ปัจจุบันนั้นเราจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบสายนั้นเริ่มมีการให้บริการที่ใช้สาย Fiber optics ตามบ้านกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ(ในเมืองไทยก็มีแต่ทว่าราคานั้นก็จะแพงกว่าอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL เป็นอย่างมาก จึงทำให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบ Fiber optics นั้นมีใช้งานอยู่ภายองค์กรหรือตามบริษัทต่างๆ มากกว่า) ทุกท่านทราบกันหรือไม่ครับว่าการที่เรามีบริการอินเทอร์เน๊ตความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีแสงเป็นตันำข้อมูลนั้น เมื่อข้อมูลถูกส่งตามสาย Fiber optics มาถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ความเร็วที่ไม่ว่าจะมากเท่าไรก็ตามจะลดลงเนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนจากสัญญาณแสงที่มีความเร็วสูงมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำกว่ามาก วิธีการที่จะทำให้สัญญาณที่ส่งมานั้นยังมีความเร็วเท่าเดิมอยู่นั้นก็คือการใช้กระจกแก้วเป็นตัวส่งสัญญาณครับ
เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ได้มีงานวิจัยตีพิมพ์ใน Nature Communications ?ออกมาครับว่าเราสามารถที่จะประยุกต์ใช้คุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับวัสดุชนิดกระจกที่นำมาใช้กับ CD หรือ DVD โดยใช้เทคนิคที่มีชื่อว่า “ion doping” ซึ่งเทคนิคนี้จะทำให้กระจกสามารถทำงานเหมือนดั่งกับเป็น fiber optics และสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องความเร็วในการขนส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องได้ครับ นักวิจัยนาม?Richard Curry แห่ง?University of Surrey กล่าวว่าความน่าท้าทายของวิธีการนี้ก็คือเราจะต้องหาวัตถุเพียงชนิดเดียวที่มีความสามารถที่จะควบคุมแสงที่นำข้อมูลมายังเครื่องของเราให้ได้ และทีมวิจัยต้องการให้วัสดุนี้สามารถที่จะทั้งคนส่งข้อมูลและสามารถที่จะประมวลผลข้อมูลไปในเวลาเดียวกันได้ครับ
แน่นอนว่าเมื่อมีเทคนิกในการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ หน่วยความจำ(Ram) บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นก็ต้องถูกอัพเกรดให้มารองรับกับเทคโนโลยีดังกล่าวครับ ทางทีม?Surrey ได้ร่วมกับ?University of Cambridge และ?University of Southampton ได้กล่าวว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะถูกนำเสนอในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีหน่วยความจำที่เรียกว่า CRAM ทว่าในระหว่างนี้เราก็คงต้องรอให้ทีมวิจัยได้ทำงานของพวกเขาต่อกันไปก่อนสักพักครับ
ที่มา : cnet