Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

Review – SteelSeries Arctis 3,5,7 2019 หูฟังสำหรับคอเกมโดยเฉพาะ เสียงดี ใส่สบาย ใช้ง่ายหลาย Platform

วันนี้เรามีหูฟังจากทาง SteelSeries มารีวิวให้เพื่อนๆ ดูกัน ในรุ่น SteelSeries Arctis 3,5,7 2019 ซึ่งเมื่อดูจากชื่อรุ่นแล้วหลายคนอาจจะมีคำถามว่า ก็รุ่นเดิมหนิ?

วันนี้เรามีหูฟังจากทาง SteelSeries มารีวิวให้เพื่อนๆ ดูกัน ในรุ่น SteelSeries Arctis 3,5,7 2019 ซึ่งเมื่อดูจากชื่อรุ่นแล้วหลายคนอาจจะมีคำถามว่า ก็รุ่นเดิมหนิ? มีอะไรใหม่? แน่นอนว่าของใหม่อะมีอยู่แล้ว โดยหูฟังทั้งสามรุ่นนี้เป็นเหมือนกับรุ่น Minor Change มากกว่า ในส่วนของรายละเอียดทั่วไปจะมีความคล้ายกับของเดิมมาก ส่วนที่ต่างออกไปจะเป็นในเรื่องของความสบายในการสวมใส่ ที่ทาง SteelSeries ออกแบบปรับปรุงมาใหม่ ให้ใส่ได้สบายมากยิ่งขึ้น ส่วนจะดีอย่างที่เขาบอกมาจริงหรือไม่ไปหาคำตอบกันได้เลย

Steelseries Arctis Headset 3

Advertisement

สเปคทั่วไปของ SteelSeries Arctis 3,5,7 2019

  • ไดรเวอร์ขนาด 40 มม. แบบ Neodymium
  • การตอบสนองความถี่: 20Hz-20KHz
  • ความต้านทาน: 32 โอห์ม
  • ความไวเสียง: 98 db
  • การเชื่อมต่อ ช่องหูฟัง 3.5

ไมโครโฟน

  • ตัวไมโครโฟนเป็นแบบ Bidirectional
  • มีระบบ Noise Cancelling
  • การตอบสนองความถี่: 100Hz-10KHz
  • ความไวเสียง : -38 dB

สเปคเพิ่มเติมของ SteelSeries Arctis 5 2019

  • รองรับ DTS X Headphone 2.0
  • ไฟ RGB
  • ระบบเสียง 7.1
  • การเชื่อมต่อ USB ,ช่องหูฟัง 3.5

สเปคเพิ่มเติมของ SteelSeries Arctis 7 2019

  • รองรับ DTS X Headphone 2.0
  • ระบบเสียง 7.1
  • รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายคลื่นความถี่ 2.4 GHz Lossless
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ 24 ชั่วโมง
  • การเชื่อมต่อ ช่องหูฟัง 3.5
  • การเชื่อมต่อไร้สาย (USB) ,ช่องหูฟัง 3.5

ราคา 

  • SteelSeries Arctis 3 2019 : 2,590 บาท
  • SteelSeries Arctis 5 2019 : 3,290 บาท
  • SteelSeries Arctis 7 2019 : 5,990 บาท

อุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่อง

SteelSeries Arctis 3 2019  : สายสัญญาณ 3.5 แบบ Combo ,สายสัญญาณ 3.5 ต่อเพิ่มความยาวแบบแยกเสียง กับไมโครโฟน และคู่มือ

Steelseries Arctis Headset 47

SteelSeries Arctis 5 2019  : สายสัญญาณ ,สาย USB พร้อมที่ปรับ Balance ChatMix ,สายแปลง 3.5 แบบ Combo สำหรับใช้กับสมาร์ทโฟน และคู่มือ

Steelseries Arctis Headset 48

SteelSeries Arctis 7 2019 : ตัวรับสัญญาณไร้สาย ,สายสัญญาณ 3.5 แบบ Combo ,สายชาร์จ Micro USB และคู่มือ

Steelseries Arctis Headset 49

Design / การออกแบบ

อย่างที่ต้องพูดถึงอย่างแรกเลยคงจะเป็นเรื่องของกล่อง Package ที่มีขนาดเล็กลงมาก เนื่องจากการจัดวางของข้างในแบบใหม่ ส่วนตัวหูฟัง SteelSeries Arctis 3,5,7 2019 จะมีรูปทรงดีไซน์ภายนอกคล้ายกันกับ SteelSeries Arctis รุ่นเดิม สำหรับดีไซน์จะขอเริ่มที่ SteelSeries Arctis 3,5 2019 ส่วน SteelSeries Arctis 7 2019 จะมีรายละเอียดที่ต่างจากสองรุ่นนี้จึงขอยกไว้ภายหลัง

Steelseries Arctis Headset 43

SteelSeries Arctis 3 2019

เริ่มกันที่ตัว Body ด้านนอกจะใช้วัสดุเป็นพลาสติกแบบด้านแบบเดียวกันทั้งตัว พร้อมโลโก้ Steelseries ถัดมาเป็นสาย Ski Goggles ที่สามารถปรับความยาวได้จากตีนตุ๊กแกที่ติดมาให้ ช่วยให้สวมใส่ได้กระชับมายิ่งขึ้น ตัวสายใช้วัสดุที่ทำจากผ้ายืด ส่วนสิ่งที่รู้สึกต่างจากรุ่นเดิมคงจะเป็นเรื่องของความนุ้มนิ้ม ที่ของใหม่นิ้มกว่า และมีความรู้สึกใกล้เคียงผ้าจริงมากกว่า ตัวหูฟังจะมีมาให้เลือกสองสีคือ สีดำ และ สีขาว
Steelseries Arctis Headset 12

ตัว Ear Cup ทำมาจากผ้าเนื้อละเอียด ทำให้ความรู้สึกเวลาสวมใส่จะรู้สึกแตกต่างกับผ้ากำมะหยี่ ซึ่งพอนำไปใช้จริงๆ ก็รู้สึกว่าใส่สบาย ตัว Pad มีความนุ้ม และ มีขนาดใหญ่ครอบหูพอดี ทำให้ใส่ได้นาน ทำสำคัญเลยคือ ไม่คัน และไม่ร้อนมาก คือถ้าใส่ในห้องแอร์จะไม่ร้อนเลย และถ้าเทียบกับหนังจะรู้สึกว่าร้อนน้อยกว่ามาก แต่ถ้าใส่ในห้องปกติก็จะมีร้อนบ้าง ส่วนที่รู้สึกว่าต่างจากรุ่นเก่าคือ ตัว Ear Cup มีความแน่นที่ลดลง ทำให้ใส่ได้นานมากยิ่งขึ้น

Steelseries Arctis Headset 8

ในเรื่องของการตัดเสียงรบกวนของ Ear Cup แบบผ้า เมื่อเทียบกับแบบหนัง จะพบว่าตัดเสียงรบกวนได้น้อยกว่า ทำให้ได้ยินเสียงจากภายนอกเยอะกว่า แต่เวลาใส่แล้วเปิดเพลง ก็แทบจะไม่ได้ยินเสียงจากภายนอกเลย ส่วนการสวมใส่ถือว่าทำได้ดี ในเรื่องของความบีบหัว และในเรื่องของขนาดความยาวของหูฟัง ใส่สบายไม่อึดอัด ซึ่งทำได้ดีกว่ารุ่นก่อนอย่างเห็นได้ชัด

Steelseries Arctis Headset 9

คือรุ่นก่อนเวลาผมใส่จะรู้สึกเหมือนกับตัวหูฟังจะดันขึ้นตลอดเวลา ทำให้เหมือนไปดันติ่งหูอยู่ตลอด ขนาดปรับตัวสายรัดแบบยาวสุดแล้ว ใสนานๆ แล้วไม่สบาย และเมื่อมองเข้าไปจะพบกับตัวลำโพงไดรเวอร์ขนาด 40 มิลลิเมตร ที่มีผ้าบางๆกั้นอยู่

Steelseries Arctis Headset 10

ถัดมาในส่วนของชุดควบคุมตัวหูฟัง เริ่มกันที่ด้านซ้ายประกอบไปด้วย ปุ่ม ปิด-เปิดไมโครโฟน โดยเมื่อปิด (Mute) ที่ปลายก้านของไมโครโฟนจะมีไฟสีแดงติดขึ้นมา ยกเว้นรุ่น SteelSeries Arctis 3 2019 ถัดมาจะเป็นที่ปรับระดับเสียง และช่องเชื่อมต่อสายสัญญาณเสียงเฉพาะจากทาง SteelSeries, ช่อง AUX 3.5 และไมโครโฟนแบบดึงเข้า-ออกได้ ตัวก้านไมโครโฟนจะสามารถดัดงอ หรือ ปรับตำแหน่งได้

Steelseries Arctis Headset 7

SteelSeries Arctis 3 2019 Album
SteelSeries Arctis 3 2019

SteelSeries Arctis 5 2019

สิ่งที่เพิ่มมาใน SteelSeries Arctis 5 2019 คือเรื่องของไฟ RGB แต่แอบเสียดายที่ตัวโลโก้ไม่ได้มีไฟด้วย และเปลี่ยนการเชื่อมต่อเป็นแบบ USB ทำให้มันมาพร้อมกับที่ปรับ Balance ChatMix เสียงเกมกับเสียงคุย โดยจะมีหน้าตาเป็นที่ปรับระดับเสียงแบบหมุน และนำหูฟังมาต่อพ่วงอีกที

Steelseries Arctis Headset 28

SteelSeries Arctis 5 2019 Album 
SteelSeries Arctis 5 2019

SteelSeries Arctis 7 2019

สำหรับ SteelSeries Arctis 7 2019 จะมีรายละเอียดในส่วนของ Body ต่างจากรุ่นอื่นๆ เล็กน้อย เริ่มกันที่ตัว Headband จะใช้วิธีการพาดสาย Ski Goggles ที่ต่างกัน วัสดุที่ตัว Headband ก็ต่างกันด้วย โดยใช้เป็นอะลูมิเนียมแทน ส่วนถัดไปจะเป็นเรื่องของ การเพิ่มช่องชาร์จไฟ Micro-USB เข้ามา และเพิ่มปุ่ม Power รวมไปถึงที่ปรับ Balance เสียงเกมกับเสียงคุย จะถูกย้ายมาไว้ที่ตัวหูฟังด้วย

Steelseries Arctis Headset 15

เนื่องจากเป็นหูฟังไร้สายทำให้ต้องใส่แบตเตอรี่เข้ามาด้วย จึงเป็นการเพิ่มน้ำหนักของตัวหูฟังขึ้นมาอย่างรู้สึกได้ แต่ก็ไม่ได้หนักมาก จนทำให้ใส่นานๆ แล้วไม่สบาย แค่รุ่นที่ไม่มีแบตทำได้ดีกว่า ส่วนรายละเอียดอื่นๆ จะเหมือนกันกับรุ่นอื่นที่ได้พูดถึงไปแล้ว

Steelseries Arctis Headset 26

สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงคือเรื่องของตัวส่งสัญญาณไร้สาย จะพบว่ามีปุ่มอยู่ปุ่มหนึ่งเป็นปุ่มสำหรับเอาไว้จับคู่กับหูฟัง (Pair) กรณีที่หูฟังเชื่อมต่อไม่ได้ และมีช่องหูฟัง 3.5 มาให้สองอันด้วย สำหรับรับ Input เสียงจากแห่งอื่นส่งไปให้ตัวหูฟังของเรา เช่น นำสาย AUX 3.5 มาเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของเรา เสียงที่สมาร์ทโฟนของเราก็จะไปออกที่หูฟังด้วย เหมือนได้หูฟังไร้สายเลย

Steelseries Arctis Headset 20

และช่อง Output สำหรับส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ของเราไปที่ลำโพงอะไรแบบนั้น ซึ่งดีมาก เหมาะสำหรับคนที่วางเคสไว้ใต้โต๊ะหรือวางไกลๆ ทำให้เราไม่ต้องสอดสาย USB บ่อยๆ หรือไม่ต้องเปลี่ยน Interface ให้เสียงออกบ่อยๆ เมื่อไม่ใช้งานหูฟัง โดยการทำงานของมันคือ เมื่อเปิดหูฟังเสียงจะออกที่ตัวหูฟังปกติ ส่วนถ้าปิดหูฟังเสียงจะออกที่ลำโพงแทน แต่ถ้าจะใช้งานก็หาสาย AUX ที่หัวมีขนาดเล็กๆ หน่อยมาใช้ด้วยนะ

Steelseries Arctis Headset 22

สิ่งที่รู้สึกได้ว่าแตกต่างจากรุ่นก่อนคงจะเป็นเรื่องความสบายในการใส่ ที่รู้สึกว่าหูฟังมีความ Lite มากยิ่งขึ้นทั้งน้ำหนักที่เบา และความกระชับที่พอดีกับคนหัวใหญ่ ส่วนรุ่นที่ผมคิดว่าใส่สบายที่สุดคงจะเป็น SteelSeries Arctis 3 2019 เพราะมีน้ำหนักที่เบาที่สุด และจากที่ผมนำไปใช้งานก็สามารถใส่ยาวๆ ทั้งวันได้ไม่มีปัญหา

Steelseries Arctis Headset 34

SteelSeries Arctis 7 2019 Album 

SteelSeries Arctis 7 2019

Feature / จุดเด่น

หัวข้อนี้จะเป็นการพูดถึงฟีเจอร์ที่ได้มีการชูโรงมา และความรู้สึกหลังจากที่ได้ใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้ ซึ่ง SteelSeries Arctis 3,5,7 2019 มีจะมีคล้ายๆ กัน ผมจะขอเริ่มไล่จาก SteelSeries Arctis 3 2019 ก่อน ตามด้วย Arctis 5  และ 7 ตามลำดับ

สวมใส่สบาย ด้วยการปรับปรุง และออกแบบใส่สวนของความสบายในการสวมใส่ให้ดีมากยิ่งขึ้น สิ่งที่รู้สึกได้จริงๆ คงจะเป็นในเรื่องของลักษณะการสวมใส่ที่ อยู่ติดหูในจุดที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และฟองน้ำมีความนุ้มที่มากขึ้นกว่าเดิม

SteeelSeries Arctis 2019 14

เสียงดี ได้ยินทุกรายละเอียด ด้วยการออกแบบ Driver ของหูฟังให้เน้นแสดงรายละเอียดเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้น และรองรับการใช้งานเสียงแบบ 7.1 ตั้งแต่ SteelSeries Arctis 3 2019 เลย ทำให้เวลาเรานำไปเล่นเกมจะได้ยินเสียง ทิศทาง ระยะใกล้-ไกล

SteeelSeries Arctis 2019 11

ไมโครโฟนรับเสียงแบบ Bidirectional และรองรับ Discoard Certified ทำให้มั่นใจว่าเสียงพูดคุยที่ได้มีความชัดเจน โดยผมได้ถามเพื่อนๆ ทีมงาน Gamer ที่เล่นเกมด้วยกันบ่อยๆ ก็บอกว่าชัดเจนดี

SteeelSeries Arctis 2019 10

DTS X Headphone 2.0 เป็น DTS X Headphone รุ่นใหม่ ที่จะช่วยจำลองระบบเสียง 7.1 ให้สมจริงมากยิ่งขึ้น ช่วยบอกทิศทาง และระยะของเสียงได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันหูฟังที่รองรับเวอร์ชั่น 2.0 ยังมีน้อยอยู่

SteeelSeries Arctis 2019 12

ChatMix หรือปุ่มปรับระดับเสียง ระหว่างเสียงเกม กับเสียงพูดคุย ว่าจะให้เสียงจากแห่งไหนมีความดังมากกว่ากัน ทำให้เวลาเล่นเกมเราไม่ต้องพับหน้าจอไปปรับเสียงพูดคุยใน ผมว่ามันก็สะดวกดีสำหรับคนที่ใช้เป็น ส่วนการตั้งค่าเราจะพูดถึงกันในหัวข้อถัดไป

SteeelSeries Arctis 2019 13

ไฟ RGB จะมีเฉพาะ SteelSeries Arctis 5 2019 เท่านั้น การตั้งค่าการแสดงแสงไฟก็สามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งสามารถปรับได้งาน Software SteelSeries Engine 3 ผมว่าตัวสีไฟที่แสงออกมาทำได้ดี สีขาวจะติดอมฟ้าเล็กๆ เหมือนไฟตามห้างสรรพสินค้า ซึ่งมันก็สวยดี

SteeelSeries Arctis 2019 15

SteelSeries Engine 3 โปรแกรมสำหรับปรับตั้งค่าหูฟัง ไม่ว่าจะเป็นการปรับ EQ การตั้งค่าเสียง 7.1 หรือการตั้งค่าแสงไฟ RGB ผมคิดว่าตัว  SteelSeries Engine 3 เป็นโปรแกรมที่ทำงานค่อนข้างเสถียร และใช้งานง่ายกว่าแบรนด์อื่นๆ ที่เคยใช้มา แต่เรื่องของความหลากหลายในการตั้งค่าไฟ RGB อาจจะน้อยไปหน่อย

ไร้สายบนคลื่นความถี่ 2.4 แบบ Lossless สำหรับฟีเจอร์นี้จะมีเฉพาะใน SteelSeries Arctis 7 2019 จากที่นำไปใช้งานมาพบว่า ระยะของสัญญาณอยู่ที่ประมาณระยะสัญญาณ Wi-Fi (ก็ใช้คลื่นความถี่เดียวกัน) ส่วนเสียงที่ได้ไม่ได้ดรอปคุณภาพลงเมื่อเทียบกับ SteelSeries Arctis 5 2019 และอาการกระตุก สัญญาณขาดหาย ก็ไม่มีเช่นกัน ถือว่าทำได้เนียนมากเหมือนใช้สาย

SteeelSeries Arctis 2019 09

แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนาน 24 ชั่วโมง ต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง ฟีเจอร์ที่ว่านี้เป็นของ SteelSeries Arctis 7 2019 ที่เป็นหูฟังไร้สาย ซึ่งถ้าว่ากันตามตรงระยะเวลาใช้งานถือว่ายาวนานมาก น้อยคนนักที่จะใช้ต่อเนื้องเป็นระยะเวลาขนาดนั้น ผมทดสอบใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่าแบตเตอรี่ลดไปขีดเดียว เรียกได้ว่าชาร์จครั้งนึงใช้ได้หลายวัน ส่วนเวลาชาร์จต่อครั้งจะค่อนข้างนานถ้าใช้ไปเยอะ สิ่งที่เป็นข้อสังเกตจริงๆ คงจะเป็นเรื่องของการบอกปริมาณแบตเตอรี่ที่คงเหลือ ซึ่งที่ตัวหูฟังก็ดูยากมาก ส่วนในตัว Software ยังบอกได้ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่

เรียกได้ว่าฟีเจอร์ที่ให้มาในทั้งสามรุ่นจะมีส่วนที่คล้ายกัน และจะมีส่วนที่เพิ่มเติมเข้าไปให้เหมาะสมกับการใช้งาน แต่ในภาพรวมก็ดูครบดี สิ่งที่ผมชอบที่สุดคงจะเป็นเรื่องของการสวมใส่ที่สบาย และ ChatMix ที่ใช้งานได้ดี และสะดวกมาก ถือว่าการปรับปรุง Minor change ครั้งนี้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น และช่วยลบจุดด้อยของรุ่นเดิมได้หลายอย่าง

Software / โปรแกรม

SteelSeries Arctis 5 และ 7 2019  สามารถใช้งานร่วมกันกับโปรแกรม SteelSeries Engine 3 ได้ โดยตัวโปรแกรมจะสามารถใช้ตั้งค่าหูฟัง เช่น ปรับ EQ ,การตั้งค่าระบบเสียง 7.1 ,การตั้งค่าไฟ RGB และอีกมากมายที่เราจะพาไปดูกัน

SteeelSeries Arctis 2019 01 2

เริ่มกันที่เมนูบนสุดอย่างการตั้งค่าเสียง 7.1 จะสังเกตว่ามีให้ปรับตั้งค่าหลายอย่างมาก ในส่วนนี้ยังไงก็ลองไปเล่นกันดูนะครับ ส่วนถัดมาจะเป็นการตั้งค่า EQ และสุดท้ายจะเป็นการตั้งค่าไมโครโฟน

SteeelSeries Arctis 2019 02 2

ส่วนตรงกลางจะเป็นการตั้งค่าไฟ RGB สำหรับ SteelSeries Arctis 5 2019 นอจากนี้ด้านซ้ายยังมีการตั้งค่าโปรไฟล์ต่างๆ ด้วย และยังสามารถตั้งค่าให้เริ่มใช้งานโปรไฟล์นั้นตอนที่เปิดโปรแกรมต่างๆ ด้วย

SteeelSeries Arctis 2019 03 2

หนึ่งในฟีเจอร์ที่เป็นทีเด็ดของ SteelSeries Arctis 5 และ 7 2019 คือ ตัวที่หมุนปรับ Balance ChatMix ระหว่างเสียงพูด กับ เสียงเกม ทำให้เราเลือกได้ว่าตอนเล่นเกมเราอยากได้ยินเสียงอะไรมากกว่ากัน เช่น ถ้าเล่นเกมที่ต้องคุยกับเพื่อน ก็หมุนไปที่เสียงเพื่อนมากหน่อย ก็จะทำให้ได้ยินเสียงเพื่อนชัดขึ้น ไม่ต้องพับหน้าจอไปปรับ อะไรแบบนั้น

SteeelSeries Arctis 2019 06

SteeelSeries Arctis 2019 08

โดยการทำงานของฟีเจอร์นี้คือ เมื่อเราเชื่อมต่อสาย USB กับคอมพิวเตอร์ของเรา จากนั้นจะพบว่ามีหูฟังสองตัวเชื่อมต่ออยู่ในตอนนี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเขาตั้งใจทำมาแบบนั้น สำหรับการตั้งค่าผมแนะนำเลยว่าให้ทำตามนี้ คือตั้งค่าให้เสียหลักออกที่ตัว Headphone (Game) ส่วนเสียงจากโปรแกรมพูดคุยให้ออกที่ Headset (Chat) ส่วนวิธีการตั้งค่าก็ดูได้จากรูปภาพเลย ลองเล่นไม่นานก็เข้าใจแล้วละ

SteeelSeries Arctis 2019 07

บางคนอาจจะซื้อมาแล้วพบว่าเสียงมันไม่ดีเลย หรือ DTS ไม่ทำงานเลย ให้ลองไปตั้งค่าแล้วเลือกเป็น Headphone (Game) ดูรับรองเสียงดีขึ้นแน่นอน

หลังจากที่ใช้งานไปสักพักก็พบว่าตัว Software ทำงานได้เสถียรดี ไม่มีงอแง แต่อาจจะอัพเดทบ่อยหน่อย ส่วน ChatMix ผมว่ามันก็ดีนะ คือปกติผมจะชอบเปิดเพลงฟังตลอด เรียกว่าเปิดคอม = เปิดเพลง และบางครั้งก็มีคุยกับเพื่อนด้วย ซึ่งเพื่อนบางคนไมโครโฟนก็เบาสะเหลือเกิน ทำให้เราต้องเบาเสียงเพลงลง ซึ่งบางทีเบาจนไม่รู้จะเบายังไงแล้วก็ยังคุยไม่ค่อยรู้เรื่อง การใช้ ChatMix มีประโยชน์มากในส่วนนี้ เพราะจะทำให้เราปรับระดับเสียงทั้งสองอย่างนี้ได้ละเอียดมากขึ้น ยังไงก็ลองไปใช้งานกันดูนะครับ

Sound Test / การทดสอบเสียง

หากจะพูดถึงเสียงของทั้งสามรุ่นนี้ในภาพรวมมีความคล้ายกันมาก ต่างกันประมาณ 5-10%  คือถ้าไม่ได้ฟังแบบจับผิดจริงจังก็แยกไม่ออก ส่วนหนึ่งคงเพราะใช้ Driver ตัวเดียวกัน สิ่งที่จะทำให้เสียงต่างกันคงเป็นในเรื่องของรูปแบบการเชื่อมต่อระกว่าง 3.5 กับ USB และชิพ DAC ที่ใช้

Steelseries Arctis Headset 38

ต้องบอกก่อนว่าปกติแล้วผมไม่ชอบหูฟังแบบ USB เพราะรู้สึกว่าเสียงมันแบน เลยพยายามเลือกซื้อแต่หูฟัง 3.5 เท่านั้น แต่ผมบอกเลยว่าครั้งนี้เปลี่ยนความคิดผมเลย

ด้วยความที่เป็นหูฟังแบบกึ่งเปิด Open-ear ทำให้มิติเสียงที่ได้ยินมีระยะห่างที่ดีกว่าหูฟังแบบปิด Close-ear แต่ก็แลกมากับเบส และ ความแน่นของเสียงที่จะน้อยกว่า คือฟังครั้งแรกจะรู้ได้ทันทีว่าเสียงไม่แน่น ไม่กระหึ่ม เท่าหูฟังตัวอื่น ถ้านำมาใช้ฟังเพลง แต่ถ้านำมาใช้เล่นเกมจะพบว่ามันคนละเรื่อง

Steelseries Arctis Headset 37

ใช้ฟังเพลง

ก่อนที่จำทำการทดสอบผมได้ตั้งค่า EQ ให้เป็น Flat เพื่อให้หูฟังแสดงพลังออกมาถูกต้องที่สุด สำหรับการใช้ฟังเพลงเสียงที่ได้จะเป็นแนว Flat ตามสไตล์ SteelSeries แต่เป็น Flat ที่เด่นไปในย่านกลาง-แหลม ส่วนเบสจะไม่ค่อยเด่นเท่าไหร่ ทำให้ถ้านำมาใช้ฟังเพลงเป็นหลัก

  • เสียงกลาง มีความชัดเจนดี นักร้องอยู่ในระยะแนวเดียวกับเครื่องดนตรี
  • เสียงแหลม ผมถือว่าเป็นจุดเด่นเลยนะ รายละเอียดย่านแหลมถ่ายทอดออกมาได้ดี จนบางครั้งอาจจะติดคมไปบ้าง
  • เสียงเบส เป็นเบสที่กระชับเก็บตัวเร็ว ลูกไม่ใหญ่มาก และไม่ค่อยมีอาการสั่นกระพือของเบส ทำให้บางครั้งเจอเบสลูกใหญ่ๆ อาจจะแสดงรายละเอียดได้ไม่ดีนัก
  • สำหรับมิติเสียงทำได้ดีมาก ถือเป็นจุดเด่นของหูฟังตัวนี้เลย  สามารถโฟกัสตำแหน่งของชิ้นดนตรีได้ดี

ในภาพรวมจะเป็นหูฟังที่ให้เสียงฟังสบาย ไม่ดุดัน รุกเร้ามากจนเกินไป สามารถนำไปฟังเพลงได้ทุกแนว แต่อาจจะไม่ถูกใจคอเบส ที่ชอบเสพเบสเป็นหลัก (ปรับ EQ เพิ่มได้นะ)

หลังจากที่ทำการ Burn-in ไปพบว่าเสียงเบสมีปริมาณที่เยอะขึ้นมาก และเสียงในภาพรวมทำได้ดีขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้ Burn-in จากตอนแรกที่ฟังแล้วรู้สึกว่าเบสมันอยู่ไหน พอ Burn-in ไปสัก 10 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าเบสเริ่มมาละ แต่หลังจาก Burn-in 20 ชั่วโมงขึ้นไป ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเสียงมันจะดีไปกว่านี้ คือผมก็ Burn-in ไปประมาณ 50 ชั่วโมง มันก็ไม่ค่อยต่างจาก 20 ชั่วโมงเท่าไหร่ แต่จริงๆ ต้อง 100 ชั่วโมงขึ้นไปนะ ถึงจะดี (ก่อนเขียนหัวข้อนี้ Burn-in แล้วนะ)

Steelseries Arctis Headset 39

ใช้เล่นเกม 

คงจะเป็นวัตถุประสงค์ของหูฟังสามรุ่นนี้เลยก็ว่าได้ เมื่อนำมาใช้เล่นเกมจะทำได้ดีกว่าฟังเพลงมาก การแยกแยะทิศทางของแหล่งกำเหนิดเสียงทำได้ดี พวกเสียงเท้า เสียงปืน รู้สึกได้ว่ามีระยะใกล้-ไกล มิติเสียงทำได้ดีมาก แต่อาจะติดเรื่องของเสียงเท้าที่อาจจะยังไม่แน่นสักเท่าไหร่ ก็เสียงเท้ามันต้องเน้นเบสที่มันสั่นกระพือเยอะๆ อะนะ

Steelseries Arctis Headset 40

DTS X Headphone 2.0 ในส่วนนี้จะเป็นการจำลองเสียงแบบ 7.1 ขึ้นมา และมีเฉพาะใน SteelSeries Arctis 5 และ 7 2019 เท่านั้น ความรู้สึกเมื่อเปิดกับไม่เปิดต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนที่คิดว่าต่างจริงๆ คงจะเป็นเรื่องของระยะใกล้-ไกล และทิศทางที่ละเอียดขึ้น คือถ้าเล่นเกมแนว FPS ไม่มีนี่คือรู้สึกว่าขาด

Steelseries Arctis Headset 41

ส่วน SteelSeries Arctis 3 2019 จะไม่รองรับการใช้งานระบบเสียง 7.1 ผ่าน SteelSeries Engine 3 แต่สามารถใช้ได้ใน Windows Sonic Spatial Audio แทน ซึ่งผมบอกเลยว่าต่างกับที่ทำงานผ่าน Engine 3 อย่างรู้สึกได้ คือต่างกันประมาณ 50% เลย ทำให้เราต้องตั้งค่าในเกมช่วย อย่างบางเกมมีระบบเสียง 7.1 มาให้ เราก็แค่ไปเปิดใช้มัน เพราะที่ตัว Driver ของ SteelSeries Arctis 3 2019 รองรับเสียง 7.1 อยู่แล้ว

SteeelSeries Arctis 2019 17

อย่างไรก็ตามระบบเสียง 7.1 DTS X Headphone 2.0 จะเหมาะสำหรับใช้เล่นเกม และดูหนัง มากกว่าที่จะนำมาใช้ฟังเพลง คือเปิดแล้วเสียงมันจะก้องๆ ทำให้ฟังเพลงไม่เพราะ

Microphone Test / การทดสอบไมโครโฟน

ไม่โครโฟนที่มาด้วยกันกับ SteelSeries Arctis 3,5,7 2019 เป็นแบบก้านติดกับตัวหูฟังเวลาจะใช้งานสามารถดึงเข้าออกได้ ตัวก้านมีความยืดหยุ่นสูงสามารถดัดงอเพื่อให้ได้องศาที่ต้องการได้ง่าย

Steelseries Arctis Headset 11

เสียงที่ได้ ให้เสียงพูดที่ชัดเจนดี เสียงที่ได้ของ SteelSeries Arctis 3 2019 จะพบว่ามีความอ้วน ใหญ่ ทุ้มกว่าของ Arctis 5 และ 7 2019 มาก แต่ก็มีเสียงรบกวนมากเช่นเดียวกัน

ส่วนเสียงไมโครโฟนของ SteelSeries Arctis 5 และ 7 2019 จะแบนๆ ความทุ้มนี่ต่างกันเลย ฟังแล้วชอบของ Arctis 3 มากกว่า แต่เสียงรบกวนที่เข้าไมโครโฟนของ Arctis 5 และ 7  ก็มีน้อยกว่าเช่นกันในความดังเท่ากัน

ส่วนนี้มข้อสังเกตอยู่นิดนึงในเรื่องคุณภาพเสียงไมโครโฟนของ SteelSeries Arctis 3 2019 จะขึ้นอยู่กับช่องต่อ 3.5 ด้วยว่ามีคุณภาพดีไหม เช่น ตัวผมเองที่ช่องโมโครโฟน 3.5 มีปัญหาเสียงเบา ทำให้ต้องใช้ไมโครโฟนแบบ USB แทน เพื่อให้เสียงดังเหมือนเดิม ยังไงก็ลองสำรวจกันด้วยนะครับ

Conclusion / สรุป

SteelSeries Arctis 3,5,7 2019 เป็นหูฟังรุ่นทีเหมือนกับ Minor Change ของ Series Arctis มากกว่า ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปคงจะเป็นเรื่องของความสบายที่ดีขึ้นกว่ารุ่นเดิม ส่วนอื่นๆ จะไม่ค่อยต่างเท่าไหร่ เรียกได้ว่าใครที่มีรุ่นเดิมอยู่แล้วยังใช้งานได้ปกติยังไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้ แต่สำหรับใครที่ใช้รุ่นเก่ากว่านั้นอย่าง SteelSeries Siberia ผมว่าเปลี่ยนก็ดี จะได้ใส่สบายขึ้น

Steelseries Arctis Headset 44

แน่นอนว่าเมื่อเราพูดถึงหูฟัง Gaming สิ่งหนึ่งที่จะต้องดูคือเรื่องเสียง ถ้านำมาใช้เล่นเกมทำได้ดีมาก แยกแยะทิศทาง ตำแหน่งใกล้-ไกลได้ดี แต่ถ้านำมาฟังเพลงอาจจะดีสู้หูฟังที่ทำมาเพื่อการฟังเพลงโดยเฉพาะในราคาเท่ากันไม่ได้ ยังไงก็ลองไปฟังกันดูก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจะดีมากๆ และอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของการออกแบบดีไซน์ที่ดูดีสมเป็นหูฟัง Gaming ที่นอกจากจะสวยแล้ว ยังใส่สบาย เล่นเกมได้ยาวๆ โดยที่ไม่ปวดหัว

ซึ่งผมการันตีได้ว่าใส่สบายจริง คือปกติแล้วผมเป็นคนชอบฟังเพลงทำให้เวลาใส่หูฟังที่ ใส่ได้เป็นวันโดยที่ไม่รู้สึกว่าแปลกอะไร จะถอดก็ตอนที่ไปเข้าห้องน้ำ หรือไปกินข้าวเท่านั้น ซึ่งถ้าได้หูฟังที่ใส่ไม่สบายมาต่อให้เสียงดีแค่ไหนใส่ไม่นานก็วางทิ้งแล้ว แต่ SteelSeries Arctis 2019 ไม่เป็นแบบนั้น ใส่ได้นานๆ ได้ไม่มีปัญหาอะไร (ไปลองเองจะดีที่สุด) สำหรับใครที่กำลังมองหาหูฟังสำหรับใช้เล่นเกมอยู่ SteelSeries Arctis 2019 ก็น่าสนใจไม่น้อย

COMPARE

SteelSeries Arctis 3 2019

SteelSeries Arctis 3 2019 เหมาะกับคนที่งบน้อยที่กำลังมองหาหูฟังในราคาเริ่มต้น หรือผู้ที่จะนำไหใช้กับสมาร์ทโฟน ,Nintendo Switch หรือพวกอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้การเชื่อมต่อแบบ 3.5 เน้นพกพาไปใช้งานนอกสถานที่บ่อยๆ คือถ้าไม่ได้ใช้งานระบบเสียง 7.1 ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเงินไปเล่น Arctis 5 2019

Steelseries Arctis Headset 10

ข้อดี 

  • การเชื่อมต่อแบบ 3.5
  • ใส่สบาย
  • มีรายละเอียด และ มิติเสียงดีมาก เหมาะที่จะนำมาใช้เล่นเกม
  • ใช้งานได้ Multi Platform

ข้อสังเกต 

  • หากนำมาใช้ฟังเพลงเป็นหลัก จะมีรุ่นอื่นที่น่าสนใจกว่า
  • วัสดุในส่วนที่เป็นผ้ายังคงเป็นจุดพิจารณาเรื่องของการดูแลรักษาในระยะยาว
  • ระบบเสียง 7.1 ที่ต้องใช้ของ Windows

SteelSeries Arctis 5 2019

SteelSeries Arctis 5 2019 เหมาะกับคนที่เน้นใช้งานกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เพราะจะได้ในเรื่องของระบบเสียง 7.1 การปรับตั้ง EQ ไฟ RGB และไมโครโฟนที่ดีกว่า ส่วนการใช้งานด้วยช่องหูฟัง 3.5 ถึงแม้จะมีสายแปลงมาให้ แต่ผมมองว่าตัวแปลงมันดูหายง่ายไปหน่อย

Steelseries Arctis Headset 13

ข้อดี 

  • รองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย 3.5 ,USB
  • ใช้งานได้ Multi Platform
  • ใส่สบาย
  • มีรายละเอียด และ มิติเสียงดีมาก เหมาะที่จะนำมาใช้เล่นเกม
  • มีไฟ RGB
  • การปรับ Balance เสียงเกมกับเสียงพูดคุย ถ้าตั้งค่าถูกต้องจะใช้งานดีมาก

ข้อสังเกต 

  • หากนำมาใช้ฟังเพลงเป็นหลัก จะมีรุ่นอื่นที่น่าสนใจกว่า
  • วัสดุในส่วนที่เป็นผ้ายังคงเป็นจุดพิจารณาเรื่องของการดูแลรักษาในระยะยาว
  • ปุ่มปรับ ChatMix ดูเลื่อนง่ายไปหน่อย อยากได้แน่นกว่านี้

SteelSeries Arctis 7 2019

SteelSeries Arctis 7 2019 เหมาะกับคนที่ใช้ PS4 Xbox One หรือคนที่ต้องการหูฟังไร้สาย แน่นอนว่ารุ่นนี้ถูกออกแบบมาโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าต้องการหูฟังไร้สายเสียงดีใส่สบายในราคานี้ ก็ไม่มีรุ่นอื่นที่น่าสนใจไปกว่า SteelSeries Arctis 7 2019

Steelseries Arctis Headset 24

ข้อดี 

  • รองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย 3.5 ,USB
  • ใช้งานได้ Multi Platform
  • มีรายละเอียด และ มิติเสียงดีมาก เหมาะที่จะนำมาใช้เล่นเกม
  • การปรับ Balance เสียงเกมกับเสียงพูดคุย ถ้าตั้งค่าถูกต้องจะใช้งานดีมาก
  • เป็นหูฟังไร้สาย ใช้งานได้คล่องตัว
  • คุณภาพของสัญญาณไร้สายดีมากเหมือนใช้สาย

ข้อสังเกต 

  • หากนำมาใช้ฟังเพลงเป็นหลัก จะมีรุ่นอื่นที่น่าสนใจกว่า
  • วัสดุในส่วนที่เป็นผ้ายังคงเป็นจุดพิจารณาเรื่องของการดูแลรักษาในระยะยาว
  • เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ต่อครั้งใช้เวลานาน
  • ใส่ไม่สบายเท่า Arctis 3 และ 5

Steelseries Arctis Headset 2

และถ้าถามผมว่าชอบรุ่นไหนที่สุด บอกเลยว่า SteelSeries Arctis 5 2019 เพราะผมเน้นนำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ส่วนสมาร์ทโฟนผมมีหูฟังเฉพาะอยู่แล้ว และผมต้องการไมโครโฟนที่เสียงดีๆ มีความดัง ส่วนไฟ RGB ผมก็ชอบนะ แต่ไม่ได้เน้น บางทีมองแล้วนึกถึงตัว SteelSeries Siberia V2 Frost Blue ที่เป็นหูฟังรุ่นหนึ่งผมชอบมาก (แต่เสียงไม่ดีเลยไม่ได้ซื้อมา) แล้วทำไมผมถึงไม่เลือก SteelSeries Arctis 7 2019 เพราะผมคิดว่ามันยังใส่ไม่สบายเท่า SteelSeries Arctis 5 2019 ง่ายๆ แบบนั้นเลย

ส่วนเพื่อนๆ ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเอารุ่นไหนดีผมสรุปให้อีกที SteelSeries Arctis 3 2019 เหมาะกับคนงบน้อย ,Arctis 5 เหมาะกับคนที่อยากจัดเต็ม และใช้กับคอมเป็นหลัก และ Arctis 7 เหมาะกับคนที่ต้องการใช้หูฟังไร้สาย และนำไปใช้กับเครื่อเล่นเกม PS4 Xbox One เป็นต้น

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Gaming Gear

หลังจาก Mechanical Keyboard กลายเป็นเกมมิ่งคีย์บอร์ดยอดนิยมของเกมเมอร์ส่วนใหญ่ไปแล้ว ในตอนนี้ Magnetic Switch คีย์บอร์ดก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่เกมเมอร์สาย FPS มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะควบคุมตัวละครได้รวดเร็ว ขยับตัวละครหลบไปมาได้ว่องไวด้วยฟีเจอร์ใหม่อย่าง Snap Tap โดยเฉพาะจังหวะหลบอยู่มุมตึกแล้วขยับตัวออกมาเล็กน้อยเพื่อยิงฉวยจังหวะ ทำให้ผู้พัฒนาเกมบางเกมต้องแบนฟีเจอร์ทิ้งเพื่อความยุติธรรมของเกมเมอร์ทุกคนไปโดยปริยาย หลักการทำงานของสวิตช์แม่เหล็กจะต่างจากสวิตช์ทั่วไปตรงที่ไม่ต้องปล่อยให้ปุ่มคีย์บอร์ดถอยกลับไปจนสุดให้เข้าระยะ Reset การทำงานของปุ่ม แต่ปล่อยออกมาส่วนเดียวแล้วกดปุ่มสวนกลับไปให้ทำงานได้ทันที ปรับระยะกดแล้วทำงาน (Actuation Point) ให้ตื้นขึ้นหรือลึกลงไปได้ตามแต่ถนัด...

Accessories review

Thermaltake Gaming Desk Pegboard จัดระเบียบให้โต๊ะคอมหล่อเนี๊ยบ หยิบของใช้อะไรก็ง่าย!! ยุคนี้หากมีคอมแรงไว้ใช้แล้ว การจัดโต๊ะคอมให้เรียบร้อยสวยงามก็จะตามมาแน่นอน ทาง Thermaltake ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมชั้นนำก็ตอบรับด้วย Thermaltake Gaming Desk Pegboard กระดานแขวนอุปกรณ์เกมมิ่งและของใช้บนโต๊ะคอมเพิ่มความมินิมอลคุมโทนดำขวัญใจเกมเมอร์พร้อมราคาเบาสบายเป็นมิตรต่อกระเป๋าเงิน เริ่มกับรุ่น Small 690 บาท, Medium 990 บาท ปิดท้ายด้วย...

Buyer's Guide

การลงทุนซื้อแกดเจ็ตสักชิ้นแล้วคุ้มจนไม่เสียใจภายหลังแน่นอน คือหูฟังบลูทูธเสียงดีตัดเสียงเยี่ยมก็เป็นของอีกชิ้นที่อยากแนะนำให้ซื้อของดีไปเลย แม้จะมีราคาเกือบหรือเกินหมื่นบาทก็น่าจ่ายให้มันช่วยเล่นเพลงโปรดใน Playlist ได้เพราะยิ่งขึ้นแล้ว ยังตัดเสียงรบกวนภายนอกออกไปให้มีสมาธิเวลาต้องทำงานเป็นเวลานานไม่ให้เสียงภายนอกมารบกวนหรือถ้าใครต้องบินต่างประเทศเป็นเวลานาน ก็ช่วยให้พักผ่อนนอนหลับเวลาเจอไฟลท์ระยะยาวได้ดีมาก เมื่อถึงปลายทางก็ตื่นมาทำธุระเดินทางต่อได้โดยไม่เหนื่อยล้ามากเกินไป เป็นเหตุผลแรกถ้าจะซื้อหูฟังไร้สายดีๆ ติดตัวสักอัน เหตุผลหลักถัดมาเรื่องเสียงเพลง นอกจากไดรเวอร์และการปรับจูนเสียงจากผู้ผลิตหูฟังแล้ว ถ้าต่อหูฟังบลูทูธกับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน Bluetooth ก็มีเรื่อง Codec หรือรูปแบบการส่งไฟล์เสียงไร้สายจากอุปกรณ์สู่อีกอุปกรณ์ โดยบีบอัดไฟล์จากต้นทางแล้วไปคลายยังอุปกรณ์ปลายทาง แต่ปัจจัยการส่งไฟล์แบบไร้สายก็จะทำให้รายละเอียดและคุณภาพของไฟล์เสียงลดลง ซึ่งนอกจาก Codec มาตรฐานอย่าง SBC,...

PR-News

อาร์ทีบีฯ จับมือ SteelSeries เปิดตัวลำโพง ARENA 3 และต้อนรับการกลับมาของหูฟัง ARCTIS 7+ พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษเอาใจคอเกมในงาน COMMART COMTECH  ระหว่างวันที่ 7-10 มีนาคม 2567 ณ ไบเทค บางนา บริษัท อาร์ทีบี เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้า...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก