Lenovo มีการขยายตัวในตลาดผู้ใช้ทั่วไปมากขึ้น พร้อมกับมีการเพิ่มชื่อใหม่ที่ให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจได้ง่าย รวมถึงมีการนำเอาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ Lenovo 100 และ 500 รวมถึง Lenovo 700 series พร้อมการนำเสนอเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละรุ่น โดยสำหรับ Lenovo YOGA 900 เป็น Ultrabook 2-in-1 ระดับสูง
Lenovo YOGA 900 เป็นไลน์ของรุ่นที่เรียกว่าเป็นรุ่นพีคสุดในซีรีส์ และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยก่อนหน้านี้ Lenovo YOGA 3 Pro เป็นรุ่นที่ Lenovo ได้ปรับให้สามารถปรับ พับและหมุนได้ 360 องศา บนบานพับ ซึ่งก็ทำให้ดูเหมือนว่า Lenovo มีการปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว แต่ Lenovo YOGA 900 ได้รับการต่อยอดที่ดีในหลายๆ ด้าน รวมถึงใช้ชิปประมวลผล Core i7 Gen 6 สนนราคาอยู่ที่ 65,990 บาท
Specification
สเปคภายในของตัว Lenovo YOGA 900 จะอยู่ในกลุ่มของ Ultrabook ระดับสูงกับขนาดหน้า 13.3 นิ้วแบบสัมผัส แต่เหนือกว่าด้วยความละเอียด 3200 x 1800 พิกเซล หรือ QHD+พาเนลคุณภาพสูง IPS ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริงและมุมมองที่กว้างขว้าง ด้านชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-6500U ความเร็ว 2.5GHz ที่สามารถเร่งการทำงานไปได้ถึง 3.1GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด รุ่นล่าสุดที่เน้นการประหยัดไฟและลดความร้อน โดยเป็นสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 6 ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งานแน่นอน ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel HD Graphics 520 ที่เรียกได้ว่าสดใหม่กว่า Intel Core i รุ่นก่อนหน้า นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ SSD ยังมีความจุสูงที่ 512GB ทำให้มีความเร็วสูงทั้งเขียนและอ่าน พร้อมขนาดที่เหลือเฟือในการใช้งาน
ตัวเครื่อง Lenovo YOGA 900 ติดตั้งWebcam HD 720 และไมโครโฟนแบบ Dual Microphone ไว้สำหรับแชท และ VDO Call ได้อย่างคมชัดลื่นไหล พอร์ตเชื่อมต่อเองก็จะมี USB 3.0 (เป็น USB Charing สามารถชาร์ทสมาร์ทโฟนได้) และ USB Tpye-C สำหรับต่อหน้าจอแยกพร้อมส่องข้อมูล, Audio Combo Jack, รองรับการเชื่อมไร้สายอย่าง Wireless AC, Bluetooth 4.0 และมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1.39 กิโลกรัม และมาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์แท้ พร้อมการรับประกันทั่วโลก 3 ปี ชมสเปกเต็มๆ Lenovo YOGA 900 <<<
Hardware / Design
Lenovo YOGA 900 เผยให้เห็นโครงสร้างที่เกือบจะเหมือน Lenovo YOGA 3 Pro ที่มีควาทโดดเด่นที่แตกต่างกันในบางจุด เป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็นบานพับสายนาฬิกาข้อมือสวิสบนโน๊ตบุ๊ค ที่มาพร้อมรูปแบบมาตรฐาน 2-in-1 โดยการพับได้ 360 องศา แต่การออกแบบมีความน่าสนใจยิ่งขึ้นและดูหรูหรา ด้วยการใช้พื้นผิวแบบยางและไม่เป็นรอยบุ๋มลงไปให้เห็น แบบใน Lenovo YOGA 3 Pro ที่ทำให้ดูเหมือนวัสดุที่เป็นหนัง ที่ขอบโดยรอบได้มีการป้องกันการกระแทก ด้วยกันชนยางขนาดเล็กและการแสดงผลที่มาในรูปแบบเกือบจะไร้ขอบทั้งหมด พร้อมการป้องกันด้วย Gorilla Glass กับขนาด 13.3 นิ้ว ที่เป็นไซส์ที่เหมาะสมกับ Ultrabook ที่สุด
โดยวัสดุบานพับขาจอนั้นเป็นวัสดุโลหะแมกนีเซียมเหมือนกับที่ใช้ในโครงสร้างของตัว Lenovo YOGA 900 ด้วย ซึ่งออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อน ซึ่งจากการทดลองใช้ฟีเจอร์พับจอกลับ 360 องศานี้แล้ว ต้องกล่าวว่าเป็นบานพับขารองรับจอที่แข็งแรงมากที่สุด ต้านต่อแรงบิดได้เป็นอย่างดี รวมถึงแรงกดจากน้ำหนักภายนอก ที่ถ่ายลงสู่ศูนย์กลาง ไม่ทำให้เสียรูปแบบไป รวมถึงฝาปิดภายนอกที่ทนทานต่อแรงกระทำจากภายนอกได้ดีในระดับหนึ่ง
ขนาดโดยทั่วไปของ Lenovo YOGA 900 แตกต่างจาก Lenovo YOGA 3 Pro อยู่เล็กน้อย ด้วยขนาดที่ 324 x 225 x 14.9 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับ 330 x 228 x 12.8 มิลลิเมตร เห็นได้ชัดว่าความหนาที่มากกว่าประมาณ 2 มิลลิเมตรซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการใช้งาชิปประมวลผลในแบบ ULV ด้วยการใช้งาน Core i7 แทนการใช้ Core M เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้า รวมถึงน้ำหนักเหลือเพียง 1.19 กิโลกรัมเท่านั้น แม้ว่าขนาดจะค่อนข้างใหญ่กว่าคู่แข่งในระดับเดียวกัน แต่น้ำหนักก็น้อยกว่าอยู่หลายรุ่น ในความเป็น Lenovo Yoga 900 ให้ความบางกว่าคู่แข่งในขนาด 13.3 นิ้ว ที่สามารถพับได้ 360 องศา จึงทำให้ Lenovo YOGA 900 เป็น 2-in-1 Ultrabook สเปก Core i ที่มีความบางเบาในโลกก็ว่าได้
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดบน Lenovo YOGA 3 Pro จะค่อนข้างเล็กและยังขาดปุ่มฟังก์ชั่น แต่สำหรับ Lenovo YOGA 900 นั้นกลับมาด้วยแป้นพิมพ์หกแถว ที่เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด เพียงแต่ลักษณะปุ่มยังไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก นั้นคือ รู้สึกค่อนข้างเบาและตื้น ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกในการใช้งานอยู่บ้าง แสงไฟมีระดับความสว่างอยู่ 2 ระดับและจะปิดอัตโนมัติเมื่อหน้าจอแสดงผลหมุนพับเกินกว่า 190 องศา ปุ่มและทัชแพดจะหยุดทำงานอัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่โหมดดังกล่าว
พื้นที่ของทัชแพดอยู่ที่ประมาณ 90 x 60 มิลลิเมตร โดยให้พื้นผิวสัมผัสที่เรียบลื่นเป็นยางกึ่งพลาสติก เพื่อให้มีความทนทานต่อการหลุดร่อน ซึ่งทัชแพดที่นำมาผลิตด้วยแผงควบคุมจาก Gynaptics จะรองรับการทำงานแบบมัลติทัช 4 นิ้ว แต่ก็พบว่าด้วยขนาดทัชแพดที่มีพื้นที่ไม่กว้างนัก ก็ทำให้การใช้งานแบบ 4 นิ้วไม่ง่ายเสียทีเดียว อย่างไรก็ดีอย่างน้อยทัชแพดก็เสริมในด้านของแรงกดที่จะตอบสนองได้ดียิ่งชึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคลิก ดับเบิลคลิกหรือการคลิกขวาได้อย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน
Screen / Speaker
Lenovo YOGA 900 มาพร้อมความละเอียด QHD+ (3200 x 1800 พิกเซล) หน้าจอเป็นแบบ Glossy สนับสนุนการทัชสกรีน พร้อมด้วย Gorilla Glass 4 ซึ่งดูน่าประทับใจ ความสว่างอยู่ที่ 300 nits ถือว่าทำได้ดีกว่าคู่แข่งหลายรายในระดับเดียวกัน รวมถึงในการทดสอบมาตรฐาน sRGB และ AdobeRGB ที่ทาง Lenovo YOGA 900 ให้สีที่ถูกต้องในการทำงาน จึงดูสำคัญต่อผู้ใช้ในกลุ่มที่ต้องการเครื่องที่ทำงานระบบภาพที่ดีมากขึ้น ส่วนในการใช้งานภายนอกสถานที่อาจไม่จัดจ้านนัก เพราะแสงที่บางเบา แต่การมองเห็นยังจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร ส่วนทำงานในร่มไม่ได้เป็นปัญหา ส่วน Webcam นั้นพร้อมเป็นตัวควบคุม Lenovo Motion Control
ส่วนลำโพงและเสียงของตัวเครื่องนั้น อยู่ในระดับค่อนข้างดี มิติเสียงครบถ้วน ด้วย Dolby DS1.0 Home Theatre แต่ว่าอาจจะไม่ได้ดังมาก เพราะว่าตัวลำโพงอยู่ด้านใต้ตัวเครื่องด้านหน้า และเมื่อใช้งานเพื่อดูหนังฟังเพลงแล้วถือว่าทำออกมาได้น่าพอใจ
Multi-Mode
สำหรับคุณสมบัติโดดเด่นที่มีอยู่ใน Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้ ที่เรียกได้ว่าโน๊ตบุ๊ค Lenovo YOGA Series อย่างที่รุ่นอื่นๆ ไม่สามารถให้ได้ก็คือการพับหน้าจอแบบ 360 องศา ซึ่งมีอยู่หลากหลายองศาเพื่อให้เกิดการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
แบบที่หนึ่ง Laptop Mode ที่เป็นรูปแบบธรรมดาทั่วไปเหมือนกับโน๊ตบุ๊คปกติ เน้นสำหรับการใช้งานทั่วไป เล่นอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงงานเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการควบคุม โดยคีย์บอร์ดของเครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดีอย่างน่าประทับใจ ตามมาตรฐานที่มีใน Lenovo YOGA Series ทีเดียว
แบบที่สอง Stand Mode เน้นใช้งานที่ระบบจอสัมผัสของตัวเครื่องอย่างเดียวและวางไว้บนพื้นที่ราบ โดยรูปแบบการใช้งานนี้จะเน้นไปทางการใช้งานแอพพลิเคชั่นของ Windows 10 เอง หรือเน้นไปทางการดู Youtube หรือชมภาพยนตร์เป็นหลัก ซึ่งหน้าจอของ Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้เป็นจอแบบพาเนล IPS ขนาด 13.3 นิ้ว ทำให้การแสดงผลภาพออกมาคมชัดสวยงาม ส่วนของความละเอียดอยู่ที่ 3200 x 1800 พิกเซล?พร้อมรองรับการทำงานแบบมัลติทัชได้พร้อมกันมากสุดที่ 10 จุดพร้อมกัน แน่นอนว่าเป็นประสบการณ์ใช้งานที่หาได้ยากในราคาโน๊ตบุ๊คระดับสูงแบบทั่วไป
แบบที่สาม Tent Mode ค่อนข้างจะคล้ายกับ Stand Mode ก่อนหน้านี้ แต่จะอยู่ในรูปทรงตั้งเครื่องเอาไว้เป็นลักษณะสามเหลี่ยม ใช้ในการวิวดูข้อมูลการแสดงผลหน้าจอเป็นหลัก อีกทั้งยังสามารถจับพาดหรือเกาะกับสิ่งของรอบๆ ได้ ที่ต้องบอกว่าเป็นผลมาจากการออกแบบที่ไม่เหมือนใครจาก Lenovo ด้วยบานพับสองชั้น อีกทั้งยังใช้วัสดุโลหะแมกนีเซียมเหมือนกับที่ใช้ใน Lenovo YOGA Series โดยออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อนเวลาอันควร ซึ่งจากการทดลองพับจอกลับไปมาแล้ว ก็จัดได้ว่าเป็นบานพับจอที่แข็งแรงมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่งทีเดียว
และแบบที่สี่ Tablet Mode ด้วยการพับหน้าจอกลับแบบ 360 องศา จนฝาหลังและฐานใต้เครื่องมาติดกัน เราก็จะได้แท็บเล็ตที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งเรามีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการเอาไว้เล่นเกมหรือดู E-Book อย่างที่แท็บเล็ตอื่นๆ ทั่วไปในตลาดสามารถทำได้ พร้อมแอพพลิเคชั่นมากมายที่รองรับการใช้งานแท็บเล็ต ซึ่งด้วยตัวเครื่องมีขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว ถือว่ามีขนาดที่เล็กเหมาะสม โดยเมื่อเข้าสู่โหมดการทำงานแบบแท็บเล็ตก็ไม่มีน้ำหนักจนเกินไป พอถือใช้งานด้วยมือเดียวได้อย่างสบายๆ ส่งผลให้Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานที่หลากหลายถึง 4 รูปแบบด้วยกัน
Connector / Thin And Weight
พอร์ตต่อพ่วงส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Lenovo YOGA 3 Pro ยกเว้นบางส่วน เช่น mini-HDMI ที่ปัจจุบันเป็น USB Type-C ที่จะรองรับกับการใช้งานร่วมกับ Thunderbolt 3 โดยเป็นพอร์ตที่สามารถในการส่งสัญญาณแสดงผลภาพและส่งข้อมูลผ่านทางบรรดาแฟลชไดร์ฟที่รองรับได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับการใช้งาน เพียงแต่จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ mini-HDMI ที่คงจะต้องหาสายแปลงมาใช้งานร่วม รวมถึงยังมีในส่วนของพอร์ต USB 3.0 อีกสองพอร์ต และพอร์ตชาร์จที่สามารถแปลงเป็นพอร์ต USB 3.0 ได้อีกหนึ่งพอร์ต ส่วนอื่นๆ ก็จะเป็น Card Reader และช่องเชื่อมต่อหูฟังมาตรฐาน
นอกเหนือจากนั้น ยังมีปุ่มกดในการใช้งานหลากหลาย ทำให้สวยงามและมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีปุ่มกดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มเปิดปิดเครื่อง (Sleep ด้วย), ปุ่มปรับระดับเสียงขึ้นลง, ปุ่มล็อคหน้าจอไม่ให้หมุนไปมา ขนาดที่เราใช้งานโหมดอื่นๆ นอกเหนือจาก Laptop
Performance / Software
ชิปประมวลผล Lenovo ThinkPad P40 Yoga เลือกใช้เป็น Intel Core i7-6500U ตัวแรงบนเครื่องโน๊ตบุ๊ค สถาปัตยกรรม Skylake ที่มีความเร็วในการประมวลผล 2.5 GHz ที่สามารถเร่งความเร็วด้วย Turbo Boost ได้สูงสุด 3.1 GHz มีหน่วยความจำ L3 Cache 4MB โดยเป็นแบบ 2 Core 4 Threads พร้อมทั้งมีค่าอัตราการกินไฟสูงสุดแค่ 25W ส่วนระดับสถาปัตยกรรมก็อยู่ที่ 14nm ส่วนหน่วยความจำแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 18GB DDR3 Bus 1866MHz แบบ Dual Channel ที่เรียกว่าจัดเต็มทีเดียว
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 520 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นประหยัดพลังงานที่เน้นการทำงานเป็นหลัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB แบบ PCIe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตอยู่ว่าอาจจะเร็วไม่เท่ากับ SSD ในโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน
กหนึ่งจุดเด่นสำหรับ Lenovo YOGA 900 นั่นก็คือตัวซอฟแวร์ต่างๆ ที่บันเดิลมาให้กับเครื่องที่มีมามากมาย และพิเศษกว่าใครทั้ง Lenovo Solution Center, Lenovo Setting, Lenovo QuickControl (ไว้ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน) และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับซอฟแวร์ตัวแรกอย่าง Lenovo Solution Center นั้นจะเป็นซอฟแวร์ที่ไว้คอยจัดการระบบโดยรวมๆ ของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad T450 ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การตรวจความปลอดภัยโดยรวมของตัวเครื่องว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่, มีแพซต์ใหม่ๆให้อัพเดทหรือเปล่า รวมไปถึงการเช็คสถานะอุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือเปล่าฮาร์ดดิสก์เต็มไหม หรือแม้แต่แบคอัพข้อมูล-คื่นค่าระบบก็ย่อมได้
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Setting ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย
Battery / Heat / Noise
Lenovo YOGA 900 ใช้พัดลมที่เป็นโลหะอัลลอยแบบคู่ 35 มิลลิเมตรและฮีตซิงก์ 2 ตัวในการระบายความร้อน ตะแกรงระบายอากาศถูกซ่อนไว้อย่างดีบริเวณขอบด้านหลังของโน๊ตบุ๊คใต้บานพับ การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานจากเดิม Core M-5Y70 มาเป็น Core i7-6500U ที่ความเร็ว 2.5GHz ที่มาพร้อมกราฟฟิกในตัว ที่ส่วนใหญ่จะมีเพียงพัดลมตัวเดียสเท่านั้น เพราะไม่มี GPU เพิ่มเติม แต่ทาง Lenovo ได้จัดสรรมาเพื่อการระบายความร้อนที่ดีเป็นสองเท่า เพื่อการระบายความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20% แล้วเสียงพัดลมจะดังขึ้นแค่ไหน ก็คงต้องบอกว่าดังขึ้นกว่า Lenovo YOGA 3 Pro แน่นอน แต่นานๆ ครั้งจะดังขึ้นมา เพราะต้องเกิดเมื่อมีการโหลดหนักๆ เท่านั้น
ในขณะที่เสียงพัดลมดังมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ ทำให้อุณหภูมิบริเวณพื้นผิวดีขึ้นอย่างชัดเจน จุดร้อนแทบไม่มีเมื่ออยู่ในโหมด idle อุณหภูมิจะต่ำลงทั่วกันทั้งเครื่อง แต่เมื่ออยู่ภายใต้การโหลดทำงาน ความร้อนจะระบายออกทางด้านหลังเครื่อง ซึ่งทำหน้าที่ได้ดี ส่วนที่อุ่นสุดอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส และร้อนสุดอยู่ที่ 71 องศาเซลเซียสเท่านั้น ทำให้เรื่องความร้อนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใช้งาน และด้วยการระบายความร้อนแบบดังกล่าว ก็ทำให้การวางบนตักระหว่างการใช้งานสบายขึ้น
แบตเป็นแบบติดตั้งภายในถอดไม่ได้ขนาด 66Wh ซึ่งเรียกว่ามีขนาดที่ใหญ่เมื่อเทียบกับคู่แข่งหลายๆ ราย อย่างไรก็ดีการใช้งานแบตก็ไม่ได้มากไปกว่า 7 ชั่วโมงจากการใช้งาน WLAN และใช้ความสว่างที่ 150 nits ส่วนที่หนักสุดน่าจะอยู่ในเคสที่ใช้งานบนความสว่างสูงสุดและใช้ซีพียูแบบหนักหน่วง จะอยู่ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทาง Lenovo ยืนยันว่าจะสามารถทำงานได้ถึง 9 ชั่วโมงในการเล่นวีดีโอและความสว่าง 200 nits และปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย
Conclusion / Award
ในภาพรวมต้องถือว่า Lenovo YOGA 900 เหนือกว่า Lenobo YOGA 3 Pro อยู่ไม่น้อย โดยทาง Lenovo พยายามบอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในเรื่องขนาดและน้ำหนัก รวมไปถึงความคมชัดของหน้าจอ แต่จะมีเรื่องของปุ่มที่ค่อนข้างตื้นและทัชแพดที่มีขนาดเล็ก รวมถึงพอร์ตการแสดงผล อาจทำให้หลายคนต้องมานั่งพิจารณากันหนักขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องใช้จอแสดงผลภายนอก แต่จริงๆ ก็ไม่ต้องกังวลเท่าไรนัก เพราะในชุดบันเดิลมีตัวแปลงเป็น HDMI มาให้ ส่วนที่น่าสนใจก็คือ การมีระบบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ทำให้การใช้งานอุ่นใจมากขึ้น แม้ในช่วงของการโหลดหนัก
สรุปแล้วสำหรับ Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้จัดได้ว่าเป็น YOGA รุ่นพัฒนาต่อมาจาก Lenovo YOGA 3 Pro กับ Ultrabook ที่มีความสามารถ 2-in-1 ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายโหมด แน่นอนว่ามาพร้อมกับความแข็งแกร่งและทนทานตามมาตรฐานโน๊ตบุ๊คระดับสูงของ Lenovo อีกทั้งในการที่ตัวเครื่องสามารถพับหน้าจอกลับได้ 360 องศา ทำให้เกิดความแปลกใหม่เพื่อปรับใช้งานได้หลากหลาย เหมือนซื้อ Ultrabook แถมแท็บเล็ตมาให้ นอกเหนือจากนั้นยังติดตั้งชิปประมวลผลมาเป็น Intel Core i สถาปัตยกรรม Skylake รุ่นล่าสุด แรมขนาด 8GB และยังได้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ความเร็วสูง 512GB มาเสริมประสบการณ์ในการทำงานที่มีความสมบูรณ์แบบมายิ่งขึ้น
Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้เหมาะสำหรับการใช้งานเอกสารและอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก รวมไปถึงในส่วนของการใช้งานจริงจังที่ไม่เน้นประมวลผลมาก ที่สำคัญยังสามารถสลับการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ เป็นสี่แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Tent Mode, Stand Mode และ Tablet Mode ซึ่งถ้าใครที่เป็นนักธุรกิจหรือคนที่เน้นใช้งานแบบมืออาชีพ
สำหรับ Lenovo YOGA 900 เป็นโน๊ตบุ๊คที่จัดได้ว่ามีความครบครันในการใช้งานหลายๆ ด้าน ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานทั่วๆ ไปหรือผู้ที่เน้นใช้งานจริงจัง รวมไปถึงความบันเทิง ด้วยสเปคภายในที่มีให้ตามมาตรฐานของ Ultrabook มีเวลาใช้งานที่ยาวนานถึง 7 ชั่วโมงและไม่ก่อความร้อนรบกวนระหว่างใช้งาน เพราะว่าเป็นแบบไร้พัดลม รวมไปถึงยังเสริมความพรีเมียมสุดๆ ด้วยบานพับแบบไม่ซ้ำใครด้วย เรียกได้ว่าอย่างกับนาฬิกาสวิส
เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่บางๆ เบาๆ มาพร้อมสเปคใหม่ล่าสุด ก็สามารถเลือกดูเป็น Lenovo YOGA 900รุ่นที่ทางทีมงานรีวิวไปกันได้นะครับ รับรองว่าด้านการใช้งานที่หลากหลายเหนือกว่าโน๊ตบุ๊คเกือบทุกรุ่นในตลาดอย่างแน่นอน แม้ว่าอาจจะดูราคาสูงไปหน่อยก็ตาม ซึ่งก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ของ Ultrabook ระดับสูงในท้องตลาด
ข้อดี
- ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Core i7/RAM 8GB/SSD 512GB
- หน้าจอของตัวเครื่องพับได้มากสุดถึง 360 องศา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
- การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
- อะแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กพกพาง่าย หัวปลั๊กทรงสี่เหลี่ยมไม่เหมือนใคร
- ปุ่ม Power On/Off ติดตั้งเอาไว้ที่ขอบเครื่องใต้ข้อมือ ป้องกันการบังเอิญถูกแล้วเปิดเครื่องขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
- AccuType Keyboard เพื่อสัมผัสในการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น
- หน้าจอแสดงผล 13.3 นิ้ว ความละเอียดสูงถึง 3200 x 1800 พิกเซล
- พาเนล IPS พร้อม Corning Gorilla Glass
- มี USB Type-C และรองรับ USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต
- คีย์บอร์ดติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนาน
- รองรับ Lenovo Motion Control สั่งงานด้วยการเคลื่อนไหวได้
ข้อสังเกต
- ราคาค่อนข้างสูง
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง Lenovo YOGA 900 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Ultrabook
เนื่องด้วยการใช้วัสดุนำมาประกอบที่ดีน้ำหนักที่เบาตัวเครื่องที่บาง ทำให้เครื่องนี้เป็น Ultrabook ที่บางเบาที่สุดในโลกที่ใช้ชิปประมวลผล Core i ก็ว่าได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าบางรุ่นที่ใช้เพียงอะลูมิเนียมทำเป็นบอดี้อย่างเดียว โดยการออกแบบใช้วัสดุผสมผสานระหว่างซอฟท์ทัชที่ภายนอกของตัวเครื่องกับวัสดุทำจากพลาสติกเกรดสูงคล้ายยางที่บุเอาไว้ที่แท่นรองข้อมือและรอบๆ ตัว ทำให้เครื่องนี้ได้รางวัล Best Ultrabook ไปได้โดยง่าย
Best Design
เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของ Lenovo YOGA 900 แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจาก Ultrabook และ YOGA ของทาง Lenovo ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟนๆ คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความแข็งแรงตามสไตล์ของ Lenovo ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน
Best Technology
เทคโนโลยีต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้นั้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูรุ่นสูงของ Intel หรือจะเป็นระบบเสียง Dolby DS1.0 Home Theatre รวมไปถึงการเน้นให้ได้รับประสบการณ์หลากหลาย ปรับรูปร่างได้ถึง 4 แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Stand Mode, Tent Mode และ Tablet Mode ทำให้ปรับใช้ได้หลากหลายเข้ากับสถานการณ์ อีกทั้งการออกแบบฐานจอที่ให้ความแข็งแรงและกลับจอได้ 360 องศาได้ด้วย เรียกได้ว่าแปลกใหม่กว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปในปัจจุบัน
Specification
สเปคภายในของตัว Lenovo YOGA 900 จะอยู่ในกลุ่มของ Ultrabook ระดับสูงกับขนาดหน้า 13.3 นิ้วแบบสัมผัส แต่เหนือกว่าด้วยความละเอียด 3200 x 1800 พิกเซล หรือ QHD+พาเนลคุณภาพสูง IPS ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริงและมุมมองที่กว้างขว้าง ด้านชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-6500U ความเร็ว 2.5GHz ที่สามารถเร่งการทำงานไปได้ถึง 3.1GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด รุ่นล่าสุดที่เน้นการประหยัดไฟและลดความร้อน โดยเป็นสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 6 ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งานแน่นอน ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel HD Graphics 520 ที่เรียกได้ว่าสดใหม่กว่า Intel Core i รุ่นก่อนหน้า นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ SSD ยังมีความจุสูงที่ 512GB ทำให้มีความเร็วสูงทั้งเขียนและอ่าน พร้อมขนาดที่เหลือเฟือในการใช้งาน
ตัวเครื่อง Lenovo YOGA 900 ติดตั้งWebcam HD 720 และไมโครโฟนแบบ Dual Microphone ไว้สำหรับแชท และ VDO Call ได้อย่างคมชัดลื่นไหล พอร์ตเชื่อมต่อเองก็จะมี USB 3.0 (เป็น USB Charing สามารถชาร์ทสมาร์ทโฟนได้) และ USB Tpye-C สำหรับต่อหน้าจอแยกพร้อมส่องข้อมูล, Audio Combo Jack, รองรับการเชื่อมไร้สายอย่าง Wireless AC, Bluetooth 4.0 และมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1.39 กิโลกรัม และมาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์แท้ พร้อมการรับประกันทั่วโลก 3 ปี ชมสเปกเต็มๆ Lenovo YOGA 900 <<<
Hardware / Design
Lenovo YOGA 900 เผยให้เห็นโครงสร้างที่เกือบจะเหมือน Lenovo YOGA 3 Pro ที่มีควาทโดดเด่นที่แตกต่างกันในบางจุด เป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็นบานพับสายนาฬิกาข้อมือสวิสบนโน๊ตบุ๊ค ที่มาพร้อมรูปแบบมาตรฐาน 2-in-1 โดยการพับได้ 360 องศา แต่การออกแบบมีความน่าสนใจยิ่งขึ้นและดูหรูหรา ด้วยการใช้พื้นผิวแบบยางและไม่เป็นรอยบุ๋มลงไปให้เห็น แบบใน Lenovo YOGA 3 Pro ที่ทำให้ดูเหมือนวัสดุที่เป็นหนัง ที่ขอบโดยรอบได้มีการป้องกันการกระแทก ด้วยกันชนยางขนาดเล็กและการแสดงผลที่มาในรูปแบบเกือบจะไร้ขอบทั้งหมด พร้อมการป้องกันด้วย Gorilla Glass กับขนาด 13.3 นิ้ว ที่เป็นไซส์ที่เหมาะสมกับ Ultrabook ที่สุด
โดยวัสดุบานพับขาจอนั้นเป็นวัสดุโลหะแมกนีเซียมเหมือนกับที่ใช้ในโครงสร้างของตัว Lenovo YOGA 900 ด้วย ซึ่งออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อน ซึ่งจากการทดลองใช้ฟีเจอร์พับจอกลับ 360 องศานี้แล้ว ต้องกล่าวว่าเป็นบานพับขารองรับจอที่แข็งแรงมากที่สุด ต้านต่อแรงบิดได้เป็นอย่างดี รวมถึงแรงกดจากน้ำหนักภายนอก ที่ถ่ายลงสู่ศูนย์กลาง ไม่ทำให้เสียรูปแบบไป รวมถึงฝาปิดภายนอกที่ทนทานต่อแรงกระทำจากภายนอกได้ดีในระดับหนึ่ง
ขนาดโดยทั่วไปของ Lenovo YOGA 900 แตกต่างจาก Lenovo YOGA 3 Pro อยู่เล็กน้อย ด้วยขนาดที่ 324 x 225 x 14.9 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับ 330 x 228 x 12.8 มิลลิเมตร เห็นได้ชัดว่าความหนาที่มากกว่าประมาณ 2 มิลลิเมตรซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการใช้งาชิปประมวลผลในแบบ ULV ด้วยการใช้งาน Core i7 แทนการใช้ Core M เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้า รวมถึงน้ำหนักเหลือเพียง 1.19 กิโลกรัมเท่านั้น แม้ว่าขนาดจะค่อนข้างใหญ่กว่าคู่แข่งในระดับเดียวกัน แต่น้ำหนักก็น้อยกว่าอยู่หลายรุ่น ในความเป็น Lenovo Yoga 900 ให้ความบางกว่าคู่แข่งในขนาด 13.3 นิ้ว ที่สามารถพับได้ 360 องศา จึงทำให้ Lenovo YOGA 900 เป็น 2-in-1 Ultrabook สเปก Core i ที่มีความบางเบาในโลกก็ว่าได้
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดบน Lenovo YOGA 3 Pro จะค่อนข้างเล็กและยังขาดปุ่มฟังก์ชั่น แต่สำหรับ Lenovo YOGA 900 นั้นกลับมาด้วยแป้นพิมพ์หกแถว ที่เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด เพียงแต่ลักษณะปุ่มยังไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก นั้นคือ รู้สึกค่อนข้างเบาและตื้น ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกในการใช้งานอยู่บ้าง แสงไฟมีระดับความสว่างอยู่ 2 ระดับและจะปิดอัตโนมัติเมื่อหน้าจอแสดงผลหมุนพับเกินกว่า 190 องศา ปุ่มและทัชแพดจะหยุดทำงานอัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่โหมดดังกล่าว
พื้นที่ของทัชแพดอยู่ที่ประมาณ 90 x 60 มิลลิเมตร โดยให้พื้นผิวสัมผัสที่เรียบลื่นเป็นยางกึ่งพลาสติก เพื่อให้มีความทนทานต่อการหลุดร่อน ซึ่งทัชแพดที่นำมาผลิตด้วยแผงควบคุมจาก Gynaptics จะรองรับการทำงานแบบมัลติทัช 4 นิ้ว แต่ก็พบว่าด้วยขนาดทัชแพดที่มีพื้นที่ไม่กว้างนัก ก็ทำให้การใช้งานแบบ 4 นิ้วไม่ง่ายเสียทีเดียว อย่างไรก็ดีอย่างน้อยทัชแพดก็เสริมในด้านของแรงกดที่จะตอบสนองได้ดียิ่งชึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคลิก ดับเบิลคลิกหรือการคลิกขวาได้อย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน
Screen / Speaker
Lenovo YOGA 900 มาพร้อมความละเอียด QHD+ (3200 x 1800 พิกเซล) หน้าจอเป็นแบบ Glossy สนับสนุนการทัชสกรีน พร้อมด้วย Gorilla Glass 4 ซึ่งดูน่าประทับใจ ความสว่างอยู่ที่ 300 nits ถือว่าทำได้ดีกว่าคู่แข่งหลายรายในระดับเดียวกัน รวมถึงในการทดสอบมาตรฐาน sRGB และ AdobeRGB ที่ทาง Lenovo YOGA 900 ให้สีที่ถูกต้องในการทำงาน จึงดูสำคัญต่อผู้ใช้ในกลุ่มที่ต้องการเครื่องที่ทำงานระบบภาพที่ดีมากขึ้น ส่วนในการใช้งานภายนอกสถานที่อาจไม่จัดจ้านนัก เพราะแสงที่บางเบา แต่การมองเห็นยังจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร ส่วนทำงานในร่มไม่ได้เป็นปัญหา ส่วน Webcam นั้นพร้อมเป็นตัวควบคุม Lenovo Motion Control
ส่วนลำโพงและเสียงของตัวเครื่องนั้น อยู่ในระดับค่อนข้างดี มิติเสียงครบถ้วน ด้วย Dolby DS1.0 Home Theatre แต่ว่าอาจจะไม่ได้ดังมาก เพราะว่าตัวลำโพงอยู่ด้านใต้ตัวเครื่องด้านหน้า และเมื่อใช้งานเพื่อดูหนังฟังเพลงแล้วถือว่าทำออกมาได้น่าพอใจ
Multi-Mode
สำหรับคุณสมบัติโดดเด่นที่มีอยู่ใน Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้ ที่เรียกได้ว่าโน๊ตบุ๊ค Lenovo YOGA Series อย่างที่รุ่นอื่นๆ ไม่สามารถให้ได้ก็คือการพับหน้าจอแบบ 360 องศา ซึ่งมีอยู่หลากหลายองศาเพื่อให้เกิดการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
แบบที่หนึ่ง Laptop Mode ที่เป็นรูปแบบธรรมดาทั่วไปเหมือนกับโน๊ตบุ๊คปกติ เน้นสำหรับการใช้งานทั่วไป เล่นอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงงานเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการควบคุม โดยคีย์บอร์ดของเครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดีอย่างน่าประทับใจ ตามมาตรฐานที่มีใน Lenovo YOGA Series ทีเดียว
แบบที่สอง Stand Mode เน้นใช้งานที่ระบบจอสัมผัสของตัวเครื่องอย่างเดียวและวางไว้บนพื้นที่ราบ โดยรูปแบบการใช้งานนี้จะเน้นไปทางการใช้งานแอพพลิเคชั่นของ Windows 10 เอง หรือเน้นไปทางการดู Youtube หรือชมภาพยนตร์เป็นหลัก ซึ่งหน้าจอของ Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้เป็นจอแบบพาเนล IPS ขนาด 13.3 นิ้ว ทำให้การแสดงผลภาพออกมาคมชัดสวยงาม ส่วนของความละเอียดอยู่ที่ 3200 x 1800 พิกเซล?พร้อมรองรับการทำงานแบบมัลติทัชได้พร้อมกันมากสุดที่ 10 จุดพร้อมกัน แน่นอนว่าเป็นประสบการณ์ใช้งานที่หาได้ยากในราคาโน๊ตบุ๊คระดับสูงแบบทั่วไป
แบบที่สาม Tent Mode ค่อนข้างจะคล้ายกับ Stand Mode ก่อนหน้านี้ แต่จะอยู่ในรูปทรงตั้งเครื่องเอาไว้เป็นลักษณะสามเหลี่ยม ใช้ในการวิวดูข้อมูลการแสดงผลหน้าจอเป็นหลัก อีกทั้งยังสามารถจับพาดหรือเกาะกับสิ่งของรอบๆ ได้ ที่ต้องบอกว่าเป็นผลมาจากการออกแบบที่ไม่เหมือนใครจาก Lenovo ด้วยบานพับสองชั้น อีกทั้งยังใช้วัสดุโลหะแมกนีเซียมเหมือนกับที่ใช้ใน Lenovo YOGA Series โดยออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับการพับจอกลับไปมาโดยไม่ก่อปัญหาการหลวมหรือเสียหายขึ้นมาก่อนเวลาอันควร ซึ่งจากการทดลองพับจอกลับไปมาแล้ว ก็จัดได้ว่าเป็นบานพับจอที่แข็งแรงมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่งทีเดียว
และแบบที่สี่ Tablet Mode ด้วยการพับหน้าจอกลับแบบ 360 องศา จนฝาหลังและฐานใต้เครื่องมาติดกัน เราก็จะได้แท็บเล็ตที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งเรามีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการเอาไว้เล่นเกมหรือดู E-Book อย่างที่แท็บเล็ตอื่นๆ ทั่วไปในตลาดสามารถทำได้ พร้อมแอพพลิเคชั่นมากมายที่รองรับการใช้งานแท็บเล็ต ซึ่งด้วยตัวเครื่องมีขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้ว ถือว่ามีขนาดที่เล็กเหมาะสม โดยเมื่อเข้าสู่โหมดการทำงานแบบแท็บเล็ตก็ไม่มีน้ำหนักจนเกินไป พอถือใช้งานด้วยมือเดียวได้อย่างสบายๆ ส่งผลให้Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานที่หลากหลายถึง 4 รูปแบบด้วยกัน
Connector / Thin And Weight
พอร์ตต่อพ่วงส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Lenovo YOGA 3 Pro ยกเว้นบางส่วน เช่น mini-HDMI ที่ปัจจุบันเป็น USB Type-C ที่จะรองรับกับการใช้งานร่วมกับ Thunderbolt 3 โดยเป็นพอร์ตที่สามารถในการส่งสัญญาณแสดงผลภาพและส่งข้อมูลผ่านทางบรรดาแฟลชไดร์ฟที่รองรับได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับการใช้งาน เพียงแต่จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ mini-HDMI ที่คงจะต้องหาสายแปลงมาใช้งานร่วม รวมถึงยังมีในส่วนของพอร์ต USB 3.0 อีกสองพอร์ต และพอร์ตชาร์จที่สามารถแปลงเป็นพอร์ต USB 3.0 ได้อีกหนึ่งพอร์ต ส่วนอื่นๆ ก็จะเป็น Card Reader และช่องเชื่อมต่อหูฟังมาตรฐาน
นอกเหนือจากนั้น ยังมีปุ่มกดในการใช้งานหลากหลาย ทำให้สวยงามและมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีปุ่มกดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มเปิดปิดเครื่อง (Sleep ด้วย), ปุ่มปรับระดับเสียงขึ้นลง, ปุ่มล็อคหน้าจอไม่ให้หมุนไปมา ขนาดที่เราใช้งานโหมดอื่นๆ นอกเหนือจาก Laptop
Performance / Software
ชิปประมวลผล Lenovo ThinkPad P40 Yoga เลือกใช้เป็น Intel Core i7-6500U ตัวแรงบนเครื่องโน๊ตบุ๊ค สถาปัตยกรรม Skylake ที่มีความเร็วในการประมวลผล 2.5 GHz ที่สามารถเร่งความเร็วด้วย Turbo Boost ได้สูงสุด 3.1 GHz มีหน่วยความจำ L3 Cache 4MB โดยเป็นแบบ 2 Core 4 Threads พร้อมทั้งมีค่าอัตราการกินไฟสูงสุดแค่ 25W ส่วนระดับสถาปัตยกรรมก็อยู่ที่ 14nm ส่วนหน่วยความจำแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 18GB DDR3 Bus 1866MHz แบบ Dual Channel ที่เรียกว่าจัดเต็มทีเดียว
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 520 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติ ก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นประหยัดพลังงานที่เน้นการทำงานเป็นหลัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB แบบ PCIe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตอยู่ว่าอาจจะเร็วไม่เท่ากับ SSD ในโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน
กหนึ่งจุดเด่นสำหรับ Lenovo YOGA 900 นั่นก็คือตัวซอฟแวร์ต่างๆ ที่บันเดิลมาให้กับเครื่องที่มีมามากมาย และพิเศษกว่าใครทั้ง Lenovo Solution Center, Lenovo Setting, Lenovo QuickControl (ไว้ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน) และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับซอฟแวร์ตัวแรกอย่าง Lenovo Solution Center นั้นจะเป็นซอฟแวร์ที่ไว้คอยจัดการระบบโดยรวมๆ ของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad T450 ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การตรวจความปลอดภัยโดยรวมของตัวเครื่องว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่, มีแพซต์ใหม่ๆให้อัพเดทหรือเปล่า รวมไปถึงการเช็คสถานะอุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือเปล่าฮาร์ดดิสก์เต็มไหม หรือแม้แต่แบคอัพข้อมูล-คื่นค่าระบบก็ย่อมได้
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Setting ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย
Battery / Heat / Noise
Lenovo YOGA 900 ใช้พัดลมที่เป็นโลหะอัลลอยแบบคู่ 35 มิลลิเมตรและฮีตซิงก์ 2 ตัวในการระบายความร้อน ตะแกรงระบายอากาศถูกซ่อนไว้อย่างดีบริเวณขอบด้านหลังของโน๊ตบุ๊คใต้บานพับ การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานจากเดิม Core M-5Y70 มาเป็น Core i7-6500U ที่ความเร็ว 2.5GHz ที่มาพร้อมกราฟฟิกในตัว ที่ส่วนใหญ่จะมีเพียงพัดลมตัวเดียสเท่านั้น เพราะไม่มี GPU เพิ่มเติม แต่ทาง Lenovo ได้จัดสรรมาเพื่อการระบายความร้อนที่ดีเป็นสองเท่า เพื่อการระบายความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20% แล้วเสียงพัดลมจะดังขึ้นแค่ไหน ก็คงต้องบอกว่าดังขึ้นกว่า Lenovo YOGA 3 Pro แน่นอน แต่นานๆ ครั้งจะดังขึ้นมา เพราะต้องเกิดเมื่อมีการโหลดหนักๆ เท่านั้น
ในขณะที่เสียงพัดลมดังมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ ทำให้อุณหภูมิบริเวณพื้นผิวดีขึ้นอย่างชัดเจน จุดร้อนแทบไม่มีเมื่ออยู่ในโหมด idle อุณหภูมิจะต่ำลงทั่วกันทั้งเครื่อง แต่เมื่ออยู่ภายใต้การโหลดทำงาน ความร้อนจะระบายออกทางด้านหลังเครื่อง ซึ่งทำหน้าที่ได้ดี ส่วนที่อุ่นสุดอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส และร้อนสุดอยู่ที่ 71 องศาเซลเซียสเท่านั้น ทำให้เรื่องความร้อนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใช้งาน และด้วยการระบายความร้อนแบบดังกล่าว ก็ทำให้การวางบนตักระหว่างการใช้งานสบายขึ้น
แบตเป็นแบบติดตั้งภายในถอดไม่ได้ขนาด 66Wh ซึ่งเรียกว่ามีขนาดที่ใหญ่เมื่อเทียบกับคู่แข่งหลายๆ ราย อย่างไรก็ดีการใช้งานแบตก็ไม่ได้มากไปกว่า 7 ชั่วโมงจากการใช้งาน WLAN และใช้ความสว่างที่ 150 nits ส่วนที่หนักสุดน่าจะอยู่ในเคสที่ใช้งานบนความสว่างสูงสุดและใช้ซีพียูแบบหนักหน่วง จะอยู่ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทาง Lenovo ยืนยันว่าจะสามารถทำงานได้ถึง 9 ชั่วโมงในการเล่นวีดีโอและความสว่าง 200 nits และปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย
Conclusion / Award
ในภาพรวมต้องถือว่า Lenovo YOGA 900 เหนือกว่า Lenobo YOGA 3 Pro อยู่ไม่น้อย โดยทาง Lenovo พยายามบอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในเรื่องขนาดและน้ำหนัก รวมไปถึงความคมชัดของหน้าจอ แต่จะมีเรื่องของปุ่มที่ค่อนข้างตื้นและทัชแพดที่มีขนาดเล็ก รวมถึงพอร์ตการแสดงผล อาจทำให้หลายคนต้องมานั่งพิจารณากันหนักขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องใช้จอแสดงผลภายนอก แต่จริงๆ ก็ไม่ต้องกังวลเท่าไรนัก เพราะในชุดบันเดิลมีตัวแปลงเป็น HDMI มาให้ ส่วนที่น่าสนใจก็คือ การมีระบบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ทำให้การใช้งานอุ่นใจมากขึ้น แม้ในช่วงของการโหลดหนัก
สรุปแล้วสำหรับ Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้จัดได้ว่าเป็น YOGA รุ่นพัฒนาต่อมาจาก Lenovo YOGA 3 Pro กับ Ultrabook ที่มีความสามารถ 2-in-1 ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายโหมด แน่นอนว่ามาพร้อมกับความแข็งแกร่งและทนทานตามมาตรฐานโน๊ตบุ๊คระดับสูงของ Lenovo อีกทั้งในการที่ตัวเครื่องสามารถพับหน้าจอกลับได้ 360 องศา ทำให้เกิดความแปลกใหม่เพื่อปรับใช้งานได้หลากหลาย เหมือนซื้อ Ultrabook แถมแท็บเล็ตมาให้ นอกเหนือจากนั้นยังติดตั้งชิปประมวลผลมาเป็น Intel Core i สถาปัตยกรรม Skylake รุ่นล่าสุด แรมขนาด 8GB และยังได้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ความเร็วสูง 512GB มาเสริมประสบการณ์ในการทำงานที่มีความสมบูรณ์แบบมายิ่งขึ้น
Lenovo YOGA 900 เครื่องนี้เหมาะสำหรับการใช้งานเอกสารและอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก รวมไปถึงในส่วนของการใช้งานจริงจังที่ไม่เน้นประมวลผลมาก ที่สำคัญยังสามารถสลับการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ เป็นสี่แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Tent Mode, Stand Mode และ Tablet Mode ซึ่งถ้าใครที่เป็นนักธุรกิจหรือคนที่เน้นใช้งานแบบมืออาชีพ
สำหรับ Lenovo YOGA 900 เป็นโน๊ตบุ๊คที่จัดได้ว่ามีความครบครันในการใช้งานหลายๆ ด้าน ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานทั่วๆ ไปหรือผู้ที่เน้นใช้งานจริงจัง รวมไปถึงความบันเทิง ด้วยสเปคภายในที่มีให้ตามมาตรฐานของ Ultrabook มีเวลาใช้งานที่ยาวนานถึง 7 ชั่วโมงและไม่ก่อความร้อนรบกวนระหว่างใช้งาน เพราะว่าเป็นแบบไร้พัดลม รวมไปถึงยังเสริมความพรีเมียมสุดๆ ด้วยบานพับแบบไม่ซ้ำใครด้วย เรียกได้ว่าอย่างกับนาฬิกาสวิส
เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่บางๆ เบาๆ มาพร้อมสเปคใหม่ล่าสุด ก็สามารถเลือกดูเป็น Lenovo YOGA 900รุ่นที่ทางทีมงานรีวิวไปกันได้นะครับ รับรองว่าด้านการใช้งานที่หลากหลายเหนือกว่าโน๊ตบุ๊คเกือบทุกรุ่นในตลาดอย่างแน่นอน แม้ว่าอาจจะดูราคาสูงไปหน่อยก็ตาม ซึ่งก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ของ Ultrabook ระดับสูงในท้องตลาด
ข้อดี
- ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Core i7/RAM 8GB/SSD 512GB
- หน้าจอของตัวเครื่องพับได้มากสุดถึง 360 องศา สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
- การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
- อะแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กพกพาง่าย หัวปลั๊กทรงสี่เหลี่ยมไม่เหมือนใคร
- ปุ่ม Power On/Off ติดตั้งเอาไว้ที่ขอบเครื่องใต้ข้อมือ ป้องกันการบังเอิญถูกแล้วเปิดเครื่องขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
- AccuType Keyboard เพื่อสัมผัสในการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น
- หน้าจอแสดงผล 13.3 นิ้ว ความละเอียดสูงถึง 3200 x 1800 พิกเซล
- พาเนล IPS พร้อม Corning Gorilla Glass
- มี USB Type-C และรองรับ USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต
- คีย์บอร์ดติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนาน
- รองรับ Lenovo Motion Control สั่งงานด้วยการเคลื่อนไหวได้
ข้อสังเกต
- ราคาค่อนข้างสูง
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง Lenovo YOGA 900 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Ultrabook
เนื่องด้วยการใช้วัสดุนำมาประกอบที่ดีน้ำหนักที่เบาตัวเครื่องที่บาง ทำให้เครื่องนี้เป็น Ultrabook ที่บางเบาที่สุดในโลกที่ใช้ชิปประมวลผล Core i ก็ว่าได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าบางรุ่นที่ใช้เพียงอะลูมิเนียมทำเป็นบอดี้อย่างเดียว โดยการออกแบบใช้วัสดุผสมผสานระหว่างซอฟท์ทัชที่ภายนอกของตัวเครื่องกับวัสดุทำจากพลาสติกเกรดสูงคล้ายยางที่บุเอาไว้ที่แท่นรองข้อมือและรอบๆ ตัว ทำให้เครื่องนี้ได้รางวัล Best Ultrabook ไปได้โดยง่าย
Best Design
เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของ Lenovo YOGA 900 แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจาก Ultrabook และ YOGA ของทาง Lenovo ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟนๆ คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความแข็งแรงตามสไตล์ของ Lenovo ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน
Best Technology
เทคโนโลยีต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้นั้น ไม่ว่าจะเป็นซีพียูรุ่นสูงของ Intel หรือจะเป็นระบบเสียง Dolby DS1.0 Home Theatre รวมไปถึงการเน้นให้ได้รับประสบการณ์หลากหลาย ปรับรูปร่างได้ถึง 4 แบบ ไม่ว่าจะเป็น Laptop Mode, Stand Mode, Tent Mode และ Tablet Mode ทำให้ปรับใช้ได้หลากหลายเข้ากับสถานการณ์ อีกทั้งการออกแบบฐานจอที่ให้ความแข็งแรงและกลับจอได้ 360 องศาได้ด้วย เรียกได้ว่าแปลกใหม่กว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปในปัจจุบัน