อีกหนึ่งซีรีส์ของโน๊ตบุ๊คจาก Lenovo ที่ได้รับความนิยมก็คือกลุ่มของเครื่องในตระกูล Lenovo Yoga ด้วยคุณสมบัติในด้านของความยืดหยุ่นในการทำงาน ด้วยหน้าจอที่สามารถพับได้ถึง 360 องศา แต่สำหรับในปีนี้ทาง Lenovo เองก็มีแผนที่จะปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Yoga ให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีรุ่นที่มาพร้อมจุดเด่นในด้านความยืดหยุ่นอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือ Lenovo Yoga C640 เครื่องที่อยู่ในรีวิวนี้นี่เองครับ
ซึ่ง Lenovo Yoga C640 ได้รับการออกแบบให้เป็นโน๊ตบุ๊คแบบ 2-in-1 ที่รองรับการทำงานได้หลากหลาย รองรับการทำงานร่วมกับปากกาสไตลัสของ Lenovo เอง และที่สำคัญคือมากับสเปคใหม่สดอย่าง Intel Core i Gen 10 ที่ได้รับการเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย ทำให้เหมาะที่จะใช้สำหรับทั้งเป็นโน๊ตบุ๊คประจำที่ทำงาน และเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการใช้งานส่วนตัวได้เป็นอย่างดี
Specifications
Lenovo Yoga C640 รุ่นที่ทาง NotebookSPEC ได้รับมารีวิวในครั้งนี้ มีสเปคคร่าว ๆ ได้แก่
- ชิปประมวลผล Intel Core i3-10110U มี 2 คอร์ 4 เธรด ความเร็วพื้นฐาน 2.1 GHz บูสท์ได้สูงสุด 4.1 GHz
- ชิปกราฟิก Intel HD Graphics 620
- แรม 8 GB DDR4 แบบฝังบอร์ด
- SSD แบบ PCIe ความจุ 128 GB (ในเครื่องที่ทดสอบ)
- หน้าจอ IPS ขนาด 13.3″ ความละเอียดระดับ FHD รองรับการสัมผัส และสามารถพับจอได้ 360 องศา
- หน้าจอรองรับการทำงานร่วมกับปากกาสไตลัส Lenovo Pen (มีแถมมาในกล่อง)
- แบตเตอรี่ใช้งานได้นานสุด 22 ชั่วโมง
- รองรับ WiFi 802.11ac / Bluetooth 5.0
- เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบ Match-on-Chip
รวม ๆ แล้ว Lenovo Yoga C640 ก็เป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมสเปคที่ลงตัวสำหรับการใช้งานทั่วไป ทั้งในชีวิตประจำวัน และการใช้งานพื้นฐานในที่ทำงาน ด้วยชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุดที่ถึงแม้จะเป็น Core i3 แต่ก็เป็นรุ่นใหม่ในโค้ดเนม Comet Lake-U ที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานแบบมัลติทาสก์ได้ดีขึ้นกว่าเดิม ในขณะเดียวกันก็ยังประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น แรมก็ให้มา 8 GB และ SSD แบบ PCIe 256 GB เพียงพอกับการใช้งานทั่วไปโดยไม่ต้องอัพเกรดเพิ่มเติม
ส่วนราคาของ Lenovo Yoga C640 ก็เริ่มต้นที่
Hardware / Design
Lenovo Yoga C640 เครื่องที่ทางทีมงานได้รับมารีวิวจะใช้บอดี้เป็นสีเทาเข้ม ผิวสัมผัสให้ความรู้สึกแบบเป็นซอฟต์ทัชเล็กน้อย โครงสร้างจับดูแล้วให้ความแข็งแรงดีทั้งส่วนของฝาหลัง ตัวเครื่องและบานพับ โดยด้านหลังจะมีเพียงโลโก้ YOGA เท่านั้น ส่วนโลโก้ Lenovo จะถูกวางไว้ตรงแถวแถบรองข้อมือแทนครับ การลับขอบมุมต่าง ๆ ทำได้ดี ไม่มีส่วนที่บาดมือแต่อย่างใด สำหรับช่องระบายลมร้อนก็จะวางไว้ตรงขอบเครื่องบริเวณใต้จอภาพ ที่เป็นจุดยอดนิยมของโน๊ตบุ๊คในปัจจุบัน
เมื่อกางออกมาก็จะพบจอภาพขนาด 13.3″ ความละเอียดระดับ Full HD ขอบบาง โดยที่กล้องเว็บแคมจะมีแผ่นปิดหน้ากล้องมาให้ สามารถเลื่อนเปิดปิดได้อย่างสะดวก เพื่อช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัว สำหรับหน้าจอเองก็สามารถพลิกกลับได้สูงสุดถึง 360 องศา ทำให้สามารถตั้งเครื่องทั้งในแบบโน๊ตบุ๊ค แบบเต๊นท์ รวมถึงยังพับไปใช้เป็นแท็บเล็ตจอใหญ่ได้อีกด้วย ส่วนบริเวณที่รองมือก็จะมีสติกเกอร์ Intel Core i3 10th Gen สีเงินมาให้ด้วย
ด้านล่างของเครื่องก็จะเป็นฝาปิดแบบแผ่นเดียว มีช่องระบายลมเข้าเป็นแนวยาวที่อยู่ในแนวเดียวกับพวกพัดลมระบายอากาศ ส่วนยางรองฝาเครื่องก็จะใช้เป็นแบบแผ่นยาวติดไว้ทั้งด้านบนและล่างเลย ทั้งหมดนี้ทำให้ดีไซน์โดยรวมของ Lenovo Yoga C640 ดูมีความเรียบง่ายแบบมินิมอลมาก ๆ สามารถนำไปใช้ที่ไหนก็ได้แบบไม่ขัดสายตา แต่ก็แฝงความหรูไว้แบบเบา ๆ ด้วยการเลือกใช้เฉดสี และการประกอบที่ทำออกมาได้ประณีด
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ Lenovo Yoga C640 ก็ใช้เป็นแบบแยกปุ่มกัน มีปุ่มฟังก์ชันให้มาครบถ้วน รูปทรงปุ่มก็ทำออกมาให้สามารถกดได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีไฟคีย์บอร์ดสีขาวซึ่งสามารถปรับความสว่างได้ 2 ระดับอีกด้วย ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับการใช้งานในเวลากลางคืนหรือในที่มีแสงน้อยได้ดี ส่วนทัชแพดก็ให้มาในขนาดกำลังดี รองรับการใช้งานแบบ multi gesture นอกจากนี้ตรงด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดก็จะมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบสัมผัสมาให้ด้วย สามารถใช้ล็อกอินเข้าใช้งาน Windows ได้สบายมาก ๆ
Screen / Speaker
จอแสดงผลของ Lenovo Yoga C640 เป็นจอกระจกขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียดระดับ Full HD 1920×1080 ส่วนพาเนลที่เลือกใช้ก็เป็นแบบ IPS ที่ให้สีสันที่สดใส ภาพยังคงคมชัดอยู่แม้จะมองจากด้านข้าง ส่วนความสว่างก็อยู่ในระดับกลาง ๆ ครับ ใช้งานในที่ร่ม ในออฟฟิศได้สบายมาก แต่ถ้าไปใช้กลางแจ้งอาจจะไม่ค่อยสะดวกนิดนึง
ลำโพงทั้งสองตัวของ Lenovo Yoga C640 ให้เสียงในแบบสเตอริโอ โดยวางขนาบทั้งสองฝั่งของคีย์บอร์ดเอาไว้ ส่วนระบบเสียง Dolby Atmos ที่ช่วยเพิ่มความสมจริงสำหรับการสร้างบรรยากาศด้วยเสียงเมื่อใช้งานหูฟัง สำหรับแนวเสียงที่ได้ก็จะเน้นที่เสียงกลางเป็นหลัก เพื่อให้สามารถได้ยินเสียงพูด เสียงร้องได้ชัดเจน ความดังก็อยู่ในระดับที่ใช้งานในห้องไม่ใหญ่นักได้สบาย
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นในส่วนของสเปคเอาไว้ว่า Lenovo Yoga C640 รองรับการทำงานร่วมกับปากกา Lenovo Pen ซึ่งพร้อมให้ใช้งานได้ทันทีตั้งแต่เปิดเครื่องครั้งแรก ตัวปากกาจะใช้ถ่าน AAAA 1.5V เพียง 1 ก้อนในการทำงาน มีปุ่มคีย์ลัดมาให้ 2 ปุ่ม ซึ่งสามารถปรับแต่งการทำงานได้จากโปรแกรม Lenovo Pen Settings ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการจดบันทึก วาดรูป หรือใช้แทนเมาส์ก็ได้เช่นกัน
Connector / Thin And Weight
พอร์ตเชื่อมต่อของ Lenovo Yoga C640 ก็จะให้มาแบบที่เพียงพอกับการใช้งานพื้นฐานครับ โดยฝั่งซ้ายมีเพียงช่องเสียบสายชาร์จ ช่อง USB-A 3.1 และช่องเสียบแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มม.
ส่วนฝั่งขวามีแค่ช่อง USB-C ที่รองรับทั้งการส่งภาพแบบ DisplayPort และรองรับการจ่ายไฟแบบ Power Delivery (USB-PD) ด้วย ถัดมาก็เป็น USB-A 3.1 อีกช่อง และปิดท้ายด้วยปุ่มเปิด/ปิดเครื่องที่มีไฟสีขาวสำหรับแสดงสถานะการทำงานด้วย
ถ้าหากต้องการต่อภาพออกจาก Lenovo Yoga C640 ไปยังจอนอกหรือโปรเจคเตอร์ ก็ต้องหาอะแดปเตอร์แปลงจาก USB-C เป็น HDMI หรือพอร์ตอื่น ๆ ตามที่ต้องการครับ
น้ำหนักเครื่องของ Lenovo Yoga C640 ก็จะเริ่มต้นที่ประมาณ 1.25 กิโลกรัม ประกอบกับการใช้จอขนาด 13.3″ ขอบบาง ทำให้สามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้แบบไม่ยากนัก ส่วนปากกาอาจจะต้องพกแยกไปนะครับ เพราะในชุดที่รีวิวรอบนี้ไม่มีอุปกรณ์ช่วยเก็บปากกาเอาไว้กับช่อง USB-A มาให้ด้วย รวมถึงตัวเครื่องก็ไม่มีช่องใส่ปากกาด้วย
Performance / Software
Lenovo Yoga C640 เลือกใช้ชิปประมวลผลล่าสุดอย่าง Intel Core i3-10110U ที่เป็นชิป Core i gen 10 ซึ่งได้รับการพัฒนาที่สถาปัตยกรรมระดับ 14nm เช่นเดิม แต่มีการปรับปรุงภายในเล็กน้อย ใช้โค้ดเนม Comet Lake-U (CPU-Z ยังแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องอยู่) มาพร้อมคอร์ประมวลผลด้วยกัน 2 คอร์ 4 เธรด ความเร็วพื้นฐานอยู่ที่ 2.1 GHz สามารถบูสท์ได้สูงสุดถึง 4.1 GHz แคช L3 4 MB ค่า TDP สูงสุด 15W ทำให้เป็นชิปที่ได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานพื้นฐาน ตั้งแต่การใช้งานเบา ๆ เปิดเว็บ เล่นโซเชียล ไปจนถึงงานเอกสารที่ไม่ได้มีสูตรซับซ้อนได้ดี
ส่วนของ GPU อันที่จริงก็จะยังคงเป็น Intel UHD Graphics 620 เหมือนกับในชิป Core i gen 8 ครับ แต่โปรแกรม GPU-Z เวอร์ชันล่าสุดในขณะที่ทดสอบยังไม่สามารถแสดงข้อมูลได้ครบถ้วนนัก สำหรับประสิทธิภาพของ GPU ตัวนี้ก็อยู่ในระดับพื้นฐานเช่นเดียวกัน สามารถใช้งานทั่วไปได้ดี ต่อจอนอกระดับ 4K 60Hz ได้ ด้านของการเล่นเกมก็พอได้อยู่ แต่ต้องปรับกราฟิกลงพอสมควร ทั้งความละเอียดภาพ และก็รายละเอียดในการแสดงผลต่าง ๆ
เมื่อทดสอบพลังประมวลผลของ Lenovo Yoga C640 ด้วยโปรแกรม Cinebench R20 ก็ได้คะแนนอยู่ในระดับของชิปกลุ่ม Core i3 ทั่วไปครับ ก็ทำให้พอประมาณได้ว่าถ้าจะใช้สำหรับการเรนเดอร์งาน ก็อาจจะต้องใช้เวลาซักพักนึงเลย
SSD ที่อยู่ภายใน Lenovo Yoga C640 เครื่องทดสอบมีความจุ 128 GB เป็นแบบ PCIe ซึ่งจากการทดสอบด้วยโปรแกรม CrystalDiskMark ตอนที่ใช้พื้นที่ไป 81% ก็ได้ความเร็วออกมาตามภาพด้านบนครับ ความเร็วอ่านสูงสุดเท่าที่ทดสอบมาสามรอบก็อยู่ประมาณ 1,700 MB/s ส่วนการเขียนก็ประมาณ 830 MB/s เพียงพอสำหรับการใช้งานในปัจจุบันได้สบายมาก แต่ก็จัดว่าต่ำกว่า SSD PCIe ในรุ่นอื่น ๆ อยู่พอสมควร
คะแนนทดสอบจากโปรแกรม PCMark 10 ก็เก็บคะแนนไปได้ 3,461 คะแนน ใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คสเปค Intel Core i5 ในปัจจุบัน อย่างเมื่อเทียบกับ Lenovo IdeaPad C340 จะมีคะแนนส่วนของ Spreadsheet Score ในหัวข้อ Productivity ที่ Yoga C640 ทำได้ดีกว่าร่วม 2,000 คะแนน ซึ่งก็อาจจะมีผลมาจากเทคโนโลยีคอร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากเดิม ทำให้สามารถจัดการกับงาน spreadsheet แบบ Excel ได้ดีขึ้น
ส่วนการทดสอบพลังกราฟิกด้วย 3DMark ก็ได้ไป 412 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับพื้นฐานของกราฟิกในชิปประมวลผลของยุคปัจจุบัน
พอทดสอบด้วยเกม DOTA 2 ถ้าตั้งความละเอียดจอตามจอจริง (1920 x 1080) แนะนำให้ตั้งคุณภาพของการเรนเดอร์ภาพที่ระดับ Fastest จะดีที่สุด ลื่นสุดครับ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้น 60fps ตลอดเวลาอยู่ดี ถ้าอยากจะให้ลื่นกว่านี้ ก็ควรจะลดความละเอียดลงเล็กน้อย ส่วนเกมอื่น ๆ ก็ไม่แนะนำเท่าไหร่ครับ แต่ถ้าเกมเก่า ๆ ก็พอไหวอยู่
Lenovo Yoga C640 มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ Lenovo Vantage ที่เข้ามาเป็นผู้ช่วยจัดการ และปรับแต่งการทำงานของตัวเครื่อง ทั้งยังสามารถใช้ตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันได้อีกด้วย โดยถ้าคลิกที่ไอคอนรูปแบตเตอรี่สีเขียวบน taskbar ก็จะมีป๊อปอัพแบบในรูปข้างบนปรากฏขึ้นมา หลัก ๆ ก็คือแสดงปริมาณแบตเตอรี่ และก็มีตัวปรับตั้งค่าสำหรับเปิด/ปิดฟังก์ชันบางส่วนอย่างรวดเร็วได้ด้วย เช่น การเปิดปิดไมค์ กล้องหน้า(แบบซอฟต์แวร์) โหมดถนอมสายตา เป็นต้น
เมนู Health & Support เป็นหน้าจอรวมข้อมูลทั่วไปของตัวเครื่อง เช่น การตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดแวร์ การอัพเดตล่าสุด ระยะเวลาการรับประกัน เป็นต้น
ส่วนในเมนู Hardware Settings ก็จะมีตัวปรับตั้งค่าได้หลายส่วนเหมือนกัน อย่างในภาพด้านบนก็จะเป็นเรื่องของแบตเตอรี่ ที่สามารถดูสถานะของแบตเตอรี่ ปรับระบบการชาร์จแบบ Conservation Mode ได้ ซึ่งถ้าเปิดโหมดนี้ไว้ ตัวเครื่องจะชาร์จแบตไว้แค่ 55-60% เท่านั้น เพื่อถนอมระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ (ทำให้ cycle ขึ้นช้ากว่าการชาร์จเต็ม) เหมาะสำหรับคนที่ใช้เครื่องแบบเสียบสายชาร์จตลอดเวลาเป็นหลัก
ต่อมาก็คือเมนูการตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงผล ซึ่งสามารถเปิดโหมดถนอมสายตาด้วยการลดแสงสีฟ้า และปรับโทนสีได้จากในเมนูนี้
อีกเมนูที่น่าสนใจก็คือการตั้งค่าอุปกรณ์ input ที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาเปิด/ปิดทัชแพด รวมถึงสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้กดปุ่ม fn ค้างไว้ เพื่อใช้งานปุ่ม F1-F12 หรือไม่ โดยค่าเริ่มต้นของระบบจะเป็นแบบต้องกดค้างไว้ครับ ซึ่งก็สะดวกตรงที่สามารถกดปุ่มลัด เช่น ปุ่มเพิ่ม/ลดความสว่างหน้าจอได้ทันทีโดยไม่ต้องกด fn ค้างไว้ แต่ถ้าผู้ใช้งานจำเป็นต้องใช้พวกปุ่ม F1-F12 บ่อย ๆ ก็ให้คลิกไปใช้งานโหมด F1-F12 ได้เลย
Battery / Heat / Noise
การระบายความร้อนของ Lenovo Yoga C640 จะอาศัยช่องที่อยู่ตรงสันเครื่องใต้จอเป็นหลัก โดยในช่องขวา (ตามภาพด้านบน) จะเป็นช่องระบายลมร้อนออก ส่วนช่องทางซ้ายไม่มีการติดตั้งพัดลมไว้ครับ ซึ่งน่าจะไว้ช่วยดึงลมเย็นเข้าเครื่องเป็นหลัก
จากการทดสอบในห้องแอร์ พบว่าในการทำงานทั่วไป อุณหภูมิของ CPU จะอยู่ในช่วงประมาณ 36-45 องศาเซลเซียส ส่วนในระหว่างการเปิดเกมเพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ อุณหภูมิก็ขึ้นไปถึงประมาณ 80 กว่าองศาเซลเซียส แต่พอปิดหน้าเกมไป ก็สามารถระบายความร้อนออกมาได้เร็ว แลกกับเสียงพัดลมที่อาจจะได้ยินชัดหน่อยถ้าใช้งานในห้องเงียบ
แบตเตอรี่ของ Lenovo Yoga C640 ตามข้อมูลของโปรแกรม BatteryMon จะมีความจุอยู่ที่ประมาณ 7,000 กว่า mAh สามารถใช้งานจริงได้ราว ๆ 5 – 8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนักของการใช้งานเครื่อง โปรแกรมเบื้องหลัง รวมถึงพวกความสว่างหน้าจอ ไฟคีย์บอร์ด และการเชื่อมต่ออื่น ๆ ด้วยครับ อย่างในภาพก็เป็นการทดสอบโดยเปิดเว็บเบราเซอร์เล็กน้อย ความสว่างหน้าจอระดับปานกลาง และเชื่อมต่อ WiFi อยู่
Conclusion / Award
Lenovo Yoga C640 เป็นโน๊ตบุ๊คที่ได้รับการออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่เข้าได้กับทุกเพศทุกวัย งานประกอบที่มีคุณภาพ ลงตัวกับทุกรายละเอียด หน้าจอพับได้ 360 องศาก็ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน ไม่ว่าจะใช้งานแบบนั่งโต๊ะ หรือใช้งานนอกสถานที่ก็ทำได้สะดวก รองรับการสั่งงานด้วยปากกาสไตลัส Lenovo Pen ที่ตอบสนองการขีดเขียนได้รวดเร็วทันใจ
ส่วนในแง่ของการทำงานก็ราบรื่นด้วยพลังของ Intel Core i3 Gen 10 ที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นจากรุ่นเดิม และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วด้วย SSD แบบ PCIe ซึ่งช่วยให้การทำงานในแทบทุกรูปแบบเป็นไปได้อย่างไหลลื่น หรือจะใช้เก็บรูปภาพก็ทำได้แบบไม่มีปัญหา
แต่ในส่วนของการเชื่อมต่ออาจจะเป็นจุดที่ทำให้การใช้งาน Lenovo Yoga C640 เป็นไปได้ไม่สะดวกในบางกรณี เช่น การต่อมอนิเตอร์เพิ่มเติม และการอ่านข้อมูลใน SD card เนื่องจากตัวเครื่องไม่มีพอร์ตสำหรับใช้งานได้โดยตรง ต้องอาศัยอะแดปเตอร์ช่วยแปลงพอร์ตอีกทีจึงจะสามารถใช้งานได้
ข้อดี
- งานประกอบดี ดูเรียบหรู แข็งแรง
- ชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i Gen 10
- สเปคที่ติดเครื่องมา พร้อมใช้งานได้ทันทีด้วยแรม 8 GB
- หน้าจอ FHD 13.3″ แบบสัมผัส รองรับการใช้งานกับปากกา Lenovo Pen (แถมมาในกล่อง)
- จอพับได้ 360 องศา ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้หลายสถานการณ์
- พัดลมระบายอากาศ ช่วยระบายความร้อนภายในได้ค่อนข้างเร็ว
- มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาด้วย
- ซอฟต์แวร์ Lenovo Vantage ช่วยในการจัดการตัวเครื่อง และเรียกดูข้อมูลสถานะต่าง ๆ ได้ครบครันในตัว
ข้อสังเกต
- พอร์ตเชื่อมต่อน้อยไปนิด
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3″ ด้วยกัน ซึ่ง Lenovo Yoga C640 ก็ได้รางวัลดังนี้
Best Design
Lenovo Yoga C640 เป็นโน๊ตบุ๊คที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีในทุกรายละเอียด ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่ให้ความรู้สึกพรีเมียม แข็งแรง การเก็บรายละเอียดในแต่ละจุดก็ทำได้เป็นอย่างดี ร่วมกับขอบจอที่บาง ทำให้ตัวเครื่องโดยรวมยังคงมีความกะทัดรัดอยู่ ลงตัวกับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่มีปัญหา
Best Thin & Light
Lenovo Yoga C640 มีความบางสุดของตัวเครื่องเพียง 16.95 มิลลิเมตร และน้ำหนักเริ่มต้นแค่ 1.25 กิโลกรัม ทำให้เป็นโน๊ตบุ๊คที่เหมาะกับการพกพาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความกะทัดรัดและน้ำหนักที่เบา นอกจากนี้แบตเตอรี่ยังใช้งานได้ยาวนาน ถ้าตามสเปคก็คือได้นานสุดถึง 15 ชั่วโมง ส่วนในการใช้งานทั่วไป แม้ว่าจะลดลงมาจากสเปค แต่ก็ยังทำได้ที่ระดับ 8 ชั่วโมงอยู่ ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับที่สูงสำหรับโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันอยู่ดี
Specifications
Lenovo Yoga C640 รุ่นที่ทาง NotebookSPEC ได้รับมารีวิวในครั้งนี้ มีสเปคคร่าว ๆ ได้แก่
- ชิปประมวลผล Intel Core i3-10110U มี 2 คอร์ 4 เธรด ความเร็วพื้นฐาน 2.1 GHz บูสท์ได้สูงสุด 4.1 GHz
- ชิปกราฟิก Intel HD Graphics 620
- แรม 8 GB DDR4 แบบฝังบอร์ด
- SSD แบบ PCIe ความจุ 128 GB (ในเครื่องที่ทดสอบ)
- หน้าจอ IPS ขนาด 13.3″ ความละเอียดระดับ FHD รองรับการสัมผัส และสามารถพับจอได้ 360 องศา
- หน้าจอรองรับการทำงานร่วมกับปากกาสไตลัส Lenovo Pen (มีแถมมาในกล่อง)
- แบตเตอรี่ใช้งานได้นานสุด 22 ชั่วโมง
- รองรับ WiFi 802.11ac / Bluetooth 5.0
- เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบ Match-on-Chip
รวม ๆ แล้ว Lenovo Yoga C640 ก็เป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมสเปคที่ลงตัวสำหรับการใช้งานทั่วไป ทั้งในชีวิตประจำวัน และการใช้งานพื้นฐานในที่ทำงาน ด้วยชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุดที่ถึงแม้จะเป็น Core i3 แต่ก็เป็นรุ่นใหม่ในโค้ดเนม Comet Lake-U ที่ได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานแบบมัลติทาสก์ได้ดีขึ้นกว่าเดิม ในขณะเดียวกันก็ยังประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น แรมก็ให้มา 8 GB และ SSD แบบ PCIe 256 GB เพียงพอกับการใช้งานทั่วไปโดยไม่ต้องอัพเกรดเพิ่มเติม
ส่วนราคาของ Lenovo Yoga C640 ก็เริ่มต้นที่
Hardware / Design
Lenovo Yoga C640 เครื่องที่ทางทีมงานได้รับมารีวิวจะใช้บอดี้เป็นสีเทาเข้ม ผิวสัมผัสให้ความรู้สึกแบบเป็นซอฟต์ทัชเล็กน้อย โครงสร้างจับดูแล้วให้ความแข็งแรงดีทั้งส่วนของฝาหลัง ตัวเครื่องและบานพับ โดยด้านหลังจะมีเพียงโลโก้ YOGA เท่านั้น ส่วนโลโก้ Lenovo จะถูกวางไว้ตรงแถวแถบรองข้อมือแทนครับ การลับขอบมุมต่าง ๆ ทำได้ดี ไม่มีส่วนที่บาดมือแต่อย่างใด สำหรับช่องระบายลมร้อนก็จะวางไว้ตรงขอบเครื่องบริเวณใต้จอภาพ ที่เป็นจุดยอดนิยมของโน๊ตบุ๊คในปัจจุบัน
เมื่อกางออกมาก็จะพบจอภาพขนาด 13.3″ ความละเอียดระดับ Full HD ขอบบาง โดยที่กล้องเว็บแคมจะมีแผ่นปิดหน้ากล้องมาให้ สามารถเลื่อนเปิดปิดได้อย่างสะดวก เพื่อช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัว สำหรับหน้าจอเองก็สามารถพลิกกลับได้สูงสุดถึง 360 องศา ทำให้สามารถตั้งเครื่องทั้งในแบบโน๊ตบุ๊ค แบบเต๊นท์ รวมถึงยังพับไปใช้เป็นแท็บเล็ตจอใหญ่ได้อีกด้วย ส่วนบริเวณที่รองมือก็จะมีสติกเกอร์ Intel Core i3 10th Gen สีเงินมาให้ด้วย
ด้านล่างของเครื่องก็จะเป็นฝาปิดแบบแผ่นเดียว มีช่องระบายลมเข้าเป็นแนวยาวที่อยู่ในแนวเดียวกับพวกพัดลมระบายอากาศ ส่วนยางรองฝาเครื่องก็จะใช้เป็นแบบแผ่นยาวติดไว้ทั้งด้านบนและล่างเลย ทั้งหมดนี้ทำให้ดีไซน์โดยรวมของ Lenovo Yoga C640 ดูมีความเรียบง่ายแบบมินิมอลมาก ๆ สามารถนำไปใช้ที่ไหนก็ได้แบบไม่ขัดสายตา แต่ก็แฝงความหรูไว้แบบเบา ๆ ด้วยการเลือกใช้เฉดสี และการประกอบที่ทำออกมาได้ประณีด
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ Lenovo Yoga C640 ก็ใช้เป็นแบบแยกปุ่มกัน มีปุ่มฟังก์ชันให้มาครบถ้วน รูปทรงปุ่มก็ทำออกมาให้สามารถกดได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีไฟคีย์บอร์ดสีขาวซึ่งสามารถปรับความสว่างได้ 2 ระดับอีกด้วย ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับการใช้งานในเวลากลางคืนหรือในที่มีแสงน้อยได้ดี ส่วนทัชแพดก็ให้มาในขนาดกำลังดี รองรับการใช้งานแบบ multi gesture นอกจากนี้ตรงด้านล่างขวาของคีย์บอร์ดก็จะมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแบบสัมผัสมาให้ด้วย สามารถใช้ล็อกอินเข้าใช้งาน Windows ได้สบายมาก ๆ
Screen / Speaker
จอแสดงผลของ Lenovo Yoga C640 เป็นจอกระจกขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียดระดับ Full HD 1920×1080 ส่วนพาเนลที่เลือกใช้ก็เป็นแบบ IPS ที่ให้สีสันที่สดใส ภาพยังคงคมชัดอยู่แม้จะมองจากด้านข้าง ส่วนความสว่างก็อยู่ในระดับกลาง ๆ ครับ ใช้งานในที่ร่ม ในออฟฟิศได้สบายมาก แต่ถ้าไปใช้กลางแจ้งอาจจะไม่ค่อยสะดวกนิดนึง
ลำโพงทั้งสองตัวของ Lenovo Yoga C640 ให้เสียงในแบบสเตอริโอ โดยวางขนาบทั้งสองฝั่งของคีย์บอร์ดเอาไว้ ส่วนระบบเสียง Dolby Atmos ที่ช่วยเพิ่มความสมจริงสำหรับการสร้างบรรยากาศด้วยเสียงเมื่อใช้งานหูฟัง สำหรับแนวเสียงที่ได้ก็จะเน้นที่เสียงกลางเป็นหลัก เพื่อให้สามารถได้ยินเสียงพูด เสียงร้องได้ชัดเจน ความดังก็อยู่ในระดับที่ใช้งานในห้องไม่ใหญ่นักได้สบาย
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นในส่วนของสเปคเอาไว้ว่า Lenovo Yoga C640 รองรับการทำงานร่วมกับปากกา Lenovo Pen ซึ่งพร้อมให้ใช้งานได้ทันทีตั้งแต่เปิดเครื่องครั้งแรก ตัวปากกาจะใช้ถ่าน AAAA 1.5V เพียง 1 ก้อนในการทำงาน มีปุ่มคีย์ลัดมาให้ 2 ปุ่ม ซึ่งสามารถปรับแต่งการทำงานได้จากโปรแกรม Lenovo Pen Settings ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการจดบันทึก วาดรูป หรือใช้แทนเมาส์ก็ได้เช่นกัน
Connector / Thin And Weight
พอร์ตเชื่อมต่อของ Lenovo Yoga C640 ก็จะให้มาแบบที่เพียงพอกับการใช้งานพื้นฐานครับ โดยฝั่งซ้ายมีเพียงช่องเสียบสายชาร์จ ช่อง USB-A 3.1 และช่องเสียบแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มม.
ส่วนฝั่งขวามีแค่ช่อง USB-C ที่รองรับทั้งการส่งภาพแบบ DisplayPort และรองรับการจ่ายไฟแบบ Power Delivery (USB-PD) ด้วย ถัดมาก็เป็น USB-A 3.1 อีกช่อง และปิดท้ายด้วยปุ่มเปิด/ปิดเครื่องที่มีไฟสีขาวสำหรับแสดงสถานะการทำงานด้วย
ถ้าหากต้องการต่อภาพออกจาก Lenovo Yoga C640 ไปยังจอนอกหรือโปรเจคเตอร์ ก็ต้องหาอะแดปเตอร์แปลงจาก USB-C เป็น HDMI หรือพอร์ตอื่น ๆ ตามที่ต้องการครับ
น้ำหนักเครื่องของ Lenovo Yoga C640 ก็จะเริ่มต้นที่ประมาณ 1.25 กิโลกรัม ประกอบกับการใช้จอขนาด 13.3″ ขอบบาง ทำให้สามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้แบบไม่ยากนัก ส่วนปากกาอาจจะต้องพกแยกไปนะครับ เพราะในชุดที่รีวิวรอบนี้ไม่มีอุปกรณ์ช่วยเก็บปากกาเอาไว้กับช่อง USB-A มาให้ด้วย รวมถึงตัวเครื่องก็ไม่มีช่องใส่ปากกาด้วย
Performance / Software
Lenovo Yoga C640 เลือกใช้ชิปประมวลผลล่าสุดอย่าง Intel Core i3-10110U ที่เป็นชิป Core i gen 10 ซึ่งได้รับการพัฒนาที่สถาปัตยกรรมระดับ 14nm เช่นเดิม แต่มีการปรับปรุงภายในเล็กน้อย ใช้โค้ดเนม Comet Lake-U (CPU-Z ยังแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องอยู่) มาพร้อมคอร์ประมวลผลด้วยกัน 2 คอร์ 4 เธรด ความเร็วพื้นฐานอยู่ที่ 2.1 GHz สามารถบูสท์ได้สูงสุดถึง 4.1 GHz แคช L3 4 MB ค่า TDP สูงสุด 15W ทำให้เป็นชิปที่ได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานพื้นฐาน ตั้งแต่การใช้งานเบา ๆ เปิดเว็บ เล่นโซเชียล ไปจนถึงงานเอกสารที่ไม่ได้มีสูตรซับซ้อนได้ดี
ส่วนของ GPU อันที่จริงก็จะยังคงเป็น Intel UHD Graphics 620 เหมือนกับในชิป Core i gen 8 ครับ แต่โปรแกรม GPU-Z เวอร์ชันล่าสุดในขณะที่ทดสอบยังไม่สามารถแสดงข้อมูลได้ครบถ้วนนัก สำหรับประสิทธิภาพของ GPU ตัวนี้ก็อยู่ในระดับพื้นฐานเช่นเดียวกัน สามารถใช้งานทั่วไปได้ดี ต่อจอนอกระดับ 4K 60Hz ได้ ด้านของการเล่นเกมก็พอได้อยู่ แต่ต้องปรับกราฟิกลงพอสมควร ทั้งความละเอียดภาพ และก็รายละเอียดในการแสดงผลต่าง ๆ
เมื่อทดสอบพลังประมวลผลของ Lenovo Yoga C640 ด้วยโปรแกรม Cinebench R20 ก็ได้คะแนนอยู่ในระดับของชิปกลุ่ม Core i3 ทั่วไปครับ ก็ทำให้พอประมาณได้ว่าถ้าจะใช้สำหรับการเรนเดอร์งาน ก็อาจจะต้องใช้เวลาซักพักนึงเลย
SSD ที่อยู่ภายใน Lenovo Yoga C640 เครื่องทดสอบมีความจุ 128 GB เป็นแบบ PCIe ซึ่งจากการทดสอบด้วยโปรแกรม CrystalDiskMark ตอนที่ใช้พื้นที่ไป 81% ก็ได้ความเร็วออกมาตามภาพด้านบนครับ ความเร็วอ่านสูงสุดเท่าที่ทดสอบมาสามรอบก็อยู่ประมาณ 1,700 MB/s ส่วนการเขียนก็ประมาณ 830 MB/s เพียงพอสำหรับการใช้งานในปัจจุบันได้สบายมาก แต่ก็จัดว่าต่ำกว่า SSD PCIe ในรุ่นอื่น ๆ อยู่พอสมควร
คะแนนทดสอบจากโปรแกรม PCMark 10 ก็เก็บคะแนนไปได้ 3,461 คะแนน ใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คสเปค Intel Core i5 ในปัจจุบัน อย่างเมื่อเทียบกับ Lenovo IdeaPad C340 จะมีคะแนนส่วนของ Spreadsheet Score ในหัวข้อ Productivity ที่ Yoga C640 ทำได้ดีกว่าร่วม 2,000 คะแนน ซึ่งก็อาจจะมีผลมาจากเทคโนโลยีคอร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากเดิม ทำให้สามารถจัดการกับงาน spreadsheet แบบ Excel ได้ดีขึ้น
ส่วนการทดสอบพลังกราฟิกด้วย 3DMark ก็ได้ไป 412 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับพื้นฐานของกราฟิกในชิปประมวลผลของยุคปัจจุบัน
พอทดสอบด้วยเกม DOTA 2 ถ้าตั้งความละเอียดจอตามจอจริง (1920 x 1080) แนะนำให้ตั้งคุณภาพของการเรนเดอร์ภาพที่ระดับ Fastest จะดีที่สุด ลื่นสุดครับ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้น 60fps ตลอดเวลาอยู่ดี ถ้าอยากจะให้ลื่นกว่านี้ ก็ควรจะลดความละเอียดลงเล็กน้อย ส่วนเกมอื่น ๆ ก็ไม่แนะนำเท่าไหร่ครับ แต่ถ้าเกมเก่า ๆ ก็พอไหวอยู่
Lenovo Yoga C640 มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ Lenovo Vantage ที่เข้ามาเป็นผู้ช่วยจัดการ และปรับแต่งการทำงานของตัวเครื่อง ทั้งยังสามารถใช้ตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันได้อีกด้วย โดยถ้าคลิกที่ไอคอนรูปแบตเตอรี่สีเขียวบน taskbar ก็จะมีป๊อปอัพแบบในรูปข้างบนปรากฏขึ้นมา หลัก ๆ ก็คือแสดงปริมาณแบตเตอรี่ และก็มีตัวปรับตั้งค่าสำหรับเปิด/ปิดฟังก์ชันบางส่วนอย่างรวดเร็วได้ด้วย เช่น การเปิดปิดไมค์ กล้องหน้า(แบบซอฟต์แวร์) โหมดถนอมสายตา เป็นต้น
เมนู Health & Support เป็นหน้าจอรวมข้อมูลทั่วไปของตัวเครื่อง เช่น การตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดแวร์ การอัพเดตล่าสุด ระยะเวลาการรับประกัน เป็นต้น
ส่วนในเมนู Hardware Settings ก็จะมีตัวปรับตั้งค่าได้หลายส่วนเหมือนกัน อย่างในภาพด้านบนก็จะเป็นเรื่องของแบตเตอรี่ ที่สามารถดูสถานะของแบตเตอรี่ ปรับระบบการชาร์จแบบ Conservation Mode ได้ ซึ่งถ้าเปิดโหมดนี้ไว้ ตัวเครื่องจะชาร์จแบตไว้แค่ 55-60% เท่านั้น เพื่อถนอมระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ (ทำให้ cycle ขึ้นช้ากว่าการชาร์จเต็ม) เหมาะสำหรับคนที่ใช้เครื่องแบบเสียบสายชาร์จตลอดเวลาเป็นหลัก
ต่อมาก็คือเมนูการตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงผล ซึ่งสามารถเปิดโหมดถนอมสายตาด้วยการลดแสงสีฟ้า และปรับโทนสีได้จากในเมนูนี้
อีกเมนูที่น่าสนใจก็คือการตั้งค่าอุปกรณ์ input ที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาเปิด/ปิดทัชแพด รวมถึงสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้กดปุ่ม fn ค้างไว้ เพื่อใช้งานปุ่ม F1-F12 หรือไม่ โดยค่าเริ่มต้นของระบบจะเป็นแบบต้องกดค้างไว้ครับ ซึ่งก็สะดวกตรงที่สามารถกดปุ่มลัด เช่น ปุ่มเพิ่ม/ลดความสว่างหน้าจอได้ทันทีโดยไม่ต้องกด fn ค้างไว้ แต่ถ้าผู้ใช้งานจำเป็นต้องใช้พวกปุ่ม F1-F12 บ่อย ๆ ก็ให้คลิกไปใช้งานโหมด F1-F12 ได้เลย
Battery / Heat / Noise
การระบายความร้อนของ Lenovo Yoga C640 จะอาศัยช่องที่อยู่ตรงสันเครื่องใต้จอเป็นหลัก โดยในช่องขวา (ตามภาพด้านบน) จะเป็นช่องระบายลมร้อนออก ส่วนช่องทางซ้ายไม่มีการติดตั้งพัดลมไว้ครับ ซึ่งน่าจะไว้ช่วยดึงลมเย็นเข้าเครื่องเป็นหลัก
จากการทดสอบในห้องแอร์ พบว่าในการทำงานทั่วไป อุณหภูมิของ CPU จะอยู่ในช่วงประมาณ 36-45 องศาเซลเซียส ส่วนในระหว่างการเปิดเกมเพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ อุณหภูมิก็ขึ้นไปถึงประมาณ 80 กว่าองศาเซลเซียส แต่พอปิดหน้าเกมไป ก็สามารถระบายความร้อนออกมาได้เร็ว แลกกับเสียงพัดลมที่อาจจะได้ยินชัดหน่อยถ้าใช้งานในห้องเงียบ
แบตเตอรี่ของ Lenovo Yoga C640 ตามข้อมูลของโปรแกรม BatteryMon จะมีความจุอยู่ที่ประมาณ 7,000 กว่า mAh สามารถใช้งานจริงได้ราว ๆ 5 – 8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนักของการใช้งานเครื่อง โปรแกรมเบื้องหลัง รวมถึงพวกความสว่างหน้าจอ ไฟคีย์บอร์ด และการเชื่อมต่ออื่น ๆ ด้วยครับ อย่างในภาพก็เป็นการทดสอบโดยเปิดเว็บเบราเซอร์เล็กน้อย ความสว่างหน้าจอระดับปานกลาง และเชื่อมต่อ WiFi อยู่
Conclusion / Award
Lenovo Yoga C640 เป็นโน๊ตบุ๊คที่ได้รับการออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่เข้าได้กับทุกเพศทุกวัย งานประกอบที่มีคุณภาพ ลงตัวกับทุกรายละเอียด หน้าจอพับได้ 360 องศาก็ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน ไม่ว่าจะใช้งานแบบนั่งโต๊ะ หรือใช้งานนอกสถานที่ก็ทำได้สะดวก รองรับการสั่งงานด้วยปากกาสไตลัส Lenovo Pen ที่ตอบสนองการขีดเขียนได้รวดเร็วทันใจ
ส่วนในแง่ของการทำงานก็ราบรื่นด้วยพลังของ Intel Core i3 Gen 10 ที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นจากรุ่นเดิม และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วด้วย SSD แบบ PCIe ซึ่งช่วยให้การทำงานในแทบทุกรูปแบบเป็นไปได้อย่างไหลลื่น หรือจะใช้เก็บรูปภาพก็ทำได้แบบไม่มีปัญหา
แต่ในส่วนของการเชื่อมต่ออาจจะเป็นจุดที่ทำให้การใช้งาน Lenovo Yoga C640 เป็นไปได้ไม่สะดวกในบางกรณี เช่น การต่อมอนิเตอร์เพิ่มเติม และการอ่านข้อมูลใน SD card เนื่องจากตัวเครื่องไม่มีพอร์ตสำหรับใช้งานได้โดยตรง ต้องอาศัยอะแดปเตอร์ช่วยแปลงพอร์ตอีกทีจึงจะสามารถใช้งานได้
ข้อดี
- งานประกอบดี ดูเรียบหรู แข็งแรง
- ชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i Gen 10
- สเปคที่ติดเครื่องมา พร้อมใช้งานได้ทันทีด้วยแรม 8 GB
- หน้าจอ FHD 13.3″ แบบสัมผัส รองรับการใช้งานกับปากกา Lenovo Pen (แถมมาในกล่อง)
- จอพับได้ 360 องศา ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้หลายสถานการณ์
- พัดลมระบายอากาศ ช่วยระบายความร้อนภายในได้ค่อนข้างเร็ว
- มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาด้วย
- ซอฟต์แวร์ Lenovo Vantage ช่วยในการจัดการตัวเครื่อง และเรียกดูข้อมูลสถานะต่าง ๆ ได้ครบครันในตัว
ข้อสังเกต
- พอร์ตเชื่อมต่อน้อยไปนิด
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3″ ด้วยกัน ซึ่ง Lenovo Yoga C640 ก็ได้รางวัลดังนี้
Best Design
Lenovo Yoga C640 เป็นโน๊ตบุ๊คที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีในทุกรายละเอียด ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่ให้ความรู้สึกพรีเมียม แข็งแรง การเก็บรายละเอียดในแต่ละจุดก็ทำได้เป็นอย่างดี ร่วมกับขอบจอที่บาง ทำให้ตัวเครื่องโดยรวมยังคงมีความกะทัดรัดอยู่ ลงตัวกับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่มีปัญหา
Best Thin & Light
Lenovo Yoga C640 มีความบางสุดของตัวเครื่องเพียง 16.95 มิลลิเมตร และน้ำหนักเริ่มต้นแค่ 1.25 กิโลกรัม ทำให้เป็นโน๊ตบุ๊คที่เหมาะกับการพกพาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความกะทัดรัดและน้ำหนักที่เบา นอกจากนี้แบตเตอรี่ยังใช้งานได้ยาวนาน ถ้าตามสเปคก็คือได้นานสุดถึง 15 ชั่วโมง ส่วนในการใช้งานทั่วไป แม้ว่าจะลดลงมาจากสเปค แต่ก็ยังทำได้ที่ระดับ 8 ชั่วโมงอยู่ ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับที่สูงสำหรับโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันอยู่ดี