หน่วยความจำแบบ Optane ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ เป็นอุปกรณ์ 3D XPoint Flash ที่จะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์สามารถทำงานได้เร็วกว่า SSD ในรูปแบบของหน่วยความจำ Cache ทั้งนี้ทาง Intel เชื่อว่าผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วโลกกว่า 80% ยังคงใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นหลัก
ซึ่ง Intel Optane Memory จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถอัพเกรด PC เพื่อเพิ่มความเร็วการอ่านข้อมูลให้สูงขึ้น อีกทั้งยังไม่ต้องทำการโอนถ่ายข้อมูลให้เกิความยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะ OPTANE ทำหน้าที่เป็นเพียงแค่หน่วยความจำ Cache เท่านั้น
INTEL Optane Memory ได้ผลิตออกมาวางจำหน่ายในขนาด 32GB และ 16GB ใช้การเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เฟส M.2 ที่รองรับ NVMe และ BIOS ยังต้องรองรับ Optane สำหรับ M.2 อีกด้วย นอกเหนือจากนี้จะยังต้องใช้ CPU Kaby Lake Core i3 หรือรุ่นที่สูงกว่า ซึ่งทาง Intel ไม่ได้บอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่สนับสนุน Celeron หรือPentium ที่ใช้สถาปัตยกรรม Kaby Lake เหมือนกัน
สำหรับการทดสอบ Optane จะใช้ CPU Intel Core i5-7500, RAM 6GB DDR4 Bus 2400, M/B Asus B250 Prime และการ์ดจอ Radeon RX 480 ในส่วนของการติดตั้ง Optane นั้นเพียงแค่เสียบมันลงในช่อง M.2 เมื่อทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในทีแรกระบบจะยังไม่เห็น แต่จะเห็นเพียงแค่ฮาร์ดไดรฟ์เท่านั้น
หลังจากนั้นให้ทำการลงไดร์เวอร์พร้อมซอฟต์แวร์เพื่อเปิดใช้งาน Optane สำหรับการตั้งค่าในซอฟแวร์ให้ทำการจับคู่ Optane กับไดรฟ์บูตหลัก ซึ่งซอฟแวร์จะทำการย้าย ไฟล์ระบบปฏิบัติการบางไฟล์ไปยังไดรฟ์ Optane เพื่อช่วยในการทำงานที่เร็วขึ้น หลักจากนี้ถ้าหากทำการถอด Optane จะต้องทำการยกเลิกการจับคู่ไดร์เสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้วินโดว์เสียหาย
สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในการทดสอบจะเป็น Western Digital Black ขนาด 7,200 รอบ พร้อม Windows 10 ติดตั้ง Optane 32 GB ในช่อง M.2 อีกทั้งการทดสอบนี้ยังได้ทำการติดตั้ง Toshiba Q300 SATA SSD และ Samsung 960 Pro NVME M.2 1TB เพื่อนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับ Optane
Crystal Disk Mask Test
การทดสอบแรกกับโปรแกรม Crystal Disk Mask 5.2.1 โดยได้ทำการทดสอบร่วมกับ SSD ตัวอื่น ๆ ทั้ง Samsung 960 Pro และ Toshiba Q300 รวมไปถึงการทดสอบฮาร์ดดิส์ก WD Black แบบเดี่ยว ๆ ซึ่งผลเทสเป็นไปตามที่คาดไว้ เรื่องความเร็วสูงยังคงต้องยกให้เป็น Samsung 960 Pro ซึ่งสามารถทำความเร็วได้เหนือกว่าในทุก ๆ การทดสอบ แต่สำหรับ Optane + HDD สามารถทำความเร็วออกมาได้สูงมากที่ความเร็ว อ่าน/เขียน 1,338/290 MB/s ถ้าหากขนาดไฟล์ใหญ่มีความต่อเนื่องในการส่งมากความเร็วก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งการทดสอบแบบ 4K นั้นสามารถทำความเร็วได้เหนือกว่า Samsung 960 Pro อย่างเห็นได้ชัด
PCMark 8 performance
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 8 ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 5,031 คะแนน แต่ดูเหมือนว่า Samsung 960 Pro นั้นจะทำคะแนนในการทดสอบนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก ในส่วนของการทดสอบ Bandwidth นั้นพบว่า Optane ความเร็วที่สูงถึง 499 MB/s ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เลนจำนวนมากในการส่งข้อมูล ในการทดสอบ Photoshop ความเร็วในการทดสอบนั้นไกล้เคียงกับ Toshiba Q300 แต่มีความเร็วที่สูงกว่าฮาร์ดดิสก์อย่างเห็นได้ชัด
Launch Performance
ในการทดสอบใช้งานเปิดโปรแกรมทั่ว ๆ ไป ในชีวิตประจำวัน สามารถทำความเร็วในการเปิดเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ซึ่งเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์แบบปกติหลายเท่าตัว ซึ่งความเร็วระดับนี้แทบไม่จำเป็นต้องใช้ SSD อีกทั้งยังเร็วเกินกว่าที่ความรู้สึกของมนุษย์จะรับรู้ได้เพราะการนำไปใช้งานเปิด Browser Chrome นั้นใช้เวลาเปิดเพียงแค่ 222 ms เท่านั้น เสี้ยวพริบตา ซึ่งเช่นเดียวกับการเปิดโรแกรมอื่น ๆ เช่น Powerpoint จากที่ได้ทำการทดสอบ
Intel Optane ถือว่าเป็นนวตกรรมใหม่ที่จะช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมโดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเรื่องความจุเหมือนกับ SSD เพราะได้ทั้งความจุที่มากตามขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ อีกทั้งยังได้ความเร็วที่สูงมากเทียบเท่า SSD อีกด้วย ไม่ต้องโอนถ่ายข้อมูล ไม่ต้องจ่ายแพง ถ้าให้เทียบกับ SSD ขนาดความจุ 1TB กับ Optane กับ ฮาร์ดดิสก์ดี ๆ สัก 1 ลูก
แน่นอนว่า Optane ย่อมคุ้มค่ามากกว่าอย่างแน่นอน แต่จะติดข้อจำกัดในเรื่องของการรองรับเฉพาะชิปเซ็ต Intel 200 Series เท่านั้น และใช้งานร่วมกับ CPU Kaby Lake Core i3 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าต้องลงทุนด้านสเปคที่สูงพอสมควร อีกทั้ง Optane เองยังกินทรัพยากรณ์ที่ค่อนข้างมากอีกด้วย
Intel Optane คือหน่วยความจำที่มีความจุมาก ความเร็วที่สูง ราคาที่ต่ำ เหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการอัพเกรดเพิ่มประสิทธิภาพให้กับฮาร์ดดิสก์เดิม ๆ หากใครที่ที่มีเลนของเมนบอร์ดเหลือ ๆ ไม่ได้ใช้งาน SATA หรือ Slot ต่าง ๆ อะไรมากมายนัก Intel Optane คือการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับคอมพิวเตอร์ที่คุ้มค่าเป็นอย่างมาก ด้วยราคา 16GB 1,990 บาท และ 32GB ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2,000-3,xxx บาท
ข้อดี
- ความเร็วสูง
- ความจุสูงตามฮาร์ดดิสก์ที่ใช้
- ราคาถูกเมื่อเทียบกับ SSD
ข้อสังเกต
- ต้องการสเปคเครื่องที่ค่อนข้างสูง