Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook News

Lenovo Yoga 900 Hybrid Notebook Preview [พับได้ หน้าจอละเอียด แบตใหญ่ ในสไตล์หรู]

Lenovo มีการขยายตัวในตลาดผู้ใช้ทั่วไปมากขึ้น พร้อมกับมีการเพิ่มชื่อใหม่ที่ให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจได้ง่าย รวมถึงมีการนำเอาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ Lenovo 100 และ 500 รวมถึง Lenovo 700 series

Lenovo มีการขยายตัวในตลาดผู้ใช้ทั่วไปมากขึ้น พร้อมกับมีการเพิ่มชื่อใหม่ที่ให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจได้ง่าย รวมถึงมีการนำเอาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ Lenovo 100 และ 500 รวมถึง Lenovo 700 series พร้อมการนำเสนอเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละรุ่น

Advertisement

1

Lenovo Yoga 900 เป็นไลน์ของรุ่นที่เรียกว่าเป็นรุ่นพีคสุดในซีรีส์ และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยก่อนหน้านี้ Yoga 3 Pro เป็นรุ่นที่ Lenovo ได้ปรับให้สามารถปรับ พับและหมุนได้ 360 องศา บนบานพับ ซึ่งก็ทำให้ดูเหมือนว่า Lenovo มีการปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

Specification

  • Processor : Intel Core i7-6500U 2.5 GHz (Intel Core i7)
  • Graphics adapter : Intel HD Graphics 520 – 1024 MB, Core: 400 MHz, Memory: 797 MHz, 10.18.15.4248
  • Memory :16290 MB, Dual-Channel, 1066.7 MHz, 12-15-15-34
  • Display :13.3 inch 16:9, 3200×1800 pixel, 10-point capacitive, IPS, ID: Samsung SDC454A, Name: LFYLLTN133YL05L02, glossy: yes
  • Mainboard :Intel Skylake-U Premium PCH
  • Storage :Samsung SSD PM871 MZNLN512HCJH, 512 GB
  • Soundcard : Intel Skylake-U/Y PCH – High Definition Audio
  • Connections2 : USB 3.0, Audio Connections: 3.5 mm combo, Card Reader: 4-in-1 Card Reader (SD, MMC, SDXC, SDHC), Sensors: Accelerometer
  • Networking : Intel Dual Band Wireless-AC 8260 (a/b/g/h/n/ac), Bluetooth 4.0
  • Size : height x width x depth (in mm): 14.9 x 324 x 225 ( = 0.59 x 12.76 x 8.86 in)
  • Battery : 66 Wh Lithium-Polymer, 4-cell
  • Operating : SystemMicrosoft Windows 10 Home 64 Bit
  • Additional features :
  • Webcam: 1 MP, 720p CMOS, Speakers: JBL Stereo with Dolby DS 1.0, Keyboard: Chiclet, Keyboard Light: yes, 12 Months Warranty
  • Weight : 1.27 kg ( = 44.8 oz / 2.8 pounds), Power Supply: 225 g ( = 7.94 oz / 0.5 pounds)
  • Price : 1000 Euro ประมาณ xxxxx บาท

บอดี้และโครงสร้าง
Yoga 900 เผยให้เห็นโครงสร้างที่เกือบจะเหมือน Yoga 3 Pro ที่มีควาทโดดเด่นที่แตกต่างกันในบางจุด เป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็นบานพับสายนาฬิกาข้อมือบนโน๊ตบุ๊ค ที่มาพร้อมรูปแบบมาตรฐาน การพับ 360 องศา แต่การออกแบบมีความน่าสนใจยิ่งขึ้นและดูหรูหรา ด้วยการใช้พื้นผิวแบบยางและไม่เป็นรอยบุ๋มลงไปให้เห็น แบบใน Yoga 3 Pro ที่ทำให้ดูเหมือนวัสดุที่เป็นหนัง ที่ขอบโดยรอบได้มีการป้องกันการกระแทก ด้วยกันชนยางขนาดเล็กและการแสดงผลที่มาในรูปแบบเกือบจะไร้ขอบทั้งหมด พร้อมการป้องกันด้วย Gorilla Glass

2

นอกเหนือจากบานพับโลหะและพื้นยางแล้ว ที่ฐานบนฝาปิดด้านนอกยังมีพื้นผิวที่เคลือบไว้เรียบ แต่ไม่ได้ระบุว่าใช้สิ่งใดเป็นวัสดุ พลาสติกหรืออลูมิเนียม แต่ดูแล้วมีความแข็งแรงดีพอสมควร ต้านต่อแรงบิดได้เป็นอย่างดี รวมถึงแรงกดจากน้ำหนักภายนอก ที่ถ่ายลงสู่ศูนย์กลาง ไม่ทำให้เสียรูปแบบไป รวมถึงฝาปิดภายนอกที่ทนทานต่อแรงกระทำจากภายนอกได้ดีในระดับหนึ่ง

4 3

ขนาดโดยทั่วไปของ Yoga 900 แตกต่างจาก Yoga 3 Pro อยู่เล็กน้อย ด้วยขนาดที่ 324 x 225 x 14.9mm เมื่อเทียบกับ 330 x 228 x 12.8mm เห็นได้ชัดว่าความหนาที่มากกว่าประมาณ 2mm ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการใช้งานซีพียูในแบบ ULV ด้วยการใช้งาน Core i7 แทนการใช้ Core M เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้า รวมถึงน้ำหนักเหลือเพียง 1.27 Kg เท่านั้น แม้ว่าขนาดจะค่อนข้างใหญ่กว่าคู่แข่งในระดับเดียวกัน แต่น้ำหนักก็น้อยกว่าอยู่หลายรุ่น ในความเป็น Lenovo Yoga 900 ให้ความบางกว่าคู่แข่งในขนาด 13 นิ้ว ที่สามารถพับได้ 360 องศา

8

พอร์ตการเชื่อมต่อ
พอร์ตต่อพ่วงส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Yoga 3 Pro ยกเว้นบางส่วน เช่น mini-HDMI ที่ปัจจุบันเป็น USB 3.1 Type-C ที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็น Gen 2 Type-C หรือเปล่า ที่จะรองรับกับการใช้งานร่วมกับ Thunderbolt แต่ทาง Lenovo แจ้งเอาไว้ว่าเป็นพอร์ตที่สามารถในการส่งสัญญาณวีดีโอเอาท์พุตได้ ซึ่งเรียกว่าเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับการใช้งาน เพียงแต่จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ mini-HDMI ที่คงจะต้องหาสายแปลงมาใช้งานร่วม

11

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราหมุนตัวล็อคที่อยู่ติดกับ Lenovo OneKey ที่อยู่ด้านบนของโน๊ตบุ๊ค ที่ดูสะดวกกว่าการปิดการใช้งานผ่านทางซอฟต์แวร์ Windows บนแท็ปเล็ตอื่นๆ ดังนั้นการใช้งาน Yoga 900 ในโหมดแท็ปเล็ตสำหรับการนำเสนองานหรือการแสดงผลงานร่วมกับคนอื่นๆ ก็จะง่ายมากขึ้น

8

การเชื่อมต่อ
มีการทำงานผ่าน WLAN และ Bluetooth 4.0 สำหรับบริการ ด้วยโมดูลที่สามารถถอดเปลี่ยนได้บน M.2 2200 ทำงานในแบบ Dual-band (2×2) ด้วยการเชื่อมต่อที่ให้ความรวดเร็วระดับ 867Mbps ได้บน 802.11ac ตัวโมดูลรองรับ WiDi สำหรับผู้ใช้ที่ขาดการทำงานของ HDMI, VGA, DisplayPort และจะมี GPS/WWAN มาเป็นทางเลือกให้ใช้ใน Yoga 900

6

อุปกรณ์เสริม
ไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อเฉพาะสำหรับอุปกรณ์เสริม แต่ผู้ใช้อาจจะเพิ่มเติมใน USB Type-C Video adaptor เพราะเป็นตัวเลือกเดียวสำหรับนต่อวีดีโอออกผ่านสายสัญญาณ

yoga 900 keyboard

คีย์บอร์ด
เมื่อสังเกตที่คีย์บอร์ดบน Yoga 3 Pro จะค่อนข้างเล็กและยังขาดปุ่มฟังก์ชั่น แต่สำหรับ Yoga 900 นั้นกลับมาด้วยแป้นพิมพ์หกแถว ที่เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด เพียงแต่ลักษณะปุ่มยังไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก นั้นคือ รู้สึกค่อนข้างเบาและตื้น ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกในการใช้งานอยู่บ้าง แสงไฟมีระดับความสว่างอยู่ 2 ระดับและจะปิดอัตโนมัติเมื่อหน้าจอแสดงผลหมุนพับเกินกว่า 190 องศา ปุ่มและทัชแพดจะหยุดทำงานอัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่โหมดดังกล่าว

ทัชแพด
พื้นที่ของทัชแพดอยู่ที่ประมาณ 9 x 6cm โดยให้พื้นผิวสัมผัสที่เรียบลื่นเป็นยางกึ่งพลาสติก เพื่อให้มีความทนทานต่อการหลุดร่อน ซึ่งทัชแพดที่นำมาผลิตด้วยแผงควบคุมจาก Gynaptics จะรองรับการทำงานแบบมัลติทัช 4 นิ้ว แต่ก็พบว่าด้วยขนาดทัชแพดที่มีพื้นที่ไม่กว้างนัก ก็ทำให้การใช้งานแบบ 4 นิ้วไม่ง่ายเสียทีเดียว อย่างไรก็ดีอย่างน้อยทัชแพดก็เสริมในด้านของแรงกดที่จะตอบสนองได้ดียิ่งชึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคลิก ดับเบิลคลิกหรือการคลิกขวาได้อย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน

19

การแสดงผล
Yoga 900 มาพร้อมความละเอียด QHD (3200 x 1800) หน้าจอเป็นแบบ Glossy สนับสนุนการทัชสกรีน พร้อมด้วย Gorilla Glass 4 ซึ่งดูน่าประทับใจ เป็นพาแนลที่ให้พิกเซลสีขาวสูงกว่ามาตรฐาน RGB และสีที่มีความลึก ความสว่างอยู่ที่ 300 nits เมื่อเทียบกับ Yoga 3 Pro แล้ว ดูจะให้การแสดงผลที่สดใสกว่า แต่จะมีในเรื่องของการแสดงสีเทาและความมืดในวีดีโอมีรายละเอียดหายไปบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ดีถือว่าทำได้ดีกว่าคู่แข่งหลายรายในระดับเดียวกัน ด้วยจำนวนพิกเซลที่มากกว่า รวมถึงในการทดสอบมาตรฐาน sRGB และ AdobeRGB ที่ทาง Yoga 900 ให้สีที่ถูกต้องในการทำงาน จึงดูสำคัญต่อผู้ใช้ในกลุ่มที่ต้องการเครื่องที่ทำงานระบบภาพที่ดีมากขึ้น

20

ส่วนในการใช้งานภายนอกสถานที่อาจไม่จัดจ้านนัก เพราะแสงที่บางเบา แต่การมองเห็นยังจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร เนื่องจากแสงไฟที่ยากจะเอาชนะแสงธรรมชาติได้มากนัก ส่วนทำงานในร่มไม่ได้เป็นปัญหา โชคดีที่มุมมองกว้างก็ทำให้การมองภาพทำได้ชัดเจนมากขึ้น ด้วยมุมมองที่ดีเกิดจากพาแนล IPS ที่ไม่มีการเปลี่ยนสีไปมาก แม้จะเปลี่ยนมุมมอง

21 22

ประสิทธิภาพ
Yoga 900 มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Dual-Core Intel Core i7-6500U และกราฟฟิกการ์ดที่มาภายในรุ่น HD 520 ซึ่งถ้าทำงานใน idle mode จะทำงานที่ 500MHz และ 300/800MHz เป็นหลัก โดยที่ระบบจะทำงานแบบไม่มีตัวเลือก GPU ให้เฉพาะ ส่วนแรมสามารถรองรับทั้งแบบ 8GB ถึง 16GB ในโหมด Dual channel

24

หน่วยประมวลผล
ทดสอบด้วย CineBench ให้ผลการทำงานได้ค่อนข้างดี แม้อันดับในการทดสอบจะเป็นรองคู่แข่งในการทดสอบบ้างเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานภายใต้สภาวะการโหลดของระบบ กับการทดสอบซ้ำในส่วนของ Stress Test แม้ประสิทธิภาพของซีพียูจะได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่ Core i7-6500U บนเครื่อง Lenovo นี้ ยังคงให้ประสิทธิภาพมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับ Core i5-4300U และ i5-4200U ของโน๊ตบุ๊คในรุ่นก่อนหน้านี้

ส่วนคะแนนในการทดสอบแบบ Single Core บนโปรแกรม CineBench R15 อยู่ในระดับ 87 point ซึ่งตรงจุดนี้คือสาเหตุที่ซีพียูถูกควบคุมการทำงานระหว่างการทดสอบทำให้เกิดความแตกต่างอยู่เล็กน้อย

ระบบจัดเก็บข้อมูล
อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลแบบเดียวของการทดสอบมาในรูปแบบของ M.2 slot ซึ่งใช้ Samsung MZNLN512HCJH-000L2 SSD 512GB ในการทดสอบ ซึ่งมีระดับการอ่านและเขียนสอดคล้องกับคู่แข่งไฮเอนด์รุ่นอื่นๆ เช่น SSD 850 EVO และไดรฟ์ในแบบ NVMe ด้วยการทดสอบอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่ง Yoga 900 มีรุ่นความจุน้อยสุด 256GB แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะไดรฟ์สามารถอัพเกรดได้ง่ายขึ้น

28

 

30

 

29

ประสิทธิภาพในงานกราฟฟิก
โดยพื้นฐานในด้านประสิทธิภาพกราฟฟิกจะมากกว่า HD4000 และ HD4600 อยู่ประมาณ 20-30% ตามการทดสอบด้วย 3DMark 2013 โดยมีระยะห่างเมื่อทดสอบด้วย 3DMark 2011 ที่ประมาณ 50-60% อย่างไรก็ตาม Intel Iris Pro Graphic 5200 และ nVIDIA GeForce 930M ที่เป็นรุ่นล่าง จะยังมีความได้เปรียบกว่าบน Yoga 900 อยู่ประมาณหนึ่ง

การทดสอบด้วยเกม
ในส่วนของการทดสอบบน Stardraft 2 หรือ LOL จะสามารถเล่นได้ดีในการตั้งค่าระดับกลางถึงสูง การจะเล่นบนความละเอียดที่ต่ำกว่า 3200 x 1080 น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า รวมถึงความละเอียด 1080p ยังพอทำได้ แต่จะทำให้ต้องตั้งค่ากราฟฟิกให้ต่ำลง จึงแนะนำว่าเล่นบน 720p เพื่อให้การเล่นนั้นราบลื่นมากขึ้นกว่าเดิม

31

การทดสอบ Stress Test
การทดสอบด้วยระบบมาตรฐาน เพื่อการวิเคราะห์เสถียรภาพในการทำงาน ดังนั้นจึงใช้ Prime95 Stress CPU ในส่วนของ Turbo Boost จะมองเห็นถึงเสถียรภาพที่ลดลงอย่างช้าๆ และมีผลที่ดีสุดอยู่ที่ 2.7GHz หรือเพียงแค่ 200MHz ที่สูงขึ้นจากสัญญาณนาฬิกาเดิมเท่านั้น ส่วนของ FurMark ก็แสดงให้เห็นถึงการทำงานของ GPU ที่มีช่วงเสถียรภาพอยู่ที่ประมาณ 900MHz จากสัญญาณเดิมที่ 800MHz ซึ่งเมื่อทดสอบทั้ง Prime95 และ FurMark กำลังทำงานอยู่ซีพียูจะทำงานอยู่ที่ 1.4GHz ภายใต้การโหลดที่มากขึ้น

32

ส่วนเมื่อรัน Unigine Heaven นั้น GPU จะยังคงรักษาความเร็วที่สูงเพิ่มขึ้นอยู่ถึง 1000MHz ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า Yoga 900 จะยังคงควบคุมการทำงานของ GPU ที่มีมาในตัว เพื่อรักษาสภาพของอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินไป รวมถึง Lenovo ก็ยังควบคุมอุณหภูมิแกนหลักไม่ให้ไปถึง 10 องศงเซลเซียสภายในการทำงานปกติ

15

ข้อแตกต่างจาก Yoga 3 Pro อยู่ที่ Yoga 900 ใช้พัดลมที่เป็นโลหะอัลลอยแบบคู่ 35mm และฮีตซิงก์ 2 ตัวในการระบายความร้อนแทนพัดลมและซิงก์เพียงตัวเดียว ตะแกรงระบายอากาศถูกซ่อนไว้อย่างดีบริเวณขอบด้านหลังของโน๊ตบุ๊คใต้บานพับ การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานจากเดิม Core M-5Y70 มาเป็น Core i7-6500U ที่ความเร็ว 2.5GHz ที่มาพร้อมกราฟฟิกในตัว เช่น Yoga Y900 นี้ ที่ส่วนใหญ่จะมีเพียงพัดลมตัวเดียสเท่านั้น เพราะไม่มี GPU เพิ่มเติม แต่ทาง Lenovo ได้จัดสรรมาเพื่อการระบายความร้อนที่ดีเป็นสองเท่า เพื่อการระบายความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20%

14

แล้วเสียงพัดลมจะดังขึ้นแค่ไหน ก็คงต้องบอกว่าดังขึ้นกว่า Yoga 3 Pro แน่นอน แต่นานๆ ครั้งจะดังขึ้นมา เพราะต้องเกิดเมื่อมีการโหลดหนักๆ เท่านั้น ส่วนถ้าประมวลผลธรรมดา ก็จะอยู่ที่ประมาณ 30dB ถ้าเมื่อเล่นเกมก็อาจจะโหลดขึ้นไปที่ 34-35dB ส่วนในระหว่างการโหลดบนโปรแกรม Prime95 หรือ FurMark อาจขึ้นไปถึงประมาณ 38dB

อุณหภูมิ
ในขณะที่เสียงพัดลมดังมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ ทำให้อุณหภูมิบริเวณพื้นผิวดีขึ้นอย่างชัดเจน จุดร้อนแทบไม่มีเมื่ออยู่ในโหมด idle อุณหภูมิจะต่ำลงทั่วกันทั้งเครื่อง แต่เมื่ออยู่ภายใต้การโหลดทำงาน ความร้อนจะระบายออกทางด้านหลังเครื่อง ซึ่งทำหน้าที่ได้ดี ส่วนที่อุ่นสุดอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ทำให้เรื่องความร้อนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใช้งาน และด้วยการระบายความร้อนแบบดังกล่าว ก็ทำให้การวางบนตักระหว่างการใช้งานสบายขึ้น

แบตเตอรี่
แบตเป็นแบบติดตั้งภายในถอดไม่ได้ขนาด 66Wh ซึ่งเรียกว่ามีขนาดที่ใหญ่เมื่อเทียบกับคู่แข่งหลายๆ ราย อย่างไรก็ดีการใช้งานแบตก็ไม่ได้มากไปกว่า 7 ชั่วโมงจากการใช้งาน WLAN และใช้ความสว่างที่ 150 nits ส่วนที่หนักสุดน่าจะอยู่ในเคสที่ใช้งานบนความสว่างสูงสุดและใช้ซีพียูแบบหนักหน่วง จะอยู่ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งทาง Lenovo ยืนยันว่าจะสามารถทำงานได้ถึง 9 ชั่วโมงในการเล่นวีดีโอและความสว่าง 200 nits และปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย

16

ส่วนการชาร์จจากแบตที่ว่างเปล่าจนเต็มจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยมีพอร์ตสำหรับชาร์จอุปกรณ์อื่นผ่านทาง USB 2.0 อาจจะค่อนข้างช้าอยู่บ้าง แต่น่าเสียดายที่ไม่รองรับการชาร์จผ่านทาง USB Type-C

Conclusion

ในภาพรวมต้องถือว่า Yoga 900 เหนือกว่า Yoga 3 Pro อยู่ไม่น้อย โดยทาง Lenovo พยายามบอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในเรื่องขนาดและน้ำหนัก รวมไปถึงความคมชัดของหน้าจอ แต่จะมีเรื่องของปุ่มที่ค่อนข้างตื้นและทัชแพดที่มีขนาดเล็ก รวมถึงพอร์ตการแสดงผล Video-out อาจทำให้หลายคนต้องมานั่งพิจารณากันหนักขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องใช้จอแสดงผลภายนอก ส่วนที่น่าสนใจก็คือ การมีระบบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ทำให้การใช้งานอุ่นใจมากขึ้น แม้ในช่วงของการโหลดหนัก

แม้จะมีข้อติอยู่บ้าง แต่ Yoga 900 ยังคงโดดเด่นในส่วนของโน๊ตบุ๊ค Convertible แต่เป็นแบบที่ไม่สามารถถอดจอได้ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับรุ่นที่เป็นจอพับ 360 องศา ดูแล้วค่อนข้างโดดเด่นน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นขนาดหรือน้ำหนักน้ำหนักก็ตาม เช่นเดียวกับการนำไปใช้ในโหมดแท็ปเล็ต ด้วยแบตขนาดใหญ่ ก็จะช่วยให้การใช้งานบนหน้าจอที่มีความละเอียดสูงได้นานยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกเหนือจากโหมดการใช้งานต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานได้ดี
ที่มา :notebookcheck

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

AMD

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ติดตั้งชิปเซ็ต AMD Ryzen AI NPU ก็เริ่มหาซื้อได้ง่ายขึ้น มีตัวเลือกมากมายแถมซอฟท์แวร์หรือส่วนเสริม AI จากบริษัทชั้นนำก็มีให้ใช้งานมากขึ้นรวมทั้ง Microsoft ก็รับลูก จับมือกับผู้พัฒนาซีพียูปรับแต่ง Windows 11 ให้ใช้งานกับซีพียูรุ่นใหม่มี NPU ได้ดีขึ้นและมีฟังก์ชั่นตรวจจับการทำงานเพิ่มเข้ามาใน Task Manager เป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้ดูได้ว่าชิปเซ็ตใหม่นี้ทำงานตอนไหนบ้าง อย่างไรก็ตามชิปนี้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเฉพาะอย่าง ปกติมักไมเ่ห็นคอร์นี้ทำงานบ่อยนักจนบางคนเกิดกังขาว่าชิปเซ็ตตัวนี้มันสมคำโฆษณาหรือเปล่า?...

รีวิว Lenovo

Lenovo IdeaPad Slim 5 โน๊ตบุ๊คหน้าตาเรียบหรู พลัง Ryzen 8000 Series กับการใช้งานออฟฟิศทั้งวันจะน่าใช้ขนาดไหนนะ? ภาพจำของ Lenovo IdeaPad ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คทำงานราคาประหยัดในอดีตนั้น ถูกอัปเกรดเป็น Lenovo IdeaPad Slim 5 เติมฟีเจอร์น่าใช้งานมาให้อีกหลากหลายอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ยังรักซีรี่ส์นี้อยู่ไม่เสื่อมคลาย สังเกตว่าชื่อของรุ่นนี้ถูกเพิ่มคำว่า Slim เข้ามาเพื่อนำเสนอความบาง 17.2...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก