใช้งานได้น้อยกว่าที่เคลมไว้
  • แรมเป็นแบบฝังบอร์ด ไม่สามารถอัพเกรดภายหลังได้

Specification

Lenovo ThinkPad X395 20NMS1LN00 Lenovo ThinkPad X395 ที่ได้รับมารีวิวนี้ไม่ใช่ตัวสเปกขายจริง เพราะได้ SSD เป็นความจุ 512GB (ขายจริงเป็น 256GB และอาจจะเป็นคนละรุ่นด้วย) สเปกภายในใช้ชิปประมวลผลรุ่นพิเศษอย่าง AMD Ryzen 5 Pro 3500U (2.10 – 3.70 GHz) เป็นสถาปัตยกรรม 12 nm Zen+ รุ่นใหม่ ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด การ์ดจอออนบอร์ด VEGA 8 ประสิทธิภาพดี รองรับการเล่นเกมออนไลน์พอได้  แรมให้มาขนาด  8GB แบบฝังบอร์ด สำหรับที่เก็บข้อมูลเป็นมาตรฐาน SSD M.2 NVMe PCIe ความจุ 256GB ที่แรงลื่นเพียงพอต่อการใช้งาน

ส่วนหน้าจอเป็นขนาด 14″ ที่ได้ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี สีสันสดใส มุมมองกว้างกว่าพาเนล TN พร้อมมีลำโพงคุณภาพดีทำงานร่วมกับระบบเสียง Dolby Audio ส่วนพอร์ตที่ให้มาก็ครบครัน ได้แก่ 1 x USB 3.1 Type-C, 2 x USB 3.1 Type-A, HDMI, และ SD card reader รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Wi-Fi 6AX และ Bluetooth 5.0 ด้วย รองรับการทำงานทุกไลฟ์สไตล์ ในราคาเบาๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานได้ทันที พร้อมการรับประกัน 2 ปี 

Hardware / Design

Lenovo ThinkPad X395 Review 4

ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo ThinkPad X395 จะมีการต่อยอดการผลิตจากไลน์ของ ThinkPad X Series รุ่นก่อนๆ ด้วยที่เป็นซีรี่ส์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกันกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ แต่มีอีกหลายจุดที่ตัว Lenovo ThinkPad X395 เหนือชั้นไปจากเดิมพอสมควร ซึ่งถ้าเทียบกับ Lenovo ThinkPad X280 ก็จะเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นรุ่นหน้าจอ 12.5″ รุ่นสุดท้าย จากการที่ได้ขอบหน้าจอที่บางเล็กในมิติตัวเครื่องใกล้เคียงเดิม พร้อมได้พื้นที่แสดงผลเป็น 13.3″ และได้ปรับชื่อเป็น Lenovo ThinkPad X395 เรียกได้ว่าเป็นการทิ้ง รหัสรุ่น X2xx ที่ใช้งานมาอย่างยาวนานเป็นสิบๆ ปี เพื่อเป็นการเปิดรับกับขนาดหน้าที่ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าเดิม แต่ก็ยังคงรูปแบบความแกร่งด้วยการใช้เป็นสีดำตลอดทั้งตัวเครื่อง

วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุโลหะแม็กนีเซียมประกอบกับพลาสติกคุณภาพสูง ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวที่เรียบง่ายแต่ยังให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คสไตล์ ThinkPad โดยเหมาะสำหรับกลุ่มนักธุรกิจหรือคนที่ต้องการฮาร์ดแวร์ที่สเถียรสูง เชื่อถือได้ และมีความคงทนแข็งแรง โดย Lenovo ThinkPad X395 นั้น ได้ปรับเปลี่ยนหลายๆ จุดให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ตามยุคตามสมัยในเรื่องของความเพียวบางและเบา แต่ก็ยังไม่ทิ้ง DNA ของ ThinkPad ที่มีประวัติชื่อชั้นมาอย่างยาวนานไปเสียทั้งหมด

Lenovo ThinkPad X395 Review 26

ทำให้นับได้ว่า Lenovo ThinkPad X395 เป็นโน๊ตบุ๊คที่แม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คแนวทึกทนแต่ก็มีความสดใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งก็ยังมาพร้อมกับความบางเบา ที่ความบางที่ 16.9 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.28 กิโลกรัมเท่านั้นเอง ถือว่าน้อยมากๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คขนาดจอ 13.3″เรียกได้ว่าความบางและน้ำหนักนั้น เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการพกพาไปไหนมาไหนบ่อยๆ เลย ที่มีสเปกประสิทธิภาพสูงเน้นความสเถียรภาพ

ด้วยสเปกชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานฟีเจอร์ในองค์กรโดยเฉพาะ สำหรับการออกแบบบานพับขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับหน้าจอ 180  องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน รวมถึงมีความทนทาน จากได้รับมาตรฐาน Military Grade (MIL-STD-810H) กำหนดทางทหารถึง 12 ระดับ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพมากกว่า 200 รายการ อาทิ ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถทำงานได้ตามประสบการณ์ตรงที่ Lenovo ทำได้ดีมาโดยตลอด

Lenovo ThinkPad X395 Review 34

ส่วนอื่นๆ ที่ยังเป็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของ ThinkPad ก็ยังคงมีอยู่ อย่างโลโก้ ThinkPad บริเวณมุมบนซ้ายฝาหลัง และมุมขวาล่างด้านในตัวเครื่อง โดยมีไฟ LED สีแดงคอยบอกสถาณะการทำงานอยู่ สำหรับปุ่ม Power จะถูกติดตั้งเอาไว้ที่มุมขวาของแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งตัวปุ่มจะเป็นสีเดียวกับตัวเครื่องแสดงสถานะการเปิดปิดเครื่องได้ ที่สำคัญที่สุดคือเราได้เห็นสติ๊กเกอร์ AMD Ryzen Pro ที่ต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกของ Lenovo ThinkPad เลยก็ว่าได้ ส่วนด้านใต้ตัวเครื่องก็จะเป็นช่องดูดลมเย็น พร้อมยางจำนวน 4 จุดที่ช่วยยกตัวให้สูงขึ้น

Keyboard / Touchpad

Lenovo ThinkPad X395 Review 16

แน่นอนว่าคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad X395 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก ได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น คีย์บอร์ดยังโดดเด่นด้วยฟีเจอร์ Spill resistant กันพวกฝุ่นละอองเข้าไป กันน้ำหกได้ ในระดับหนึ่ง รวมไปถึงบริเวณใต้ชุดคีย์บอร์ดด้านขวายังมีการติดตั้งตัวสแกนลายนิ้วมือ ที่ไว้ใช้งานร่วมกับ Windows Hello อีกด้วย

นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad X395 ก็ไม่ลืมที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับ TrackPad ขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 3 ปุ่มได้เป็นอย่างดี พร้อมซ้ายคลิกซ้ายขวาแบบปกติเอาไว้ ก็สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi-Gesture บน Windows 10 ได้ดี ยิ่งถ้าใช้งาน TrackPoint และ TrackPad ควบคู่กันไปด้วยจะยิ่งใช้งานได้ไวมากขึ้น

Screen / Speaker

Lenovo ThinkPad X395 Review 22

ด้านหน้าจอแสดงผล Lenovo ThinkPad X395 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดใหญ่ถึง 13.3″ มาพร้อมความละเอียด Full HD ที่ 1920 x 1080 พิกเซล แบบ 16:9 แบบด้านลดแสงสะท้อน ใช้พาเนลจอแบบ IPS ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพาเนลเกรดสูง ที่เหมาะสมกับงานมืออาชีพ เพราะให้สีสันตรงสุดๆ ระดับที่ใกล้เคียงกับ sRGB 100% มาพร้อมกับมุมมองที่เกือบ 180 องศา แบบว่ามองมุมไหนสีสันก็ไม่เพี้ยนเลย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่ง และการที่ใส่ยางขอบจอแบบติดเนียนตามตลอดแนวขอบจอเลย ทำให้ช่วยซับแรงกระแทกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่มักจะติดตั้งมาเป็นจุดๆ ในบางตำแหน่งเท่านั้น

แม้ขอบจอจะบางเฉียบแต่ก็ได้ติดตั้งกล้องเว็บแคมไว้ด้านบนเหมือนเดิม ที่สำคัญยังมาพร้อมฟีเจอร์ ThinkShutter  ม่านชัตเตอร์ปิดเลนส์กล้องที่ทำให้เรามั่นใจว่ากล้องจะเห็นในเวลาที่เราต้องการใช้งานเท่านั้น การใช้งานก็ง่ายมากๆ ด้วยการใช้นิ้วเลื่อนเปิดหรือปิดการใช้งานเท่านั้น เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบ เรียกได้ว่าได้ความปลอดภัยสมกับเป็น ThikPad Series ที่เป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานระดับมืออาชีพเลยก็ว่าได้ พร้อมไมโครโฟนแบบ Noise Cancelling อีกด้วย s3

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 94% และ AdobeRGB 70% เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูง ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 250 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว

ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องแถวกลางเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ 250 cd/m2 แต่สำหรับช่องแถวกลางซ้ายเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงแค่ระดับ 9% เท่านั้น ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนนรวม 3.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว

ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอ มาพร้อมระบบเสียง Dolby Audio Premium ให้ที่เสียงที่ดีมาก พร้อมซอฟต์แวร์ปรับแต่ง ทั้งในเรื่องของเสียงเบสที่มีน้ำหนัก เสียงกลางที่สมดุล และเสียงแหลมที่ออกมาใสๆ พร้อมทั้งความดังและกังวาลที่มากกว่า ซึ่งตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น 2 ตัว ทำให้เสียงที่ออกมามีเสียงดังฟังชัด รองรับการใช้งานได้หลากหลายแบบสบายๆ

Inside / Upgrade

Lenovo ThinkPad X395 Review 53

การแกะเครื่อง Lenovo ThinkPad X395 นั้นสามารถทำได้ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายเสียทีเดียว เพราะงานประกอบค่อนข้างแน่นหนาทีเดียวจากการที่ฝาหลังเป็นโลหะทำให้ค่อนข้างแข็ง แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เอาจริงๆ คือใครๆ ก็ทำได้ขอแค่มีไขควงสี่แฉก  ซึ่งหลังจากถอดน็อตทุกตัวเสร็จหมดแล้ว เราต้องใช้บัตรแข็งค่อยๆ รูดถอดออกที่ละส่วน จากหลังมาหน้า ควรทำอย่างใจเย็นระวังแตกหัก ซึ่งในส่วนของขอบเครื่องฝาด้านหน้าจะเป็นสลักยึดเอาไว้ตรงนี้ต้องใช้แรงดึไปด้านหลัง

โดยเมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ อย่างชัดเจนตามรูปเลย การวางรูปแบบของฮาร์ดแวร์เครื่องนี้ทำได้ดูดีสมกับเป็นโน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพ เรื่องระบายความร้อนตัวเครื่องมี Heat Pipe จำนวน 1 เส้น วางพาดชิปประมวลผล ส่วนพัดลมเครื่องนี้ก็มีมาให้ 1 ตัว โดยลมร้อนเป่าออกทางด้านข้างตัวเครื่อง นอกจากนั้นเราจะเห็นถึงแรม 8GB DDR4 ที่ฝังบอร์ดมา ทำให้ไม่สามารถอัพเกรดได้ภายหลังตามสไตล์ของ Ultrabook โดยจะเห็นถึง SSD M.2 NVMe PCIe ที่หากต้องอัพเกรดก็ต้องถอดของเดิมออกด้วย ซึ่งในส่วนที่สามารถทำการอัพเกรดได้อีกก็จะเป็นช่อง SSD M.2 SATA 3 นั่นเอง

Connector / Thin And Weight

Lenovo ThinkPad X395 Review 46

Lenovo ThinkPad X395 มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปขชัดเจน แต่ได้พอร์ตเชื่อมต่อมีมาให้ครบครันมากมายระดับนึง อาทิ พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.1 Gen 1 Type-A  จำนวน 2 พอร์ต ที่มาพร้อมกับการสนันสนุนในเรื่องของการจ่ายไฟที่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถชาร์จสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้พลังงานเต็มที่อย่างรวดเร็ว โดยช่องเชื่อมต่ออแดปเตอร์แบบพอร์ตอย่าง USB 3.1 Type-C จำนวน 1 พอร์ต ซึ่งเปลี่ยนจากช่องสี่เดิมเดิมๆ ที่ใช้งานมาอย่างยาวนาน

แน่นอนว่ารองรับ USB Power Delivey ตามสมัยนิยมด้วย นับว่าช่วยเรื่องความสะดวกสบายขึ้นเยอะทีเดียว และช่องเชื่อมต่อเสียงภายนอกขนาดมาตรฐานที่ 3.5 มิลลิเมตร ซึ่งรองรับการใช้งานไมค์และหูฟังในช่องๆ เดียว รวมไปถึงมีพอร์ตเชื่อมต่อ HDMI และ Smart card reader กรณีที่เป็นบัตรพนักงานเพื่อเข้าใช้งานในงานบางงานที่ต้องการความปลอดภัย รวมถึง Native Ethernet port โดยรองรับการใช้งาน USB 3.1 Type-C อีกจำนวน 1 พอร์ต

อีกทั้งยังรองรับการใช้งานร่วมกับ ThinkPad Basic/Pro/Ultra Dock ไว้ใส่ชุดเชื่อมต่อขยายตามสไตล์ ThinkPad นอกจากนี้ยังมี micro-SD Card Reader ที่ขอบตัวเครื่องด้านหลัง พร้อมเป็นช่องใส่ซิมการ์ดในตัวกรณีที่ติดตั้งโมดูล Global Mobile Broadband 4G LTE สำหรับน้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.28 กิโลกรัม ที่ถือว่าเบาทีเดียว กับการที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3″ ที่ครบเครื่องขนาดนี้ทั้งดีไซน์และความทนทาน

เมื่อพกพากับอแดปเตอร์ขนาด 65Watt ที่มีขนาดเล็ก ก็ถือว่า Lenovo ThinkPad X395 ตอบโจทย์การใช้งานนอกสถานที่อย่างที่สุดรุ่นหนึ่ง จากการที่รองรับการใช้งานไร้สายเป็น Intel 9260 Wireless-AC 2 x 2 AX และ Bluetooth 5.0 เรียกได้ว่าทั้งหมดนี้เหมาะสุดๆ กับการใช้งานในออฟฟิศหรือร้านกาแฟ หรือที่ไหนก็ได้ที่เราจะกางจอออกมาทำงาน

Performance / Software

c1   c2

Lenovo ThinkPad X395 เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก AMD Ryzen 5 Pro 3500U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.10 – 3.70 GHz ที่ทั้งแรงมีประสิทธิภาพที่ดี แถมประหยัดพลังงาน สถาปัตยกรรม 12 nm Zen+ รุ่นใหม่ เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads มีค่า TDP 15 – 25Watt มาพร้อมแรมออนบอร์ดขนาด 8GB DDR4 Bus 2400 MHz ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ รวมไปถึง AMD Ryzen 5 Pro 3500U ยังเหนือชั้นกว่าชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 3500U ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คทั่วไป

จากการที่ผสมผสานประสิทธิภาพที่ทรงพลังด้วยเทคโนโลยี AMD GuardMI เข้ากับฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือในเชิงพาณิชย์ไว้ด้วยกัน โดยมีหน้าที่ช่วยปกป้องในด้านความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งาน ฟีเจอร์ AMD Memory Guard จะช่วยป้องกันการเข้ารหัสในรูปแบบ Cold Boot Attack ด้วยการเข้ารหัสหน่วยความจำแบบเต็มรูปแบบ และเทคโนโลยีของ AMD จะเข้ามาสนับสนุน และส่งเสริมฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของ OEM และ Windows Security รวมไปถึง Lenovo ThinkShield

g1

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง AMD Radeon VEGA 8 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3  มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูง Full HD ได้แบบไม่มีปัญหา เว้นแต่เอาไปเล่นเกม 3 มิติให้ยุคปัจจุบัน อันนี้ไม่แนะนำเท่าไรนัก แต่เชื่อว่าคนที่ใช้งาน Lenovo ThinkPad X395 คงไม่ได้คาดหวังเรื่องเกมอยู่แล้วล่ะ

cine.  cine20

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH 15 / 20 ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจตามมาตรฐานของ AMD Ryzen 5 Pro 3500U เปรียบเทียบกับชิปประมวลผล Intel Core i5 / Core i7 ตระกูล U ก็ทำได้ดีกว่าด้วย ซึ่งถ้าเทียบกับรุ่นมาตรฐานอย่าง AMD Ryzen 5 3500U ก็จะเห็นว่ามีคะแนนมากกว่าเล็กน้อย ในส่วนของตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ในส่วนของงานทั่วไปเท่านั้น หรือเล่นเกมออนไลน์ 3 มิตินิดหน่อยก็พอได้ในบางกรณี

ssd

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้เป็น SSD ความเร็วสูงแบบ M.2 NVMe PCIe ที่ความจุ 512GB ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจมากๆ กับความเร็วสูงด้วยค่า Read: 3583 MB/s – Write: 2985 MB/s ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหล สมกับเป็น SSD M.2 NVMe PCIe ระดับสูง ที่ได้ติดตั้งใน Lenovo ThinkPad X395 สมกับโน๊ตบุ๊คสายทำงานมืออาชีพจริงๆ

pc

การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 3,634 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ ส่วนถ้าเอาไปใช้งานหนักๆ เช่นงานประมวลผล ตัดต่อวีดีโอ โปรเซสไฟล์ภาพความละเอียดสูง รวมไปถึงเล่นเกม 3 มิติ อันนี้ไม่แนะนำ เพราะสเปกไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานแบบนั้นแต่อย่างใด

le

ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Vantage ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นอัพเดทไดร์เวอร์ล่าสุด การเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย

Battery / Heat / Noise

batt แบตเตอรี่ของ Lenovo ThinkPad X395 เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ตัวแบตเตอรี่มีความจุ 3705 mAh สามารถทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ประมาณเกือบๆ 8 ชั่วโมงต่อเนื่องในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนาน ตามมาตรฐาน Ultrabook ราคาหลายหมื่นบาททีเดียว รวมไปถึงยังรองรับเทคโนโลยี Rapid Charge เพิ่มประสิทธิภาพการชาร์จไฟให้กลับมาถึง 80% ในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ส่วนช่องระบายของโน๊ตบุ๊คตัวนี้จะอยู่ด้านบนบริเวณด้านขวามือของตัวเครื่อง ซึ่งดีไซน์ก็นับว่ามีความเรียบเนียนเป็นอย่างดี temp ทางด้านอุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 30 – 40 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดที่ 80 องศาเซลเซียส สำหรับชิปประมวลผล นับว่าเรื่องระบบระบายความร้อนของ Lenovo ThinkPad X395 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีประมาณนึง ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก Lenovo ที่ออกแบบมาค่อนข้างดี อีกทั้งตัวเครื่องที่ยกตัวขึ้นก็ช่วยระบายความร้อน รวมไปถึงชิปประมวลผลจาก AMD อย่าง Ryzen 3000 Series ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่ 12 นาโนเมตร ก็ควบคุมความร้อนได้ดี ทำให้การใช้งานจริงยาวนานต่อเนื่องแทบไม่ได้สัมผัสถึงความร้อนเลย ปิดท้ายด้วยซอฟต์แวร์ปรับแต่งอย่าง Performance Mode Setting ที่เราสามารถปรับเปลี่ยนไปมาได้ง่ายๆ ด้วยปุ่ม Fn + Q เท่านั้นเอง l1

Conclusion / Award

Lenovo ThinkPad X395 Review 59

ที่ผ่านมาอาจจะเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คนกับโน๊ตบุ๊คที่มาในรูปแบบของโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพดีเน้นความพกพาบางเบา เพื่อนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ เรียกว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะสำหรับมืออาชีพ อาทิงานโปรแกรมเอกสาร หรืองานที่ไม่กินทรัพยากรเครื่องมากนัก โดยที่ผ่านมา Lenovo ThinkPad ก็นำเสนอในส่วนของโน๊ตบุ๊คที่เน้นการทำงานมาโดยตลอด แต่มาในคราวนี้แตกต่าง Lenovo ThinkPad X395 แตกต่าง เพราะมาพร้อมชิปประมวลผล AMD จากที่ผ่านมาจะเป็น Intel ทั้งหมด ในราคา 19,990 บาทเท่านั้น แต่ได้ความเป็น ThinkPad X Series แบบเต็มเปี่ยม

Lenovo ThinkPad X395 สามารถตอบสนองการใช้งานระดับองค์กร ด้วยการที่ Lenovo เลือกใช้ชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงในการทำงานเทียบเท่าระดับพีซีที่เน้นรูปแบบโปรแกรมใช้งานพื้นฐาน พร้อมเหนือชั้นกว่าด้วยเทคโนโลยี AMD GuardMI มีหน้าที่ช่วยปกป้องในด้านความปลอดภัย และฟีเจอร์ AMD Memory Guard จะช่วยป้องกันการเข้ารหัสในรูปแบบ Cold Boot Attack ด้วยการเข้ารหัสหน่วยความจำแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งทำงานร่วมกับ Lenovo ThinkShield อีกด้วย โดยมีแรม 8GB DDR3 Bus 2400MHz พร้อมด้วย SSD ความเร็วสูง M.2 NVMe PCIe ความจุ 256GB ที่แรงลื่นและเพียงต่อการใช้งาน

แน่นอน Lenovo ThinkPad X395 Review 27

รวมไปถึงยังได้หน้าจอขนาด 13.3″ จากมิติตัวเครื่องที่เท่าเดิม ซึ่งรุ่นก่อนๆ อย่าง Lenovo ThinPad X280 จะได้เป็น 12.5″ เท่านั้น พร้อมได้ความละเอียดมาตรฐาน Full HD ใช้พาเนลจอแบบ IPS ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงระดับ sRGB 94% ที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งนับว่าตั้งแต่ทดสอบมาเป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมหน้าจอที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งในช่วงราคา 20,000 บาทเท่านั้น ส่วนจุดเด่นอื่นๆ ก็จะเป็นเรื่องของการรองรับการใส่ซิมการ์ดเพื่อใช้งาน 4G LTE เพื่อให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา สมกับสายพกพาอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังได้โมดูล Intel 9260 Wireless-AC 2 x 2 AX และ Bluetooth 5.0 อีกด้วย โดยรวมแล้ว Lenovo ThinkPad X395 สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงแบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย Lenovo ThinkPad X395 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค แต่รุ่นที่เรานำมารีวิวนั้นสเปกอาจจะไม่ตรงกับสเปกขายจริงในส่วนของความจุ SSD ที่ตัวขายจริงจะอยู่ที่ 256GB แต่ตัวรีวิวจะเป็น 512GB สนนราคาไม่แพงเลยถ้าเทียบกับ Lenovo ThinkPad X Series รุ่นก่อนๆ มาพร้อมการรับประกันแบบ 3 ปี On-site Service ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพอีกด้วย

Lenovo ThinkPad X395 Review 60

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูงขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad X395 ก็ได้รางวัลดังนี้ Best Value Lenovo ThinkPad X395 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 13.3″ ความละเอียด Full HD พาเนล IPS สายทำงานบางเบาคุ้มค่ารุ่นใหม่ โดยมีราคา 17,490 บาท ได้สเปกใหม่ล่าสุด อย่างชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 Pro 3500U รุ่นพิเศษ ที่ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยมและประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ยังได้หน่วยความจำแรมขนาด 8GB พร้อม SSD ความจุเยอะ 256GB มาในตัว และระบบปฏิบัติการ  Windows 10 พร้อมใช้งานทันที ที่สำคัญยังได้ประกันยอดเยี่ยมอย่าง 3 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้านด้วย

award new value

Best Mobility ความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน้ตบุ๊ตที่เน้นความบางเบา กับรุ่นขนาดหน้าจอ 13.3″ ทั้งในความบางเพียง 16.9 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.28 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วได้ประมาณ 1.5 กิโลกรัม เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ รวมไปถึงแบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนาน พร้อมที่ชาร์จเป็น USB-C รองรับ USB-PD

award new Design

Best Design ดีไซน์โดยรวมของ Lenovo ThinkPad X395 มีความโดดเด่นเรื่องสีสันโทนดำสนิททั้งตัวเครื่อง รวมถึงหน้าจอขอบบางแบบบางพิเศษ ที่ทำให้สามารถใช้งานจอขนาด 13.3 นิ้วภายในตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่ใช้จอขนาดเดียวกัน วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงสีดำ ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวที่เรียบง่ายแต่ยังให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คสไตล์ ThinkPad

NBS award 7 Design    

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ถ้านับในช่วงหลัง ๆ มา ชิปกราฟิกแบบ iGPU ที่อยู่ใน CPU โน้ตบุ๊กของ AMD ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนทำให้มีประสิทธิภาพสูงถึงระดับที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะกับการใช้เล่นเกมที่ข้ามกำแพงจากในอดีตกราฟิกแบบ iGPU มักจะทำได้อย่างมากก็เป็นเกมออนไลน์ เกมเก่าที่มีอายุนานพอสมควรแล้ว กลายมาเป็นสามารถเล่นเกมระดับ AAA และเกมใหม่ล่าสุดได้ ซึ่งปัจจุบันก็เดินทางมาถึง AMD Radeon 800M series ที่มาพร้อมกับชิป AMD...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

Special Story

สำหรับการเล่นเกม แน่นอนว่าพลังประมวลผลกราฟิกจาก GPU คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับประสิทธิภาพว่าจะสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้สวย เฟรมเรตสูง ความหน่วงต่ำขนาดไหน ทำงานร่วมกับ CPU และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในเครื่อง ซึ่งถ้าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตเองก็มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังกราฟิก โดยที่ยังลดภาระของฮาร์ดแวร์ลงด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ AFMF 2 เทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก