ThinkPad จัดว่าเป็นหนึ่งในซีรีย์โน๊ตบุ๊คจากทาง Lenovo ที่เน้นในเรื่องของการใช้งานระดับมืออาชีพและมีความแข็งแรงทนทาน ซึ่งยังคงผสานเอกลักษณ์ และกลิ่นไอมาตรฐานตามแบบต้นตำรับอดีตคอมพิวเตอร์ระดับท็อปของแบรนด์ไอทีในตำนานอย่าง IBM ไว้อย่างเต็มเปี่ยม กับรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายแต่ดูดี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานระดับมืออาชีพ หรือผู้ใช้งานทั่วๆ ไป ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คระดับสูง
ซึ่งล่าสุดทีมงานก็ได้มีโอกาสรีวิว Lenovo ThinkPad X250 ที่มาในรูปแบบ Ultrabook ขนาดเล็กที่ได้มีการปรับปรุงรูปลักษณ์ตัวเครื่อง ThinkPad X250 ใหม่ ให้ดูลงตัวมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งในด้านสเปกก็ทันสมัยด้วยชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ รวมไปถึงยังมาพร้อมจอแสดงผลขนาด 12.5 นิ้วเช่นเดม ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการพกพาที่มากยิ่งขึ้น โดยมีน้ำหนักตัวเพียงแค่ 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น สนนราคาค่าตัวเริ่มต้นที่สามหมื่นบาทต้นๆ
Specification
สเปคภายในของตัว Lenovo ThinkPad X250 รุ่นที่ทางทีมงาน NotebookSPEC ได้มาทดสอบนั้น จะคล้ายกับกลุ่ม Ultrabook ระดับสูงกับขนาดหน้า 12.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD พาเนลคุณภาพสูง IPS ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริงและมุมมองที่กว้างขว้าง ด้านประสิทธิภาพด้วยอย่างการใช้ชิปประมวลผล Intel Core i7-5600U ความเร็ว 2.6GHz ที่สามารถเร่งการทำงานไปได้ถึง 3.2GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด ซึ่งแน่นอนว่าให้ทั้งความแรงและใช้งานได้ยาวนาน โดยเป็นสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel HD Graphics 5500 นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ยังมีความจุสูงที่ 1TB ที่พอเพียงกับการใช้งานแน่นอน
ตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad X250 ติดตั้งกล้อง Webcam ความคมชัดระดับ HD 720 และไมโครโฟนแบบ Dual Digital Array ไว้สำหรับแชทและวิดีโอคอลได้อย่างคมชัดลื่นไหล พอร์ตเชื่อมต่อเองก็จะมี USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต (เป็น USB Charing สามารถชาร์ทสมาร์ทโฟนได้), mini Display Port สำหรับต่อหน้าจอแยก, Audio Combo Jack นอกจากนี้ยังมี LAN และ VGA อีกด้วย รองรับการเชื่อมไร้สายอย่าง Wireless 802.11 b/g/n , Bluetooth 4.0 อีกทั้งยังใส่ซิมการ์ดได้อีกด้วย มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1.3 กิโลกรัม และมาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ สนนราคาเริ่มต้นที่ 32,900 บาท (รุ่นที่นำมารีวิวมีราคา 49,900 บาท) พร้อมบริการ Onsite Service อีกด้วย
Lenovo ThinkPad X250 รุ่นที่จำหน่ายในไทยมี 6 รุ่น ชมเต็มๆ ได้ที่นี่ <<<
Hardware / Design
Lenovo ThinkPad X250 ในด้านของการออกแบบโดยรวมนั้นยังคงไว้ซึ่งรูปลักษณ์แบบ ThinkPad ไว้อย่างเต็มเปี่ยม ทั้งในเรื่องของโทนสีหลักของตัวเครื่องที่ยังคงโทนสีเข้มเอาไว้เช่นเดิม รวมไปถึงเรื่องความสมบูรณ์ในงานประกอบที่ไม่เป็นรองใคร เก็บงานได้ค่อนข้างดีเหมือนที่ผ่านมาๆ มา โดยตัวตัวเครื่องโดยรวมของ Lenovo ThinkPad X250 นั้นทำจากพลาสติกเกรดสูง มีพื้นผิวลักษณะซอฟต์ทัชตลอดตัวเครื่อง ทำให้จับได้ถนัดไม่ลื่นออกจากมือง่ายๆ และไม่เป็นรอยนิ้วมือได้ง่ายอีกด้วย ส่วนโครงสร้างภายในก็เป็นโลหะแม็กนีเซียมอัลลอยด์แบบ Roll Case ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค ThinkPad
ส่วนดีไซน์โดยรวมก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจาก Lenovo ThinkPad X240 ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องด้านนอกหรือด้านใน และปลีกย่อยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโลโก ThinkPad บริเวณภายหลังที่มีไฟ LED สีแดงอยู่ (จะติดเวลาใช้งาน และจะกระพริบเป็นจังหวะเหมือนลมหายใจเวลาที่เครื่อง Sleep) รวมไปถึงรูปแบบตำแหน่งต่างๆ อย่างคีย์บอร์ด ปุ่ม Power นอกจากนี้มี Fingerprint Scan และอื่นๆ ที่เหลือ แต่เราก็ยังสามารถแยก Lenovo ThinkPad X250 กับ Lenovo ThinkPad X240 ได้ชัดเจนจากชื่อรุ่นบริเวณมุมซ้ายของหน้าจอ และทัชแพดที่ติดตั้งปุ่มคลิก 3 ปุ่ม ไว้ใช้กับ TrackPoint ได้ (Lenovo ThinkPad X240 โดนตัดออกไป โดยเป็นเนื้อเดียวกับทัชแพด)
ส่วนของความบางตัวเครื่องก็ดูแล้วน่าใช้ เพราะเป็น Ultrabook เน้นการพกพาออกไปใช้ทำงานนอกสถานที่ ดังนั้นต้องบางได้ระดับและน้ำหนักไม่มากเกินไป ทำให้ตัวเครื่องของ Lenovo ThinkPad X250 นี้ดูบางเบาแต่ก็แข็งแกร่งไปอีกแบบหนึ่ง และต้องขอบคุณสำหรับการออกแบบบานพับขาจอจากวัสดุโลหะแมกนีเซียมอัลลอยด์ที่แข็งแรงและการพับได้ถึง 180 องศา แน่นอนว่าต่อในเราพับบ่อยแค่ไหนก็ไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน
Keyboard / Touchpad
ส่วนคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น ในด้านการใช้งานปกติทั่วไปก็พบว่าตัวคีย์บอร์ดแบบ AccuType ตอบสนองกับการพิมพ์ แบบงานเอกสารได้ดีพอสมควร แม้ปุ่มมีการเว้นระยะห่างที่แคบกว่าปกติอาจทำให้ต้องปรับตัวสักเล็กน้อย แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะก็คุ้นเคยได้ไม่ยาก รับประกันว่าพิมพ์มันส์แน่นอน (แต่ก็อาจจะไม่ขนาด ThinkPad สมัย IBM นะ)
นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad X250 ก็ไม่พลาดที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับทัชแพดขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 5 ปุ่มได้เป็นอย่างดี (ใช้ร่วมกับ TrackPoint จะใช้เพียง 3 ปุ่มบน) เรียกได้ว่าเมื่อได้ใช้งานไปซักเวลานึงแล้ว ก็จะชอบมันได้ไม่ยาก โดยหลักๆ แล้วจะใช้นิ้วชี้ควบคุม TrackPoint ส่วนนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้างจะเป็นการคลิกซ้ายขวา ร่วมกับปุ่มกลางที่เป็น Scroll ในส่วนของทัชแพดที่มีขนาดใหญ่โต สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi Gesture บน Windows 8.1 หรือ Windows 10 ในอนาคตได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้มี Fingerprint Scan ระบบรักษาความปลอดภัยโดยใช้ลายนิ้วมือตั้งอยู่บริเวณข้างๆ ของปุ่มทิศทางนั่นเองซึ่งก็ใช้งานได้ง่ายตามมาตรฐานทั่วๆ ไปของโน๊ตบุ๊คในกลุ่มธุรกิจ โดยรองรับถึง 10 นิ้วด้วยกัน จากการทดลองใช้งานแล้วถือว่าสะดวกมากๆ ทีเดียว แถมไม่ต้องเสียเวลาใช้รหัสผ่านให้ยุ่งยากด้วย
Screen / Speaker
Lenovo ThinkPad X250 ที่เราได้มาทดสอบเลือกใช้จอแสดงผลแบบด้านขนาด 12.5 นิ้ว ความละเอียด 1920 × 1080 พิกเซล มีสัดส่วนภาพอยู่ที่ 16:9 มีสีสันของภาพที่อยู่ในระดับมืออาชีพ โดดเด่นในเรื่องของการใช้งานในที่กลางแจ้ง หรือใช้งานนอกสถานที่เพราะตัวจอมีแสงสะท้อนน้อย และให้ภาพที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ดี เหมาะกับการใช้งานจำพวกงานเอกสาร และงานต่างๆ ที่ต้องการความแม่นยำของสีสัน รวมไปถึงที่ต้องทำนอกบ้าน ครั้นจะบันเทิงก็ทำได้เต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการดูหนังหรือเล่นเล็กๆ น้อยๆ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าเป็นการติดตั้งพาเนลจอแบบ IPS มาให้ ซึ่งถือว่าเป็นพาเนลมาตรฐานสำหรับโน๊ตบุ๊คหรือ Ultrabook ระดับสูงในปัจจุบัน โดยการเลือกใช้พาเนลหน้าจอคุณภาพสูงระดับมืออาชีพอย่าง IPS (In-Plane Switching) ที่จัดได้ว่าพาเนลหน้าจอมอนิเตอร์ที่มีคุณภาพดีที่สุด ที่ให้ทั้งสีสันที่ตรง ความกว้างของช่วงสีสันที่มาก ส่งผลให้สีสันที่แสดงออกมาจากหน้าจอนั้นมีความสมจริงอย่างที่สุด ประกอบกับการที่มีมุมมองที่กว้างมากๆ เกือบ 180 องศาเลยทีเดียว
ด้านของมุมมองจากฝั่งซ้ายและขวาจะเห็นว่ายังสามารถมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนแต่ความสว่างหน้าจอจะลดลงไปบ้างเล็กน้อยแต่ผู้ใช้คนที่สองและสามก็ยังสามารถมองเห็นหน้าจอได้ดีไม่แพ้ผู้ใช้คนแรกที่อยู่ตรงกลางหน้าจอ ถือว่าหน้าจอที่ติดตั้งมาให้ Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้มีมุมมองที่กว้างใช้ได้ทีเดียว แต่ก็อาจจะมีลักษณะที่แสงจะลดลงไปบ้าง
โดยลำโพงในการใช้งานจริงแนะนำให้วางบนพื้นเรียบจะดีกว่าเพราะเสียงจากลำโพงจะได้สะท้อนกลับได้ ถ้าวางบนผ้า หรือพื้นผิวนุ่มนิ่มอาจจะได้เสียงที่ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งตัวลำโพงก็จะให้เสียงที่พอใช้ได้เหมาะกับการฟังเพลงสบายๆ ในแบบเพลง Jazz หรือ Easy Listening เพราะให้เสียงกลาง และสูงได้ค่อนข้างเด่น แต่มีเสียงทุ้มที่หายไปบ้าง สรุปแล้วถือว่าดีกว่ารุ่นก่อนแบบรู้สึกได้
Connector / Thin And Weight
ถึงแม้จะเป็น Ultrabook ที่มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่พอร์ตเชื่อมต่อของ Lenovo ThinkPad X250 ก็มีมาให้ครบครันมากมายจระดับนึง ซึ่งด้านซ้ายของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad X250 นั้นก็จะมีช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์แบบหัว 4 เหลี่ยม (มาตรฐาน โน๊ตบุ๊ค Lenovo สมัยนี้) ที่มีความคล้ายคลึงกับพอร์ต USB มากต้องดูดีๆ นะครับถ้าดันทุรังไปเสียบอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้, พอร์ตเชือมต่อ D-Sub หรือ VGA จำนวน 1 พอร์ต , พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.0 จำนวน 1 พอร์ต , พอร์ตเชื่อมต่อ Smart card reader จำนวน 1 พอร์ต และพอร์ตเชื่อมต่อ mini Display Port จำนวน 1 พอร์ต นอกจากนี้ในด้านซ้ายของตัวเครื่องยังมีช่องระบายความร้อนที่กว้างราวๆ 25% ของตัวเครื่อง ซึ่งจะสังเกตุเห็นถึงฮีตซิงค์หรือฟินทำจากทองแดงเสียด้วย ให้อารมณ์ดิบๆ แต่ก็ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่เต็มเปี่ยมแน่นอน
โดยในบริเวณด้านขวาจะมีพอร์ตเชื่อมต่อไมค์-ลำโพง, USB 3.0 Charging จำนวน 1 พอร์ต, 4-in-1 SD card reader (SD / SDHC / SDXC / MMC slot) จำนวน 1 ช่อว, ช่องใส่ซิมการ์ด, Lan จำนวน 1 พอร์ต และระบบรักษาความปลอดภัย Kensington Lock ส่วนด้านล่างก็จะมีช่องเชื่อมพิเศษ ไว้ต่อเข้ากับ Docking Station โดยเฉพาะ
Lenovo ThinkPad X250 มีความบางที่บางพอๆ กับกล่อง DVD กล่องนึงเลยทีเดียว ซึ่งดูด้วยสายตาจะไม่ค่อยเห็นมากนักได้เห็นตัวจริงหลายๆ ท่านที่ชอบความบางเฉียบและชอบโน๊ตบุ๊คเครื่องเล็กๆ จะต้องชอบอย่างแน่นอน โดย ThinkPad X240 นั้นจะมีน้ำหนักตัวเครื่องเปล่าๆ อยู่ที่ราวๆ 1.3 กิโลกรัม และมีน้ำหนักตัวรวมอะแดปเตอร์อยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม ซึ่งบอกได้เลยเหมาะแก่การพกพามากๆ แถมอแดปเตอร์เองก็มีขนาดเล็กมากๆ ด้วย เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ
Performance / Software
Lenovo ThinkPad X250 เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-5600U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.6 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.2 GHz นะครับ เป็นซีพียูแบบ 2 Core 4 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้อย่างสบายๆ แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i7 ตัวซีรีย์ M ไม่ได้ (แต่เทียบเท่าได้กับ Core i5 ซีรีย์ M) แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 5500 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก
สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้มากกว่า Ultrabook รุ่นก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน โดยได้คะแนนอยู่ที่ 10341 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 64.74 FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank A ทีเดียว ซึ่งสำหรับเกมที่ไม่ได้กินทรัพยากรมากมายอะไร ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้ก็พร้อมตอบสนองความสุขของทุกคนได้เป็นอย่างดี
อีกเกมหนึ่งที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ แน่นอนว่าที่ความละเอียด Native 1920 x 1080 พิกเซล ไม่สามารถเล่นอย่างลื่นๆ ได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทอยู่ที่ประมาณ 50-60 แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 30 ขึ้นไปตลอด สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ ซึ่งในการทดลองเล่นเกม DOTA 2 ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง
อีกหนึ่งจุดเด่นสำหรับ Lenovo ThinkPad X250 นั่นก็คือตัวซอฟแวร์ต่างๆ ที่บันเดิลมาให้กับเครื่องที่มีมามากมาย และพิเศษกว่าใครทั้ง Lenovo Solution Center, Lenovo Setting, Lenovo QuickControl (ไว้ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน) และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับซอฟแวร์ตัวแรกอย่าง Lenovo Solution Center นั้นจะเป็นซอฟแวร์ที่ไว้คอยจัดการระบบโดยรวมๆ ของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad X250 ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การตรวจความปลอดภัยโดยรวมของตัวเครื่องว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่, มีแพซต์ใหม่ๆให้อัพเดทหรือเปล่า รวมไปถึงการเช็คสถานะอุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือเปล่าฮาร์ดดิสก์เต็มไหม หรือแม้แต่แบคอัพข้อมูล-คื่นค่าระบบก็ย่อมได้
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Setting ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง และ Fingerprint ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้เป็นแบบ 3-Cell ขนาด 1800 mAh จำนวน 2 ก้อน โดยก้อนแรกอยู่ในตัวเครื่อง ส่วนก้อนที่สองสามารถถอดออกมาได้ ที่แม้ว่าจะดูว่าความจุแบตเตอรี่ไม่ได้มากมายอะไร แต่ด้วยที่เป็นชิปประมวลผลแบบประหยัดพลังงานจึงมีการใช้พลังงานค่อนข้างน้อย ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้สูงที่สุดแล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราว 8-10 ชั่วโมง จากการใช้งานจริงโดยปรับความสว่างหน้าจอและเสียงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เรียกได้ว่าเป็นผลมาจากการที่ใช้งานชิปประมวลผลประหยัดพลังงานของ Intel นั่นเอง ซึ่งถ้าใครต้องการที่ใช้งานให้ยาวนานกว่านี้ ก็ต้องแนะนำให้ไปซื้อก้อนที่สองให้มีความจุใหญ่กว่านี้ ซึ่งนั่นจะทำให้ Lenovo ThinkPad X250 ใช้งานได้เกือบ 20 ชั่วโมงเลยทีเดียว
สำหรับอุณหภูมิเมื่อใช้งานแบบปกติจะอยู่ที่ประมาณ 46 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส และเสียงพัดลมก็ไม่ได้ดังรบกวนมากนัก เรียกได้ว่าทาง Lenovo ออกแบบมาเป็นอย่างดีทีเดียว
Conclusion / Award
สรุปการใช้งานของ Lenovo ThinkPad X250 ถือว่าให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ยอดเยี่ยมจริงๆ สมกับเป็น Ultrabook ระดับสูงที่มืออาชีพนิยมใช้งานกัน (หรือผู้ใช้งานระดับทั่วไปก็สามารถใช้ได้) รวมไปถึงผลทดสอบต่างๆ ออกมาได้อยู่ในระดับมาตรฐานเป็นที่น่าพอใจมากทีเดียว จากการที่เลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 ที่บริโภคพลังงานต่ำมาก แต่ให้ประสิทธิภาพสูง อย่าง Intel Core i7-5600U ที่ช่วยทำให้ Lenovo ThinkPad X250 ทำงานได้อย่างลื่นไหล ทั้งในด้านการทำงานทั่วไป และงานที่เน้นการประมวลผล (รุ่นที่เป็น Core i5 ก็คาดว่าให้ผลที่น่าทับใจไม่แพ้กัน)
รวมไปถึงในด้านการพกพาที่ Lenovo ThinkPad X250 ค่อนข้างโดดเด่นมาก ด้วยตัวเครื่องที่บาง (อาจจะไม่บางเฉียบ แต่ก็บางกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป) และน้ำหนักตัวเครื่องราวๆ 1.3 กิโลกรัม พกพาได้สะดวกไม่เป็นภารรกับการเดินทางเท่าไหร่นัก ด้วยวัสดุในการผลิตที่โดดเด่นกว่าใครและด้านงานประกอบที่ทำออกมาได้ดีเลิศตามสไตล์ ThinkPad บวกกับจำนวนแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้พอเพียงรวมไปถึงพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่เยอะและล้ำหน้ามากกว่า MacBook Air หรือ Ultrabook รุ่นอื่นๆที่สำคัญด้วยขนาดหน้าจอ 12.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD กับพาเนลคุณภาพสูง IPS ส่งผลให้การใช้งานสบายตา และเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ตัวเครื่องยังแข็งแกร่งทนทาน คีย์บอร์ดแม่นยำพิมพ์สนุก คีย์บอร์ดระบายน้ำได้ TrackPoint ใช้งานสะดวก ใช้งานต่อเนื่องได้ระดับ 10 ชั่วโมง พอร์ตเชื่อมต่อครบครันระดับนึง มี Fingerprint รวมไปถึงมี Windows แท้ (บางรุ่น) และซอฟต์แวร์ติดเครื่องคุณภาพใช้งานได้จริงอีกด้วย
สำหรับ Lenovo ThinkPad X250 เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาที่จัดได้ว่ามีความครบครันในการใช้งานหลายๆ ด้าน ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานทั่วๆ ไปหรือผู้ที่เน้นใช้งานจริงจัง รวมไปเน้นพกพา ด้วยสเปคภายในที่มีให้ตามมาตรฐานของ Ultrabook มีเวลาใช้งานที่ยาวนาน
เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่บางๆ เบาๆ มาพร้อมสเปคคุ้มค่าราคาไม่แพงจนเกินไป ก็สามารถเลือกดูเป็น Lenovo ThinkPad X250 รุ่นที่ทางทีมงานรีวิวไปกันได้นะครับ รับรองว่าด้านประสิทธิภาพและคุณบัติต่อราคานั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน
ข้อดี
- หน้าจอแสดงผล 12.5 นิ้ว แบบ Full HD พาเนล IPS
- การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
- ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i Gen 5 รหัส U (มีทั้ง Core i5 และ Core i7)
- มี mini Display Port และรองรับ USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต
- AccuType Keyboard เพื่อสัมผัสในการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น
- คีย์บอร์ดติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
- คีย์บอร์ดระบายน้ำได้ หากน้ำหกใส่
- มี TrackPoint ตามมาตรฐาน ThinkPad
- ทัชแพดสามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี รองรับมัลติทัชเต็มรูปแบบ
- นำปุ่มกดที่ไว้ใช้ร่วมกับ TrackPoint กับมา โดยเป็นปุ่มจริงๆ
- ระบบ Fingerprint มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน
- ตัวเครื่องบางเบา พกพาสะดวก หนักเพียง 1.3 กิโลกรัม
- อะแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กพกพาง่าย
- ลำโพงมีคุณภาพเสียงที่ดี เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานถึง 10 ชั่วโมง
- มี Windows แท้ และซอฟต์แวร์ติดเครื่องใช้งานได้จริง
- มีให้เลือกหลายรุ่นหลายราคาตั้งแต่ 32,900 บาทขึ้นไป
- ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมคุ้มค่าต่อราคา
ข้อสังเกต
- เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เป็น SSD แล้ว เร็วทันใจแน่นอน
- จะใช้งานได้ยาวนานกว่านี้ ต้องซื้อแบตเตอรี่ก้อนใหญ่เพิ่มเอง
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 12 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad X250 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Lenovo มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน Lenovo ThinkPad X250 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องแข็งแกร่งทนทานเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรู ประกอบการงานการประกอบระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ฉะนั้นในเรื่องของรางวัล Best Design จงทำให้ได้ไปอย่างไม่ยากเย็น
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ ThinkPad X Series อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางและน้ำหนักเบา 1.3 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ส่งผลให้เราสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที เปิดหน้าจออีกทีก็ใช้งานได้เลย อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก จึงทำให้ Lenovo ThinkPad X250 ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย
Best Battery Life
แม้ว่าในตัวของLenovo ThinkPad X250 จะอัดแน่นไปด้วยสเปกหรือเทคโนโลยีต่างๆ แต่ในเรื่องของการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ถือว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉลี่ยแล้วถ้าใช้งานทั่วไปจะอยู่ได้นานถึงประมาณ 10 ชั่วโมงด้วยกัน ส่งผลให้ได้รางวัล Best Battery Life ซึ่งถ้าใครอยากใช้งานได้ยาวนานกว่านี้ ก็ซื้อแบตเตอรี่ความจุสูงมาเปลี่ยนได้
Specification
สเปคภายในของตัว Lenovo ThinkPad X250 รุ่นที่ทางทีมงาน NotebookSPEC ได้มาทดสอบนั้น จะคล้ายกับกลุ่ม Ultrabook ระดับสูงกับขนาดหน้า 12.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD พาเนลคุณภาพสูง IPS ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริงและมุมมองที่กว้างขว้าง ด้านประสิทธิภาพด้วยอย่างการใช้ชิปประมวลผล Intel Core i7-5600U ความเร็ว 2.6GHz ที่สามารถเร่งการทำงานไปได้ถึง 3.2GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด ซึ่งแน่นอนว่าให้ทั้งความแรงและใช้งานได้ยาวนาน โดยเป็นสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel HD Graphics 5500 นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ยังมีความจุสูงที่ 1TB ที่พอเพียงกับการใช้งานแน่นอน
ตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad X250 ติดตั้งกล้อง Webcam ความคมชัดระดับ HD 720 และไมโครโฟนแบบ Dual Digital Array ไว้สำหรับแชทและวิดีโอคอลได้อย่างคมชัดลื่นไหล พอร์ตเชื่อมต่อเองก็จะมี USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต (เป็น USB Charing สามารถชาร์ทสมาร์ทโฟนได้), mini Display Port สำหรับต่อหน้าจอแยก, Audio Combo Jack นอกจากนี้ยังมี LAN และ VGA อีกด้วย รองรับการเชื่อมไร้สายอย่าง Wireless 802.11 b/g/n , Bluetooth 4.0 อีกทั้งยังใส่ซิมการ์ดได้อีกด้วย มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1.3 กิโลกรัม และมาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ สนนราคาเริ่มต้นที่ 32,900 บาท (รุ่นที่นำมารีวิวมีราคา 49,900 บาท) พร้อมบริการ Onsite Service อีกด้วย
Lenovo ThinkPad X250 รุ่นที่จำหน่ายในไทยมี 6 รุ่น ชมเต็มๆ ได้ที่นี่ <<<
Hardware / Design
Lenovo ThinkPad X250 ในด้านของการออกแบบโดยรวมนั้นยังคงไว้ซึ่งรูปลักษณ์แบบ ThinkPad ไว้อย่างเต็มเปี่ยม ทั้งในเรื่องของโทนสีหลักของตัวเครื่องที่ยังคงโทนสีเข้มเอาไว้เช่นเดิม รวมไปถึงเรื่องความสมบูรณ์ในงานประกอบที่ไม่เป็นรองใคร เก็บงานได้ค่อนข้างดีเหมือนที่ผ่านมาๆ มา โดยตัวตัวเครื่องโดยรวมของ Lenovo ThinkPad X250 นั้นทำจากพลาสติกเกรดสูง มีพื้นผิวลักษณะซอฟต์ทัชตลอดตัวเครื่อง ทำให้จับได้ถนัดไม่ลื่นออกจากมือง่ายๆ และไม่เป็นรอยนิ้วมือได้ง่ายอีกด้วย ส่วนโครงสร้างภายในก็เป็นโลหะแม็กนีเซียมอัลลอยด์แบบ Roll Case ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค ThinkPad
ส่วนดีไซน์โดยรวมก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจาก Lenovo ThinkPad X240 ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องด้านนอกหรือด้านใน และปลีกย่อยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโลโก ThinkPad บริเวณภายหลังที่มีไฟ LED สีแดงอยู่ (จะติดเวลาใช้งาน และจะกระพริบเป็นจังหวะเหมือนลมหายใจเวลาที่เครื่อง Sleep) รวมไปถึงรูปแบบตำแหน่งต่างๆ อย่างคีย์บอร์ด ปุ่ม Power นอกจากนี้มี Fingerprint Scan และอื่นๆ ที่เหลือ แต่เราก็ยังสามารถแยก Lenovo ThinkPad X250 กับ Lenovo ThinkPad X240 ได้ชัดเจนจากชื่อรุ่นบริเวณมุมซ้ายของหน้าจอ และทัชแพดที่ติดตั้งปุ่มคลิก 3 ปุ่ม ไว้ใช้กับ TrackPoint ได้ (Lenovo ThinkPad X240 โดนตัดออกไป โดยเป็นเนื้อเดียวกับทัชแพด)
ส่วนของความบางตัวเครื่องก็ดูแล้วน่าใช้ เพราะเป็น Ultrabook เน้นการพกพาออกไปใช้ทำงานนอกสถานที่ ดังนั้นต้องบางได้ระดับและน้ำหนักไม่มากเกินไป ทำให้ตัวเครื่องของ Lenovo ThinkPad X250 นี้ดูบางเบาแต่ก็แข็งแกร่งไปอีกแบบหนึ่ง และต้องขอบคุณสำหรับการออกแบบบานพับขาจอจากวัสดุโลหะแมกนีเซียมอัลลอยด์ที่แข็งแรงและการพับได้ถึง 180 องศา แน่นอนว่าต่อในเราพับบ่อยแค่ไหนก็ไม่เกิดปัญหาเวลาใช้งาน
Keyboard / Touchpad
ส่วนคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้จะเป็น AccuType Keyboard ที่เป็นข้อเด่นที่คีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้มีรูปทรงโค้งปากยิ้มด้านใต้ตัวเครื่องเติมลงมาเล็กน้อยเพื่อลดโอกาสพิมพ์ผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้วก็ถือว่าทำได้ดี โอกาสพิมพ์ผิดพลาดลดลงมาก เพราะว่าเมื่อพิมพ์อย่างเร็วแล้วนิ้วกำลังจะเลื่อนลงไปโดนผิดปุ่มก็จะได้ส่วนของปลายโค้งที่ทำให้พิมพ์ถูกต้องขึ้น ในด้านการใช้งานปกติทั่วไปก็พบว่าตัวคีย์บอร์ดแบบ AccuType ตอบสนองกับการพิมพ์ แบบงานเอกสารได้ดีพอสมควร แม้ปุ่มมีการเว้นระยะห่างที่แคบกว่าปกติอาจทำให้ต้องปรับตัวสักเล็กน้อย แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะก็คุ้นเคยได้ไม่ยาก รับประกันว่าพิมพ์มันส์แน่นอน (แต่ก็อาจจะไม่ขนาด ThinkPad สมัย IBM นะ)
นอกจากนี้ Lenovo ThinkPad X250 ก็ไม่พลาดที่จะติดตั้ง TrackPoint (Point Stick) มาให้ด้วยบริเวณกลางตัวคีย์บอร์ด ซึ่งก็สามารถใช้งานควบคู่ไปกับทัชแพดขนาดใหญ่ที่มีปุ่มกดถึง 5 ปุ่มได้เป็นอย่างดี (ใช้ร่วมกับ TrackPoint จะใช้เพียง 3 ปุ่มบน) เรียกได้ว่าเมื่อได้ใช้งานไปซักเวลานึงแล้ว ก็จะชอบมันได้ไม่ยาก โดยหลักๆ แล้วจะใช้นิ้วชี้ควบคุม TrackPoint ส่วนนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้างจะเป็นการคลิกซ้ายขวา ร่วมกับปุ่มกลางที่เป็น Scroll ในส่วนของทัชแพดที่มีขนาดใหญ่โต สามารถใช้งานหลายนิ้วมือผ่านชุดคำสั่งแบบ Multi Gesture บน Windows 8.1 หรือ Windows 10 ในอนาคตได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้มี Fingerprint Scan ระบบรักษาความปลอดภัยโดยใช้ลายนิ้วมือตั้งอยู่บริเวณข้างๆ ของปุ่มทิศทางนั่นเองซึ่งก็ใช้งานได้ง่ายตามมาตรฐานทั่วๆ ไปของโน๊ตบุ๊คในกลุ่มธุรกิจ โดยรองรับถึง 10 นิ้วด้วยกัน จากการทดลองใช้งานแล้วถือว่าสะดวกมากๆ ทีเดียว แถมไม่ต้องเสียเวลาใช้รหัสผ่านให้ยุ่งยากด้วย
Screen / Speaker
Lenovo ThinkPad X250 ที่เราได้มาทดสอบเลือกใช้จอแสดงผลแบบด้านขนาด 12.5 นิ้ว ความละเอียด 1920 × 1080 พิกเซล มีสัดส่วนภาพอยู่ที่ 16:9 มีสีสันของภาพที่อยู่ในระดับมืออาชีพ โดดเด่นในเรื่องของการใช้งานในที่กลางแจ้ง หรือใช้งานนอกสถานที่เพราะตัวจอมีแสงสะท้อนน้อย และให้ภาพที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ดี เหมาะกับการใช้งานจำพวกงานเอกสาร และงานต่างๆ ที่ต้องการความแม่นยำของสีสัน รวมไปถึงที่ต้องทำนอกบ้าน ครั้นจะบันเทิงก็ทำได้เต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการดูหนังหรือเล่นเล็กๆ น้อยๆ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าเป็นการติดตั้งพาเนลจอแบบ IPS มาให้ ซึ่งถือว่าเป็นพาเนลมาตรฐานสำหรับโน๊ตบุ๊คหรือ Ultrabook ระดับสูงในปัจจุบัน โดยการเลือกใช้พาเนลหน้าจอคุณภาพสูงระดับมืออาชีพอย่าง IPS (In-Plane Switching) ที่จัดได้ว่าพาเนลหน้าจอมอนิเตอร์ที่มีคุณภาพดีที่สุด ที่ให้ทั้งสีสันที่ตรง ความกว้างของช่วงสีสันที่มาก ส่งผลให้สีสันที่แสดงออกมาจากหน้าจอนั้นมีความสมจริงอย่างที่สุด ประกอบกับการที่มีมุมมองที่กว้างมากๆ เกือบ 180 องศาเลยทีเดียว
ด้านของมุมมองจากฝั่งซ้ายและขวาจะเห็นว่ายังสามารถมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนแต่ความสว่างหน้าจอจะลดลงไปบ้างเล็กน้อยแต่ผู้ใช้คนที่สองและสามก็ยังสามารถมองเห็นหน้าจอได้ดีไม่แพ้ผู้ใช้คนแรกที่อยู่ตรงกลางหน้าจอ ถือว่าหน้าจอที่ติดตั้งมาให้ Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้มีมุมมองที่กว้างใช้ได้ทีเดียว แต่ก็อาจจะมีลักษณะที่แสงจะลดลงไปบ้าง
โดยลำโพงในการใช้งานจริงแนะนำให้วางบนพื้นเรียบจะดีกว่าเพราะเสียงจากลำโพงจะได้สะท้อนกลับได้ ถ้าวางบนผ้า หรือพื้นผิวนุ่มนิ่มอาจจะได้เสียงที่ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งตัวลำโพงก็จะให้เสียงที่พอใช้ได้เหมาะกับการฟังเพลงสบายๆ ในแบบเพลง Jazz หรือ Easy Listening เพราะให้เสียงกลาง และสูงได้ค่อนข้างเด่น แต่มีเสียงทุ้มที่หายไปบ้าง สรุปแล้วถือว่าดีกว่ารุ่นก่อนแบบรู้สึกได้
Connector / Thin And Weight
ถึงแม้จะเป็น Ultrabook ที่มีความบางเบากว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป แต่พอร์ตเชื่อมต่อของ Lenovo ThinkPad X250 ก็มีมาให้ครบครันมากมายจระดับนึง ซึ่งด้านซ้ายของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad X250 นั้นก็จะมีช่องเชื่อมต่ออะแดปเตอร์แบบหัว 4 เหลี่ยม (มาตรฐาน โน๊ตบุ๊ค Lenovo สมัยนี้) ที่มีความคล้ายคลึงกับพอร์ต USB มากต้องดูดีๆ นะครับถ้าดันทุรังไปเสียบอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้, พอร์ตเชือมต่อ D-Sub หรือ VGA จำนวน 1 พอร์ต , พอร์ตเชื่อมต่อ USB 3.0 จำนวน 1 พอร์ต , พอร์ตเชื่อมต่อ Smart card reader จำนวน 1 พอร์ต และพอร์ตเชื่อมต่อ mini Display Port จำนวน 1 พอร์ต นอกจากนี้ในด้านซ้ายของตัวเครื่องยังมีช่องระบายความร้อนที่กว้างราวๆ 25% ของตัวเครื่อง ซึ่งจะสังเกตุเห็นถึงฮีตซิงค์หรือฟินทำจากทองแดงเสียด้วย ให้อารมณ์ดิบๆ แต่ก็ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่เต็มเปี่ยมแน่นอน
โดยในบริเวณด้านขวาจะมีพอร์ตเชื่อมต่อไมค์-ลำโพง, USB 3.0 Charging จำนวน 1 พอร์ต, 4-in-1 SD card reader (SD / SDHC / SDXC / MMC slot) จำนวน 1 ช่อว, ช่องใส่ซิมการ์ด, Lan จำนวน 1 พอร์ต และระบบรักษาความปลอดภัย Kensington Lock ส่วนด้านล่างก็จะมีช่องเชื่อมพิเศษ ไว้ต่อเข้ากับ Docking Station โดยเฉพาะ
Lenovo ThinkPad X250 มีความบางที่บางพอๆ กับกล่อง DVD กล่องนึงเลยทีเดียว ซึ่งดูด้วยสายตาจะไม่ค่อยเห็นมากนักได้เห็นตัวจริงหลายๆ ท่านที่ชอบความบางเฉียบและชอบโน๊ตบุ๊คเครื่องเล็กๆ จะต้องชอบอย่างแน่นอน โดย ThinkPad X240 นั้นจะมีน้ำหนักตัวเครื่องเปล่าๆ อยู่ที่ราวๆ 1.3 กิโลกรัม และมีน้ำหนักตัวรวมอะแดปเตอร์อยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม ซึ่งบอกได้เลยเหมาะแก่การพกพามากๆ แถมอแดปเตอร์เองก็มีขนาดเล็กมากๆ ด้วย เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ
Performance / Software
Lenovo ThinkPad X250 เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-5600U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.6 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.2 GHz นะครับ เป็นซีพียูแบบ 2 Core 4 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้อย่างสบายๆ แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i7 ตัวซีรีย์ M ไม่ได้ (แต่เทียบเท่าได้กับ Core i5 ซีรีย์ M) แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 5500 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก
สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้มากกว่า Ultrabook รุ่นก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน โดยได้คะแนนอยู่ที่ 10341 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 64.74 FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank A ทีเดียว ซึ่งสำหรับเกมที่ไม่ได้กินทรัพยากรมากมายอะไร ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้ก็พร้อมตอบสนองความสุขของทุกคนได้เป็นอย่างดี
อีกเกมหนึ่งที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ แน่นอนว่าที่ความละเอียด Native 1920 x 1080 พิกเซล ไม่สามารถเล่นอย่างลื่นๆ ได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทอยู่ที่ประมาณ 50-60 แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 30 ขึ้นไปตลอด สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ ซึ่งในการทดลองเล่นเกม DOTA 2 ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง
อีกหนึ่งจุดเด่นสำหรับ Lenovo ThinkPad X250 นั่นก็คือตัวซอฟแวร์ต่างๆ ที่บันเดิลมาให้กับเครื่องที่มีมามากมาย และพิเศษกว่าใครทั้ง Lenovo Solution Center, Lenovo Setting, Lenovo QuickControl (ไว้ควบคุมด้วยสมาร์ทโฟน) และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับซอฟแวร์ตัวแรกอย่าง Lenovo Solution Center นั้นจะเป็นซอฟแวร์ที่ไว้คอยจัดการระบบโดยรวมๆ ของตัวเครื่อง Lenovo ThinkPad X250 ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การตรวจความปลอดภัยโดยรวมของตัวเครื่องว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่, มีแพซต์ใหม่ๆให้อัพเดทหรือเปล่า รวมไปถึงการเช็คสถานะอุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือเปล่าฮาร์ดดิสก์เต็มไหม หรือแม้แต่แบคอัพข้อมูล-คื่นค่าระบบก็ย่อมได้
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ Lenovo Setting ก็เรียกได้ว่าเป็นซอฟแวร์ที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและควบคุมในหลายๆ ส่วนของเครื่องได้ เรียกได้ว่าค่อนข้างละเอียดมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ตั้งค่าทัชแพด TrackPoint การเชื่อมต่อไร้สาย แบตเตอรี่ กล้องเว็บแคม ระบบเสียง และ Fingerprint ที่ต้องบอกว่าซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้นไม่ได้ติดตั้งมาให้หนักเครื่องเปล่าๆ แต่สามารถใช้งานได้จริง และใช้งานได้ดีอีกด้วย
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน Lenovo ThinkPad X250 เครื่องนี้เป็นแบบ 3-Cell ขนาด 1800 mAh จำนวน 2 ก้อน โดยก้อนแรกอยู่ในตัวเครื่อง ส่วนก้อนที่สองสามารถถอดออกมาได้ ที่แม้ว่าจะดูว่าความจุแบตเตอรี่ไม่ได้มากมายอะไร แต่ด้วยที่เป็นชิปประมวลผลแบบประหยัดพลังงานจึงมีการใช้พลังงานค่อนข้างน้อย ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้สูงที่สุดแล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราว 8-10 ชั่วโมง จากการใช้งานจริงโดยปรับความสว่างหน้าจอและเสียงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เรียกได้ว่าเป็นผลมาจากการที่ใช้งานชิปประมวลผลประหยัดพลังงานของ Intel นั่นเอง ซึ่งถ้าใครต้องการที่ใช้งานให้ยาวนานกว่านี้ ก็ต้องแนะนำให้ไปซื้อก้อนที่สองให้มีความจุใหญ่กว่านี้ ซึ่งนั่นจะทำให้ Lenovo ThinkPad X250 ใช้งานได้เกือบ 20 ชั่วโมงเลยทีเดียว
สำหรับอุณหภูมิเมื่อใช้งานแบบปกติจะอยู่ที่ประมาณ 46 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส และเสียงพัดลมก็ไม่ได้ดังรบกวนมากนัก เรียกได้ว่าทาง Lenovo ออกแบบมาเป็นอย่างดีทีเดียว
Conclusion / Award
สรุปการใช้งานของ Lenovo ThinkPad X250 ถือว่าให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ยอดเยี่ยมจริงๆ สมกับเป็น Ultrabook ระดับสูงที่มืออาชีพนิยมใช้งานกัน (หรือผู้ใช้งานระดับทั่วไปก็สามารถใช้ได้) รวมไปถึงผลทดสอบต่างๆ ออกมาได้อยู่ในระดับมาตรฐานเป็นที่น่าพอใจมากทีเดียว จากการที่เลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 ที่บริโภคพลังงานต่ำมาก แต่ให้ประสิทธิภาพสูง อย่าง Intel Core i7-5600U ที่ช่วยทำให้ Lenovo ThinkPad X250 ทำงานได้อย่างลื่นไหล ทั้งในด้านการทำงานทั่วไป และงานที่เน้นการประมวลผล (รุ่นที่เป็น Core i5 ก็คาดว่าให้ผลที่น่าทับใจไม่แพ้กัน)
รวมไปถึงในด้านการพกพาที่ Lenovo ThinkPad X250 ค่อนข้างโดดเด่นมาก ด้วยตัวเครื่องที่บาง (อาจจะไม่บางเฉียบ แต่ก็บางกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป) และน้ำหนักตัวเครื่องราวๆ 1.3 กิโลกรัม พกพาได้สะดวกไม่เป็นภารรกับการเดินทางเท่าไหร่นัก ด้วยวัสดุในการผลิตที่โดดเด่นกว่าใครและด้านงานประกอบที่ทำออกมาได้ดีเลิศตามสไตล์ ThinkPad บวกกับจำนวนแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้พอเพียงรวมไปถึงพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่เยอะและล้ำหน้ามากกว่า MacBook Air หรือ Ultrabook รุ่นอื่นๆที่สำคัญด้วยขนาดหน้าจอ 12.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD กับพาเนลคุณภาพสูง IPS ส่งผลให้การใช้งานสบายตา และเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ตัวเครื่องยังแข็งแกร่งทนทาน คีย์บอร์ดแม่นยำพิมพ์สนุก คีย์บอร์ดระบายน้ำได้ TrackPoint ใช้งานสะดวก ใช้งานต่อเนื่องได้ระดับ 10 ชั่วโมง พอร์ตเชื่อมต่อครบครันระดับนึง มี Fingerprint รวมไปถึงมี Windows แท้ (บางรุ่น) และซอฟต์แวร์ติดเครื่องคุณภาพใช้งานได้จริงอีกด้วย
สำหรับ Lenovo ThinkPad X250 เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาที่จัดได้ว่ามีความครบครันในการใช้งานหลายๆ ด้าน ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานทั่วๆ ไปหรือผู้ที่เน้นใช้งานจริงจัง รวมไปเน้นพกพา ด้วยสเปคภายในที่มีให้ตามมาตรฐานของ Ultrabook มีเวลาใช้งานที่ยาวนาน
เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่บางๆ เบาๆ มาพร้อมสเปคคุ้มค่าราคาไม่แพงจนเกินไป ก็สามารถเลือกดูเป็น Lenovo ThinkPad X250 รุ่นที่ทางทีมงานรีวิวไปกันได้นะครับ รับรองว่าด้านประสิทธิภาพและคุณบัติต่อราคานั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน
ข้อดี
- หน้าจอแสดงผล 12.5 นิ้ว แบบ Full HD พาเนล IPS
- การเลือกใช้วัสดุมาประกอบสร้างตัวเครื่องและงานประกอบทำได้ดีน่าประทับใจมาก
- ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i Gen 5 รหัส U (มีทั้ง Core i5 และ Core i7)
- มี mini Display Port และรองรับ USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต
- AccuType Keyboard เพื่อสัมผัสในการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น
- คีย์บอร์ดติดตั้งระบบไฟ Backlit มาให้
- คีย์บอร์ดระบายน้ำได้ หากน้ำหกใส่
- มี TrackPoint ตามมาตรฐาน ThinkPad
- ทัชแพดสามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี รองรับมัลติทัชเต็มรูปแบบ
- นำปุ่มกดที่ไว้ใช้ร่วมกับ TrackPoint กับมา โดยเป็นปุ่มจริงๆ
- ระบบ Fingerprint มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน
- ตัวเครื่องบางเบา พกพาสะดวก หนักเพียง 1.3 กิโลกรัม
- อะแดปเตอร์ที่ติดตั้งมาให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กพกพาง่าย
- ลำโพงมีคุณภาพเสียงที่ดี เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน
- แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานถึง 10 ชั่วโมง
- มี Windows แท้ และซอฟต์แวร์ติดเครื่องใช้งานได้จริง
- มีให้เลือกหลายรุ่นหลายราคาตั้งแต่ 32,900 บาทขึ้นไป
- ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมคุ้มค่าต่อราคา
ข้อสังเกต
- เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เป็น SSD แล้ว เร็วทันใจแน่นอน
- จะใช้งานได้ยาวนานกว่านี้ ต้องซื้อแบตเตอรี่ก้อนใหญ่เพิ่มเอง
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 12 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง Lenovo ThinkPad X250 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ Lenovo มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดใน Lenovo ThinkPad X250 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องแข็งแกร่งทนทานเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรู ประกอบการงานการประกอบระดับคุณภาพ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ฉะนั้นในเรื่องของรางวัล Best Design จงทำให้ได้ไปอย่างไม่ยากเย็น
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ ThinkPad X Series อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางและน้ำหนักเบา 1.3 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ส่งผลให้เราสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที เปิดหน้าจออีกทีก็ใช้งานได้เลย อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก จึงทำให้ Lenovo ThinkPad X250 ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย
Best Battery Life
แม้ว่าในตัวของLenovo ThinkPad X250 จะอัดแน่นไปด้วยสเปกหรือเทคโนโลยีต่างๆ แต่ในเรื่องของการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ถือว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉลี่ยแล้วถ้าใช้งานทั่วไปจะอยู่ได้นานถึงประมาณ 10 ชั่วโมงด้วยกัน ส่งผลให้ได้รางวัล Best Battery Life ซึ่งถ้าใครอยากใช้งานได้ยาวนานกว่านี้ ก็ซื้อแบตเตอรี่ความจุสูงมาเปลี่ยนได้