Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

เทคนิคการปริ้นท์แบบใหม่ที่จะช่วยให้ทุกๆ คนสามารถที่จะทำ Gadget ได้ตามต้องการ

เทคโนโลยีทางด้านการปริ้นท์นั้นเรียกได้ว่าไปไกลมากเลยทีเดียวครับในปัจจุบัน อย่างที่หลายๆ ท่านน่าจะพอทราบกันว่าในปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีการปริ้นท์แบบ 3 มิติ

เทคโนโลยีทางด้านการปริ้นท์นั้นเรียกได้ว่าไปไกลมากเลยทีเดียวครับในปัจจุบัน อย่างที่หลายๆ ท่านน่าจะพอทราบกันว่าในปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีการปริ้นท์แบบ 3 มิติ เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้งานของบุคคลทั่วไปมากขึ้น(แต่ว่าราคาของตัวเครื่องปริ้นท์นั้นอาจจะยังไม่ถึงขึ้นที่ผู้ใช้ทั่วไปหลายๆ คนจะสามารถหาซื้อมาใช้งานกันได้) ทว่าเทคโนโลยีของการปริ้นท์ก็ไม่ได้หยุดรอเราครับ เนื่องจากว่าในตอนนี้ได้มีเทคโนโลยีการปริ้นท์หน้าจอหรือ ‘display printing’ แบบใหม่ออกมาแล้วครับ

printscreenAppcases 600

Advertisement

เทคโนโลยีการปริ้นท์หน้าจอแบบใหม่ล่าสุดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยนักวิทยาศาสตร์ใน Saarbrucken ครับ โดยวิธีการปริ้นท์นั้นจะทำให้เราๆ ท่านๆ สามารถที่จะปรับแต่งหน้าจอแสดงผลลงไปบนวัสดุแบบใดก็ได้ผ่านทางการใช้หมึกแบบพิเศษอย่าง electroluminescent ink ครับ ตัวหมึกนี้จะสามารถทำการแปล่งแสงได้เมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านตัวหมึก ไม่ว่าวัสดุที่ได้ทำการปริ้นท์หมึกนี้จะเป็นแบบใดหรือว่ารูปที่ปริ้นท์ออกมาจะอยู่ในลักษณะไหนครับ

หนึ่งในทีมวิจัยอย่าง Simon Olberling ได้ออกมายืนยันครับว่าลักษณะการปริ้นท์ในรูปแบบนี้ไม่เคยมีมาก่อน แถมเท่าที่ผ่านมานั้นการสร้างหน้าจอขึ้นมานั้นมักจะอยู่ในรูปแบบของกระบวนการผลิตที่มีกำลังการผลิตใหญ่ๆ(และส่วนมากหน้าจอก็จะมาในรูปแบบของสี่เหลี่ยมแข็งๆ หรือไม่ก็วงกลมอย่างหน้าจอนาฬิกา) แต่ด้วยเทคนิคการปริ้นด้วย electroluminescent ink จะทำให้การสร้างหน้าจอนั้นสามารถที่จะเข้าถึงผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ได้ครับ

การปริ้นท์ด้วยเทคโนโลยีหมึก electroluminescent ink ยังจะเป็นการทำให้กำแพงของรูปแบบหน้าจอเปลี่ยนไปจากเดิมด้วยอีกครับ โดยหากท่านได้ดูจากคลิปทางด้านบนจะเห็นได้ว่า เราสามารถที่จะทำการออกแบบหน้าจอได้หลายรูปแบบมากไม่ว่าจะเป็นหน้าจอแบบม้วนพับได้ หรือหน้าจอ 2 ด้านเป็นต้น นอกไปจากนั้นที่สำคัญที่สุดก็คือเทคนิคการใช้ electroluminescent ink ในการปริ้นท์นั้นเราๆ ท่านๆ ก็สามารถที่จะทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยใช้งบประมาณอยู่ที่ประมาณ 20 Euros หรือ 700 บาทเท่านั้นครับ

อย่างไรก็ตามด้วยความที่เทคโนโลยีการปริ้นด้วย electroluminescent ink นั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาและวิจัยอยู่ดังนั้นกว่าเราจะได้เห็นการใช้งานอย่างเป็นทางการก็อาจจะต้องรออีกสักพักใหญ่ๆ ครับ ข้อเสียที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นในเรื่องของสีที่เมื่อปริ้นท์ออกมาแล้วรูปนั้นจะแสดงสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งทางนักวิจัยก็ได้บอกเอาไว้ว่ากำลังทำการพัฒนาในเรื่องนี้อยู่ครับ

ที่มา : vr-zone

Click to comment
Advertisement

Trending Post

บทความน่าสนใจ

CONTENT

ในช่วงสามปีหลังมานี้ การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีระบบ AI มาใช้มีอัตราการเติบโตขึ้นมาก ทำให้เราได้เห็นทั้งแบรนด์โน้ตบุ๊กและมือถือต่างโฆษณาถึงการนำ AI มาช่วยเสริมการทำงานของเครื่องในหลาย ๆ ด้าน ในบทความนี้จะมาดูกันครับว่าตอนนี้ AI ในโน้ตบุ๊ก มือถือ รวมถึงใน CPU มีไว้ใช้ทำอะไรกันบ้าง Advertisement AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence ในคำไทยจะหมายถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาให้มีการทำงานคล้ายกับสมองมนุษย์ ส่งผลให้ตัวระบบสามารถคิดคำนวณแบบซับซ้อนจากข้อมูลที่รับเข้าไป...

CONTENT

แม้ในตอนนี้ อุปกรณ์เก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานทั่วไปจะเปลี่ยนเป็น SSD เกือบจะทั้งหมดแล้วก็ตาม แต่ฮาร์ดดิสก์ (HDD) แบบจานหมุนก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่ยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้เก็บข้อมูลปริมาณมาก ด้วยราคาต่อความจุที่ต่ำกว่า SSD ซึ่งจะพบได้มากในกลุ่มของเครื่อง server หรือการใช้งานในระดับ data center ที่ต้องมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันก็มีการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่อย่าง HAMR ที่คาดกันว่าน่าจะถูกนำมาใส่ไว้ใน HDD จานหมุนที่จะออกสู่ท้องตลาดในปีนี้ด้วย Advertisement แล้วเทคโนโลยีนี้คืออะไร จะมีผลอะไรกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่เราใช้กันอยู่บ้าง...

IT NEWS

Geoffrey Hinton หนึ่งในสามของ “เจ้าพ่อแห่ง AI” ที่ได้รับรางวัล Turing Award ประจำปี 2018 จากผลงานที่เกี่ยวข้องกับ AI เผยเหตุผลของการลาออกออกจาก Google ว่ามาจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความขัดแย้งด้านทัศนติเกี่ยวกับ AI เมื่อตอนที่ Hinton ให้สัมภาษณ์กับ The New York Times เขาได้รับคำถามที่มีการกล่าวอ้างว่าสาเหตุที่เขาลาออกจาก...

Other News

ระบบจดจำใบหน้าคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในฐานะอุตสาหกรรมภายในทศวรรษหน้า ซึ่งคาดว่าตลาดจะมีมูลค่าถึง 3.2พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 98ล้านบาท)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก