Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

[Review] Lenovo Legion Y520 โน๊ตบุ๊คเล่นเกมสเปก i7-7700HQ + GTX 1060 Max-Q ในราคาสี่หมื่นต้นๆ

Lenovo Legion Y 520 ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี สังเกตได้จาก Top Chart ก็จะเป็นอันดับ 1 – 2 ใน NotebookSPEC เสมอมา กระทั่งมาในตอนนี้ในการมาของ Lenovo Legion Y520 ก็ได้ส่งรุ่นใหม่ที่เป็นสเปกการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q

โน๊ตบุ๊คซีรีส์ Y จากทาง Lenovo นั้นถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมในฝันสำหรับใครหลายๆ คนก็ว่าได้ อย่างล่าสุดในรุ่น Lenovo Legion Y 520 ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดี สังเกตได้จาก Top Chart ก็จะเป็นอันดับ 1 – 2 ใน NotebookSPEC เสมอมา กระทั่งมาในตอนนี้ในการมาของ Lenovo Legion Y520 ก็ได้ส่งรุ่นใหม่ที่เป็นสเปกการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q

สำหรับ Lenovo Legion Y520 นั้นเรียกได้ว่ามาครบเครื่องเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วที่ครบครัน ลงตัวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนรับรองได้ว่ามันสามารถที่จะสร้างประสบการณ์ในการเล่นเกมแบบใหม่ให้กับผู้ใช้งานได้อย่างสบายๆ ที่เด็ดที่สุดก็คือเรื่องของราคาที่สามารถสู้กับโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมรุ่นอื่นๆ ในตลาดระดับกลางได้อย่างสบาย โดยมีจุดเด่นในเรื่องของระบบระบายความร้อนที่ได้รับการปรับปรุงมาเป็นอย่างดี มาพร้อมสเปกตัวแรงอย่าง Intel Core i7-7700HQ + GeForce GTX 1060 Max-Q สนนราคา 43,990 บาท

Advertisement

Specification

โดย Lenovo Legion Y520 ที่ได้นำมารีวิวในบทความนี้ จะเป็นตัวท็อป ใช้ชิปประมวลผลตัวแรง รุ่นล่าสุดอย่าง Intel Core i7-7700HQ (2.80 – 3.80 GHz) Gen 7 Kaby Lake ศักยภาพสูง มีชิปกราฟฟิกเพื่อการเล่นเกมโดยเฉพาะอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q  (3GB GDDR5) ซึ่งมีประสิทธิภาพความแรงกว่ารุ่น GTX 1050Ti พอตัว รองรับการเล่นเกมปัจจุบันได้ลื่นๆ ทั้งหมด

อีกทั้งได้ติดตั้งฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลความจุ 2 TB 5400 RPM พร้อมรองรับ SSD แบบ M.2 PCIe Gen 3 NVME โดยมีแรม DDR4 ขนาด 4 ขนาด 8GB หนึ่งแถว (รองรับการอัพเกรดอีกหนึ่งแถว) ตอบรับกับการใช้งานได้ดีในทุกรูปแบบทั้งเกม ทำงาน หรือบันเทิง

หน้าจอแสดงผล Lenovo Legion Y520 มีขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD หรือ 1920×1080 พิกเซล แบบด้านพาเนลจอ IPS ให้ความสวยงามสมจริง และมุมมองที่กว้างกว่าพาเนล TN ทั่วไป ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบถ้วน พร้อมรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 4.2 และอินเตอร์เน็ตไวเลสผ่าน 802.11a/b/g/n/ac

มิติของตัวเครื่อง Lenovo Legion Y520 มีขนาดตามมาตรฐานเมื่อเทียบกับ Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วทั่วไป บนน้ำหนักตัวเครื่องที่เบามากๆ เพียง 2.4 กิโลกรัม โดยสเปก Lenovo Legion Y520 แบบออกเป็น 6 รุ่นได้ดังต่อไปนี้

เรียกได้ว่าความต่างระหว่างรุ่นเริ่มต้นกับรุ่นท็อปมีความแตกต่างกันมากทีเดียวสำหรับการออกแบบดีไซน์ในโมเดล Lenovo Legion Y520 เหมือนกัน

Hardware / Design

Lenovo Legion Y520 Review-15

Lenovo Legion Y520 ถือเป็นซีรีส์ใหม่อีกหนึ่งรุ่นก็ว่าได้ เพราะจากเดิมจะมีแค่ Y700 ซึ่งจะเน้นวัสดุตัวเครื่อง และราคาที่สูงสักหน่อย แต่ Lenovo Legion Y520 จะมาในราคาที่คุ้มค่ากว่า ในสเปคที่สดใหม่ล่าสุดสำหรับคอเกม ทำให้การออกแบบและดีไซน์ตัวเครื่องของซีรีส์ Y กลับมาเข้าที่เข้าทางหลังจากที่มีอะไรขาดๆ เกินๆ มาหลายปี ดีไซน์ของตัวเครื่องนั้นลงตัวเอามากๆ

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์ พอร์ตต่างๆ หรือกระทั่งตำแหน่งของระบบระบายความร้อนก็ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและให้ประสิทธิภาพได้ดีมากๆ ที่ยังคงในเรื่องขงอสีสันที่เป็นตัวเครื่องสีดำตัดกับสีแดง ทำให้ดูดุดันอยู่

โดย Lenovo Legion Y520 วัสดุที่ใช้ในการประกอบตัวเครื่องนั้นจะเป็นพลาสติกทั้งหมด จากเดิมที่ในซีรีส์ Y นั้นจะใช้งานพลาสติกในส่วนด้านล่างของตัวเครื่องส่วนที่เป็นฝาพับด้านหน้าจอนั้นจะเป็นอลูมิเนียม ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้มีผลอะไรมากนัก เพราะงานประกอบรวมไปถึงวัสดุก็มีคุณภาพมาตรฐานเหมือนเดิม สำหรับฝาหลังจะเป็นลายแบบเคฟล่าที่ให้ความรู้สึกถึงพื้นผิวที่ไม่เรียบ ด้านในส่วนของคีย์บอร์ดและทัชแพดเป็นลักษณะซอฟต์ทัชให้ความรู้สึกกการใช้งานที่ดีรวมไปถึงทำความสะอาดได้ง่าย แต่ในระยะยาวก็ต้องระวังเรื่องของบริเวณที่วางมือจะเป็นรอยได้

ส่วนในเรื่องความหนาและน้ำหนักของตัวเครื่องที่ค่อนข้างจะมากถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการใช้งานทั่วไปที่มีขนาดหน้าจออยู่ที่ 15.6 นิ้ว ด้วยน้ำหนักตัวเครื่องที่ 2.4 กิโลกรัม และความหนาสุดที่ 25.8 มิลลิเมตร (บางสุด 17 มิลลิเมตร) นั้นทำให้ Lenovo Legion Y520 สามารถพอที่จะพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างไม่ยากเย็นจนเกินไปนัก

Lenovo Legion Y520 Review-25

ถึงแม้ว่าวัสดุจะถูกเปลี่ยนมาใช้แบบถูก แต่เรื่องของดีไซน์นั้นดูเหมือนกับว่าทาง Lenovo จะใส่ใจมาค่อนข้างดี ไม่ว่าจะเป็นโค้งที่มุมของบานพับ (ระหว่างส่วนของหน้าจอด้านบนกับส่วนของคีย์บอร์ด) ถูกปรับปรุงใหม่ให้มีความสวยงามมากขึ้น การวางตำแหน่งของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ นั้นก็ลงตัวดีมีระยะห่างที่สวยงามและเวลาใช้งานนั้นพอร์ตที่อยู่ติดกันก็สามารถที่จะเสียบใช้งานอุปกรณ์ได้พร้อมๆ กัน ไม่เหมือนกับโน๊ตบุ๊คบางรุ่นที่จะไม่สามารถใช้งานพอร์ตที่ติดกันได้เนื่องจากมีพื้นที่น้อยเกินไป

ขอบตัวเครื่องด้านหลังจะทำให้เราเห็นถึงระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยในที่นี้เราจะพูดถึงตำแหน่งลมเข้าออกตัวเครื่องซึ่งถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมของในรุ่น Y700 ส่วนใต้ตัวเครื่องก็จะเห็นช่องดูดลมเย็นขนาดใหญ่ ทำให้เรามองไปเห็นถึงชุดพัดลมระบายความร้อนได้อย่างชัดเจน โดยบน Lenovo Legion Y520 นั้นเมื่อใช้งานไปนานๆ เราจะสังเกตได้ครับว่าตรงบริเวณลมเข้าและออกจากตัวเครื่องนั้นจะไม่มีฝุ่นเกาะเหมือนกับในรุ่น Y700 นั่นเป็นเพราะตัวระบบกรองฝุ่นได้ถูกเอาออกไปทำให้ฝุ่นที่เข้ามาจะเข้าและออกไปทางส่วนที่ใบพัดระบายความร้อนออก

Keyboard / Touchpad

Lenovo Legion Y520 Review-41

ตัวเครื่อง Lenovo Legion Y520 มาพร้อมกับหน้าจอใหญ่ถึง 15.6 นิ้ว นั้นทำให้สามารถที่จะติดตั้งคีย์บอร์ดแบบ Full Size สไตล์ Lenovo มาให้ผู้ใช้งานได้ใช้กันได้อย่างสบายๆ โดยมีปุ่มแป้น Numpad มาให้ รวมไปถึงแป้นปุ่มตรงตัวอักษร WASD ยังเป็นขอบสีแดงเด่นกว่าปุ่มอื่นๆ ซึ่งมาพร้อมกับไฟส่องสว่างสีแดงสวยงาม อย่างไรก็ตามตำแหน่งของปุ่ม Numpad อาจจะมีความแปลกซักหน่อย ที่โดยปกติแล้วนั้นจะอยู่บริเวณด้านซ้ายบนของชุดปุ่ม Numpad แต่ทว่ามันกลับมาอยู่ด้านล่างใกล้ๆ กับปุ่ม Enter ของคีย์บอร์ดหลัก ดังนั้นเมื่อใช้งานจริงแล้วจะพบว่าการกดปุ่ม Enter นั้นมักจะพลาดไปโดนปุ่ม Numpad บ่อยๆ อีกทั้งปุ่ม Enter ก็ยังเล็กกว่าปกติด้วย

ในส่วนของทัชแพดนั้นได้รับการออกแบบมาใหม่ที่ดูแล้วโฉบเฉี่ยว ลักษณะลาดเอียงลงเข้าไปหาปุ่มสำหรับคลิ๊กซ้ายขวา ดูแล้วมีความสวยงามไม่น้อยเลยสำหรับการดีไซน์ออกแบบ โดยรวมแล้วให้ความรู้สึกการใช้งานที่ดี แต่ปุ่มคลิ๊กยังให้การตอบสนองที่แข็งไปเสียหน่อย

Screen / Speaker

Lenovo Legion Y520 Review-50

ในส่วนของหน้าจอ Lenovo Legion Y520 เป็นแบบด้านที่ลดแสงสะท้อนขนาด 15.6″ บนความละเอียดในระดับ Full HD หรือ 1920 x 1080 พิกเซล ที่สำคัญพาเนลยังเป็น IPS คุณภาพสูง ให้การแสดงผลที่สมจริงแบบสุดๆ มุมมองกว้างที่ 178 องศา ทำให้สีสันค่อนข้างตรง เมื่อลองใช้งานจริงแล้วให้ประสบการณ์ใช้งานระดับที่น่าประทับใจ ทั้งการเล่นเกม ดูหนัง หรือชมวีดีโอจาก Youtube ก็สามารถมอบประสบการณ์ความบันเทิงให้อย่างดี จากความเรียบเนียนของพิกเซลและพื้นที่ในการใช้งานที่เหนือกว่า 1366 x 768 พิกเซลเดิมๆ หรือพวกที่เป็นพาเนล TN ทั่วไปมาก เรียกได้ว่า Lenovo Legion Y520 หน้าจอสวยงามไม่แพ้ Y700 รุ่นก่อนหน้าแน่นอน

จุดเด่นด้านเสียง คือ ระบบและการออกแบบลำโพงที่เป็นจุดเด่นอย่างแท้จริง ด้วยลำโพงขนาดใหญ่แยกซ้ายขวาที่ติดตั้งบริเวณขอบตัวเครื่องด้านบนจำนวน 2 ตัว โดยใช้ระบบเสียง Harman ซึ่งได้คุณภาพเสียงที่ดี แม้ว่าจะไม่มีลำโพง Subwoofer มาให้เหมือน Y700 ก็ยังมีมิติเสียงที่หนักแน่น สร้างประสบการณ์ที่ดูดีกว่าเสียงจากโน๊ตบุ๊คทั่วไปเลยทีเดียว

Connector / Thin And Weight

Lenovo Y520 4

Lenovo Legion Y520 จัดว่าเป็น Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว รุ่นการ์ดจอ GTX 1060 ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น 2x USB 3.0, 1x USB 3.1 Type-C, 1x USB 2.0  1x HDMI 1.4, SD(XC/HC),Mini DisplayPort, RJ45 (Killer E2400 Gigabit Ethernet with Killer Shield) และ Mic-in/Headphone-out

เรียกได้ว่าต่างกับรุ่นอื่นๆ ตรงที่ไม่มี Card Reader แต่ได้เป็น Mini DisplayPort แทน อย่างไรก็ตามสำหรับ USB 2.0 อีกหนึ่งพอร์ตนั้น ถ้าเป็น USB 3.0 ไปเลยจะดีมากๆ พร้อมรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Bluetooth 4.1 และอินเตอร์เน็ตไร้สายมาตรฐาน 802.11b/g/n/ac ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอรร์เน็ตมีความสเถียร จนส่งผลให้การเล่นเกมออนไลน์สามารถได้ลื่นๆ อีกด้วย

ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของโน๊ตบุ๊ค 15.6″ ทั่วไปถือได้ว่ามีมิติที่เล็กกว่าพอสมควร ส่วนของการพกพา Lenovo Legion Y520 ทำได้น่าพอใจไม่แพ้ Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ ด้วยน้ำหนัก 2.4 กิโลกรัม เมื่อรวมกับอแดปเตอร์ก็จะมีน้ำหนักรวมอยู่ที่ไม่เกิน 3 กิโลกรัมเท่านั้นเอง

Inside / Upgrade

Lenovo Legion Y520 Review-4

การแกะเครื่อง Lenovo Legion Y520 นั้นสามารถที่จะทำได้ค่อนข้างง่าย เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ส่วนวางตัวอยู่เช่นที่เห็นได้ชัดเจนก็คือแหล่งเก็บข้อมูลทั้ง 2 ประเภทซึ่งสามารถที่จะไขน๊อตแล้วอัพเกรดได้ทันที ทางด้านบนของตัวเครื่องจะเห็นที่วางพัดลมระบายความร้อนอยู่ส่วนทางด้านล่างของตัวเครื่องนั้นจะเป็นแบตเตอรี่ที่มีความจุอยู่ที่ 45 Wh (3500 mAh)

หลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะพบกับฮาร์ดแวร์ในส่วนที่สามารถทำการอัพเกรดได้ทันทีอย่างแหล่งเก็บข้อมูลแบบ SATA ขนาด 2.5 นิ้วกับ M.2 (รองรับเป็นแบบ NVMe) ที่ทั้ง 2 ส่วนนี้แค่ไขเอาน๊อคออกก็สามารถที่จะทำการอัพเกรดได้ทันทีโดยไม่ต้องไปยุ่งกับส่วนอื่นๆ สำหรับในส่วนของหน่วยความจำนั้นจะต้องถอดเอาที่ครอบออกก่อนจากนั้นก็จะเห็นหน่วยความจำโดยตัวเครื่องนั้นจะมี Slot สำหรับหน่วยความจำมาให้จำนวน 2 Slot ทำให้จริงๆ แล้วเราสามารถที่จะอัพเกรดหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 32 GB

ระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 นั้นมีทิศทางการไหลของลมที่ดีขึ้นจากเดิมพอสมควร (อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่ามันสามารถที่จะจัดการกับฝุ่นที่ไหลเข้าและออกได้เป็นอย่างดี) แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่การจัดการเรื่องของทิศทางการไหลของลมเท่านั้นเพราะเมื่อแกะดูภายในเครื่องแล้วนั้นจะเห็นได้เลยครับว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 ยังคงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (ดังนั้นแล้วเรื่องที่เปลี่ยนไปก็คือส่วนของที่ครอบซึ่งอยู่ด้านนอกที่ทำให้ทิศทางของลมดีขึ้น)

ส่วนที่ใช้ในการพัดลมเข้าออกนั้นจะอยู่ที่บริเวณด้านหลังของตัวเครื่อง (ที่มีครีบระบายความร้อนเป็นทองแดงอยู่ โดยการเชื่อมต่อระหว่างส่วนของพัดลมนี้กับชิปกราฟิกและชิปกราฟิกจะทำผ่าน Heat Pipe จำนวน 2 ท่อที่วางตัวยาวตั้งแต่ส่วนของชิปประมวลเรื่อยมาจนถึงส่วนที่เป็นครีบระบายความร้อนทองแดงทางด้านหลังของตัวเครื่อง

*ใช้รูปจากรุ่นเริ่มต้น ตัวเดียวกับรีวิว Lenovo Legion Y520 ก่อนหน้านี้

Performance / Software

c1   c2

โดยมาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-7700HQ (รุ่นยอดนิยมประจำปี 2017) ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.80 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.80 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads รุ่นใหม่ล่าสุดที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไปมากๆ หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง Intel Core i7-6700HQ มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 บัส 2400 MHz (รองรับการอัพเกรดอีกหนึ่งแถว)

g2   g1

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics 530 รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา

อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี หรือถ้าเทียบกับรุ่นก่อนก็บอกได้เลยว่าแรงระดับ GTX 980M ด้วยซ้ำ (แต่แรมน้อยกว่า) เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว ทำให้รองรับเกมใหม่ๆ ที่ความละเอียด Full HD ได้อย่างไม่ต้องกังวลเหมือนกับชิปกราฟิกรุ่นอื่นๆ

cine 2

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

hdd 2

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1TB แบบความเร็ว 7200 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 29.4 MB/s และสูงสุดที่ 136.7 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 95.3 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 19.3 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว เรียกได้ว่าทำได้ดีตามาตรฐานฮาร์ดดิสก์ปกติที่ 5400 รอบ

GameTestY50GTX1060

โดยผลเฟรมเรทในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 7 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 30FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ที่ความละเอียด Full HD ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกที่สูง ได้ภาพสวยๆ ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1060 (3GB) Max-Q ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4  รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 7200 รอบ (ใช้ติดตั้งเกม)

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Ghost Recon Wildlands (High) / Battlefield 1 (Ultra) /GTA V (High) / Rise of the Tomb Raider (Ultra) ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ตาม Native ของหน้าจอ โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ภาพก็สวยจนน่าประทับใจแบบที่สุด ซึ่งดูจากเฟรมเรทเฉลี่ยแล้วแทบไม่ต่ำไปกว่า 30FPS เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุด

แม้ว่าต้องยอมว่ามีข้อสังเกตุว่ามีภาพฉีกอยู่บ้างกับเกมบางฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ จากการที่หน้าจอไม่ได้เป็น G-Sync เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แต่ในส่วนของพาเนล IPS ก็ทำหน้าที่เรื่องสีสันได้ดีเช่นเดิม รวมไปถึงแรมการ์ดจอ 3GB นั้น ก็มีผลกับเกมพวก Open World เหมือนกัน เช่น GTA V เฟรมจะต่ำกว่า GTX 1050 / GTX 1050Ti เสียอีก

อีก 3 เกมออนไลน์ที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง Overwatch (Epic)/ DOTA 2 (Best)/ PUBG (Ultra) ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ (เว้นแต่ PUBG ที่เฟรมเรทจะต่ำหน่อย เพราะเกมค่อนข้างหนัก เพราะแรมการ์ดจอ 3GB น้อยไป) สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยแทบไม่ต่ำ 60 เฟรมเช่นกัน สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง

ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการทดสอบในส่วนของ Lenovo Legion Y520 รุ่น GTX 1050 และ GTX 1050Ti จะเห็นได้ชัดว่าตัวท็อปสามารถทำเฟรมเรทได้ดียิ่งกว่า ประมาณ 3 – 10 + เฟรมเรท ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่แล้วแต่เกม หรือบางเกมอาจจะมีเฟรมเรทไม่ได้ต่างกันนักอย่าง DOTA 2 แต่ถ้าพูดถึงระบบโดยรวมกรณีที่ตัวเริ่มต้นไม่ได้อัพเกรดขึ้นมาล่ะก็ จะมีความต่างกันพอสมควรเลยทีเดียว

game test Lenovo Y520

y520 ti

นอกจากนั้นยังมาพร้อมซอฟต์แวร์ Lenovo Nerve Sense ที่ช่วยตรวจเช็กสเปคตัวเครื่อง เพิ่มรอบพัดลมช่วยในการระบายความร้อน พร้อมเชื่อมต่อปรับจูนกับเกมที่ลงไว้ในเครื่องได้ด้วย เรียกได้ว่าทำให้การใช้งาน Gaming Notebook อย่าง Lenovo Legion Y520 ใช้งานได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการเล่นเกมมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของรุ่นใหญ่อย่าง Lenovo Legion Y720 จะมาพร้อมการตั้งค่าที่ซับซ้อนกว่านี้อีกด้วย

lenovo

Battery / Heat / Noise

batt1

Lenovo Legion Y520 นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ประมาณ 3,500 mAh ซึ่งจะว่าไปแล้วนั้นก็ค่อนข้างที่จะน้อยไปหน่อย แต่เมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าโอเคเลย โดยสามารถใช้งาน Wi-Fi เพื่อท่องเว็บได้ยาวนานประมาณ 4 – 5  ชั่วโมง ซึ่งหากดูตามตารางแล้วนั้นจะเห็นได้ครับว่า Lenovo Legion Y520 ทำเวลาได้ใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คที่ใช้ Core i7 รุ่นเดียวกันในหลายๆ รุ่นด้วยกัน

ส่วนของอุณหภูมิถือว่าสามารถที่จะทำได้ดีตอนที่ใช้งานเครื่องแบบไปบีบขั้นทรัพยากรมากนัก และถึงจะเป็นการเล่นเกมที่เน้น GPU และ CPU เข้ามาด้วยเป็นเวลานานๆ นั้นก็พบว่าระดับของอุณหภูมิในจุดต่างๆ ของตัวเครื่องจะเพิ่มขึ้นมาน้อยมาก จุดที่มีอุณหภูมืที่หนักที่สุดจะอยู่ที่ ตรงกลางขอบเครื่องแต่ก็ใช้เวลาถ่ายความร้อนออกไปได้ไม่นานมากเท่าไรนักอันนี้คงต้องยอมรับหล่ะครับว่าระบบระบายความร้อนของเขาดีจริงๆ  และสำหรับนักเล่นเกมที่ใช้คีย์บอร์ดเล่นเป็นประจำนั้น บริเวณของปุ่ม WASD ก็มีความร้อนสะสมน้อยเช่นกัน

temp3

ส่วนของอุณหภูมิการระบายความร้อน Lenovo Legion Y520 ถือว่าสามารถที่จะทำได้ดีขณะที่เราเล่นเกมทดสอบเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเล่นเกมที่เน้นชิปประมวลผลกับชิปกราฟิกพบว่าระดับของอุณหภูมิในจุดต่างๆ ของตัวเครื่องจะเพิ่มขึ้นมาน้อยมาก จุดที่มีอุณหภูมืที่หนักที่สุดจะอยู่ที่ ตรงกลางขอบเครื่องด้านหลัง แต่ก็ใช้เวลาถ่ายความร้อนออกไปได้ไม่นานมากเท่าไรนักเมื่อเราใช้งานทั่วไป อันนี้คงต้องยอมรับว่าระบบระบายความร้อนทำได้น่าประทับใจอยู่ จากการที่มีพัดลมสองตัว พร้อมฮีตไปป์สองเส้นเป่าออกด้านหลัง และเทคโนโลยี Lenovo ช่วยจัดการ

อุณหภูมิต่ำสุดของเครื่องจะอยู่ที่ 36 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 81 องศาเซลเซียสเท่านั้น ด้วยการทดสอบให้ห้องแอร์ปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส จากการเล่นเกมยาวๆ หลายเกมต่อเนื่อง เรียกได้ว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีตามมาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2017 ทีเดียว ฉะนั้นหายห่วงเรื่องนี้ได้เลย อีกทั้งเรียกว่าทำได้ดีกว่ารุ่นพี่อย่าง Ideapad Y700 อยู่พอสมควรเลย

ทั้งนี้ในการใช้งานทั่วไปตามปกตินั้น (เช่นท่องเว็บ, พิมพ์งาน ฯลฯ) เราจะแทบไม่ได้ยินเสียงของระบบระบายความร้อนเลยแม้แต่น้อย  งานนี้ทาง Lenovo ทำการบ้านมาดีมาก ทำงานได้ค่อนข้างเบาและเงียบทีเดียว อย่างไรก็ตามเมื่อไรก็ตามที่เราต้องใช้การทำงานทั้งจาก CPU และ GPU (เช่นการเล่นเกม) เรื่องของเสียงพัดลมนั้นจะไม่มีเสียงดังรบกวนจนเกินไปนัก แม้ว่าจะใช้งานหนักๆ ก็ตาม

Conclusion / Award

Lenovo Legion Y520 Review-35

สำหรับคนที่ต้องการ Gaming Notebook ราคาสี่หมื่นต้นๆ ตัวแรง อย่าง Lenovo Legion Y520 ตัวท็อปจากการมาของสเปกใหม่ล่าสุดอย่างชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่ได้มีการจับคู่ควงแขนมากับชิปกราฟิก NVIDIA GeForce GTX 1060 MAx-Q ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสเปกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสเปกยอดนิยมที่ Gaming Notebook ทั่วไป ที่เป็นเพียง GTX 1050 / GTX 1050Ti

Lenovo Legion Y520 ถือว่าเป็น Gaming Notebook คุ้มค่าคุ้มราคามาก ทั้งในส่วนของสเปกที่หลากหลายตั้งแต่ Core i5 + GTX 1050 จนไปถึง Core i7 + GTX 1060 และดีไซน์ที่สดใหม่ประจำปี 2017 รวมถึงมีระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้นสมกับที่เป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการเล่นเกม โดยรุ่นที่นำมารีวิวครั้งนี้ก็เป็นสเปกตัวท็อป ที่เน้นความแรงด้วยชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ และชิปกราฟิก NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q ส่วนแรมเดิมๆ มา 8GB ฮาร์ดดิสก์อีก 2TB ซึ่งตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่า ถ้ามีโอกาสก็อัพเกรด SSD M.2 ด้วยก็ดี (งบถึงก็ไปตัว SSD NVMe เลย)

Lenovo Legion Y520 Review-54

เรียกได้ว่าถ้าใครงบถึงตัวท็อปด้วยราคาสี่หมื่นต้นๆ บาท ก็โดดไปเล่นตัวนี้เลยจะดีกว่า เพราได้อะไรที่คุ้มค่ากว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของแรมที่เป็น 8GB แถวเดียว ทำให้รองรับการอัพเกรดอีกแถวสูงสุด 16GB พร้อมใช้งานทันที ที่สำคัญยังได้ในส่วนของการ์ดจอตัวแรงกง่าอย่าง GTX 1060 Max-Q ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าประมาณ 20 – 30% โดยทำให้เฟรมเรทของเกมลื่นกว่าประมาณ 5 – 20 เฟรมเรทเลยทีเดียว เทียบแล้วบวกไป 5,000 บาท แต่คุ้มแน่นอนกลับประสิทธิภาพที่เหนือกว่ารุ่น GTX 1050Ti รวมไปถึงการ์ดจอ GTX 1060 Max-Q ไม่ได้ทำให้เครื่องทำงานร้อนกว่าแต่อย่างใด แต่ก็มีข้อสังเกตว่าเมื่อเล่นเกมประเภท Open World ที่กินแรมเยอะๆ ก็จะเฟรมเรทที่ต่ำกว่าพวกการ์ดจอ GTX 1050 / GTX 1050Ti เสียอีก (ซะงั้น)

Lenovo Legion Y520 Review-48

ในเรื่องของหน้าจอพาเนล IPS ความละเอียด Full HD ก็ถือว่าทำได้เป็นอย่างดีและน่าประทับใจ ในส่วนของระบบเสียงก็น่าทับใจไม่แพ้กัน รวมไปถึงพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ ก็ทำได้ตามาตรฐานที่ควรจะเป็นของ Gaming Notebook ปี 2017 ส่วนข้อสังเกตก็จะเป็นเรื่องของวัสดุตัวเครื่องที่เป็นพลาสติก (เอาเข้าจริงก็ไม่ได้มีผลอะไร) และทัชแพดที่อาจจะตอบสนองได้ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งตรงนี้เชื่อได้ว่าสำหรับคนที่เล่นเกมคงใช้เมาส์เป็นหลักอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากมาย

ในตลาดตอนนี้ในช่วงราคานี้สเปกแบบนี้ก็มีตัวเลือกอยู่หลากหลายรุ่น Lenovo Legion Y520 ตัวท็อปก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับใครอยากได้จอพาเนล IPS แต่ไม่ต้อง Windows 10 ก็น่าจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีทีเดียว ที่สำคัญ SSD รองรับเป็น NVMe เสียด้วย แถมโดดเด่นด้วยความเร็วระดับ 3300MB/s อีกด้วย

ข้อดี

  • ดีไซน์สวยงาม ดุดัน โดดเด่นไม่แพ้รุ่นอื่นๆ
  • ตัวเครื่องงานประกอบดีเยี่ยม แม้วัสดุจะเป็นพลาสติก
  • สเปคสูงด้วย Core i7-7700HQ + GTX 1060 Max-Q
  • มาพร้อม RAM 8GB + HDD 2TB พร้อมใช้งานทันที
  • ประสิทธิภาพการเล่นเกมทำได้ดีเยี่ยม
  • หน้าจอความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพสูง สวยงามสมจริง
  • ลำโพงคุณภาพเสียงดี น่าประทับใจ
  • ชุดคีย์บอร์ดมีไฟสวยงาม
  • มีพอร์ตการเชื่อมต่อ และมีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ mini DisplayPort มาให้
  • ระบบระบายความร้อนที่ดีกว่าเดิม แถมฝุ่นที่เกาะตรงตัวเครื่องมีปริมาณลดลง
  • แม้ทำงานหนัก แต่พัดลมไม่ดังมากจนรบกวน

ข้อเสีย

  • คีย์บอร์ดดูแปลกๆ ไปส่วนของ Numpad และ Enter
  • ทัชแพดตอบสนองได้ไม่เต็มที่นัก
  • บริเวณที่วางมืออาจจะเป็นรอยได้ ต้องดูแลรักษาให้ดี
  • ไม่มี SSD และ Windows 10 ติดตั้งมาให้
  • การ์ดจอ GTX 1060 Max-Q แม้จะแรง แต่พอเจอเกมกินแรมการ์ดจอเยอะๆ ก็เฟรมตกลงเหมือนกัน

AWARDS

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง Lenovo Legion Y520 รุ่นท็อปก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Multimedia

award_use_2_create_21
ระบบเสียง Harman บนหน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้วความละเอียดแบบ Full HD พาเนล IPS แถมมาพร้อมด้วยสเปคของระบบที่สดใหม่และเร็วแรง สามารถตอบสนองความบันเทิงได้ในทุกๆ รูปแบบไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมก็ทำได้เป็นอย่างจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Lenovo Legion Y520 จะได้รางวัลนี้ไป

Best Design

award_use_2_create_12

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Lenovo มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน Lenovo Legion Y520 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามดุดัน เรียกได้ว่าได้เค้าโครงจากรุ่นพี่อย่าง Y Series มาเต็มๆ รวมไปถึงงานการประกอบก็ระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่แล้ว ถือว่าทำได้ดีในแง่ของการดีไซน์ Gaming Notebook ในช่วงราคานี้

Best Performance

award_use_2_create_05

Lenovo Legion Y520 มีสเปคที่ครบครัน ทั้งชิบประมวลผล Core i7-7700HQ และการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 (3GB GDDR5) พร้อมแรมตัวเครื่องขนาด 8GB มาตรฐานใหม่แบบ DDR4 ขนาด 8GB (อัพเกรดได้อีกแถว) ให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วสูงถึง 3300MB/s ความเร็วสูงรองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ กันได้หลายๆ งาน รวมถึงเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล

 

Specification

โดย Lenovo Legion Y520 ที่ได้นำมารีวิวในบทความนี้ จะเป็นตัวท็อป ใช้ชิปประมวลผลตัวแรง รุ่นล่าสุดอย่าง Intel Core i7-7700HQ (2.80 – 3.80 GHz) Gen 7 Kaby Lake ศักยภาพสูง มีชิปกราฟฟิกเพื่อการเล่นเกมโดยเฉพาะอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q  (3GB GDDR5) ซึ่งมีประสิทธิภาพความแรงกว่ารุ่น GTX 1050Ti พอตัว รองรับการเล่นเกมปัจจุบันได้ลื่นๆ ทั้งหมด

อีกทั้งได้ติดตั้งฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลความจุ 2 TB 5400 RPM พร้อมรองรับ SSD แบบ M.2 PCIe Gen 3 NVME โดยมีแรม DDR4 ขนาด 4 ขนาด 8GB หนึ่งแถว (รองรับการอัพเกรดอีกหนึ่งแถว) ตอบรับกับการใช้งานได้ดีในทุกรูปแบบทั้งเกม ทำงาน หรือบันเทิง

หน้าจอแสดงผล Lenovo Legion Y520 มีขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD หรือ 1920×1080 พิกเซล แบบด้านพาเนลจอ IPS ให้ความสวยงามสมจริง และมุมมองที่กว้างกว่าพาเนล TN ทั่วไป ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบถ้วน พร้อมรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 4.2 และอินเตอร์เน็ตไวเลสผ่าน 802.11a/b/g/n/ac

มิติของตัวเครื่อง Lenovo Legion Y520 มีขนาดตามมาตรฐานเมื่อเทียบกับ Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วทั่วไป บนน้ำหนักตัวเครื่องที่เบามากๆ เพียง 2.4 กิโลกรัม โดยสเปก Lenovo Legion Y520 แบบออกเป็น 6 รุ่นได้ดังต่อไปนี้

เรียกได้ว่าความต่างระหว่างรุ่นเริ่มต้นกับรุ่นท็อปมีความแตกต่างกันมากทีเดียวสำหรับการออกแบบดีไซน์ในโมเดล Lenovo Legion Y520 เหมือนกัน

Hardware / Design

Lenovo Legion Y520 Review-15

Lenovo Legion Y520 ถือเป็นซีรีส์ใหม่อีกหนึ่งรุ่นก็ว่าได้ เพราะจากเดิมจะมีแค่ Y700 ซึ่งจะเน้นวัสดุตัวเครื่อง และราคาที่สูงสักหน่อย แต่ Lenovo Legion Y520 จะมาในราคาที่คุ้มค่ากว่า ในสเปคที่สดใหม่ล่าสุดสำหรับคอเกม ทำให้การออกแบบและดีไซน์ตัวเครื่องของซีรีส์ Y กลับมาเข้าที่เข้าทางหลังจากที่มีอะไรขาดๆ เกินๆ มาหลายปี ดีไซน์ของตัวเครื่องนั้นลงตัวเอามากๆ

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์ พอร์ตต่างๆ หรือกระทั่งตำแหน่งของระบบระบายความร้อนก็ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและให้ประสิทธิภาพได้ดีมากๆ ที่ยังคงในเรื่องขงอสีสันที่เป็นตัวเครื่องสีดำตัดกับสีแดง ทำให้ดูดุดันอยู่

โดย Lenovo Legion Y520 วัสดุที่ใช้ในการประกอบตัวเครื่องนั้นจะเป็นพลาสติกทั้งหมด จากเดิมที่ในซีรีส์ Y นั้นจะใช้งานพลาสติกในส่วนด้านล่างของตัวเครื่องส่วนที่เป็นฝาพับด้านหน้าจอนั้นจะเป็นอลูมิเนียม ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้มีผลอะไรมากนัก เพราะงานประกอบรวมไปถึงวัสดุก็มีคุณภาพมาตรฐานเหมือนเดิม สำหรับฝาหลังจะเป็นลายแบบเคฟล่าที่ให้ความรู้สึกถึงพื้นผิวที่ไม่เรียบ ด้านในส่วนของคีย์บอร์ดและทัชแพดเป็นลักษณะซอฟต์ทัชให้ความรู้สึกกการใช้งานที่ดีรวมไปถึงทำความสะอาดได้ง่าย แต่ในระยะยาวก็ต้องระวังเรื่องของบริเวณที่วางมือจะเป็นรอยได้

ส่วนในเรื่องความหนาและน้ำหนักของตัวเครื่องที่ค่อนข้างจะมากถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการใช้งานทั่วไปที่มีขนาดหน้าจออยู่ที่ 15.6 นิ้ว ด้วยน้ำหนักตัวเครื่องที่ 2.4 กิโลกรัม และความหนาสุดที่ 25.8 มิลลิเมตร (บางสุด 17 มิลลิเมตร) นั้นทำให้ Lenovo Legion Y520 สามารถพอที่จะพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างไม่ยากเย็นจนเกินไปนัก

Lenovo Legion Y520 Review-25

ถึงแม้ว่าวัสดุจะถูกเปลี่ยนมาใช้แบบถูก แต่เรื่องของดีไซน์นั้นดูเหมือนกับว่าทาง Lenovo จะใส่ใจมาค่อนข้างดี ไม่ว่าจะเป็นโค้งที่มุมของบานพับ (ระหว่างส่วนของหน้าจอด้านบนกับส่วนของคีย์บอร์ด) ถูกปรับปรุงใหม่ให้มีความสวยงามมากขึ้น การวางตำแหน่งของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ นั้นก็ลงตัวดีมีระยะห่างที่สวยงามและเวลาใช้งานนั้นพอร์ตที่อยู่ติดกันก็สามารถที่จะเสียบใช้งานอุปกรณ์ได้พร้อมๆ กัน ไม่เหมือนกับโน๊ตบุ๊คบางรุ่นที่จะไม่สามารถใช้งานพอร์ตที่ติดกันได้เนื่องจากมีพื้นที่น้อยเกินไป

ขอบตัวเครื่องด้านหลังจะทำให้เราเห็นถึงระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยในที่นี้เราจะพูดถึงตำแหน่งลมเข้าออกตัวเครื่องซึ่งถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมของในรุ่น Y700 ส่วนใต้ตัวเครื่องก็จะเห็นช่องดูดลมเย็นขนาดใหญ่ ทำให้เรามองไปเห็นถึงชุดพัดลมระบายความร้อนได้อย่างชัดเจน โดยบน Lenovo Legion Y520 นั้นเมื่อใช้งานไปนานๆ เราจะสังเกตได้ครับว่าตรงบริเวณลมเข้าและออกจากตัวเครื่องนั้นจะไม่มีฝุ่นเกาะเหมือนกับในรุ่น Y700 นั่นเป็นเพราะตัวระบบกรองฝุ่นได้ถูกเอาออกไปทำให้ฝุ่นที่เข้ามาจะเข้าและออกไปทางส่วนที่ใบพัดระบายความร้อนออก

Keyboard / Touchpad

Lenovo Legion Y520 Review-41

ตัวเครื่อง Lenovo Legion Y520 มาพร้อมกับหน้าจอใหญ่ถึง 15.6 นิ้ว นั้นทำให้สามารถที่จะติดตั้งคีย์บอร์ดแบบ Full Size สไตล์ Lenovo มาให้ผู้ใช้งานได้ใช้กันได้อย่างสบายๆ โดยมีปุ่มแป้น Numpad มาให้ รวมไปถึงแป้นปุ่มตรงตัวอักษร WASD ยังเป็นขอบสีแดงเด่นกว่าปุ่มอื่นๆ ซึ่งมาพร้อมกับไฟส่องสว่างสีแดงสวยงาม อย่างไรก็ตามตำแหน่งของปุ่ม Numpad อาจจะมีความแปลกซักหน่อย ที่โดยปกติแล้วนั้นจะอยู่บริเวณด้านซ้ายบนของชุดปุ่ม Numpad แต่ทว่ามันกลับมาอยู่ด้านล่างใกล้ๆ กับปุ่ม Enter ของคีย์บอร์ดหลัก ดังนั้นเมื่อใช้งานจริงแล้วจะพบว่าการกดปุ่ม Enter นั้นมักจะพลาดไปโดนปุ่ม Numpad บ่อยๆ อีกทั้งปุ่ม Enter ก็ยังเล็กกว่าปกติด้วย

ในส่วนของทัชแพดนั้นได้รับการออกแบบมาใหม่ที่ดูแล้วโฉบเฉี่ยว ลักษณะลาดเอียงลงเข้าไปหาปุ่มสำหรับคลิ๊กซ้ายขวา ดูแล้วมีความสวยงามไม่น้อยเลยสำหรับการดีไซน์ออกแบบ โดยรวมแล้วให้ความรู้สึกการใช้งานที่ดี แต่ปุ่มคลิ๊กยังให้การตอบสนองที่แข็งไปเสียหน่อย

Screen / Speaker

Lenovo Legion Y520 Review-50

ในส่วนของหน้าจอ Lenovo Legion Y520 เป็นแบบด้านที่ลดแสงสะท้อนขนาด 15.6″ บนความละเอียดในระดับ Full HD หรือ 1920 x 1080 พิกเซล ที่สำคัญพาเนลยังเป็น IPS คุณภาพสูง ให้การแสดงผลที่สมจริงแบบสุดๆ มุมมองกว้างที่ 178 องศา ทำให้สีสันค่อนข้างตรง เมื่อลองใช้งานจริงแล้วให้ประสบการณ์ใช้งานระดับที่น่าประทับใจ ทั้งการเล่นเกม ดูหนัง หรือชมวีดีโอจาก Youtube ก็สามารถมอบประสบการณ์ความบันเทิงให้อย่างดี จากความเรียบเนียนของพิกเซลและพื้นที่ในการใช้งานที่เหนือกว่า 1366 x 768 พิกเซลเดิมๆ หรือพวกที่เป็นพาเนล TN ทั่วไปมาก เรียกได้ว่า Lenovo Legion Y520 หน้าจอสวยงามไม่แพ้ Y700 รุ่นก่อนหน้าแน่นอน

จุดเด่นด้านเสียง คือ ระบบและการออกแบบลำโพงที่เป็นจุดเด่นอย่างแท้จริง ด้วยลำโพงขนาดใหญ่แยกซ้ายขวาที่ติดตั้งบริเวณขอบตัวเครื่องด้านบนจำนวน 2 ตัว โดยใช้ระบบเสียง Harman ซึ่งได้คุณภาพเสียงที่ดี แม้ว่าจะไม่มีลำโพง Subwoofer มาให้เหมือน Y700 ก็ยังมีมิติเสียงที่หนักแน่น สร้างประสบการณ์ที่ดูดีกว่าเสียงจากโน๊ตบุ๊คทั่วไปเลยทีเดียว

Connector / Thin And Weight

Lenovo Y520 4

Lenovo Legion Y520 จัดว่าเป็น Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว รุ่นการ์ดจอ GTX 1060 ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น 2x USB 3.0, 1x USB 3.1 Type-C, 1x USB 2.0  1x HDMI 1.4, SD(XC/HC),Mini DisplayPort, RJ45 (Killer E2400 Gigabit Ethernet with Killer Shield) และ Mic-in/Headphone-out

เรียกได้ว่าต่างกับรุ่นอื่นๆ ตรงที่ไม่มี Card Reader แต่ได้เป็น Mini DisplayPort แทน อย่างไรก็ตามสำหรับ USB 2.0 อีกหนึ่งพอร์ตนั้น ถ้าเป็น USB 3.0 ไปเลยจะดีมากๆ พร้อมรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Bluetooth 4.1 และอินเตอร์เน็ตไร้สายมาตรฐาน 802.11b/g/n/ac ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอรร์เน็ตมีความสเถียร จนส่งผลให้การเล่นเกมออนไลน์สามารถได้ลื่นๆ อีกด้วย

ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของโน๊ตบุ๊ค 15.6″ ทั่วไปถือได้ว่ามีมิติที่เล็กกว่าพอสมควร ส่วนของการพกพา Lenovo Legion Y520 ทำได้น่าพอใจไม่แพ้ Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ ด้วยน้ำหนัก 2.4 กิโลกรัม เมื่อรวมกับอแดปเตอร์ก็จะมีน้ำหนักรวมอยู่ที่ไม่เกิน 3 กิโลกรัมเท่านั้นเอง

Inside / Upgrade

Lenovo Legion Y520 Review-4

การแกะเครื่อง Lenovo Legion Y520 นั้นสามารถที่จะทำได้ค่อนข้างง่าย เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ส่วนวางตัวอยู่เช่นที่เห็นได้ชัดเจนก็คือแหล่งเก็บข้อมูลทั้ง 2 ประเภทซึ่งสามารถที่จะไขน๊อตแล้วอัพเกรดได้ทันที ทางด้านบนของตัวเครื่องจะเห็นที่วางพัดลมระบายความร้อนอยู่ส่วนทางด้านล่างของตัวเครื่องนั้นจะเป็นแบตเตอรี่ที่มีความจุอยู่ที่ 45 Wh (3500 mAh)

หลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะพบกับฮาร์ดแวร์ในส่วนที่สามารถทำการอัพเกรดได้ทันทีอย่างแหล่งเก็บข้อมูลแบบ SATA ขนาด 2.5 นิ้วกับ M.2 (รองรับเป็นแบบ NVMe) ที่ทั้ง 2 ส่วนนี้แค่ไขเอาน๊อคออกก็สามารถที่จะทำการอัพเกรดได้ทันทีโดยไม่ต้องไปยุ่งกับส่วนอื่นๆ สำหรับในส่วนของหน่วยความจำนั้นจะต้องถอดเอาที่ครอบออกก่อนจากนั้นก็จะเห็นหน่วยความจำโดยตัวเครื่องนั้นจะมี Slot สำหรับหน่วยความจำมาให้จำนวน 2 Slot ทำให้จริงๆ แล้วเราสามารถที่จะอัพเกรดหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 32 GB

ระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 นั้นมีทิศทางการไหลของลมที่ดีขึ้นจากเดิมพอสมควร (อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่ามันสามารถที่จะจัดการกับฝุ่นที่ไหลเข้าและออกได้เป็นอย่างดี) แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่การจัดการเรื่องของทิศทางการไหลของลมเท่านั้นเพราะเมื่อแกะดูภายในเครื่องแล้วนั้นจะเห็นได้เลยครับว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 ยังคงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (ดังนั้นแล้วเรื่องที่เปลี่ยนไปก็คือส่วนของที่ครอบซึ่งอยู่ด้านนอกที่ทำให้ทิศทางของลมดีขึ้น)

ส่วนที่ใช้ในการพัดลมเข้าออกนั้นจะอยู่ที่บริเวณด้านหลังของตัวเครื่อง (ที่มีครีบระบายความร้อนเป็นทองแดงอยู่ โดยการเชื่อมต่อระหว่างส่วนของพัดลมนี้กับชิปกราฟิกและชิปกราฟิกจะทำผ่าน Heat Pipe จำนวน 2 ท่อที่วางตัวยาวตั้งแต่ส่วนของชิปประมวลเรื่อยมาจนถึงส่วนที่เป็นครีบระบายความร้อนทองแดงทางด้านหลังของตัวเครื่อง

*ใช้รูปจากรุ่นเริ่มต้น ตัวเดียวกับรีวิว Lenovo Legion Y520 ก่อนหน้านี้

Performance / Software

c1   c2

โดยมาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-7700HQ (รุ่นยอดนิยมประจำปี 2017) ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.80 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.80 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads รุ่นใหม่ล่าสุดที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไปมากๆ หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าแรงกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง Intel Core i7-6700HQ มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 บัส 2400 MHz (รองรับการอัพเกรดอีกหนึ่งแถว)

g2   g1

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 630 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics 530 รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา

อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี หรือถ้าเทียบกับรุ่นก่อนก็บอกได้เลยว่าแรงระดับ GTX 980M ด้วยซ้ำ (แต่แรมน้อยกว่า) เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว ทำให้รองรับเกมใหม่ๆ ที่ความละเอียด Full HD ได้อย่างไม่ต้องกังวลเหมือนกับชิปกราฟิกรุ่นอื่นๆ

cine 2

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

hdd 2

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1TB แบบความเร็ว 7200 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 29.4 MB/s และสูงสุดที่ 136.7 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 95.3 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 19.3 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว เรียกได้ว่าทำได้ดีตามาตรฐานฮาร์ดดิสก์ปกติที่ 5400 รอบ

GameTestY50GTX1060

โดยผลเฟรมเรทในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 7 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 30FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ที่ความละเอียด Full HD ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกที่สูง ได้ภาพสวยๆ ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1060 (3GB) Max-Q ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4  รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 7200 รอบ (ใช้ติดตั้งเกม)

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Ghost Recon Wildlands (High) / Battlefield 1 (Ultra) /GTA V (High) / Rise of the Tomb Raider (Ultra) ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ตาม Native ของหน้าจอ โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ภาพก็สวยจนน่าประทับใจแบบที่สุด ซึ่งดูจากเฟรมเรทเฉลี่ยแล้วแทบไม่ต่ำไปกว่า 30FPS เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุด

แม้ว่าต้องยอมว่ามีข้อสังเกตุว่ามีภาพฉีกอยู่บ้างกับเกมบางฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ จากการที่หน้าจอไม่ได้เป็น G-Sync เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แต่ในส่วนของพาเนล IPS ก็ทำหน้าที่เรื่องสีสันได้ดีเช่นเดิม รวมไปถึงแรมการ์ดจอ 3GB นั้น ก็มีผลกับเกมพวก Open World เหมือนกัน เช่น GTA V เฟรมจะต่ำกว่า GTX 1050 / GTX 1050Ti เสียอีก

อีก 3 เกมออนไลน์ที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง Overwatch (Epic)/ DOTA 2 (Best)/ PUBG (Ultra) ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ (เว้นแต่ PUBG ที่เฟรมเรทจะต่ำหน่อย เพราะเกมค่อนข้างหนัก เพราะแรมการ์ดจอ 3GB น้อยไป) สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยแทบไม่ต่ำ 60 เฟรมเช่นกัน สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง

ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการทดสอบในส่วนของ Lenovo Legion Y520 รุ่น GTX 1050 และ GTX 1050Ti จะเห็นได้ชัดว่าตัวท็อปสามารถทำเฟรมเรทได้ดียิ่งกว่า ประมาณ 3 – 10 + เฟรมเรท ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่แล้วแต่เกม หรือบางเกมอาจจะมีเฟรมเรทไม่ได้ต่างกันนักอย่าง DOTA 2 แต่ถ้าพูดถึงระบบโดยรวมกรณีที่ตัวเริ่มต้นไม่ได้อัพเกรดขึ้นมาล่ะก็ จะมีความต่างกันพอสมควรเลยทีเดียว

game test Lenovo Y520

y520 ti

นอกจากนั้นยังมาพร้อมซอฟต์แวร์ Lenovo Nerve Sense ที่ช่วยตรวจเช็กสเปคตัวเครื่อง เพิ่มรอบพัดลมช่วยในการระบายความร้อน พร้อมเชื่อมต่อปรับจูนกับเกมที่ลงไว้ในเครื่องได้ด้วย เรียกได้ว่าทำให้การใช้งาน Gaming Notebook อย่าง Lenovo Legion Y520 ใช้งานได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการเล่นเกมมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของรุ่นใหญ่อย่าง Lenovo Legion Y720 จะมาพร้อมการตั้งค่าที่ซับซ้อนกว่านี้อีกด้วย

lenovo

Battery / Heat / Noise

batt1

Lenovo Legion Y520 นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ประมาณ 3,500 mAh ซึ่งจะว่าไปแล้วนั้นก็ค่อนข้างที่จะน้อยไปหน่อย แต่เมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าโอเคเลย โดยสามารถใช้งาน Wi-Fi เพื่อท่องเว็บได้ยาวนานประมาณ 4 – 5  ชั่วโมง ซึ่งหากดูตามตารางแล้วนั้นจะเห็นได้ครับว่า Lenovo Legion Y520 ทำเวลาได้ใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คที่ใช้ Core i7 รุ่นเดียวกันในหลายๆ รุ่นด้วยกัน

ส่วนของอุณหภูมิถือว่าสามารถที่จะทำได้ดีตอนที่ใช้งานเครื่องแบบไปบีบขั้นทรัพยากรมากนัก และถึงจะเป็นการเล่นเกมที่เน้น GPU และ CPU เข้ามาด้วยเป็นเวลานานๆ นั้นก็พบว่าระดับของอุณหภูมิในจุดต่างๆ ของตัวเครื่องจะเพิ่มขึ้นมาน้อยมาก จุดที่มีอุณหภูมืที่หนักที่สุดจะอยู่ที่ ตรงกลางขอบเครื่องแต่ก็ใช้เวลาถ่ายความร้อนออกไปได้ไม่นานมากเท่าไรนักอันนี้คงต้องยอมรับหล่ะครับว่าระบบระบายความร้อนของเขาดีจริงๆ  และสำหรับนักเล่นเกมที่ใช้คีย์บอร์ดเล่นเป็นประจำนั้น บริเวณของปุ่ม WASD ก็มีความร้อนสะสมน้อยเช่นกัน

temp3

ส่วนของอุณหภูมิการระบายความร้อน Lenovo Legion Y520 ถือว่าสามารถที่จะทำได้ดีขณะที่เราเล่นเกมทดสอบเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเล่นเกมที่เน้นชิปประมวลผลกับชิปกราฟิกพบว่าระดับของอุณหภูมิในจุดต่างๆ ของตัวเครื่องจะเพิ่มขึ้นมาน้อยมาก จุดที่มีอุณหภูมืที่หนักที่สุดจะอยู่ที่ ตรงกลางขอบเครื่องด้านหลัง แต่ก็ใช้เวลาถ่ายความร้อนออกไปได้ไม่นานมากเท่าไรนักเมื่อเราใช้งานทั่วไป อันนี้คงต้องยอมรับว่าระบบระบายความร้อนทำได้น่าประทับใจอยู่ จากการที่มีพัดลมสองตัว พร้อมฮีตไปป์สองเส้นเป่าออกด้านหลัง และเทคโนโลยี Lenovo ช่วยจัดการ

อุณหภูมิต่ำสุดของเครื่องจะอยู่ที่ 36 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 81 องศาเซลเซียสเท่านั้น ด้วยการทดสอบให้ห้องแอร์ปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส จากการเล่นเกมยาวๆ หลายเกมต่อเนื่อง เรียกได้ว่าระบบระบายความร้อนของ Lenovo Legion Y520 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีตามมาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2017 ทีเดียว ฉะนั้นหายห่วงเรื่องนี้ได้เลย อีกทั้งเรียกว่าทำได้ดีกว่ารุ่นพี่อย่าง Ideapad Y700 อยู่พอสมควรเลย

ทั้งนี้ในการใช้งานทั่วไปตามปกตินั้น (เช่นท่องเว็บ, พิมพ์งาน ฯลฯ) เราจะแทบไม่ได้ยินเสียงของระบบระบายความร้อนเลยแม้แต่น้อย  งานนี้ทาง Lenovo ทำการบ้านมาดีมาก ทำงานได้ค่อนข้างเบาและเงียบทีเดียว อย่างไรก็ตามเมื่อไรก็ตามที่เราต้องใช้การทำงานทั้งจาก CPU และ GPU (เช่นการเล่นเกม) เรื่องของเสียงพัดลมนั้นจะไม่มีเสียงดังรบกวนจนเกินไปนัก แม้ว่าจะใช้งานหนักๆ ก็ตาม

Conclusion / Award

Lenovo Legion Y520 Review-35

สำหรับคนที่ต้องการ Gaming Notebook ราคาสี่หมื่นต้นๆ ตัวแรง อย่าง Lenovo Legion Y520 ตัวท็อปจากการมาของสเปกใหม่ล่าสุดอย่างชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่ได้มีการจับคู่ควงแขนมากับชิปกราฟิก NVIDIA GeForce GTX 1060 MAx-Q ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสเปกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสเปกยอดนิยมที่ Gaming Notebook ทั่วไป ที่เป็นเพียง GTX 1050 / GTX 1050Ti

Lenovo Legion Y520 ถือว่าเป็น Gaming Notebook คุ้มค่าคุ้มราคามาก ทั้งในส่วนของสเปกที่หลากหลายตั้งแต่ Core i5 + GTX 1050 จนไปถึง Core i7 + GTX 1060 และดีไซน์ที่สดใหม่ประจำปี 2017 รวมถึงมีระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้นสมกับที่เป็นโน๊ตบุ๊คเพื่อการเล่นเกม โดยรุ่นที่นำมารีวิวครั้งนี้ก็เป็นสเปกตัวท็อป ที่เน้นความแรงด้วยชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ และชิปกราฟิก NVIDIA GeForce GTX 1060 Max-Q ส่วนแรมเดิมๆ มา 8GB ฮาร์ดดิสก์อีก 2TB ซึ่งตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่า ถ้ามีโอกาสก็อัพเกรด SSD M.2 ด้วยก็ดี (งบถึงก็ไปตัว SSD NVMe เลย)

Lenovo Legion Y520 Review-54

เรียกได้ว่าถ้าใครงบถึงตัวท็อปด้วยราคาสี่หมื่นต้นๆ บาท ก็โดดไปเล่นตัวนี้เลยจะดีกว่า เพราได้อะไรที่คุ้มค่ากว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของแรมที่เป็น 8GB แถวเดียว ทำให้รองรับการอัพเกรดอีกแถวสูงสุด 16GB พร้อมใช้งานทันที ที่สำคัญยังได้ในส่วนของการ์ดจอตัวแรงกง่าอย่าง GTX 1060 Max-Q ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าประมาณ 20 – 30% โดยทำให้เฟรมเรทของเกมลื่นกว่าประมาณ 5 – 20 เฟรมเรทเลยทีเดียว เทียบแล้วบวกไป 5,000 บาท แต่คุ้มแน่นอนกลับประสิทธิภาพที่เหนือกว่ารุ่น GTX 1050Ti รวมไปถึงการ์ดจอ GTX 1060 Max-Q ไม่ได้ทำให้เครื่องทำงานร้อนกว่าแต่อย่างใด แต่ก็มีข้อสังเกตว่าเมื่อเล่นเกมประเภท Open World ที่กินแรมเยอะๆ ก็จะเฟรมเรทที่ต่ำกว่าพวกการ์ดจอ GTX 1050 / GTX 1050Ti เสียอีก (ซะงั้น)

Lenovo Legion Y520 Review-48

ในเรื่องของหน้าจอพาเนล IPS ความละเอียด Full HD ก็ถือว่าทำได้เป็นอย่างดีและน่าประทับใจ ในส่วนของระบบเสียงก็น่าทับใจไม่แพ้กัน รวมไปถึงพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ ก็ทำได้ตามาตรฐานที่ควรจะเป็นของ Gaming Notebook ปี 2017 ส่วนข้อสังเกตก็จะเป็นเรื่องของวัสดุตัวเครื่องที่เป็นพลาสติก (เอาเข้าจริงก็ไม่ได้มีผลอะไร) และทัชแพดที่อาจจะตอบสนองได้ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งตรงนี้เชื่อได้ว่าสำหรับคนที่เล่นเกมคงใช้เมาส์เป็นหลักอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากมาย

ในตลาดตอนนี้ในช่วงราคานี้สเปกแบบนี้ก็มีตัวเลือกอยู่หลากหลายรุ่น Lenovo Legion Y520 ตัวท็อปก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับใครอยากได้จอพาเนล IPS แต่ไม่ต้อง Windows 10 ก็น่าจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีทีเดียว ที่สำคัญ SSD รองรับเป็น NVMe เสียด้วย แถมโดดเด่นด้วยความเร็วระดับ 3300MB/s อีกด้วย

ข้อดี

  • ดีไซน์สวยงาม ดุดัน โดดเด่นไม่แพ้รุ่นอื่นๆ
  • ตัวเครื่องงานประกอบดีเยี่ยม แม้วัสดุจะเป็นพลาสติก
  • สเปคสูงด้วย Core i7-7700HQ + GTX 1060 Max-Q
  • มาพร้อม RAM 8GB + HDD 2TB พร้อมใช้งานทันที
  • ประสิทธิภาพการเล่นเกมทำได้ดีเยี่ยม
  • หน้าจอความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพสูง สวยงามสมจริง
  • ลำโพงคุณภาพเสียงดี น่าประทับใจ
  • ชุดคีย์บอร์ดมีไฟสวยงาม
  • มีพอร์ตการเชื่อมต่อ และมีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ mini DisplayPort มาให้
  • ระบบระบายความร้อนที่ดีกว่าเดิม แถมฝุ่นที่เกาะตรงตัวเครื่องมีปริมาณลดลง
  • แม้ทำงานหนัก แต่พัดลมไม่ดังมากจนรบกวน

ข้อเสีย

  • คีย์บอร์ดดูแปลกๆ ไปส่วนของ Numpad และ Enter
  • ทัชแพดตอบสนองได้ไม่เต็มที่นัก
  • บริเวณที่วางมืออาจจะเป็นรอยได้ ต้องดูแลรักษาให้ดี
  • ไม่มี SSD และ Windows 10 ติดตั้งมาให้
  • การ์ดจอ GTX 1060 Max-Q แม้จะแรง แต่พอเจอเกมกินแรมการ์ดจอเยอะๆ ก็เฟรมตกลงเหมือนกัน

AWARDS

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง Lenovo Legion Y520 รุ่นท็อปก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Multimedia

award_use_2_create_21
ระบบเสียง Harman บนหน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้วความละเอียดแบบ Full HD พาเนล IPS แถมมาพร้อมด้วยสเปคของระบบที่สดใหม่และเร็วแรง สามารถตอบสนองความบันเทิงได้ในทุกๆ รูปแบบไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมก็ทำได้เป็นอย่างจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Lenovo Legion Y520 จะได้รางวัลนี้ไป

Best Design

award_use_2_create_12

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Lenovo มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน Lenovo Legion Y520 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามดุดัน เรียกได้ว่าได้เค้าโครงจากรุ่นพี่อย่าง Y Series มาเต็มๆ รวมไปถึงงานการประกอบก็ระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่แล้ว ถือว่าทำได้ดีในแง่ของการดีไซน์ Gaming Notebook ในช่วงราคานี้

Best Performance

award_use_2_create_05

Lenovo Legion Y520 มีสเปคที่ครบครัน ทั้งชิบประมวลผล Core i7-7700HQ และการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 (3GB GDDR5) พร้อมแรมตัวเครื่องขนาด 8GB มาตรฐานใหม่แบบ DDR4 ขนาด 8GB (อัพเกรดได้อีกแถว) ให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วสูงถึง 3300MB/s ความเร็วสูงรองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ กันได้หลายๆ งาน รวมถึงเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล

 

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

AMD

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ติดตั้งชิปเซ็ต AMD Ryzen AI NPU ก็เริ่มหาซื้อได้ง่ายขึ้น มีตัวเลือกมากมายแถมซอฟท์แวร์หรือส่วนเสริม AI จากบริษัทชั้นนำก็มีให้ใช้งานมากขึ้นรวมทั้ง Microsoft ก็รับลูก จับมือกับผู้พัฒนาซีพียูปรับแต่ง Windows 11 ให้ใช้งานกับซีพียูรุ่นใหม่มี NPU ได้ดีขึ้นและมีฟังก์ชั่นตรวจจับการทำงานเพิ่มเข้ามาใน Task Manager เป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้ดูได้ว่าชิปเซ็ตใหม่นี้ทำงานตอนไหนบ้าง อย่างไรก็ตามชิปนี้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเฉพาะอย่าง ปกติมักไมเ่ห็นคอร์นี้ทำงานบ่อยนักจนบางคนเกิดกังขาว่าชิปเซ็ตตัวนี้มันสมคำโฆษณาหรือเปล่า?...

รีวิว Lenovo

Lenovo IdeaPad Slim 5 โน๊ตบุ๊คหน้าตาเรียบหรู พลัง Ryzen 8000 Series กับการใช้งานออฟฟิศทั้งวันจะน่าใช้ขนาดไหนนะ? ภาพจำของ Lenovo IdeaPad ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คทำงานราคาประหยัดในอดีตนั้น ถูกอัปเกรดเป็น Lenovo IdeaPad Slim 5 เติมฟีเจอร์น่าใช้งานมาให้อีกหลากหลายอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ยังรักซีรี่ส์นี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย สังเกตว่าชื่อของรุ่นนี้ถูกเพิ่มคำว่า Slim เข้ามาเพื่อนำเสนอความบาง 17.2...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก