Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

Seagate Momentus XT 320GB เมื่อจานหมุนผสม SSD *อัพเดทราคาไทย*

ถ้าเอา SSD + HDD คุณผู้อ่านคิดว่ามันจะไปรอดไหมครับ ก่อนหน้านี้สักสองสามปี มีการพยายามรวม Flash Memory เข้ากับฮาร์ดดิสก์ไปแล้วครับ ผลหรือครับ เน่าไม่เป็นท่า เหอะๆ แต่ตอนนี้ทาง Seagate ได้ออกฮาร์ดดิสก์รุ่น Momentus XT ซึ่งเป็นการเอาระบบหน่วยความจำที่เร็วกว่า ใหญ่กว่า ดีกว่ามาทำเป็นแคชเพื่อเพิ่มความเร็วให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ

01 Seagate Momentus XT

Advertisement

Seagate Momentus XT เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว ซึ่งมีสองสิ่งใหญ่ๆ ที่แตกต่าง อย่างแรกก็คือ การใช้ NAND Chip แบบ Single Level Cell (SCL) ขนาด 4 GB ซึ่งตอนนี้มันถูกบรรจุไว้บน SSD ระดับ Enterprise อย่างเช่น Intel X25-E และมันก็มีอายุและประสิทธิภาพสูงกว่า NAND Chip แบบ Multi Level Cell (MLC) ที่ใช้กันใน SSD ทั่วๆ ไป เช่น OCZ Vertex 2 สำหรับส่วนที่สอง ก็คือ การมีตัวควบคุมฝังอยู่ในตัวเครื่องโดยตรง เพื่อทำหน้าที่ตัดสินใจว่าข้อมูลส่วนไหนจะถูกเขียนและอ่านบนส่วนของ SSD ทาง Seagate เขียนวิธีนี้ว่า Adaptive Memory พูดง่ายๆ คือ ส่วนที่เป็น SSD จะทำหน้าที่เป็นแคช ดังนั้น รวมๆ แล้ว Momentus XT ควรจะให้ประสิทธิภาพกับระบบโดยร่วมเพิ่มขึ้น และราคาถูกกว่า SSD แต่มีความจุสูงกว่ามาก

17 Seagate Momentus XT

ข้อมูลทางเทคนิค
– มีขนาดความจุ 250, 320 และ 500 GB
– 3Gbit/s Interface with NCQ
– 4 GB SLC NAND Memory
– 32 MB Cache
– ใช้พลังงาน 0.8 วัตต์เมื่อไม่ได้ทำงาน และใช้พลังงาน 1.554 วัตต์เมื่อทำงาน
– สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิ 0 – 60 องศา
– ส่งเสียงรบกวน 23 dB เมื่อไม่ได้ทำงาน และส่งเสียงรบกวน 25 dB เมื่อทำงาน

02 Asus UL50VF

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบ
ทางทีมงานจะทำการทดสอบ Momemtus XT บนเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เพื่อจะได้หาค่าประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยเราจะมีเครื่องพีซีตามสเปกด้านล่างนี้ และเราเรียกชื่อมันเล่นๆ ว่า P55 Desktop

– Intel P55 Chipset
– Intel Core i5-750 2.66 GHz Quadcore (Speedstep, Turbo และ C6 ถูกปิดไม่ให้ทำงาน)
– AMD ATI Radeon HD 4850
– หน่วยความจำขนาด 4 GB DDR3
– Seagate Momentus XT ต่อเข้ากับพอร์ต SATA เป็นฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง

สำหรับเครื่องโน็ตบุ๊กทางทีมงานทดสอบโดยการลง Windows 7 และเอาไปใส่ในเครื่อง Asus UL50VF ซึ่งมีการเปิดใช้ระบบ Speedstep

– Intel GM45 Chipset
– Intel Core 2 Duo SU7300 @ 1.3 GHz
– Intel GMA 4500MHD และ Nvidia GeForce G210M + Optimus

การทดสอบแบบสังเคราะห์
ตอนแรกทางทีมงานทำการทดสอบด้วยโปรแกรม HD Tune ตัวฮาร์ดดิสก์ยังทำงานเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ธรรมดาๆ ทั่วไป เพราะว่าฮาร์ดดิสก์ที่เราใส่เข้าไปยังใหม่ และยังไม่ได้ทำการเก็บแคชว่าส่วนไหนถูกใช้บ่อยๆ ผลที่ได้ก็เลยไม่ต่างกับฮาร์ดดิสก์ธรรมดา แต่ว่าเร็วพอๆ กับฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงของทางโน๊ตบุ๊ค ต่อมาหลังจากที่เราทำการทดสอบไปได้สักระยะ เราก็เริ่มเห็นว่าความเร็วที่ได้จาก Flash Memory จะเห็นได้ว่า Transfer Rate ยังเหมือนเดิมแต่ Access Time ใช้เวลาน้อยพอๆ กับ SSD เลยทีเดียว

03 HD Tune Before

ทดสอบด้วย HD Tune ครั้งแรก

04 HD Tune After

ทดสอบด้วย HD Tune ครั้งต่อๆ มา

หลังจากเริ่มเห็นผลกันบ้างแล้ว ทางทีมงานก็ทดสอบด้วย CrystalDiskMark และ AS SSD ผลที่ได้ ก็ไม่ต่างอะไรกับฮาร์ดดิสก์ทั่ว การทดสอบพวกนี้ถูกทำตอนที่ตัวเครื่องยังว่างๆ เพราะฉะนั้น ผลที่ได้ก็จะเป็นค่าที่ดีที่สุด ถ้าหากว่าเอาไปใช้งานจริงๆ จนมีข้อมูลเยอะๆ แล้ว ผลที่ได้ก็จะตกลงเล็กน้อยไปตามลำดับ

05 CrystalDiskMark

06 AS SSD

หลังจากนั้น เราลองเอาโปรแกรม ATTO Disk Benchmark มาลองทดสอบดู ผลที่ได้ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับฮาร์ดดิสก์ธรรมดาๆ เช่นกัน แม้เราจะทดสอบไป 8 ครั้งแล้ว

07 ATTO Benchmark Asus UL50VF 1st

ทดสอบด้วย ATTO Disk Benchmark ครั้งแรก

08 ATTO Benchmark Asus UL50VF 8th

ทดสอบด้วย ATTO Disk Benchmark ครั้งที่แปด

09 ATTO Benchmark P55 Desktop

ทดสอบด้วย ATTO Disk Benchmark บน P55 Desktop

คราวนี้เราลองใช้ PCMark Vantage ซึ่งอย่างที่รู้ๆ กันว่ามันจะทำการทดสอบการทำงานของทั้งระบบ ตอนแรกที่ทางทีมงานทดสอบก็ได้ผลลัพท์ไม่ต่างอะไรไปกับฮาร์ดดิสก์ธรรมดาๆ ทั่วๆ แต่หลังจากที่เราทดสอบครั้งที่สอง ผลที่ได้ก็ดีขึ้น และเริ่มได้คะแนนมากขึ้นเรื่อยๆ ทีละนิด จนถึงครั้งที่ 11

10 PCMark Vantage Asus UL50VF 1st

ทดสอบด้วย PCMark Vantage ครั้งที่ 1 (ดูคะแนน HDD Test Suit บรรทัดสุดท้าย)

11 PCMark Vantage Asus UL50VF 2nd

ทดสอบด้วย PCMark Vantage ครั้งที่ 2

12 PCMark Vantage Asus UL50VF 11th

ทดสอบด้วย PCMark Vantage ครั้งที่ 11

13 PCMark Vantage P55 Desktop

ทดสอบด้วย PCMark Vantage บน P55 Desktop

ทดสอบจากโปรแกรมจริง
ทางทีมงานลองใช้ AS SSD ทำการ Copy Test ดู โดยจะแบ่งเป็นสามอย่างก็คือ ไฟล์ของโปรแกรม ไฟล์ของเกม และไฟล์ ISO แต่ผลออกมาว่า การแคชไม่มีผลกับการทดสอบพวกนี้เลย ถ้าเทียบกับ SSD แท้ๆ ดีๆ ตัว Seagate ก็ทำงานได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ยิ่งฮาร์ดดิสก์มีข้อมูลอยู่ข้างในมากเท่าไร การคัดลอกไฟล์ก็ยิ่งช้าลงเท่านั้น

14 AS SSD Copy P55 Desktop

กราฟการทดสอบคัดลอกไฟล์บน P55 Desktop

15 AS SSD Copy Asus UL50VF

กราฟการทดสอบคัดลอกไฟล์บน Asus UL50VF

คราวนี้มาทดสอบอะไรที่ปวงชนทั้งโลกต้องการกันบ้าง “ความเร็วในการเปิดเครื่อง” หรือพูดอีกอย่างว่าความเร็วในการบูต Windows 7 ขอแสดงความยินดีด้วย เพราะว่าครั้งที่สองของการทดสอบ Momentus XT สามารถทำให้เครื่องบูตได้เร็วขึ้น และหลังจากทำซ้ำหลายๆ รอบ เวลาที่ต้องใช้ในการบูตก็ลดลงไปกว่าครึ่ง

16 Windows 7 Starting

แต่การใช้งานในชีวิตจริงก็คงมีอะไรให้ทำมากกว่ามานั่งจับเวลาที่ใช้บูตเพื่อไปอวดเพื่อนๆ ยังไง SSD ก็ยังให้ประสิทธิภาพโดยรวมมากกว่า แต่ Seagate Momentus XT ตัวนี้สามารถตอบสนองคนที่อยากได้ฮาร์ดดิสก์ที่เร็วกว่า ฮาร์ดดิสก์แบบ 5400 ? 7200 RPM ทั่วไป แต่อยากได้ความจุเยอะกว่าของ SSD เช่น คนที่ใช้โน็ตบุ๊กทั่วๆ ไปที่ใส่ฮาร์ดดิสก์ได้แค่ลูกเดียว ดังนั้น Seagate Momentus XT อาจจะไม่ใช่ ฮาร์ดดิสก์ที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นฮาร์ดดิสก์ที่น่าใช้มากๆ ตัวหนึ่ง

ori 20101012123843001

Update ราคาในไทย ณ ร้าน TK Com ที่พันทิพย์ขนาด 320GB ขายอยู่ที่ 3,950 บาท จ้า

ที่มาราคา : http://tkcom99.com/product_detail.php?p_id=1172&is_product=&s_type_id=&s_cat_id=

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ถ้าประกอบคอมหรือซื้อโน๊ตบุ๊คมาสักเครื่อง นาทีนี้เป็นใครก็อยากได้ SSD 1TB มาใส่ในเครื่องสัก 1~2 ชิ้นแน่นอน จะได้ติดตั้งโปรแกรมทำงาน, เกมและเก็บไฟล์งานเรียกใช้บ่อยได้สะดวก เพราะตอนนี้จะเกมหรือโปรแกรมไหนก็กินพื้นที่กันหลัก 50~100GB กันทั้งนั้น ยังไม่รวมส่วนเสริมอีกร้อยแปดสำหรับเพิ่มลูกเล่นให้งานเสร็จเร็วหรือน่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งอาจใช้พื้นที่เพิ่มอีกพอควร ยิ่งตอนนี้โน๊ตบุ๊คทำงานขนาดปกติกับเกมมิ่งส่วนใหญ่ก็ติดตั้ง SSD ตัวเสริมเข้าไปได้แทบทุกรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจะซื้อมาใส่ในเครื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้งานก็ดี เปิดเครื่องมาตั้งค่าอีกหน่อยก็ใช้งานได้เลย อย่างไรก็ตาม SSD ในปัจจุบันจะมีอินเทอร์เฟสให้เลือกหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ PCIe 3.0...

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

PC Review

WD Blue SN5000 1TB เปิดเครื่องไว ก็อปปี้ไฟล์ ย้ายข้อมูลรวดเร็ว SSD เพื่อสายทำงาน สาย AI และงานที่เร่งด่วน WD Blue SN5000 เป็นหนึ่งในซีรีย์ของ SSD ระดับเพาเวอร์ยูสเซอร์และเกมเมอร์ของทาง WD ที่ออกแบบมาให้กับผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ใช้งานด้านความเร็ว ในการอ่านและเขียนข้อมูล บนมาตรฐาน M.2 NVMe...

REVIEW

Kingston NV3 2TB ความจุเยอะ อ่านเขียนไว ตอบโจทย์คนทำงาน คอเกมและครีเอเตอร์ Kingston NV3 เป็น SSD M.2 NVMe รุ่นใหม่ล่าสุด ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นกับ SSD M.2 ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ในชีวิตประจำวัน กับความจุที่มากสุดถึง 2TB ทำให้รองรับได้ทั้งการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการลงโปรแกรม...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก