ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนนักศึกษา หรือคนที่มีคอมตั้งโต๊ะอยู่ที่บ้านแล้ว แต่ต้องการโน๊ตบุ๊คซักเครื่องไว้นั่งเล่นอินเตอร์เน็ตตามร้านกาแฟ ต้องการโน๊ตบุ๊คที่ รองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายตลอดเวลา ราคาไม่แพง โดยล่าสุดทาง HP ก็ได้นำเสนอ HP Stream 11 (2016) รุ่นใหม่ล่าสุดออกมาทำตลาดแล้ว สนนราคาเพียง 12,990 บาทเท่านั้น
Specification
สเปกของ HP Stream 11 (2016) ใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Celeron N3050 สถาปัตยกรรม Braswell ความเร็ว 1.6GHz – 2.16GHz มาพร้อมกับ Intel HD Graphic และหน่วยความจำ DDR3 2GB และฮาร์ดไดรฟ์ที่มาบนเมนบอร์ดสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลชเมมโมรี่ขนาด 32GB (eMMC) ในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล HP จัดพื้นที่ให้เก็บข้อมูลจากทาง Microsoft One Drive Cloud Storage 100GB เป็นเวลา 1 ปี มาในบันเดิลนี้ด้วย ให้การแสดงผลบนหน้าจอ 11.6นิ้ว ความละเอียด 1366×768 พิกเซล ในแบบ Diagonal HD anti-glare WLED-backlit หรือที่เรียกติดปากว่า “จอด้าน” นั่นเอง มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 รวมถึงได้ iPass ที่ทำให้ใช้งาน Wi-Fi ได้ฟรี 1 ปี ที่สำคัญจากการที่รองรับซิมการ์ด HP กับ Truemove H ยังให้อินเตอร์เน็ต 4G ใช้งานฟรีถึง 3 ปีอีกด้วย (จำกัดเดือนละ 200MB)
ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจติดตั้งมาใน HP Stream 11 (2016) นี้ด้วย ทั้งลำโพงคู่ด้านใต้เครื่องและระบบเสียง dts Studio Sound ที่ให้คุณภาพเสียงสำหรับความบันเทิงในแบบต่างๆ ด้วยพลังเสียงที่จะตอบโจทย์การใช้งานได้สนุกยิ่งขึ้น กล้องเว็บแคม HP TrueVision HD และไมโครโฟน ปุ่มคีย์บอร์ดขนาดใหญ่สีขาวสำหรับการพิมพ์ที่แม่นยำ โดยมีทัชแพดรองรับการทำงานในแบบ Multi-Touch รวมปุ่มกดซ้าย-ขวาในตัว
สเปกเต็มๆ ของ HP Stream 11 (2016)
Hardware / Design
ในเรื่องของการออกแบบและดีไซน์ของ HP Stream 11 (2016) นั้นต้องยอมรับกันตามตรงว่าทำได้น่าประทับใจมาก เพราะตัวเครื่องบางและเบาในรูปแบบเดียวกับ Ultrabook เลย พร้อมด้วยการใช้สีสันที่ค่อนข้างสะดุดอย่างสีน้ำเงิน Cobalt Blue เข้ากับได้ทั้งหนุ่มๆ หรือสาวๆ ยุคสมัยนี้ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนนักศึกษา หรือคนที่มีคอมตั้งโต๊ะอยู่ที่บ้านแล้ว แต่ต้องการโน๊ตบุ๊คซักเครื่องไว้นั่งเล่นอินเตอร์เน็ตตามร้านกาแฟ โดยบริเวณที่พักมีและคีย์บอร์ดนั้นจะมีการไล่สีอ่อนมาเข้มแลดูสวยงามมากๆ เรียกได้ว่าการออกแบบดีไซน์โดดเด่นสุดๆ เหมาะกับวัยรุ่นเจนเนอเรชั่นใหม่ที่ชอบความแปลกใหม่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ซึ่งหาไม่ได้แน่นอนจากโน๊ตบุ๊คแบรนด์ไหนในท้องตลาด
จากการได้สัมผัสและใช้งานบน HP Stream 11 (2016) ความรู้สึกไปในทิศทางที่ดูแตกต่างและโดดเด่น ทั้งรูปลักษณ์ สีสันและวัสดุ ที่ดูเหมือนจะขยับไปทางแฟชั่นมากขึ้น ความจัดจ้านของสีและลายกราฟฟิกต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั้งบอดี้ด้านนอก ด้านในถูกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงกับ HP Stream 11 (2016) นี้ด้วยลวดลายที่สวยงาม ส่วนหนึ่งทำให้รู้สึกลืมเรื่องหนักๆ หรือดูเป็นทางการของโน๊ตบุ๊คในอุดมคติของหลายๆ คนไปได้เลย นอกจากนี้สัมผัสที่แตะ จับ ถือค่อนข้างจะหยิบติดมือได้ง่าย ด้วยวัสดุที่มีพื้นผิวเข้ามาเป็นบอดี้ภายนอก ใครที่ต้องเคลื่อนย้ายหรือต้องถือเดินไปมาในออฟฟิศหรือในบ้านน่าจะอุ่นใจได้มากกว่า เรียกว่าไม่ใส่ซอฟต์เคสก็ถือได้สบายๆ
อีกหนึ่งจุดเด่นของ HP Stream 11 (2016) เป็นโน๊ตบุ๊คทรงประสิทธิภาพระดับสูงที่เน้นการพกพา เพราะมีน้ำหนักตัวที่เบามากๆ แถมตัวเครื่องยังบางสุดๆ โดยสามารถถือได้ด้วยมือเดียวอย่างสบายๆ ด้วยน้ำหนักเพียง 1.18 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนความบางบอกได้เลยว่าบางสุดๆ แบบที่หารุ่นเปรียบเทียบได้ยาก ซึ่งแม้จะบางขนาดนี้ ยังได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าต่อยอดมาจากรุ่นก่อนหน้าอย่างน่าประทับใจทีเดียว กับในเรื่องของดีไซน์การออกแบบ
Keyboard / Touchpad
คีย์แพดและทัชแพดดูเป็นกันเองมากทีเดียว ด้วยการที่คีย์บอร์ดสีขาวดูสะอาดตา รวมไปถึงมีแป้นขนาดใหญ่กดง่าย ไม่บีบกันจนเกินไป เท่านี้ก็ใช้งานได้สะดวกแล้ว ปุ่มไม่ต้องกดลึกมาก ตอบสนองได้ดีในระดับหนึ่งซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก ที่สำคัญเสียงไม่ดังจนน่ารำคาญ ช่วยให้คนที่พิมพ์แรงๆ หนักๆ หรือใช้ในห้องนอน ก็ไม่รบกวนคนอื่นอีกด้วย
ทัชแพดเองก็ติดตั้งมาให้ด้วยตามปกติเช่นกันโดยเป็นทัชแพดสีดำตัดขอบทัชแพดด้วยขอบสีเงินดูเรียบหรูน่าใช้ ดีไซน์เป็นแบบแยกชิ้นซ่อนปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ใต้ทัชแพด รวมทั้งทัชแพดยังรองรับการใช้งาน Gesture Control ร่วมกับ Windows 10 ซึ่งหลังจากที่ทดลองใช้ทัชแพด HP Stream 11 (2016) ก็สามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดี และมีความลื่นไหลน่าพอใจ
Screen / Speaker
เรื่องการแสดงผลก็น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะอยู่ด้วยกันวันๆ หนึ่งหลายชั่วโมง ด้วยความที่เป็นจอขนาด 11.6 นิ้วแบบจอด้านลดการสะท้อนแสง โดยได้ความละเอียดที่ 1366 x 768 พิกเซลตามมาตรฐาน ทำให้ไม่ว่าจะฟอนต์หรือไอคอนต่างๆ เล็กลงไปบ้าง แต่ทั้งนี้ไม่ได้เป็นประเด็น เนื่องจากเราสามารถปรับสเกลขนาดฟอนต์ได้ตามใจ จะมีเพียงเรื่องของความกว้างของมุมมอง ที่เหมาะกับการใช้ส่วนตัว อาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองมาตรฐาน ใช้งานได้แบบมองหน้าตรง ในมุมมองด้านข้างค่อนข้างชัด คนนั่งด้านข้างยังมองเห็นภาพและฟอนต์ได้ชัด แต่มุมมองจากด้านบนและมุมเงยได้ไม่มาก ภาพจะเริ่มมีสีขาวและเทามากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด
เรื่องของคุณภาพเสียงเพราะเสียงที่ได้จาก HP Stream 11 (2016) นี้ ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ความอิ่มของเสียงกับความคมชัดเวลาที่เล่นเพลงหรือมิวสิควีดีโอ ด้วยลำโพง 2 ชุดด้านใต้โน๊ตบุ๊ค ให้ทิศทางของเสียงมายังด้านหน้าอย่างชัดเจน แม้จะไม่ได้เก็บรายละเอียดเสียงทั้งหมดก็ตามที
Connector / Thin And Weight
รองรับการเชื่อมต่อได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น USB ที่มีทั้ง USB 3.0 และ 2.0 รวมถึงพอร์ตแสดงผลยอดนิยม HDMI รวมถึงช่องต่อไมโครโฟนและหูฟังที่มาในชุด นอกจากนี้ยังมีสล็อตสำหรับ Card Reader ที่ไว้เพิ่มหน่วยความจำโดยรองรับ micro SD Card โดยเฉพาะ และช่องใส่ Slot SIM Card ที่รองรับ 4G จากทาง Truemove H มาให้อีกด้วย ซึ่งดูเหมือนว่า HP ก็ไม่ได้ถอดบรรดาพอร์ตต่างๆ ออกไปมาก เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการต่อพ่วงอุปกรณ์ได้พอสมควร ส่วนในแง่ของการเชื่อมต่อไร้สาย มีให้เลือกทั้ง Wireless LAN 802.11b/g/n และ Bluetooth
น้ำหนักโดยรวมของ HP Stream 11 อยู่ที่ประมาณ 1.18 กิโลกรัม มิติของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้อยู่ที่ 30 x 20.57 x 1.97 เซนติเมตร ซึ่งอาจไม่ได้เป็นโน๊ตบุ๊คที่เบาหรือบางที่สุด แต่ก็ออกแบบโครงสร้างที่หยิบจับได้ง่าย ยกได้ด้วยมือเดียว ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและพื้นผิวที่ไม่ลื่นไหล เทียบกับขนาดของหนังสือนิตยสารแล้ว ก็เห็นได้ว่ามีขนาดที่พอๆ กันเลย รวมไปถึงความหนาของตัวเครื่องก็มากกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Performance / Software
HP Stream 11 (2016) เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Celeron N3050 ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.60 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 2.16 GHz นะครับ เป็นซีพียูแบบ 2 Core 2 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i ไม่ได้ แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 2GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
นอกเหนือจากนี้ HP Stream 11 (2016) ยังมีในส่วนของบันเดิล Microsoft One Drive Cloud Storage ขนาด 100GB มาให้เราใช้ได้นาน 1 ปี รวมไปถึงมีบริการ iPass หรือ WiFi Global ให้คุณเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ต WiFi ได้ฟรีทั่วโลกเป็นระยะเวลา 12 เดือน หรือ 1 ปี ที่สำคัญยังได้ซิม 4G LTE เครือข่าย Truemove H โปรโมชั่น “No WiFi No Worry 4G” ใช้อินเตอร์เน็ต 4G 200MB ต่อเดือน / นาน 36 เดือน ในสถานที่ๆ WiFi เข้าไม่ถึง และสามารถเติมเงินซื้ออินเตอร์เน็ตเพิ่มได้ตามต้องการ
ซึ่งถึงแม้ว่าด้วยอินเตอร์เน็ต 4G ที่ 200MB อาจจะดูว่าน้อยไปหน่อย แต่หลักๆ แล้วเราเน้นไว้ใช้งานกรณีที่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเร่งด่วนเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว ทาง HP แนะนำว่าให้ใช้บริการ iPass น่าจะดีกว่า ซึ่ง iPass ที่มากับผลิตภัณฑ์ HP ทุกเครื่องที่ติดตั้ง Windows 10 แบบ Pre Install เอาไว้ครับ ซึ่ง iPass นี้เองจะสามารถใช้งานได้จริงๆ กว่าหลายๆ ร้อยประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์ Wi-Fi และ Log-in ผ่านแอปพลิเคชั่น iPass ก็สามารถใช้งานได้แล้ว โดยในประเทศไทยทั้ง True, AIS และ 3BB ก็รองรับ ซึ่งทาง HP ใจดี ให้ใช้กันได้ฟรีๆ เป็นระยะเวลา 1 ปีสำหรับ ผลิตภัณฑ์ HP ทุกเครื่องที่ติดตั้ง Windows 10 ด้วย ถือว่าเป็นไฮไลน์ที่น่าสนใจมากๆ และเป็นเจ้าแรกในตลาดคอมพิวเตอร์ประเทศไทยเลยก็ว่าได้ที่กล้าให้ผู้ใช้ได้ขนาดนี้
Battery / Heat / Noise
Temp – CPUID Hardware Monitor ในด้านซ้ายมือ เป็นการทดสอบ idle mode โดยทิ้งให้วินโดวส์รันตามปกติไปนิ่งๆ อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 46 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ Full load กับการทดสอบ CPU Burn ด้วยโหลดของซีพียูระดับ 100% ความร้อนเพิ่มขึ้นมาเป็น 51 องศาเซลเซียสโดยประมาณ แต่ถ้าถามว่าร้อนมั้ย คงบอกว่าเท่านี้สบายๆ เพราะเท่าที่เช็คอุณหภูมิทั่วๆ บอดี้ของ HP Stream 11 (2016) นี้ ไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่คีย์บอร์ดหรือด้านข้าง โดยรอบตัวเครื่องก็ตาม รวมไปถึงเสียงรบกวนก็ไม่มีเพราะไร้พัดลมในการระบายความร้อนนั่นเอง
BatteryMon ท้ายสุดนี้ก็คงเป็นเรื่องของความอึดทนของแบตเตอรี่ที่รุ่นนี้ติดตั้งมาภายใน เป็นขนาด 4300 mAh อาจจะไม่ได้มากหากเทียบกับแบตฯ ที่ใช้กันบนโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่ถ้าดูจากรูปแบบการใช้งานและสเปคที่ปรากฏบน HP Stream 11 (2016) รุ่นนี้ บอกได้ว่าตัวเลขที่ได้จากการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 7-8 ชั่วโมง นั้นอาจไม่ได้ทิ้งไปจากการใช้งานจริงมากนัก การแตะอยู่ที่ 6 ชั่วโมงกับการทำงานทั่วไป เช่น พิมพ์งาน เล่นดินเทอร์เน็ต ก็เป็นไปได้สูง ส่วนถ้าเปิดการทำงานของสัญญาณโทรศัพท์หรือการใช้ 3G อาจตกลงมาบ้างอีกเล็กน้อย
Conclusion / Award
เรียกได้ว่า HP ที่มองเห็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คนในสังคมกับการใช้งานโน๊ตบุ๊คในรูปแบบของการเชื่อมต่อมากขึ้น ไม่ได้หยุดอยู่ที่การประมวลผลหรือจัดเก็บข้อมูลภายใน ตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเชื่อมโยงเข้ากับในโลกอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการออนไลน์ผ่านทางสัญญาณ Wi-Fi เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจต้องการรองรับการเชื่อมต่อสัญญาณในแบบอื่นได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงได้มีการเปิดตัว HP Stream 11 (2016) ออกมารองรับผู้ใช้ที่นิยมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่สามารถทำงาน ธุรกรรมออนไลน์ และกิจกรรมอีกมากมายบนอินเทอร์เน็ต
รวมไปถึงนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการโน๊ตบุ๊คไว้เน้นค้นหาข้อมูลหรือทำงานเอกสาร และคนที่มีคอมตั้งโต๊ะอยู่ที่บ้านแล้ว แต่ต้องการโน๊ตบุ๊คซักเครื่องไว้นั่งเล่นอินเตอร์เน็ตตามร้านกาแฟ ในส่วนของ HP Stream 11 (2016) ก็ตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี ซึ่งตอนนี้ใครมีงบประมาณที่หมื่นบาทนิดๆ แล้วต้องการโน๊ตบุ๊คเบาๆ เน้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตล่ะก็ HP Stream 11 (2016) น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดทีเดียว ที่แม้ว่าหลายๆ คนอาจจะเอาไปเทียบกับแท็บเล็ตราคาใกล้เคียงกัน แต่ก็อย่าลืมว่าแท็บเล็ตนั้นในเรื่องของความยืดหยุ่น และการทำงานจริงจังนั้น คงสูงโน๊ตบุ๊คแท้ๆ ไม่ได้อย่างแน่นอน
ถ้าจะนิยามคำสั้นๆ เกี่ยวกับคาแรคเตอร์ของ HP Stream 11 (2016) น่าจะเป็นแบบ ถือง่าย ย้ายสะดวก เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตฉับไว พร้อมทำงานได้ทันที ด้วย Microsoft One Drive Cloud Storage ขนาด 100GB และ Wi-Fi + 4G ที่พิเศษสุดๆ สนนราคาอยู่ที่ 12,990 บาทเท่านั้น
จุดเด่น
- ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ดีไซน์สวย
- หน้าจอสวยคอมชัดในระดับนึง
- พอร์ตการเชื่อมต่อครบครันในระดับนึง
- ปุ่มคีย์บอร์ดใหญ่ นุ่มนวล ตอบสนองดี
- เปิดเครื่อง บูตระบบได้ไวในไม่กี่วินาที
- มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้
- มีบันเดิลเก็บข้อมูลออนไลน์ OneDrive ความจุ 100GB
- มีบริการ iPass ที่ทำให้ใช้งาน Wi-Fi ได้ฟรี 1 ปี
- รองรับอินเตอร์เน็ต 4G ใช้งานฟรีถึง 3 ปีอีกด้วย (จำกัดเดือนละ 200MB)
ข้อสังเกต
- พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ 32GB ถูกแบ่งออกหลายส่วน เหลือพื้นที่จริงบนระบบไม่มากนัก
- ทางเลือกในการเก็บข้อมูลบน OneDrive ต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
- คีย์บอร์ดสีขาวอาจเปื้อนง่าย อาจต้องดูแลรักษามากขึ้น
Awards
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มไฮบริดโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 11 นิ้ว ซึ่ง HP Stream 11 (2016) ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ถึงแม้ HP Stream 11 (2016) จะไม่ใช่โน๊ตบุ๊คที่มีสเปคที่ดีที่สุด แต่ด้วยราคาขายเริ่มต้นที่ 12,990 บาท มาพร้อมสเปคอย่าง Intel Celeron N3050 รวมถึงมีแรม 2GB และแฟลชเมมโมรี่ 32GB พร้อม OneDrive ความจุ 100GB และฟรีอินเตอร์เน็ต Wi-Fi + 4G รวมถึงการรับประกันแบบซ่อมฟรีถึงบ้าน 1 ปี ซึ่งด้วยสเปค ราคา และฟีเจอร์ขนาดนี้รับรองว่าหาไม่ได้ในโน๊ตบุ๊คทั่วไป เราจึงมอบรางวัล Best Value ไปให้เลยอย่างไม่ต้องสงสัย
Best Design
เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของHP Stream 11 (2016) แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจากโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบาของทาง HP ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟนๆ คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความสวยงามโดดเด่นตามสไตล์ของ HP ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คบางเบา ทั้งในความบางและน้ำหนักเบา 1.18 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 10 ส่งผลให้เราสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที เปิดหน้าจออีกทีก็ใช้งานได้เลย รวามถึงจากการใช้งานก็ใช้แบตเตอรี่ได้กว่า 6 ชั่วโมง จึงทำให้ HP Stream 11 (2016) ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย
VDO Review
Specification
สเปกของ HP Stream 11 (2016) ใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Celeron N3050 สถาปัตยกรรม Braswell ความเร็ว 1.6GHz – 2.16GHz มาพร้อมกับ Intel HD Graphic และหน่วยความจำ DDR3 2GB และฮาร์ดไดรฟ์ที่มาบนเมนบอร์ดสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลชเมมโมรี่ขนาด 32GB (eMMC) ในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล HP จัดพื้นที่ให้เก็บข้อมูลจากทาง Microsoft One Drive Cloud Storage 100GB เป็นเวลา 1 ปี มาในบันเดิลนี้ด้วย ให้การแสดงผลบนหน้าจอ 11.6นิ้ว ความละเอียด 1366×768 พิกเซล ในแบบ Diagonal HD anti-glare WLED-backlit หรือที่เรียกติดปากว่า “จอด้าน” นั่นเอง มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 รวมถึงได้ iPass ที่ทำให้ใช้งาน Wi-Fi ได้ฟรี 1 ปี ที่สำคัญจากการที่รองรับซิมการ์ด HP กับ Truemove H ยังให้อินเตอร์เน็ต 4G ใช้งานฟรีถึง 3 ปีอีกด้วย (จำกัดเดือนละ 200MB)
ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจติดตั้งมาใน HP Stream 11 (2016) นี้ด้วย ทั้งลำโพงคู่ด้านใต้เครื่องและระบบเสียง dts Studio Sound ที่ให้คุณภาพเสียงสำหรับความบันเทิงในแบบต่างๆ ด้วยพลังเสียงที่จะตอบโจทย์การใช้งานได้สนุกยิ่งขึ้น กล้องเว็บแคม HP TrueVision HD และไมโครโฟน ปุ่มคีย์บอร์ดขนาดใหญ่สีขาวสำหรับการพิมพ์ที่แม่นยำ โดยมีทัชแพดรองรับการทำงานในแบบ Multi-Touch รวมปุ่มกดซ้าย-ขวาในตัว
สเปกเต็มๆ ของ HP Stream 11 (2016)
Hardware / Design
ในเรื่องของการออกแบบและดีไซน์ของ HP Stream 11 (2016) นั้นต้องยอมรับกันตามตรงว่าทำได้น่าประทับใจมาก เพราะตัวเครื่องบางและเบาในรูปแบบเดียวกับ Ultrabook เลย พร้อมด้วยการใช้สีสันที่ค่อนข้างสะดุดอย่างสีน้ำเงิน Cobalt Blue เข้ากับได้ทั้งหนุ่มๆ หรือสาวๆ ยุคสมัยนี้ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนนักศึกษา หรือคนที่มีคอมตั้งโต๊ะอยู่ที่บ้านแล้ว แต่ต้องการโน๊ตบุ๊คซักเครื่องไว้นั่งเล่นอินเตอร์เน็ตตามร้านกาแฟ โดยบริเวณที่พักมีและคีย์บอร์ดนั้นจะมีการไล่สีอ่อนมาเข้มแลดูสวยงามมากๆ เรียกได้ว่าการออกแบบดีไซน์โดดเด่นสุดๆ เหมาะกับวัยรุ่นเจนเนอเรชั่นใหม่ที่ชอบความแปลกใหม่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ซึ่งหาไม่ได้แน่นอนจากโน๊ตบุ๊คแบรนด์ไหนในท้องตลาด
จากการได้สัมผัสและใช้งานบน HP Stream 11 (2016) ความรู้สึกไปในทิศทางที่ดูแตกต่างและโดดเด่น ทั้งรูปลักษณ์ สีสันและวัสดุ ที่ดูเหมือนจะขยับไปทางแฟชั่นมากขึ้น ความจัดจ้านของสีและลายกราฟฟิกต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ทั้งบอดี้ด้านนอก ด้านในถูกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงกับ HP Stream 11 (2016) นี้ด้วยลวดลายที่สวยงาม ส่วนหนึ่งทำให้รู้สึกลืมเรื่องหนักๆ หรือดูเป็นทางการของโน๊ตบุ๊คในอุดมคติของหลายๆ คนไปได้เลย นอกจากนี้สัมผัสที่แตะ จับ ถือค่อนข้างจะหยิบติดมือได้ง่าย ด้วยวัสดุที่มีพื้นผิวเข้ามาเป็นบอดี้ภายนอก ใครที่ต้องเคลื่อนย้ายหรือต้องถือเดินไปมาในออฟฟิศหรือในบ้านน่าจะอุ่นใจได้มากกว่า เรียกว่าไม่ใส่ซอฟต์เคสก็ถือได้สบายๆ
อีกหนึ่งจุดเด่นของ HP Stream 11 (2016) เป็นโน๊ตบุ๊คทรงประสิทธิภาพระดับสูงที่เน้นการพกพา เพราะมีน้ำหนักตัวที่เบามากๆ แถมตัวเครื่องยังบางสุดๆ โดยสามารถถือได้ด้วยมือเดียวอย่างสบายๆ ด้วยน้ำหนักเพียง 1.18 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนความบางบอกได้เลยว่าบางสุดๆ แบบที่หารุ่นเปรียบเทียบได้ยาก ซึ่งแม้จะบางขนาดนี้ ยังได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าต่อยอดมาจากรุ่นก่อนหน้าอย่างน่าประทับใจทีเดียว กับในเรื่องของดีไซน์การออกแบบ
Keyboard / Touchpad
คีย์แพดและทัชแพดดูเป็นกันเองมากทีเดียว ด้วยการที่คีย์บอร์ดสีขาวดูสะอาดตา รวมไปถึงมีแป้นขนาดใหญ่กดง่าย ไม่บีบกันจนเกินไป เท่านี้ก็ใช้งานได้สะดวกแล้ว ปุ่มไม่ต้องกดลึกมาก ตอบสนองได้ดีในระดับหนึ่งซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก ที่สำคัญเสียงไม่ดังจนน่ารำคาญ ช่วยให้คนที่พิมพ์แรงๆ หนักๆ หรือใช้ในห้องนอน ก็ไม่รบกวนคนอื่นอีกด้วย
ทัชแพดเองก็ติดตั้งมาให้ด้วยตามปกติเช่นกันโดยเป็นทัชแพดสีดำตัดขอบทัชแพดด้วยขอบสีเงินดูเรียบหรูน่าใช้ ดีไซน์เป็นแบบแยกชิ้นซ่อนปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ใต้ทัชแพด รวมทั้งทัชแพดยังรองรับการใช้งาน Gesture Control ร่วมกับ Windows 10 ซึ่งหลังจากที่ทดลองใช้ทัชแพด HP Stream 11 (2016) ก็สามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดี และมีความลื่นไหลน่าพอใจ
Screen / Speaker
เรื่องการแสดงผลก็น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะอยู่ด้วยกันวันๆ หนึ่งหลายชั่วโมง ด้วยความที่เป็นจอขนาด 11.6 นิ้วแบบจอด้านลดการสะท้อนแสง โดยได้ความละเอียดที่ 1366 x 768 พิกเซลตามมาตรฐาน ทำให้ไม่ว่าจะฟอนต์หรือไอคอนต่างๆ เล็กลงไปบ้าง แต่ทั้งนี้ไม่ได้เป็นประเด็น เนื่องจากเราสามารถปรับสเกลขนาดฟอนต์ได้ตามใจ จะมีเพียงเรื่องของความกว้างของมุมมอง ที่เหมาะกับการใช้ส่วนตัว อาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองมาตรฐาน ใช้งานได้แบบมองหน้าตรง ในมุมมองด้านข้างค่อนข้างชัด คนนั่งด้านข้างยังมองเห็นภาพและฟอนต์ได้ชัด แต่มุมมองจากด้านบนและมุมเงยได้ไม่มาก ภาพจะเริ่มมีสีขาวและเทามากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด
เรื่องของคุณภาพเสียงเพราะเสียงที่ได้จาก HP Stream 11 (2016) นี้ ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ความอิ่มของเสียงกับความคมชัดเวลาที่เล่นเพลงหรือมิวสิควีดีโอ ด้วยลำโพง 2 ชุดด้านใต้โน๊ตบุ๊ค ให้ทิศทางของเสียงมายังด้านหน้าอย่างชัดเจน แม้จะไม่ได้เก็บรายละเอียดเสียงทั้งหมดก็ตามที
Connector / Thin And Weight
รองรับการเชื่อมต่อได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น USB ที่มีทั้ง USB 3.0 และ 2.0 รวมถึงพอร์ตแสดงผลยอดนิยม HDMI รวมถึงช่องต่อไมโครโฟนและหูฟังที่มาในชุด นอกจากนี้ยังมีสล็อตสำหรับ Card Reader ที่ไว้เพิ่มหน่วยความจำโดยรองรับ micro SD Card โดยเฉพาะ และช่องใส่ Slot SIM Card ที่รองรับ 4G จากทาง Truemove H มาให้อีกด้วย ซึ่งดูเหมือนว่า HP ก็ไม่ได้ถอดบรรดาพอร์ตต่างๆ ออกไปมาก เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการต่อพ่วงอุปกรณ์ได้พอสมควร ส่วนในแง่ของการเชื่อมต่อไร้สาย มีให้เลือกทั้ง Wireless LAN 802.11b/g/n และ Bluetooth
น้ำหนักโดยรวมของ HP Stream 11 อยู่ที่ประมาณ 1.18 กิโลกรัม มิติของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้อยู่ที่ 30 x 20.57 x 1.97 เซนติเมตร ซึ่งอาจไม่ได้เป็นโน๊ตบุ๊คที่เบาหรือบางที่สุด แต่ก็ออกแบบโครงสร้างที่หยิบจับได้ง่าย ยกได้ด้วยมือเดียว ด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและพื้นผิวที่ไม่ลื่นไหล เทียบกับขนาดของหนังสือนิตยสารแล้ว ก็เห็นได้ว่ามีขนาดที่พอๆ กันเลย รวมไปถึงความหนาของตัวเครื่องก็มากกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Performance / Software
HP Stream 11 (2016) เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Celeron N3050 ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.60 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 2.16 GHz นะครับ เป็นซีพียูแบบ 2 Core 2 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i ไม่ได้ แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 2GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
นอกเหนือจากนี้ HP Stream 11 (2016) ยังมีในส่วนของบันเดิล Microsoft One Drive Cloud Storage ขนาด 100GB มาให้เราใช้ได้นาน 1 ปี รวมไปถึงมีบริการ iPass หรือ WiFi Global ให้คุณเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ต WiFi ได้ฟรีทั่วโลกเป็นระยะเวลา 12 เดือน หรือ 1 ปี ที่สำคัญยังได้ซิม 4G LTE เครือข่าย Truemove H โปรโมชั่น “No WiFi No Worry 4G” ใช้อินเตอร์เน็ต 4G 200MB ต่อเดือน / นาน 36 เดือน ในสถานที่ๆ WiFi เข้าไม่ถึง และสามารถเติมเงินซื้ออินเตอร์เน็ตเพิ่มได้ตามต้องการ
ซึ่งถึงแม้ว่าด้วยอินเตอร์เน็ต 4G ที่ 200MB อาจจะดูว่าน้อยไปหน่อย แต่หลักๆ แล้วเราเน้นไว้ใช้งานกรณีที่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเร่งด่วนเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้ว ทาง HP แนะนำว่าให้ใช้บริการ iPass น่าจะดีกว่า ซึ่ง iPass ที่มากับผลิตภัณฑ์ HP ทุกเครื่องที่ติดตั้ง Windows 10 แบบ Pre Install เอาไว้ครับ ซึ่ง iPass นี้เองจะสามารถใช้งานได้จริงๆ กว่าหลายๆ ร้อยประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์ Wi-Fi และ Log-in ผ่านแอปพลิเคชั่น iPass ก็สามารถใช้งานได้แล้ว โดยในประเทศไทยทั้ง True, AIS และ 3BB ก็รองรับ ซึ่งทาง HP ใจดี ให้ใช้กันได้ฟรีๆ เป็นระยะเวลา 1 ปีสำหรับ ผลิตภัณฑ์ HP ทุกเครื่องที่ติดตั้ง Windows 10 ด้วย ถือว่าเป็นไฮไลน์ที่น่าสนใจมากๆ และเป็นเจ้าแรกในตลาดคอมพิวเตอร์ประเทศไทยเลยก็ว่าได้ที่กล้าให้ผู้ใช้ได้ขนาดนี้
Battery / Heat / Noise
Temp – CPUID Hardware Monitor ในด้านซ้ายมือ เป็นการทดสอบ idle mode โดยทิ้งให้วินโดวส์รันตามปกติไปนิ่งๆ อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 46 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ Full load กับการทดสอบ CPU Burn ด้วยโหลดของซีพียูระดับ 100% ความร้อนเพิ่มขึ้นมาเป็น 51 องศาเซลเซียสโดยประมาณ แต่ถ้าถามว่าร้อนมั้ย คงบอกว่าเท่านี้สบายๆ เพราะเท่าที่เช็คอุณหภูมิทั่วๆ บอดี้ของ HP Stream 11 (2016) นี้ ไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่คีย์บอร์ดหรือด้านข้าง โดยรอบตัวเครื่องก็ตาม รวมไปถึงเสียงรบกวนก็ไม่มีเพราะไร้พัดลมในการระบายความร้อนนั่นเอง
BatteryMon ท้ายสุดนี้ก็คงเป็นเรื่องของความอึดทนของแบตเตอรี่ที่รุ่นนี้ติดตั้งมาภายใน เป็นขนาด 4300 mAh อาจจะไม่ได้มากหากเทียบกับแบตฯ ที่ใช้กันบนโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่ถ้าดูจากรูปแบบการใช้งานและสเปคที่ปรากฏบน HP Stream 11 (2016) รุ่นนี้ บอกได้ว่าตัวเลขที่ได้จากการทดสอบอยู่ที่ประมาณ 7-8 ชั่วโมง นั้นอาจไม่ได้ทิ้งไปจากการใช้งานจริงมากนัก การแตะอยู่ที่ 6 ชั่วโมงกับการทำงานทั่วไป เช่น พิมพ์งาน เล่นดินเทอร์เน็ต ก็เป็นไปได้สูง ส่วนถ้าเปิดการทำงานของสัญญาณโทรศัพท์หรือการใช้ 3G อาจตกลงมาบ้างอีกเล็กน้อย
Conclusion / Award
เรียกได้ว่า HP ที่มองเห็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คนในสังคมกับการใช้งานโน๊ตบุ๊คในรูปแบบของการเชื่อมต่อมากขึ้น ไม่ได้หยุดอยู่ที่การประมวลผลหรือจัดเก็บข้อมูลภายใน ตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเชื่อมโยงเข้ากับในโลกอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการออนไลน์ผ่านทางสัญญาณ Wi-Fi เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจต้องการรองรับการเชื่อมต่อสัญญาณในแบบอื่นได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงได้มีการเปิดตัว HP Stream 11 (2016) ออกมารองรับผู้ใช้ที่นิยมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่สามารถทำงาน ธุรกรรมออนไลน์ และกิจกรรมอีกมากมายบนอินเทอร์เน็ต
รวมไปถึงนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการโน๊ตบุ๊คไว้เน้นค้นหาข้อมูลหรือทำงานเอกสาร และคนที่มีคอมตั้งโต๊ะอยู่ที่บ้านแล้ว แต่ต้องการโน๊ตบุ๊คซักเครื่องไว้นั่งเล่นอินเตอร์เน็ตตามร้านกาแฟ ในส่วนของ HP Stream 11 (2016) ก็ตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี ซึ่งตอนนี้ใครมีงบประมาณที่หมื่นบาทนิดๆ แล้วต้องการโน๊ตบุ๊คเบาๆ เน้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตล่ะก็ HP Stream 11 (2016) น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดทีเดียว ที่แม้ว่าหลายๆ คนอาจจะเอาไปเทียบกับแท็บเล็ตราคาใกล้เคียงกัน แต่ก็อย่าลืมว่าแท็บเล็ตนั้นในเรื่องของความยืดหยุ่น และการทำงานจริงจังนั้น คงสูงโน๊ตบุ๊คแท้ๆ ไม่ได้อย่างแน่นอน
ถ้าจะนิยามคำสั้นๆ เกี่ยวกับคาแรคเตอร์ของ HP Stream 11 (2016) น่าจะเป็นแบบ ถือง่าย ย้ายสะดวก เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตฉับไว พร้อมทำงานได้ทันที ด้วย Microsoft One Drive Cloud Storage ขนาด 100GB และ Wi-Fi + 4G ที่พิเศษสุดๆ สนนราคาอยู่ที่ 12,990 บาทเท่านั้น
จุดเด่น
- ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ดีไซน์สวย
- หน้าจอสวยคอมชัดในระดับนึง
- พอร์ตการเชื่อมต่อครบครันในระดับนึง
- ปุ่มคีย์บอร์ดใหญ่ นุ่มนวล ตอบสนองดี
- เปิดเครื่อง บูตระบบได้ไวในไม่กี่วินาที
- มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้
- มีบันเดิลเก็บข้อมูลออนไลน์ OneDrive ความจุ 100GB
- มีบริการ iPass ที่ทำให้ใช้งาน Wi-Fi ได้ฟรี 1 ปี
- รองรับอินเตอร์เน็ต 4G ใช้งานฟรีถึง 3 ปีอีกด้วย (จำกัดเดือนละ 200MB)
ข้อสังเกต
- พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ 32GB ถูกแบ่งออกหลายส่วน เหลือพื้นที่จริงบนระบบไม่มากนัก
- ทางเลือกในการเก็บข้อมูลบน OneDrive ต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
- คีย์บอร์ดสีขาวอาจเปื้อนง่าย อาจต้องดูแลรักษามากขึ้น
Awards
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มไฮบริดโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 11 นิ้ว ซึ่ง HP Stream 11 (2016) ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ถึงแม้ HP Stream 11 (2016) จะไม่ใช่โน๊ตบุ๊คที่มีสเปคที่ดีที่สุด แต่ด้วยราคาขายเริ่มต้นที่ 12,990 บาท มาพร้อมสเปคอย่าง Intel Celeron N3050 รวมถึงมีแรม 2GB และแฟลชเมมโมรี่ 32GB พร้อม OneDrive ความจุ 100GB และฟรีอินเตอร์เน็ต Wi-Fi + 4G รวมถึงการรับประกันแบบซ่อมฟรีถึงบ้าน 1 ปี ซึ่งด้วยสเปค ราคา และฟีเจอร์ขนาดนี้รับรองว่าหาไม่ได้ในโน๊ตบุ๊คทั่วไป เราจึงมอบรางวัล Best Value ไปให้เลยอย่างไม่ต้องสงสัย
Best Design
เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของHP Stream 11 (2016) แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจากโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบาของทาง HP ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟนๆ คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความสวยงามโดดเด่นตามสไตล์ของ HP ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คบางเบา ทั้งในความบางและน้ำหนักเบา 1.18 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 10 ส่งผลให้เราสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที เปิดหน้าจออีกทีก็ใช้งานได้เลย รวามถึงจากการใช้งานก็ใช้แบตเตอรี่ได้กว่า 6 ชั่วโมง จึงทำให้ HP Stream 11 (2016) ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย