โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14… โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Pentium U5400 ของ Lenovo ThinkPad Edge 11 สามารถทำเวลาไปได้ 35.505 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M แม้จะมีความเร็วไม่สูงมาก อีกทั้งเป็นแบบประหยัดพลังงาน แต่ก็สามารถทำเวลาไปได้ดีเลยทีเดียว
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เนื่องจากซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ใช้เวลาไปกำลังดีตามประสิทธิภาพของซีพียูประหยัดพลังงาน
เป็นโปรแกรมที่เน้นการทดสอบความแรงด้านกราฟิก 3D ของซีพียู จึงนิยมนำมาทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของซีพียูเป็นหลักครับ
เวอร์ชันใหม่นี้ทดสอบ 2 ส่วน เพื่อให้ดูง่ายขึ้น ได้แก่ OpenGL ซึ่งได้ค่าที่ 0.70 fps และ CPU ที่ 0.77 pts
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล 19.2 ms เป็นขนาด 250 GB มีประสิทธิภาพที่ออกมาจัดอยู่ในระดับดีทีเดียว โดยใช้เวลาไม่นานมาก
Wireless Mon
ทดสอบการรับส่งของการ์ด Wireless
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร การ์ด Wireless ค่าย Intel ให้คุณภาพสัญญาณที่ดี แรง และค่อนข้างนิ่ง
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, HDD คะแนนที่ออกมาในแต่ละส่วนไม่แรงหรือเด่นมากนัก แต่ก็รองรับการใช้งานต่าง ๆ ได้ดี
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบเพียง SM 2.0, CPU Test ไม่แรงมาก แต่ก็รองรับการใช้งานทั่ว ๆ ไปได้