Connect with us

Hi, what are you looking for?

How to

Intel Scoop – กฎของมัวร์ … ไปได้ต่อหรือถึงทางตัน ??? ในปี 2025 หรือว่ามากกว่านั้น คงได้รู้กัน

Moore’s Law หรือกฎของมัวร์นั้นสำหรับผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีน่าจะรู้จักกันดีครับ โดยกฎของมัวร์นั้นเป็นกฎที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยคุณ Gordon Moore

Moore’s Law หรือกฎของมัวร์นั้นสำหรับผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีน่าจะรู้จักกันดีครับ โดยกฎของมัวร์นั้นเป็นกฎที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยคุณ Gordon Moore ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Intel คนหนึ่งโดยได้มีการเปิดเผยกฎดังกล่าวนี้มาตั้งแต่ในปี 1965 แล้ว สาระสำคัญของกฎของมัวร์นั้นก็คือการกล่าวถึงอุตสาหกรรมการผลิตโดยสารกึ่งตัวนำจะช่วงให้แผงวงจรสามารถที่จะเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ได้เป็น 2 เท่าบนขนาดแผงวงกรเท่าเดิมในทุกๆ 2 ปี หรือเอาง่ายๆ เลยก็คือทุกๆ 2 ปีนั้นแผงวงจรที่ใช้สารกึ่งตัวนำในการผลิตจะสามารถใส่ทรานซิสเตอร์ไดเพิ่มขึ้นเท่าตัวนั่นเองครับ

intels moores law may ultimately meet economic limits

Advertisement

การที่เราสามารถที่จะเพิ่มทรานซิสเตอร์ลงไปเป็น 2 เท่าในระยะเวลาทุกๆ 2 ปีนั้นก็หมายความว่าชิปรุ่นใหม่ที่ออกตามหลังมาหลังจาก 2 ปีผ่านไปจะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมในขณะที่ราคานั้นจะยังคงเท่ากับของเดิมทำให้ผู้ผลิตสามารถที่จะใส่อะไรต่างๆ เข้ามาได้มากขึ้นกว่าเดิมนั่นเองครับ แน่นอนครับว่าตั้งแต่ในยุค 1965 เป็นต้นมานั้นผู้ผลิตต่างก็ผลิตชิปรวมไปถึงแผงวงจรต่างๆ อย่างเป็นไปตามกฎของมัวร์อย่างสม่ำเสมอ ทว่าอย่างไรก็แล้วแต่นั้นกฎของมัวร์ไม่ใช่กฎที่จะคงอยู่อย่างถาวรครับดังจะเห็นได้ว่าผู้ผลิตต่างๆ ในปัจจุบันนั้นก็พยายามที่จะทำลายกฎของมัวร์กันอยู่เรื่อยๆ ทว่าทำยังไงก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกฎดังกล่าวนี้ได้สักทีครับ

จะเห็นได้ครับว่าจริงๆ ในความเป็นจริงนั้นหากจะยึดตามหลักกฎของมัวร์นั่นหมายความว่าในทุกๆ 2 ปีนั้นเราจะมีการลดขนาดของชิปลงราวๆ 1 µm แต่กลับกลายเป็นว่า ณ เวลาปัจจุบันนั้นเราได้ใช้ชิปที่มาพร้อมกับขนาดเพียงแค่ 7 nm แล้ว แต่กระนั้นทรานซิสเตอร์ภาพในก็ยังคงเป็นไปตามกฎของมัวร์อยู่ดีครับ สิ่งที่จะเข้ามาในการทำให้กฎของมัวร์สิ้นสุดได้นั้นจะประกอบไปด้วยปัจจัย 3 อย่างด้วยกันคือ

  • impurities หรือสิ่งสกปรกบนสารกึ่งตัวน้ำมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ เพราะในทางปฎิบัตินั้นไม่สามารถที่จะทำให้สารกึ่งตัวนำสะอาดหมดได้จริงเนื่องจากมันมีปัจจัยในการผลิตเข้ามาเกี่ยวข้องโดยปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดก็คือเรื่องของความร้อนที่ไม่ว่าสารจะเล็กมากขนาดไหนทว่าเมื่อตีเสร็จแล้วมันก็จะยังคงขยายตัวขึ้นมามากกว่าตอนที่ทำการตีอยู่อย่างเสมอๆ ยดตัวอย่างง่ายๆ ก็คือเพรชที่เวลาทำการเจียร์หรือกดแล้วนั้นก็จะยังคงมีสิ่งเจือปนหลงอยู่บนพื้นผิวเพชรเสมอ(ถึงแม้ว่าตาเปล่าจะมองไม่เห็น) ซึ่งนั่นเลยทำให้หากเป็นสารกึ่งตัวนำแล้วนั้นก็อาจจะถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้หรือหากใช้ได้ก็จะกลายเป็นว่าเราเสียพื้นที่ ณ จุดดังกล่าวไปครับ
  • lithography หรือปริ้นท์ทรานซิสเตอร์ลงไปบนแผงวงจรสารกึ่งตัวนำซึ่งโดยปกตินั้นจะต้องใช้แสงในการปริ้นท์เข้าไปเพื่อที่จะทำให้ตัวแผงวงจรนั้นมีพื้นผิวที่เหมาะสมกับทรานซิสเตอร์ต่างๆ เหล่านั้น ยิ่งเราทำให้ทรานซิสเตอร์เล็กลงมากขึ้นเท่าไรนั้นเราก็ต้องสร้างให้ฐานวงจรมีร่องที่จะวางทรานซิสเตอร์ดังกล่าวลงไปให้ได้มากที่สุด ในจุดนี้นั้นเราก็จะมีการใช้เทคนิคที่เรียกว่า multi-patterning ทว่าหลังจากที่เวลาผ่านไปแล้วนั้นเรากลับได้พบว่าวิธีการดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะทำเช่นนั้นอีกต่อไปดังนั้นแล้วทางผู้ผลิตชิปก็ต้องหาเทคนิคทางด้านอื่นเข้ามาช่วยซึ่งเทคนิคที่เข้ามาช่วยนั้นก็จะเป็นเทคนิคเรื่องของกหารใช้แสงอย่างเช่น Extreme UV หรือ EUV เป็นต้น ซึ่งแน่นอนครับว่าการลดขนาดวงจรแล้วเล่นกับแสงแบบนี้นั้นย่อมทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเพราะนั่นอาจจะหมายถึงเกิดข้อผิดพลาดได้จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถที่จะใช้แผงวงจรดังกล่าวนั้นได้อีกต่อไป(เห็นกันชัดๆ จากทาง Intel กับปัญหาที่พบบนกระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm ซึ่งผปลลัพธ์ที่ได้จากการผลิตไม่มีมาตรฐานมากพอที่จะสามารถผลิตชิปได้เป็นจำนวนมากนั่นเอง)

GbCrTomcvUhOycZr

  • economics of scale หรือปัญหาทางด้านต้นทุนซึ่งหากต้องการทำกฎของมัวร์ให้เป็นไปได้เรื่อยๆ แล้วนั้นมันจะไปสร้างความเป็นจริงอย่างหนึ่งก็คือทางผู้ผลิตต้องเพิ่มต้นทุนในการผลิตใหม่ทุกๆ 2 ปีเพื่อที่จะทำให้ตัวชิปนั้นมีขนาดเล็กลงมากพอจนสามารถที่จะใส่ทรานซิสเซอร์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุกๆ ระยะเวลา 2 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระบวนการผลิตที่เล็กลงเรื่อยๆ นั้นการพัฒนากระบวนการผลิตต่างๆ ก็จะยากขึ้นตามเรื่อยๆ จนทำให้ต้นทุนที่จะต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหรือสร้างโรงงานให้รองรับมีต้นทุนเพิ่มเข้ามาเป็นอย่างมากนั่นเองครับ

LtZ2ACQrREesCQua

แน่นอนครับว่าเพื่อที่จะต้องทำให้การผลิตนั้นเป็นไปตามกฎของมัวร์ดังนั้นเองแล้วทางผู้ผลิตก็ต้องหาวิธีการผลิตชิปแบบใหม่ซึ่งนั่นเลยกลายเป็นการก่อกำเนิดให้เกิดการผลิตชิปที่มีการวางชั้นของทรานซิสเตอร์ในรูปแบบ 3 มิตินั้นเอง ทว่าแน่นอนครับไม่ว่าจะเป็นการผลิตรูปแบบ 3 มิติแบบไหนนั้นการพัฒนาย่อมมาพร้อมกับเงินทุนที่มากขึ้นๆ เรื่อยๆ โดยหากดูจากภาพด้านบนนั้นจะเห็นได้ครับว่าการผลิตชิปตามปกติที่เรียกว่า Planar FET นั้นจะทำให้มีพื้นที่ในการจัดวางทรานซิสเตอร์ค่อนข้างน้อย ทว่าในปัจจุบันนั้นทางผู้ผลิตเริ่มเปลี่ยนวิธีใหม่มาใช้เป็น FinFet ที่ตัวประตูสำหรับการวางตำแหน่งหน้าสัมผัสนั้นเปลี่ยนไปจนทำให้เราสามารถที่จะวางทรานซิสเตอร์เพิ่มขึ้นไปได้เป็นต้นครับ

moores law quote

เอาล่ะครับมาถึงจุดสรุปในส่วนที่ว่าเมื่อมันมีปัญหาในการผลิตต่างๆ มากมายอย่างนี้ในปัจจุบันดังนั้นแล้วกฎของมัวร์นั้นจะยังคงสามารถใช้งานต่อไปได้หรือไม่ คำตอบนั้นก็คือมันยังคงมีความเป็นไปได้ครับอย่างน้อยก็อาจจะไปจนถึงปี 2025 หรือว่ามากกว่านั้นอีก(ปี 2025 คือปีที่มัวร์คาดเอาไว้ว่าจะไม่สามารถใช้กฎของเขาได้อีกต่อไป) เพราะว่าหลายๆ บริษัทผู้ผลิตนั้นยังคงนิยมและพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะทำตามกฎของมัวร์อยู่(รวมถึงทำลายกฎมัวร์ด้วยการเพิ่มทรานซิสเตอร์ลงไปบนชิปให้เร็วกว่าทุกๆ 2 ปี) ทว่าสิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเลยในปัจจุบันนั้นก็คือกฎของมัวร์นั้นเริ่มที่จะยากแล้วในทางปฎิบัติจริงๆ แต่การที่มันยังสามารถอยู่ต่อไปได้นี้นั้นก็ต้องยอมรับล่ะครับว่ามัวร์นั้นถือได้ว่าเป็นคนเก่งคนหนึ่งเลยทีเดียวครับ

ที่มา : techpowerup

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

IT NEWS

อินเทลยกระดับพันธมิตรในการบูรณาการ AI เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ได้อย่างราบรื่นด้วยซอฟต์แวร์ระบบ Intel AI Edge, Edge AI Suites และแพลตฟอร์ม Open Edge ใหม่ 20 มีนาคม 2568 – มีอะไรใหม่: อินเทลเปิดตัวระบบ Intel® AI Edge, Edge AI...

รีวิว MSI

MSI Claw 8 AI+ เครื่อง Gaming Handheld พลัง Intel Core Ultra 200V ใหม่ แรงกว่าเดิม ฟาร์มเกมสบายๆ กลายเป็น Mini PC ได้ด้วย! นับจากเดือนมีนาคม 2024 ที่ MSI ส่ง...

Special Story

ไม่นานมานี้ทาง Lenovo ได้เปิดตัวโน๊ตบุ๊คระดับพรีเมียมซีรีส์ใหม่อย่าง Lenovo Aura Edition AI PCs จากการร่วมมือเชิงลึกกับ Intel ตั้งแต่ระดับการออกแบบตัวเครื่องรวมถึงฟีเจอร์จนได้เป็นซีรีส์ใหม่นี้ซึ่งเน้นประสิทธิภาพสูงทรงพลังและยังใช้งานง่าย ในตอนนี้จะมี Yoga Aura Edition กับ ThinkPad X9 Aura Edition ติดตั้งซีพียู Intel Core Ultra...

รีวิว MSI

MSI Modern 15 F1M เรียบง่ายแต่ครบเครื่อง ดูดีมี Office แท้ติดมาให้พร้อมใช้งาน!! หลายคนมักจำชื่อและติดภาพว่า MSI คือแบรนด์เกมมิ่งชั้นนำขวัญใจเกมเมอร์ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น นั่นเพราะโน๊ตบุ๊คทำงานอย่าง MSI Modern 15 F1M เองก็ไม่น้อยหน้ากัน ยิ่งโมเดลใหม่ของปี 2025 นี้ ทางบริษัทก็ปรับแต่งฮาร์ดแวร์หลายส่วนให้ดีขึ้นและคงฟีเจอร์น่าใช้เอาไว้ให้หลายส่วน เริ่มจากซีพียู Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก