Ultra Compact Computer เป็นพีซีอีกรูปแบบหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า Small form factor ซึ่งเป็นตลาดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ใช่แค่เพียงการใช้งานพื้นฐาน แต่ยังรวมไปถึงการทำงาน เล่นเกมหรือความบันเทิง รวมไปถึงใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ตัดต่อวีดีโออีกด้วย ในความเร็วที่เพียงพอต่อการใช้งาน ด้วยหัวใจหลักที่มาจากสถาปัตยกรรมของซีพียูที่ทันสมัย ความเร็วส฿ง และมีประสิทธิภาพสำหรับการทำงานที่ต้องการประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้แพลตฟอร์มที่เล็กลง โดย GIGABYE BRIX s เป็นการรวมทุกสิ่งอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อสนองการใช้งานได้อย่างเต็มที่
หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ก็คงพอได้เห็น GIGABYE BRIXที่เป็นเดสก์ทอปรุ่นแรกๆ ซึ่งใช้กราฟฟิกจาก Iris Pro ซึ่งในช่วงนั้นจะติดอยู่นิดหน่อยในเรื่องของเสียงรบกวน เนื่องจากพัดลมขนาดเล็ก ซึ่งทำรอบอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะทำให้อุณหภูมิของซีพียูในระดับ 65 Watts เย็นลงอย่างรวดเร็วก็ตาม แต่ด้วยขนาดที่เล็กก็ช่วยให้พอจะวางบนโต๊ะเพื่อใช้งานได้ไม่ยากนัก
แต่คราวนี้ GIGABYTE เลือกใช้ซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุด Intel Broadwell-U ในรุ่น Core i7-5500U ที่มีการใช้พลังงานเพียง 15 Watts โดยมาพร้อมสเปคที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นซีพียูแบบ Dual Core แทนที่จะเป็น Quad Core แต่ทำงานในแบบ 2 Cores/ 4 Threads และความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงสุดในโหมด Turbo อยู่ที่ 3000MHz เมื่อเปรียบเทียบกับ Broadwell เดิม ซีพียูที่ใช้ใน Brix s นี้มีพื้นฐานที่ดีและความเร็วมากกว่า เพียงแต่ค่า TDP ที่ใกล้เคียงกัน โดนสถาปัตยกรรมของซีพียูใหม่ขึ้น
เวลานี้เราคงต้องมองไปที่ฟีเจอร์ของ GIGABYTE BRIX s โดยโครงสร้างหลัก Core i7 5500U และการสนับสนุน NFC สำหรับความน่าสนใจของตัว “S” ที่เป็นสัญลักษณ์ต่อท้ายนั้น เป็นการกำหนดว่า รองรับฮาร์ดไดรฟ์ในแบบ 2.5″ Full-size ในแบบ mSATA ด้วย
ซึ่งในเวอร์ชั่น Broadwell ที่ใช้บน Brix s จะไม่ได้ต่างกับในรุ่นก่อนหน้านี้มากนัก ที่ไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งใดไปมาก รองรับการออกแบบให้เหมาะสมกับขนาดเมนบอร์ด 4″ x 4″ ที่อยู่ภายใน เช่นเดียวกับความกว้างและลึกของ Brix s ไม่ถูกปรับเปลี่ยนเช่นกัน แต่เมื่อดูพื้นที่สำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์ 2.5″ ในแบบ Full size ได้และมิติยังดูบางกว่า Brix ในรุ่นที่แล้ว รวมถึง Intel NUC อีกด้วย แต่คิดว่าน้ำหนักน่าจะมากขึ้น จากวัสดุสำหรับฮีตซิงก์ระบายความร้อน
ในส่วนด้านบนของ Brix s เท่าที่เห็นนั้น มาพร้อมปุ่มเพาเวอร์และมีโลโก้ของ NFC ติดอยู่ด้านบนกับวัสดุสีดำ Piano Black ที่มีส่วนทำให้เกิดรอยนิ้วมือได้ง่ายเช่นกัน เช่นหากคุณวางโทรศัพท์หลายๆ ครั้งต่อวัน ก็อาจจะทำให้เห็นรอยขูดขีดได้อย่างชัดเจนทีเดียว โดยด้านหน้าของ Brix s จะเป็นจุดที่ติดตั้งพอร์ต USB 3.0 อีกสองพอร์ต รวมถึงช่องต่อหูฟังและไมโครโฟน
ด้านหลังจะมีช่องต่อไฟ AC พร้อมพอร์ต HDMI, DisplayPort รวมถึง Mini DisplayPort Output, Gigabit Ethernet รวมถึง USB 3.0 อีกสองพอร์ต จะเห็นได้ว่าตัวเลือกในการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงมีค่อนข้างมาก สำหรับเชื่อมต่อเมาส์และคีย์บอร์ด ส่วนการจัดเก็บข้อมูลสามารถเลือกใช้ USB 3.0 ที่มีความเร็วสูง ส่วนการเชื่อมต่อ WiFi นั้น จะทำงานด้วยคอนโทรลเลอร์ Intel 3160 ที่รองรับการทำงานมาตรฐาน 802.11ac
ด้านบนจะเป็นส่วนของตัวอ่าน NFC ที่ทำงานทั้งอ่านและเขียนข้อมูลอยู่ภายในกล่องของ BRIX s ดังที่เห็นเป็น NFC tag ซึ่งทาง GIGABYTE ได้ใส่ชุดแอพพลิเคชั่นที่เป็นโปรแกรมในการอ่าน Tag ของ NFC มาให้ แม้จะมีการใช้งานที่จำกัดอยู่ก็ตาม โดยโปรแกรมที่ช่วยในการทำงานหนึ่งในสองสิ่งนั้น เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์พื้นฐานบนเครื่องพีซีหรือใช้ในการเปิดเว็บเพจที่ต้องการ ส่วนถ้าคุณมีความรู้ในการเขียนชุดสคริปต์ด้วยตัวเอง อาจใช้ในประโยชน์กับสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์อัตโนมัติหรือเข้าสู่ระบบแบบไม่ต้องใช้รหัสผ่าน รวมถึงอาจใช้งานร่วมกับแอพ Third-party ก็ได้เช่นกัน
เปิดฝาดูภายใน
การเปิดฝา BRIX s ค่อนข้างจะธรรมดา ใช้ไขควงยาวไขน็อตออกทั้ง 4 จุดก็เปิดฝาด้านบนออกได้แล้ว ส่วนแผ่นด้านล่างเป็นแผ่นโลหะสำหรับรองรับอุปกรณ์ต่างๆ เอาไว้ โดยพื้นฐานจะเหมือนกับ Barebone ที่คุ้นเคยกันดีในอดีต สิ่งที่พอจะหยิบจับได้และเห็นสะดุดตาก็คือ ช่องต่อ M.2 ซึ่งติดอุปกรณ์ Intel 3160NGW ที่ใช้ร่วมกันระหว่าง Wireless/ Bluetooth adaptor โดยสามารถซื้อ mSATA ที่เป็น Storage หรือไดรฟ์ 2.5″ และมีสล็อตสำหรับ DDR3L มาให้ด้วย
โดยในการทดสอบ GIGABYTE ได้ติดตั้ง Kingston HyperX ที่เป็นแรม DDR3L-1600 4GB SODIMMs และ mSATA 120GB mSATA มาให้ ซึ่งดูแล้วเป็นรูปแบบที่เรียบง่ายและพื้นฐานที่สุด สำหรับคนที่ต้องการเริ่มติดตั้งด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีวิธีการตั้งค่าต่างๆ ให้วุ่นวาย ติดตั้งเสร็จก็พร้อมทำงานได้ทันที
ส่วนที่เป็น M.2 Wireless ที่ติดตั้งอยู่ใต้ mSATA SSD จะมีสายเคเบิลที่เชื่อมต่อ Wireless card เข้ากับ NFC ซึ่งอยู่ด้านบนของฝาปิดของ Brix โดยมาเป็นออพชั่นให้เลือก เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ใดมาให้หรือไม่ สามารถดูได้จากหน้ารายละเอียดผลิตภัณฑ์จะดีที่สุด
ด้านล่างลงไปใกล้กับ DIMM slot เป็นพอร์ตมาตรฐาน SATA และสายไฟที่ใช้เชื่อมต่อกับไดรฟ์ 2.5″ โดยเป็นสายสั้นๆ ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการติดตั้งเป็นพิเศษ ซึ่งจากที่ได้เห็นนั้น ผู้ใช้เลือกติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์หรือ SSD เข้ากับตัวยึดบนแผ่นโลหะด้านล่างของ Brix ได้ทันที นับว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ใช้เดสก์ทอปทั่วไปคือ เลือกใช้งานได้ทั้ง mSATA และ SSD โดยอาจจะเลืกฮาร์ดดิสก์ 1TB-2TB เข้าไปเก็บข้อมูล โดยใช้ SSD mSATA 512GB สำหรับทำงาน ติดตั้งซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ
จากการถอดเมนบอร์ดออกมาจากเคส ก็ดูธรรมดาไม่ได้อะไรเป็นพิเศษ แต่เอาออกมาเพื่อสังเกตชิ้นส่วนและการติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลที่ใช้ Broadwell และภาคจ่ายไฟให้อุปยกรณ์ ภายใต้ฮีตซิงก์ขนาดเล็กในแบบพัดลม Blower เรียกว่าจัดวางสิ่งต่างๆ มาได้อย่างหนาแน่นเลยทีเดียว
ผลการทดสอบ
สำหรับการทดสอบบน GIGABYTE BRIX s นับเป็นตัวแรกที่ใช้หน่วยประมวลผล Broadwell-U ที่มาพร้อมแพลตฟอร์ม Small form factor โดยถูกนำมาเปรียบเทียบกับ Intel NUC ที่เป็นแบบ Dual Core รวมถึงแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Ultrabook ที่มีค่าการใช้พลังงานที่ต่ำใกล้เคียงกัน
การเปรียบเทียบที่น่าสนใจยังอยู่ที่ GIGABYTE BRIX กับ Broadwell และ Intel NUC กับ Haswell ซึ่งผลที่ได้จาก Synthetic CPU Core i7-5500U เร็วกว่า Core i5-4250U อยู่ประมาณ 26% ส่วนของเมมโมรี แบนด์วิทธิ์ทั้งสองแพลตฟอร์มยังคงไม่ต่างกันนัก และประสิทธิภาพในด้านของ Multimedia synthetic แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า 26% ด้วยซีพียู 14nm Broadwell
ส่วนผลที่ได้จาก CINEBench ด้วยการทดสอบแบบ Sngle threaded และ Multi threaded โดยใช้การทดสอบตามแกนหลักที่มีอยู่บนซีพียู (dual-core, HyperThreaded) ซึ่งผลที่ได้ Core i7-5500U มีการทำงานที่เร็วกว่า Core i5-4250U ประมาณ 20% เมื่อสลับไปมาบนการทดสอบแบบ Multi threaded แสดงให้เห็นว่า Broadwell ที่ TDP 15Watt บนซีพียู Core i7-5500U ทำความเร็วได้ดีกว่าซีพียูที่มีค่า TDP สูงๆ ในหลายรุ่นอีกด้วย
ในการทดสอบเข้ารหัสมัลติมีเดีย แสดงให้เห็นถึงความได้เปรียบในการทำงานของ Brix ที่ใช้ Broadwell ที่ดีกว่า Intel NUC ที่ใช้แกนหลัก Haswell บนซีพียู Core i5-4250U
ส่วนในการทดสอบร่วมกับ 3D Mark นั้น เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Core i7-5500U และ Core i5-4250U โดยที่กราฟฟิกของทั้งคู่นั้นถือว่าใกล้เคียงกัน Core i7-5500U นั้นใช้ HD Graphic 5500 ส่วน Core i5-4250U เป็นรุ่น HD Graphic 4400 แต่ในภาพรวมต้องถือว่า Broadwell มีการปรับปรุงสถาปัตยกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ
ซึ่งดูได้จากผลของการทดสอบ Ice Strom ที่คะแนนภาพรวม GIGABYTE BRIX ทำได้ดีกว่าผลที่ได้จาก NUC อยู่ถึง 47% และเหนือกว่าซีพียูในรุ่นอื่นๆ จากการทดสอบอย่างน้อย 25% อีกด้วย
การใช้พลังงาน
อาจจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ GIGABYTE BRIX s ที่ใช้ชิป Broadwell ในการทำงาน จะใช้พลังงานมากกว่า Intel NUC ที่ใช้ Haswell เพราะจากการทดสอบที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความสามารถของ Brix ที่มีผลในการทำงานโดดเด่นในหลายส่วน ซึ่งนั่นหมายถึงว่า BRIX ไม่ได้ใช้พลังงานที่น้อยลง แต่ในการทดสอบโหลดของ GPU ทำให้ใช้พลังงานมากขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับไม่เกิน 15 Watts ตามที่กำหนดไว้ ส่วนในโหมด idle นั้น BRIX ใช้พลังงานเพียง 0.8 Watts เท่านั้นเอง ส่วนถ้าใครทนรอไหว ก็อาจจะต้องรอดู Broadwell สำหรับ Intel NUC รุ่นใหม่ ก็จะทำให้มองเห็นความแตกต่างได้ว่า ทั้ง 2 สถาปัตยกรรมนี้ มีผลต่ออุปกรณ์มากน้อยเพียงใดนั่นเอง
Conclusion
ในภาพรวมต้องถือว่า GIGABYTE BRIX s นั้นเป็นพีซีขนาดเล็กอีกหนึ่งรูปแบบ ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพียงแต่อาจจะต้องหันมามองเรื่องของค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งเพิ่มเติม ว่าจะเข้ากับความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มใด ซึ่งหากเป็นกลุ่มที่ต้องการพีซีขนาดเล็ก ชนิดที่วางบนฝามือได้สบายๆ แต่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานในชีวิตประจำวันได้ไม่ต่างจากเครื่องพีซีปกติ อุปกรณ์ในยุคนี้ต้องถือว่าได้ก้าวข้ามเครื่องพีซีขนาดเล็ก ซึ่งประสิทธิภาพต่ำราคาแพงไปแล้ว กลับกลายเป็นพีซีที่มีศักยภาพที่ดี และใช้พลังงานที่ต่ำลง ให้ผู้ใช้เลือกประยุกต์การทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะวางเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ปกติหรือจะใช้ติดหลังจอมอนิเตอร์ก็ยังได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล
เรียกว่า Brix s นี้ออกแบบมาเพื่องานต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เลยทีเดียว ดังที่เห็นในการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อวีดีโอ เข้ารหัสหรือเล่นเกม ด้วยสถาปัตยกรรมใหม่ Broadwell นี้ สามารถตอบสนองได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงคุณลักษณะพิเศษในการแสดงผล ที่มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น USB 3.0, HDMI หรือ DisplayPort ก็ตาม ซึ่งในวันนี้ต้องบอกว่าพร้อมในทุกช่วงเวลา
ที่มา : pcper