จะว่าไปแล้วนั้นเรื่องของการใช้สมาร์ทโฟนในการรายงานข่าวแบบถ่ายทอดสดนั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใดครับ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันนั้นเหตุการณ์ต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาแถมการเข้าถึงจุดเกิดเหตุต่างๆ นั้นหากต้องใช้กล้องตัวใหญ่เพื่อติดตามนักข่าวและรายงานสดตลอดเวลาเหมือนเคยนั้นก็อาจจะไม่รวดเร็วทันใจมากนัก สำหรับวันนี้นั้นเราจะถ่ายทอดวิธีการใช้สมาร์ทโฟนในการรายงานข่าวแบบถ่ายทอดสดของนักข่าวสาวนาม Harriet Hadfield จากสำนักข่าว Sky News ในช่วงข่าว “90 seconds” ให้ทุกท่านได้ครับกันครับ
หมายเหตุ – ในประเทศไทยเราเองนั้นช่วงที่มีการเปิดใช้เครือข่าย 3G อย่างไม่เป็นทางการ(เพราะตอนนั้นยังไม่มีการประมูลคลื่น 2,100 MHz) ก็มีนักข่าวบางสำนักใช้สมาร์ทโฟนรายงานข่าวแบบถ่ายทอดสดผ่านเครือข่าย 3G กันมาแล้ว
ภายนักข่าวสาว Harriet Hadfield กับชุดอุปกรณ์ที่เธอใช้ในการรายงานข่าวแบบถ่ายทอดสด
ก่อนอื่นมาดูชุดอุปกรณ์ที่นักข่าวสาวท่านนี้ใช้กันก่อนครับ
- iPhone 6 Plus เครื่องที่หนึ่งที่ใช้สำหรับการถ่ายทอดสดโดยทำการติดไมค์แบบมีสายลากไปยังตัวเธอ(โดยที่ทำการติดตั้งแอปพลิเคชัน Dejero เอาไว้สำหรับส่งสัญญาณถ่ายทอดสด)
- Lightweight head-height tripod(ไฟส่องศรีษะแบบติดตั้งกับขาตั้งกล้องที่ต้องสูงกว่าศรีษะของเธอ)
- Case/holder สำหรับติดตั้ง tripod(ขาตั้งกล้อง)
- สมาร์ทโฟนเครื่องที่ 2 ที่ติดตั้งหูฟังและเก็บไว้ที่ตัวของเธอ
- Gorilla mini tripod(ยี่ห้อของขาตั้งกล้อง)
- Attachable light
- iPhone Lapel mic
- External battery charger
- MiFi สำหรับขยายสัญญาณเครือข่าย
Hadfield ได้อธิบายเอาไว้ครับว่าเหตุผลที่เธอมีสมาร์ทโฟน 2 เครื่องนั้น เครื่องหนึ่งเธอเอาไว้สำหรับในการถ่ายทอดสด(หรือ iPhone 6 Plus) ส่วนอีกเครื่องหนึ่งนั้นเธอเอาใช้ส่วนตัว(ซึ่งในการถ่ายทอดสดเธอจะต่อสัญญาณกับหูฟังและเก็บไว้กับตัว) ซึ่งสมาร์ทโฟนเครื่องที่ 2 นั้นเธอจะเอาไว้คอยติดต่อสื่อสารกับทางทีมข่าว Sky News เพื่อที่จะใช้ในการช่วยเหลือเธอในการค้นหาสัญญาณเพิ่มเติม(ในกรณีที่การถ่ายทอดสดนั้นไม่ชัดเจนมากพอมีภาพหลุดๆ หายๆ ) รวมไปถึงการโทรตามปกติครับ(จุดที่ดีที่สุดของสมาร์ทโฟนเครื่องที่ 2 ก็คือทำให้เธอติดต่อกับทีมงานได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ชมเห็นว่าเธอติดต่อกับทีมข่าวอย่างไร แถมยังช่วยให้การรายงานข่าวราบลื่นขึ้นครับ)
หมายเหตุ – ในส่วนของขาตั้งกล้องนั้นจะต้องเป็นแบบที่สูงกว่าศรีษะหรือให้อยู่ในระดับที่สามารถตั้งตรงกับศรีษะได้เท่านั้น ซึ่งในตลาดมีค่อนข้างจะหลายยี่ห้อแต่เธอเลือกใช้ของ Gorilla เพราะสะดวกต่อการพกกาทว่ามันก็เหมาะสำหรับในงานที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักเท่านั้นแต่ถ้าเป็นงานระดับที่ใหญ่กว่าหรืองานที่ต้องการเสียงเธออย่างชัดเจนนั้นเธอจะต้องพยายามเพิ่มขึ้นในการปรับตั้งกล้องเพราะเวลาถ่ายทอดสดนั้นศรีษะของเธอจะต้องอยู่ในเฟรมภาพครับ
สำหรับแอปพลิเคชันในการถ่ายทอดสดสัญญาณภาพนั้นเธอบอกว่ามีหลายตัวมากใน App Store ครับ แต่แอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับเธอมากที่สุดก็คือ Dejero+ โดยเธอให้เหตุผลไว้ว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องตั้งค่าทางด้านเทคนิคมากนักก็สามารถที่จะทำการถ่ายทอดสดสัญญาณภาพได้อย่างดี(ซึ่งตัวเธอเองนั้นไม่ใช่คนที่รู้เรื่องทางด้านเทคนิคเท่าไรนัก) ที่สำคัญคือนอกเหนือไปจากการถ่ายทอดสดแล้วเธอยังสามารถใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวในการจัดการกับไฟล์วีดีโอในการตัดต่อสำหรับข่าวที่ไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดสดได้อย่างง่ายดายอีกด้วยครับ
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เธอและทีมงานเน้นมากเลยก็คือสัญญาณข้อมูลของเครือข่ายครับ เมื่อเธอไปถึงจุดเกิดเหตุแล้วก่อนอื่นจะต้องหาจุดที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายทอดสดซึ่งจุดๆ นั้นจะต้องทั้งให้ตำแหน่งภาพของเหตุการณ์ที่ดีและมีสัญญาณข้อมูลืที่ดีด้วย นั่นจึงกลายเป็นว่า MiFi จึงถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานของเธอเพราะเธอต้องขยายสัญญาณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการถ่ายทอดสดตลอด 90 วินาทีครับ(นอกเหนือไปจากนั้นแล้วการฝึกฝนและความสามารถในการถ่ายทอดสดก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีเช่นเดียวกัน
งานที่เด่นที่สุดของ Hadfield นั้นคงหนีไม่พ้นการถ่ายทอดสดข่าว Ethiopian Airlines เที่ยวบิน 702 ถูกจี้ให้ไปลงที่มิลาน(แทนที่จะไปลงเจนีวา) โดย ณ เวลานั้นเธออยู่ที่มิลานพอดีทำให้เธอเป็นนักข่าวคนแรกที่สามารถทำการถ่ายทอดสดรายงานข่าวดังกล่าวผ่านทาง Sky News ก่อนที่คู่แข่งจะสามารถเข้าไปรายงานข่าวได้ถึง 2 ชั่วโมงเลยทีเดียวครับ
จะเห็นได้ครับว่าสมาร์ทโฟนที่เราๆ ท่านๆ ใช้ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น, ติดต่อกับผู้คนได้ตลอดเวลามากขึ้น ทว่าหากปรับใช้ดีๆ แล้วหล่ะก็สมาร์ทโฟนบนมือของเราๆ ท่านๆ นั้นก็สามารถที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงานแต่ละงานได้เช่นเดียวกันเหมือนกับที่นักขาวสาวท่านนี้ได้ทำมาแล้ว อย่างไรก็ตามแต่ในปัจจุบันนั้นเราจะเห็นได้ครับว่ามีการใช้สมาร์ทโฟนอัดคลิปข้อมูลหรือวีดีโอที่เป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้านลงสื่อ Social Media ซึ่งบางคลิปนั้นก็สามารถที่จะช่วยในเรื่องของการสืบสวนสอบสวนของตำรวจได้ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างไรแล้วการติดตามคลิปต่างๆ ที่แชร์ผ่านสื่อ Social Media(รวมไปถึงสื่อบางราย) นั้นก็อาจจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินด้วยนะครับ(ต้องอย่าลืมนะครับว่าเรื่องทุกเรื่องนั้นจะมี 2 ด้านเสมอครับ)
ที่มา : news:rewired