Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

[Review] ASUS K556UR โน๊ตบุ๊คทั่วไปตัวคุ้ม ลงตัวทั้งทำงาน และเล่นเกมคลายเครียด ราคา 18,900 บาท

ชื่อของ ASUS หลายๆ ท่านก็คงคุ้นเคยกันดี กับผลิตภัณฑ์ไอทีที่เน้นในด้านของการใช้งานที่ดี รูปลักษณ์ที่ลงตัว ควบคู่กับความคุ้มค่า นับตั้งแต่โน๊ตบุ๊ครุ่นเกมมิ่งตัวแรง มาจนถึงแม้กระทั่งเครื่องรุ่นเมนสตรีมยอดนิยมราคาไม่สูง

ชื่อของ ASUS หลายๆ ท่านก็คงคุ้นเคยกันดี กับผลิตภัณฑ์ไอทีที่เน้นในด้านของการใช้งานที่ดี รูปลักษณ์ที่ลงตัว ควบคู่กับความคุ้มค่า นับตั้งแต่โน๊ตบุ๊ครุ่นเกมมิ่งตัวแรง มาจนถึงแม้กระทั่งเครื่องรุ่นเมนสตรีมยอดนิยมราคาไม่สูง ก็ยังคงความคุ้มค่า ความน่าใช้งานเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน อย่างเช่นโน๊ตบุ๊คซีรีส์ K ที่เราจะมารีวิวให้ชมกันในครั้งนี้ครับ กับ ASUS K556UR ที่แม้ว่าสเปคเครื่องอาจจะไม่ตรงกับเครื่องที่ขายจริง 100% แต่ก็สามารถอ้างอิงในเรื่องของดีไซน์ และประสิทธิภาพที่ไม่น่าจะต่างกันมากนักได้เป็นอย่างดี

ก่อนจะเข้าสู่รีวิว NotebookSPEC ขอเกริ่นเรื่องซีรีส์ผลิตภัณฑ์โน๊ตบุ๊คของ ASUS ก่อนครับ โดยเจ้าซีรีส์ K นี้จะเป็นญาติกับซีรีส์ A เลย แต่ A จะเน้นประสิทธิภาพเหนือขึ้นไปเล็กน้อย แล้วให้ K ทำตลาดในกลุ่มเมนสตรีม ที่ต้องการคอมพิวเตอร์มาใช้งานพื้นฐานทั่วไป อย่างเช่น เครื่องใช้งานในบ้าน ในสำนักงาน ด้วยรูปลักษณ์ที่เรียบหรูในแบบ ASUS ส่วนซีรีส์ X ก็ยังคงอยู่ในกลุ่มเครื่องเมนสตรีม แต่จะเป็นรุ่นราคาเบาๆ สเปคก็เบาตามลงมาระดับหนึ่ง ดังนั้น ถ้าอยากได้เครื่องใช้งานทั่วไป ราคาคุ้มๆ ตั้งแต่หมื่นกลางไปถึงสองหมื่นกลางๆ ซีรีส์ K นี่แหละครับ ตอบโจทย์ที่สุด

Advertisement

Specifications

อย่างที่ผมเกริ่นไปข้างต้น ว่าสเปค ASUS K556UR ที่รีวิวนี้ จะไม่ตรงกับเครื่องที่ขายในไทยขณะนี้ 100% โดยเครื่องที่ทางทีมงาน NotebookSPEC ได้รับมาก็เป็นตามนี้ครับ

  • ชิปประมวลผล Intel Core i5-6200U ความเร็ว 2.3 GHz (สูงสุด 2.8 GHz)
  • แรม DDR3 ความจุ 4 GB
  • การ์ดจอ NVIDIA GeForce GT 940M 2GB
  • HDD 1 TB 5400 RPM
  • หน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366 x 768

โดยสเปคจะใกล้เคียงกับ เครื่องที่ขายอยู่ในขณะนี้คือรุ่น K556UR-XX033T จะมีจุดที่แตกต่างกันเพียงแค่การ์ดจอ ที่รุ่นขายจริงจะเป็น NVIDIA GeForce GT 930MX 2GB ซึ่งประสิทธิภาพไม่ได้แตกต่างจาก GT 940M มากนัก จากผลการทดสอบทั้งโปรแกรมทดสอบ และการวัดเฟรมเรตขณะเล่นเกม (บางเกม GT 930MX แรงกว่าซะด้วยซ้ำไป) ดังนั้น ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชิปกราฟิกในรีวิวนี้ ก็น่าจะพออ้างอิงได้ว่าใกล้เคียงกับตัวขายจริงมากๆ ครับ หายห่วงได้เลย

ส่วนอีกจุดที่ต่างกันคือแรม เพราะในเครื่องทดสอบนี้เป็นเพียงแค่ DDR3 เท่านั้น แต่รุ่นขายจริงที่กล่าวไปข้างต้นจะเป็น DDR4

สำหรับสเปคของ ASUS K556UR ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มกลางๆ เหมาะกับการใช้ทำงานด้วยจอขนาด 15 นิ้ว มีแผงปุ่มตัวเลข numpad มาให้ จะเล่นเกมออนไลน์อย่างพวกเกมใน Garena ก็สบาย เล่นเกมกราฟิกระดับกลางๆ ใน Steam ก็พอได้อยู่ แต่อาจจะต้องปรับค่าการแสดงผลให้ลดลงมาซักหน่อย เพื่อความลื่น จากที่ผมทดสอบมา ส่วนตัวคิดว่าเพิ่มแรมอีกซักแผงให้เป็นซัก 8 GB ขึ้นไป น่าจะช่วยให้ใช้งานได้รวดเร็วคล่องตัวขึ้นมาก เพราะ 4 GB นี้ตอนใช้จะค่อนข้างอึดอัดนิดหน่อย เวลาต้องเปิดหลายๆ โปรแกรม แถมเกมสมัยนี้ก็กินแรมมากขึ้นเอาเรื่องอยู่ ยังดีที่เป็นแรมเทคโนโลยีใหม่อย่าง DDR4 ที่มีความเร็วสูงกว่า DDR3 แบบเดิมอยู่นิดนึง

ส่วนราคาเครื่อง จะอยู่ที่ประมาณ 20,900 บาทครับ ถ้าจะเพิ่มแรมเป็น 8 GB ก็เตรียมเงินค่าแรม DDR4 4 GB ไปอีกพันนิดๆ ให้เขาเพิ่มมาให้จากร้านตอนที่ซื้อเลยก็ได้ เพื่อความสะดวกครับ

สเปกเต็มๆ ของ ASUS K556UR-XX033T

Hardware / Design

asus-transformer-3-pro-processed-1

รูปลักษณ์ของ ASUS K556UR ก็จะเน้นความเรียบง่าย แต่ใส่ลายเส้นเข้าไปในบอดี้ ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนกับผิวอลูมิเนียมอยู่พอสมควร ทำให้ได้ความหรูหราเพิ่มขึ้น งานประกอบโดยทั่วไปก็อยู่ในระดับกลางๆ ครับ ไม่บางกรอบแกรม แต่ก็ไม่ได้หนักแน่นหนาเกินไป วัสดุหลักภายนอกเป็นพลาสติก ถ้าเป็นรุ่น K556UR-XX033T ตัวบอดี้ภายใน (ส่วนที่ติดกับแผงคีย์บอร์ด จะเป็นสีเงินนะครับ) น้ำหนักตัวเครื่องโดยประมาณอยู่ที่ 2 กิโลกรัมนิดๆ โดยรวมแล้วจัดว่าค่อนข้างบาง สามารถใส่กระเป๋าโน๊ตบุ๊คขนาด 15 นิ้วทั่วไปได้อย่างไม่มีปัญหา

asus-transformer-3-pro-processed-16

asus-transformer-3-pro-processed-7

asus-transformer-3-pro-processed-8

 

asus-transformer-3-pro-processed-11

ส่วนล่างของเครื่อง จะเป็นพลาสติกชิ้นเดียวทั้งแผงเลยนะครับ ดังนั้นอาจจะถอดอัพเกรดชิ้นส่วนภายในกันยากซักหน่อย เพราะต้องใช้ไขควงขันน็อตยึดทั้งหมดออกก่อน แล้วถึงจะแงะฝาล่างออกได้ ยังดีที่ ASUS ยังออกแบบมาให้เอื้อกับการอัพเกรดอยู่เล็กน้อย โดยมีฝาสำหรับช่องปิดแรมมาให้โดยเฉพาะ ถ้าอยากอัพเกรดแรมก็แค่ขันน็อตออกตัวเดียว แล้วดึงฝาออกได้เลย ใกล้ๆ ฝาปิดแรมก็จะมีช่องระบายอากาศเป็นครีบอยู่เล็กน้อย ส่วนช่องที่เป็นแถบยาวๆ สองฝั่งด้านล่างของภาพบน นั่นคือช่องลำโพงใต้เครื่อง ซึ่งถูกออกแบบมาให้เสียงสะท้อนกับพื้นที่วางเครื่อง แล้วสะท้อนมาหาตัวผู้ใช้ จากเท่าที่ลองฟัง เสียงก็อยู่ในระดับกลางๆ เบสมาบางๆ ตามปกติของลำโพงโน๊ตบุ๊ครุ่นกลาง แต่ถ้าหากใครใช้แท่นรองโน๊ตบุ๊คที่ยกตัวเครื่องให้เอียงเอาส่วนหน้าของเครื่องลง ยกส่วนจอขึ้น อันนี้อาจจะทำให้เสียงจากลำโพงโดนพื้นปิดไป ทำให้เสียงเบาลง และคุณภาพเสียงลดลงไปด้วย อาจจะแนะนำว่าคงต้องต่อลำโพงแทน

asus-transformer-3-pro-processed-12

คนที่อยากเพิ่มแรม ก็แกะฝาปิดแผงแรม แล้วใส่เข้าไปได้เลยครับ ในตัวเครื่องจะฝังแรมมาเลย 4 GB ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ และมีช่องให้ใส่แรม DDR4 เพิ่มได้อีก 1 แผงเท่านั้น (ภาพประกอบคือเครื่องที่ทดสอบ ซึ่งเป็นรุ่นเก่า ใช้แรม DDR3 ครับ)

ส่วนแบตเตอรี่ จะเป็นแบบฝังอยู่ภายในเครื่อง ไม่สามารถแกะออกได้ด้วยตนเองนะครับ ก็เป็นไปตามเทรนด์โน๊ตบุ๊ค เพราะการออกแบบให้ฝังแบตเตอรี่ไว้ข้างใน จะทำให้สามารถออกแบบเครื่องได้บางกว่าเมื่อก่อน แต่ก็แลกมาด้วยข้อเสียคือการถอดเปลี่ยนยาก ไม่สามารถซื้อแบตสำรองมาไว้สับเปลี่ยนกรณีฉุกเฉินได้ ถ้าแบตเสียและยังอยู่ในระยะเวลารับประกัน ก็ต้องยกไปศูนย์สถานเดียว

Keyboard / Touchpad

asus-transformer-3-pro-processed-3

คนที่ต้องพิมพ์งานบนโน๊ตบุ๊คบ่อยๆ น่าจะถูกใจคีย์บอร์ดของ ASUS K556UR ไม่น้อย ด้วยขนาดปุ่มที่กำลังพอดีๆ มีการวางปุ่มแบบ chiclet ที่ระยะห่างระหว่างปุ่มไม่มากเกินไป และด้วยความที่เป็นเครื่องรุ่นจอ 15 นิ้ว จึงมีการเพิ่มแผงปุ่มตัวเลข numpad มาด้วยทางขวาสุด ตรงนี้คงถูกใจคนทำงานออฟฟิศที่ต้องกรอกตัวเลขบ่อยๆ แน่ครับ

ส่วนทัชแพดด้านล่างก็มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีลักษณะเป็นแผ่นเดียวกันทั้งแผง รองรับการใช้งานแบบมัลติทัช ทำให้ใช้งานร่วมกับ Windows 10 ได้สบายๆ

asus-transformer-3-pro-processed-8

asus-transformer-3-pro-processed-4

asus-transformer-3-pro-processed-15

 

Screen / Speaker

asus-transformer-3-pro-processed-13

จอของ ASUS K556UR มีขนาด 15.6 นิ้ว จอกระจก ความละเอียดระดับ HD (1366 x 768) ซึ่งก็เป็นมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ครุ่นระดับราคากลางๆ ตัวพาเนลเป็นแบบ TFT ธรรมดานะครับ สีสันต่างๆ ก็อาจจะไม่คมชัด สวยงามเท่าพวกรุ่นจอ IPS ที่มีราคาสูงกว่านี้ แต่ก็อยู่ในระดับใช้งานในบ้าน ในออฟฟิศทั่วไปได้แบบไม่มีปัญหา แต่เวลาใช้งานอาจต้องระวังเรื่องไฟสะท้อนหน้าจอซักเล็กน้อย ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดของจอกระจกอยู่แล้ว

โทนสีของภาพก็จะออกเป็นโทนน้ำเงินซักเล็กน้อย ถ้าต้องนำมาทำภาพกราฟิกต่างๆ แนะนำว่าอาจจะต้อง calibrate หน้าจอกันก่อน หรือไม่ก็ต่อจอมอนิเตอร์นอกที่เป็นแบบ IPS คุณภาพดีหน่อย จะดีกว่า

แต่ถ้าใช้แค่ทำงานเอกสาร เล่นเน็ต ดู YouTube บอกเลยว่าจอ ASUS K556UR นี่เหลือเฟือ ดูหนังความละเอียดระดับ HD คมกริบ

Connector / Thin And Weight

asus-transformer-3-pro-processed-9

ต่อกันด้วยเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อ บอกเลยว่าครบเครื่องอย่างที่โน๊ตบุ๊คยุคใหม่ควรจะมีจริงๆ ไล่จากภาพบนซึ่งเป็นฝั่งซ้ายของเครื่องก็จะพบกับ

  • ช่องเสียบสายชาร์จ
  • ช่อง LAN
  • ช่อง VGA (D-Sub)
  • ช่อง HDMI
  • ช่อง USB 3.0
  • ช่อง USB Type-C (USB 3.1)
  • ช่อง Kensington Lock

ที่ดูเซอร์ไพรส์สุดก็คงเป็นการใส่ USB Type-C ที่มีความเร็วตามมาตรฐาน USB 3.1 มาให้ในรุ่นนี้ด้วยนี่แหละครับ แสดงว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค USB Type-C กันแบบเต็มตัวแล้วนั่นเอง สังเกตได้จากขนาดในโน๊ตบุ๊ครุ่นกลางๆ แบบเมนสตรีม ยังมีพอร์ตนี้มาให้แล้ว แต่ในระยะนี้อาจจะยังไม่ได้ใช้งานซักเท่าไร เนื่องจากอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่เป็น USB Type-C ยังไม่แพร่หลายมากนัก และราคายังสูงอยู่ สำหรับอุปกรณ์ที่ดูมีแนวโน้มว่าจะได้ใช้กับ Type-C ตอนนี้ ส่วนตัวผมว่าคงเป็นพวกสายแปลง ตัวแปลงต่างๆ จาก Type-C เป็น USB ปกติอะไรแบบนี้มากกว่า เพราะมันสามารถใช้กับสมาร์ทโฟนหลายๆ รุ่นที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB Type-C กันแล้ว ส่วนพวก flashdrive ที่เป็นหัว Type-C อาจต้องรอกันอีกพักใหญ่ๆ เลย

asus-transformer-3-pro-processed-10

ส่วนฝั่งขวา ก็จะมี

  • ช่อง SD Card reader
  • ช่องเสียบแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร
  • ช่อง USB 2.0
  • DVD reader/writer

รวมๆ แล้วก็เป็นพอร์ตมาตรฐานครับ ยังคงเหลือ USB 2.0 มาให้ด้วย หลักๆ แล้วก็คงไว้ใช้เสียบเม้าส์กันซะมากกว่า

Performance / Software

win10

ASUS K556UR ที่ซื้อมาใหม่จะเป็นเครื่องเปล่า ไม่มี Windows ติดตั้งมาให้นะครับ สำหรับการทดสอบเครื่องก่อนซื้อ อาจจะให้ทางร้านเปิดโปรแกรมจากใน DOS ให้ทดสอบแทน สำหรับการรีวิวในครั้งนี้ ทางทีมงานเลือกติดตั้ง Windows 10 Pro 64 บิทแบบทดลองใช้งานเพื่อทำการทดสอบนะครับ โดยมีการอัพเดตแพทช์ล่าสุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งระบบก็ตรวจพบฮาร์ดแวร์ขั้นต้นได้ถูกต้องดี ทั้ง CPU และแรม

cpu-z

เริ่มเช็คสเปคอย่างละเอียดด้วย CPU-Z เป็นอย่างแรก ข้อมูลที่ได้ก็ครบถ้วนดี ด้วยชิปประมวลผลระดับกลางๆ อย่าง Intel Core i5-6200U มี 2 คอร์ประมวลผล แบ่งเป็น 4 เธรด ซึ่งกำลังดีสำหรับการใช้งานพื้นฐาน ความเร็ว 2.3 GHz ที่สามารถเร่งได้สูงสุดเป็น 2.8 GHz แต่ด้วยความที่เป็นรุ่นที่ลงท้ายรหัสด้วย U ซึ่งหมายถึงชิปประมวลผลตัวนี้เป็นชิปในกลุ่มที่กินไฟต่ำ เหมาะกับโน๊ตบุ๊คที่ไม่ได้เน้นประสิทธิภาพสูงมาก จึงอาจจะทำให้คะแนนประสิทธิภาพจากการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้สูงมากนัก

แต่ก็จะมีข้อดีในด้านของการใช้พลังงาน จากที่ตัวชิปมีการใช้พลังงานสูงสุดเพียงแค่ 15W เท่านั้น จึงมั่นใจได้เลยว่าสามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้นานแน่นอน

1

ชิปกราฟิกก็จะมีมาด้วยกัน 2 ตัว ข้อมูลก็มาครับดีทั้ง NVIDIA GeForce GT 940M (เครื่องขายจริงจะเป็น GT 930MX) ส่วนชิปกราฟิกในซีพียูก็จะเป็น Intel HD Graphics 520 ซึ่งระบบการสลับชิปกราฟิกให้สอดคล้องกับโปรแกรมก็ทำงานได้ค่อนข้างแม่นยำดี เวลาใช้งานธรรมดา ทำงานเอกสาร เล่นเว็บ ก็จะใช้ชิป Intel ส่วนถ้าเวลาเล่นเกม ระบบก็จะปรับไปใช้ชิป NVIDIA อัตโนมัติ

cinebench

แต่พอทดสอบด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ที่เน้นการประมวลผลของ CPU โดยตรง ผลออกมาปรากฏว่าคะแนนด้าน OpenGL ต่ำเกินไปอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะเปิด High performance แล้วก็ตาม ตรงนี้อาจเป็นเพราะตัวเครื่องเป็นเครื่อง engineering sample ที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าตัวขายจริงก็เป็นได้ครับ คะแนนที่ออกมาเลยจัดว่าต่ำกว่าที่คาด (คะแนนน้อยกว่า Transformer 3 Pro ที่ใช้ CPU รุ่นเดียวกันเสียอีก

hdtune

ผลการทดสอบฮาร์ดดิสก์ด้วย HD Tune ก็ออกมาอยู่ในระดับของ HDD 5,400 RPM SATA 3 ทั่วไปครับ ความเร็วสูงสุดประมาณ 100 MB/s ถ้าอยากเร็วกว่านี้ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้พวก HDD 7200 RPM หรือไม่ก็ใส่ SSD กันไปเลย รับรองว่าเห็นความแตกต่างแน่ๆ ส่วนพวก SSHD ส่วนตัวผมว่ามันก้ำกึ่งเกินไป จะเร็วก็เร็วไม่สุด ถ้าอยากได้ทั้งเร็ว ทั้งความจุเยอะด้วย แนะนำว่าซื้อ SSD มาลูกนึงสำหรับลงโปรแกรมและเกม แล้วก็ซื้อ Bay สำหรับใส่ HDD มาใส่แทนในช่องเครื่องอ่าน DVD จะดีกว่า เพราะเดี๋ยวนี้เราก็ใช้ DVD กันน้อยลง แถมราคา SSD ก็ลดลงมาจนจับต้องได้ง่ายมากขึ้นแล้ว ราคาเริ่มต้นของรุ่นที่โอเคหน่อยก็ราวๆ 2,000 กว่าบาทเท่านั้น

ทดสอบด้วยเหล่าเกมทั้งหลายกันบ้าง เริ่มต้นด้วย Street Fighter 4 ที่เป็นโปรแกรม benchmark หลักเรากันก่อน กับการทดสอบที่ความละเอียด 1366 x 768 อันเป็นความละเอียดสูงสุดของจอ ผลคือลื่นเหลือเฟือครับ ด้วยพลังประมวลผลภาพของ NVIDIA GeForce GT 940M ต่อมาก็เป็น Resident Evil 6 ผลออกมาก็คือพอเล่นได้อยู่เหมือนกัน แต่ถ้าไปเจอฉากที่มีศัตรูเยอะๆ เฟรมเรตจะตกอย่างเห็นได้ชัด อันดับ 3 ก็เป็นโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพของเกม Final Fantasy XIV ที่เป็นเกมออนไลน์ ผลที่ได้จัดว่าน่าพอใจ เล่นได้ลื่นๆ แน่นอน กับการตั้งค่าความละเอียดที่ 1366 x 768 ดังนั้นถ้าหากอยากซื้อ ASUS K556UR ไปเล่นเกมออนไลน์ รับรองว่าสบายๆ ไร้ปัญหา

อันดับที่ 4 ทดสอบด้วยเกมในดวงใจหลายๆ คนอย่าง Dota 2 ด้วยโหมดสังเกตการณ์ ซึ่งมีการเรนเดอร์ภาพเสมือนกำลังเล่นอยู่จริง โดยผมตั้งค่าความละเอียดหน้าจอไว้ที่ 1366 x 768 เต็มจอ คุณภาพของพื้นผิววัตถุและเงาอยู่ที่ระดับ High เปิดเอฟเฟคท์เกือบทั้งหมด เฟรมเรตจะออกมาที่สูงกว่า 30fps แทบจะตลอดเวลา เท่ากับว่าสามารถเล่นบนจอทั่วไปได้สบาย

อันดับ 5 ปิดท้ายด้วย PES 2017 หรือที่เรียกกันว่าวินนิ่ง 2017 การตั้งค่าก็เช่นเคยครับ 1366 x 768 เต็มจอ กราฟิกระดับสูงสุด เล่นได้ลื่นๆ 60fps

Battery / Heat / Noise

bat2

จากการที่เอซุสเลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i5-6200U ที่มีความโดดเด่นเรื่องการใช้พลังงานที่น้อยกว่าชิป Core i5 รุ่นทั่วไป ทำให้สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนาน สำหรับในการทดสอบข้างบน ผมทดลองโดยให้เครื่องเปิดหน้าจอตลอดเวลา ความสว่างระดับกลางๆ ใช้งาน Google Chrome ด้วยการเชื่อมต่อ WiFi แล้วเปิดวิดีโอเพลงบน YouTube ค้างไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ได้ข้อมูลออกว่า จะสามารถใช้งานแบตเตอรี่ด้วยรูปแบบการใช้งานดังกล่าวได้อีก 5 ชั่วโมงกว่าด้วยกัน

screen-shot-2559-12-25-at-3-55-59-pm

ต่อกันด้วยเรื่องของความร้อน ผมทดสอบโดยการเปิดโปรแกรมให้ทั้ง CPU และ GPU ทำงานเต็มกำลัง อุณหภูมิของบอร์ดและ CPU จะสูงสุดที่ราวๆ 86 องศาเซลเซียส แล้วระบบก็จะปรับความเร็วลง เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในมากเกินไป ส่วน GPU ก็จะมีอุณหภูมิสูงสุดที่เกือบๆ 90 องศา ก็จัดว่าอยู่ในระดับปกติ โดยทำการทดสอบที่อุณหภูมิห้องปกติ ไม่ได้เปิดแอร์ครับ

Conclusion / Award

asus-transformer-3-pro-processed-2

ASUS K556UR จัดเป็นหนึ่งในซีรีส์ของโน๊ตบุ๊คสุดคุ้มจาก ASUS ที่ตอบโจทย์คนที่กำลังมองหาโน๊ตบุ๊คจอใหญ่ซักเครื่อง มาใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะใช้ในออฟฟิศ/สำนักงาน ที่เน้นงานด้านเอกสาร หรือจะใช้ในบ้านที่ลงตัวทั้งทำงาน เล่นเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมระดับกลางๆ เล่นเกมออนไลน์ก็ทำได้อย่างราบรื่น ทั้งยังสามารถใช้แบตเตอรี่ได้ยาวนาน ด้วยการเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ภายในที่เน้นเรื่องการกินไฟต่ำ แต่ยังคงประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่เหลือกินเหลือใช้อยู่ หน้าตารูปลักษณ์ก็ทำออกมาได้ตามมาตรฐานเครื่องรุ่นเมนสตรีมของ ASUS ที่เรียบง่าย แต่ซ่อนความหรูหราเอาไว้

ด้านของการใช้งาน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ก็ให้มาครบถ้วน ทั้ง USB 3.0 และ 2.0 รวมถึงยังมี USB 3.1 ในรูปแบบของ Type-C มาให้รองรับการใช้งานในอนาคตด้วย ส่วนการเชื่อมต่อจอแสดงผลก็ให้มาทั้ง VGA และ HDMI ทำให้คุณสามารถใช้งานร่วมกับมอนิเตอร์และทีวีได้อย่างไม่ต้องกังวล

แต่ถ้าหากอยากจะใช้งานได้อย่างไหลลื่นยิ่งขึ้น แนะนำว่าซื้อแรม DDR4 มาเพิ่มอีกซัก 4 GB ให้มีแรมรวมเป็น 8 GB น่าจะช่วยได้มากทีเดียวครับ ถ้าเพิ่มเข้าไป รับรองว่าคุณจะได้รับประสบการณ์การใช้งานอันยอดเยี่ยมจาก ASUS K556UR อย่างแน่นอน

 

ข้อดี

  • สเปคคุ้มๆ ราคากำลังดี ใช้ทั้งทำงาน ทั้งเล่นเกมระดับกลางได้สบาย
  • มาพร้อมพอร์ตเชื่อมต่อครบครัน แถมยังมี USB Type-C มาให้ด้วย
  • แบตเตอรี่ใช้งานทั่วไปได้ยาวนาน
  • น้ำหนักไม่มากเกินไป แม้จะเป็นเครื่องจอขนาด 15 นิ้วก็ตาม

ข้อสังเกต

  • ควรเพิ่มแรมเป็นซัก 8 GB จะเหมาะกับการใช้งานทั่วไปในยุคปัจจุบัน
  • หน้าจอมีแสงสะท้อน ต้องเลือกมุมที่นั่งดีๆ เลี่ยงทิศทางที่แสงส่องเข้าจอโดยตรง
  • ฝาหลังไม่สามารถแกะได้ และไม่สามารถถอดแบตเตอรี่ได้ด้วย

 

Best Value

ASUS K556UR มาพร้อมกับสเปคที่ลงตัวกับการใช้งานหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทำงานออฟฟิศทั่วไป งานเอกสาร ดูหนังฟังเพลงก็สบายๆ แถมยังเล่นเกมคลายเครียดได้ด้วย เนื่องจากการเลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i5-6200U ที่ประสิทธิภาพกำลังดี พ่วงพร้อมการประหยัดพลังงาน ทั้งยังมีกราฟิกชิปเป็น NVIDIA GeForce GT930MX และแรม DDR4 เข้ามาอีก ภายในราคาราวๆ 20,000 บาทเท่านั้น เหมาะมากๆ สำหรับใครที่อยากได้โน๊ตบุ๊คมาใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน

award_use_2_create_142

Specifications

อย่างที่ผมเกริ่นไปข้างต้น ว่าสเปค ASUS K556UR ที่รีวิวนี้ จะไม่ตรงกับเครื่องที่ขายในไทยขณะนี้ 100% โดยเครื่องที่ทางทีมงาน NotebookSPEC ได้รับมาก็เป็นตามนี้ครับ

  • ชิปประมวลผล Intel Core i5-6200U ความเร็ว 2.3 GHz (สูงสุด 2.8 GHz)
  • แรม DDR3 ความจุ 4 GB
  • การ์ดจอ NVIDIA GeForce GT 940M 2GB
  • HDD 1 TB 5400 RPM
  • หน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366 x 768

โดยสเปคจะใกล้เคียงกับ เครื่องที่ขายอยู่ในขณะนี้คือรุ่น K556UR-XX033T จะมีจุดที่แตกต่างกันเพียงแค่การ์ดจอ ที่รุ่นขายจริงจะเป็น NVIDIA GeForce GT 930MX 2GB ซึ่งประสิทธิภาพไม่ได้แตกต่างจาก GT 940M มากนัก จากผลการทดสอบทั้งโปรแกรมทดสอบ และการวัดเฟรมเรตขณะเล่นเกม (บางเกม GT 930MX แรงกว่าซะด้วยซ้ำไป) ดังนั้น ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชิปกราฟิกในรีวิวนี้ ก็น่าจะพออ้างอิงได้ว่าใกล้เคียงกับตัวขายจริงมากๆ ครับ หายห่วงได้เลย

ส่วนอีกจุดที่ต่างกันคือแรม เพราะในเครื่องทดสอบนี้เป็นเพียงแค่ DDR3 เท่านั้น แต่รุ่นขายจริงที่กล่าวไปข้างต้นจะเป็น DDR4

สำหรับสเปคของ ASUS K556UR ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มกลางๆ เหมาะกับการใช้ทำงานด้วยจอขนาด 15 นิ้ว มีแผงปุ่มตัวเลข numpad มาให้ จะเล่นเกมออนไลน์อย่างพวกเกมใน Garena ก็สบาย เล่นเกมกราฟิกระดับกลางๆ ใน Steam ก็พอได้อยู่ แต่อาจจะต้องปรับค่าการแสดงผลให้ลดลงมาซักหน่อย เพื่อความลื่น จากที่ผมทดสอบมา ส่วนตัวคิดว่าเพิ่มแรมอีกซักแผงให้เป็นซัก 8 GB ขึ้นไป น่าจะช่วยให้ใช้งานได้รวดเร็วคล่องตัวขึ้นมาก เพราะ 4 GB นี้ตอนใช้จะค่อนข้างอึดอัดนิดหน่อย เวลาต้องเปิดหลายๆ โปรแกรม แถมเกมสมัยนี้ก็กินแรมมากขึ้นเอาเรื่องอยู่ ยังดีที่เป็นแรมเทคโนโลยีใหม่อย่าง DDR4 ที่มีความเร็วสูงกว่า DDR3 แบบเดิมอยู่นิดนึง

ส่วนราคาเครื่อง จะอยู่ที่ประมาณ 20,900 บาทครับ ถ้าจะเพิ่มแรมเป็น 8 GB ก็เตรียมเงินค่าแรม DDR4 4 GB ไปอีกพันนิดๆ ให้เขาเพิ่มมาให้จากร้านตอนที่ซื้อเลยก็ได้ เพื่อความสะดวกครับ

สเปกเต็มๆ ของ ASUS K556UR-XX033T

Hardware / Design

asus-transformer-3-pro-processed-1

รูปลักษณ์ของ ASUS K556UR ก็จะเน้นความเรียบง่าย แต่ใส่ลายเส้นเข้าไปในบอดี้ ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนกับผิวอลูมิเนียมอยู่พอสมควร ทำให้ได้ความหรูหราเพิ่มขึ้น งานประกอบโดยทั่วไปก็อยู่ในระดับกลางๆ ครับ ไม่บางกรอบแกรม แต่ก็ไม่ได้หนักแน่นหนาเกินไป วัสดุหลักภายนอกเป็นพลาสติก ถ้าเป็นรุ่น K556UR-XX033T ตัวบอดี้ภายใน (ส่วนที่ติดกับแผงคีย์บอร์ด จะเป็นสีเงินนะครับ) น้ำหนักตัวเครื่องโดยประมาณอยู่ที่ 2 กิโลกรัมนิดๆ โดยรวมแล้วจัดว่าค่อนข้างบาง สามารถใส่กระเป๋าโน๊ตบุ๊คขนาด 15 นิ้วทั่วไปได้อย่างไม่มีปัญหา

asus-transformer-3-pro-processed-16

asus-transformer-3-pro-processed-7

asus-transformer-3-pro-processed-8

 

asus-transformer-3-pro-processed-11

ส่วนล่างของเครื่อง จะเป็นพลาสติกชิ้นเดียวทั้งแผงเลยนะครับ ดังนั้นอาจจะถอดอัพเกรดชิ้นส่วนภายในกันยากซักหน่อย เพราะต้องใช้ไขควงขันน็อตยึดทั้งหมดออกก่อน แล้วถึงจะแงะฝาล่างออกได้ ยังดีที่ ASUS ยังออกแบบมาให้เอื้อกับการอัพเกรดอยู่เล็กน้อย โดยมีฝาสำหรับช่องปิดแรมมาให้โดยเฉพาะ ถ้าอยากอัพเกรดแรมก็แค่ขันน็อตออกตัวเดียว แล้วดึงฝาออกได้เลย ใกล้ๆ ฝาปิดแรมก็จะมีช่องระบายอากาศเป็นครีบอยู่เล็กน้อย ส่วนช่องที่เป็นแถบยาวๆ สองฝั่งด้านล่างของภาพบน นั่นคือช่องลำโพงใต้เครื่อง ซึ่งถูกออกแบบมาให้เสียงสะท้อนกับพื้นที่วางเครื่อง แล้วสะท้อนมาหาตัวผู้ใช้ จากเท่าที่ลองฟัง เสียงก็อยู่ในระดับกลางๆ เบสมาบางๆ ตามปกติของลำโพงโน๊ตบุ๊ครุ่นกลาง แต่ถ้าหากใครใช้แท่นรองโน๊ตบุ๊คที่ยกตัวเครื่องให้เอียงเอาส่วนหน้าของเครื่องลง ยกส่วนจอขึ้น อันนี้อาจจะทำให้เสียงจากลำโพงโดนพื้นปิดไป ทำให้เสียงเบาลง และคุณภาพเสียงลดลงไปด้วย อาจจะแนะนำว่าคงต้องต่อลำโพงแทน

asus-transformer-3-pro-processed-12

คนที่อยากเพิ่มแรม ก็แกะฝาปิดแผงแรม แล้วใส่เข้าไปได้เลยครับ ในตัวเครื่องจะฝังแรมมาเลย 4 GB ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ และมีช่องให้ใส่แรม DDR4 เพิ่มได้อีก 1 แผงเท่านั้น (ภาพประกอบคือเครื่องที่ทดสอบ ซึ่งเป็นรุ่นเก่า ใช้แรม DDR3 ครับ)

ส่วนแบตเตอรี่ จะเป็นแบบฝังอยู่ภายในเครื่อง ไม่สามารถแกะออกได้ด้วยตนเองนะครับ ก็เป็นไปตามเทรนด์โน๊ตบุ๊ค เพราะการออกแบบให้ฝังแบตเตอรี่ไว้ข้างใน จะทำให้สามารถออกแบบเครื่องได้บางกว่าเมื่อก่อน แต่ก็แลกมาด้วยข้อเสียคือการถอดเปลี่ยนยาก ไม่สามารถซื้อแบตสำรองมาไว้สับเปลี่ยนกรณีฉุกเฉินได้ ถ้าแบตเสียและยังอยู่ในระยะเวลารับประกัน ก็ต้องยกไปศูนย์สถานเดียว

Keyboard / Touchpad

asus-transformer-3-pro-processed-3

คนที่ต้องพิมพ์งานบนโน๊ตบุ๊คบ่อยๆ น่าจะถูกใจคีย์บอร์ดของ ASUS K556UR ไม่น้อย ด้วยขนาดปุ่มที่กำลังพอดีๆ มีการวางปุ่มแบบ chiclet ที่ระยะห่างระหว่างปุ่มไม่มากเกินไป และด้วยความที่เป็นเครื่องรุ่นจอ 15 นิ้ว จึงมีการเพิ่มแผงปุ่มตัวเลข numpad มาด้วยทางขวาสุด ตรงนี้คงถูกใจคนทำงานออฟฟิศที่ต้องกรอกตัวเลขบ่อยๆ แน่ครับ

ส่วนทัชแพดด้านล่างก็มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีลักษณะเป็นแผ่นเดียวกันทั้งแผง รองรับการใช้งานแบบมัลติทัช ทำให้ใช้งานร่วมกับ Windows 10 ได้สบายๆ

asus-transformer-3-pro-processed-8

asus-transformer-3-pro-processed-4

asus-transformer-3-pro-processed-15

 

Screen / Speaker

asus-transformer-3-pro-processed-13

จอของ ASUS K556UR มีขนาด 15.6 นิ้ว จอกระจก ความละเอียดระดับ HD (1366 x 768) ซึ่งก็เป็นมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ครุ่นระดับราคากลางๆ ตัวพาเนลเป็นแบบ TFT ธรรมดานะครับ สีสันต่างๆ ก็อาจจะไม่คมชัด สวยงามเท่าพวกรุ่นจอ IPS ที่มีราคาสูงกว่านี้ แต่ก็อยู่ในระดับใช้งานในบ้าน ในออฟฟิศทั่วไปได้แบบไม่มีปัญหา แต่เวลาใช้งานอาจต้องระวังเรื่องไฟสะท้อนหน้าจอซักเล็กน้อย ซึ่งก็เป็นข้อจำกัดของจอกระจกอยู่แล้ว

โทนสีของภาพก็จะออกเป็นโทนน้ำเงินซักเล็กน้อย ถ้าต้องนำมาทำภาพกราฟิกต่างๆ แนะนำว่าอาจจะต้อง calibrate หน้าจอกันก่อน หรือไม่ก็ต่อจอมอนิเตอร์นอกที่เป็นแบบ IPS คุณภาพดีหน่อย จะดีกว่า

แต่ถ้าใช้แค่ทำงานเอกสาร เล่นเน็ต ดู YouTube บอกเลยว่าจอ ASUS K556UR นี่เหลือเฟือ ดูหนังความละเอียดระดับ HD คมกริบ

Connector / Thin And Weight

asus-transformer-3-pro-processed-9

ต่อกันด้วยเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อ บอกเลยว่าครบเครื่องอย่างที่โน๊ตบุ๊คยุคใหม่ควรจะมีจริงๆ ไล่จากภาพบนซึ่งเป็นฝั่งซ้ายของเครื่องก็จะพบกับ

  • ช่องเสียบสายชาร์จ
  • ช่อง LAN
  • ช่อง VGA (D-Sub)
  • ช่อง HDMI
  • ช่อง USB 3.0
  • ช่อง USB Type-C (USB 3.1)
  • ช่อง Kensington Lock

ที่ดูเซอร์ไพรส์สุดก็คงเป็นการใส่ USB Type-C ที่มีความเร็วตามมาตรฐาน USB 3.1 มาให้ในรุ่นนี้ด้วยนี่แหละครับ แสดงว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค USB Type-C กันแบบเต็มตัวแล้วนั่นเอง สังเกตได้จากขนาดในโน๊ตบุ๊ครุ่นกลางๆ แบบเมนสตรีม ยังมีพอร์ตนี้มาให้แล้ว แต่ในระยะนี้อาจจะยังไม่ได้ใช้งานซักเท่าไร เนื่องจากอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่เป็น USB Type-C ยังไม่แพร่หลายมากนัก และราคายังสูงอยู่ สำหรับอุปกรณ์ที่ดูมีแนวโน้มว่าจะได้ใช้กับ Type-C ตอนนี้ ส่วนตัวผมว่าคงเป็นพวกสายแปลง ตัวแปลงต่างๆ จาก Type-C เป็น USB ปกติอะไรแบบนี้มากกว่า เพราะมันสามารถใช้กับสมาร์ทโฟนหลายๆ รุ่นที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB Type-C กันแล้ว ส่วนพวก flashdrive ที่เป็นหัว Type-C อาจต้องรอกันอีกพักใหญ่ๆ เลย

asus-transformer-3-pro-processed-10

ส่วนฝั่งขวา ก็จะมี

  • ช่อง SD Card reader
  • ช่องเสียบแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร
  • ช่อง USB 2.0
  • DVD reader/writer

รวมๆ แล้วก็เป็นพอร์ตมาตรฐานครับ ยังคงเหลือ USB 2.0 มาให้ด้วย หลักๆ แล้วก็คงไว้ใช้เสียบเม้าส์กันซะมากกว่า

Performance / Software

win10

ASUS K556UR ที่ซื้อมาใหม่จะเป็นเครื่องเปล่า ไม่มี Windows ติดตั้งมาให้นะครับ สำหรับการทดสอบเครื่องก่อนซื้อ อาจจะให้ทางร้านเปิดโปรแกรมจากใน DOS ให้ทดสอบแทน สำหรับการรีวิวในครั้งนี้ ทางทีมงานเลือกติดตั้ง Windows 10 Pro 64 บิทแบบทดลองใช้งานเพื่อทำการทดสอบนะครับ โดยมีการอัพเดตแพทช์ล่าสุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งระบบก็ตรวจพบฮาร์ดแวร์ขั้นต้นได้ถูกต้องดี ทั้ง CPU และแรม

cpu-z

เริ่มเช็คสเปคอย่างละเอียดด้วย CPU-Z เป็นอย่างแรก ข้อมูลที่ได้ก็ครบถ้วนดี ด้วยชิปประมวลผลระดับกลางๆ อย่าง Intel Core i5-6200U มี 2 คอร์ประมวลผล แบ่งเป็น 4 เธรด ซึ่งกำลังดีสำหรับการใช้งานพื้นฐาน ความเร็ว 2.3 GHz ที่สามารถเร่งได้สูงสุดเป็น 2.8 GHz แต่ด้วยความที่เป็นรุ่นที่ลงท้ายรหัสด้วย U ซึ่งหมายถึงชิปประมวลผลตัวนี้เป็นชิปในกลุ่มที่กินไฟต่ำ เหมาะกับโน๊ตบุ๊คที่ไม่ได้เน้นประสิทธิภาพสูงมาก จึงอาจจะทำให้คะแนนประสิทธิภาพจากการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้สูงมากนัก

แต่ก็จะมีข้อดีในด้านของการใช้พลังงาน จากที่ตัวชิปมีการใช้พลังงานสูงสุดเพียงแค่ 15W เท่านั้น จึงมั่นใจได้เลยว่าสามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้นานแน่นอน

1

ชิปกราฟิกก็จะมีมาด้วยกัน 2 ตัว ข้อมูลก็มาครับดีทั้ง NVIDIA GeForce GT 940M (เครื่องขายจริงจะเป็น GT 930MX) ส่วนชิปกราฟิกในซีพียูก็จะเป็น Intel HD Graphics 520 ซึ่งระบบการสลับชิปกราฟิกให้สอดคล้องกับโปรแกรมก็ทำงานได้ค่อนข้างแม่นยำดี เวลาใช้งานธรรมดา ทำงานเอกสาร เล่นเว็บ ก็จะใช้ชิป Intel ส่วนถ้าเวลาเล่นเกม ระบบก็จะปรับไปใช้ชิป NVIDIA อัตโนมัติ

cinebench

แต่พอทดสอบด้วยโปรแกรม Cinebench R15 ที่เน้นการประมวลผลของ CPU โดยตรง ผลออกมาปรากฏว่าคะแนนด้าน OpenGL ต่ำเกินไปอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะเปิด High performance แล้วก็ตาม ตรงนี้อาจเป็นเพราะตัวเครื่องเป็นเครื่อง engineering sample ที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าตัวขายจริงก็เป็นได้ครับ คะแนนที่ออกมาเลยจัดว่าต่ำกว่าที่คาด (คะแนนน้อยกว่า Transformer 3 Pro ที่ใช้ CPU รุ่นเดียวกันเสียอีก

hdtune

ผลการทดสอบฮาร์ดดิสก์ด้วย HD Tune ก็ออกมาอยู่ในระดับของ HDD 5,400 RPM SATA 3 ทั่วไปครับ ความเร็วสูงสุดประมาณ 100 MB/s ถ้าอยากเร็วกว่านี้ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้พวก HDD 7200 RPM หรือไม่ก็ใส่ SSD กันไปเลย รับรองว่าเห็นความแตกต่างแน่ๆ ส่วนพวก SSHD ส่วนตัวผมว่ามันก้ำกึ่งเกินไป จะเร็วก็เร็วไม่สุด ถ้าอยากได้ทั้งเร็ว ทั้งความจุเยอะด้วย แนะนำว่าซื้อ SSD มาลูกนึงสำหรับลงโปรแกรมและเกม แล้วก็ซื้อ Bay สำหรับใส่ HDD มาใส่แทนในช่องเครื่องอ่าน DVD จะดีกว่า เพราะเดี๋ยวนี้เราก็ใช้ DVD กันน้อยลง แถมราคา SSD ก็ลดลงมาจนจับต้องได้ง่ายมากขึ้นแล้ว ราคาเริ่มต้นของรุ่นที่โอเคหน่อยก็ราวๆ 2,000 กว่าบาทเท่านั้น

ทดสอบด้วยเหล่าเกมทั้งหลายกันบ้าง เริ่มต้นด้วย Street Fighter 4 ที่เป็นโปรแกรม benchmark หลักเรากันก่อน กับการทดสอบที่ความละเอียด 1366 x 768 อันเป็นความละเอียดสูงสุดของจอ ผลคือลื่นเหลือเฟือครับ ด้วยพลังประมวลผลภาพของ NVIDIA GeForce GT 940M ต่อมาก็เป็น Resident Evil 6 ผลออกมาก็คือพอเล่นได้อยู่เหมือนกัน แต่ถ้าไปเจอฉากที่มีศัตรูเยอะๆ เฟรมเรตจะตกอย่างเห็นได้ชัด อันดับ 3 ก็เป็นโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพของเกม Final Fantasy XIV ที่เป็นเกมออนไลน์ ผลที่ได้จัดว่าน่าพอใจ เล่นได้ลื่นๆ แน่นอน กับการตั้งค่าความละเอียดที่ 1366 x 768 ดังนั้นถ้าหากอยากซื้อ ASUS K556UR ไปเล่นเกมออนไลน์ รับรองว่าสบายๆ ไร้ปัญหา

อันดับที่ 4 ทดสอบด้วยเกมในดวงใจหลายๆ คนอย่าง Dota 2 ด้วยโหมดสังเกตการณ์ ซึ่งมีการเรนเดอร์ภาพเสมือนกำลังเล่นอยู่จริง โดยผมตั้งค่าความละเอียดหน้าจอไว้ที่ 1366 x 768 เต็มจอ คุณภาพของพื้นผิววัตถุและเงาอยู่ที่ระดับ High เปิดเอฟเฟคท์เกือบทั้งหมด เฟรมเรตจะออกมาที่สูงกว่า 30fps แทบจะตลอดเวลา เท่ากับว่าสามารถเล่นบนจอทั่วไปได้สบาย

อันดับ 5 ปิดท้ายด้วย PES 2017 หรือที่เรียกกันว่าวินนิ่ง 2017 การตั้งค่าก็เช่นเคยครับ 1366 x 768 เต็มจอ กราฟิกระดับสูงสุด เล่นได้ลื่นๆ 60fps

Battery / Heat / Noise

bat2

จากการที่เอซุสเลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i5-6200U ที่มีความโดดเด่นเรื่องการใช้พลังงานที่น้อยกว่าชิป Core i5 รุ่นทั่วไป ทำให้สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนาน สำหรับในการทดสอบข้างบน ผมทดลองโดยให้เครื่องเปิดหน้าจอตลอดเวลา ความสว่างระดับกลางๆ ใช้งาน Google Chrome ด้วยการเชื่อมต่อ WiFi แล้วเปิดวิดีโอเพลงบน YouTube ค้างไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ได้ข้อมูลออกว่า จะสามารถใช้งานแบตเตอรี่ด้วยรูปแบบการใช้งานดังกล่าวได้อีก 5 ชั่วโมงกว่าด้วยกัน

screen-shot-2559-12-25-at-3-55-59-pm

ต่อกันด้วยเรื่องของความร้อน ผมทดสอบโดยการเปิดโปรแกรมให้ทั้ง CPU และ GPU ทำงานเต็มกำลัง อุณหภูมิของบอร์ดและ CPU จะสูงสุดที่ราวๆ 86 องศาเซลเซียส แล้วระบบก็จะปรับความเร็วลง เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในมากเกินไป ส่วน GPU ก็จะมีอุณหภูมิสูงสุดที่เกือบๆ 90 องศา ก็จัดว่าอยู่ในระดับปกติ โดยทำการทดสอบที่อุณหภูมิห้องปกติ ไม่ได้เปิดแอร์ครับ

Conclusion / Award

asus-transformer-3-pro-processed-2

ASUS K556UR จัดเป็นหนึ่งในซีรีส์ของโน๊ตบุ๊คสุดคุ้มจาก ASUS ที่ตอบโจทย์คนที่กำลังมองหาโน๊ตบุ๊คจอใหญ่ซักเครื่อง มาใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะใช้ในออฟฟิศ/สำนักงาน ที่เน้นงานด้านเอกสาร หรือจะใช้ในบ้านที่ลงตัวทั้งทำงาน เล่นเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมระดับกลางๆ เล่นเกมออนไลน์ก็ทำได้อย่างราบรื่น ทั้งยังสามารถใช้แบตเตอรี่ได้ยาวนาน ด้วยการเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ภายในที่เน้นเรื่องการกินไฟต่ำ แต่ยังคงประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่เหลือกินเหลือใช้อยู่ หน้าตารูปลักษณ์ก็ทำออกมาได้ตามมาตรฐานเครื่องรุ่นเมนสตรีมของ ASUS ที่เรียบง่าย แต่ซ่อนความหรูหราเอาไว้

ด้านของการใช้งาน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ก็ให้มาครบถ้วน ทั้ง USB 3.0 และ 2.0 รวมถึงยังมี USB 3.1 ในรูปแบบของ Type-C มาให้รองรับการใช้งานในอนาคตด้วย ส่วนการเชื่อมต่อจอแสดงผลก็ให้มาทั้ง VGA และ HDMI ทำให้คุณสามารถใช้งานร่วมกับมอนิเตอร์และทีวีได้อย่างไม่ต้องกังวล

แต่ถ้าหากอยากจะใช้งานได้อย่างไหลลื่นยิ่งขึ้น แนะนำว่าซื้อแรม DDR4 มาเพิ่มอีกซัก 4 GB ให้มีแรมรวมเป็น 8 GB น่าจะช่วยได้มากทีเดียวครับ ถ้าเพิ่มเข้าไป รับรองว่าคุณจะได้รับประสบการณ์การใช้งานอันยอดเยี่ยมจาก ASUS K556UR อย่างแน่นอน

 

ข้อดี

  • สเปคคุ้มๆ ราคากำลังดี ใช้ทั้งทำงาน ทั้งเล่นเกมระดับกลางได้สบาย
  • มาพร้อมพอร์ตเชื่อมต่อครบครัน แถมยังมี USB Type-C มาให้ด้วย
  • แบตเตอรี่ใช้งานทั่วไปได้ยาวนาน
  • น้ำหนักไม่มากเกินไป แม้จะเป็นเครื่องจอขนาด 15 นิ้วก็ตาม

ข้อสังเกต

  • ควรเพิ่มแรมเป็นซัก 8 GB จะเหมาะกับการใช้งานทั่วไปในยุคปัจจุบัน
  • หน้าจอมีแสงสะท้อน ต้องเลือกมุมที่นั่งดีๆ เลี่ยงทิศทางที่แสงส่องเข้าจอโดยตรง
  • ฝาหลังไม่สามารถแกะได้ และไม่สามารถถอดแบตเตอรี่ได้ด้วย

 

Best Value

ASUS K556UR มาพร้อมกับสเปคที่ลงตัวกับการใช้งานหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทำงานออฟฟิศทั่วไป งานเอกสาร ดูหนังฟังเพลงก็สบายๆ แถมยังเล่นเกมคลายเครียดได้ด้วย เนื่องจากการเลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i5-6200U ที่ประสิทธิภาพกำลังดี พ่วงพร้อมการประหยัดพลังงาน ทั้งยังมีกราฟิกชิปเป็น NVIDIA GeForce GT930MX และแรม DDR4 เข้ามาอีก ภายในราคาราวๆ 20,000 บาทเท่านั้น เหมาะมากๆ สำหรับใครที่อยากได้โน๊ตบุ๊คมาใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน

award_use_2_create_142

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว Asus

ASUS ZenBook 14 OLED UM3406H พรีเมี่ยมโน๊ตบุ๊คพร้อมพลัง Ryzen AI ทำงานได้ เนียนเล่นเกมลื่นอีก!! ถ้าจะซื้อโน๊ตบุ๊กสักเครื่อง ก็จะมีทางเลือกแค่เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหนาหนักแต่แรงทรงพลังหรือเป็นกลุ่มโน๊ตบุ๊คบางเบาเช่นเดียวกับ ASUS Zenbook 14 OLED UM3406H ทว่ามันจะไม่ติดข้อจำกัดเดิมว่าเล่นเกมไม่ไหวอีกต่อไปด้วยพลังของซีพียู AMD Ryzen 8000 Series พร้อม Ryzen...

รีวิว Asus

ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เกมมิ่งตัวบางแอบแรง หยิบไปไหนก็ดูดีไม่มีใครเกิน!! ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เป็นหนึ่งในสามหัวหอกเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คจากทาง ASUS ผู้คงรูปลักษณ์เรียบหรูผู้ดี ขณะที่อีกสองพี่น้องเป็นเกมมิ่งตัวแรงทรงพลังขวัญใจเกมเมอร์ปรับสุดทุกเกม ROG Zephyrus G14 จึงเหมาะกับพนักงานออฟฟิศผู้รักในการเล่นเกมและครีเอเตอร์ปั้นงานกราฟิค 3D เสียมากกว่า ซึ่งโมเดลปี 2024...

Buyer's Guide

ตัวกระจายสัญญาณ WiFi แบบ Mesh Router ช่วยเน็ตแรงทั้งบ้านไม่ต้องสลับเครือข่ายไปมา! ตัวกระจายสัญญาณ WiFi แบบ Mesh Router เป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ทั่วบริเวณบ้านและออฟฟิศซึ่งดีไม่แพ้ WiFi Repeater ที่เคยแนะนำไปก่อนหน้านี้ ถ้า Repeater สามารถเชื่อมกับ Router รุ่นไหนก็ได้ไม่เกี่ยงแบรนด์ขอแค่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตส่งมาถึงก็ใช้งานได้เลย แต่ก็จะแยกคลื่นสัญญาณเป็นอีกชื่อและต้องเชื่อมต่อใหม่เวลาจะใช้งาน ผิดกับ Mesh Router...

Accessories review

Belkin BoostCharge Pro 140W 4-Port GaN Wall Charger ที่ชาร์จไฟและสายชาร์จ BoostCharge USB-C to USB-C 240W ชาร์จด่วนเต็มไว มือถือ แท็ปเล็ต โน๊ตบุ๊คด่วนๆ Belkin BoostCharge Pro 140W 4-Port GaN...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก