โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จาก เส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้น เป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ)ดังนั้นเมื่อ Loop มันเป็นอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน(เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ความเร็วต่อหัวของ Intel Core i5-430M ต้องบอกว่าทำความเร็วได้ดีมากไม่ถึง 20 วินาทีเท่านั้น
มีหลักการทำงานคล้ายๆกับ Super Pi แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัวทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ถึงจะรันเต็มๆ 4 แกนก็ยังสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วเอามากๆ
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสค์ขนาด 320 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 68.5 Mb ต่อ วินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 19.6 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี) อยู่ในระดับกลางๆไม่แตกต่างกับ Notebook ทั่วไปนัก
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
คะแนนประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์ต่างๆในเครื่องอยู่ในระดับสูงพอตัว ทำคะแนนออกมาได้พอๆกับ R478 ที่กำลังฮิตอยู่ในตอนนี้เลย
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
คะแนนของ ATI Radeon HD4500 ออกมาได้พอๆกับ ATI Radeon HD5470 เลย อาจเป็นเพราะไดร์เวอร์ของ Lenovo เองด้วย
โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
Hardware Monitor
อุณหภูมิสภาพแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 34 ~ 35 องศาC
อุณหภูมิก่อน Burn-in
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เล่นอินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน
อุณหภูมิตอนทำงานทั่วไปถือว่าปกติไม่ร้อนมากไป
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม ORTHOS รัน ซีพียู และให้โปรแกรม ATI Tool สั่งการ์ดจอ ให้ทำงานที่ 100% เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
อุณหภูมิได้ได้ออกมาไม่ได้สูงไปมากนักเป็นเพราะที่ระบายความร้อนให้มาถึง 2 จุด
ทดสอบเวลาในการใช้งานแบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานทั่วๆไปพิมพ์งาน เล่นอินเตอร์เน็ตผ่าน Wireless โดยปรับความสว่างของจอภาพสว่างสุดจนแบตเตอรี่เหลือประมาณ 14%
สามารถ Stand By ได้ยาวนานกว่า 6.24 ชั่งโมง ก็ถืออึดไม่น้อยสำหรับ Notebook ระดับ Core i5 และการ์ดจอแยก
แบบที่ 2 ใช้งานหนักๆ
วิธีทดสอบ : ทดสอบใช้งานหนักๆโดยการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูง ปรับความสว่างของจอภาพสูงสุด และเปิดลำโพงในระดับสูงสุดจนแบตเตอรี่เหลือแค่เพียง 10%
แต่พอทำงานหนักๆนั้นก็ยังคงอยู่ได้นานกว่า 2 ชั่วโมงอยู่ ก็ถือว่าโอเคครับ
เวลาในการชาร์ตแบตเตอรี่
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการชาร์ตแบตเตอรี่พร้อมกับเปิดใช้งานเครื่องตั้งแต่ 16% จนถึง 95%
ใช้เวลาชาร์จไฟไปกว่า 2 ชั่วโมง 10 นาที ใช้เวลาชาร์จนานไปนิดนึง