ถ้าคุณทำงานในสายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักข่าวหรือว่าเป็นนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการเครื่องบันทึกเสียงดิจิทัลดีๆ สักเครื่องเพื่อใช้ในการบันทึกเสียงแล้วหล่ะก็ วันนี้เราขอแนะนำ “SpeechAir” เครื่องบันทึกเสียงดิจิทัลรุ่นใหม่จากบริษัทเก๋าเกมอย่าง Philips ที่ตัวเครื่องนั้นมาพร้อมกับดีไซน์ที่ทันสมัย(ออกไปทางสมาร์ทโฟนพอสมควร) และมาพร้อมกับระบบปฎิบัติการที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกอย่าง Android ครับ
Philips SpeechAir นั้นด้วยความที่มันเป็นเพียงแค่เครื่องอัดเสียงดิจิทัลเท่านั้นเลยทำให้สเปคของมันไม่ได้สูงเวอร์เหมือนกับสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน แต่เมื่อดูสเปคแล้วก็ต้องบอกหล่ะครับว่าเพียงพอต่อการใช้งานในเรื่องของการอัดเสียงแล้ว สำหรับสเปคของ Philips SpeechAir ที่มีการเปิดเผยออกมามีดังต่อไปนี้ครับ
- หน้าจอขนาด 4 นิ้วใช้ panel แบบ IPS รองรับความละเอียดที่ระดับ 480 × 800 pixels พร้อมกระจกกันรอย Corning Gorilla Glass
- หน่วยประมวลผลไม่ได้บอกว่าใช้ของยี่ห้อใด บอกเพียงแต่ว่าเป็น Dual Core Cortex-A9 ความเร็ว 1.6 GHz
- หน่วยความจำ(RAM) แบบ DDR3 ขนาด 1 GB
- แหล่งเก็บข้อมูลภายในความจุ 16 GB(เหลือใช้ 12 GB) ไม่สามารถเพิ่มแหล่งเก็บข้อมูลแบบภายนอกได้(นอกจากใช้แหล่งเก็บข้อมูลแบบ On-the-go)
- เซ็นเซอร์บนตัวเครื่องประกอบไปด้วย light sensor, motion sensor และ optical proximity sensor
- ช่องเชื่อมต่อประกอบไปด้วย audio jack 3.5 mm(ทั้งหูงฟังและไมโครโฟน), micro USB 2.0 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับ Docking station ได้
- รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย Bluethooth 4.0 และ WiFi IEEE 802.11 a/b/g/n
- มาพร้อมกับปุ่มภายนอกที่สามารถเรียกใช้ฟังก์ชันการอัดเสียงได้ทันทีอย่าง record / stop / play / rewind ซึ่งตัวปุ่มนี้จะอยู่ทางด้านข้างของเครื่อง
- มาพร้อมกับกล้องทางด้านหลังความละเอียด 5 MP โดยสามารถใช้ในการอัดวีดีโอรูปแบบ H.264 / AVC (MOV, 3GP) สูงสุดที่ความละเอียด 1920 × 1088 pixels (30fps)
- มาพร้อมกับลำโพงแบบไดนามิกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในตัวเครื่อง โดยตำแหน่งของลำโพงจะอยู่ทั้งที่ด้านหน้าและด้านข้างของเครื่อง ด้านหน้าของเครื่องทำโพงมีขนาดอยู่ที่ 6 x 12 mm ส่วนด้านข้างของเครื่องลำโพงมีขนาดอยู่ที่ 11 x 15 mm
- ตัวเครื่องมีขนาดอยู่ที่ 62 × 127 × 15 mm(W × D × H)
- ตัวเครื่องมีน้ำหนักอยู่ที่ 116 g
- มาพร้อมกับแบตเตอรี่ความจุ 2,700 mAh สามารถใช้งานในการบันทึกเาียงได้ยาวนานสูงสุด 12 ชั่วโมง(DSS QP mode) และเปิดทิ้งไว้เฉยๆ ได้ยาวนาน 97 ชั่วโมง ใช้เวลาในการชาร์จเต็มหนึ่งครั้งอยู่ที่ 3 ชั่วโมง
- มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Android 4.4.2 KitKat
- มีวางจำหน่ายสีเดียวโดยส่วนของตัวเครื่องจะเป็นสี dark grey pearl metallic ที่กรอบนั้นเคลือบโครเมียมไว้
- มี Docking station มาให้ใช้งานด้วยโดยตัว Docking station จะมีขนาดอยู่ที่ 82 × 77 × 56 mm(W × D × H) และน้ำหนักอยู่ที่ 264 g รองรับการเชื่อมต่อแบบ LAN มาพร้อมฟีเจอร์ Kensington lock
จุดพิเศษของ Philips SpeechAir นั้นคือเรื่องของเสียงมากกว่าครับไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอัดเสียงที่บนตัวเครื่อง Philips SpeechAir นั้นมาพร้อมกับลำโพงมากถึง 3 แบบ แถมด้วยแอปพลิเคชันเฉพาะดัวในการอัดเสียงซึ่งมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก มาดูกันครับว่าแต่ละอย่างนั้นจะน่าสนใจมากแค่ไหน
ไมโครโพนทั้ง 3 ตัวจะถูกติดตั้งในจุดที่แตกต่างกันไปเพื่อใช้งานในด้านต่างๆ กันดังต่อไปนี้ครับ
- Directional microphone : ใช้สำหรับการอัดเสียงพูดเฉพาะตัว(รวมไปถึงใช้ในการจำแนกเสียง)
- 360° microphone : ใช้สำหรับการอัดเสียงในการประชุมที่ต้นกำเนิดเสียงมาจากรอบทิศทาง
- MEMS microphone : ใช้สำหรับการอัดเสียงโทรศัพท์ผ่าน VoIP
ในส่วนของแอปพลิเคชันเฉพาะตัวที่ชื่อว่า Philips dictation recorder นั้นก็มาพร้อมกับความสามารถดังต่อไปนี้ครับ
- Recording modes : DSS Pro (DS2/mono), PCM Voice (WAV/mono)
- Bit rate : 28 kbit/s (DSS Pro), 256 kbit/s (PCM Voice)
- Edit modes : insert, overwrite, append
- Recording time : 1073 hours (DS2), 117 hours (WAV)(ขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งเห็บข้อมูลภายในที่เหลืออยู่ด้วย)
- Sample rate : 16 kHz / 16 bit
- Supported barcodes : Code 39, Code 93, Codabar, Code128, Code 25, Code 11, MSI-Plessey, EAN, UPC, QR code, Data Matrix
- รองรับการเข้ารหัสเสียงที่อัดผ่านแอปในรูปแบบ : Advanced Encryption Standard (AES) 256 bits
จุดที่น่าสงสัย(และหากไม่มีก็น่าเสียดายเป็นอย่างมาก) ก็คือทาง Philips ไม่ได้บอกเอาไว้เลยครับว่าเจ้า SpeechAir นั้นรองรับการโหลดแอปพลิเคชันผ่าน Google Play Store หรือไม่(ซึ่งถ้าไม่รองรับผู้ใช้ในระดับบนหน่อยก็มีวิธีที่จะสามารถในการหาแอปพลิเคชันมาติดตั้งในเครื่องเพิ่มได้มากมายครับ เพียงแค่ว่ามันไม่สะดวกกับผู้ใช้ระดับทั่วไปเท่านั้นเอง) สำหรับราคาและวันวางจำหน่ายของ SpeechAir นั้นทาง Philips ยังไม่ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการครับ
หมายเหตุ – ทาง Philips จะปล่อย SDK ของ SpeechAir ให้นักพัฒนาสามารถนำไปพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ SpeechAir ได้ด้วยครับ
ที่มา : androidpolice, Philips