ล่าสุดทาง Lenovo ได้มีการเปิดตัว ThinkPad รุ่นใหม่ล ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบาอย่างที่สุด แต่ก็ยัดสเปกภายในมาอย่างสุดๆ เช่นกัน อย่าง Lenovo ThinkPad P1 ที่เป็น Mobile Workstation โน๊ตบุ๊คอีกรุ่นที่สายมืออาชีพต้องจับตามอง เพราะเราสามารถจัดสเปกที่แรงที่สุด อย่างชิปประมวลผล Xeon E-2176M และการ์ดจอเน้นงาน 3 มิติด้วย NVIDIA Quadro P2000 ได้ อีกทั้งเลือกติดตั้งแรมได้สูงสุด 64GB และ SSD M.2 NVMe อีก 4TB โดยได้ความบางที่ 18.4 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้นเอง
ส่วยสเปกรายละเอียดอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ด้วยหน้าจอขนาด 15.6″ ที่เหมาะสมกับการใช้งานบนความละเอียดสูงสุด ที่ 4K Ultra HD ส่วนแบตเตอรี่ก็ใช้งานได้ยาวนานสูงสุดกว่า 13 ชั่วโมง พร้อมพอร์ตการเชื่อมต่อความเร็วสูง Thunderbolt 3 จำนวน 2 พอร์ต อีกทั้งยังมี USB 3.1 Type-A อีก 2 พอร์ต และพอร์ตการเชื่อมต่ออื่นๆ อย่าง HDMI, Mini Ethernet, SD Card Reader หรือจะใส่ตัวอ่าน Smart Card ก็สามารถเลือกเพิ่มเอาได้ ส่วนระบบปฏิบัติก็เป็น Windows 10 ส่วนเวอร์ชั่นก็อยู่เราเลือกอีกที
VDO Review
Specification
Lenovo ThinkPad P1 เป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ขนาดมาตรฐาน เมื่อเทียบกับ Mobile Workstation ทั่วไปกับขนาดหน้าจอ 15.6″ แต่มีรุ่นมีความบางเบาเป็นพิเศษ โดยมีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้ชิปประมวลผล Intel Core i7-8850H ที่เป็น Core i Gen 8 รุ่นพิเศษที่เน้นประสิทธิภาพ (ทั่วไปจะเป็น Core i7-8750H) มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล 6 คอร์ 12 เธร์ด มีความเร็วอยู่ที่ 2.60 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 4.30 GHz มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 32GB (32GB x 1) ในรูปแบบของ DDR4 บัส 2666 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD M.2 NVMe ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 512 GB
สำหรับการ์ดจอนั้นทาง Lenovo ThinkPad P1 เลือกที่จะใช้การ์ดจอ NVIDIA Quadro P1000 ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถรองรับการทำงานได้ในระดับที่ดี จอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนล IPS คุณภาพสูงมาก
ซึ่งให้ความแม่นยำและความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด โดยตัวจอมีความละเอียดแบบ 4K Ultra HD 3840 x 2160 พิกเซล พร้อรองรับการทัชสกรีน 10 จุด แน่นอนว่ามี HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร
นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad P1 ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง Dolby Atmos และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.1 Tpye-A, SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์, Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) และ Smart card reader ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็จะเป็น Intel 9560 802.11 a/c WiFi + Bluetooth 5.0 พร้อมสเแกนลายนิ้วที่ใช้งานผ่านทาง Windows Hello บน Windows 10 ที่ติดตั้งมาให้ใช้งานได้ทันที สนนราคาเริ่มต้นที่ 79,990 บาท ไปจนถึงหลักแสนบาท
Hardware / Design
ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo ThinkPad P1 จะมีการต่อยอดการผลิตจากไลน์ของ ThinkPad แบบเดิมๆ ด้วยที่เป็นซีรี่ส์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกันกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ แต่มีอีกหลายจุดที่ตัว Lenovo ThinkPad P1 เหนือชั้นไปจากเดิมพอสมควร จะว่าเหมือนกับรุ่นก่อนหน้าเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะด้วยความที่ไม่ใช่โน๊ตบุ๊คปกติทั่วไป แต่เป็นในส่วนของ Mobile Workstation ระดับสูงที่แตกต่างจากรุ่น T Series หรือ X Series ที่เน้นใช้งานระดับทั่วไป
วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงและแมกนีเซียมอัลลอยด์ ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวซอฟท์ทัชให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค Mobile Workstation สไตล์ ThinkPad
ทำให้นับได้ว่า Lenovo ThinkPad P1 เป็นโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการทำงานประมวลผลหนักๆ อย่างแท้จริง ซึ่งก็ยังมาพร้อมกับความบางเบา ที่ความบางที่ 18.4 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้นเอง ถือว่าน้อยมากๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คขนาดจอ 15.6″ ที่มีสเปกประสิทธิภาพสูงขนาดนี้ ด้วยสเปก Core i Gen 8 ตระกูล H และการ์ดจอ NVIDIA Quadro รุ่นล่าสุด
ส่วนของตัวเครื่องความบางและน้ำหนักนั้น เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการพกพาไปไหนมาไหนบ่อยๆ เลย เพราะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก และสำหรับการออกแบบบานพับขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับหน้าจอ 180 องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน ตามประการณ์ตรงที่ Lenovo ทำได้ดีมาโดยตลอด
ส่วนอื่นๆ ที่ยังเป็น DNA ของ ThinkPad ก็ยังคงมีอยู่ อย่างโลโก้ ThinkPad บริเวณมุมบนซ้ายฝาหลัง และมุมขวาล่างด้านในตัวเครื่อง โดยมีไฟ LED สีแดงคอยบอกสถาณะการทำงานอยู่ สำหรับปุ่ม Power จะถูกติดตั้งเอาไว้ที่มุมขวาของแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งตัวปุ่มจะเป็นสีเงินมันวาวแสดงสถานะการเปิดปิดเครื่องได้ สำหรับด้านใต้ตัวเครื่องก็จะเป็นช่องดูดลมเย็น พร้อมยางรองขนาดใหญ่ 1 เส้น และ 2 จุดที่ช่วยยกตัวให้สูงขึ้น
Keyboard / Touchpad
ส่วนคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad P1 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น รวมไปถึงบริเวณขอบซ้ายของชุดคีย์บอร์ดยังมีการติดตั้งตัวสแกนลายนิ้วมือ ที่ไว้ใช้งานร่วมกับ Windows Hello อีกด้วย
นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad P70 ก็ไม่ลืมที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับ TrackPad ขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 3 ปุ่มได้เป็นอย่างดี พร้อมซ้ายคลิกซ้ายขวาแบบปกติเอาไว้ ก็สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi-Gesture บน Windows 10 ได้ดี ยิ่งถ้าใช้งาน TrackPoint และ TrackPad ควบคู่กันไปด้วยจะยิ่งใช้งานได้ไวมากขึ้น
Screen / Speaker
ด้านหน้าจอแสดงผล Lenovo ThinkPad P1 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดใหญ่ถึง 15.6 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด 4K Ultra HD ที่ 3840 x 2160 พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดี
ด้วยพาเนลจอแบบ IPS ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพาเนลเกรดสูง ที่เหมาะสมกับงานมืออาชีพ เพราะให้สีสันตรงสุดๆ ระดับที่ใกล้เคียงกับ sRGB มาพร้อมกับมุมมองที่เกือบ 180 องศา แบบว่ามองมุมไหนสีสันก็ไม่เพี้ยนเลย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่ง และการที่ใส่ยางขอบจอแบบติดเนียนตามตลอดแนวขอบจอเลย ทำให้ช่วยซับแรงกระแทกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่มักจะติดตั้งมาเป็นจุดๆ ในบางตำแหน่งเท่านั้น
โดยบริเวณที่ตัวของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด รวมไปถึงมีระบบ Face Recognition จดจำใบหน้า ทำให้เราเลือกใช้งาน Windows Hello ระหว่าง Finger Print ได้ด้วย
การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ Lenovo ThinkPad P1 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 97% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูง ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 400+ cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าแถมุมบนซ้ายเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ 400+ cd/m2 แต่สำหรับช่องแถวกลางขวาเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงแค่ระดับ 8% เท่านั้น
ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนนรวม 4.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite นับว่าเป็นจอที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งของโน๊ตบุ๊คที่เคยรีวิวมาทีเดียว
ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอ มาพร้อมระบบเสียง Dolby Atmos ให้ที่เสียงที่ดีมาก พร้อมซอฟต์แวร์ปรับแต่ง ทั้งในเรื่องของเสียงเบสที่มีน้ำหนัก เสียงกลางที่สมดุล และเสียงแหลมที่ออกมาใสๆ พร้อมทั้งความดังและกังวาลที่มากกว่า พูดเลยว่ามีโน๊ตบุ๊คเพียงไม่กี่รุ่นที่ทำเสียงออกมาดีได้ขนาดนี้ ซึ่งตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น 2 ตัว ทำให้เสียงที่ออกมามีเสียงดังฟังชัด
Connector / Thin And Weight
ถึงแม้ Lenovo ThinkPad P1 มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่พอร์ตเชื่อมต่อมีมาให้ครบครันมากมายระดับนึง อาทิ พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.1 Gen 1 Type-A จำนวน 2 พอร์ต ที่มาพร้อมกับการสนันสนุนในเรื่องของการจ่ายไฟที่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถชาร์จสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้พลังงานเต็มที่อย่างรวดเร็ว โดยช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์แบบหัว 4 เหลี่ยม ซึ่งเป็นมาตรฐานโน๊ตบุ๊ค Lenovo สมัยนี้
และช่องเชื่อมต่อเสียงภายนอกขนาดมาตรฐานที่ 3.5 มิลลิเมตร ซึ่งรองรับการใช้งานไมค์และหูฟังในช่องๆ เดียว ตามสมัยนิยม รวมไปถึงมีพอร์ตเชื่อมต่อ HDMI และ Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) จำนวน 2 พอร์ต ไว้เชื่อมต่อหน้าจอภายนอก หรือโอนถ่ายไฟล์ความเร็วสูงและ Smart card reader รวมถึง Mini Gigabit Ethernet อีกทั้งยังมี SD Card Reader ตามมาตรฐาน
สำหรับน้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.7 กิโลกรัม ที่ถือว่าเบาทีเดียว เมื่อพกพากับอแดปเตอร์ขนาด 135Watt ที่มีขนาดเล็ก ก็ถือว่า Lenovo ThinkPad P1 ตอบโจทย์การใช้งานนอกสถานที่อย่างที่สุดรุ่นหนึ่ง เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการทำงานที่ได้
Performance / Software
Lenovo ThinkPad P1 มาพร้อมกับชิปประมวลผล Intel Core i Gen 8 รุ่นแรงกว่ารุ่นยอดนิยม อย่าง Intel Core i7-8850H ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.60 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.30 GHz เป็นซีพียูแบบ 6 Core 12 Threads ที่ 9 MB L3 Cache นับว่าเหนือชั้นกว่า Core i7-8750H ทั้งความเร็ว
โดยแรงเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไปมากๆ หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าตามทฤษฎีแรงกว่ารุ่นยอดนิยมอย่าง Intel Core i7-8750H พอตัว มาพร้อมแรมภายในขนาด 32GB DDR4 แบบ 1 แถว ที่รองรับการอัพเกรดได้เป็น 64GB ทันที สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง (เหมือนรุ่น Core i7-8750H) อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics 630 รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา
โดยมีกราฟิกการ์ดจอแยก NVIDIA Quadro P1000 ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซีแบบสบายๆ เน้นใช้งานประมวลผล 2D หรือ 3D ที่ตัวซอฟต์แวร์มีชุดคำสั่งรองรับ เพื่อทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3D ที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว โดยถ้าใครจะเอาไปเน้นเล่นเกมอันนี้คงไม่แนะนำ แต่ทางทีมงานก็ทดสอบการเล่นเกมเอาไว้ดูประกอบด้วยได้
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่น Core i7-8850H เหมือนว่าจะน้อยกว่านิดหน่อย คาดว่าตัวของซอฟต์แวร์ทดสอบอาจจะไม่รองรับ 100% รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงระดับ NVIDIA Quadro P1000 เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผล 2D หรือ 3D ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบน และการ์ดจอระดับกลางที่เน้นการทำงานเป็นหลัก
หน่วยความจำสำรองของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 5126GB แบบ M.2 NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 3501MB/s และเขียนที่ 1557MB/s
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,191 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ จากการที่เป็นโน๊ตบุ๊คการ์ดจอแยก แต่ในการใช้งานจริงๆ นั้นตัว PCMark 10 Advance เองอาจจะทดสอบได้ไม่ตรงกับลักษณะการใช้งานจริงๆ ที่เน้นใช้งานซอฟต์แวร์ระดับมืออาชีพเท่าไรนัก
การทดสอบเกมจะเป็นเกมที่ไม่หนักมาก แต่เป็นเกมที่คนส่วนมากนิยมเล่นกัน ซึ่งโดยส่วนตัวก็เล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 และ Overwatch ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ Native 1920 x 1080 พิกเซล สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าปรับสุดทุกอย่างเลยสำหรับ DOTA 2 ส่วน Overwatch จะเป็นปรับแบบ Epic โดย Rendering 100% ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับที่น่าประทับใจ
ส่วนเกมออฟไลน์อย่าง Far Cry 5 ที่นับว่าเป็นอีกเกมที่กินทรัพยากรเครื่องหนัก ก็มาทดสอบด้วยการปรับเป็น Medium โดยเฟรมเรทที่ได้มานั้นถือว่าผ่านเลย เล่นได้สบายๆ ภาพก็สวยงามพอตัวไม่ได้แย่อะไร พูดตรงๆ ก็คือพอจะเล่นได้สำหรับเกมออนไลน์แนวนี้ ส่วนเกมอื่นๆ ที่ไม่เกินทรัพยากรเท่าอย่าง CS:GO หรือ Point Blank รวมไปถึงเกมออนไลน์อื่นๆ ก็น่าจะเล่นได้ลื่นๆ อย่างแน่นอน
การทดสอบ After Effects ซึ่งประมวลผลภาพ 3D จาก GPU จาก Cinema 4D ภายในฉากที่มีวิดีโอและเอฟเฟ็กต์ HD หลายชั้น การทดสอบนี้ใช้เวลาไม่กี่นาทีดังนั้นแถบสั้นจึงดีกว่า
การทดสอบ SPECwpc 2.1 ซึ่งรวมผลลัพธ์จากการทดสอบการสร้างแบบจำลอง 3 มิติการแสดงผลและการเข้ารหัสวิดีโอผ่าน HandBrake IOMeter LuxRender และ Maya น่าเสียดายที่เกณฑ์มาตรฐานนี้เป็นเฉพาะแพลตฟอร์ม Windows เท่านั้น
ประสิทธิภาพกราฟิกเรียลไทม์
การทดสอบโดยอิงกับเครื่องมือการแสดงผลเรียลไทม์ของ Cinema 4D R19 ที่ใช้เทคโนโลยี Cinema 4D R15 และเครื่องแสดงภาพ V-ray ของ Chaos Group ซึ่งใช้งานได้กับ GPU Nvidia เท่านั้น
การทดสอบ ProRender และ V-ray ใช้เวลาไม่กี่วินาทีดังนั้นแถบสั้นจึงดีกว่า การทดสอบ Cinebench อยู่ในเฟรมต่อวินาที (เฟรมต่อวินาที) ดังนั้นบาร์ที่ยาวขึ้นจะดีกว่า
ขอบคุณผลทดสอบส่วนนี้จาก digitalartsonline.co.uk
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Vantage ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง หรืออื่นๆ ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย
Battery / Heat / Noise
โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ Lenovo ThinkPad P1 นั้น จะเป็นแบตเตอรี่แบบฝังตามสมัยนิยม เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้เกือบ 5 ชั่วโมง โดยก็ถือว่ายาวนานแล้วล่ะถ้าเทียบกับสเปกภายใน ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ ก็แนะนำให้พกพาอแดปเตอร์ไปด้วยตลอดเวลาจะดีมากๆ เพราะขนาดและน้ำหนักของอแดปเตอร์ก็ไม่ลำบากในการพกพาแต่อย่างใด ส่วนช่องระบายของเจ้าโน๊ตบุ๊คตัวนี้จะอยู่ด้านบนบริเวณแกนพับหน้าจอ โดยออกแบบให้ซ่อนตัวเอาไว้ด้านหลังติดกับกรอบอะลูมิเนียมของเครื่องเวลาพับจอก็ไม่เห็นช่องระบายความร้อนเลย
อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 40 – 45 องศาเซลเซียส สำหรับการใช้งานทั่วไป แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 87 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo ThinkPad P1 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร นับว่า Mobile Workstation เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก Lenovo ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กกว่าสมัยก่อนมาก
Conclusion / Award
สิ่งหนึ่งที่ชอบโน๊ตบุ๊คกับคอมพิวเตอร์พกพา ก็คือมันสามารถให้เราทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา แต่นั่นอาจจะเป็นแค่งานเบาๆ ที่ประมวลผลไม่หนักมาก ซึ่งช่วงหลังๆ เทคโนโลยีต่างๆ ได้พัฒนามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เรามีโน๊ตบุ๊คที่บางเบาลงกว่าเมื่อก่อน แต่ประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่ากับพีซีตั้งโต๊ะแรงๆ เลยทีเดียว
ซึ่งจริงๆ แล้วโน๊ตบุ๊คก็แบ่งออกไปเป็นหลายประเภทด้วยกัน ทั้งอย่างใช้งานทั่วไป เน้นบางเบา เน้นเล่นเกม รวมไปถึงเน้นทำงาน นอกจากนี้ก็จะมีส่วนของที่เน้นเน้นทำงานหนักๆ ระดับมือาชีพอย่าง Mobile Workstation อีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเราคงคุ้นเคยกับบรรดา Apple MacBook Pro, Dell Precision และ HP ZBook กันอยู่บ้างแล้ว แต่ที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือ Lenovo ThinkPad P Series ที่การันตีว่าเป็นของดีด้วยชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน
อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คนกับโน๊ตบุ๊คที่มาในรูปแบบของ Mobile Workstation ซึ่งจัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ เรียกว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะสำหรับมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ 3 มิติ งานตัดต่อวีดีโอ งานโปรเซสภาพ หรืองานอื่นๆ อย่างการสร้างเกมหรือเขียนโปรแกรมขั้นสูง โดยที่ผ่านมา Lenovo ThinkPad ก็นำเสนอในส่วนของ Mobile Workstation มาโดยตลอด ซึ่งได้รับการรับรองจาก ISV อาทิซอฟต์แวร์ ArcGIS® AutoCAD® CATIA® Creo® Inventor® Microstation® NX® PDMS® Revit® Solid Edge® SolidWorks® Vectorworks®
Lenovo ThinkPad P1 โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพสไตล์ Mobile Workstation ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ Lenovo เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7 Gen 8 รุ่นพิเศษอย่าง i7-8850H ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน เทียบเท่าระดับพีซี มีแรม DDR4 บัส 2666 ที่ใส่มาให้ถึง 32GB (32GB x 1) พร้อมด้วย SSD ความเร็วสูงเทคโนโลยี NVMe ความจุ 512GB
รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro P1000 ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง Lenovo ThinkPad P1 ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Ultra HD ใช้พาเนลจอแบบ IPS ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งนับว่าตั้งแต่ทดสอบมาเป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมหน้าจอที่ดีที่สุด !!!
และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ Lenovo ThinkPad P1 ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมไปถึงมี Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ เราสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการและโปรแกรมของเราที่รองรับ
Lenovo ThinkPad P1 เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย Lenovo ThinkPad P1 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค ในขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว สนนราคาระดับหนึ่งแสนบาทขึ้นไป มาพร้อมการรับประกันแบบ 3 ปี On-site Service ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพ
ซึ่งเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ อาจจะดูว่าราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่สามารถทำให้สร้างรายได้แน่นอน สำหรับคนที่ต้องการจะซื้อมาใช้งาน เหมาะมากๆ กับคนที่ต้องการใช้งาน Mobile Workstation ที่ยังเต็มประสิทธิภาพ เต็มประสบการณ์ แต่ใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสบายๆ
Lenovo ThinkPad P1 นั้นยังคงความเป็น ThinkPad ให้เห็นอยู่คือดูแล้วเหมาะกับการใช้งานสำหรับวิศวกร สถาปัตย์ นักตัดต่อวีดีโอ หรือผู้ใช้ระดับมืออาชีพครับ ด้วยความที่ว่าสเปกนั้นแรงมากๆ ประกอบกับราคาก็ไม่ใช่ถูก แน่นอนว่าคงไม่มีใครซื้อมาเล่น Facebook อย่างแน่นอน แต่จะเป็นเรื่องของการสร้างงานสร้างรายได้ ดีไม่ดีโปรเจคนึงอาจจะได้ค่าเครื่องคืนแล้วด้วยซ้ำ
จุดเด่น
- ตัวเครื่องแข็งแรงทนทานตามสไตล์ของ Lenovo ThinkPad
- มีความบาง 18.4 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้น
- มีความทนทานระดับ Military-grade ทนน้ำ ทนฝุ่น แรงกระแทก
- ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ความละเอียด 4K Ultra HD พาเนล IPS สวยงาม ขอบเขตสีกว้าง
- ประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมาก ด้วย Intel Core i7-8850H และ NVIDIA Quadro P1000
- ระบบระบายความร้อนทำได้ดี จากการออกแบบและพัดลมคู่
- มาพร้อม Face Recognition, Finger Print รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว
- พอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C), Smart Card Reader
- ราคาต่อประสิทธิภาพสามารถปรับได้ตามต้องการ
- รองรับการใช้งาน Windows 10 และมีซอฟต์แวร์ Ultility ที่ดี
ข้อสังเกต
- ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
- แบตเตอรี่ใช้งานได้น้อยกว่าที่เคลมไว้
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง Workstation ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad P1 ก็ได้รางวัลดังนี้
Best Mobility
ความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน้ตบุ๊ตที่เน้นความบางเบา กับรุ่นขนาดหน้าจอ 15.6″ ทั้งในความบางเพียง 18.4 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.7 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วยังไม่ถึง 2.2 กิโลกรัม เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ
Best Technology
หน้าจอพาเนล IPS คุณภาพระดับสูง ที่มีความละเอียดอย่าง 4K Ultra HD ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยม คมชัดในทุกมุมมอง พร้อมวัดค่า sRGB ดีที่สุด ตั้งแต่ที่เคยทดสอบโน๊ตบุ๊คมา แถมยังมาพร้อม Face Recognition, Finger Print รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว ที่ต้องบอกว่ามีความไวพอๆ กับสมาร์ทโฟนรุ่นบนๆ ที่มีฟีเจอร์สแกนลายนิ้วมือเลย รวมไปถึงมีพอร์ตความเร็วสูงแห่งอนาคตอย่าง Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) ไว้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ อีกด้วย
Best Performance
ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i-8850H ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 32GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ด NVIDIA Quadro P1000 รวมไปถึง SSD ความเร็วสูงด้วย NVMe ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกระดับพีซีเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย
VDO Review
Specification
Lenovo ThinkPad P1 เป็นโน๊ตบุ๊คในระดับ Mobile Workstation ขนาดมาตรฐาน เมื่อเทียบกับ Mobile Workstation ทั่วไปกับขนาดหน้าจอ 15.6″ แต่มีรุ่นมีความบางเบาเป็นพิเศษ โดยมีหลากหลายสเปคให้เลือกซื้อ แต่สำหรับตัวที่เราได้มาทดสอบนั้นจะเป็นตัวที่ใช้ชิปประมวลผล Intel Core i7-8850H ที่เป็น Core i Gen 8 รุ่นพิเศษที่เน้นประสิทธิภาพ (ทั่วไปจะเป็น Core i7-8750H) มาพร้อมด้วยตัวประมวลผล 6 คอร์ 12 เธร์ด มีความเร็วอยู่ที่ 2.60 GHz และสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 4.30 GHz มีแรมของตัวเครื่องอยู่ที่ 32GB (32GB x 1) ในรูปแบบของ DDR4 บัส 2666 พร้อมด้วยฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD M.2 NVMe ความเร็วสูง มาพร้อมความจุ 512 GB
สำหรับการ์ดจอนั้นทาง Lenovo ThinkPad P1 เลือกที่จะใช้การ์ดจอ NVIDIA Quadro P1000 ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนแบบ และกราฟฟิคเฉพาะด้านทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถรองรับการทำงานได้ในระดับที่ดี จอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว LED แบบจอด้าน ใช้พาเนล IPS คุณภาพสูงมาก
ซึ่งให้ความแม่นยำและความสม่ำเสมอของเม็ดสีให้ภาพที่แสดงออกมามีความสวยงามสมจริงเหมือนต้นฉบับที่สุด โดยตัวจอมีความละเอียดแบบ 4K Ultra HD 3840 x 2160 พิกเซล พร้อรองรับการทัชสกรีน 10 จุด แน่นอนว่ามี HD webcam และไมค์คู่แบบตัดเสียงรบกวนในตัวที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับทุกการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร
นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad P1 ก็ยังมีลำโพง Stereo ที่รองรับระบบเสียง Dolby Atmos และมีพอร์ตเชื่อมต่ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.1 Tpye-A, SD Card Reader, ช่องต่อลำโพง-ไมค์, Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) และ Smart card reader ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็จะเป็น Intel 9560 802.11 a/c WiFi + Bluetooth 5.0 พร้อมสเแกนลายนิ้วที่ใช้งานผ่านทาง Windows Hello บน Windows 10 ที่ติดตั้งมาให้ใช้งานได้ทันที สนนราคาเริ่มต้นที่ 79,990 บาท ไปจนถึงหลักแสนบาท
Hardware / Design
ถ้าสังเกตดูแล้ว Lenovo ThinkPad P1 จะมีการต่อยอดการผลิตจากไลน์ของ ThinkPad แบบเดิมๆ ด้วยที่เป็นซีรี่ส์หลักทำให้ดีไซน์ค่อนข้างคล้ายกันกับ ThinkPad รุ่นอื่นๆ แต่มีอีกหลายจุดที่ตัว Lenovo ThinkPad P1 เหนือชั้นไปจากเดิมพอสมควร จะว่าเหมือนกับรุ่นก่อนหน้าเสียทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะด้วยความที่ไม่ใช่โน๊ตบุ๊คปกติทั่วไป แต่เป็นในส่วนของ Mobile Workstation ระดับสูงที่แตกต่างจากรุ่น T Series หรือ X Series ที่เน้นใช้งานระดับทั่วไป
วัสดุของตัวเครื่องนั้นหลักๆ ใช้เป็นวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงและแมกนีเซียมอัลลอยด์ ภายนอกตัวเครื่องมีพื้นผิวซอฟท์ทัชให้ความรู้สึกมั่นคงเวลาจับถือเครื่องไปไหนมาไหน และหรูหราด้วยวัสดุพลาสติกยางที่มีสัมผัสคล้ายหนังที่นำมาปิดตรงส่วนแท่นวางข้อมือ โดยรวมสำหรับการออกแบบนั้นทำให้ดูจริงจังและความเป็นมืออาชีพมากๆ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค Mobile Workstation สไตล์ ThinkPad
ทำให้นับได้ว่า Lenovo ThinkPad P1 เป็นโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการทำงานประมวลผลหนักๆ อย่างแท้จริง ซึ่งก็ยังมาพร้อมกับความบางเบา ที่ความบางที่ 18.4 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้นเอง ถือว่าน้อยมากๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คขนาดจอ 15.6″ ที่มีสเปกประสิทธิภาพสูงขนาดนี้ ด้วยสเปก Core i Gen 8 ตระกูล H และการ์ดจอ NVIDIA Quadro รุ่นล่าสุด
ส่วนของตัวเครื่องความบางและน้ำหนักนั้น เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เหมาะสมในการพกพาไปไหนมาไหนบ่อยๆ เลย เพราะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก และสำหรับการออกแบบบานพับขาจอที่แข็งแรงและมีความแตกต่างที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถพับหน้าจอ 180 องศาได้อย่างแข็งแรงไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน ตามประการณ์ตรงที่ Lenovo ทำได้ดีมาโดยตลอด
ส่วนอื่นๆ ที่ยังเป็น DNA ของ ThinkPad ก็ยังคงมีอยู่ อย่างโลโก้ ThinkPad บริเวณมุมบนซ้ายฝาหลัง และมุมขวาล่างด้านในตัวเครื่อง โดยมีไฟ LED สีแดงคอยบอกสถาณะการทำงานอยู่ สำหรับปุ่ม Power จะถูกติดตั้งเอาไว้ที่มุมขวาของแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งตัวปุ่มจะเป็นสีเงินมันวาวแสดงสถานะการเปิดปิดเครื่องได้ สำหรับด้านใต้ตัวเครื่องก็จะเป็นช่องดูดลมเย็น พร้อมยางรองขนาดใหญ่ 1 เส้น และ 2 จุดที่ช่วยยกตัวให้สูงขึ้น
Keyboard / Touchpad
ส่วนคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad P1 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น รวมไปถึงบริเวณขอบซ้ายของชุดคีย์บอร์ดยังมีการติดตั้งตัวสแกนลายนิ้วมือ ที่ไว้ใช้งานร่วมกับ Windows Hello อีกด้วย
นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad P70 ก็ไม่ลืมที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับ TrackPad ขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 3 ปุ่มได้เป็นอย่างดี พร้อมซ้ายคลิกซ้ายขวาแบบปกติเอาไว้ ก็สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi-Gesture บน Windows 10 ได้ดี ยิ่งถ้าใช้งาน TrackPoint และ TrackPad ควบคู่กันไปด้วยจะยิ่งใช้งานได้ไวมากขึ้น
Screen / Speaker
ด้านหน้าจอแสดงผล Lenovo ThinkPad P1 นั้นเลือกใช้หน้าจอที่มีขนาดจอขนาดใหญ่ถึง 15.6 นิ้ว มาพร้อมความละเอียด 4K Ultra HD ที่ 3840 x 2160 พิกเซล แบบ 16:9 โดยเลือกใช้จอแบบด้านเพื่อลดแสงสะท้อน แต่ก็ยังภาพที่คมชัดเป็นธรรมชาติ ตอบสนองได้เป็นเยี่ยมในการใช้งานเฉพาะด้านได้เป็นอย่างดี
ด้วยพาเนลจอแบบ IPS ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพาเนลเกรดสูง ที่เหมาะสมกับงานมืออาชีพ เพราะให้สีสันตรงสุดๆ ระดับที่ใกล้เคียงกับ sRGB มาพร้อมกับมุมมองที่เกือบ 180 องศา แบบว่ามองมุมไหนสีสันก็ไม่เพี้ยนเลย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่ง และการที่ใส่ยางขอบจอแบบติดเนียนตามตลอดแนวขอบจอเลย ทำให้ช่วยซับแรงกระแทกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่มักจะติดตั้งมาเป็นจุดๆ ในบางตำแหน่งเท่านั้น
โดยบริเวณที่ตัวของกล้องเว็บแคมแบบ Built-in ติดตั้งในตัวแบบ HD และไมโครโฟนคู่มาพร้อมฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน ให้คุณสามารถใช้งาน Video Call และ Video Conference ได้เป็นอย่างดี ให้คุณได้เห็นใบหน้าของเรากับคนที่เราสนทนาด้วยได้คมชัด รวมไปถึงมีระบบ Face Recognition จดจำใบหน้า ทำให้เราเลือกใช้งาน Windows Hello ระหว่าง Finger Print ได้ด้วย
การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ Lenovo ThinkPad P1 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 97% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีมากกว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูง ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 400+ cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าแถมุมบนซ้ายเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ 400+ cd/m2 แต่สำหรับช่องแถวกลางขวาเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงแค่ระดับ 8% เท่านั้น
ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนนรวม 4.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite นับว่าเป็นจอที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งของโน๊ตบุ๊คที่เคยรีวิวมาทีเดียว
ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอ มาพร้อมระบบเสียง Dolby Atmos ให้ที่เสียงที่ดีมาก พร้อมซอฟต์แวร์ปรับแต่ง ทั้งในเรื่องของเสียงเบสที่มีน้ำหนัก เสียงกลางที่สมดุล และเสียงแหลมที่ออกมาใสๆ พร้อมทั้งความดังและกังวาลที่มากกว่า พูดเลยว่ามีโน๊ตบุ๊คเพียงไม่กี่รุ่นที่ทำเสียงออกมาดีได้ขนาดนี้ ซึ่งตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น 2 ตัว ทำให้เสียงที่ออกมามีเสียงดังฟังชัด
Connector / Thin And Weight
ถึงแม้ Lenovo ThinkPad P1 มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่พอร์ตเชื่อมต่อมีมาให้ครบครันมากมายระดับนึง อาทิ พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.1 Gen 1 Type-A จำนวน 2 พอร์ต ที่มาพร้อมกับการสนันสนุนในเรื่องของการจ่ายไฟที่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถชาร์จสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้พลังงานเต็มที่อย่างรวดเร็ว โดยช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์แบบหัว 4 เหลี่ยม ซึ่งเป็นมาตรฐานโน๊ตบุ๊ค Lenovo สมัยนี้
และช่องเชื่อมต่อเสียงภายนอกขนาดมาตรฐานที่ 3.5 มิลลิเมตร ซึ่งรองรับการใช้งานไมค์และหูฟังในช่องๆ เดียว ตามสมัยนิยม รวมไปถึงมีพอร์ตเชื่อมต่อ HDMI และ Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) จำนวน 2 พอร์ต ไว้เชื่อมต่อหน้าจอภายนอก หรือโอนถ่ายไฟล์ความเร็วสูงและ Smart card reader รวมถึง Mini Gigabit Ethernet อีกทั้งยังมี SD Card Reader ตามมาตรฐาน
สำหรับน้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.7 กิโลกรัม ที่ถือว่าเบาทีเดียว เมื่อพกพากับอแดปเตอร์ขนาด 135Watt ที่มีขนาดเล็ก ก็ถือว่า Lenovo ThinkPad P1 ตอบโจทย์การใช้งานนอกสถานที่อย่างที่สุดรุ่นหนึ่ง เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการทำงานที่ได้
Performance / Software
Lenovo ThinkPad P1 มาพร้อมกับชิปประมวลผล Intel Core i Gen 8 รุ่นแรงกว่ารุ่นยอดนิยม อย่าง Intel Core i7-8850H ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.60 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.30 GHz เป็นซีพียูแบบ 6 Core 12 Threads ที่ 9 MB L3 Cache นับว่าเหนือชั้นกว่า Core i7-8750H ทั้งความเร็ว
โดยแรงเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไปมากๆ หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าตามทฤษฎีแรงกว่ารุ่นยอดนิยมอย่าง Intel Core i7-8750H พอตัว มาพร้อมแรมภายในขนาด 32GB DDR4 แบบ 1 แถว ที่รองรับการอัพเกรดได้เป็น 64GB ทันที สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง (เหมือนรุ่น Core i7-8750H) อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics 630 รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา
โดยมีกราฟิกการ์ดจอแยก NVIDIA Quadro P1000 ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซีแบบสบายๆ เน้นใช้งานประมวลผล 2D หรือ 3D ที่ตัวซอฟต์แวร์มีชุดคำสั่งรองรับ เพื่อทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3D ที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว โดยถ้าใครจะเอาไปเน้นเล่นเกมอันนี้คงไม่แนะนำ แต่ทางทีมงานก็ทดสอบการเล่นเกมเอาไว้ดูประกอบด้วยได้
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่น Core i7-8850H เหมือนว่าจะน้อยกว่านิดหน่อย คาดว่าตัวของซอฟต์แวร์ทดสอบอาจจะไม่รองรับ 100% รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงระดับ NVIDIA Quadro P1000 เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผล 2D หรือ 3D ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบน และการ์ดจอระดับกลางที่เน้นการทำงานเป็นหลัก
หน่วยความจำสำรองของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 5126GB แบบ M.2 NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 3501MB/s และเขียนที่ 1557MB/s
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,191 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ จากการที่เป็นโน๊ตบุ๊คการ์ดจอแยก แต่ในการใช้งานจริงๆ นั้นตัว PCMark 10 Advance เองอาจจะทดสอบได้ไม่ตรงกับลักษณะการใช้งานจริงๆ ที่เน้นใช้งานซอฟต์แวร์ระดับมืออาชีพเท่าไรนัก
การทดสอบเกมจะเป็นเกมที่ไม่หนักมาก แต่เป็นเกมที่คนส่วนมากนิยมเล่นกัน ซึ่งโดยส่วนตัวก็เล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 และ Overwatch ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ Native 1920 x 1080 พิกเซล สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าปรับสุดทุกอย่างเลยสำหรับ DOTA 2 ส่วน Overwatch จะเป็นปรับแบบ Epic โดย Rendering 100% ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับที่น่าประทับใจ
ส่วนเกมออฟไลน์อย่าง Far Cry 5 ที่นับว่าเป็นอีกเกมที่กินทรัพยากรเครื่องหนัก ก็มาทดสอบด้วยการปรับเป็น Medium โดยเฟรมเรทที่ได้มานั้นถือว่าผ่านเลย เล่นได้สบายๆ ภาพก็สวยงามพอตัวไม่ได้แย่อะไร พูดตรงๆ ก็คือพอจะเล่นได้สำหรับเกมออนไลน์แนวนี้ ส่วนเกมอื่นๆ ที่ไม่เกินทรัพยากรเท่าอย่าง CS:GO หรือ Point Blank รวมไปถึงเกมออนไลน์อื่นๆ ก็น่าจะเล่นได้ลื่นๆ อย่างแน่นอน
การทดสอบ After Effects ซึ่งประมวลผลภาพ 3D จาก GPU จาก Cinema 4D ภายในฉากที่มีวิดีโอและเอฟเฟ็กต์ HD หลายชั้น การทดสอบนี้ใช้เวลาไม่กี่นาทีดังนั้นแถบสั้นจึงดีกว่า
การทดสอบ SPECwpc 2.1 ซึ่งรวมผลลัพธ์จากการทดสอบการสร้างแบบจำลอง 3 มิติการแสดงผลและการเข้ารหัสวิดีโอผ่าน HandBrake IOMeter LuxRender และ Maya น่าเสียดายที่เกณฑ์มาตรฐานนี้เป็นเฉพาะแพลตฟอร์ม Windows เท่านั้น
ประสิทธิภาพกราฟิกเรียลไทม์
การทดสอบโดยอิงกับเครื่องมือการแสดงผลเรียลไทม์ของ Cinema 4D R19 ที่ใช้เทคโนโลยี Cinema 4D R15 และเครื่องแสดงภาพ V-ray ของ Chaos Group ซึ่งใช้งานได้กับ GPU Nvidia เท่านั้น
การทดสอบ ProRender และ V-ray ใช้เวลาไม่กี่วินาทีดังนั้นแถบสั้นจึงดีกว่า การทดสอบ Cinebench อยู่ในเฟรมต่อวินาที (เฟรมต่อวินาที) ดังนั้นบาร์ที่ยาวขึ้นจะดีกว่า
ขอบคุณผลทดสอบส่วนนี้จาก digitalartsonline.co.uk
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Vantage ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง หรืออื่นๆ ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย
Battery / Heat / Noise
โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้กับ Lenovo ThinkPad P1 นั้น จะเป็นแบตเตอรี่แบบฝังตามสมัยนิยม เมื่อทดสอบผ่านโปรแกรม BatteryMon แสดงผลให้ว่าตัวเครื่องเปิดใช้งานต่อเนื่องได้เกือบ 5 ชั่วโมง โดยก็ถือว่ายาวนานแล้วล่ะถ้าเทียบกับสเปกภายใน ซึ่งถ้าเอามาใช้งานกันจริงๆ จังๆ ก็แนะนำให้พกพาอแดปเตอร์ไปด้วยตลอดเวลาจะดีมากๆ เพราะขนาดและน้ำหนักของอแดปเตอร์ก็ไม่ลำบากในการพกพาแต่อย่างใด ส่วนช่องระบายของเจ้าโน๊ตบุ๊คตัวนี้จะอยู่ด้านบนบริเวณแกนพับหน้าจอ โดยออกแบบให้ซ่อนตัวเอาไว้ด้านหลังติดกับกรอบอะลูมิเนียมของเครื่องเวลาพับจอก็ไม่เห็นช่องระบายความร้อนเลย
อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 40 – 45 องศาเซลเซียส สำหรับการใช้งานทั่วไป แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 87 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo ThinkPad P1 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร นับว่า Mobile Workstation เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก Lenovo ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กกว่าสมัยก่อนมาก
Conclusion / Award
สิ่งหนึ่งที่ชอบโน๊ตบุ๊คกับคอมพิวเตอร์พกพา ก็คือมันสามารถให้เราทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา แต่นั่นอาจจะเป็นแค่งานเบาๆ ที่ประมวลผลไม่หนักมาก ซึ่งช่วงหลังๆ เทคโนโลยีต่างๆ ได้พัฒนามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เรามีโน๊ตบุ๊คที่บางเบาลงกว่าเมื่อก่อน แต่ประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่ากับพีซีตั้งโต๊ะแรงๆ เลยทีเดียว
ซึ่งจริงๆ แล้วโน๊ตบุ๊คก็แบ่งออกไปเป็นหลายประเภทด้วยกัน ทั้งอย่างใช้งานทั่วไป เน้นบางเบา เน้นเล่นเกม รวมไปถึงเน้นทำงาน นอกจากนี้ก็จะมีส่วนของที่เน้นเน้นทำงานหนักๆ ระดับมือาชีพอย่าง Mobile Workstation อีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเราคงคุ้นเคยกับบรรดา Apple MacBook Pro, Dell Precision และ HP ZBook กันอยู่บ้างแล้ว แต่ที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือ Lenovo ThinkPad P Series ที่การันตีว่าเป็นของดีด้วยชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน
อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คนกับโน๊ตบุ๊คที่มาในรูปแบบของ Mobile Workstation ซึ่งจัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการทำงานโดยเฉพาะ เรียกว่าเป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะสำหรับมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ 3 มิติ งานตัดต่อวีดีโอ งานโปรเซสภาพ หรืองานอื่นๆ อย่างการสร้างเกมหรือเขียนโปรแกรมขั้นสูง โดยที่ผ่านมา Lenovo ThinkPad ก็นำเสนอในส่วนของ Mobile Workstation มาโดยตลอด ซึ่งได้รับการรับรองจาก ISV อาทิซอฟต์แวร์ ArcGIS® AutoCAD® CATIA® Creo® Inventor® Microstation® NX® PDMS® Revit® Solid Edge® SolidWorks® Vectorworks®
Lenovo ThinkPad P1 โน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพสไตล์ Mobile Workstation ที่สามารถตอบสนองการใช้งานแบบเฉพาะด้าน ทั้งการ เขียนแบบ และกราฟฟิคทั้ง 2D และ 3D ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ Lenovo เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง Intel Core i7 Gen 8 รุ่นพิเศษอย่าง i7-8850H ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน เทียบเท่าระดับพีซี มีแรม DDR4 บัส 2666 ที่ใส่มาให้ถึง 32GB (32GB x 1) พร้อมด้วย SSD ความเร็วสูงเทคโนโลยี NVMe ความจุ 512GB
รวมถึงการ์ดจอเฉพาะทางอย่าง NVIDIA Quadro P1000 ที่ก็เรียกได้ว่าจงใจติดตั้งมาให้ด้วย เรียกได้ว่าเหมาะสมจริงๆ กับการนำไปใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการความมีเสถียรภาพ และมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับสูง Lenovo ThinkPad P1 ยังมาพร้อมหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Ultra HD ใช้พาเนลจอแบบ IPS ซึ่งมีการแสดงผลของสีที่เที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยนที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งนับว่าตั้งแต่ทดสอบมาเป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมหน้าจอที่ดีที่สุด !!!
และอีกจุดเด่นนึงที่จะลืมพูดถึงไปไม่ได้เลยก็คือพอร์ตต่างๆ ที่ Lenovo ThinkPad P1 ติดตั้งมาให้ เรียกได้ว่าหาไม่ได้ง่ายๆ บนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป อย่างพอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) พอร์ตที่มีความเร็วมากกว่า USB 3.0 ถึง 4 เท่า รวมไปถึงมี Smart Card Reader และ DisplayPort ที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพหลายๆ ท่านจำเป็นต้องใช้แน่ๆ ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ เราสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการและโปรแกรมของเราที่รองรับ
Lenovo ThinkPad P1 เป็นเครื่อง Mobile Workstation แบบพกพาที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ตัวหนึ่ง และสำหรับใครที่สนใจก็สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้นะครับ โดย Lenovo ThinkPad P1 จะมีให้เลือกกันหลายสเปค ในขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว สนนราคาระดับหนึ่งแสนบาทขึ้นไป มาพร้อมการรับประกันแบบ 3 ปี On-site Service ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คระดับมืออาชีพ
ซึ่งเชื่อว่าเครื่องนี้อยู่ในระดับราคาที่น่าลงทุนสำหรับผู้ใช้งานในระดับมืออาชีพจริงๆ อาจจะดูว่าราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่สามารถทำให้สร้างรายได้แน่นอน สำหรับคนที่ต้องการจะซื้อมาใช้งาน เหมาะมากๆ กับคนที่ต้องการใช้งาน Mobile Workstation ที่ยังเต็มประสิทธิภาพ เต็มประสบการณ์ แต่ใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสบายๆ
Lenovo ThinkPad P1 นั้นยังคงความเป็น ThinkPad ให้เห็นอยู่คือดูแล้วเหมาะกับการใช้งานสำหรับวิศวกร สถาปัตย์ นักตัดต่อวีดีโอ หรือผู้ใช้ระดับมืออาชีพครับ ด้วยความที่ว่าสเปกนั้นแรงมากๆ ประกอบกับราคาก็ไม่ใช่ถูก แน่นอนว่าคงไม่มีใครซื้อมาเล่น Facebook อย่างแน่นอน แต่จะเป็นเรื่องของการสร้างงานสร้างรายได้ ดีไม่ดีโปรเจคนึงอาจจะได้ค่าเครื่องคืนแล้วด้วยซ้ำ
จุดเด่น
- ตัวเครื่องแข็งแรงทนทานตามสไตล์ของ Lenovo ThinkPad
- มีความบาง 18.4 มิลลิเมตร และน้ำหนักเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้น
- มีความทนทานระดับ Military-grade ทนน้ำ ทนฝุ่น แรงกระแทก
- ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ความละเอียด 4K Ultra HD พาเนล IPS สวยงาม ขอบเขตสีกว้าง
- ประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูงมาก ด้วย Intel Core i7-8850H และ NVIDIA Quadro P1000
- ระบบระบายความร้อนทำได้ดี จากการออกแบบและพัดลมคู่
- มาพร้อม Face Recognition, Finger Print รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว
- พอร์ต Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C), Smart Card Reader
- ราคาต่อประสิทธิภาพสามารถปรับได้ตามต้องการ
- รองรับการใช้งาน Windows 10 และมีซอฟต์แวร์ Ultility ที่ดี
ข้อสังเกต
- ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
- แบตเตอรี่ใช้งานได้น้อยกว่าที่เคลมไว้
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คระดับสูง Workstation ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับสเปค และราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad P1 ก็ได้รางวัลดังนี้
Best Mobility
ความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน้ตบุ๊ตที่เน้นความบางเบา กับรุ่นขนาดหน้าจอ 15.6″ ทั้งในความบางเพียง 18.4 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.7 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วยังไม่ถึง 2.2 กิโลกรัม เหมาะมากๆ กับคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ
Best Technology
หน้าจอพาเนล IPS คุณภาพระดับสูง ที่มีความละเอียดอย่าง 4K Ultra HD ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง ให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยม คมชัดในทุกมุมมอง พร้อมวัดค่า sRGB ดีที่สุด ตั้งแต่ที่เคยทดสอบโน๊ตบุ๊คมา แถมยังมาพร้อม Face Recognition, Finger Print รุ่นใหม่ใช้งานได้รวดเร็ว ที่ต้องบอกว่ามีความไวพอๆ กับสมาร์ทโฟนรุ่นบนๆ ที่มีฟีเจอร์สแกนลายนิ้วมือเลย รวมไปถึงมีพอร์ตความเร็วสูงแห่งอนาคตอย่าง Thunderbolt 3 (USB 3.1 Type-C) ไว้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ อีกด้วย
Best Performance
ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i-8850H ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 32GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ด NVIDIA Quadro P1000 รวมไปถึง SSD ความเร็วสูงด้วย NVMe ก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกระดับพีซีเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย