Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

GPU ตัวใหม่ของทาง Nvidia ได้พิสูจน์การร่อนลงบนดวงจันทร์ของยาน Apollo 11 นั้นไม่ผิดพลาด

เป็นเวลาเนิ่นนานครับที่เริ่มมีการคิดถึงทฤษฎีที่ว่ายานอวกาศ Apollo 11 นั้นไม่ได้ล่อนลงบนดวงจันทร์จริงๆ แต่เป็นเพียงการจัดฉากขึ้นของสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะประกาศศักดาว่าประเทศของตนนั้น

เป็นเวลาเนิ่นนานครับที่เริ่มมีการคิดถึงทฤษฎีที่ว่ายานอวกาศ Apollo 11 นั้นไม่ได้ร่อนลงบนดวงจันทร์จริงๆ แต่เป็นเพียงการจัดฉากขึ้นของสหรัฐอเมริกาเพื่อที่จะประกาศศักดาว่าประเทศของตนนั้นสามารถที่จะทำการขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ได้เป็นประเทศแรกของโลก เรื่องนี้ก็มีทั้งคนที่เชื่อ และคนที่ไม่เชื่อแตกต่างกันไป แต่ล่าสุดได้มีหลักฐานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกทำการจำลองภาพ ด้วยการใช้พลังของหน่วยประมวลผล GPU รุ่นใหม่ของ Nvidia ทำชุดภาพกราฟฟิก?Voxel Global Illumination tech demo โดยเน้นการใช้?dynamic lighting technology เพื่อที่จะดูว่าการร่อนลงของ Apollo 11 นั้นจริงหรือไม่ครับ

nvidia prove moon landing wrong 01 600

Advertisement

ในตอนแรกนั้นทาง Nvidia ก็ไม่ได้ตั้งใจที่จำทำภาพจำลองการลงสู่พื้นดวงจันทร์ของ Apollo 11 ครับ ในตอนต้นเลยทางทีมงานตั้งใจที่จะทำเดโมสำหรับการ์ดตัวใหม่ให้อยู่ในรูปแบบอย่างอื่นๆ แต่ทว่าก็มีวิศวกรภายในที่บอกว่ามันคงดูน่าเบื่อและไม่มีใครอยากดู ทันใดนั้นนักวิจัยวิศวกรรมคนหนึ่งก็ดึงภาพที่?Buzz Aldrin นักบินอวกาศบนยาน Apollo 11 กำลังเดินลงจะเหยียบลงบนดวงจันทร์ออกมา ซึ่งนั่นก็ทำให้ทีมงานที่กำลังประชุมกันอยู่ในวันนั้นตกลงกันทันทีและได้ทำการสร้างภาพจำลองขึ้นมาครับ

nvidia prove moon landing wrong 02 600

Buzz Aldrin ตัวจริง (ขวา) ภาพที่จำลองขึ้นมาจากคอมพิวเตอร์ ?(ซ้าย)

Nvidia เลือกที่จะทำภาพจำลองตอนที่ Buzz Aldrin กำลังก้าวเดินลงจากยานและกำลังจะเหยียบลงไปที่พื้นดวงจันทร์ครับ โดยบอกว่าบนดวงจันทร์ที่ไม่มีชั้นบรรยากาศนั้นจะทำให้แสงไม่สามารถที่จะทำการฟุ้งกระจายไปในทิศทางอื่นๆ ได้เหมือนกับการที่เราอยู่บนโลก ดังนั้นเงาของเครื่องจอดน่าจะบดบัง Aldrin จนทำให้เขาเกือบจะมองไม่เห็นจากภาพเลยครับ ด้วยการใช้เทคนิค?NVIDA’s Voxel Global Illumination เพื่อที่จะทำการจำลองแสงจากจุดเพียงจุดเดียวให้เหมือนกับดวงอาทิตย์ วิศวกรของ Nvidia ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากทาง Nasa ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของยานลงจอด, ดาวข้างเคียงที่อาจจะอยู่ใกล้ๆ ที่สามารถทำการสะท้อนแสงได้ รวมไปถึงอัตราการสะท้อนแสงของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นด้วยครับ

nvidia prove moon landing wrong 03 600

จากการรวบรวมข้อมูลนั้นก็มีหลายข้อมูลที่น่าสนใจครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่ดวงอาทิตย์นั้นมีกำลังแสงสูงถึง 128,500 lux แต่ดวงจันทร์นั้นมีความสามารถในการสะท้อนแสงได้แค่ 12% เท่านั้น ถึงจะแค่ 12% แต่จาก 128,500 lux นั้นก็มากอยู่ครับ เพราะความสว่างนั้นเท่ากับหลอดไฟฟ้าขนาด 100 W จำนวน 10 หลอด ฉายแสงลงไปบนพื้นที่ขนาดหนึ่งตารางเมตร ของพื้นผิวบนดวงจันทร์ ซึ่งนั่นทำให้มากพอที่จะเห็น Aldrin อย่างชัดเจนโดยไม่เห็นเงาของยานลงจอดบังครับ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์การฟิกจะออกมาคล้ายคลึงกับรูปในความเป็นจริง แต่ก็มีบางอย่างที่ไม่น่าจะจริงครับ เพราะบนตัวของนักบินอวกาศนั้นดูจากภาพของ NASA แล้วไม่เหมือนกับที่ได้ใช้คอมพิวเตอร์จำลองขึ้นมา ซึ่งทาง Nvidia ก็ไม่ทราบเหตุผลเหมือนกันครับว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นครับ

ดวงอาทิตย์นั้นทำงานของมันเป็นอย่างดีครับ และวัตถุทุกชนิดในอวกาศนั้นก็จะมีการสะท้อนแสงอาทิตย์ด้วยเช่นเดียวกัน โดยพบว่าวัตถุอื่นๆ นั้นมีอัตราการสะท้อนแสงอาทิตย์อยู่ที่ 85% (ในที่นี้หมายถึงชุดอวกาศ) ซึ่งนั่นทำให้นักบินอวกาศของเราเมื่อต้องแสงอาทิตย์แล้วก็จะส่องสว่างเพราะการสะท้อนแสงนี้ครับ ซึ่งนั่นจะทำให้เรามองเห็นนักบินอวกาศชัดเจนมากขึ้น ทำให้จากภาพที่ถ่ายมาของ NASA นั้นดูเหมือนจะไม่เป็นความจริง เพราะเกิดเงาขึ้นที่ตัวของนักบินอวกาศ บางคนก็เลยมีทฤษฏีว่า ภาพของ NASA นั้นถ่ายจากสตูดิโอเท่านั้นไม่ได้ถ่ายมาจากอวกาศจริงแต่อย่างใดครับ

หมายเหตุ(แก้ไขเพิ่มเติม) – สาเหตุที่เกิดเงาขึ้นบนตัวของ Aldrin เล็กน้อยบนภาพที่?Neil Armstrong ผู้ซึ่งลงเหยีบบบนดวงจันทร์เป็นคนแรกหันกลับมาถ่าย Aldrin นั้นเนื่องมาจากว่าชุดอวกาศของ Neil เองก็สะท้อนแสงอาทิตย์ได้มากถึง 85% เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงทำให้เสมือนกับว่า ตัว Neil เองนั้นก็เป็นแหล่งกำเนิดแสงอีกแหล่งหนึ่ง(ที่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์) ทำให้แสงจากตัวของ Neil นั้นไปตกกระทบบนตัวของ Aldrin ที่กำลังจะลงเหยียบบนดวงจันทร์ทำให้เห็นเป็นเงาในบางจุดบนตัวของ Aldrin ครับ

nvidia prove moon landing wrong 04 600

จากการสร้างภาพจำลองของการลงจอดของยานอวกาศ Apollo 11 นี้ทำให้ Nvidia ได้เรียนรู้เรื่องของการให้แสงและการสะท้อนแสงมากมายครับ โดยทาง Nvidia ได้อธิบายวิธีที่นักพัฒนาต้องการจะใช้การให้แสงโดยใช้เทคโนโลยี VXGI?lighting environment ซึ่ง VXGI นี้จะมีอยู่บน?Unreal Engine 4 ครับ ทั้งนี้ในท้ายที่สุดแล้วตัวอย่างของ Nvidia ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างการลงจอดบนดวงจันทร์ของยาน Apollo 11 ทิ้งท้ายจากการทดสอบว่ามีสิ่งหนึ่งที่น่าแปลกบนรูปของ NASA นั้นก็คือทำไมเราถึงไม่เห็นดวงดาวอื่นๆ เหมือนกันกับที่เรามองเห็นดวงด่วบนท้องฟ้าเลย ว่าไหมครับ!

หมายเหตุ(แก้ไขเพิ่มเติม) – สาเหตุที่เราไม่เห็นดวงดาวอื่นๆ ในอวกาศเลยจากภาพถ่ายของทาง NASA นั้นเนื่องมาจากว่าทาง NASA ใช้กล้องที่มีรูรับแสงแบบพิเศษ ซึ่งรูปรับแสงนี้จะมีขนาดเล็กกว่ากล้องปกติทั่วไปที่เราใช้กัน ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมกล้องของ NASA ที่ถ่ายบนดวงจันทร์นั้นจึงไม่สามารถที่จะมองเห็นดาวดวงอื่นๆ ได้ครับ(และในการทดสอบสร้างภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้ของทาง Nvidia ได้จำลองสถานการณ์นี้ด้วยเช่นเดียวกันครับ)

หมายเหตุ(แก้ไขเพิ่มเติม) – การจำลองกราฟิกจากทาง Nvidia นี้ได้แสดงให้เห็นว่าภารกิจของยาน Apollo 11 นั้นเป็นความจริง ถึงแม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างที่ภาพกราฟิกจำลองผิดเพี้ยนไปจากภาพจริงที่ทาง NASA เก็บไว้ แต่ว่านั่นก็อาจจะมาจากปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ซึ่งอาจจะมีปัจจัยที่มากมายกว่านี้ที่ทาง Nvidia ไม่ได้ทำการกำหนดลงไปในภาพกราฟิกทดสอบนี้เลยเป็นผลทำให้ภาพกราฟิกในบางจุดนั้นไม่เหมือนกับภาพที่ถ่ายมาจริงๆ 100% ครับ

ที่มา : engadget

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

Special Story

สำหรับการเล่นเกม แน่นอนว่าพลังประมวลผลกราฟิกจาก GPU คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับประสิทธิภาพว่าจะสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้สวย เฟรมเรตสูง ความหน่วงต่ำขนาดไหน ทำงานร่วมกับ CPU และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในเครื่อง ซึ่งถ้าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตเองก็มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังกราฟิก โดยที่ยังลดภาระของฮาร์ดแวร์ลงด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ AFMF 2 เทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั่นเอง

รีวิว MSI

มีเงินสามหมื่นก็ซื้อ MSI Thin A15 B7V ได้! พกง่ายเบาแค่ 1.86 กก. แถมได้พอร์ต USB-C Full Function!! หากพูดถึงเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 30,000 บาทสักเครื่อง หลายคนย่อมคิดถึงซีรี่ส์ MSI Thin ซึ่งราคาดี น้ำหนักเบาและยังอัปเดตสเปคมาต่อเนื่องจนถึง MSI Thin A15...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก