Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

Review – SteelSeries GameDAC ผู้ช่วยยกระดับคุณภาพเสียง ที่ใช้ได้ทั้ง PC และ PS4

อีกหนึ่งสิ่งสำหรับคอเกมพีซีที่จะช่วยเสริมประสบการณ์การเล่นเกม ก็คงหนีไม่พ้นด้านเสียง ซึ่งส่วนใหญ่คนก็มักจะมองหาหูฟัง หรือชุดลำโพงดี ๆ มาใช้งาน แต่สำหรับผู้ที่มีอยู่แล้ว แต่ยังอยากเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปอีก สิ่งที่จะมาตอบโจทย์ก็คือกลุ่มของพวก DAC นั่นเอง ซึ่ง SteelSeries เองก็มีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ SteelSeries GameDAC ในรีวิวตัวนี้นี่เองครับ

SteelSeries GameDAC เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นทั้ง DAC และแอมป์ในตัว รองรับการใช้งานทั้งกับคอมพิวเตอร์ และเครื่อง PS4 อีกทั้งยังรองรับไฟล์เสียงระดับ Hi-Res เพื่อเพิ่มคุณภาพเสียงที่ได้จากอุปกรณ์ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการปรับระดับเสียงได้ว่าจะเน้นเสียงเกม หรือเสียงคำพูดจากการแชท เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้ไม่ต้องไปคอยปรับจากหน้า settings ในเกมให้วุ่นวาย

Advertisement

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 57

กล่องของ SteelSeries GameDAC ก็มาในสีโทนขาวส้มตามสไตล์ของ SteelSeries เลย โดยหน้ากล่องก็จะระบุชัดเจนเลยว่ารองรับระบบเสียง Hi-Res, Dolby Audio, dts X และสามารถใช้งานได้ทั้งบบน PS4 กับ PC

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 58

ด้านข้างกล่องก็จะมีรายการของอุปกรณ์ที่ให้มาในกล่อง และก็สเปคคร่าว ๆ ครับ โดยจุดที่น่าสนใจก็ได้แก่

  • ชิป DAC/Amp ใช้เป็น ESS Sabre 9018Q2C
  • เป็น DAC สำหรับเกมมิ่งรุ่นแรกที่รองรับระบบเสียง Hi-Res ระดับ 96 kHz 24 bit
  • ตอบสนองต่อคลื่นเสียงในช่วง 5 – 40,000 Hz
  • รองรับไฟล์เสียงตั้งแต่ 44.1 – 96 kHz / 16 – 24 bit
  • กำลังขับของหูฟังที่แนะนำอยู่ในช่วง 16 – 80 Ohms
  • รองรับระบบเสียงรอบทิศทาง DTS Headphone:X 2.0 โดยหูฟังต้องรองรับด้วย
  • พอร์ตเชื่อมต่อ Optical / Micro USB / Line out (3.5 mm) / Mobile (3.5 mm) / พอร์ตสำหรับเสียบสายหูฟัง

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 42

รูปร่างหน้าตาของ SteelSeries GameDAC นั้นมีขนาดกะทัดรัด ด้านหน้าเป็นพลาสติกสีดำ มีจอ OLED อยู่ภายใน ใกล้ๆ กันนั้นก็เป็นปุ่ม back  ถัดไปทางขวาก็คือตัวหมุนสำหรับเลื่อนซ้าย/ขวา ปรับระดับเสียง และยังสามารถกดเพื่อเลือกเมนู ตกลง ยืนยันที่ตัวซอฟต์แวร์ได้อีกด้วย

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 46

หน้าจอถูกวางมาให้มีความลาดชันในองศาที่ให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นจอ OLED ได้ง่าย โดยฝั่งซ้ายของ SteelSeries GameDAC จะมีเพียงช่องเสียบสายแปลงไปเป็นหัว 3.5 mm. สำหรับเสียบหูฟังอีกต่อนึง ซึ่งช่องนี้จะมีหน้าตาคล้ายกับช่อง Micro HDMI แต่ไม่สามารถนำสาย Micro HDMI มาเสียบได้นะครับ ต้องใช้สายจากในกล่องเท่านั้น

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 47

ฝั่งขวาไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อใด ๆ

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 48

ส่วนด้านหลังก็มีด้วยกัน 4 ช่อง ได้แก่ ช่องออปติคอลสำหรับต่อสัญญาณเสียงจากคอมพิวเตอร์ หรือ PS4 เข้ามา (มีสายออปติคอลแถมให้ในกล่อง) ถัดมาเป็นช่อง Micro USB สำหรับต่อสัญญาณเสียงจากคอมพิวเตอร์เข้ามา ถัดมาอีกสองช่องก็จะเป็นช่องสำหรับเสียบแจ็คขนาด 3.5 mm. ทั้งคู่ ฝั่งซ้ายคือช่องเสียบรับสัญญาณจากช่อง Line out ของอุปกรณ์อื่น อีกช่องก็เป็นช่องสำหรับรับสัญญาณเสียงจากมือถือ เครื่องเล่นเพลงต่าง ๆ

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 49

ด้านล่างก็เป็นฉลากระบุข้อมูลทั่วไป การรับรองตามมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงหมายเลขซีเรียลด้วย

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 40

ระหว่างการใช้งาน หน้าตาของ SteelSeries GameDAC ก็จะประมาณนี้ครับ มีสายเข้าอย่างต่ำ 1 เส้นด้านหลัง และก็สายออกทางฝั่งขวา 1 เส้น ส่วนหน้าจอก็จะติดตลอดเวลา โดยในการใช้งาน ผู้ใช้ต้องเสียบสาย Micro USB ด้วยเสมอ เพื่อเป็นสายสำหรับจ่ายไฟเข้ามายังตัว GameDAC ถ้าเป็นการใช้กับคอมพิวเตอร์ก็ง่ายหน่อยครับ ใช้แค่ Micro USB เส้นเดียวก็ส่งได้ทั้งไฟและข้อมูลเลย

สำหรับหน้าจอ OLED นั้น หน้าหลักตามภาพด้านบนคือหน้าแสดงระดับความดังเสียง โดยมีส่วนประกอบในหน้าทั้งหมดได้แก่

  • คำว่า PC: บ่งบอกว่าผู้ใช้เลือกประเภทของดีไวซ์ input เสียงเป็นประเภทใด โดยมีให้เลือกในเมนูตั้งค่าด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ PC, PS4 และ Hi-Res
  • 48kHz-16bit: บ่งบอกว่าขณะนั้น ค่า sampling rate ของเสียง input เป็นค่าใด
  • DTS OFF: ตัวเลือกในการเปิด/ปิดโหมดเสียง DTS ซึ่งสามารถสั่งเปิด/ปิด ได้โดยการกดปุ่ม back (วงกลมเล็ก)
  • วงล้อ VOL: ระดับความดังเสียง output ของเสียงหลัก เช่น เสียงในเกม เสียงเพลง
  • วงล้อ MIX: ระดับความดังเสียงจากแหล่ง input อื่น ๆ เช่น เสียงแชทผ่านไมค์

ซึ่งผู้ใช้สามารถสลับการปรับความดังเสียงระหว่างวง VOL และวง MIX ได้ด้วยการกดลงไปบนปุ่มวงล้อใหญ่ทางขวาสุด ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับระดับเสียงแชทในเกมให้ดังหรือค่อยลงได้ตามต้องการ เหมาะกับผู้ที่ต้องการสตรีมเกมจาก PS4 แบบที่มีการใส่เสียงพูดลงไปด้วยมาก ๆ

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 51

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 53

แต่หากเป็นการใช้งานโดยผ่านพอร์ตออปติคอล เช่น เมื่อใช้กับเครื่อง PS4 หรือแม้จะใช้กับคอมพิวเตอร์ก็ตาม จำเป็นจะต้องเสียบสายอย่างต่ำสองเส้น หนึ่งคือสายออปติคอล สองคือสาย Micro USB ด้วย เท่าที่ผมลอง ก็สามารถเสียบ Micro USB เข้ากับช่อง USB ของ PS4 แล้วใช้งานได้ทันที เนื่องจากกำลังไฟจากพอร์ตนั้นเพียงพอ

ส่วนถ้าจะใช้งานกับอะแดปเตอร์มือถือเพื่อนำมาจ่ายไฟ ก็คงต้องเลือกอะแดปเตอร์ที่จ่ายไฟได้สูง ๆ หน่อยนะครับ เพราะผมลองกับอะแดปเตอร์ 5V 1.55A แล้ว พบว่าจ่ายไฟไม่พอ จนไม่สามารถใช้งาน SteelSeries GameDAC ได้เลย

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 55

รูปแบบการใช้งานของ SteelSeries GameDAC ก็ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ครับ มีแค่อินเตอร์เฟสส่วนหน้าสุดของซอฟต์แวร์ที่ใช้ปรับระดับเสียงเท่านั้น หากผู้ใช้ต้องการเข้าไปตั้งค่าอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยการกดค้างที่ปุ่มวงล้อซัก 2-3 วินาที ก็จะพบกับเมนูตั้งค่าเป็นหัวข้อให้เลือกแล้ว

ซึ่งเมนูต่าง ๆ ก็ตามภาพด้านล่างนี้เลยครับ โดยบางกลุ่มเมนู ผมได้อัพโหลดเป็นแกลเลอรี่ให้คลิกชมภาพไปได้เรื่อย ๆ ด้วย

 

เมนู Audio

SteelSeries: Audio
 

เป็นเมนูสำหรับปรับค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งภายในก็จะมีเมนูย่อยต่าง ๆ ได้แก่

  • DTS Headphone:X สำหรับตั้งค่าเปิด/ปิดโหมดระบบเสียงดังกล่าว
  • Equalizer ที่มีหลายรูปแบบให้เลือก และยังสามารถปรับเองได้ด้วย
  • เมนูปรับค่า Gain โดยค่าเริ่มต้นจะตั้งมาเป็น High
  • เมนูปรับค่า Sidetone ของไมค์ โดยค่าเริ่มต้นจะตั้งมาเป็น Low
  • เมนูปรับระดับเสียงจากไมค์

 

เมนู Input

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 24

เมนูที่สองก็คือตัวเลือกประเภทของอุปกรณ์ input ที่มีให้เลือก 3 ประเภท ได้แก่ PC, PS4 และก็เครื่องเล่นเพลง Hi-Res

 

เมนู Output

SteelSeries: Output
 

ใช้สำหรับปรับค่าเสียงของขา output ทั้งหมด โดยมีเมนูย่อย คือ Line out mode ที่มีให้เลือกระหว่าง Speakers คือเป็นการ output ออกไปหาหูฟัง หรือลำโพงตามปกติ กับ Streaming สำหรับการสตรีมจาก PS4 ซึ่งภายในก็จะให้ผู้ใช้สามารถปรับระดับความดังเสียงของ output จาก input แต่ละขาได้ ว่าจะให้เสียงจากไหน ดังระดับใด โดยขาของเสียงที่มีให้ปรับระดับก็คือ Game, Chat, AUX และ Mic ทำให้ SteelSeries GameDAC ทำหน้าที่เหมือนเป็น sound controller ไปด้วยในตัว

 

เมนู Display

SteelSeries: Display
 

ใช้สำหรับตั้งค่าเกี่ยวกับจอ OLED เช่น ระดับความสว่าง ระยะเวลาในการปิดจออัตโนมัติ

 

เมนู Illumination

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 33

สำหรับผู้ที่ใช้หูฟังจาก SteelSeries ที่มีไฟ RGB อย่างในตระกูล SteelSeries Arctis ก็สามารถสั่งซิงค์การตั้งค่าสีไฟจากตรงนี้ได้เช่นกัน

 

เมนู About

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 35

เป็นเมนูรวมการตั้งค่าอื่นๆ เช่น หน้าแสดงข้อมูลทั่วไป เวอร์ชันเฟิร์มแวร์ของ SteelSeries GameDAC รวมถึงยังมีเมนูในการสั่งรีเซ็ตการตั้งค่าทั้งหมดได้ด้วย

Screen Shot 2018 11 25 at 7.00.58 PM

เมื่อเชื่อมต่อ SteelSeries GameDAC เข้ากับคอมพิวเตอร์แล้ว ชื่อของ GameDAC Game และ GameDAC Chat ก็จะปรากฏขึ้นมาให้เลือกตรงเมนูที่เกี่ยวกับ Output device ทันที หากต้องการฟังเสียงจาก SteelSeries GameDAC ก็ให้เลือกไปที่ GameDAC Game ได้เลย

Screen Shot 2018 11 25 at 6.56.05 PM

นอกจากนี้ หากผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรม SteelSeries Engine 3 ซึ่งก็คือโปรแกรมตัวเดียวกับที่ใช้ปรับตั้งค่าเม้าส์ คียบอร์ด หูฟังของ SteelSeries รุ่นใหม่ ๆ ทั้งหมด ตัว SteelSeries GameDAC ก็จะปรากฏขึ้นมา แล้วให้ผู้ใช้เข้าไปตั้งค่าบางส่วนได้ด้วยเช่นกัน

Screen Shot 2018 11 25 at 6.57.38 PM

Screen Shot 2018 11 25 at 6.58.01 PM

ซึ่งเมนูการตั้งค่าต่าง ๆ ก็จะเหมือนกับที่อยู่บนจอ OLED เลยครับ แค่ในโปรแกรม Engine 3 จะช่วยรวบรวมให้อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งหมด ทำให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีก

Review SteelSeries GAMEDAC Notebookspec 16

ส่วนเรื่องคุณภาพเสียงที่ได้รับจาก SteelSeries GameDAC เท่าที่ทดสอบมา ผมรู้สึกว่าเสียงที่ออกมามันมีน้ำหนัก มีไดนามิกที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่จุดที่อำนวยความสะดวกได้ดีก็คือวงล้อช่วยปรับระดับเสียง ที่ช่วยให้ผมปรับระดับเสียงในเกมได้ง่ายกว่าการกดปุ่มบนคีย์บอร์ด ส่วนใครที่เป็นสายสตรีมเกม บอกเลยว่าน่าจะโดนใจแน่ ๆ ด้วยความสามารถในการรับ input จากหลายอุปกรณ์ มา mix ลงมาเพื่อส่ง output ไปยังปลายทาง ช่วยให้การแคสเกมน่าจะสะดวกมากยิ่งขึ้น

 

ข้อดี

  • ชิป DAC ระดับคุณภาพ รองรับไฟล์ระดับ Hi-Res ช่วยเสริมประสบการณ์ด้านเสียงได้ดี
  • มีวงล้อปรับระดับเสียงที่ใช้งานได้ง่าย เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน
  • สามารถในการ mix เสียงจากหลายอุปกรณ์ input ได้สะดวก
  • รองรับระบบเสียงรอบทิศทาง DTS Headphone:X

ข้อสังเกต

  • ช่อง output ในตัวมีเพียงช่องเดียว
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

PR-News

อาร์ทีบีฯ จับมือ SteelSeries เปิดตัวลำโพง ARENA 3 และต้อนรับการกลับมาของหูฟัง ARCTIS 7+ พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษเอาใจคอเกมในงาน COMMART COMTECH  ระหว่างวันที่ 7-10 มีนาคม 2567 ณ ไบเทค บางนา บริษัท อาร์ทีบี เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้า...

รีวิว MSI

MSI Titan 18 HX A14V สุดยอดเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คแห่งปี 2024 ถ้าใครติดตามเรื่องคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊คมาย่อมคุ้นหูรู้จักชื่อชั้นของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คเรือธงซีรี่ส์ MSI Titan ซึ่งปัจจุบันเป็นรหัส MSI Titan 18 HX A14V แน่นอนว่านี่คือสุดยอดเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่เป็นความภาคภูมิใจของทางบริษัท คงมาตรฐานฟีเจอร์เยอะครบเครื่องแล้วเติมของเล่นใหม่ๆ มาให้เจ้าของได้ใช้หลากหลายอย่าง เริ่มจากตอบรับปี 2024 ด้วย Generative AI...

Buyer's Guide

เมาส์ไร้สาย Gaming เล่นเกมเพลินๆ ไม่มีสาย USB มากวนใจ! ความดีงามเมื่อเปลี่ยนมาใช้เมาส์ไร้สาย Gaming เล่นเกมแล้ว นอกจากไม่เจอปัญหาสายเมาส์ยาวจนรั้งตัวเมาส์จนต้องหา Mouse Bungee มาจับสายให้อยู่ในระยะที่พอดีแล้ว ผู้ผลิตเกมมิ่งเกียร์เจ้าต่างๆ ยังใส่โหมดการเชื่อมต่อ Bluetooth เพิ่มเข้ามาให้จากที่มีแต่ USB 2.4GHz หรือต้องต่อสายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงซื้อเมาส์แค่ตัวเดียวแต่ใช้เล่นเกมที่บ้านแล้วพกไปต่อคอมที่ออฟฟิศเพื่อทำงานได้พร้อมกัน ไม่ต้องวุ่นถอดไล่สาย USB ให้ลำบากด้วย...

Buyer's Guide

เมาส์ไร้สายแนะนำ รวมมิตรตัวเด็ดสายทำงานและเกมมิ่ง! เมื่อเมาส์ไร้สายได้รับความนิยมและเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตอนนี้มีเมาส์ไร้สายแนะนำน่าใช้ให้เลือกหลายต่อหลายรุ่นไม่ว่าจะเมาส์เกมมิ่งค่า DPI สูงพร้อมโปรแกรมตั้งค่าเมาส์ให้ใช้ลากเป้าเล่นเกมได้อย่างสนุกสนานหรือเมาส์สายทำงานดีไซน์พิเศษออกแบบมาเข้าสรีระร่างกายมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ออกแบบตามรูปแบบการวางมือไม่ต้องบิดข้อมือเข้ามาให้เลือกด้วย ข้อดีของเมาส์ไร้สายนอกจากเรื่องจัดโต๊ะคอมได้สวยงามไม่มีสายไฟมาพาดรกรุงรังแล้ว ก็มีข้อดีอื่นอีกอย่างตอนใช้งานหรือเล่นเกมก็สามารถกวาดเมาส์ไปมาได้โดยไม่มีสายมารั้งดึงเมาส์ให้เสียอารมณ์ตอนเล่นเกมหรือทำงาน และถ้าอยู่ในระยะ 10 เมตรจากตัว USB 2.4 GHz ก็ยังใช้งานได้ตามปกติ เวลาจะกดดูหนังหรือเปลี่ยนเพลงในคอมก็เอาเมาส์มาวางบนเตียงหรือโต๊ะใกล้ๆ ที่นั่งแล้วกดเลือกได้เลย และยังไม่นับรวมฟีเจอร์เฉพาะของเมาส์ไร้สายแนะนำแต่ละรุ่นซึ่งผู้เขียนเลือกมาแนะนำอีกด้วยAdvertisement สรุปสเปค 7 เมาส์ไร้สายแนะนำ รวมมิตรสายเกมมิ่งและทำงาน สเปคเมาส์ไร้สายแนะนำ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก