Connect with us

Hi, what are you looking for?

SOFTWARE

ทำความรู้จักกับ Distributed Denial of Service (DDoS)

หลังจากเว็บของเรา NBS โดนโจมตีจากผู้ไม่หวังดี ก็เล่นเอาซะอ่วม เพื่อนๆ ใช้เว็บไม่ได้กันเป็นทิวแถวรวมทั้งตัวผมด้วย จะเข้ามาอัปเดตบทความก็ยากเลยเกินสำหรับช่วงนั้น เจ้าสิ่งที่โจมตี NBS ตามภาษาคนดูและระบบเขาเรียกว่า DDoS หรือจะเรียกเต็มๆ ก็ ?Distributed Denial of Service

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ DDoS กันสักเล็กน้อย ว่ามันคืออะไร และทำงานอย่างไร และจะมีทางป้องกันได้อย่างไร

Advertisement

การโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) มีจุดประสงค์เพื่อให้ระบบหยุดการทำงานไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทั้งระบบหรือเครื่องเดียวๆ เคยมีเหตุการโจมตีแบบนี้เป็นตัวอย่างจริงมากับประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี 2552 ในเดือนนี้หล่ะ มีแฮกเกอร์ยิง DDoS ถล่มเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาลเกาหลีใต้ แฮกเกอร์ไม่ทราบสัญชาติได้ส่งข้อมูลเข้าไปทำลายระบบเน็ตเวิร์ก จนเว็บไซต์ใช้งานไม่ได้นานกว่า 4 ชั่วโมง เว็บไซต์เกาหลีใต้ที่ถูกโจมตีไม่ใช่เว็บไซต์ทั่วไป แต่เป็นเว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหม เว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดี ในไทยก็มี ถ้าใครเป็นนักเล่นคอมพิวเตอร์?และเป็นคอการเมือง จะรู้กันในช่วงที่ปัญหาการเมืองกำลังคุกรุ่นที่ผ่านมาเว็บ ICT ก็เคยถูกโจมตีจนระบบล่ม ไม่สามารถใช้งานได้อยู่หลายชั่วโมง

ผู้ที่โจมตีแบบ DDoS? มักจะนำเครื่องมือที่จะใช้ในการโจมตีไปติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ที่ถูกเจาะไว้แล้ว คอมพิวเตอร์ที่ได้รับเครื่องมือนี้เข้าไปจะเรียกว่า ?ซอมบี้? ซึ่งเมื่อมีจำนวนพอสมควรก็จะระดมส่งข้อมูลในรูปแบบที่ควบคุมได้โดยผู้ควบคุมการโจมตีไปยัง เหยื่อหรือเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งการโจมตีรูปแบบนี้มักจะก่อให้เกิดการใช้แบนด์วิดธ์อย่างเต็มที่จนผู้ อื่นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ หรือทำให้ระบบที่ถูกโจมตีไม่มีทรัพยากรเหลือพอที่จะให้บริการผู้ใช้ธรรมดาได้

DDos- 0

รูปแบบการโจมตี

เครื่องมือที่ใช้โจมตี แบบ DDoS มีใช้กันอย่างแพร่หลายมานานหลายปีแล้วย้อนหลังเป็น 10 ปี มาแล้ว (แต่บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างก็มีวิธีป้องกันการโจมตีเช่นเดียวกัน) รูปแบบการโจมตีที่นิยมใช้กันก็มีอย่าง SYN flood, UDP flood, ICMP flood, Smurf, Fraggle เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้…

1. การโจมตีแบบ SYN Flood

เป็นการโจมตีโดยการส่ง แพ็คเก็ต TCP ที่ตั้งค่า SYN บิตไว้ไปยังเป้าหมาย เสมือนกับการเริ่มต้นร้องขอการติดต่อแบบ TCP ตามปกติ (ผู้โจมตีสามารถปลอมไอพีของ source address ได้) เครื่องที่เป็นเป้าหมายก็จะตอบสนองโดยการส่ง SYN-ACK กลับมายัง source?IP address ที่ระบุไว้ ซึ่งผู้โจมตีจะควบคุมเครื่องที่ถูกระบุใน source?IP address ไม่ให้ส่งข้อมูลตอบกลับ ทำให้เกิดสภาวะ half-open ขึ้นที่เครื่องเป้าหมาย หากมีการส่ง SYN flood จำนวนมาก ก็จะทำให้คิวของการให้บริการของเครื่องเป้าหมายเต็ม ทำให้ไม่สามารถให้บริการตามปกติได้ นอกจากนี้ SYN flood ที่ส่งไปจำนวนมาก ยังอาจจะทำให้เกิดการใช้แบนด์วิดธ์อย่างเต็มที่อีกด้วย

DDoS-1

2. การโจมตีแบบ ICMP Flood

เป็นการส่งแพ็คเก็ต ICMP ขนาดใหญ่จำนวนมากไปยังเป้าหมาย ทำให้เกิดการใช้งานแบนด์วิดธ์เต็มที่

DDoS-2

3. การโจมตีแบบ UDP Flood

เป็นการส่งแพ็คเก็ต UDP จำนวนมากไปยังเป้าหมาย ซึ่งทำให้เกิดการใช้แบนด์วิดธ์อย่างเต็มที่ และหรือทำให้ทรัพยากรของเป้าหมายถูกใช้ไปจนหมด โดยจะส่ง UDP packet ไปยัง port ที่กำหนดไว้ เช่น 53 (DNS)

4. การโจมตีแบบ Teardrop

โดยปกติเราเตอร์จะไม่ยอม ให้แพ็กเก็ตขนาดใหญ่ผ่านได้ จะต้องทำ Fragment เสียก่อนจึงจะยอมให้ผ่านได้ และเมื่อผ่านไปแล้วเครื่องของผู้รับปลายทางจะนำแพ็กเก็ตที่ถูกแบ่งออกเป็น ชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยวิธีการ Fragment มารวมเข้าด้วยกันเป็นแพ็กเก็ตที่สมบูรณ์ การที่สามารถนำมารวมกันได้นี้จะต้องอาศัยค่า Offset ที่ปรากฏอยู่ในแพ็กเก็ตแรกและแพ็กเก็ตต่อๆ ไปสำหรับการโจมตีแบบ Teardrop นี้ ผู้โจมตีจะส่งค่า Offset ในแพ็กเก็ตที่สองและต่อ ๆ ไปที่จะทำให้เครื่องรับปลายทางเกิดความสับสน หากระบบปฏิบัติการไม่สามารถรับมือกับปัญหานี้ก็จะทำให้ระบบหยุดการทำงานในทันที

5. การโจมตีแบบ Land Attack

ลักษณะการโจมตีประเภทนี้ เป็นการส่ง SYN ไปที่เครื่องเป้าหมายเพื่อขอการเชื่อมต่อ ซึ่งเครื่องที่เป็นเป้าหมายจะต้องตอบรับคำขอการเชื่อมต่อด้วย SYN ACK ไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางเสมอ แต่เนื่องจากว่า IP Address ของเครื่องต้นทางกับเครื่องที่เป็นเป้าหมายนี้มี IP Address เดียวกัน โดยการใช้วิธีการสร้าง IP Address ลวง (โดยข้อเท็จจริงแล้วเครื่องของ Hacker จะมี IP Address ที่ต่างกับเครื่องเป้าหมายอยู่แล้ว แต่จะใช้วิธีการทางซอฟต์แวร์ในการส่งแพ็กเก็ตที่ประกอบด้วยคำขอการเชื่อมต่อ พร้อมด้วย IP Address ปลอม) ซึ่งโปรโตคอลของเครื่องเป้าหมายไม่สามารถแยกแยะได้ว่า IP Address ที่เข้ามาเป็นเครื่องปัจจุบันหรือไม่ ก็จะทำการตอบสนองด้วย SYN ACK ออกไป หากแอดเดรสที่ขอเชื่อมต่อเข้ามาเป็นแอดเดรสเดียวกับเครื่องเป้าหมาย ผลก็คือ SYN ACK นี้จะย้อนเข้าหาตนเอง และเช่นกันที่การปล่อย SYN ACK แต่ละครั้งจะต้องมีการปันส่วนของหน่วยความจำเพื่อการนี้จำนวนหนึ่ง ซึ่งหากผู้โจมตีส่งคำขอเชื่อมต่อออกมาอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดปัญหาการจัดสรรหน่วยความจำ

DDoS-3

6. Smurf

ผู้โจมตีจะส่ง ICMP Echo Request ไปยัง broadcast address ในเครือข่ายที่เป็นตัวกลาง (ปกติจะเรียกว่า amplifier) โดยปลอม source?IP address เป็น?IP address ของระบบที่ต้องการโจมตี ซึ่งจะทำให้เครือข่ายที่เป็นตัวกลางส่ง ICMP Echo Reply กลับไปยัง?IP address ของเป้าหมายทันที ซึ่งทำให้มีการใช้งานแบนด์วิดธ์อย่างเต็มที่

DDoS-4

ความเสียหายที่เกิดโดยการโจมตีในรูปแบบ DoS

ความเสียหายที่เกิดจาก DoS ส่งผลให้ผู้ใช้งานแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน?แล้วแต่ว่าเขาจะอยู่ในส่วนใด เช่น เป็นผู้เข้าไปใช้งาน?เป็นพนักงานในองค์กรที่โดนโจมตีหรือเป็น เจ้าของเครื่องที่ถูกใช้ในการโจมตี หรือจะมองในแง่ขององค์กรที่โดนโจมตี ทุกๆ ฝ่ายล้วนแล้วแต่เป็นฝ่ายเสียทั้งนั้น?ยกเว้นคนที่ทำให้เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้น หรือคนที่เป็นคนบงการอยู่เบื้องหลังเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากการโจมตีนั้น

Pages: 1 2

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก