เมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมา Intel ได้แนะนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อเรียกใหม่ออกมาให้เราได้รู้จักกัน ในชื่อว่า Next Unit of Computing หรือ NUC ซึ่งเป็น PC แบบตั้งโต๊ะที่มีการย่อขนาดให้เล็กที่สุด เพื่อการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ในขนาดตัวกล่องแบบเรียบง่ายเดิมๆ ตัวกล่อง NUC นี้สูงแค่ประมาณ 2 นิ้วเท่านั้น และอยู่ในขนาดกล่องสี่เหลี่ยมกว้างที่ 4 นิ้ว และวางขายด้วยราคาเริ่มต้นไม่ถึงหมื่นบาทเท่านั้น
อย่างไรก็ตามอย่าให้ขนาดเล็กจิ๋ว และราคาที่ไม่แพงนี้มาหลอกตาเราได้ เพราะสเปกภายในของตัวเครื่องที่ใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Celeron, Core i3,Core i5 หรือระดับCore i7 เลยทีเดียว จัดได้ว่ามีความเร็วและประสิทธิภาพที่พอตัว รองรับสำหรับการทำงานประจำวันทั่วๆ ไปได้แน่นอน แต่ในการใช้งานเล่นเกมหรือระดับการประมวลผลหนักๆ ก็คงยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่นัก
Specification
สเปกของ Intel NUC ทุกรุ่นก็คือสเปกของโน๊ตบุ๊คนั่นเอง ซึ่งล่าสุดได้ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 (Broadwell) โดยรุ่นที่ทางทีมงานได้รับมารีวิวจะเป็น Intel NUC5i3RYK โดยใช้ชิปประมวลผลจะเป็น Intel Core i3-5010U ซึ่งเป็นรหัส U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 2.1 GHz มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 5500 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจากรุ่นเก่ามากพอตัว โดยเป็นแบบฝังมากับบอร์ดของตัวเครื่องเลย เรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกันกับที่เราสามารถพบเจอได้ในเครื่องโน๊ตบุ๊คที่ใช้ชิปประมวลผลรุ่นเดียวกัน
ต่อมาก็เป็นเรื่องของแรม ที่ Intel NUC ทุกรุ่นจะใช้เป็นแบบอัพเกรดได้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับโน๊ตบุ๊คทั่วไป DDR3 SO-DIMM แบบ dual-channel โดยมีขนาดมาตรฐานที่ให้มาคือ 4GB (แต่ใส่มาเป็น 4GB แถวเดียว) ที่เราเพิ่มเติมได้ในภายหลังสูงสุดที่ 16GB ทำให้เหมาะกับใครหลายๆ คนที่คิดจะเอาไปอัพเกรดในอนาคต
ในส่วนของฮาร์ดดิสก์บน Intel NUC จะเป็นแบบปกติขนาด 2.5 นิ้ว ที่มีความจุ 500GB โดยยังสามารถเพิ่มเติม SSD ที่เป็นรูปแบบของ M.2 ได้ นอกจากนี้ในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังมีมาให้หลากหลาย ทั้ง USB 3.0, LAN และช่องต่อหน้าจอ mini Display Port, mini HDMI เป็นต้น สำหรับภายในนั้นก็มีการติดตั้งระบบเสาสัญญาณไร้สายมาให้แล้วทั้ง WiFi และ Bluetooth ซึ่งถ้าใครต้องการสเปกที่สูงกว่านี้ก็สามารถดูรุ่นอื่นๆ ได้ สนนราคาก็ตั้งแต่ไม่ถึงหมื่นบาท ไปจนถึงสองหมื่นนิดๆ
Hardware / Design
Intel ได้พยายามสร้างรูปแบบใหม่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เอาไว้ใช้งานทั่วไปภายในบ้าน ด้วยเครื่องมาตรฐานพีซีที่ได้รับการออกแบบให้เล็กที่สุด ให้มีการใช้งานทุกอย่างอย่างจำเป็นที่สุด อะไรที่เกินกว่าความจำเป็น ก็ทำการตัดออกไป จนได้กล่องเล็กๆ สำหรับการทำงานทั่วไป (ขนาดเพียงฝ่ามือเดียวเท่านั้น) หรือการใช้งานด้านความบันเทิงอย่างดูหนังฟังเพลงออกมา ตัวเครื่องทำงานได้รวดเร็วมากพอกับงานที่มันควรทำได้ทั้งหมด และมีการทำงานที่เงียบเชียบ ไม่มีเสียงรบกวนเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใหญ่ๆ เลย ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากได้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดบ้านเอาไว้สักตัว ซึ่งทาง Intel ก็ได้นิยามคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กนี้ไว้ว่าเป็น NUC (Next Unit of Computing) หรือ Mini PC อันนี้ก็แล้วแต่สะดวกที่จะเรียกกัน
สำหรับ Intel NUC รุ่นล่าสุดนี้ ไม่ได้สร้างความแปลกใจในการออกแบบที่ไม่ต่างจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องขนาดเล็ก ในโทนสีเงินตัดดำ ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นกล่องรับสัญญาณทีวี ความกว้างยาวประมาณ 4 นิ้ว พร้อมรองรับการใช้งานชุดคิท VESA ที่ใช้สำหรับติด Intel NUC เข้ากับจอแสดงผลได้ ดีไซน์ค่อนข้างจะสร้างความประทับใจด้วยคุณภาพที่ให้ความรู้สึกทนทาน ดูหรูหรา อีกทั้งมีฝาที่ช่วยในการระบายความร้อนได้อีกทางหนึ่ง พร้อมพลาสติกมันวาว แต่อาจเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย รวมถึงโครงสร้างที่อาจจะบางไปเล็กน้อย แต่ผู้ใช้สามารถเปิดฝาครอบได้ไม่ยากด้วยไขควงเพียงอย่างเดียว ซึ่งทาง Intel ก็มีออพชั่นที่จะนำมาใช้กับฝาปิด เพื่อขยายรูปแบบการทำงานได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การชาร์จแบบไร้สายหรือพอร์ตพิเศษในอนาคต
ในส่วนของฝาปิดไม่สามารถเข้าถึงองค์ประกอบภายในได้โดยตรง แต่ต้องหงายฐานขึ้นมา เพื่อไขเอาน็อตที่อยู่ในฐานยางออกมา จากนั้นไขเอาแผ่นโลหะที่ปิดอยู่ออก จึงจะเปิดให้เห็นถึงช่องต่อฮาร์ดไดรฟ์และแรม สามารถถอดเปลี่ยนได้ โดยซีพียูที่ถูกเชื่อมเข้ากับบอร์ดโดยตรง นับเป็นเรื่องที่ดีที่สามารถปรับเปลี่ยนสล็อตแรมและ SSD ภายในเครื่องได้ เพราะถ้ามามีอุปกรณ์มาครบ แต่ติดตั้งปรับเปลียนอะไรไม่ได้ ก็คงดูไม่น่าสนใจนัก
ที่แม้จะมีขนาดที่เล็ก แต่ Intel NUC ก็สามารถจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ได้เกือบครบ เช่นเดียวกับพอร์ตที่บริเวณด้านหน้ามาพร้อมกับ USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต พอร์ตสำหรับต่อไฟเลี้ยง รวมถึงช่องหูฟัง ส่วนด้านหลังมีพอร์ต USB 3.0 และ mini DisplayPort รวมถึง mini HDMI และ LAN พร้อมรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (WiFi) 802.11ac, Bluetooth 4.0 แต่ก็ถือว่ามีความแปลกที่ทำไมไม่ให้เป็นพอร์ต HMDI ขนาดมาตรฐานมาเลย เพราะเวลาใช้งานจริงจะได้ไม่ต้องหาตัวแปลงอะไรอีก ซึ่งจากการใช้งานจริง ทางทีมงานมีตัวแปลงจาก mini Display Port เป็น VGA อยู่แล้วเลยใช้เป็นแบบนี้ไปเพื่อต่อไปยังหน้าจอมอนิเตอร์ ส่วนอแดปเตอร์ก็จัดได้ว่ามีขนาดเล็กกระทัดรัดที่พอเพียงการจ่ายไฟให้กับ Intel NUC เครื่องนี้
อย่างไรก็ตามในการใช้งานจริงนั้น พบว่าแม้ตัวเครื่องจะมีขนาดเล็กทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดวางติดตั้ง แต่เมื่อเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ดูรกรุงรังไม่แพ้กันกับพีซีปกติ ขนาดที่เราใช้คีย์บอร์ดและเมาส์แบบไร้สายแล้วก็ตาม ซึ่งถ้าจะดูแล้วเรียบสุด คงแนะนำให้ติดไว้หลังมอนิเตอร์น่าจะดีกว่า
Conclusion / Award
ถ้าเป็นในอดีตที่ผ่านมานั้นคงต้องบอกเลยครับว่าคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดตัวเครื่องที่เล็กแบบ Intel NUC หรือ Mini PC นั้นมีข้อจำกัดทางด้านการอัพเกรดแหล่งเก็บข้อมูลภายในเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปแบบของการเชื่อมต่อที่ในสมัยก่อนนั้นที่ Mini PC มักจะมาพร้อมกับฮาร์ดดิสขนาดเล็กที่ 2.5 นิ้วเท่านั้น แถมฮาร์ดดิสแบบ 2.5 นิ้วในอดีตนั้นก็มีราคาแพงเสียอีก (และยังมีความเร็วที่ต่ำอีกด้วย) ซึ่งถึงแม้แต่ก่อนเราคงเคยเห็นเครื่อง Mac mini จากทาง Apple แต่ตัวเครื่องก็มีขนาดใหญ่ พร้อมราคาที่สูงกว่าในส่วนของ Intel NUC นัก
ทว่าในปัจจุบันนั้นด้วยความที่เทคโนโลยีก้าวไกลไปมากคอมพิวเตอร์แบบ Mini PC ในปัจจุบันนั้นจึงมาพร้อมกับความสามารถที่จะทำการอัพเกรดฮาร์ดดิสขนาด 2.5 นิ้ว หรือจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SSD ที่มีความเร็วสูง ความจุต่ำและราคาค่อนข้างแพง หรือ SSHD (Solid State Hybrid Technology) ที่มีความจุสูง ความเร็วในระดับที่พอดีกับราคาเหมาะสมก็สามารถทำได้ ที่สำคัญเลยก็คือสเปกของ Mini PC ในปัจจุบันนั้นดีขึ้นมากกว่าเดิมเลยทีเดียว สำหรับการใช้งานทั่วไปที่รองรับการแสดงผลระดับ Ultra HD 4K อย่างเล่นอินเตอร์เน็ต งานเอกสาร หรือดูหนังฟังเพลง รวมไปถึงทำงานประมวลผลหนักๆ ก็พอได้บ้าง
สำหรับชิปประมวลผลใน Intel NUC เครื่องนี้เป็น Intel Core i3-5010U ที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่าได้พอๆ กับ Intel Core i5 รหัส U รุ่นก่อนๆ เลยทีเดียว ที่ถึงแม้ว่าจะติดตั้งแรมมาเพียง 4GB ที่เพียงกับงานใช้งานเบื้อง แต่เราก็ยังสามารถซื้อแรมขนาด 4GB อีกแถว มาเพิ่มให้รวมกันเป็น 8GB ได้ทันที นอกจากนี้เรายังสามารถอัพเกรดใส่ SSD แบบ M.2 เพิ่มได้อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องอีกด้วย
ซึ่งหากใครต้องการพีซีขนาดเล็กๆ เพียงฝ่ามือ แล้วก็ล่ะก็ Intel NUC ถือว่าตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเร็วในการใช้งาน ขนาดตัวเครื่องที่ไม่กินพื้นที่ รวมถึงราคาไม่สูงเกินไปนัก รวมไปถึงการแสดงผลในแบบ Ultra HD 4K ที่ลื่นไหล แต่อย่างไรก็ตาม Intel NUC อาจจะไม่ได้เหมาะกับในทุกงานหรือทุกคน เพราะประสิทธิภาพการทำงานก็ไม่สูงมากนักถ้าเทียบกับพีซีปกติในราคาที่เท่าๆ กัน แต่แน่นอนว่าคุ้มค่าสำหรับงานธุรกิจและคนที่มองถึงความเรียบง่าย
ข้อดีของ Intel NUC
- ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกระทัดรัด เพียงฝ่ามือเท่านั้น
- เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระชับพื้นที่การใช้งาน
- สามารถติดหลังหน้าจอมอนิเตอร์ได้ ด้วยชุด VESA ที่มีมาให้
- ประสิทธิภาพรองรับการทำงานการทำงานทั่วไปหรือความบันเทิง
- รองรับการแสดงผลความละเอียดระดับ Ultra HD 4K
- มีราคาสเปกตัวเริ่มต้นที่ไม่สูงจนเกินไป
- มีสเปกให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ
- สามารถอัพเกรดแรมและฮาร์ดดิสก์ได้ภายหลัง
- รับประกันยาวนานถึง 3 ปี
ข้อสังเกตุของ Intel NUC
- มีราคาที่สูงกว่าพีซีแบบปกติในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน
- ควรจะมีพอร์ตการแสดงผลเป็น HDMI แบบปกติ
- ในชุดจัดจำหน่าย ยังไม่รวมคีย์บอร์ดและเมาส์ ต้องซื้อแยกเอง
- ไม่มีระบบปฏิบัติการ Windows มาให้
Specification
สเปกของ Intel NUC ทุกรุ่นก็คือสเปกของโน๊ตบุ๊คนั่นเอง ซึ่งล่าสุดได้ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 5 (Broadwell) โดยรุ่นที่ทางทีมงานได้รับมารีวิวจะเป็น Intel NUC5i3RYK โดยใช้ชิปประมวลผลจะเป็น Intel Core i3-5010U ซึ่งเป็นรหัส U ที่มีอัตราการกินไฟที่ต่ำ ความเร็วในการทำงานก็อยู่ที่ 2.1 GHz มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel HD Graphics 5500 ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นจากรุ่นเก่ามากพอตัว โดยเป็นแบบฝังมากับบอร์ดของตัวเครื่องเลย เรียกได้ว่าเป็นตัวเดียวกันกับที่เราสามารถพบเจอได้ในเครื่องโน๊ตบุ๊คที่ใช้ชิปประมวลผลรุ่นเดียวกัน
ต่อมาก็เป็นเรื่องของแรม ที่ Intel NUC ทุกรุ่นจะใช้เป็นแบบอัพเกรดได้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับโน๊ตบุ๊คทั่วไป DDR3 SO-DIMM แบบ dual-channel โดยมีขนาดมาตรฐานที่ให้มาคือ 4GB (แต่ใส่มาเป็น 4GB แถวเดียว) ที่เราเพิ่มเติมได้ในภายหลังสูงสุดที่ 16GB ทำให้เหมาะกับใครหลายๆ คนที่คิดจะเอาไปอัพเกรดในอนาคต
ในส่วนของฮาร์ดดิสก์บน Intel NUC จะเป็นแบบปกติขนาด 2.5 นิ้ว ที่มีความจุ 500GB โดยยังสามารถเพิ่มเติม SSD ที่เป็นรูปแบบของ M.2 ได้ นอกจากนี้ในส่วนของการเชื่อมต่อก็ยังมีมาให้หลากหลาย ทั้ง USB 3.0, LAN และช่องต่อหน้าจอ mini Display Port, mini HDMI เป็นต้น สำหรับภายในนั้นก็มีการติดตั้งระบบเสาสัญญาณไร้สายมาให้แล้วทั้ง WiFi และ Bluetooth ซึ่งถ้าใครต้องการสเปกที่สูงกว่านี้ก็สามารถดูรุ่นอื่นๆ ได้ สนนราคาก็ตั้งแต่ไม่ถึงหมื่นบาท ไปจนถึงสองหมื่นนิดๆ
Hardware / Design
Intel ได้พยายามสร้างรูปแบบใหม่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เอาไว้ใช้งานทั่วไปภายในบ้าน ด้วยเครื่องมาตรฐานพีซีที่ได้รับการออกแบบให้เล็กที่สุด ให้มีการใช้งานทุกอย่างอย่างจำเป็นที่สุด อะไรที่เกินกว่าความจำเป็น ก็ทำการตัดออกไป จนได้กล่องเล็กๆ สำหรับการทำงานทั่วไป (ขนาดเพียงฝ่ามือเดียวเท่านั้น) หรือการใช้งานด้านความบันเทิงอย่างดูหนังฟังเพลงออกมา ตัวเครื่องทำงานได้รวดเร็วมากพอกับงานที่มันควรทำได้ทั้งหมด และมีการทำงานที่เงียบเชียบ ไม่มีเสียงรบกวนเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใหญ่ๆ เลย ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากได้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดบ้านเอาไว้สักตัว ซึ่งทาง Intel ก็ได้นิยามคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กนี้ไว้ว่าเป็น NUC (Next Unit of Computing) หรือ Mini PC อันนี้ก็แล้วแต่สะดวกที่จะเรียกกัน
สำหรับ Intel NUC รุ่นล่าสุดนี้ ไม่ได้สร้างความแปลกใจในการออกแบบที่ไม่ต่างจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องขนาดเล็ก ในโทนสีเงินตัดดำ ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นกล่องรับสัญญาณทีวี ความกว้างยาวประมาณ 4 นิ้ว พร้อมรองรับการใช้งานชุดคิท VESA ที่ใช้สำหรับติด Intel NUC เข้ากับจอแสดงผลได้ ดีไซน์ค่อนข้างจะสร้างความประทับใจด้วยคุณภาพที่ให้ความรู้สึกทนทาน ดูหรูหรา อีกทั้งมีฝาที่ช่วยในการระบายความร้อนได้อีกทางหนึ่ง พร้อมพลาสติกมันวาว แต่อาจเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย รวมถึงโครงสร้างที่อาจจะบางไปเล็กน้อย แต่ผู้ใช้สามารถเปิดฝาครอบได้ไม่ยากด้วยไขควงเพียงอย่างเดียว ซึ่งทาง Intel ก็มีออพชั่นที่จะนำมาใช้กับฝาปิด เพื่อขยายรูปแบบการทำงานได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การชาร์จแบบไร้สายหรือพอร์ตพิเศษในอนาคต
ในส่วนของฝาปิดไม่สามารถเข้าถึงองค์ประกอบภายในได้โดยตรง แต่ต้องหงายฐานขึ้นมา เพื่อไขเอาน็อตที่อยู่ในฐานยางออกมา จากนั้นไขเอาแผ่นโลหะที่ปิดอยู่ออก จึงจะเปิดให้เห็นถึงช่องต่อฮาร์ดไดรฟ์และแรม สามารถถอดเปลี่ยนได้ โดยซีพียูที่ถูกเชื่อมเข้ากับบอร์ดโดยตรง นับเป็นเรื่องที่ดีที่สามารถปรับเปลี่ยนสล็อตแรมและ SSD ภายในเครื่องได้ เพราะถ้ามามีอุปกรณ์มาครบ แต่ติดตั้งปรับเปลียนอะไรไม่ได้ ก็คงดูไม่น่าสนใจนัก
ที่แม้จะมีขนาดที่เล็ก แต่ Intel NUC ก็สามารถจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ได้เกือบครบ เช่นเดียวกับพอร์ตที่บริเวณด้านหน้ามาพร้อมกับ USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต พอร์ตสำหรับต่อไฟเลี้ยง รวมถึงช่องหูฟัง ส่วนด้านหลังมีพอร์ต USB 3.0 และ mini DisplayPort รวมถึง mini HDMI และ LAN พร้อมรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (WiFi) 802.11ac, Bluetooth 4.0 แต่ก็ถือว่ามีความแปลกที่ทำไมไม่ให้เป็นพอร์ต HMDI ขนาดมาตรฐานมาเลย เพราะเวลาใช้งานจริงจะได้ไม่ต้องหาตัวแปลงอะไรอีก ซึ่งจากการใช้งานจริง ทางทีมงานมีตัวแปลงจาก mini Display Port เป็น VGA อยู่แล้วเลยใช้เป็นแบบนี้ไปเพื่อต่อไปยังหน้าจอมอนิเตอร์ ส่วนอแดปเตอร์ก็จัดได้ว่ามีขนาดเล็กกระทัดรัดที่พอเพียงการจ่ายไฟให้กับ Intel NUC เครื่องนี้
อย่างไรก็ตามในการใช้งานจริงนั้น พบว่าแม้ตัวเครื่องจะมีขนาดเล็กทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดวางติดตั้ง แต่เมื่อเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ดูรกรุงรังไม่แพ้กันกับพีซีปกติ ขนาดที่เราใช้คีย์บอร์ดและเมาส์แบบไร้สายแล้วก็ตาม ซึ่งถ้าจะดูแล้วเรียบสุด คงแนะนำให้ติดไว้หลังมอนิเตอร์น่าจะดีกว่า
Conclusion / Award
ถ้าเป็นในอดีตที่ผ่านมานั้นคงต้องบอกเลยครับว่าคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดตัวเครื่องที่เล็กแบบ Intel NUC หรือ Mini PC นั้นมีข้อจำกัดทางด้านการอัพเกรดแหล่งเก็บข้อมูลภายในเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปแบบของการเชื่อมต่อที่ในสมัยก่อนนั้นที่ Mini PC มักจะมาพร้อมกับฮาร์ดดิสขนาดเล็กที่ 2.5 นิ้วเท่านั้น แถมฮาร์ดดิสแบบ 2.5 นิ้วในอดีตนั้นก็มีราคาแพงเสียอีก (และยังมีความเร็วที่ต่ำอีกด้วย) ซึ่งถึงแม้แต่ก่อนเราคงเคยเห็นเครื่อง Mac mini จากทาง Apple แต่ตัวเครื่องก็มีขนาดใหญ่ พร้อมราคาที่สูงกว่าในส่วนของ Intel NUC นัก
ทว่าในปัจจุบันนั้นด้วยความที่เทคโนโลยีก้าวไกลไปมากคอมพิวเตอร์แบบ Mini PC ในปัจจุบันนั้นจึงมาพร้อมกับความสามารถที่จะทำการอัพเกรดฮาร์ดดิสขนาด 2.5 นิ้ว หรือจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SSD ที่มีความเร็วสูง ความจุต่ำและราคาค่อนข้างแพง หรือ SSHD (Solid State Hybrid Technology) ที่มีความจุสูง ความเร็วในระดับที่พอดีกับราคาเหมาะสมก็สามารถทำได้ ที่สำคัญเลยก็คือสเปกของ Mini PC ในปัจจุบันนั้นดีขึ้นมากกว่าเดิมเลยทีเดียว สำหรับการใช้งานทั่วไปที่รองรับการแสดงผลระดับ Ultra HD 4K อย่างเล่นอินเตอร์เน็ต งานเอกสาร หรือดูหนังฟังเพลง รวมไปถึงทำงานประมวลผลหนักๆ ก็พอได้บ้าง
สำหรับชิปประมวลผลใน Intel NUC เครื่องนี้เป็น Intel Core i3-5010U ที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่าได้พอๆ กับ Intel Core i5 รหัส U รุ่นก่อนๆ เลยทีเดียว ที่ถึงแม้ว่าจะติดตั้งแรมมาเพียง 4GB ที่เพียงกับงานใช้งานเบื้อง แต่เราก็ยังสามารถซื้อแรมขนาด 4GB อีกแถว มาเพิ่มให้รวมกันเป็น 8GB ได้ทันที นอกจากนี้เรายังสามารถอัพเกรดใส่ SSD แบบ M.2 เพิ่มได้อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องอีกด้วย
ซึ่งหากใครต้องการพีซีขนาดเล็กๆ เพียงฝ่ามือ แล้วก็ล่ะก็ Intel NUC ถือว่าตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเร็วในการใช้งาน ขนาดตัวเครื่องที่ไม่กินพื้นที่ รวมถึงราคาไม่สูงเกินไปนัก รวมไปถึงการแสดงผลในแบบ Ultra HD 4K ที่ลื่นไหล แต่อย่างไรก็ตาม Intel NUC อาจจะไม่ได้เหมาะกับในทุกงานหรือทุกคน เพราะประสิทธิภาพการทำงานก็ไม่สูงมากนักถ้าเทียบกับพีซีปกติในราคาที่เท่าๆ กัน แต่แน่นอนว่าคุ้มค่าสำหรับงานธุรกิจและคนที่มองถึงความเรียบง่าย
ข้อดีของ Intel NUC
- ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกระทัดรัด เพียงฝ่ามือเท่านั้น
- เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระชับพื้นที่การใช้งาน
- สามารถติดหลังหน้าจอมอนิเตอร์ได้ ด้วยชุด VESA ที่มีมาให้
- ประสิทธิภาพรองรับการทำงานการทำงานทั่วไปหรือความบันเทิง
- รองรับการแสดงผลความละเอียดระดับ Ultra HD 4K
- มีราคาสเปกตัวเริ่มต้นที่ไม่สูงจนเกินไป
- มีสเปกให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ
- สามารถอัพเกรดแรมและฮาร์ดดิสก์ได้ภายหลัง
- รับประกันยาวนานถึง 3 ปี
ข้อสังเกตุของ Intel NUC
- มีราคาที่สูงกว่าพีซีแบบปกติในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน
- ควรจะมีพอร์ตการแสดงผลเป็น HDMI แบบปกติ
- ในชุดจัดจำหน่าย ยังไม่รวมคีย์บอร์ดและเมาส์ ต้องซื้อแยกเอง
- ไม่มีระบบปฏิบัติการ Windows มาให้